-/> ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว.. (atrial fibrillation หรือ AF หรือ A-Fib)

You are here: Khonphutorn.com - แหล่งข้อมูลของคนไทยหมวดสุขภาพสุขภาพ (ผู้ดูแล: ญิบสลิล ณ นคร, หมอกริชครับ...คมกริช... คมกริช)ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว.. (atrial fibrillation หรือ AF หรือ A-Fib)
หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว.. (atrial fibrillation หรือ AF หรือ A-Fib)  (อ่าน 5519 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,134
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 29 ตุลาคม 2558, 06:34:08 AM »

Permalink: ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว.. (atrial fibrillation หรือ AF หรือ A-Fib)



ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว


ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation หรือ AF หรือ A-Fib)
คือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดโดยพบได้ร้อยละ 1-2 ในประชาชนทั่วไป โอกาสของการเกิดภาวะนี้จะเพิ่มขึ้น
ตามอายุโดยประชาชนในกลุ่มอายุ 80-90 ปีจะพบได้สูงถึงร้อยละ 5-15 นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ
โดยผู้ที่เป็นโรคหัวใจชนิดอื่น เช่น โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ
 โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด จะพบภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้สูงขึ้น

ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วคืออะไร
ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว คือภาวะที่มีการกระตุ้นของหัวใจห้องบนแบบกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ
ทำให้การบีบตัวของหัวใจห้องบนเสียไป ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ โดยผลแทรกซ้อนของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
คือ ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดออกไปได้ลดลง ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมจะนำไปสู่ภาวะหัวใจวายในที่สุด
และการทำให้เลือดหมุนวนตกค้างในหัวใจห้องบนสามารถก่อให้เกิดลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง
ได้สูงกว่าคนทั่วไปถึง 5 เท่าซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิต

สาเหตุของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะความดันโลหิตสูง
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เป็นต้น
โรคในระบบอื่นๆ เช่น โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอด โรคถุงลมโป่งพอง ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะหลังการผ่าตัด
 เลือดออกในสมอง สมองขาดเลือด เป็นต้น
ไม่ทราบสาเหตุ

ชนิดของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
First diagnosed atrial fibrillation คือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นครั้งแรก
Paroxysmal atrial fibrillation คือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่เกิดขึ้นและกลับมาเต้นเป็นจังหวะปกติได้เอง
ส่วนใหญ่ภายใน 24 ชั่วโมง แต่อาจเป็นนานได้ถึง 7 วัน
Persistent atrial fibrillation คือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่เกิดขึ้นต่อเนื่องนานเกิน 7 วัน
 หรือไม่สามารถกลับมาเต้นเป็นปกติได้เอง ต้องได้รับการรักษา
Long standing persistent atrial fibrillation คือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่เป็นต่อเนื่องมานานกว่า 1 ปี
โดยแพทย์และผู้ป่วยตัดสินใจรักษาให้กลับมาเต้นเป็นปกติ
Permanent atrial fibrillation คือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่เป็นต่อเนื่องมานานกว่า 1 ปี
โดยแพทย์และผู้ป่วยตัดสินใจว่าจะไม่พยายามรักษาให้กลับมาเต้นเป็นปกติ

อาการ
ผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วมากกว่าครึ่งไม่มีอาการโดยตรง แต่มาพบแพทย์ด้วยผลแทรกซ้อน
โดยเฉพาะอัมพาตตามส่วนต่างๆ ของร่างกายแทน ส่วนที่เหลือมาพบแพทย์ด้วยอาการดังต่อไปนี้
ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วไม่สม่ำเสมอ
เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
เหนื่อยขณะออกกำลังกาย
ความสามารถในการออกกำลังกายลดลง
เจ็บหรือแน่นหน้าอก
เวียนศีรษะ
หายใจลำบาก
เป็นลมหมดสติ

การตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
การตรวจชีพจรและอัตราการเต้นของหัวใจ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram)
การตรวจอื่นๆ ทางห้องปฏิบัติการ เช่น
การตรวจหาภาวะซีดโลหิตจางหรือไตวาย
การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
การตรวจเอกซเรย์ปอด
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (echocardiogram)

แนวทางการรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
การรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาอาการและลดภาวะแทรกซ้อนเป็นหลัก
ซึ่งมีผลช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและลดอัตราการเข้าโรงพยาบาลได้ โดยการพิจารณาการรักษาที่เหมาะสม
กับผู้ป่วยแต่ละรายจะขึ้นกับปัจจัยต่างๆ เช่น อายุของผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วย อาการ อาการแสดง โรคอื่นๆ
ที่เป็นอยู่ร่วมด้วย และชนิดของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว เป็นต้น โดยมีวิธีการหลายอย่าง ดังนี้

การใช้ยาโดยมีวัตถุประสงค์ คือ
เพื่อควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจไม่ให้เร็วจนเกินไป (rate control)
เพื่อควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ (rhythm control)
เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหัวใจห้องบนเพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดไปอุดตันในอวัยวะสำคัญส่วนอื่นของร่างกาย
การใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ (cardioversion) ให้กลับเต้นปกติ
การใช้สายสวนหัวใจเพื่อตัดวงจรไฟฟ้าผิดปกติในหัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (radiofrequency ablation)
หรือความเย็นจัด (cryoablation) ทำให้หัวใจกลับเต้นปกติ


ขอบคุณที่มา.. 





บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,134
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« ตอบ #1 เมื่อ: 29 ตุลาคม 2558, 06:48:36 AM »

Permalink: Re: ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว.. (atrial fibrillation หรือ AF หรือ A-Fib)
 




คำถามที่มักจะถามบ่อยๆเกี่ยวกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ชนิด สั่นพริ้ว ATRIAL FIBRILLATION (AF)  


ถ้าคุณหรือคนที่คุณรู้จัก ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด สั่นพลิ้ว
หรือ atrial fibrillation และถ้าคุณอยากทราบความผิดปกติที่ว่า หรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับคนไข้
คุณจะแปลกใจว่ามีข้อมูลที่คุณพยายามค้นหามีค่อนข้างน้อยมากเกี่ยวกับภาวะดังกล่าวนี้
 ในบทความนี้จะกล่าวเกี่ยวกับคำถามที่ยังเป็นข้อสงสัย และมักจะถามกันบ่อยๆ เกี่ยวกับภาวะโรค ผลกระทบ
และแนวการรักษาคร่าวๆ ซึ่งจะทำให้ท่านพอที่จะใช้ประกอบในการตัดสิ้นใจรักษาและร่วมวางแผนการรักษากับแพทย์ให้เหมาะสมต่อไป  


คำถาม   มีคนเป็นโรคนี้มากน้อยแค่ไหน

คำตอบ   โดยส่วนใหญ่เราพบว่ามีประชากรชาวอเมริกันประมาณ 2 ล้าน 2 แสนคน
 มีความผิดปกติ ชนิดนี้ และมีการวินิจฉัยเพิ่มขึ้นทุกปี ราว 1 แสน 6 หมื่นคน  


คำถาม   ผู้ป่วยที่มีภาวะ atrial fibrillation (AF) จะมีอาการอย่างไรบ้าง

คำตอบ   อาการของ atrial fibrillation (AF) อาจประกอบด้วย เจ็บหน้าอก หรืออืดอัดหน้าอก
 หัวใจเต็นรัวหรือเต้นเร็วจนรู้สึกได้ หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ มีอาการหายใจติดขัด หายใจไม่ทั่วท้อง
 อ่อนเปลี้ยหรืออ่อนล้าผิดปกติ มีอาการมึนงง หรือหน้ามืดเป็นลมได้  


คำถาม   มีใครบ้างที่มีโอกาสเกิด AF

คำตอบ   โอกาสเกิด AF จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อคุณมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีอายุมากกว่า 80 ปี
 ในคนที่มีอายุมากกว่า 65 ปี มีโอกาสเกิดราว 5% และอัตราการเกิด AF จะเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 9% เมื่อมีอายุเกิน 80 ปี
 หรือพบ 1 ใน 10 คน  มีโอกาสเป็น AF มากขึ้นในคนที่มีปัญหาผิดปกติของหัวใจ ภาวะหัวใจขาดเลือด ลิ้นหัวใจผิดปกติ
 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน ผู้ป่วยที่มีภาวะต่อม  ไทรอยด์ ทำงานมากผิกปกติ  รวมถึงผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน
หรือมีความอ้วนมากเกินมาตรฐานตามวัยและอายุที่ควรจะเป็น นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ในเพศชายมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง  


คำถาม   ภาวะ AF จะมีอันตรายมากน้อยแค่ไหน หรือมีผลกระทบกับเรามากน้อยแค่ไหน

คำตอบ   ก่อนอื่นคงต้องทราบก่อนว่าภาวะ AF ไม่เป็นอันตรายจนทำให้เสียชีวิต
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่อันตราย ลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในหัวใจจากการที่ หัวใจเต็นไม่เป็นจังหวะมีโอกาสหลุดลอย
แล้วไปอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอัมพาต เราพบว่า ผู้ป่วยที่เป็น AF
มีโอกาสเกิดอัมพาตสูงมากกว่าคนปกติถึง 5 เท่า และยังพบอีกว่า สองในสามของผู้ป่วยที่
เป็นอัมพาตเกิดจากมีลิ่มเลือดหลุดลอยมาอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง  


คำถาม   หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด AF มีกี่ชนิด

คำตอบ   หัวใจเต็นผิดจังหวะชนิด AF มี3 ชนิดคือ ชนิดที่เป็นชั่วคราว
หรือที่เรียกว่า Paroxysmal AF ชนิดที่เป็นค่อนข้างนานที่เรียกว่า Persistent AF
และชนิดที่เป็นถาวรที่เรียกว่า Permanent AF ในกลุ่มที่เป็นชั่วคราว พวกนี้อาจเป็นระยะเวลาสั้นๆ
 และหายเองได้ภายใน 7 วัน ส่วนในพวกที่เป็นแบบ Permanent มักจะเป็นนานกว่า 7 วัน
 และต้องการรักษาเพื่อนให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นจังหวะเหมือนเดิม ส่วนในกลุ่มที่เรียกว่า Persistent AF
มักจะเป็นนานอาจเป็นปี และยากที่จะรักษาให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นจังหวะเหมือนเดิมกว่าในกลุ่มที่เป็นชั่วคราว
 ซึ่งหมายถึงผลการรักษาจะไม่ดีเท่า  


คำถาม   อะไรเป็นสาเหตุของ AF

คำตอบ   เราพบว่า การเกิด AF นั้นส่วนใหญ่มีหลายปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นในเกิดหัวใจเต้นผิดปกติดังกล่าว
  เช่น การทำงานมากผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ภาวะหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจวาย
 และยังมีอีกกลุ่มที่เราไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน  


คำถาม   คุณหมอจะทราบได้อย่างไรว่าเรามีหัวใจเต้นผิดปกติ

คำตอบ   แพทย์จะทำการประมวลจากอาการ ประวัติทางการแพทย์ และการตรวจร่างกาย
นอกจากนี้การตรวจหัวใจด้วยเครื่องตรวจไฟฟ้าหัวใจ หรือที่เรียกว่า EKG ซึ่งจังหวะการเต้นของหัวใจจะถูกพิมพ์
ออกมาในแผ่นกระดาษ แพทย์ก็จะสามารถแปลผลจังหวะการเต้นของหัวใจของคุณได้ นอกจากนี้ยังอาจจำเป็น
ต้องตรวจหการทำงานของหัวใจด้วยเครื่องมืออื่นๆอีก เช่น เครื่องสะท้อนความถี่สูงหรือเรียกว่า เอคโค่ (Echocardiography)      


คำถาม   เรามี วิธีการรักษาอย่างไรบ้าง


คำตอบ   แนวทางการรักษาของคนไข้แต่ละรายอาจไม่เหมือนกันขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งคนไข้
และครอบครวควรที่จะได้ร่วมพูดคุยถึงแนวทางการรักษากับแพทย์ผู้ดูแลถึงแนวทางที่เหมาะกับคนไข้มากที่สุด
 โดยคำนึงถึง กิจวัตประจำวันที่ทำอยู่ แนวทางการดำเนินชิวิตในปัจจุบันของคนไข้  

            การรักษา จะมี 2 แนวทาง ได้แก่ การรักษาเพื่อไม่ให้มีอาการหรือ suppressive therapy
ซึ่งจะเป็นการรักษาแบบกดอาการ หรือควบคุมไม่ให้รุนแรง และการรักษาเพื่อให้หายขาด หรือ curative therapy
ซึ่งเหมาะสำหรับภาวะที่มีแนวโน้มว่าสามารถรักษาให้หายขาดได้  

            ในแนวทางการักษาแบบควบคุมอาการจะประกอบด้วย

                        การทำ cardioversion โดยการใช้กระแสไฟฟ้าช๊อค หรือใช้ยาเพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นจังหวะเหมือนเดิม

                        การใช้ยา แพทย์มักจะสั่งจ่ายยาในกลุ่มที่ปรับแก้จังหวะการเต้นของหัวใจ ( antiarrhythmic drug)
ยาในกลุ่มที่ลชะลอการเต้นของหัวใจ (rate control) และยาในกลุ่มที่ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด

                        การใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ pace maker
หรือเครื่องที่สามารถช๊อคไฟฟ้าได้เองเมื่อผู้ป่วยมีการเต้นหัวใจที่ผิดปกติ เช่น implantable cardioverter defibrillator (ICD)

            การรักษาเพื่อให้หาย โดยการทำการรักษาที่เรียกว่า ablation ไม่ว่าโดยการใช้สายสวนเข้าไป
หรือการทำการผ่าตัดแผลเล็กเพื่อปรับแก้จังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ โดยการใช้เครื่องมือดังกล่าวเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ
ส่วนที่ทำให้กระแสไฟฟ้าในหัวใจลัดวงจรอันทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ

การรักษาแต่ละแบบจะมีความเสี่ยงในการรักษา ภาวะแทรกซ้อน และโอกาสประสบความสำเร็จแตกต่างกันออกไป
ซึ่งคนไข้และญาติควรที่จะต้องปรึกษากับแพทย์ที่ทำการรักษาถึงแนวทางการรักษาที่ดีที่สุด
และเหมาะสมที่สุดโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆข้างต้น  


คำถาม   เราสามารถป้องกันการเต้นหัวใจที่ผิดปกติชนิด AF ได้หรือไม่

คำตอบ   เราไม่สามารถป้องได้ได้เสมอไป แต่เราสามารถทำให้มีโอกาสเกิดได้น้อยลงโดยการดูแลสุขภาพที่ดี
และปรับการดำเนินชีวิตให้มีสุขภาพที่ดีได้ เช่น  

            การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทานอาหารที่มีคุณค่า และควบคุมน้ำหนักให้พอเหมาะ
            การงดการสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงที่จะอยู่ใกล้ชิดกันคนที่สูบบุหรี่
            พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
            หลีกเลี่ยงการทานเหล้า เบียร์ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์
            พยายามเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนได้แก่ ชา กาแฟ
            พยายามเลี่ยงหรือจัดการความเครียดที่เกิดขึ้น ให้น้อยลง
 
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,134
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« ตอบ #2 เมื่อ: 17 สิงหาคม 2567, 04:56:24 AM »

Permalink: Re: ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว.. (atrial fibrillation หรือ AF หรือ A-Fib)
2172
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: