-/> แบบของพินัยกรรม

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: แบบของพินัยกรรม  (อ่าน 1574 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ดูแลเรื่องกฏหมายของเว็บ
คะแนนน้ำใจ 1010
กระทู้: 130
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« เมื่อ: 06 มกราคม 2559, 10:19:08 PM »

Permalink: แบบของพินัยกรรม
แบบของพินัยกรรม


กฎหมายกำหนดแบบของพินัยกรรมไว้ ๔ แบบ ผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะทำแบบใดแบบหนึ่งก็สามารถเลือกได้ตามใจชอบ

แบบที่ ๑ พินัยกรรมแบบธรรมดา
มีหลักเกณฑ์ในการทำดังต่อไปนี้
๑. ต้องทำเป็นหนังสือ ซึ่งจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ เจ้ามรดกจะเขียนหรือพิมพ์เองก็ได้ หรือให้คนอื่นเขียนหรือพิมพ์แทนก็ได้
๒. ต้องลง วัน เดือน ปี ในขณะที่ทำพินัยกรรมนั้น
๓. เจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมจะต้องเซ็นชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย ๒ คนพร้อมกัน มีข้อสังเกตว่า ถ้ามีพยานอย่างน้อย ๒ คน ลงลายมือชื่อเป็นพยานขณะทำพินัยกรรม และได้เห็นผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือแทนการลงลายมือชื่อก็ถือได้ว่าพยาน ๒ คนนั้นได้รับรองการพิมพ์ลายนิ้วมือไปด้วยในตัว ไม่จำต้องมีพยาน ๒ คนลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรมอีกชุดหนึ่งต่างหากอีก (ฎ.๑๑๑/ ๒๔๙๗, ฎ.๖๑๙/๒๔๙๑)

แบบที่ ๒ พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
หลักเกณฑ์
๑. เจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมจะต้องเขียนข้อความในพินัยกรรมทั้งฉบับ ด้วยลายมือของตนเอง
๒. ลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำพินัยกรรมนั้น
๓. เจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรม จะต้องลงลายมือชื่อ(ลายเซ็น) ไว้ในพินัยกรรมนั้นจะลงลายพิมพ์นิ้วมือไม่ได้
ข้อสังเกต
พินัยกรรมแบบที่ ๒ นี้ไม่ต้องมีพยานรู้เห็นในการทำพินัยกรรมแต่อย่างไร

แบบที่ ๓ พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
เป็นพินัยกรรมที่ทางบ้านเมืองเป็นผู้จัดทำให้ คือต้องไปติดต่อขอทำพินัยกรรมแบบนี้ที่ที่ว่าการอำเภอให้จัดการทำให้
 โดยเป็นหน้าที่ของนายอำเภอ สำหรับขั้นตอนในการทำพินัยกรรมแบบนี้มีดังต่อไปนี้ คือ
๑. ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตน แก่นายอำเภอ
๒. นายอำเภอต้องจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบนั้นลงไว้และอ่านข้อความนั้นให้พยานและผู้ทำพินัยกรรมฟัง
๓. เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่า ข้อความที่นายอำเภอจดนั้นเป็นการถูกต้องตรงกัน
กับที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งไว้แล้วให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
๔. ข้อความที่นายอำเภอจดไว้นั้น ให้นายอำเภอลงลายมือชื่อและลงวัน เดือน ปี
ทั้งจดลงไว้ด้วยตนเองเป็นสำคัญว่าพินัยกรรมนี้ได้ทำขึ้นถูกต้องตามข้อ ๑ ถึงข้อ ๓
ข้างต้นแล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ
ดังนั้น พินัยกรรมแบบนี้ ขั้นตอนในการทำต่าง ๆ เป็นหน้าที่ของนายอำเภอที่จะจัดการให้
การทำพินัยกรรมแบบนี้จึงสะดวกและไม่ผิดพลาดเพราะผู้ทำพินัยกรรมเพียงแต่แจ้งความประสงค์
ให้นายอำเภอทราบว่าต้องการจะทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองก็เพียงพอแล้ว
 ต่อจากนั้นเป็นหน้าที่ของนายอำเภอที่จะจัดการให้ซึ่งการทำพินัยกรรมแบบนี้อาจจะทำนอกที่ว่าการอำเภอก็ได้
โดยไปยื่นคำร้องต่อนายอำเภอ

แบบที่ ๔ พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
เป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยมีลักษณะเป็นเอกสารลับ กล่าวคือ ผู้ทำพินัยกรรมกับผู้เขียนพินัยกรรม(ในกรณีผู้อื่นเป็นผู้เขียน) เท่านั้น
ที่จะรู้ว่าพินัยกรรมนั้นมีข้อความอย่างไร ซึ่งพินัยกรรมแบบนี้มีหลักเกณฑ์และขั้นตอนในการทำดังนี้คือ
๑. ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม
๒. ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรมนั้นแล้วลงลายมือชื่อคาบรอยผนึกนั้น
๓. ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้นไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอีกย่างน้อย ๒คน
และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรามิได้เป็นผู้เขียนเองโดยตลอด
ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งนามและภูมิลำเนาของผู้เขียนให้ทราบด้วย
๔. เมื่อนายอำเภอจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรมและวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมมาแสดงไว้บนซองนั้นและประทับตราตำแหน่งแล้ว
ให้นายอำเภอ ผู้ทำพินัยกรรม และพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น

ข้อควรระวังในการทำพินัยกรรม
๑. ผู้เขียน หรือพยานในพินัยกรรม รวมทั้งคู่สมรสของผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมแบบต่างๆ นั้น
จะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้
๒. บุคคลที่มีสถานะดังต่อไปนี้จะเป็นพยานในพินัยกรรมไม่ได้คือ
ก. ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ข. บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
ค. บุคคลที่หูหนวกเป็นใบ้หรือตาบอดทั้ง ๒ ข้าง
บันทึกการเข้า

ใช้ชีวิตแบบสบายๆ ปล่อยวางบ้าง
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: