#ตราครุฑ มีกี่แบบ รู้ไหม ?
หลาย ๆ คน คงคุ้นตากับสัญลักษณ์ที่ประดับอยู่บนหนังสือราชการที่เรียกว่า "ตราครุฑ" อย่างแน่นอน เนื่องจากหนังสือราชการทุกฉบับ ล้วนต้องมีตราครุฑประทับอยู่
โดยการใช้ตราครุฑมีมาตั้งแต่โบราณแล้ว ใช้เป็นพระราชลัญจกรสำหรับประทับหนังสือราชการแผ่นดินที่เป็นพระบรมราชโองการ และใช้พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์
ต่อมาจึงได้มีการใช้ตราครุฑเป็นสัญลักษณ์ประทับลงบนหัวกระดาษ เพื่อแสดงให้ทราบว่าเป็นเอกสารหรือหนังสือราชการ
สำหรับตราครุฑในหนังสือราชการไทยมี ๒ แบบ (ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ หมวด ๔)
แบบ ๑ ครุฑเท้าเหยียดตรง (ขวา) ใช้ในหนังสือราชการ
การใช้ตราครุฑในหนังสือราชการนั้นจะต่างกัน โดยแบ่งเป็น
• หนังสือราชการภายนอกใช้ขนาดสูง ๓ เซนติเมตร
• หนังสือราชการภายใน ขนาดสูง ๑.๕ เซนติเมตร
แบบ ๒ ครุฑเท้าตั้งหรือครุฑดุน (ซ้าย) ใช้กับพระมหากษัตริย์เท่านั้น
โดยใช้เป็นตราราชการของกรมราชองครักษ์ และหน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงใช้บนหน้าปกราชกิจจานุเบกษา หนังสือเดินทาง
ทั้งหมดนี้ ก็เป็นเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับตราครุฑที่หลายคนอาจจะไม่เคยรู้