-/> ไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี ( Hepatitis B )

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี ( Hepatitis B )  (อ่าน 3251 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,135
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2558, 06:01:57 PM »

Permalink: ไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี ( Hepatitis B )



ไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี ( Hepatitis  B )


ไวรัสตับอักเสบบี
   ไวรัสตับอักเสบบีคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร?
   ไวรัสบี เป็นเชื้อโรคขนาดเล็กมาก เมื่อติดเชื้อ จะเข้าไปในตับ ทำให้เกิดการอักเสบ และมีการตายของเซลล์ตับ
ถ้าโรคหาย ร่างกายสามารถควบคุมได้ จะมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้น แต่บางรายไม่หาย เป็นเรื้อรัง ทำให้เกิดการอักเสบเป็นระยะเวลานาน
เกิดแผล และพังผืด จนเกิดตับแข็ง และนำไปสู่การเกิดตับวาย และมะเร็งตับในที่สุด
   ในปัจจุบัน คนไทยมีการติดเชื้อนี้ ประมาณ ร้อยละ   5-6   ของประชากร และพบว่าเชื้อนี้
เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของการเกิดมะเร็งตับในคนไทย

   ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อกันอย่างไร
   เชื้อนี้สามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่น ได้2ทาง คือ ทางเลือด และทางเพศสัมพันธ์
   การติดต่อทางเลือด   เป็นวิธีที่สำคัญของการแพร่เชื้อ เช่น การถูกเข็มตำ ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน,
รวมถึงการสัก เจาะหู การฝังเข็มโดยใช้เครื่องมือที่ปนเปื้อนเชื้อ สำหรับคนไทย
การติดเชื้อทางเลือดที่สำคัญ คือการติดจากแม่สู่ลูก ขณะคลอด
   การติดต่อทางเพศสัมพันธ์
   เนื่องจากเชื้อสามารถออกมาในสารคัดหลั่งของระบบสืบพันธุ์ ดังนั้นสามีภรรยา จึงอาจติดต่อสู่กันได้
 ยิ่งถ้ามีคู่นอนหลายคน ก็จะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น
   ไวรัสนี้ไม่ติดต่อจากการกอด จับมือ รับประทานอาหารร่วมกัน ใช้แก้วน้ำหรือจานชามร่วมกัน และการให้นมมบุตร

   ถ้าติดเชื้อนี้ จะมีอาการอย่างไรบ้าง?
   ในกรณีที่เป็นตับอักเสบเฉียบพลัน อาจจะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน จุกใต้ชายโครงขวา
ปัสสาวะสีเข้ม ตาเหลือง ตัวเหลือง อาการเหล่านี้มักจะดีขึ้นภายใน   2-4   สัปดาห์ และส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติ ใน   3-6   เดือน
ตามด้วยมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อนี้ ยกเว้นบางรายจะมีอาการตับอักเสบรุนแรงมากจนถึงขั้นตับวายแบบเฉียบพลัน และอาจเสียชีวิตได้

   ตับอักเสบเรื้อรัง มักจะไม่มีอาการ มักจะทราบเมื่อไปตรวจเลือด พบว่ามีการทำงานของตับผิดปกติ ในผู้ป่วยกลุ่มนี้
 ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะมีการเสื่อมของตับ จนกลายเป็นตับแข็ง จนท้ายที่สุดอาจจะเสียชีวิตจากตับวาย หรือมะเร็งตับ

จะรู้ได้อย่างไร ว่าเราติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี?
   การตรวจว่ามีการติดเชื้อนี้ คือการตรวจเลือดหาแอนติเจนของไวรัสบี หรือภูมิต่อไวรัสบี หากพบว่ามีการติดเชื้อนี้
 แพทย์จะตรวจการทำงานของตับ รวมถึงการตรวจนับปริมาณไวรัส เพื่อประเมินระยะของโรค และความจำเป็นที่ต้องรักษา

   เมื่อไรที่ควรจะได้ยารักษาไวรัสตับอักเสบบี?
   การพิจารณาว่าใครควรได้รับยาต้านไวรัส ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ระดับเอนซัยม์ตับ การเสื่อมหน้าที่ของตับ
 ปริมาณไวรัส โรคร่วมที่เป็นอยู่
ผู้ที่ควรรับการรักษา ก็คือ ผู้ที่อยู่ในระยะที่มีเชื้อไวรัสมาก และมีการอักเสบของตับมาก
 เช่น ตรวจเลือดพบเอนซัยม์ตับสูงติดต่อกัน นานเกิน3-6เดือน และกลุ่มที่เป็นตับแข็ง

   ผู้ที่ยังไม่ควรรับยารักษา ได้แก่ ผู้ที่อยู่ในระยะที่ภูมิคุ้มกันไม่ตอบสนอง(immune tolerant phase)
   ระดับเอนซัยม์ตับในเลือดจะปกติ เนื่องจากจะรักษาไม่ได้ผล ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้รับการตรวจติดตามผลเลือดเป็นระยะๆ
 เพื่อรอดูเวลาที่เหมาะสม เช่นเมื่อโรคเปลี่ยนเป็นระยะที่ภูมิคุ้มกันแข็งแรง(immune active phase)

   ปัจจุบันยาที่รักษาไวรัสตับอักเสบบีมี   2   แบบ คือ ยาฉีด และยากิน ยาทั้ง   2   แบบ
 มีข้อดี ข้อด้อยแตกต่างกัน ทั้งนี้แพทย์ผู้รักษา จะให้คำแนะนำผู้ป่วย อย่างละเอียด ในการตัดสินใจเลือกใช้ยา
โดยจะพิจารณา จากปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น อายุ โรคร่วม ระดับความรุนแรงของโรคตับ รวมถึงเศรษฐฐานะของผู้ป่วย

   ยาฉีดต้านไวรัส
   เป็นยาช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงขึ้น ถ้าผู้ป่วยตอบสนองได้ดี จะสามารถควบคุมไวรัส ได้หลายๆปี
 หรือตลอดไป โดยจะมีโอกาสหายประมาณ ร้อยละ30-40   และจะมีประมาณร้อยละ   5   
ที่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสอย่างถาวร ยาฉีดที่ใช้ในปัจจุบันคือ เพคอินเตอร์เฟอรอน(peg-interferon)

ข้อด้อยของยาฉีด คือราคาแพง และมีผลข้างเคียงมากกว่ายากิน เช่น ไข้ อ่อนเพลีย ผมร่วง
ยาฉีดไม่เหมาะกับผู้ที่มีร่างกายไม่แข็งแรง สูงอายุ เป็นตับแข็งระยะท้ายๆ เพราะอาจทำให้ตับแย่ลงได้

   ยากินต้านไวรัส
   ออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส ข้อดีคือไม่ค่อยมีผลข้างเคียง ใช้ง่าย ข้อด้อย คือมักต้องใช้ยาไปนานๆ
อาจจะเป็นเวลาหลายปี หยุดยาได้ยาก และอาจมีภาวะดื้อยา ยากินในปัจจุบัน มีในไทย   5   ชนิด
คือ ลามิวูดีน อะดีโฟเวีย เอนเทคคาเวีย เทลบิวูดีน และ ทีนอฟโฟเวีย
ยาทั้ง   5   ชนิด กินทุกวันวันละเม็ดติดต่อกัน ส่วนใหญ่จะใช้ชนิดเดียว
แต่บางครั้งแพทย์อาจให้ยาร่วมกัน2ชนิดเพื่อลดการดื้อยา

   หากทราบว่ามีการติดเชื้อ ควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร
   1.งดการดื่มสุราอย่างเด็ดขาด เพราะทำให้ตับอักเสบ และตับแข็งเพิ่มขึ้น
   2.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สุกสะอาด ให้ครบ   5   หมู่
สำหรับ อาหารเสริมควรปรึกษาแพทย์ก่อน
   3.หลีกเลี่ยง ยา ที่ไม่จำเป็น รวมถึงสมุนไพร ยาลูกกลอน ยาหม้อ เนื่องจากอาจมีพิษต่อตับได้
   4.ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ ยกเว้นในกรณีที่มีตับอักเสบเฉียบพลัน หรือตับแข็ง ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อน
   5.ลดน้ำหนัก ภาวะอ้วน จะทำให้เกิดไขมันสะสมในตับ เกิดตับอักเสบ และตับแข็งเพิ่มขึ้น
   6.ควรพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ทำอัลตราซาวนด์ เป็นระยะ เพื่อดูการทำงานของตับ
 รวมการค้นหามะเร็งตับในระยะเริ่มแรกด้วย
   7.ป้องกันการติดเชื้อสู่ไปยังผู้อื่น เช่น ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์,ควรใช้ผ้าพันแผล
หรือพลาสเตอร์ปิดเมื่อมีแผลเปิดตามร่างกาย หลีกเลี่ยงการบริจาคเลือด อวัยวะ และสารคัดหลั่งของร่างกาย
   8.ผู้ป่วยตับอักเสบบีเรื้อรัง ควรจะได้รับการตรวจว่ามีภูมิต่อไวรัสตับอักเสบเอหรือไม่ หากยังไม่มีภูมิ
ควรจะฉีดวัคซีนป้องกัน เพราะการติดไวรัสตับอักเสบเอในผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีโอกาสเกิดโรครุนแรงถึงแก่ชีวิตได้

   ถ้าคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ เราควรจะทำอย่างไร?
   1.สามีภรรยา และ ญาติสายตรง เช่นพี่น้อง ลูก รวมถึงคนที่อยู่ในบ้านเดียวกัน ควรจะไปตรวจเลือด
 และฉีดวัคซีนป้องกัน ถ้าไม่พบทั้งการติดเชื้อ และไม่มีภูมิต่อไวรัสตับอักเสบบีหากพบว่ามีการติดเชื้อควรพบแพทย์เพื่อตรวจ รักษาต่อไป
   2.ไม่ควรใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น มีดโกน แปรงสีฟัน กรรไกรตัดเล็บ
   3.หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
   ไวรัสบีเป็นสาเหตุสำคัญของ ตับอักเสบ เฉียบพลัน ตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับ ในประเทศไทย
 หากได้รับการตรวจวินิจฉัย และการดูแลรักษาที่ถูกต้อง จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคตับเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อน
 การเสียชีวิตจากโรคตับ และสามารถดำรงชีวิตได้เหมือนคนปกติ



ที่มา....รพ.มหาชัย




บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,135
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« ตอบ #1 เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2558, 06:09:31 PM »

Permalink: Re: ไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี ( Hepatitis B )

บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หัวใจ..มีไว้เพื่อรัก
คะแนนน้ำใจ 3669
เหรียญรางวัล:
นักอ่านยอดเยี่ยม
กระทู้: 310
ออฟไลน์ ออฟไลน์
   
« ตอบ #2 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2558, 08:23:04 AM »

Permalink: Re: ไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี ( Hepatitis B )
เออ ว่างๆ จะมาเขียนสุขภาพให้บ้างนะ ยัยแว้ด
สงสารแกว่ะ
เขียนอยู่คนเดียว 
จะชวนจุ๋มให้มาเขียนให้บ้าง

สู้ๆนะเพื่อน
บันทึกการเข้า
คะแนนน้ำใจ 2982
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยม
กระทู้: 260
ออฟไลน์ ออฟไลน์
   
« ตอบ #3 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2558, 09:08:31 AM »

Permalink: Re: ไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี ( Hepatitis B )
เออ เดี๋ยวมาช่วย วุ๊ย
บันทึกการเข้า
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,135
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« ตอบ #4 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2558, 09:45:00 AM »

Permalink: Re: ไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี ( Hepatitis B )
ขอบใจ เพื่อน
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: