-/> การปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้นของตำรวจ

You are here: Khonphutorn.com - แหล่งข้อมูลของคนไทยหมวดอาชีพรู้กฎหมาย คลายปัญหา (ผู้ดูแล: พรหมพิพัฒน์)การปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้นของตำรวจ
หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: การปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้นของตำรวจ  (อ่าน 1828 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ดูแลเรื่องกฏหมายของเว็บ
คะแนนน้ำใจ 1010
กระทู้: 130
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« เมื่อ: 26 มีนาคม 2559, 09:19:36 PM »

Permalink: การปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้นของตำรวจ
Nation TV - เว็บไซต์สถานีข่าวอันดับ 1 ของเมืองไทย
"นายนิวัฒน์ แก้วล้วน เลขาธิการสภาทนายความ กล่าวถึง การปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้นของตำรวจว่า ทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นตำรวจในหรือนอกเครื่องแบบ หากเป็นเหตุที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าสามารถขอตรวจค้นผู้ต้องสงสัยได้ แต่ก่อนขอตรวจค้นจะต้องแสดงตัว โดยการแสดงบัตรประจำตัวว่าเป็นตำรวจ ต้องระบุชื่อและสังกัด หรือหน่วยงาน ทุกครั้งก่อนทำการตรวจค้นหรือจับกุมสภาทนายความ แนะประชาชน ถูกตร.ตรวจค้นโดยไม่แสดงตัว ให้แจ้งความฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ!ทั้งนี้ การตรวจค้นของตำรวจในหรือนอกเครื่องแบบ จะต้องแจ้งวัตถุประสงค์ต่อผู้ถูกตรวจค้นด้วยว่า ตรวจค้นเพื่ออะไร ในกรณีที่ไม่ใช่เหตุเฉพาะหน้าการตรวจค้นจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีหมายค้น และผู้ตรวจค้นต้องมีตำรวจชั้นสัญญาบัตร รวมอยู่ด้วย หากในการตรวจค้นทั้งกรณีที่ไม่ใช่เหตุเฉพาะหน้าและเหตุเฉพาะหน้า โดยไม่มีการแสดงตัว ผู้ถูกตรวจค้นสามารถแจ้งความเอาผิดได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 คือ เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตนายนิวัติ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังสามารถเอาผิดตามพฤติการณ์การกระทำ เช่น กักตัวไว้สามารถแจ้งความได้ ในข้อหากักขังหน่วงเหนี่ยว ทำให้สูญเสียอิสรภาพหรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง หากมีการทำร้ายร่างกาย สามารถแจ้งความเอาผิดตำรวจที่กระทำได้ในข้อหาทำร้ายร่างกาย ส่วนการจับกุม จะต้องแสดงว่าเป็นตำรวจเช่นกัน หากเป็นความผิดซึ่งหน้าก็ให้แสดงตัวพร้อมจับกุมได้ ส่วนวิธีการปฏิบัติของตำรวจสายสืบสวนสอบสวนนั้น ไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะบางครั้งจะเป็นการอำพรางตัวเข้าไปเพื่อหาข้อมูล และต้องมีระเบียบแบบแผนกำหนดไว้อย่างชัดเจนและเป็นแนวทางปฏิบัติให้ตำรวจทุกนายต้องปฎิบัติตามสอดคล้องกับนายชาติชาย สุทธิกลม กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นตำรวจในเครื่องแบบหรือนอกเครื่องแบบ การตรวจค้นจับกุมจะต้องมีการแสดงตัวก่อน และต้องแจ้งกับผู้ที่ถูกดำเนินการว่าจะค้นหรือจะจับกุมในความผิดอะไร และหากเกิดการทำร้ายร่างกายผู้ที่ถูกตรวจค้นหรือถูกจับกุมโดยไม่มีเหตุอันสมควรตำรวจที่กระทำจะมีความผิดในข้อหาทำร้ายร่างกาย ซึ่งกรณีเช่นนี้หากผู้ถูกตรวจค้นขัดขืนมีการต่อสู้ก็ถือว่าไม่ได้กระทำผิดเพราะเข้าข่ายการป้องกันตัวเองนายชาติชาย กล่าวว่า ส่วนการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยไม่ว่าจะทำโดยตำรวจสายสืบทั้งในและนอกเครื่องแบบ เมื่อการควบคุมตัวแล้วจะต้องนำบุคคลผู้นั้นไปยังสถานีตำรวจโดยเร็ว หรือต้องแจ้งให้ตำรวจที่ทำหน้าที่สอบสวนเข้ามายังพื้นที่ควบคุมตัวโดยเร็ว จะควบคุมตัวไว้เองเป็นเวลานานไม่ได้"
อ่านต่อที่: http://www.nationtv.tv/main/content/crime/378495156/
บันทึกการเข้า

ใช้ชีวิตแบบสบายๆ ปล่อยวางบ้าง
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: