-/> กฏหมายควรรู้เรื่องที่ดินและการสร้างบ้าน (1)

You are here: Khonphutorn.com - แหล่งข้อมูลของคนไทยหมวดอาชีพรู้กฎหมาย คลายปัญหา (ผู้ดูแล: พรหมพิพัฒน์)กฏหมายควรรู้เรื่องที่ดินและการสร้างบ้าน (1)
หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: กฏหมายควรรู้เรื่องที่ดินและการสร้างบ้าน (1)  (อ่าน 1554 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ดูแลเรื่องกฏหมายของเว็บ
คะแนนน้ำใจ 1010
กระทู้: 130
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« เมื่อ: 26 มีนาคม 2559, 08:42:09 PM »

Permalink: กฏหมายควรรู้เรื่องที่ดินและการสร้างบ้าน (1)
กฏหมายควรรู้เรื่องที่ดินและการสร้างบ้าน (1)

การมีบ้านซักหลังถือเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตของหลาย ๆ คน และผู้ที่จะทำให้ความฝันของเราเป็นจริงนั้นก็คือ สถาปนิก ซึ่งจะเข้ามาช่วยเราในการกลั่นกรองความคิด ประติดประต่อความต้องการจนเกิดพื้นที่ใช้สอยที่ลงตัว

อีกหน้าที่ของผู้ออกแบบคือทำให้บ้านของเราสร้างออกมาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และใช่ว่าเมื่อเราวางใจให้สถาปนิกทำหน้าที่เหล่านั้นแล้วเราจะไม่ต้องทำอะไรเลยครับ เราในฐานะเจ้าของบ้านก็ควรที่จะหาความรู้เพื่อให้สามารถพูดคุยกับผู้ออกแบบได้อย่างเข้าใจ และมีส่วนช่วยในการตัดสินใจอย่างเหมาะสมกับความต้องการของเราอีกด้วย สิ่งนั้นคือกฏหมายที่เรียกว่า #กฎหมายควบคุมอาคาร

แต่อย่าเพิ่งตกใจไปครับเพราะถึงแม้กฏหมายเหล่านี้จะมีมากมายหลายข้อชวนให้ปวดหัว วันนี้เราจึงคัดเฉพาะกฏหมายที่ควรรู้เพียงไม่กี่ข้อ ซึ่งล้วนมีความสำคัญมานำเสนอเพื่อให้ท่านเจ้าของบ้านทุกท่านได้ถึงบางอ้อกันอย่างง่าย ๆ ครับ

ส่วนที่ว่าด้วยเรื่องลักษณะอาคาร

1. ห้องแถว ตึกแถว หรือบ้านแถวที่สร้างติดต่อกัน ให้มีผนังกันไฟทุกระยะไม่เกิน 5 คูหา ผนังกันไฟต้องสร้างต่อเนื่องจากพื้นดินจนถึงระดับดาดฟ้าที่สร้างด้วยวัสดุถาวรที่เป็นวัสดุทนไฟ กรณีที่เป็นหลังคาสร้างด้วยวัสดุไม่ทนไฟให้มีผนังกันไฟสูงเหนือหลังคาไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร ตามความลาดของหลังคา

2. ห้องแถวหรือตึกแถวที่ด้านหน้าไม่ติดถนนสาธารณะ ต้องมีที่ว่างด้านหน้าอาคารอย่างน้อย 6 เมตร และยังต้องมีที่ว่างด้านหลังอาคารกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร โดยไม่ให้มีส่วนใดของอาคารยื่นลํ้าเข้าไป เว้นแต่บันไดหนีไฟภายนอกอาคารที่ยื่นได้ไม่เกิน 1.40 เมตร

3. บ้านแฝดต้องมีที่ว่างด้านหน้าและด้านหลังระหว่างรั้วหรือแนวเขตที่ดินกับแนวผนังอาคารกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตรและ 2 เมตรตามลำดับ และมีที่ว่างด้านข้างกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร

4. รั้วหรือกำแพงที่สร้างขึ้นติดต่อหรือห่างจากถนนสาธารณะน้อยกว่าความสูงของรั้ว ให้ก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 3 เมตร เหนือระดับทางเท้าหรือถนนสาธารณะ

5. ห้องพักอาศัยต้องมีความสูงพื้นถึงพื้นชั้นถัดไปอย่างน้อย 2.60 เมตร ห้องแถวหรือตึกแถวชั้นล่าง ความสูงพื้นถึงพื้นชั้นถัดไปอย่างน้อยต้อง 3.50 เมตร ส่วนชั้นถัดไปให้สูง 3.00 เมตร และถ้าตึกแถวของเรามีความสูงจากพื้นถึงพื้นชั้นบนอย่างน้อย 5 เมตร สามารถทำชั้นลอยได้แต่เนื้อที่ชั้นลอยต้องไม่เกิน 40% ของพื้นที่ห้องทั้งหมด ระยะดิ่งระหว่างพื้นชั้นลอยถึงพื้นอีกชั้นหนึ่งต้องไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร และระยะดิ่งระหว่างพื้นห้องถึงพื้นชั้นลอยต้องไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร ด้วย

6. บันไดพักอาศัย ต้องกว้างอย่างน้อย 80 ซม. และแต่ละช่วงสูงไม่เกิน 3 เมตร ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 ซม. ลูกนอนสูงไม่เกิน 22 ซม.

7. หากบันไดพักอาศัยของเราสูงเกิน 3 เมตร ต้องทำชานพักบันไดขนาดกว้างยาวไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได

8. ห้ามให้มีส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารไม่ว่าเหนือดินหรือใต้ดินยื่นล้ำเข้าไปในพื้นที่สาธารณะ

ขอฝากไว้แค่นี้ก่อน เยอะไปเดียวจะมึนกัน ...

เห็นไหมครับว่ากฏหมายต่าง ๆ กำหนดออกมานั้น ก็ล้วนเพื่อความปลอดภัยของเรา ๆ ท่าน ๆ นั่นแหละครับ และก็ไม่ใช่เรื่องที่จะเข้าใจได้ยากเย็นอะไรเลย จริงไหมครับ

อ้างอิง : กฏกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1583756015276617&id=100009267028836
บันทึกการเข้า

ใช้ชีวิตแบบสบายๆ ปล่อยวางบ้าง
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: