การโอนคดีเยาวชนไปคดีปกติ !
จากกรณีคดีฆ่าและรุมข่มขืนที่จังหวัดหนึ่งในภาคใต้ มีหลายคนพูดว่ากฎหมายไทยอ่อนแอทำอะไรไม่ได้หรอก เดี๋ยวก็มีการลดโทษเพราะเป็นเยาวชน ฯลฯ
เนื่องจากผู้ต้องหาเป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นผู้กระทำการลงมือก่อเหตุทั้งหมด ศาลเยาวชนและครอบครัว จะพิจารณาโทษในฐานะผู้ต้องหาเป็นเยาวชนซึ่งโทษจะเบากว่ามาก เหตุเพราะเป็นเยาวชนอาจกระทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเหตุอื่นได้
ซึ่งกฎหมายกำหนดว่าให้รับโทษเพียง ๑ ใน ๓ ของอัตราโทษปกติ
แต่ในคดีนี้ผู้ต้องหามีพฤติการณ์ #แก่เกินวัยใจอาชญากร สามารถโอนคดีจากศาลเยาวชนและครอบครัว ไปพิจารณาคดีธรรมดาได้ ตาม
พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๙๗ บัญญัติว่า
“เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ บุคคลใดอายุยังไม่เกินยี่สิบปีบริบูรณ์ กระทําความผิดและเป็นคดีที่อยูในอํานาจศาลที่มีอํานาจพิจารณาคดีธรรมดา ถ้าศาลนั้นพิจารณาโดย คํานึงถึงสภาพร่างกาย สภาพจิต สติปัญญา และนิสัยแล้ว เห็นวาบุคคลนั้นยังมีสภาพเช่นเดียวกับเด็ก หรือเยาวชน ให้มีอํานาจสั่งโอนคดีไปพิจารณาในศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีอํานาจและให้ถือวา บุคคลนั้นเป็นเด็กหรือเยาวชน
คดีอาญาที่อยูในอํานาจศาลเยาวชนและครอบครัว ถ้าศาลเยาวชนและครอบครัวพิจารณาโดย คํานึงถึงสภาพร่างกาย สภาพจิต สติปัญญา และนิสัยแล้ว เห็นวาในขณะกระทําความผิด หรือในระหว่างการพิจารณา เด็กหรือเยาวชนที่ต้องหาวากระทําความผิดมีสภาพเชนเดียวกับบุคคลที่มีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณขึ้นไป ให้มีอํานาจสั่งโอนคดีไปพิจารณาในศาลที่มีอํานาจพิจารณาคดีธรรมดาได้”
วรรคแรกให้ศาลมีอำนาจพิจารณาว่าผู้ต้องหาที่อายุไม่เกิน ๒๐ นั้นมีร่างกาย สุขภาพ สภาพจิตใจ สติปัญญาต่ำกว่าอายุหรือไม่ ถ้าอยู่ในระดับเดียวกับเยาวชน (อายุไม่เกิน ๑๘ ตามมาตรา ๔) ก็ให้ศาลพิจารณาที่ศาลเยาวชนนี้เลย
วรรคสองนี่กลับกันให้ศาลพิจารณาว่าเยาวชนผู้ต้องหานั้นมีร่างกาย สุขภาพ สภาพจิตใจ สติปัญญาเกินกว่าอายุหรือไม่ ถ้าศาลพิจารณาว่าเกินแล้ว ศาลสามารถส่งให้ศาลธรรมดาที่ตัดสินผู้บรรลุนิติภาวะตัดสินแทนศาลเยาวชนได้
ทั้งนี้หากคดีนั้น ๆ คนร้ายมีพฤติการณ์แก่เกินวัยใจอาชญากร ก็ต้องดูหลักเกณฑ์ที่ประกอบการสังเกต ดังต่อไปนี้
1. มีการวางแผนเตรียมการมาก่อน
2. มีลักษณะอุกอาจ โหดร้ายทารุณ
3. ผลที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง หรือ เกิดความเสียหายแก่สังคมโดยรวม
4. กระทำโดยขาดความเห็นอกเห็นใจเหยื่อ
5. เคยมีประวัติการกระทำผิดในทำนองเดียวกันมาก่อน ไม่ว่าจะถูกจับกุมหรือไม่
พูดง่าย ๆ คือ ศาลสามารถพิจารณาและมีอำนาจส่งผู้ต้องหาที่เป็นเยาวชนไปศาลผู้ใหญ่ได้
คดีนี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับคดีแพรวา 9 ศพ เนื่องจากผู้ต้องหาเป็นเยาวชนเหมือนกัน ซึ่งหากพิจารณาจากหลักเกณฑ์ในการทำการก่อเหตุ คือ
1. แพรวามิได้มีการเตรียมการวางแผนมาก่อนล่วงหน้า เหตุทั้งหมดนั้นมิได้มีแรงจูงใจในการลงมือ แต่เกิดจากความประมาท และสำคัญเลยคือ
2. ไม่มีประวัติการกระทำความผิดในทำนองเดียวกันมาก่อน
ศาลเลยตัดสินโดยใช้เหตุดังกล่างมาอ้าง
ฉะนั้นจะวิพากษ์วิจารณ์อะไรท่านต้องศึกษาข้อกฎหมายถึงเหตุและผลของศาลในการพิจารณา มิใช่ด่านำก่อนเลยเป็นการแสดงถึงวิสัยทัศน์ และภูมิปัญญาของท่านว่ามีอยู่เพียงใดนะครับ
เอกสารอ้างอิง :
1.
http://www2.djop.moj.go.th/media/k2/attachments/01070001.pdf2. ความเห็นโฆษกกระทรวงยุติธรรม
http://www.dailynews.co.th/regional/377043ขอบคุณภาพจาก : แฟนเพจ Justice Channel สำนักงานกิจการยุติธรรม
https://m.facebook.com/www.oja.go.th/photos/a.664480593637716.1073741828.533062563446187/954629167956189/?type=3&source=48