-/> *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***

หน้า: 1 [2] 3   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***  (อ่าน 17121 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #15 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2559, 06:50:15 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๑๔ การงานไม่อากูล
(อนากุลา จ กมฺมนฺตา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** การงานไม่คั่งค้างไม่เสียหาย
คือความหมายไม่อากูลเพราะขยัน
เอาความเพียรและปัญญามารวมกัน
เพื่อสร้างสรรค์ให้งานผ่านด้วยดี

** อันสาเหตุทำให้งานคั่งค้าง
มีหลายอย่างขอกล่าวให้ถ้วนถี่
ไม่รู้ค่าเอาเวลามาย่ำยี
ปล่อยโอกาสดีดีให้เสียไป

** ไม่รู้จักการจัดลำดับงาน
ไม่ขยันเกียจคร้านงานน้อยใหญ่
งานที่ควรรีบทำไม่สนใจ
กลับฝักใฝ่อบายมุขเที่ยวซุกซน

** ขาดปัญญาความเพียรเป็นที่ตั้ง
ถือฤกษ์ยามเป็นความหวังต้องหมองหม่น
การงานจึงอากูลพาอับจน
ความทุกข์ทนเข้าครอบครองหมองวิญญา

** ต้องมีอิทธิบาทสี่ประการ
ทั้งหน้าที่การงานจะก้าวหน้า
ความสำเร็จต่างต่างจะตามมา
ขอจงได้ศึกษาจะสำราญ

** อิทธิบาทมีคุณค่าน่าเรียนรู้
บรมครูตรัสไว้เด่นเป็นหลักฐาน
ให้ทุกคนได้ยึดถือไปนานนาน
เพื่อการงานพัฒนาก้าวหน้าไกล

** หนึ่ง "ฉันทะ" หมายความว่ามีใจชอบ
จะประกอบกิจการงานน้อยใหญ่
เติมความรักความเชื่อมั่นอันจริงใจ
อย่าหวั่นไหวต่ออุปสรรคที่จักมี

** สอง "วิริยะ" คือหมั่นเพียรทำให้มาก
จะลำบากสักเพียงใดไม่หน่ายหนี
ตั้งใจสู้ไม่ย่อท้อไม่รอรี
ต้องได้ดีเพราะขยันเป็นมั่นคง 

** สาม "จิตตะ" มีมานะเอาใจใส่
ดูแลไปให้ถ้วนทั่วอย่ามัวหลง
มองข้อเสียข้อเด่นเน้นโดยตรง   
แล้วบรรจงสร้างงานเบิกบานทรวง

** สี่ "วิมังสา" ตริตรองมองเหตุผล
ต้องรู้ตนรู้ท่านงานใหญ่หลวง
ใช้ปัญญาเพ่งพินิจกิจทั้งปวง
งานลุล่วงประสบชัยในเร็ววัน

**คุณธรรมทั้งสี่ช่างดีเลิศ
แสนประเสริฐเอาใจใส่ไว้ให้มั่น
จะประสบความสำเร็จนับอนันต์
ชั่วนิรันดร์มีแต่สุขไม่ทุกข์เลย

**คุณธรรมทั้งสี่นี้ดีเลิศ
แสนประเสริฐควรใส่ใจไว้ให้มั่น
จะประสบความสำเร็จนับอนันต์
จงขยันกันเถิดหนาอย่าเฉยเมย

** การงานไม่อากูลพูนสวัสดิ์
ท่านจึงจัดเป็นมงคลดังเฉลย
งานสำเร็จเป็นที่รักน่าชมเชย
พี่น้องเอ๋ยรีบศึกษาอย่าช้าที

เรื่อง  การทำงานไม่ถูกขั้นตอน

** สมัยหนึ่งที่องค์พระศาสดา
เสด็จยังพาราสาวัตถี
ประทับที่เชตวันอันโสภี
แล้วทรงมีดำรัสตรัสเรื่องราว

** ทรงปรารภภิกษุผู้เกียจคร้าน
จึงได้ยกตำนานที่อื้อฉาว
ในกาลก่อนก็เกียจคร้านมานานยาว
โดยบอกกล่าวเป็นนิทานเล่าขานมา

** ในเมืองตักศิลาคราครั้งก่อน
มีผู้สอนศิลปะเก่งหนักหนา
คือทิศาปาโมกข์ยอดวิทยา
ผู้เก่งกล้าวิชาเชี่ยวชำนาญ

** มีลูกศิษย์ประมาณห้าร้อยคน
คอยสั่งสอนฝึกฝนจนแตกฉาน
จนขึ้นชื่อลือชาวิชาการ
ผู้อาจารย์ชื่นสุขทุกทิวา

** ครั้นวันหนึ่งบรรดาสานุศิษย์
จึงได้คิดร่วมใจกันเข้าป่า
เพื่อเก็บผักหักฟืนไม่รอรา
รีบมุ่งหน้าเข้าไพรดังใจปอง

** เมื่อถึงป่าต่างพากันเก็บฟืน
อย่างราบรื่นสดใสไม่หม่นหมอง
ต่างส่งเสียงล้อกันอย่างคะนอง
บ้างก็ร้องเพลงเล่นไม่เป็นภัย

** อีกนายหนึ่งซึ่งเป็นคนเกียจคร้าน
หลบหลีกการทำงานเป็นนิสัย
ในวันนี้ทิ้งเพื่อนไม่อาลัย
อีกสมัยที่แอบหนีไปนอน

** ตกเย็นเพื่อนมัดฟืนขึ้นใสบ่า
ได้เดินมาสะดุดเข้าคิดว่าขอน
สะดุ้งตื่นขึ้นมาพาร้าวรอน
ใจอาวรณ์ไม่มีฟืนยืนเศร้าตรม

** ตะลีตะลานปีนป่ายขึ้นต้นกุ่ม
ดังไฟสุมร้อนเร่าเศร้าขื่นขม
รีบดึงกิ่งมาหักไม่รื่นรมย์
กิ่งกลมกลมดีดตาพาบอดเลย

** ได้กิ่งไม้สดสดมาหน่อยหนึ่ง
แล้วรีบบึ่งกลับสำนักไม่อยู่เฉย
ความเกียจคร้านพาลเสียเหมือนเช่นเคย
จะขอเผยฉากสุดท้ายให้ได้ฟัง

** เย็นวันนั้นอาจารย์ได้รับเชิญ
นับเป็นเหตุบังเอิญแต่หนหลัง
ต้องรีบทานข้าวเช้าเพิ่มพลัง
จึงได้สั่งแม่ครัวฝีมือดี

** พรุ่งนี้เช้าจงรีบทำอาหาร
เราจะต้องรีบทานอย่างด่วนจี๋
ก่อนจะไปประกอบกิจพิธี
เพื่อให้มีมงคลไม่ลนลาน

** ครั้นรุ่งเช้าแม่ครัวรีบก่อไฟ
เพื่อจะได้ประกอบมวลอาหาร
จึงหยิบฟืนที่นำมาเมื่อวาน
ของลูกศิษย์ที่เกียจคร้านไม่รอรา

** ก่ออย่างไรแต่ไฟไม่ยอมติด
เป็นเพราะฟืนทำพิษสร้างปัญหา
เพราะฟืนสดทำให้จนปัญญา
จนเวลาผ่านไปไม่ได้กิน

** ศิษย์ผู้ที่เกียจคร้านในกาลนั้น
คือภิกษุปัจจุบันถูกติฉิน
ว่าเกียจคร้านการงานเป็นอาจิณ
เกิดมลทินงานอากูลอาดูรเกิน

** ต้องขยันอย่าเกียจคร้านงานทั้งหลาย
ได้สบายนับอนันต์ชนสรรเสริญ
จะก้าวหน้าพบแต่ความเจริญ
และเพลิดเพลินอุดมผลเป็นมงคล

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #16 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2559, 06:58:34 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๑๕  การบริจาคทาน
(ทานญฺ จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** ขอเชิญชวนมวลมิตรจิตผ่องใส
มาร่วมมือร่วมใจสร้างกุศล
บริจาคทรัพย์สินส่วนของตน
เป็นมงคลสำคัญหมั่นบำเพ็ญ

** คำว่า “ทาน” นั้นแปลว่าการให้
จำแนกได้ห้าวิธีชี้ให้เห็น
จะขอนำมากล่าวเปิดประเด็น
พอได้เป็นตัวอย่างสร้างความดี

** “อามิสทาน” คือการให้สิ่งของ
เพื่อแบ่งปันพวกพ้องได้สุขี
ทั้งเสื้อผ้าอาหารเท่าที่มี
เพื่อชีวีสุขสันต์ทุกวันคืน

** “ธรรมทาน” คือการให้ธัมมะ
เพื่อลดละกิเลสเหตุสุดฝืน
สร้างคนให้เป็นคนผลยั่งยืน
ให้สิ่งอื่นไม่ประเสริฐเท่าให้ธรรม

** “อภัยทาน” คือการไม่ถือโกรธ
พร้อมยกโทษไม่ติดใจให้ระส่ำ
เมื่ออภัยแล้วปราศจากผลกรรม
อีกยังทำให้ใจแสนเบิกบาน

** “ปัตติทาน” คือการที่แบ่งผล
ส่วนกุศลที่ทำนำประสาน
ให้แก่สรรพสัตว์ในจักรวาล
ได้รื่นเริงสำราญเป็นสุขใจ

** “อนุโมทนาทาน” การชมชื่น
ความดีของผู้อื่นนั้นยิ่งใหญ่
เขาทำดียินดีด้วยตลอดไป
ชื่นชมในความดีที่เขาทำ

** บริจาคทานเป็นมงคลผลล้ำเลิศ
บุญย่อมเกิดพอกพูนไม่ตกต่ำ
ละกิเลสความตระหนี่ที่น้อมนำ
ให้จิตใจถลำสู่อบาย

** กิตติศัพท์ความดีก็เรืองรุ่ง
จะหอมฟุ้งไปไกลดังใจหมาย
เป็นที่รักของคนอย่างมากมาย
โภคทรัพย์ทั้งหลายบังเกิดมี

** บริวารล้อมหน้าและล้อมหลัง
ด้วยพลังบุญญาสง่าศรี
เมื่อถึงคราวละไปจากโลกนี้
สุคติเป็นที่ได้พักพิง

** การให้ด้วยเมตตาและปราณี
เป็นเรื่องที่ทำให้มีสุขยิ่ง
เป็นบ่อเกิดสามัคคีที่ดีจริง
นับเป็นสิ่งประเสริฐเลิศอนันต์

เรื่อง  ยอดทาน

** สมัยหนึ่งสมเด็จพระศาสดา
หวังให้ชาวประชามีสุขสันต์
เสด็จมาประทับ ณ เชตวัน
สาวัตถีจอมราชันพระทรงชัย

** ในครั้งนั้นยังมีอุบาสิกา
ชื่อ “นันทมารดา” พิสมัย
ได้ถวายทักษิณาทานมัย
โดยไม่ต้องสงสัยเพราะศรัทธา

** เป็นทานที่ประกอบด้วยองค์หก
จึงได้ยกพระธรรมเทศนา
แสดงแก่ภิกษุที่ได้มา
ณ ธรรมสภาพร้อมหน้ากัน

** ภิกษุเอ๋ย....จงฟังเราจะกล่าว
ถึงเรื่องราวทักษิณาอย่าไหวหวั่น
แบ่งออกเป็นสองส่วนที่สำคัญ
ส่วนประกอบย่อยนั้นมีหกองค์

**ส่วนประกอบที่หนึ่งคือ “ผู้ให้”
เรียกง่ายง่ายว่า “ทายก” ผู้ประสงค์
จะแบ่งปันส่วนที่มีโดยจำนง
แบ่งเป็นองค์ย่อยย่อยสามประการ

** หนึ่ง “ก่อนให้เป็นผู้ที่จิตใจดี”
เอื้ออารีเมตตามาประสาน
ปราศจากอกุศลคนใจพาล
การทำทานเป็นมงคลผลอุดม

** สอง “ขณะให้มีจิตใจที่เลื่อมใส”
ประกอบไปด้วยศรัทธาอันเหมาะสม
เชื่อมั่นในความดีน่านิยม
เป็นปฐมของการให้ได้ผลบุญ

** สาม “ปลื้มใจในการที่ได้ให้”
กุศลที่ทำไว้ได้อุดหนุน
การสั่งสมความดีย่อมมีคุณ
คอยเจือจุนส่งให้ได้วิมาน

** ส่วนประกอบที่สองคือ “ผู้รับ”
“ปฏิคาหก” เป็นศัพท์ที่เรียกขาน
มีผู้ให้ขาดผู้รับก็ป่วยการ
สองประสานจึงเกิดผลดังใจ

** อันผู้รับนั้นมีสามส่วนย่อย
ดูเหมือนน้อยแต่เป็นเรื่องยิ่งใหญ่
ลองศึกษากันดูเรื่อยเรื่อยไป
แล้วจะได้รู้ว่าค่ามากมาย

** หนึ่ง “เป็นผู้ปราศจากตัวราคะ”
หรือโลภะตัณหาพาฉิบหาย
ความกำหนัดยินดีในรูปกาย
หรือความหมายกรงขังทางปัญญา

** สอง “เป็นผู้ปราศจากตัวโทสะ”
คือความโกรธมักจะสร้างปัญหา
ทุจริตทั้งใจกายวาจา
ขาดเมตตาการุณและปราณี

** สาม “เป็นผู้ปราศจากตัวโมหะ”
คือความหลงไม่ละพาหมองศรี
ความมัวเมายึดมั่นเป็นราคี
ล้วนไม่ดีมีกิเลสเหตุงมงาย

** ภิกษุเอ๋ย...ทักษิณาที่ว่านี้
ย่อมจะมีคุณค่าดังมุ่งหมาย
มีความสุขสงบทั้งใจกาย
ทั้งผลบุญมากมายเกินประมาณ

** เปรียบดังน้ำในห้วงมหาสมุทร
มันมากสุดที่จะบวกลบคูณหาร
ดุจดังผลของทักษิณาทาน
แม้จักรวาลไม่อาจเปรียบเทียบผลบุญ

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์



← กลับไปหน้า 1
บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #17 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2559, 02:12:26 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๑๖  การประพฤติธรรม
(ธมฺมจริยา จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** มงคลที่สิบหกยกมากล่าว
ถึงเรื่องราวประพฤติธรรมเนื่องนำหนุน
ประพฤติชอบประพฤติดีที่ค้ำจุน
ไม่ว้าวุ่นเศร้าโศกโลกงดงาม

** พัฒนาจิตใจให้สะอาด
บริสุทธิ์ผุดผาดด้วยองค์สาม
ละความโลภโกรธหลงที่คุกคาม
ปฏิบัติตามครรลองของพุทธา

** หนึ่ง “ประพฤติเป็นธรรม” คำสอนสั่ง
มโนตั้งมั่นในพระศาสนา
ปรับตัวเข้าหาธรรมพระศาสดา
ดังคำว่าเข้าถึงธรรมน้อมนำใจ

** สอง “ปฏิบัติตามธรรม” คำสั่งสอน
ของสมเด็จชินวรผู้เป็นใหญ่
เบญจศีลเบญจธรรมย่อมนำไป
บรรดาลให้หลุดพ้นผลแห่งกรรม

** ธรรมจริยาอริยสาวก
ขอหยิบยกมาอ้างช่างคมขำ
เพื่อพุทธศาสนิกได้น้อมนำ
ประพฤติเป็นประจำตามแนวทาง

** ปฏิบัติดีปฏิบัติตรงอย่างคงมั่น
หมั่นกระทำทุกวันไปไม่เหินห่าง
ปฏิบัติควรและเหมาะสมไม่เว้นวาง
คือหนทางของธรรมอันจำรูญ

** ผลของการประพฤติธรรมแสนล้ำเลิศ
สุดประเสริฐทำไว้ไม่เสื่อมสูญ
ย่อมส่งผลความดีทวีคูณ
จะเพิ่มพูบุญญาบารมี

** อันธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติ
เพื่อเหนี่ยวยึดจิตใจไม่หมองศรี
ทั้งเป็นการสร้างสุขเพื่อชีวี
ป้องกันภัยในโลกนี้มาบีฑา

** อีกทำให้ไม่เกิดความประมาท
มีความสุขทุกชาติดังปรารถนา
ผลของการประพฤติธรรมองค์สัมมา
ย่อมนำพาสู่มรรคผลพ้นทุกข์ภัย

** จงหันมาตั้งมั่นในธรรมะ
เลิกลดละอกุศลทุกสมัย
ตั้งมั่นในองค์พระรัตนตรัย
ชนทุกวัยห่างทุกข์สุขเกิดมี

เรื่อง ผู้ประเสริฐ

** สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่หมองเศร้าประทับ ณ สาวัตถี
เชตวันพระวิหารแห่งความดี
สมเด็จพระชินศรีทรงเบิกบาน

** ณ วันหนึ่งคิดจะชำระกาย
เพื่อให้สุขสบายสรงสนาน
จึงชวนพระอานนท์ลงสู่ธาร
บุพพะโกฏฐกะทรงสำราญสบายใจ

** ครั้นสรงเสร็จเสด็จขึ้นสู่ฝั่ง
ด้วยทรงหวังผึ่งกายให้สดใส
มีสายลมพัดผ่านคอยแกว่งไกว
จึงทำให้สดชื่นรื่นกมล

** ขณะนั้นมีพญาคชสาร
ของภูบาลปเสนทิโกศล
จะขึ้นจากท่าน้ำริมฝั่งชล
โกลาหลอื้ออึงเสียงตึงตัง

** เสียงดนตรีประโคมดังสนั่น
เหล่าฝูงชนจ้องกันทั้งสองฝั่ง
ต่างชื่นชมว่าช้างดีมีพลัง
ช่างประเสริฐเสียจังดูงามดี

** ต้องเป็นคชสารที่ดีเลิศ
แสนประเสริฐวิไลในทุกที่
ช่างงามงดสดใสไร้ราคี
น่าศรัทธาเกินที่จะพรรณนา

** พระกาฬุทายีฟังคำขาน
ของชาวบ้านเรื่องช้างยังกังขา
ยกย่องว่าประเสริฐและศรัทธา
จึงกราบทูลพระศาสดาขยายความ

** พระพุทธองค์ทรงตรัสพระวัจนะ
เป็นธรรมะคลายข้องใจในคำถาม
ชนผู้ใดไม่ทำชั่วสิ่งเลวทราม
มีความงามภายนอกและภายใน

** เราจะเรียกผู้นั้นว่าประเสริฐ
ซึ่งล้ำเลิศหนักหนากว่าสิ่งไหน
ละความชั่วทางกายวาจาใจ
ละโลกไปสุคติเป็นที่ปอง

** การประพฤติธรรมนี้นั้นดีแน่
จะมีแต่สุขใจไม่เศร้าหมอง
ทั้งโลกนี้โลกหน้าจะสมปอง
ธรรมคุ้มครองเสวยสุขทุกคืนวัน

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #18 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2559, 02:21:48 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๑๗  การสงเคราะห์ญาติ
(ญาตกานญฺจ สงฺคโห เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** คำว่า “ญาติ” หมายถึงคนรู้จัก
สายใยรักมักคุ้นการุณมั่น
เช่นพ่อแม่พี่น้องเกี่ยวข้องกัน
หรือสัมพันธ์ใกล้ชิดสนิทใจ

** พึงแบ่งญาติออกเป็นสองชนิด
หนึ่งญาติสายโลหิตที่ชิดใกล้
มีสายเลือดผูกพันกันเอาไว้
ต่างเกี่ยวเนื่องกันไปเป็นตระกูล

** สองเป็นญาติทางธรรมเพราะรู้จัก
ผูกสมัครด้วยใจไม่เสื่อมสูญ
แบ่งย่อยย่อยเป็นสองตามข้อมูล
ต่างเพิ่มพูนเยื่อใยผูกไมตรี

** หนึ่งเกิดจากใกล้ชิดสนิทสนม
ต่างชื่นชมในจิตไม่คิดหนี
เช่นเพื่อนฝูงหญิงชายที่เรามี
ลักษณะเช่นนี้เป็นญาติกัน

** สองเกี่ยวข้องกับญาติสายโลหิต
ไปผูกมิตรเป็นคู่ตุนาหงัน
ญาติของเขาเป็นญาติเราโดยนัยพลัน
เป็นญาติธรรมจำนรรจ์ดังกล่าวมา

** ญาติเหล่านี้เป็นผู้ต้องสงเคราะห์
ตามที่เหมาะที่ควรไม่กังขา
ยึดสังคหวัตุด้วยเมตตา
เป็นหลักธรรมนำพาให้ชื่นทรวง

** หนึ่งคือ “ทาน” การให้การแบ่งปัน
คอยจัดสรรสิ่งของให้ไม่หวง
เสียสละเพื่อประโยขน์ญาติทั้งปวง
เพื่อก้าวล่วงความทุกข์สุขทันที

** “ปิยวาจา” การพูดที่ไพเราะ
กับญาติแสนเสนาะสมศักดิ์ศรี
ทั้งอ่อนหวานสุภาพอาบไมตรี
ประสงค์ดีเอื้อเฟื้อเหนือสิ่งใด

** “อัตถจริยา” มุ่งประโยชน์
ไร้ซึ่งโทษทุกอย่างช่างสดใส
พร้อมช่วยเหลือเกื้อกูลตลอดไป
ด้วยหัวใจมิตรดีที่ยืนยง

** “สมานัตตตา” แปลว่าวางตัวดี
จนเป็นที่ชื่นชมสมประสงค์
เสมอต้นเสมอปลายอย่างมั่นคง
ช่วยดำรงสังคมให้เจริญ

** อันมงคลของการสงเคราะห์ญาติ
ผลเกินคาดตามมาน่าสรรเสริญ
มีหมู่ญาติมากหน้าพาเพลิดเพลิน
สามัคคีดีเกินในญาติตน

** เป็นที่รักที่พึ่งญาติทั้งหลาย
พัฒนาใจมากมายคลายหมองหม่น
เป็นหลักการปฏิบัติของทุกคน
ความดีคือมงคลผลยืนนาน

เรื่อง วิฑูฑภะ

** พุทธองค์ทรงปรารภวิฑูฑภะ
ผู้ประสบหายนะน่าสงสาร
น้ำท่วมตายพร้องกับบริวาร
ริมฝั่งธาร “อจิรวดี”

** ท้าวเธอเป็นเชื้อสายศากยะ
โอรส “วาสภะ” มเหสี
ในปเสนทิโกศลจอมธานี
แห่งกรุงสาวัตถีบุรีรมย์

** เป็นหลานของพระเจ้ามหานามะ
มารดา “วาสภะ” แสนขื่นขม
เกิดจากนางทาสีเปรียบโคลนตม
ไม่เหมาะสมจะยกย่องให้รองเรือง

** ในสมัยที่เป็นราชโอรส
ได้กำหนดเยี่ยมพระญาติให้ฟูเฟื่อง
กบิลพัสดุ์สว่างไสวไปทั่วเมือง
งามดังคำลือเลื่องระบือไกล

** ครบกำหนดเสด็จกลับสาวัตถี
ทิ้งความหลังไว้ที่บุรีใหญ่
ญาติวงศ์ศากยะสุดทำใจ
ชาติกำเนิดห่างไกลกว่าพวกตน

** ศากยะรับสั่งให้ทาสี
ทำการล้างสถานที่ทุกแห่งหน
ที่โอรสประทับสุดจักทน
เพราะเป็นอัปมงคลกาลีเมือง

** วิฑูฑภะทราบเรื่องสุดเคืองแค้น
ได้เป็นใหญ่ต้องตอบแทนให้รู้เรื่อง
ซึ่งหนี้แค้นที่ทำระคายเคือง
ล้างให้สิ้นลือเลื่องทั่วโลกา

** สิ้นสมัยปเสนทิโกศล
ได้ครองราชย์เป็นมงคลเกินจักหา
รวมพลมหาศาลยกกันมา
กบิลพัสดุ์พาราดังหมายปอง

** ถึงกลางทางได้พบพระศาสดา
เสด็จมาด้วยความหวังจะสนอง
คุณพระญาติตามสมควรแก่ครรลอง
เป็นกิจของผู้ทรงธรรมเขาทำกัน

** จึงยกพัพกลับราชนิเวศน์
อาณาเขตสาวัตถีมิได้พรั่น
เราต้องทำสำเร็จเข้าสักวัน
เก็บเอาความอัดอั้นไว้เต็มทรวง

** วิฑูฑภะยกพลถึงสามครั้ง
แต่ก็ต้องหยุดยั้งพลใหญ่หลวง
พระศาสดาเป็นเหตุเรื่องทั้งปวง
ไม่สามารถลุล่วงปณิธาน

** ครั้งที่สี่พุทธองค์จึงทรงคิด
ตามที่ทรงนิมิตเป็นหลักฐาน
เป็นเพราะกรรมศากยะมาร้าวราน
บุรพกรรมเป็นมารจ้องทำลาย

** ศากยะสร้างกรรมในปางก่อน
เบื่อปลาให้ม้วยมรณ์สิ้นสลาย
ต้องใช้กรรมในชาตินี้ชีวาวาย
ถึงคราวตายเพราะกรรมที่ทำมา

** วิฑูฑภะไม่มีใครขัดขวาง
ได้ยกพลเดินทางดังปรารถนา
ครั้นถึงกบิลพัสดุ์ไม่รอรา
สั่งให้ฆ่าเอาเลือดล้างนคร

** ครั้นหมดแค้นยกพลเดินทางกลับ
เมื่ออาทิตย์จะลับยอดสิงขร
จึงหยุดพักริมฝั่งชลาธร
“อจิรวดี” สาครอย่างสบาย

** ขณะนั้นบังเอิญฝนตกหนัก
น้ำทะลักท่วมป่าน่าใจหาย
วิฑูฑภะและไพร่พลจมน้ำตาย
ชีพวางวายเพราะวิบากผลของกรรม

** พระพุทธองค์ทรงตรัสพระคาถา
ใจความว่าบุคคลย่อมถลำ
สู่ความตายด้วยปัจจัยที่น้อมนำ
เกิดจากการกระทำที่เจตนา

** เจตนาดีทำดีย่อมมีผล
ให้บุคคลได้ดีที่ใฝ่หา
เจนาชั่วทำชั่วตัวอัปรา
ย่อมชักพาสู่ห้วงแห่งโลกันต์

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #19 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2559, 03:19:54 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๑๘  การงานไม่มีโทษ
(อนวชฺชานิ กมฺมานิ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** การเกิดมาเป็นมนุษย์สุดแสนยาก
กิจการหลายหลากสร้างความฝัน
ต้องทำงานไม่เบื่อเพื่อชีวัน
แสนสุขสันต์เพราะงานดีมีคนชม

** การงานนี้คืองานไม่มีโทษ
เกิดประโยชน์มากมีที่เหมาะสม
เป็นคนที่มีค่าน่านิยม
ไม่เศร้าตรมมีสุขสนุกสบาย

** การงานที่ไม่มีโทษหมายความว่า
ไม่ถูกด่าถูกตำหนิมิเสียหาย
ทั้งทางโลกทางธรรมไม่เสื่อมคลาย
แต่ขวนขวายช่วยเหลือเพื่อเป็นบุญ

** การรักษาซึ่งศีลอุโบสถ
จะงามงดหนักหนามาช่วยหนุน
ปลูกต้นไม้สวนป่าใจการุณ
นับเป็นคุณดีแท้แก่สังคม

** การกระทำเหล่านี้มีประโยชน์
เป็นการงานไม่มีโทษอย่าทับถม
สร้างความดีเอาไว้ไม่ทุกข์ตรม
จะรื่นรมย์สุขสันต์นิรันดร์กาล

** ลักษณะการงานต่อไปนี้
ถ้าหากมีหนีให้ไกลไม่ประสาน
ผิดกฎหมายประเพณีมีมานาน
ลักษณะการงานที่ไม่งาม

** อีกผิดศีลผิดธรรมโปรดจำไว้
หนีให้ไกลเพราะคนเขาเหยียดหยาม
จะต้องถูกกล่าวหาว่าเลวทราม
ถูกประณามหยามเหยียดและเกลียดชัง

** อานิสงส์การงานไม่มีโทษ
ชัชวาลช่วงโชติดังมนต์ขลัง
สี่ประการมีคุณค่ามากพลัง
โปรดจงฟังจดจำคำของครู

** สร้างความสงบร่มเย็นและเป็นสุข
จะพาให้ไร้ทุกข์โลกสวยหรู
พัฒนาสังคมให้น่าดู
ช่วยเชิดชูชีวิตเพราะคิดดี

** ไม่ต้องโทษเพราะเบียดเบียนเพื่อนมนุษย์
เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์เกษมศรี
ปราศจากราคินสิ้นราคี
ความเดือดร้อนไม่มีมากล้ำกราย

เรื่อง พระก็ทำนา

** ในครั้งหนึ่งสมเด็จพระศาสดา
ได้เสด็จผ่านมาไม่คาดหมาย
ถึงหมู่บ้านกสิพราหมณ์ผู้งมงาย
ตอนเวลาคล้อยบ่ายใกล้สายัณห์

** ขณะนั้นเป็นฤดูการทำนา
ต่างตั้งหน้าตั้งตาขมีขมัน
ปลูกข้าวและดำกล้าแข่งตะวัน
เพื่อจะให้เสร็จทันตามเวลา

** พระพุทธองค์ประทับทอดพระเนตร
กสิพราหมณ์ถือเป็นเหตุไม่กังขา
เอ่ยปากกล่าวต่อว่าองค์สัมมา
ไม่เลื่อมใสไม่ศรัทธาในพระองค์

** พวกข้านี้ไถนาและปลูกข้าว
มายืนยาวด้วยมีจุดประสงค์
เพื่อจะเลี้ยงชีวิตให้ยืนยง
ชีวิตเรามั่นคงเพราะมือตน

** ส่วนพวกท่านเอาแต่เที่ยวเดินขอ
น่าอนาถจริงหนอแสนหมองหม่น
ลองทำนาหว่านดำจำใจทน
คงมีคนชื่นชมสาธุการ

** พระพุทธองค์จึงตรัสกสิเอ๋ย
ฟังนะจะเฉลยเอ่ยไขขาน
เราทำนาเช่นกันทุกวันวาร
ดังที่ท่านแนะนำจำนรรจา

** ท่านนะหรือที่ทำไม่เคยเห็น
อุปกรณ์ซ่อนเร้นอยู่ไหนหนา
ข้าเห็นมีแต่บาตรที่อุ้มมา
สำหรับขอข้าวปลาชาวบ้านกิน

** ขอจงฟังเราก่อนนะกสิ
อย่ามุ่งแต่ตำหนิและติฉิน
ตถาคตทำนาเป็นอาจิณ
ไม่ใช่พูดเล่นลิ้นให้วกวน

** นาเรามีศรัทธาเป็นพืชหลัก
มีความเพียรฟูมฟักเป็นน้ำฝน
มีปัญญาเป็นแอกแทรกซ้อนปน
ส่วนหิริหน้ามลเป็นงอนไถ

** มีสติเป็นผาลคอยไถถาก
มีใจเป็นเชือกลากไม่หวั่นไหว
มีคำสัจคอยดายหญ้าทุกคราไป
กายวาจาห่างไกลเครื่องรัดรึง

** ข้าวซึ่งเกิดจากนาดังว่านี้
มีผลดีชนิดคิดไม่ถึง
ทานแล้วจะสิ้นทุกข์สุขตราตรึง
บริโภคครั้งหนึ่งอิ่มจนตาย

** กสิพราหมณ์ฟังจบเกิดเลื่อมใส
แบ่งอาหารถวายไปดังใจหมาย
พระศาสดาไม่รับแล้วอธิบาย
เพื่อขยายเรื่องราวให้ได้ยิน

** เราไม่สามารถจะรับอาหาร
ที่เป็นทานจากการกล่าววาทศิลป์
ของตัวเองเพราะว่ามีราคิน
ไม่บริสุทธิ์หมดสิ้นความสำคัญ

** กสิพราหมณ์เกิดศรัทธาอย่างยวดยิ่ง
ตั้งใจจริงเลื่อมใสไม่เหหัน
ขอถึงพระรัตนตรัยทุกคืนวัน
และตั้งมั่นในธรรมสร้างกรรมดี

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #20 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2559, 03:31:36 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๑๙  งดเว้นจากการทำบาป
(อารตี วิรตี ปาปา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** บาปคือเลวหยาบช้าพาเศร้าหมอง
ผู้เกี่ยวข้องร้อนรนหม่นหมองศรี
ตายแล้วตกนรกอเวจี
เป็นผู้มีแดนเกิดอันโสมม

** บาปเกิดได้ด้วยวิธีมีอยู่สาม
ขอกล่าวตามบรมครูดูเหมาะสม
ผู้ที่ละบาปได้น่านิยม
จะเป็นที่ชื่นชมของหมู่ชน

** หนึ่ง “กายกรรม“ บาปนั้นเกิดทางกาย
ฆ่าสัตว์ตายด้วยใจอกุศล
การฉ้อโกงลักทรัพย์อัปมงคล
ผิดประเวณีมีผลสู่อบาย

** สอง “วจีกรรม” บาปเกิดทางวาจา
พูดโกหกหยาบช้าชั่วเหลือหลาย
พูดส่อเสียดน่าเกลียดเกินบรรยาย
พูดเหลวไหลน่าเบื่อหน่ายและชิงชัง

** สาม ”มโนกรรม” บาปนั้นเกิดทางใจ
ความโลภมากอยากได้สุดเสียงสั่ง
พยาบาทมุ่งร้ายเป็นกำลัง
ความเห็นผิดไม่อินังเวรกรรมเลย

** การงดเว้นจากบาปที่หยาบช้า
คือการฆ่ากิเลสอย่างเปิดเผย
ความเร่าร้อนจะหมดไปไม่เหมือนเคย
น่านิยมชมเชยในศรัทธา

** สามวิธีที่จะงดเว้นบาป
จงเรียนรู้เพื่อป้องปราบตัวตัณหา
จะได้สุขสมหวังดังเจตนา
สมคุณค่าที่เกิดมาเป็นคน

** “สมาทานวิรัติ” คือรับเอา
มาปฏิบัติไม่มัวเมาเป็นกุศล
เหมือนรับศีลจากพระรักษาตน
ปฏิบัติตัวให้พ้นศีลด่างพร้อย

** “สัมปัตตวิรัติ” การงดเว้น
สิ่งที่เป็นเรื่องบาปแม้นิดหน่อย
ไม่ยินดียินร้ายให้เป็นรอย
แห่งมลทินที่คอยเผาไหม้ไกล

** “สมุทเลขาวิรัติ” ตัดให้ขาด
จากบ่วงบาศแห่งกรรมผู้เป็นใหญ่
คือกิเลสและตัณหาจะพาไป
ตกนรกหมกไหม้ชั่วกัปกัลป์

** เว้นจากบาปเป็นมงคลผลใหญ่ยิ่ง
คือเรื่องจริงไม่ใช่จะเสกสรร
จะเป็นผู้ห่างไกลบาปนับอนันต์
ไม่ร้อนใจชั่วนิรันดร์อนันตกาล

** อีกเจริญด้วยบุญและกุศล
หลีกหนีพ้นทุคติทุกสถาน  
ที่แสนจะต่ำช้าและสามานย์
เป็นที่ไปของคนพาลยามวายชนม์

** เรื่องสุดท้ายไม่ทำผิดกฎหมาย
เป็นสาเหตุวุ่นวายและหมองหม่น
ไม่ผิดศีลซึ่งจะทำให้อับจน
เกิดจากผลกรรมดีที่บำเพ็ญ

เรื่อง ฟังธรรมแล้วถูกฆ่า

** จะขอยกเรื่องราวคราวอดีต
มาเขียนขีดเป็นกลอนวอนให้เห็น
ถึงเรื่องราวอุบาสกยกประเด็น
ผู้ตกเป็นเหยื่อกรรมที่ทำมา

** สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงยกเอามหากาลเป็นปัญหา
ทรงปรารภการตายมาพูดจา
ในธรรมสภาตามเป็นจริง

** มหากาลสำเร็จโสดาบัน
ยึดถือสิ่งสำคัญที่ใหญ่ยิ่ง
ทุกวันธัมมัสสวนะไม่ประวิง  
มีศีลแปดพักพิงก่อนจะตาย

** หมายความว่าถือศีลอุโบสถ
อย่างงามงดไม่ด่างพร้อยเสื่อมสลาย
จะถือมั่นจนกว่าชีวาวาย
อุทิศกายวาจาใจไม่จืดจาง

** ณ เชตวันมหาวิหาร
มหากาลฟังธรรมใกล้รุ่งสาง
รู้สึกปวดเมื่อยตัวทั่วสรรพางค์
จึงเยื้องย่างพักกายใกล้ศาลา

** ในคืนนั้นมีโจรขโมยของ
ที่บ้านช่องเศรษฐีมีเงินหนา
ครั้นเจ้าบ้านรู้ตัวมิรอรา
รีบหนีมาพบกับมหากาล

** เมื่อจวนตัวจึงได้ทิ้งของไว้
ตรงใกล้ใกล้ศาลาพาร้าวฉาน
เจ้าของตามมาทันมิช้านาน
จึงติดว่ามหากาลเป็นขโมย

** จับตัวมาทุบตีด้วยความแค้น
มหากาลเจ็บแสนร้องหวนโหย
จนกระทั่งสิ้นใจไม่โอดโอย
สายลมโชยพลิ้วมาวิญญาณ์จร

** พวกภิกษุมาพบในตอนเช้า
จึงได้นำไปเล่าเป็นอนุสรณ์
มหากาลฟังธรรมจนเร้ารอน
ชีวิตต้องม้วยมรณ์ไม่ควรเลย

** จึงได้กราบทูลพระศาสดา
พระพุทธองค์ได้ตรัสว่าภิกษุเอ๋ย
ในชาตินี้เขาตายไม่เสบย
แต่ชาติก่อนเขาเคยตายสมควร

** ทรงแสดงอดีตมหากาล
ที่มีมายาวนานระลึกหวน
ทรงเริ่มต้นจินตนาคราทบทวน
จัดให้เป็นกระบวนสาธยาย

** อดีตกาลผ่านมาคราครั้งก่อน
จะขอย้อนนำเรื่องมาขยาย
มีพวกโจรดักทำอันตราย
ผู้ไปมาค้าขายปล้นเงินทอง

** มีราชภัฏพระเจ้าพาราณสี
มีหน้าที่รับจ้างคนทั้งผอง
เอาใจใส่ดูแลและคุ้มครอง
รับส่งพ้นเขตของพวกคนร้าย

** “ราชภัฏ” ที่แน่แน่ย่อมแปลว่า
คนของพระราชาเข้าใจง่าย
คือข้าราชการอย่างมงาย
ท่านทั้งหลายจงเข้าใจในเรื่องราว

** ครั้นวันหนึ่งชายหนุ่มเข้ามาหา
ราชภัฏของราชาพร้อมหญิงสาว
ผู้ที่เป็นภรรยาสวยแพรวพราว
ให้ช่วยเหลือสักคราวนำเดินทาง

** ราชภัฏเห็นสาวสวยรวยเสน่ห์
คิดใช้เล่ห์ถ่วงเวลารอฟ้าสาง
ตอนนี้ใกล้ค่ำแล้วปิดระวาง
อันตรายต่างต่างมีมากมาย

** ชายหนุ่มจึงขอร้องต้องรีบเร่ง
ขืนชักชาหวั่นเกรงผิดนัดหมาย
ถ้าไม่ทันจะเกิดความวุ่นวาย
พรรณนาผลร้ายให้เขาฟัง

** ราชภัฏยืนกรานไปไม่ได้
ที่พักเราจัดไว้ตั้งหลายหลัง
อีกอาหารอย่างดีมีพลัง
อย่าชิงชังเชิญพักผ่อนก่อนสักคืน

** สองสามีภรรยาน้ำตาไหล
เมื่อคิดไปทุกข์หนักสุดจักฝืน
มองทางไหนอับจบทนกล้ำกลืน
คงไม่มีทางอื่นต้องจำทน

** ในคืนนั้นราชภัฏจัดวางแผน
เพื่อใส่ร้ายแย่งแฟนให้หมองหม่น
นำมณีไปซ่อนทำเล่นกล
ที่เกวียนหนุ่มหน้ามลคนเมียงาม

** แล้วจึงแกล้งโวยวายให้ดังลั่น
เสียงอื้ออึงสนั่นตอนตีสาม
มีขโมยช่วยด้วยช่วยติดตาม
อ้ายคนทรามจงไปจับตัวมัน

** จึงได้สั่งให้คนค้นให้ทั่ว
แล้วจับตัวคนโฉดโหดมหันต์
นำตัวมาแล้วฆ่าอย่าช้าพลัน
โทษฐานมันทำชั่วตัวกาลี

** ขณะนั้นชายหนุ่มเตรียมสิ่งของ
เพราะว่าต้องรีบไปอย่างเร็วรี่
พวกคนงานค้นเกวียนเขาทันที
ก็ได้พบมณีของเจ้านาย

** รีบนำตัวมาพบราชภัฏ
ขอรวบรัดว่าถูกฆ่าน่าใจหาย
ครั้นเวลาราชภัฏถึงคราวตาย
ต้องเวียนว่ายในนรกอเวจี

** นี่คือบุรพกรรมหากาล
จะต้องถูกทรมานเพื่อใช้หนี้
ตายแล้วเกิดเวียนวนจนพันปี
ถูกทุบตีเพื่อใช้กรรมจงนำพา

** พระพุทธองค์ได้ตรัสพระวัจจนะ
เป็นข้อความธรรมะดีหนักหนา
บาปอันตนทำไว้กาลก่อนมา
จะบีฑาให้เดือดร้อนไม่ผ่อนปรน

** ทั้งชาตินี้ชาติไหนไม่ว่างเว้น
จึงสมควรหลีกเร้นอกุศล
ตั้งใจทำความดีมีมงคล
จะช่วยดลให้สุขาสถาพร

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #21 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2559, 03:43:58 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๒๐  สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
(มชฺชปานา จ สญฺญโม เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** “สำรวม” มีความหมายเป็นสองส่วน
สิ่งอันควรเรียนรู้คำครูสอน
หนึ่ง “สำรวมระวัง” ไม่ร้าวรอน
สอง “งดเว้น” เอาไว้ก่อนอย่ารอรี

** ขอยกเป็นตัวอย่างพอได้เห็น
หรือมองเป็นบรรทัดฐานแห่งสักขี
สำรวมการนั่งนอนจะดูดี
งดเว้นในการมีสิ่งเลวทราม

** น้ำเมาคือสุราและเมรัย
เป็นสองนัยฟังให้ดีมีล้นหลาม
ขืนเสพถูกตราหน้าว่าไม่งาม
มีโรคภัยคุกคามเสียเงินทอง

** “สุรา” คือน้ำเมาที่กลั่นแล้ว
เมื่อดื่มไม่ผ่องแผ้วจะเศร้าหมอง
“เมรัย” ยังไม่กลั่นตามครรลอง
เป็นเพียงแค่แช่ดองจนถูกใจ

** ดื่มน้ำเมาไม่ดีมีโทษมาก
ช่างหลายหลากจะชี้แจงแถลงไข
จำแนกมาให้เห็นเป็นดังไฟ
คอยเผาผลาญจนมอดไหม้ทำลายลง

** “เสียทรัพย์” นับอนันต์จากการดื่ม
ต้องร้อนรนอย่าลืมถ้ามัวหลง
เงินทองมลายไปไม่มั่นคง
ทุกคนคงเดือดร้อนไม่ผ่อนคลาย

** “ก่อการทะเลาะและวิวาท”
ทั้งอาฆาตบาดหมางไม่รู้หาย
เที่ยวรุกรานเพราะสติถูกทำลาย
อาจฆ่าฟันกันตายเพราะน้ำเมา

**”บังเกิดโรค” โรคามาทำร้าย
อาจถึงตายพิษสุรามาแผดเผา
ต้องอมโรคไม่มีสุขทุกข์ไม่เบา
เพราะความเขลาตกเป็นทาสอนาถจัง

** “ถูกติเตียน” ว่าไม่ดีผีสุรา
จึงขวางหูขวางตาน่าผิดหวัง
ขาดสติดูฮึกเหิมเพิ่มพลัง
เกิดพลาดพลั้งเพราะสุราช่างน่าอาย

** “ไม่รู้จักอาย” ย่อมทำเรื่องอื้อฉาว
ตกเป็นข่าวก็ไม่กลัวล่มสลาย
อาละวาดไม่เกรงอันตราย
ความอับอายหายไปไม่เหลือดี

** “ย่อมบั่นทอนปัญญา” พาอับจน
เสียสติหมองหม่นหมดศักดิ์ศรี
คอยกระทำแต่กรรมชั่วตัวอัปรีย์
ทั้งหมดนี้เพราะสุรามันพาไป

** การสำรวมจากน้ำเมาเป็นมงคล
ไม่หลงตายหลงตนว่ายิ่งใหญ่
มีสติปัญญาดีมิเหมือนใคร
ปิดกั้นความประมาทได้ใจรื่นรมย์

** อีกทรัพย์สินคงอยู่และเพิ่มพูน
ไม่อาดูรด้วยโรคาพาสุขสม
ห่างไกลความเป็นบ้าพาระทม
ความอุดมสมบูรณ์พูนทวี

เรื่อง หลานอนาถะบิณฑิกะเศรษฐี

** ได้ยินมาว่าหลานอนาถะ
บิณฑิกะแห่งเมืองสาวัตถี
ผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์สินแก้วมณี
ทั้งทาสีเงินทองมากนองเนือง

** ได้ทำการผลาญเงินสี่สิบโกฏิ
โดยไม่มีประโยชน์อย่างต่อเนื่อง
ในที่สุดเงินหมดต้องฝืดเคือง
อันสาเหตุสิ้นเปลืองเพราะสุรา

** ในที่สุดกลับมาหาเศรษฐี
ผู้เป็นตาแสนดีเพื่อปรึกษา
มอบเงินพันกหาปณะให้ทันตา
เพื่อทำการขายค้าเลี้ยงชีพตน

** เงินหมดไปเพราะสุราเหมือนคราก่อน
จึงได้ย้อนกลับมาหาอีกหน
อนาถบิณฑิกะเป็นยอดคน
จำใจทนสงเคราะห์เพราะเห็นใจ

** จึงมอบเงินให้อีกหนึ่งวาระ
ห้าร้อยกหาปณะเริ่มต้นใหม่
ด้วยหวังว่าค้าขายได้กำไร
เลี้ยงชีพไปตามประสาพารื่นรมย์

** ได้เงินมาแทนที่จะค้าขาย
กลับแกล้งผลาญทำลายอย่างสาสม
ดื่มแต่เหล้าไม่หยุดสุดระทม
ต้องล่มจมหายนะแสนสามาลย์

** ครั้นเขาเป็นเช่นนี้หลายหลายครั้ง
จึงยับยั้งเยื่อใยไม่สงสาร
คนที่ใจมืดมนอนธกาล
และขับไล่จากบ้านไม่อาลัย

** เขาจึงกลายเป็นคนอนาถา
ต้องไร้ที่พึ่งพาและอาศัย
ไม่มีเพื่อนไร้ญาติขาดเมรัย
ต้องดับดิ้นในวัยไม่สมควร

** พวกชาวเมืองจึงได้ลากเอาศพ
ที่ได้พบไปทิ้งเป็นสัดส่วน
ยังนอกเมืองด้วยใจที่คร่ำครวญ
เมื่อได้หวนนึกถึงเรื่องผ่านมา

** อนาถะบิณฑิกะเศรษฐี
รีบแต่งตัวเร็วรี่เพื่อไปหา
องค์สมเด็จพระบรมศาสดา
ที่มหาวิหารเชตวัน

** เมื่อไปถึงจึงได้กราบบังคม
พระบรมโลกนาถผู้สร้างสรรค์
ทรงสั่งสอนหมู่สัตว์นับอนันต์
ให้หลุดพ้นชั่วกัปกัลป์ตลอดไป

** พระพุทธองค์จึงได้เริ่มตรัสถาม
ท่านเศรษฐีเล่าความตามเงื่อนไข
ถึงเรื่องราวหลานชายในทันใด
ว่าทำไมจึงชั่วช้าสารเลว

** พระพุทธองค์ได้ตรัสบุรพกรรม
ที่หลานชายได้ทำตัวแหลกเหลว
จึงต้องละโลกนี้ไปโดยเร็ว
ดังตกเหวกว้างลึกช่วยไม่ทัน

** ในอดีต ณ กรุงพาราณสี
โพธิสัตว์จอมบดีมีสุขสันต์
บังเกิดเป็นเศรษฐีที่โจษจัน
มีเงินมากมายครันพร้อมเพชรทอง

** สืบเนื่องด้วยมีใจเป็นกุศล
สละทรัพย์ของตนไม่หม่นหมอง
บริจาคให้เป็นทานดังใจปอง
เมื่อตายไปได้ครอบครองทิพย์วิมาน

** เกิดเป็นท้าวสักกะเทวราช
ได้เป็นใหญ่มีอำนาจวาสนา
ส่วนลูกชายปลูกปรำดื่มสุรา
แสนสนุกทุกทิวาราตรีกาล

** เพลินกับอบายมุขทุกประเภท
ซึ่งเป็นเหตุให้เสียทรัพย์เกินขับขาน
เงินและทองหมดไปในไม่นาน
ต้องอดอยากร้าวรานไม่มีกิน

** ท้าวสักกะทราบเหตุสมเพชมาก
เสด็จจากดาวดึงส์ซึ่งเป็นถิ่น
ที่อยู่อาศัยมาจนเคยชิน
สู่ยังภาคพื้นดินอันโสภา

** มอบหม้อมหาสมบัติให้แก่ลูก
ด้วยความรักพันผูกมากหนักหนา
จะใช้สอยอะไรไม่นำพา
ขอเพียงจงรักษาไว้ให้ดี

** จงใส่ใจดูแลเท่าชีวิต
และอย่าคิดทำลายให้ป่นปี้
ตราบใดที่หม้ออยู่คู่ชีวี
จะไม่มีอับจนหม่นหมองใจ

** เมื่อสั่งเสร็จได้เสด็จทิพย์สถาน
สถิตยังวิมานอันสดใส
ส่วนลูกชายดื่มสุราเฮฮาไป
เคยเป็นมาอย่างไรไม่เปลี่ยนเลย

** ในวันหนึ่งเมื่อเมาสุรามาก
พร้อมกับเพื่อนหลายหลากไม่อยู่เฉย
นำหม้อมาโยนเล่นแสนเสบย
นิจจาเอ๋ยช่างโชคร้ายให้เกิดเป็น

** รับหม้อพลาดตกดินแตกกระจาย
ขุมทรัพย์ถูกทำลายกลับยากเข็ญ
ต้องขอทานเขากินแสนลำเค็ญ
ชีวิตนี้ช่างยากเย็นเสียจริงจริง

** แล้วก็ถึงอวสานกาลสิ้นสุด
ล้วนแต่ถูกสมมุติขึ้นทุกสิ่ง
เมื่อเกิดขึ้นต้องดับไปไม่ประวิง
ข้ออ้างอิงอนิจจังดังตรัสไว้

** เป็นอันว่าลูกชายท้าวสักกะ
ไม่พ้นภัยมรณะต้องมอดไหม้
ในกองฟอนของกิเลสเหตุแห่งไฟ
ที่เผาผลาญจิตใจให้วอดวาย

** พระพุทธองค์ได้ตรัสพระคาถา
เพื่อฉลองศรัทธาดังมุ่งหมาย
แก่เศรษฐีผู้มีทรัพย์อย่างมากมาย
แบ่งคาถาออกได้สามประการ

** นักเลงเหล้าได้หม้อชื่อกูฏะ
แต่ปราศธรรมะน่าสงสาร
รักษาดีมีสุขทุกวันวาร
ชีวิตจะสำราญเบิกบานหทัย

** เมื่อใดที่เขาเมาและประมาท
ทำหม้อแตดจะถึงฆาตอย่าสงสัย
จะยากไร้ทุกสิ่งยิ่งอาลัย
ไม่ถึงวัยควรตายก็ต้องตาย

** ผู้ประมาทชื่อว่าปัญญาทราม
ย่อมเดือดร้อนทุกยามพาฉิบหาย
ใช้ทรัพย์สินที่ได้มาอย่างท้าทาย
เหมือนคนติดเหล้าทำลายหม้อทิพย์ตน

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #22 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2559, 03:58:04 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๒๑  ความไม่ประมาทในธรรม
(อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** ไม่ตั้งมั่นในธัมมะชื่อประมาท
ชีวิตขาดที่พึ่งจึงหมองหม่น
ธัมมะช่างประเสริฐเลิศมงคล
ไม่ประมาทจะหลุดพ้นจากทุกข์ภัย

** คนประมาทในเหตุสามชนิด
มีชีวิตอนาถอย่าสงสัย
วันคืนผ่านเป็นการทำลายวัย
อายุขัยไร้ค่าอนิจจัง

** หนึ่ง “ไม่ทำเหตุคิดแต่จะเอาผล”
ดูมันช่างพิกลไม่มีหวัง
เช่นคนไม่ทำงานการจีรัง
อยากร่ำรวยเป็นดังคนมีเงิน

** สอง “ทำเหตุเสียแต่จะเอาผลดี”
คงไม่มีผู้ใดจะสรรเสริญ
ทำความชั่วแต่หวังความเจริญ
คนไม่เดินแต่หวังถึงซึ่งปลายทาง

** สาม “ทำเหตุน้อยคอยหวังผลที่มาก”
เห็นจะยากมิใช่จะถากถาง
เปรียบหิ่งห้อยแสงน้อยเพียงเลือนราง
แต่อยากให้แสงสว่างดังจันทรา

** ความประมาทในธรรมย่อมนำทุกข์
ห่างจากสุขเกินใจจะใฝ่หา
ต้องตั้งมั่นในธรรมองค์สัมมา
ชั่วชีวามีแต่สุขทุกข์ไม่มี

** เหตุสำคัญที่ไม่ควรประมาท
เพราะสามารถทำให้ไม่ถ้วนถี่
ความเป็นคนสิ้นไปทุกนาที
อเวจีเป็นที่หมายเมื่อตายไป

** หนึ่ง “ประมาทการเลิกกายทุจริต”
ปล่อยชีวิตลอยล่องต้องหมองไหม้
ละเลยกายสุจริตไม่ใส่ใจ
จะผิดถูกอย่างไรก็ช่างมัน

** สอง “ประมาทเลิกวจีทุจริต”
ช่างเป็นคนสิ้นคิดเกินเสกสรร
ปล่อยวจีสุจริตผ่านไปพลัน
ต้องจาบัลย์โศกเศร้าเฝ้าบั่นทอน

** สาม ”ประมาทเลิกมโนทุจริต”
ในดวงจิตโสมมสุดถ่ายถอน
ละทิ้งมโนสุจริตจิตร้าวรอน
จากกองฟอนต้องไปสู่โลกันต์

** สี่ “ประมาทการเลิกมิจฉาทิฐิ”
มีดำริชั่วโฉดโหดมหันต์
ละสัมมาทิฐิชั่วชีวัน
โทษอนันต์เพราะประมาทขาดคุณธรรม

** ปัจจัยแห่งความประมาทขาดสติ
ซึ่งเป็นเรื่องน่าตำหนิเพราะถลำ
สู่วังวนหนทางที่สร้างกรรม
เพราะได้ทำตัวตนไม่พ้นมาร

** หนึ่ง “เกียจคร้านไม่ใส่ใจ” จะตรวจตรา
ให้รอบคอบทุกเวลาดังกล่าวขาน
คอยปล่อยปละละเลยไม่เอาการ
จึงทำให้การงานต้องพังภินท์

** สอง “ความประพฤติไม่ดี” จึงเสียหาย
ไม่ถูกต้องทำลายทุกสิ่งสิ้น
เดินทางผิดคิดชั่วตัวราคิน
จึงประมาทเป็นอาจิณสิ้นหนทาง

** สาม “ประพฤติย่อหย่อน” ไม่จริงจัง
ทำให้งานต้องพังเกินสะสาง
เกิดเสียหายวายวอดจึงอับปาง
ความประมาทคือหนทางแห่งความตาย

** สิ่งที่ไม่ควรประมาทปราชญ์ได้กล่าว
จงเรียนรู้เรื่องราวก่อนจะสาย
ปฏิบัติตามมีประโยชน์อย่างมากมาย
โปรดย่างกรายตามมาจะรู้ทัน

** “ไม่ประมาทในเวลา” มีค่านัก
พึงตระหนักรีบเดินตามความฝัน
จงอย่าปล่อยให้ล่วงไปวันวัน
โดยไม่ได้สร้างสรรค์อะไรเลย

** “ไม่ประมาทในชีวิต” คิดให้หนัก
จงประจักษ์สัจธรรมอย่าทำเฉย
หนีไม่พ้นความตายนะเพื่อนเอย
อย่าเฉยเมยรีบทำดีมีกำไร

** “ไม่ประมาทในกิจการงาน” ทั้งหลาย
จะทำมาค้าขายหรืองานไหน
มีความรับผิดชอบอย่างจริงใจ
ทุ่มเทเวลาให้อย่างจริงจัง

** “ไม่ประมาทในเรื่องการศึกษา”
ต้องเรียนรู้ค้นคว้าอย่าโอหัง
คอยหมั่นเพียรเพื่อเสริมเพิ่มพลัง
พึงมุ่งหวังวิชาพัฒนาตน

** “ไม่ประมาทในเรื่องของธัมมะ”
ปฏิบัติเพื่อละอกุศล
ทั้งกิเลสตัณหาจะห่างตน
ปรากฏผลเลิศล้ำธรรมะครอง

** สิ่งที่ไม่มีใครประกันได้
กล่าวเอาไว้สี่ชนิดคิดสอดส่อง
ไม่มีใครที่ไหนกล้ารับรอง
เป็นเรื่องของสัจธรรมคำของครู

** “ไม่มีใครกล้าประกันว่าไม่แก่”
สังขารไม่เที่ยงแท้เกินจะสู้
ย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนไปคล้ายฤดู
จะไม่มีวันอยู่อย่างยั่งยืน

** “ไม่มีใครกล้าประกันเรื่องเจ็บไข้”
พระพุทธองค์ตรัสไว้ไม่อาจฝืน
ความเจ็บไข้ได้ป่วยสุดกล้ำกลืน
ไม่อาจจะขัดขืนจำใจทน

** “ไม่มีใครกล้ารับประกันว่าไม่ตาย”
ชีวิตนี้ต้องวอดวายทุกแห่งหน
พบเกิดแก่เจ็บตายกันทุกคน
เป็นวังวนของสังขารไม่จีรัง

** “ไม่มีใครกล้าประกันวิบากกรรม”
ว่ากระทำความชั่วไร้ทุกขัง
กิเลสและตัณหามีพลัง
ย่อมจะยังผู้กระทำสู่อบาย

** ที่กล่าวมาก็คือความประมาท
ตัวร้ายกาจจะสร้างความฉิบหาย
ถ้ามัวหลงอยู่ในความงมงาย
ต้องวอดวายหายนะตลอดกาล

** ไม่ประมาทคือยอดอุดมผล
เป็นมงคลยิ่งใหญ่แสนไพศาล
ย่อมจะถึงอริยมรรคในไม่นาน
สำเร็จเรื่องการงานโดยเร็ววัน

** ถ้าเป็นการศึกษาก็สำเร็จ
กลเม็ดความสมหวังตั้งใจมั่น
เจริญในกุศลธรรมเป็นสำคัญ
รับประโยชน์นับอนันต์เกินพรรณนา

เรื่อง บันเทิงบุญ

** วิสาขาอุบาสิกาใหญ่
ตั้งใจให้หลานสาวใกล้ศาสนา
รับผิดชอบเรื่องพระด้วยศรัทธา
เพราะเหตุว่าอายุกาลผ่านเลยไป

** กลายเป็นผู้สูงวัยในวันนี้
อันกำลังที่มีสู้ไม่ไหว
เชื่อมั่นตัวหลานสาวมากกว่าใคร
จึงมอบให้จัดการแทนตนเอง

** อนาถะบิณฑิกะเศรษฐี
จึงเห็นดีที่ลูกสาวจึงรีบเร่ง
มอบลูกสาวคนโตไม่หวั่นเกรง
นางก็เก่งทำได้เป็นอย่างดี

** นางปฏิบัติงานได้ไม่นานนัก
มีคนรักออกเรือนสมศักดิ์ศรี
ผู้เป็นพ่อจำต้องเปลี่ยนอีกที
ให้นารีลูกคนรองมาทำแทน

** ลูกคนรองทำหน้าที่ได้ดีเยี่ยม
อย่างทัดเทียมพี่สาวไปตามแผน
ท่านเศรษฐีภูมิใจไม่คลอนแคลน
รักลูกสาวแนบแน่นเปี่ยมศรัทธา

** เวลาผ่านโฉมงามมีความรัก
มอบใจภักดิ์ต่อกันมั่นหนักหนา
ครั้นความรักงอกงามตามเวลา
จึงเข้าสู่วิวาห์ครองคู่กัน

** ท่านเศรษฐีจึงต้องเปลี่ยนคนใหม่
มอบนวลใยสุมนาล้างอาถรรพ์
เธอเป็นน้องสุดท้องงามผ่องพรรณ
วิลาวัณย์โสภากว่าทุกคน

** นางเต็มใจยอมรับหน้าที่นี้
เพราะนางมีน้ำใจเป็นกุศล
อยากทำบุญสุนทานบันดาลดล
ให้หน้ามลบรรลุโมกขธรรม

** จึงหลีกห่างความชั่วตัวร้ายกาจ
ไม่ประมาทปล่อยใจให้ถลำ
สู่อบายเพราะผลของเวรกรรม
ทุกเช้าค่ำมุ่งใจใฝ่แต่บุญ

** ทำหน้าที่ได้ดีกว่าพี่สาว
งานก้าวหน้าเพริดพราวราวเทพหนุน
ทุกอย่างสำเร็จดีมีบุญคุณ
เกื้อการุณศาสนาให้ถาวร

** ครั้นวันหนึ่งฟังพระธรรมเทศนา
ได้ดวงตาเห็นธรรมตามคำสอน
ของสมเด็จพระพุทธชินวร
โฉมบังอรบรรลุธรรมในทันที

** คุณธรรมที่ได้นั้นสูงกว่า
ในบรรดาคุณพ่อและพี่พี่
ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดเรื่องแปลกดี
ดังจะเอ่ยวจีให้ท่านฟัง

** กาลผ่านไปสุมนาเกิดป่วยไข้
อยากจะได้พบพ่อจนแทบคลั่ง
พวกทาสีที่คอยเฝ้าระวัง
รีบตามท่านมายังเรือนของนาง

** พอเห็นพ่อรีบเอ่ยเผยวจี
รีบเข้ามาหาพี่อย่าหมองหมาง
การเจ็บป่วยครานี้มิอำพราง
คงจะต้องวายวางอย่างแน่นอน

** โธ่ลูกเอ๋ยเจ้าคงอาการหนัก
จึงได้เพ้อยิ่งนักถึงกับหลอน
เอ่ยเรียกพ่อว่าพี่เพราะนิวรณ์
น่าสงสารบังอรเกินประมาณ

** สุมนาพูดว่าข้าไม่หลง
เป็นเรื่องจริงอย่าพะวงจึงเรียกขาน
ท่านเป็นน้องของข้าอย่าร้าวราน
นางยืนยันจนลมปราณนางสิ้นไป

** ท่านเศรษฐีทูลถามพระพุทธองค์
ถึงเรื่องราวจึงทรงแถลงไข
เพื่อเศรษฐีและทุกคนได้เข้าใจ
เพราะเหตุใดนางจึงเรียกอย่างนั้น

** อนาถะบิณฑิกะเศรษฐี
เป็นผู้ที่ใฝ่ธรรมอย่างกวดขัน
ท่านบรรลุธรรมขั้นโสดาบัน
ส่วนนางสำเร็จขั้นสกทาคามี

** อันนี้คือสาเหตุเรื่องทั้งหมด
นางจึงได้กำหนดตัวเป็นพี่
และเรียกพ่อว่าน้องเมื่อพาที
ด้วยการที่มีธรรมสูงกว่ากัน

** พระพุทธองค์ได้ตรัสต่อไปว่า
บัดนี้สุมนาสู่สวรรค์
ในชั้นดุสิตวิลาวัณย์
จนชั่วนิจนิรันดร์สุขารมย์

** พระพุทธองค์จึงตรัสพระคาถา
ว่าด้วยบุญจะพาให้สุขสม
ทั้งโลกนี้โลกหน้าพาชื่นชม
เอกอุดมเพราะกรรมดีที่ทำไว้

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #23 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2559, 04:10:00 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๒๒  ความเคารพ
(คารโว จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** ความเคารพแปลว่าความตระหนัก
ในความดีเป็นประจักษ์ที่ยิ่งใหญ่
มีปัญญามองเห็นว่าสิ่งใด
ควรเคารพนบไหว้เป็นมงคล

** ในพุทธศาสนาว่ามีหก
จึงขอยกมาแสดงให้ท่องบ่น
และประพฤติเป็นนิสัยไม่วกวน
เพื่อเหล่าชนที่รักจักได้ดี

** หนึ่งเคารพในพระพุทธเจ้า
ทุกค่ำเช้าระลึกคุณไม่หน่ายหนี
ที่สั่งสอนแนะนำธรรมมากมี
เพื่อโลกนี้โลกหน้าสถาพร

** สองมีความเคารพในพระธรรม
ที่พุทธองค์ทรงนำมาสั่งสอน
ให้ละชั่วทำดีมิร้าวรอน
ละนิวรณ์หลีกพ้นวังวนกรรม

** สามมีความเคารพในพระสงฆ์
ผู้มั่นคงในวินัยใจชื่นฉ่ำ
ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบกอปรด้วยธรรม
และน้อมนำมาเผยแพร่แก่ปวงชน

** สี่มีความเคารพการศึกษา
ซึ่งจะพาให้ฉลาดไม่พลาดป่น
เป็นคนดีมีคุณค่าสมเป็นคน
ไม่อับจนก้าวหน้าพารุ่งเรือง

** ห้าเคารพในความไม่ประมาท
จะแคล้วคลาดจากผองภัยใจฟูเฟื่อง
คนที่ไม่ประมาจะประเทือง
ไปด้วยเรื่องดีดีมีโชคชัย

** หกเคารพในการต้อนรับแขก
ไม่ใช่เรื่องที่แปลกอย่าสงสัย
ต้อนรับด้วยไมตรีเหมาะกับวัย
ตามสมัยนิยมที่สมควร

** อารยธรรมการแสดงความเคารพ
มีนอบนบกราบไหว้ให้ถูกส่วน
รวมห้าแบบขอกล่าวตามกระบวน
จึงเชิญชวนใส่ใจไม่อำพราง

** “อัญชลี” การยกมือประกบกัน
นิ้วมือนั้นแนบชิดทั้งสองข้าง
ยกขึ้นระหว่างอกแขนไม่กาง
ตอนฟังเทศน์อย่าเลือนรางหรือสวดมนต์

** “วันทา” การเลื่อนมือจากหว่างอก
แล้วจึงยกหัวแม่มืออย่าสับสน
ไว้ระหว่างทั้งสองคิ้วของตน
ใช้สำหรับผู้คนเคารพกัน

** “อภิวาท” นั่นหรือคือการกราบ
ศิโรราบจรดพื้นพิถีพิถัน
มือทั้งสองต้องวางลงไปพลัน
ระยะนั้นต้องห่างหนึ่งฝ่ามือ

** “อุฏฐานะ” การลุกรับด้วยนอบนบ
เมื่อได้พบผู้ใหญ่ที่นับถือ
ด้วยนอบน้อมกายใจใฝ่ฝึกปรือ
พร้อมจับมือประสานให้สวยงาม

** “สามีจิกรรม” ทำการคารวะ
เพื่อให้เหมาะตามวาระมิวางก้าม
เช่นอ่อนน้อมถ่อมตนไม่วู่วาม
ปฏิบัติตามประเพณีมีมานาน

** ความเคารพนับเป็นมงคลยิ่ง
เพราะเป็นสิ่งประเสริฐหลายสถาน
มีคนรักคนเมตตาตลอดกาล
สุคติคือวิมานเป็นที่ไป

** เป็นผู้ที่มีจิตเป็นกุศล
นำพาตนให้ก้าวหน้าพาสดใส
มีกัลยาณมิตรทั้งใกล้ไกล
ชีวิตไม่อับจนพ้นอบาย

เรื่อง ลำดับอาวุโส

** สมัยหนึ่งพระพุทธองค์ทรงปรารภ
เกี่ยวเนื่องความเคารพเมื่อตอนสาย
ณ ธรรมสภาสาธยาย
ให้ภิกษุทั้งหลายได้สังวร

** เหตุเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
จอมโมลีทรงคิดจะสั่งสอน
พฤติกรรมฉัพพัคคีย์มิอาทร
ความเดือดร้อนใดใดไม่นำพา

** อนาถะบิณฑิกะผู้ใจบุญ
สร้างวิหารบูชาคุณศาสนา
ถึงเวลาจะถวายพระศาสดา
ได้นิมนต์พระองค์มาพร้อมบริวาร

** ฉัพพัคคีย์จึงให้ลูกศิษย์ตน
รีบดั้นด้นไปจองที่ยังวิหาร
เพื่อพวกพ้องจะได้สุขสำราญ
จนเป็นที่เบิกบานทั่วหน้ากัน

** ฝ่ายพระสารีบุตรมาถึงช้า
นอนโคนไม้อนาถาดูน่าขัน
พวกภิกษุทั้งหลายต่างโจษจัน
การกระทำอย่างนั้นเลวสิ้นดี

** พระศาสดาประชุมสงฆ์แล้วตรัสว่า
ภิกษุสงฆ์ทรงสิกขามีศักดิ์ศรี
พึงกระทำอภิวาทอัญชลี
ต่อผู้ที่แก่กว่าทุกคราไป

** อันก้อนข้าวและน้ำอันเลอเลิศ
ที่นั่งนอนประเสริฐกว่าสิ่งไหน
ควรแก่ผู้อาวุโสกว่าใครใคร
ดังขานไขจงฟังตั้งปณิธาน

** จึงนำเอาเรื่องราวมาสาธก
ได้หยิบยกเรื่องสามสัตว์มาประสาน
เป็นเรื่องราวเมื่อคราวอดีตกาล
มาเล่าขานโปรดฟังอย่างตั้งใจ

** ในป่าหิมพานต์กาลครั้งนั้น
มีสามสัตว์อยู่ด้วยกันกลางดงใหญ่
ลิงช้างนกกระทาพาไฉไล
ต่างยึดเอาต้นไทรเป็นที่นอน

** ต่างคนต่างก็ไม่เกรงใจกัน
พัลวันวุ่นวายสุดถ่ายถอน
อยากจะเคารพกันถูกขั้นตอน
จึงเริ่มต้นกันก่อนสืบเรื่องราว

** ท่านรู้จักต้นไทรนี้กันเมื่อไหร่
ขอจงได้ชี้แจงแถลงข่าว
เพียงสั้นสั้นได้ใจความไม่ยืดยาว
โปรดบอกกล่าวกันเถิดหนาอย่าช้าที

** ช้างจึงได้รีบเอ่ยเฉลยถ้อย
ตอนที่เป็นช้างน้อยด้อยรัศมี
ต้นไทรสูงแค่ท้องของข้านี้
ดังวจีกล่าวขานวานคิดดู

** ฝ่ายลิงจึงได้เอ่ยเฉลยบ้าง
ต่อจากช้างทันทีมิหลบหลู่
จะขอร่วมรังสรรค์และเชิดชู
เคารพผู้แก่กว่าน่าชื่นชม

** นับย้อนหลังเมื่อคราวครั้งยังเป็นเด็ก
ตัวเล็กเล็กวิ่งเล่นเสียงดังขรม
ไทรต้นนี้ยังเป็นหน่อรอรับลม
ช่างเหมาะสมกับการหักเล่นจัง

** นกกระทาก็พร้อมจะบอกกล่าว
ถึงเรื่องราวที่ผ่านมาคราหนหลัง
สหายเอ๋ยท่านจงตั้งใจฟัง
ก่อนนี้ต้นไทรยังไม่มีเลย

** ตัวเรานี้เป็นผู้กินลูกไทร
จากต้นใหญ่เราจะขอเฉลย
มาถ่ายไว้ตรงนี้นะท่านเอย
มันงอกเงยเติบใหญ่ในวันนี้

** สรุปความลำดับอาวุโส
พี่คนโตนกกระทาอย่าหน่ายหนี
น้องคนรองคือลิงมิ่งโมลี
ช้างตัวโตโก้ดีเป็นสุดท้อง

** แต่นั้นสัตว์ทั้งสามไม่หวั่นไหว
เคารพในอาวุโสไม่หม่นหมอง
เชื่อฟังกันเคารพกันตามครรลอง
ต่างปรองดองน้องพี่ที่ป่าไพร

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #24 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2559, 04:20:53 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๒๓  ความถ่อมตน
(นิวาโต จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** การถ่อมตนคือคนไม่เย่อหยิ่ง
ละอวดดีเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่
ปรารภถึงความดีที่ถ่อมใจ
มิลำพองกับใครให้วุ่นวาย

** อันสาเหตุที่ทำให้ผยอง
จงหมั่นมองไม่ทำให้เสียหาย
นับเป็นสิ่งที่ไม่ดีอย่ากล้ำกราย
หลีกให้ไกลห่างกายและห่างตน

** “โกธะ” คือความโกรธความเดือดดาล
เป็นสัญชาติคนพาลจิตตกหล่น
“อุปหานะ” ผูกโกรธโหดสุดทน
ไม่อภัยเพราะคนคิดเกลียดชัง

** “มักขะ” การลบหลู่คุณความดี
ของผู้อื่นทุกที่อย่าพึงหวัง
“ปลาสะ” ตีเสมอไม่อินัง
เป็นคู่แข่งลองพลังที่สำคัญ

** ถัมภะ” ดื้อกระด้างอย่างร้ายกาจ
ทำวางมาดว่าดีอย่างเข้าขั้น
“อติมานะ” คือตัวชั่วมากครัน
ดูหมิ่นเขาแต่เรานั้นน่าอับอาย

** ธรรมะที่ส่งเสริมการถ่อมตน
ที่ทุกคนควรถือมั่นสู่จุดหมาย
ความเป็นคนน่ารักไม่งมงาย
มีมากมายเจ็ดข้อขอชี้แจง

** “สัทธา” ความเชื่อความเลื่อมใส
ด้วยจริงใจในคำสอนทุกแขนง
ในบุคคลสถานที่มิเปลี่ยนแปลง
เปรียบดังแสงตะวันและจันทรา

** “อโทสะ” ไม่ดุร้ายไม่ขึ้งโกรธ
ไม่ปองร้ายมีโทษมากหนักหนา
ไม่เบียดเบียนไม่คิดร้ายทุกเวลา
ใจเยือกเย็นยิ่งกว่าน้ำแช่เย็น

** “มุทิตา” มีความหมายบันเทิงใจ
พลอยยินดีเมื่อเขาได้พ้นยากเข็ญ
อีกเจริญก้าวหน้าไม่ลำเค็ญ
ไม่ริษยาเมื่อเห็นเขาได้ดี

** “มุทุตา” ความอ่อนโยนในดวงจิต
ไม่กระด้างเป็นมิตรกันทุกที่
ความละมุนละม่อมย่อมเกิดมี
ความอ่อนน้อมด้วยวจีใจและกาย

** “เมตตา” ปรารถนาให้เป็นสุข
ปราศจากทุกข์บรรดาสัตว์ทั้งหลาย
เอื้ออารีสงสารไม่รู้คลาย
ไม่อาฆาตมาดร้ายให้โศกตรม

** “สติ” ระลึกได้ไม่พลั้งเผลอ
ไม่หลงเพ้อไม่หวั่นไหวให้ขื่นขม
กำหนดรู้การเคลื่อนไหวไม่ระทม
มีสติสังคมไม่วุ่นวาย

** “ปัญญา” ความรอบรู้บุญและบาป
รู้จักละกิเลสหยาบให้สลาย
อีกทั้งกรรมที่ควรเว้นมีมากมาย
ไม่งมงายเห็นกงจักรเป็นดอกบัว

** การถ่อมตนเป็นมงคลที่ดีแน่
ไม่พ่ายแพ้เป็นทาสของความชั่ว
กำจัดความกระด้างที่ในตัว
กายและจิตสงบทั่วไร้ศัตรู

** เป็นที่รักของสัตว์และมนุษย์
มีความสุขที่สุดไม่หดหู่
จิตตั้งมั่นอ่อนโยนน่าชื่นชู
คุณความดีมีอยู่คู่โลกา

** คนที่แข็งกระด้างหยิ่งเพราะชาติ
หยิ่งเพราะทรัพย์อำนาจวาสนา
ดูหมิ่นญาติพี่น้องของอาตมา
หายนะถามหาทุกนาที

เรื่อง ยอดชายนายมานะ

** มียอดชายนายหนึ่งถือตัวจัด
ใจผูกพันร้อยรัดในทุกที่
จะยกมือไหว้ใครไม่เคยมี
ทั้งพ่อแม่น้องพี่ไม่มีเลย

** อีกครูบาอาจารย์ก็ไม่ไหว้
เก็บมานะเอาไว้ใคร่เปิดเผย
จึงชื่อนายมานะผู้เฉยเมย
เพราะไม่เคยไหว้ใครในชีวี

** ครั้นวันหนึ่งเดินผ่านธรรมสภา
องค์สมเด็จพระสัมมาชินศรี
ทรงแสดงเทศนาอยู่พอดี
จึงทำทีเข้าไปนั่งดังจำนรรจ์

** เข้าไปนั่งใกล้พระพุทธองค์
แต่ก็คงไม่ไหว้คล้ายเย้ยหยัน
ด้วยมานะสมชื่อเขาลือกัน
เพราะยึดมั่นทิฐิมิจืดจาง

** ตั้งใจว่าถ้าไม่มีผู้ใดทัก
เราก็จักหลีกไปให้ไกลห่าง
ครั้นเวลาผ่านไปเหมือนเป็นลาง
ต้องอ้างว้างหาคนทักไม่มี

** ขยับกายหมายจะลุกออกไป
พระพุทธองค์ทรงรู้ใจว่าจะหนี
จึงรีบตรัสทักทายในทันที
ในโลกมีคนถือตัวชั่วนักเอย

** ผู้ใดเห็นประโยชน์จากอะไร
จงสนใจในสิ่งนั้นอย่าพลันเฉย
ทำให้ดีที่สุดอย่าละเลย
มานะเอ๋ยเธอจงฟังดังกล่าวมา

** นายมานะตะลึงเหมือนถูกมนต์
ที่มีคนรู้ใจแทบผวา
ความเย่อหยิ่งจองหองเต็มอุรา
สูญสิ้นไปทันตามอดมลาย

** รีบคลานเข้าไปหาพระพุทธเจ้า
ความอวดดีที่รุมเร้าสิ้นสลาย
ก้มลงจูบพระบาทไม่เขินอาย
ทำให้ชนทั้งหลายต่างแปลกใจ

** ข้าแต่ท่านผู้เจริญเชิญบอกกล่าว
ถึงเรื่องราวที่อยากรู้จะได้ไหม
เราไม่ควรเย่อหยิ่งกับผู้ใด
ควรเคารพยำเกรงใครช่วยบอกที

** พระพุทธองค์ตรัสว่ามานะเอ๋ย
อย่าเย่อหยิ่งอวดดีเลยในทุกที่
พ่อแม่ครูอาจารย์อย่ารอรี
อีกน้องพี่ผู้มีคุณการุณเรา

** ท่านเหล่านี้สมควรจะเคารพ
ทั้งบูชาน้อมนบในตัวเขา
จงทำลายมานะให้แบ่งเบา
แล้วยึดเอาการอ่อนน้อมและถ่อมตน

** นายมานะกราบทูลตถาคต
ว่าเข้าใจทั้งหมดไม่หมองหม่น
ขอเข้าถึงพระรัตนตรัยอีกสักคน
แต่วันนี้ไปจนชั่วชีวัน

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #25 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2559, 05:27:24 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๒๔  มีความสันโดษ
(สนฺตุฏฺฐี จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** ความสันโดษหมายถึงความพอใจ
กับสิ่งของน้อยใหญ่ดังหมายมั่น
ซึ่งเป็นของของตนที่มีพลัน
นอกจากนั้นไม่สนใจของใครเลย

** ลักษณะของสันโดษมีกล่าวไว้
ขอจงได้รับฟังคำเฉลย
เมื่อทราบแล้วจงอย่าทำเฉยเมย
รีบปฏิบัติกันเลยในทันที

** หนึ่ง “ยินดีตามมี” เป็นของเรา
ไม่อยากได้ของเขาเสื่อมราศี
เฝ้าชื่นชมกับสิ่งที่เรามี
ทำอย่างนี้มีสุขทุกคืนวัน

** สอง “ยินดีตามกำลัง” ที่หาได้
ผลประโยชน์น้อยใหญ่ที่สร้างสรรค์
ในทุกเรื่องทุกคราวดังจำนรรจ์
จะสุขสันต์รื่นเริงตลอดไป

** สาม “ยินดีตามควร” ส่วนสันโดษ
เกิดประโยชน์ขั้นสูงรุ่งสดใส
เป็นมหาสันโดษเรืองโรจน์ไกล
กุศลที่ยิ่งใหญ่จักตามมา

** การยินดีตามสมควรประมวลกล่าว
เป็นเรื่องราวสามประการวานศึกษา
รายละเอียดจงได้พิจารณา
ด้วยศรัทธาบริสุทธิ์ดุจดังทอง

** หนึ่ง “ควรแก่ฐานะ” อันควรเป็น
ไม่ลำเค็ญยากไร้ไม่หม่นหมอง
รู้ฐานะของตัวดีมิลำพอง
ดังนั้นต้องเข้าใจคำว่าพอ

** ไม่ทำตัวใฝ่สูงจนเกินศักดิ์
ถือดีเด่นเป็นหลักอยากจะขอ
เอาแต่สุขสบายหมายพนอ
เพราะความทุกข์นั้นรอให้ผลกรรม

** สอง “ควรแก่กำลัง” สมรรถภาพ
หมายถึงทราบความสามารถไม่ถลำ
เกินกำลังของตนอย่าริทำ
เป็นสื่อนำความยากไร้อย่าหมายปอง

** สาม “ควรแก่ศักดิ์ศรี” ที่มีอยู่
เราต้องรู้รักษาอย่าให้หมอง
อย่าให้ความมักมากเข้ามาครอง
เกียรติยศเป็นของต้องคำนึง

** ความสันโดษเป็นมงคลที่สูงค่า
จะหมดสิ้นตัณหาพาเข้าถึง
โลกุตตรธรรมจงรำพึง 
เป็นประหนึ่งสิ่งของที่ต้องตา

** เป็นมงคลเพราะถึงความสิ้นทุกข์
มีความสุขสมใจดังใฝ่หา
ไม่เดือดร้อนเพราะบาปมาบีฑา
แต่เจริญก้าวหน้าด้วยความดี

เรื่อง พญานกแขกเต้าผู้สันโดษ

** คราเมื่อครั้งจอมปราชญ์พระศาสดา
ประทับที่พาราสาวัตถี
เชตวันพระวิหารอันรูจี
จึงทรงมีคำตรัสพระวัจนา

** ธรรมดาสมณะเมื่อมาถึง
เสนาสนะอันพึงปรารถนา
เป็นที่สุขสบายหมายพึ่งพา
พักกายาให้รื่นรมย์สมใจปอง

** ไม่ควรโลภโภชนาภักษาหาร
รู้สันโดษต่อการกิจทั้งผอง
พึงพอใจตามมีมิลำพอง
บำเพ็ญธรรมตามครรลองของพุทธา

** ทรงหยิบยกเรื่องราวคราวหนหลัง
นำมาเล่าให้ฟังสิ้นกังขา
กาลครั้งหนึ่งที่แนวไพรในพนา
อยู่ริมฝั่งคงคามหานที

** เป็นป่าไม้มะเดือมากเหลือล้น
มีลูกดกเต็มต้นหลากหลายสี
เป็นอาหารนกแขกเต้าได้อย่างดี
ซึ่งได้มีมากมายหลายแสนตัว

** ฤดูแล้งผลมะเดื่อก็หดหาย
นกทั้งหลายพากันเดือดร้อนทั่ว
ขาดอาหารมองไปใจมืดมัว
ด้วยหวาดกลัวความตายให้ร้อนรน

** จึงพากันหลีกหนีไปที่ใหม่
หวังจะได้อาหารไม่ขัดสน
แม้จะต้องเดินทางไกลก็ยอมทน
เพื่อผจญโชคชะตาดีกว่าตาย

** แต่ยังมีพญานกแขกเต้า
ไม่อาวรณ์โศกเศร้าเหมือนสหาย
ถือสันโดษคงมั่นไม่เสื่อมคลาย
ถึงชีวิตจะมลายก็ตามที

** ผลมะเดื่อหมดไปไม่เดือดร้อน
กินใบเปลือกหน่ออ่อนอย่างถ้วนถี่
แม้กระทั่งสะเก็ดเท่าที่มี
เป็นเครื่องเลี้ยงชีวีไปวันวัน

** ร้อนไปถึงท้าวสักกะเทวราช
ที่มีอาสน์กระด้างอย่างมหันต์
เมื่อตรวจดูก็รู้สาเหตุพลัน
ต้องยับยั้งภยันอันตราย

** จึงบันดาลต้นมะเดื่อตายสนิท
เพื่อทดลองความคิดก่อนผันผาย
ลงไปช่วยพญานกไม่ดูดาย
ก่อนที่จะวางวายลงไปพลัน

** ต้นมะเดื่อตายสิ้นในถิ่นป่า
มีผงไหลออกมาช่างอาถรรพ์
ตามช่องแตกของต้นไม้มากมายครัน
เป็นอาหารหวานมันของนกไพร

** จนสุดท้ายต้นไม้เหลือเพียงตอ
พญานกไม่ท้อหนีไปไหน
ยังถือมั่นสันโดษอย่างเกรียงไกร
เกาะตอไม้ด้วยใจที่เบิกบาน

** ท้าวสักกะแน่ใจพญานก
ไม่โกหกหลอกลวงไร้แก่นสาร
ถือสันโดษมักน้อยพอประมาณ
ไม่ซมซานหนีไปไกลที่เดิม

** จึงแปรงร่างเป็นหงส์ลงมาหา
โดยไม่ช้าด้วยหวังจะส่งเสริม
ผู้ที่มีคุณธรรมใช่ซ้ำเติม
มีสุขเพิ่มเป็นตัวอย่างสร้างความดี

** แล้วกล่าว่านี่แน่ะพญานก
จะวิตกทำไมกับที่นี่
จงหลีกไปยังที่อาหารมี
เพื่อชีวีมีสุขทุกวันคืน

** นกแขกเต้าตอบว่าพญาหงส์
ท่านนี่คงคิดว่าข้าทนฝืน
แต่ที่จริงสุขดีมิกล้ำกลืน
จะนั่งนอนเดินยืนก็สุขใจ

**  แต่เมื่อยามเพื่อนทุกข์สุขได้หรือ
คำคนจะเล่าลือกันไปใหญ่
ต้นมะเดื่อเป็นเพื่อนดีมาแต่ไร
มีทั้งผลดอกใบให้เรากิน

** เป็นทั้งญาติและเพื่อนที่ใกล้ชิด
ถ้าเราคิดหนีไปก็ใจหิน
เพียงเพราะผลไม่มีเลี้ยงชีวิน
ประโยชน์สิ้นเราหนีไม่ดีเลย

** พญาหงส์เข้าใจในความคิด
โอ้ช่างมีไมตรีจิตสุดทนเฉย
เราให้พร้อมตามปรารถนาน่าชมเชย
สหายเอ๋ยจงเลือกเอาตามต้องการ

** พญานกกล่าวว่าข้าอยากขอ
ให้ต้นไม้ชูช่อผลหอมหวาน
มีชีวิตปกติอันยาวนาน
เป็นที่พึ่งวงศ์วานเหล่านกกา

** พญาหงส์ตอบว่าจงสุโข
พึงสำเร็จดังมโนปรารถนา
เมื่อกล่าวจบก็กลับคืนกายา
เป็นมหาเทวราชชาติจอมชน

** แสดงอานุภาพแห่งสักกะ
เป็นวาระต้นไม้แห่งไพรสณฑ์
กลับคืนชีพสดใสในบัดดล
เป็นมงคลแก่นกกาน่าอัศจรรย์

** พญานกแขกเต้าจึงกล่าวว่า
ข้าแต่จอมเทวาจงสุขสันต์
พร้อมวงศาคณาญาติถ้วนหน้ากัน
จอมเทวัญกลับคืนสู่วิมาน

** ความสันโดษดีตลอดเป็นยอดทรัพย์
พระพุทธองค์ทรงยอมรับในคำขาน
จึงทรงมีมธุรสพจมาน
ความสันโดษเป็นการประมาณตน

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #26 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2559, 05:37:11 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๒๕  มีความกตัญญู
(กตญฺญุตา  เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** จะกล่าวถึงมงคลยี่สิบห้า
มีชื่อว่ากตัญญูรู้เหตุผล
เป็นคุณธรรมที่ประเสริฐของปวงชน
ช่างดีล้นหนักหนากว่าสิ่งใด

** ในโลกนี้มีบุคคลหาได้ยาก
มีไม่มากสองประการขอขานไข
ทำประโยชน์โดยไม่ได้หวังอะไร
เป็นผู้มีจิตใฝ่ตอบแทนคุณ

** “บุพการี” คือผู้มีบุญคุณมาก
ออกมาจากหัวใจใฝ่เกื้อหนุน
คือพ่อแม่ผู้ดูแลและเจือจุน
ครูอาจารย์เกื้อการุณสั่งสอนเรา

** “กตัญญูกตเวทิตา”
รู้บุญคุณแล้วมาตอบแทนเขา
ปฏิบัติตามคำสอนไม่ดูเบา
เมื่อแก่เฒ่าเลี้ยงดูผู้ชรา

** คุณธรรมสองประการกล่าวขานไว้
ถ้าทำได้แสนดีมีสง่า
เป็นบุคคลหาได้ยากดังกล่าวมา
ขอบูชาเทิดไว้เหนือฟ้าดิน

** บุคคลที่ควรกตัญญูรู้เอาไว้
แบ่งออกได้สามประเภทดังถวิล
ล้วนแต่เป็นบุพการีชั่วชีวิน
จงน้อมจินต์ทดแทนแสนงดงาม

** หนึ่งบิดามารดาสูงค่ายิ่ง
นับเป็นสิ่งประเสริฐหนึ่งในสาม
ได้เกิดกายเลี้ยงดูอยู่ทุกยาม
จะสุขทุกข์ก็ตามเฝ้าห่วงใย

** หนึ่งคุณครูผู้สอนสั่งเปรียบดังบุตร
ไม่เคยหยุดเมตตาเล็กจนใหญ่
ตั้งแต่เริ่มขีดเขียนพากเพียรไว้
จวบจนได้ปริญญามาครอบครอง

** หนึ่งรัตนะทั้งสามแสนประเสริฐ
ช่างล้ำเลิศเป็นหนึ่งไม่มีสอง
ได้เข้าใจเรื่องทุกข์สุขสมปอง
ใจผุดผ่องบริสุทธิ์ดุจมณี

** อีกทั้งผู้มีคุณการุณรัก
พึงประจักษ์คุณค่าบุญราศี
ผู้ช่วยเหลือเกื้อกูลบรรดามี
ท่านเหล่านี้พึงกตัญญูรู้พระคุณ

** กตัญญูเป็นมงคลกุศลส่ง
มีธัมมะมั่นคงไม่ว้าวุ่น
คำสรรเสริญมีมาเพราะว่าบุญ
มีสวรรค์เป็นทุนเมื่อตอนตาย

เรื่อง ช้างยอดกตัญญู

** คราครั้งหนึ่งสมเด็จพระศาสดา
เสด็จมาเพื่อโปรดสัตว์ทั้งหลาย
ประทับที่เชตวันพรรณราย
ผู้ใฝ่ธรรมมากมายเฝ้าพระองค์

** ทรงปรารภภิกษุผู้ถือสัจ
ปฏิบัติมารดาคุณสูงส่ง
นำนิทานมาสาธกโดยบรรจง
จุดประสงค์เป็นตัวอย่างสร้างความดี

** กาลครั้งหนึ่งบรมโพธิสัตว์
ทรงอุบัติเป็นช้างเผือกตามวิถี
บริวารแปดหมื่นในพงพี
เลี้ยงดูมารดาที่พิการตา

** นำบริวารออกไปหาอาหาร
ต่างชื่นบานสดใสในพฤกษา
มีอาหารมากมายสุดพรรณนา
เป็นเพราะว่าอุดมและสมบูรณ์

** กินอาหารอิ่มหนำสุขสำราญ
แสนเบิกบานหัวใจไม่เสื่อมสูญ
เตรียมอาหารให้แม่แผ่เกื้อกูล
เพื่อเพิ่มพูนบุญญาบารมี

** แล้วมอบให้บริวารนำไปส่ง
แต่มันไม่ซื่อตรงกลับพาหนี
เอาไปกินเสียเองไม่เข้าที
ทราบเรื่องแล้วพาแม่หนีจากโขลงไกล

** อาศัยอยู่ในถ้ำสองแม่ลูก
ด้วยพันผูกเกินกว่าจักหาไหน
คอยเลี้ยงดูด้วยรักจากหัวใจ
ไม่ยอมให้แม่อดสักเวลา

** ครั้นวันหนึ่งพรานไพรใจฉกาจ
เกิดพลั้งพลาดหลงทางที่กลางป่า
นั่งร้องห่มร้องไห้ในพนา
ไม่รู้ว่าทำอย่างไรในป่านี้

** พญาช้างได้ยินไม่รอช้า
จึงรีบเข้าไปหาอย่างเร็วรี่
ด้วยเมตตาจึงช่วยไม่รอรี
นำพรานไพรไปส่งที่ริมชายแดน

** ฝ่ายพรานไพรใจโฉดโหดหนักหนา
ครั้นเมื่อพ้นออกมาคิดวางแผน
ทูลราชาเพื่อหวังของตอบแทน
เป็นทรัพย์สินสุดแสนชื่นชีวัน

** วาระนั้นภายในพระราชฐาน
ช้างมงคลถึงกาลต้องอาสัญ
มาล้มลงทำให้องค์ราชัน
ต้องป่าวร้องประกาศลั่นสนั่นกรุง

** ท่านผู้ใดมีช้างรูปร่างสวย
ขอได้ช่วยนำมาดังหมายมุ่ง
จะมีรางวัลให้เป็นกระบุง
ชีวิตจะเรื่องรุ่งไปอีกนาน

** นายพรานไพรได้ทีไม่รอช้า
เฝ้ากราบทูลราชาเอ่ยคำขาน
มีช้างเผือกอาศัยในดงดาน
ลักษณะดีเป็นวงศ์วานช้างมงคล

** ขอพระองค์ทรงส่งนายควาญช้าง
ข้าจะขอนำทางเข้าไพรสณฑ์
เพื่อจะจับพญาช้างอย่างแยบยล
นำมาเป็นช้างต้นคู่ธานี

** พระราชาอนุมัติตามที่ขอ
ควาญช้างไม่รีรอขมันขมี
พบพญาช้างที่ริมฝั่งนที
กำลังดื่มวารีอยู่ริมธาร

** พญาช้างเห็นพรานก็รู้ว่า
คงมีภัยตามมาไม่พ้นผ่าน
ตั้งสติไม่คิดโกรธนายพราน
สงบนิ่งไม่ระรานคนทั้งปวง

** ควาญช้างจึงได้นำพญาช้าง
จากกลางป่าเดินทางเข้าวังหลวง
พญาช้างชอกช้ำระกำทรวง
คิดเป็นห่วงมารดาเอกากาย

** นับแต่นี้ใครจะใส่ใจแม่
คอยดูแลแม่บ้างไม่ห่างหาย
คงอดน้ำอดอาหารจนวางวาย
แม่ต้องตายแน่แน่ในเร็วไว

** มารดาพญาช้างโศกเศร้าหนัก
อนิจจาลูกรักเจ้าอยู่ไหน
พระราชาหรือว่ามีใครใคร
มาจับตัวเจ้าไปให้เศร้าตรม

** นับจากนี้กลางป่าจะสดใส
ไม้อ้อยช้างไม้อื่นใดจะสุขสม
ไม้มูกมันไม้ช้างน้าวไม่ระทม
ขาดพญาช้างรื่นรมย์จักงอกงาม

** ฝ่ายควาญช้างส่งสาสน์ถึงราชา
ตกแต่งเมืองให้สง่าดูวาบหวาม
เพื่อต้อนรับช้างเผือกให้ลือนาม
และเพื่อความเป็นสิริที่ยาวนาน

** อีกประพรมน้ำหอมให้หอมฟุ้ง
กลิ่นจรุงอบอวนทั่วราชฐาน
ทั้งประดับเครื่องทรงอลังการ
แล้วจึงนำคชสารเข้าสู่เรือน

** พระราชานำอาหารมีรสเลิศ
ที่หวานหอมประเสริฐหาใดเหมือน
ด้วยตัวของพระองค์ไม่แชเชือน
เปรียบดังเพื่อนรู้ใจมอบไมตรี

** พยายามอ้อนวอนด้วยคำหวาน
ว่าพ่อเอ๋ยลองทานอาหารนี่
อย่าชักช้าอยู่เลยเอ่ยวจี
เพราะยังมีงานต้องทำร่วมกัน

** พญาช้างจึงพูดลอยลอยว่า
นางช้างผู้กำพร้าคงโศกศัลย์
ด้วยตาบอดมองไม่เห็นเดือนตะวัน
ต้องล้มลุกเข้าขั้นชวนเวทนา

** พระราชาตรัสถามว่าท่านเอ๋ย
นางช้างที่ได้เอ่ยพร่ำบ่นหา
เป็นอะไรกับท่านจงบอกมา
เผยวาจาบอกกล่าวเล่าให้ฟัง

** พญาช้างจึงเอ่ยเฉลยถ้อย
เป็นมารดาข้าน้อยรอความหวัง
ทั้งอาหารและน้ำเพิ่มพลัง
เลี้ยงชีวังกันตายอยู่ชายดง

** พระราชราได้ฟังตรัสสั่งว่า
จงปล่อยช้างเข้าป่าดังประสงค์
ได้เลี้ยงดูมารดาดังจำนง
ธ ทรงปลงสังเวชในเหตุการณ์

** พญาช้างดีใจเป็นยิ่งนัก
ได้ประจักษ์น้ำพระทัยอันไพศาล
จึงได้เปล่งวาจาพาเบิกบาน
เป็นธรรมทานเลิศค่ากว่าอะไร

** ขอพระองค์จงเป็นผู้ไม่ประมาท
จงอย่าขาดสติที่ฝันใฝ่
แล้วกราบลาราชันดั้นด้นไป
ยังพงไพรหาแม่ผู้แก่กาย

** เมื่อไปถึงเอาน้ำไปรดแม่
ผู้นอนแผ่เพราะว่าความกระหาย
อดอาหารเจ็ดวันอันตราย
จะย่างกรายมองไม่เห็นลำเค็ญจัง

** ช้างมารดาเข้าใจว่าฝนตก
โอ้หัวอกของเราหมดความหวัง
ฝนคงตกผิดฤดูดอกกระมัง
เราคงต้องระวังดูแลตน

** พญาช้างจึงบอกว่าตัวข้าเอง
ไม่มีใครข่มเหงอย่าหมองหม่น
พระราชาปล่อยลูกมาอย่ากังวล
จะรักแม่ท่วมท้นทุกคืนวัน

** นางช้างจึงชื่นชมพระราชา
ช่างใจดีหนักหนางามเฉิดฉัน
จงรุ่งเรืองก้าวหน้านิจนิรันดร์
ขอให้องค์ราชันทรงพระเจริญ

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #27 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2559, 05:44:24 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๒๖  การฟังธรรมตามกาล
(กาเลน ธมฺมสฺสวนํ  เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ))

** การฟังธรรมตามกาลตามวาระ
คือการฟังทุกวันพระน่าสรรเสริญ
ทุกแปดค่ำสิบห้าค่ำอย่าหมางเมิน
วันว่างว่างขอเชิญฟังธรรมกัน

** พระพุทธองค์ได้ตรัสพระวัจจนะ
ทรงมุ่งผลธัมมะเพื่อสร้างสรรค์
มีอยู่สามประการคุณอนันต์
ขอจำนรรจ์เอ่ยอ้างสร้างศรัทธา

** ทรงมุ่งมั่นเพื่อประโยชน์ในโลกนี้
อีกยังมีประโยชน์ในโลกหน้า
พร้อมทั้งสิ่งสำคัญติดตามมา
คือหลุดพ้นจากตัณหามาแผ้วพาน

** ผู้มีธรรมย่อมละซึ่งกิเลส
อันเป็นเหตุหมองเศร้าเข้าเผาผลาญ
ไม่เดือดร้อนใจกายให้ร้าวราน
เพราะอานิสงส์ของการได้ฟังธรรม

** ผู้ฟังธรรมที่ดีมีดังนี้
เป็นผู้ที่มีเมตตาอย่าเหยียบย่ำ
ไม่ดูหมิ่นผู้พูดให้ระกำ
ไม่ดูหมิ่นเรื่องที่นำมาแสดง

** ฟังด้วยจิตสงบไม่ฟุ้งซ่าน
ตรึกตรองตามด้วยดวงมานเสาะแสวง
ไม่คิดว่าปัญญาน้อยคอยเคลือบแคลง
การฟังธรรมเปรียบดังแสงส่องนำทาง

** การฟังธรรมเป็นมงคลเลิศล้นนัก
จะประจักษ์เมื่อได้พบแสงสว่าง
จิตใจย่อมผ่องใสไม่เลือนราง
ความทุกข์จางสิ้นไปไม่ร้อนรน

** ทั้งบังเกิดความเห็นที่ถูกต้อง
ตามทำนองคลองธรรมเป็นกุศล
บรรเทาความสงสัยในกมล
ได้เรียนรู้เพื่อหลีกพ้นแหล่งอบาย

** ขอเชิญชวนมวลมิตรจิตหรรษา
มาฟังธรรมเทศนาดังมั่นหมาย
สำรวมจิตสำรวมใจไม่รู้คลาย
จวบจนชีพวางวายสุขสำราญ

เรื่อง จะเทศนาต้องดูนิสัยคน

** กาลครั้งหนึ่งสมเด็จพระศาสดา
ประทับใกล้นาลันทาอัครฐาน
ปาวาริกะอัมพวันอันตระการ
สนทนากับนายบ้านอสิพันธ์

** อสิพันธ์ถามว่าข้าแต่พระองค์
ท่านย่อมทรงเกื้อกูลเป็นแม่นมั่น
แก่สัตว์โลกทั้งหลายทั่วหน้ากัน
โดยไม่แบ่งชนชั้นของผู้คน

** พระพุทธองค์ตรัสว่าถูกต้องแล้ว
เรายึดถือเป็นแนวไม่สับสน
เพื่อสงเคราะห์เวไนยสัตว์พ้นอับจน
ขจัดความหมองหม่นจากภายใน

** อสิพันธ์ถามว่าถ้าอย่างนั้น
พระองค์ทรงเลือกสรรเหตุไฉน
ไม่แสดงธรรมบางคนเพราะเหตุใด
ข้าพระองค์ไม่เข้าใจในพระองค์

** พระพุทธองค์ตรัสว่าอสิพันธ์
ถ้าอย่างนั้นขอถามตามประสงค์
ใช่หรือไม่ ตอบได้ดังจำนง
ตอบตรงตรงตามที่คิดพิจารณา

** ธรรมชาติของนาสามชนิด
ตามแนวคิดมาตรฐานนานหนักหนา
คือนาดีนาปานกลางอ้างกันมา
ทั้งนาเลวที่ไร้ค่าพาล่มจม

** ท่านคิดว่าชาวนาควรหว่านไถ
ในที่นาอย่างไรเป็นปฐม
เพื่อได้ผลที่ดีน่าชื่นชม
และเป็นที่นิยมของผู้คน

** นายบ้านจึงกราบทูลพระศาสดา
คิดว่าพวกชาวนาในทุกหน
คงหว่านไถในนาดีมิวกวน
เพราะได้ผลคุ้มค่ากว่าแปลงใด

** พระศาสดาตรัสว่าถูกต้องแล้ว
อันนาดีเปรียบดังแก้วที่สดใส
เป็นสิ่งที่ต้องการของใครใคร
เพราะทำไปย่อมได้ผลที่ดี

** อันตัวเราก็เหมือนกับชาวนา
เลือกแสดงเทศนาให้ถูกที่
จึงเกิดผลประโยชน์ที่พึงมี
ด้วยเหตุนี้จำเป็นต้องเลือกคน

** อสิพันธ์เข้าใจในอุบาย
จึงมอบกายด้วยใจหวังเกิดผล
เป็นอุบาสกในศาสนาจนวายชนม์
เพื่อหลีกพ้นกิเลสเหตุหมองมัว

** อานิสงส์การฟังธรรมนั้นดีเลิศ
แสนประเสริฐหนักหนาละความชั่ว
มีความสุขทุกข์ไกลไม่พันพัว
หลงเกลือกกลั้วอบายให้อาดูร

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #28 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2559, 05:54:42 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๒๗  ความอดทน
(ขนฺตี จ  เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** “ขันติ” แปลว่าความอดทน
เป็นคุณธรรมเลิศล้นไม่เสื่อมสูญ
ทำให้คนทุกคนสุขสมบูรณ์
อีกเพิ่มพูนความดีงามตามสมควร

** ขันตินี้แบ่งเป็นสี่ประเภท
ตามลักษณะของเหตุเป็นส่วนส่วน
จะขอกล่าวให้เข้าใจในกระบวน
จึงเชิญชวนจงรับฟังอย่างตั้งใจ

** หนึ่งอดทนความลำบากความตรากตรำ
ต้องระกำเหนื่อยยากก็ทนไหว
หิวกระหายหนาวร้อนไม่เป็นไร
ประกอบการงานไปสำเร็จพลัน

** สองอดทนต่อทุกข์เวทนา
เมื่อถึงคราเจ็บไข้ไม่โศกศัลย์
ไม่ทุรนทุรายเป็นสำคัญ
ถ้าอดทนจะสุขกันในบั้นปลาย

** สามอดทนความเจ็บใจไม่เดือดร้อน
ใครขอดค่อนไม่ถือสาจะเสียหาย
ใครด่าว่าช่างเขาเราสบาย
คงไม่ตายเพราะนินทาอย่าร้อนรน

** อดทนต่อกิเลสเหตุเศร้าหมอง
ไม่ใส่ใจใฝ่ปองอกุศล
ละรักโลภโกรธหลงเป็นมงคล
บังเกิดผลเป็นสุขทุกข์ห่างไกล

** สิ่งทำลายความอดทนให้ป่นปี้
ฟังให้ดีไม่ใช่เรื่องเหลวไหล
มีโทสะความโกรธโปรดหลีกไป
โลภะความอยากได้ร้ายพอกัน

** โกสัชชะเกียจคร้านงานทั้งหลาย
ความมักง่ายเหี้ยมโหดโทษมหันต์
โมหะความลุ่มหลงมีโทษทัณฑ์
ใครตกเป็นทาสมันต้องวอดวาย

** ความอดทนเป็นมงคลที่ยิ่งใหญ่
เป็นสาเหตุทำให้มีสหาย
เป็นที่รักของมวลมิตรไม่เสื่อมคลาย
ไม่หลงตายมีสติคอยตริตรอง

** สุคติเป็นที่ไปในวันหน้า
อีกเวรภัยไม่มาคอยเกี่ยวข้อง
มีความสุขปลอดภัยสมใจปอง
บุญสนองสู่สวรรค์ชั้นวิมาน

ความโกรธเหมือนรอยขีด

**ภิกฺขเว   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 
อันผู้คนมากมายมหาศาล
ที่อาศัยในพื้นจักรวาล
แบ่งได้สามประการพึงสังวร

** หนึ่งบุคคลเหมือนรอยขีดในหิน
มีความโกรธนิจสินสุดถ่ายถอน
ความโกรธนั้นฝังใจไม่คลายคลอน
ถึงม้วยมรณ์ไม่เหือดหายคลายโกรธเลย

** เหมือนรอยขีดในหินย่อมลำบาก
ลบแสนยากหนักหนาจะเฉลย
น้ำจะเซาะลมจะพัดก็เฉยเมย
ขอเปิดเผยไม่มีทางจะล้างมัน

** สองบุคคลเหมือนรอยขีดในดิน
 ย่อมลบเลือนสูญสิ้นดังใฝ่ฝัน
กระแสน้ำหรือลมลบได้พลัน
ไม่นานวันริ้วรอยจะน้อยลง

** เปรียบความโกรธของเหล่าชาวมนุษย์
ย่อมสินสุดหมดไปดังประสงค์
ไม่คงทนถาวรและยืนยง
ดังรอยขีดไม่มั่นคงยืนยาวนาน

** สามบุคคลเหมือนรอยขีดในน้ำ
ไม่ชอกช้ำเหมือนถูกไฟเผาผลาญ
ไร้ร่องรอยให้เห็นเพื่อประจาน
ร่องรอยมีไม่นานเหมือนสิ่งใด

** บุคคลฆ่าอะไรได้ย่อมเป็นสุข
ปราศจากทุกข์มีแต่ความสดใส
สดชื่นทั้งร่างกายและจิตใจ
โปรดจงไขปริศนาอย่าช้าที

** พระพุทธองค์ได้ตรัสพระคาถา
ใจความว่าฆ่าความโกรธโชติรัศมี
นอนเป็นสุขทุกทิวาและราตรี
ความโกรธนี้เป็นมลทินสิ้นกาลนาน

** ดูก่อนพราหมณ์พระอริยะย่อมสรรเสริญ
ผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ฆ่าความโกรธลงได้อย่างแหลกลาญ
ไม่เศร้าโศกตลอดกาลนิจนิรันดร์

เรื่อง ความโกรธของราชสีห์

** ครานั้นพระพุทธองค์เสด็จมา
ถึงกูฏาคาลศาลาริมไพรสัณฑ์
ณ ที่ป่าชื่อว่ามหาวัน
เวสาลีนครันทรงพักกาย

** ทรงปรารภลูกชายช่างตัดผม
ผู้ระทมอกหักรักสลาย
เกิดน้อยใจขึ้นมาฆ่าตัวตาย
เป็นเบื้องต้นสาธยายเรื่องผ่านมา

** ขอย้อนกลับนับกาลนานมาแล้ว
โพธิสัตว์ผ่องแผ้วสุดหรรษา
จุติเป็นราชสีห์ชื่นชีวา
อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์

** สถิตในถ้ำทองกับน้องรัก
มีความสุขยิ่งนักสมัครสมาน
ต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกันมานาน
พารื่นรมย์สำราญกว่าใครใคร

** มีน้องชายน้องสาวรวมเจ็ดตัว
เป็นครอบครัวราชสีห์สมัยใหม่
มีหน้าที่รับผิดชอบแบ่งกันไว้
พี่พี่ให้น้องสาวเฝ้าถ้ำทอง

** พวกพี่พี่เป็นผู้หาอาหาร
ให้น้องรับประทานไม่หม่นหมอง
วันนี้พี่ออกป่าตามครรลอง
เพื่อปากท้องน้องพี่ที่รักกัน

** ที่ใกล้ใกล้ถ้ำทองมีถ้ำแก้ว
งามเพริดแพรวสวยดีมีสีสัน
หมาจิ้งจอกอาศัยมานานวัน
หวังผูกพันสิงห์สาวเฝ้าเคลียคลอ

** เมื่อสิงห์พี่ออกไปยังไพรพฤกษ์
จึงทำใจเหิมฮึกเข้าไปขอ
ความรักจากราชสีห์มิรีรอ
หวังพะนออิงแอบแนบกายา

** สาวน้อยเอ๋ยฟังวจีพี่จะกล่าว
เราเป็นสัตว์สี่เท้าอย่าถือสา
ว่าใครสูงใครต่ำในพสุธา
จงยอมเป็นภรรยาข้าเถิดเอย

** นางสิงห์สาวผู้หยิ่งในศักดิ์ศรี
ฟังพูดจาพาทีที่เฉลย
น่าน้อยอกน้อยใจเสียจริงเอย
มาภิเปรยหยามเหยียดน่าเกลียดจัง

** อยากจะฆ่าตัวตายเสียยิ่งนัก
อ้ายจิ้งจอกมาบอกรักหวังฝากฝัง
ช่างดูถูกเหยียดหยามเกินกำลัง
แต่ต้องคิดยับยั้งรอพี่ชาย

** ฝ่ายจิ้งจอกเห็นนางไม่ตอบรับ
หันหลังกลับถ้ำแก้วแพรวเฉิดฉาย
เพื่อพำนักพักใจและพักกาย
ตามสบายเคยเป็นเช่นก่อนมา

** ราชสีห์ทั้งหกเมื่ออิ่มแล้ว
ก็คิดถึงน้องแก้วในคูหา
ได้เนื้อสัตว์รีบพากันไคลคลา
เพื่อไปพบกัลยาน้องสาวตน

** เมื่อมาถึงน้องสาวก็เล่าเรื่อง
แสนขุ่นเคืองหนักหนาอุราหม่น
ถามน้องสาวถึงที่อยู่หมาจอมซน
ด้วยความโกรธเหลือล้นจะฆ่ามัน

** น้องสาวบอกว่าอยู่กลางแจ้ง
ไม่เคลือบแคลงกระโจนไปด้วยโทสัน
ถลาวิ่งจากถ้ำมิช้าพลัน
ชนถ้ำแก้วแพรวพรรณคอหักตาย

** ตกตอนเย็นพี่ใหญ่ไม่รอช้า
รีบกลับมาถ้ำทองผ่องเฉิดฉาย
รู้เรื่องที่น้องสาวกล่าวบรรยาย
ไม่งมงายเริ่มวิเคราะห์ให้เหมาะดี

** อันจิ้งจอกไม่ชอบอยู่กลางแจ้ง
ต้องกำบังแอบแฝงอย่างถ้วยถี่
คงอยู่ในถ้ำแก้วกลางพงพี
ใกล้ถ้ำทองเรานี้อย่างแน่นอน

** จึงมุ่งหน้าไปยังที่เชิงเขา
เห็นศพเหล่าน้องชายให้ทอดถอน
อยู่อยู่ต้องตายไปใจอาวรณ์
อกเร้ารอนโศกเศร้าร้าวดวงมาลย์

** คงเป็นเพราะขาดปัญญาชีวาสิ้น
ต้องด่าวดิ้นชีวันสิ้นสังขาร
ด้วยโมหะพาให้ต้องแหลกลาญ
จึงกล่าวขานเป็นคาถามาเตือนใจ

** การงานย่อมจะเผาซึ่งบุคคล
ผู้ร้อนรนไม่พิจารณาว่าเล็กใหญ่
หยาบละเอียดยากง่ายหรืออย่างไร
รีบทำไปเพียงตัดความรำคาญ

** เปรียบของร้อนรีบใส่เข้าในปาก
มันคงยากที่จะรู้รสคาวหวาน
ถูกลวกเผารู้สึกทรมาน
เหมือนทำงานขาดปัญญาพาให้พัง

** เมื่อกล่าวจบขึ้นไปที่ปากถ้ำ
เพื่อตอกย้ำร้องคำรามตามที่หวัง
เสียงกึกก้องกัมปนาทหวาดเสียวจัง
ด้วยพลังเจ้าป่าหูตามัว

** ฝ่ายจิ้งจอกผวาพาใจหวั่น
เสียงคำรามร้องลั่นดังไปทั่ว
หัวใจวายตายไปด้วยความกลัว
ใครทำชั่วได้ชั่วมาตอบแทน

** ราชสีห์กลับไปหาน้องสาว
พูดปลอบใจยืดยาวด้วยห่วงแสน
อย่าคิดมากอย่าหวั่นไหวไม่คลอนแคลน
เราหวงแหนชีวิตไว้จะได้บุญ

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #29 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2559, 06:17:35 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๒๘  เป็นผู้ว่าง่าย
(โสวจสฺสตา  เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** คนว่านอนสอนง่ายนั้นดีนัก
มีคนรักคนเมตตาบุญญาหนุน
สถาพรก้าวหน้าชนการุณ
มีผู้คอยค้ำจุนสุขสบาย

** คนว่าง่ายมีอยู่สองประเภท
แบ่งตามเหตุสมควรต้องขวนขวาย
หนึ่งต้องการอามิสที่มากมาย
หนึ่งว่าง่ายเพราะอยากเป็นคนดี

** การทำตนเป็นคนที่ว่าง่าย
คนทั้งหลายชื่นชมไม่ข่มขี่
มีลักษณะสามประการขอพาที
ดังวจีที่จะเอ่ยเผยให้ฟัง

** หนึ่งรับคำสอนด้วยใจที่มุ่งหมาย
น้อมใจกายนั่งนอนตามสอนสั่ง
รับรู้แล้วปฏิบัติอย่างจริงจัง
คอยระวังไม่เกลือกกลั้วมั่วสิ่งเลว

** สองรับทำความดีหนีสิ่งชั่ว
ให้ห่างไกลไม่มั่วความแหลกเหลว
ลดละเลิกอกุศลอย่างรวดเร็ว
หนีจากเหวอบายตายทั้งเป็น

** สามรับรู้คุณของผู้ให้โอวาท
มีโอกาสจะตอบแทนแม้แสนเข็ญ
คิดถึงคุณที่มีทุกเช้าเย็น
ชีวิตมิลำเค็ญเพราะน้ำใจ

** การว่านอนสอนง่ายเป็นมงคล
จะมีผลแสนดีที่ยิ่งใหญ่
มีแต่ได้กับได้ไม่ว่าใคร
เป็นกำไรที่สูงค่าน่านิยม

** การเป็นคนว่านอนและสอนง่าย
เป็นมงคลมากหลายจะสุขสม
เป็นความดีสูงค่าน่าชื่นชม
จะรื่นรมย์สุขใจในบั้นปลาย

** มีจิตพร้อมสำหรับธรรมขั้นสูง
เป็นที่รักของฝูงมิตรสหาย
อีกทั้งผู้ใกล้ชิดอย่างมากมาย
ชนทั้งหลายเมตตาและปรานี

** ได้รับรู้วิทยาศิลปะ
ทั้งธัมโมธัมมะเป็นวิถี
แห่งการเดินตามครรลองของชีวี
สิ่งเหล่านี้ได้มาเพราะอะไร

** เพราะว่านอนสอนง่ายไม่ใช่หรือ
ผลมันคือความสุขใช่หรือไม่
ไม่เป็นคนกระด้างเหนืออื่นใด
และยอมรับความจริงได้ทุกกรณี

** นับได้ว่าการสอนง่ายช่างดีล้น
อุดมผลยิ่งนักในทุกที่
ละใฝ่ต่ำริษยากันเสียที
ทั้งโอ้อวดตระหนี่คิดปิดบัง

เรื่อง พระราธเถระ

** เอกัง สะมะยัง สมัยหนึ่ง
ตถาคตทรงรำพึงถึงเบื้องหลัง
พระราธะเถระผู้ชรัง
เมื่อคราวครั้งที่ท่านยังครองเรือน

** เคยเป็นพราหมณ์เข็ญใจอาศัยพระ
เพื่อเลี้ยงดูอาตมะเพราะขาดเพื่อน
ช่วยปัดกวาดพระวิหารไม่แชเชือน
เปรียบเสมือนหน้าที่ตนอดทนทำ

** พระพุทธองค์ทอดพระเนตรอุปนิสัย
พระอรหันต์ฉัตรชัยใจชื่นฉ่ำ
ทรงพูดจากับพราหมณ์ด้วยน้ำคำ
ที่น้อมนำให้สุขสันต์ในบั้นปลาย

** พระราธะจึงทูลว่าข้าฯ อยากบวช
แต่คงชวดคิดไปแล้วใจหาย
ไม่มีใครสงเคราะห์เพราะวุ่นวาย
ข้าฯ คงตายจากไปในไม่นาน

** พระพุทธองค์ทรงให้ประชุมสงฆ์
เพื่อหาองค์อุปถัมภ์ค้ำประสาน
ให้ราธะได้บวชตามต้องการ
จึงตรัสถามทุกท่านโดยทันที

** ท่านผู้ใดคิดถึงอุปการะ
ของท่านพราหมณ์ราธะบ้างไหมนี่
จะมีใครไหนบ้างหรือไม่มี
โปรดจงเอ่ยวจีพจมาน

** ในครั้งนั้นพระอัครสาวก
ได้หยิบยกเรื่องราวมากล่าวขาน
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นประธาน
ราธะท่านเคยให้ข้าวหนึ่งทัพพี

** แก่ตัวข้าพระองค์ในกาลก่อน
คราวเมื่อตอนบิณฑบาตในกรุงศรี
ในครั้งนั้นท่านพราหมณ์ฐานะดี
บุญคุณนี้ข้าพระองค์ไม่ลืมเลย

** ถ้าอย่างนั้นดีล่ะสารีบุตร
เป็นเรื่องดีที่สุดกล้าเปิดเผย
รับภาระการบวชอย่าเฉยเมย
เพื่อราธะที่เคยอุดหนุนมา

** ฝ่ายราธะพราหมณ์แก่แม้ได้บวช
ไม่เย่อหยิ่งโอ้อวดริษยา
มีขันติคารวะและศรัทธา
มีเมตตาเป็นธรรมค้ำจุนตน

** เป็นคนที่ว่านอนและสอนง่าย
น้อมใจกายเพื่อละอกุศล
ยอมรับฟังคำแนะนำของทุกคน
ครั้นไม่นานผ่านพ้นสุขโลกีย์

** ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ชั่วกัปกัลป์ไร้ทุกข์เป็นสุขี
อาสวะสิ้นไปไกลราคี
ความเศร้าหมองไม่มีช่างดีเกิน

** ครั้นเวลาผ่านไปในครั้งนั้น
พวกภิกษุพากันกล่าวสรรเสริญ
ว่าราธะอ่อนน้อมจึงจำเริญ
ได้เพลิดเพลินในธรรมองค์สัมมา

** อีกทั้งพระสารีบุตรสุดประเสริฐ
กตัญญูเป็นเลิศดีหนักหนา
ประกอบกับกตเวทิตา
ตอบคุณบูชาราธะพราหมณ์

** พระพุทธองค์ได้ตรัสพระวัจจนะ
เป็นธรรมะจากโอษฐ์อย่ามองข้าม
ผู้ใดเป็นบัณฑิตจงติดตาม
พยายามคบหาสมาคม

** จงมองเห็นเช่นคนบอกขุมทรัพย์
ที่มีคุณคณานับไม่ทับถม
ไม่มีโทษใดใดให้หมองตรม
จะรื่นรมย์เพราะบัณฑิตนิจนิรันดร์

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์


บันทึกการเข้า

หน้า: 1 [2] 3   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: