หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ตราแผ่นดินของไทยในอดีตก่อนที่จะใช้ตราครุฑ  (อ่าน 4550 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 661
กระทู้: 193
ออฟไลน์ ออฟไลน์
   
« เมื่อ: 16 มิถุนายน 2557, 04:26:46 PM »

Permalink: ตราแผ่นดินของไทยในอดีตก่อนที่จะใช้ตราครุฑ
ตราแผ่นดินของไทยในอดีตก่อนที่จะใช้ตราครุฑ


                     ก่อนหน้านั้นประเทศไทยไม่มีการกำหนดตราแผ่นดินที่ชัดเจนนัก มีแต่ตราประจำรัชกาลที่ประทับลงบนเงินพดด้วงซึ่งจะเปลี่ยนไปตามรัชกาลของพระมหากษัตริย์นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าสยามนำรูปครุฑพ่าห์มาใช้เป็นตราพระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยนำแบบอย่างการใช้ตรามาจากประเทศจีน โดยอ้างอิงจดหมายเหตุลาลูแบร์ ซึ่งบันทึกว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น พระมหากษัตริย์มีตราประจำพระองค์ ในจดหมายเหตุดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าตราเป็นรูปอะไร จึงสันนิษฐานกันว่าน่าจะเป็น ตราครุฑพ่าห์ คือ รูปพระนารายณ์ทรงครุฑ

                    ทั้งนี้เพื่อให้เข้ากับคตินิยมที่ถือเอาองค์พระมหากษัตริย์เป็นผู้มีบุญบารมีเทียบเท่าพระนารายณ์ผู้ทรงครุฑเป็นพาหนะในสายตาชาวต่างประเทศนั้นถือว่าประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรแห่งช้างเผือก จึงกำหนดรูปช้างเผือกลงในโล่ทำนองเดียวกับตราประจำตระกูลหรือตราแผ่นดินในยุโรป เพื่อสื่อความหมายถึงราชอาณาจักรสยาม ซึ่งดูได้จากแผนที่โบราณฉบับต่างๆ ที่กล่าวถึงสยามในบางฉบับ เนื่องจากไม่ทราบชัดเจนว่าสยามใช้เครื่องหมายอะไรเป็นตราประจำประเทศในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ เสวกเอก หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม ผูกตราประจำประเทศขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๑๖ โดยอิงกับหลักการผูกตราของทางยุโรปที่เรียกกันว่า Heraldry (หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยแปลคำนี้ลงในหนังสือเรื่อง ฝรั่งศักดินา เอาไว้ว่า “มุทราศาสตร์”)

                    ตรานี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า ตราแผ่นดินหรือตราอาร์ม อันมีลักษณะดังต่อไปนี้- ส่วนบนสุดตรงกลาง คือ ภาพพระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี หมายถึงความเป็นพระมหากษัตริย์ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกฎเป็นภาพจักรและตรีไขว้ เรียกว่า ตรามหาจักรี อันเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องหมายแทนนามราชวงศ์จักรี ความหมายโดยรวมจึงแปลว่า พระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี- ทางด้านซ้ายและขวาของพระมหาพิชัยมงกฎเป็นรูปฉัตร ๗ ชั้น อันเป็นเครื่องหมายแห่งราชาธิปไตย ที่เป็นฉัตร ๗ ชั้น ก็เพราะว่าเป็นฉัตรสำหรับใช้ประกอบกับนพปฏลมหาเศวตฉัตร (ฉัตร ๙ ชั้น) ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงพระราชอิสริยศของพระมหากษัตริย์

                    การใช้รูปดังกล่าวจึงเป็นการประกาศให้รู้ว่า ดินแดนสยามอยู่ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ผู้เป็นสยามินทราธิราช- ใต้ลงมาเป็นรูปโล่แบ่งออกเป็น ๓ ห้อง โดยส่วนบนแบ่งเป็น ๑ ห้อง ส่วนล่างเป็น ๒ ห้อง มีความหมายดังนี้
                    ห้องด้านบนเป็นภาพช้าง ๓ เศียร หมายถึง สยามเหนือ, สยามกลาง และสยามใต้ พื้นโล่เป็นสีเหลือง ห้องล่างด้านขวาเป็นภาพช้างเผือก หมายถึงประเทศราชลาวล้านช้าง (กรุงศรีสัตนาคนหุต) พื้นโล่เป็นสีแดง ห้องล่างด้านซ้ายเป็นภาพกริชคดและกริชตรงไขว้กัน หมายถึง หัวเมืองประเทศราชมลายู พื้นโล่เป็นสีชมพูความหมายโดยรวมของรูปสัญลักษณ์ภายในโล่จึงหมายถึงขอบขัณฑสีมาทั้งหมดของประเทศสยามในเวลานั้น- ต่อจากฉัตรทางด้านขวาเป็นภาพคชสีห์ประคองฉัตร ส่วนทางด้านซ้ายเป็นภาพราชสีห์ประคองฉัตร คชสีห์หมายถึงข้าราชการฝ่ายกลาโหม ซึ่งเป็นใหญ่ทางฝ่ายทหาร ส่วนราชสีห์หมายถึง ข้าราชการฝ่ายมหาดไทย ซึ่งเป็นใหญ่ทางฝ่ายพลเรือน ทั้งสองฝ่ายนี้มีหน้าที่ป้องกันพระราชอาณาจักรและค้ำจุนพระราชบัลลังก์- ส่วนขอบโล่ด้านล่างสุดล้อมรอบด้วยพระมหาสังวาลนพรัตน์รัตนราชวราภรณ์ หมายถึง พระพุทธศาสนา มีที่มาจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งพระมหาสังวาลนพรัตน์รัตนราชวราภรณ์ก็นับเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดนี้ด้วย

                    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดให้พระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการที่กระทำคุณงามความดีต่อชาติอย่างใหญ่หลวง โดยเงื่อนไขสำคัญในการพระราชทานนั้นกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า จะพระราชทานให้แก่บุคคลที่เป็นพุทธมามกะเท่านั้น- ส่วนใต้พระมหาสังวาลนพรัตน์รัตนราชวราภรณ์ คือ สายสร้อยจุลจอมเกล้าพร้อมดวงตรา หมายถึงการบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ อันเป็นภาษิตของเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้น เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้ที่ปฏิบัติราชการด้วยความซื่อสัตย์ต่อแผ่นดิน และพระบรมราชวงศ์ และบุตรทายาทของผู้ปฏิบัติราชการ โดยพระราชทานสืบสกุลลงไปจนสิ้นสายบุตรชายเพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล และเพื่อให้ผู้สืบสกุลกระทำความชอบต่อแผ่นดิน และสามัคคีกันรับใช้ชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

                    ส่วนล่างสุดของภาพ คือ คาถาภาษาบาลี จารึกบนแพรแถบด้วยอักษรไทย เป็นข้อความว่า "สพฺเพสํ สงฺฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฒิ สาธิกา" แปลว่า "ความพร้อมเพรียงของบุคคลทั้งปวงผู้อยู่เป็นหมวดหมู่กัน ย่อมเป็นเครื่องทำความเจริญให้สำเร็จ" คาถาบทนี้เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ซึ่งได้ใช้เป็นข้อเตือนใจประจำโรงเรียนเตรียมทหารในเวลาต่อมาอีกด้วยเครื่องหมายอื่นๆ ที่แทรกอยู่ในตรา แต่เห็นได้ไม่สู้ชัดเจนนัก คือ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ อันเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยสมบูรณ์ ดังบรรยายต่อไปนี้ ตรงกลางภาพส่วนบนสุดเป็นภาพพระมหาพิชัยมงกุฎ บนมุมซ้ายด้านบนของโล่เป็นส่วนหนึ่งของพระแสงขรรค์ชัยศรี และพระแส้หางจามรี บนมุมขวาด้านบนของโล่เป็นส่วนหนึ่งของธารพระกรไม้ชัยพฤกษ์ และพัดวาลวิชนีส่วนฉลองพระบาทเชิงงอนแยกอยู่ริมฐานฉัตรด้านละ ๑ ข้าง เบื้องหลังตราแผ่นดินที่มีลักษณะเป็นจีบคล้ายผ้าม่าน คือ ฉลองพระองค์ครุยทอง องค์พระราชลัญจกรตราแผ่นดินนั้นเป็นตรากลม มีอักษรตามขอบพระราชลัญจกรจารึกไว้ว่า "สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามกุฎ พระจุลจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม"

                    นอกจากนี้ยังมีคำอธิบายอื่นๆ ในลักษณะที่ต่างออกไป แต่คำอธิบายข้างต้นนี้มีที่มาแรกสุดจากพระอธิบายที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทานให้หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ ซึ่งพระอธิบายนี้ได้รับการเรียบเรียงใหม่เป็นหลายสำนวนในที่ต่างๆ จึงนับได้ว่าเป็นคำอธิบายที่แพร่หลายและได้รับการยอมรับมากที่สุดการใช้ตราอาร์มเป็นตราแผ่นดินนั้นใช้ในลักษณะทำนองเดียวกันกับตราพระครุฑพ่าห์ในปัจจุบัน จนกระทั่งยกเลิกไปเมื่อมีการใช้ตราครุฑเป็นตราประจำชาติแทน ปัจจุบันนี้ยังมีบางหน่วยงาน เช่น กรมป่าไม้ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็นต้น ได้ใช้ตราอาร์มเป็นตราประจำหน่วยงานของตนเอง ด้วยเหตุที่ว่าหน่วยงานของตนก่อตั้งในสมัยรัชกาลที่ ๕ หรือมีประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับช่วงระยะดังกล่าว (เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งใช้ตราอาร์มเป็นตราหน้าหมวกนั้น เริ่มมีการจัดระบบตำรวจอย่างจริงจังในสมัยนั้น เป็นต้น)

                    มูลเหตุในการเปลี่ยนตราประจำชาตินั้น นอกจากที่จะระบุไว้ข้างต้นว่า รัชกาลที่ ๕ ทรงติว่าตราอาร์มเป็นอย่างฝรั่งเกินไปแล้ว เป็นไปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงตราแผ่นดินน่าจะมีมูลเหตุหลักมาจากการสูญเสียประเทศราชทั้งลาว เขมรและมลายู

ขอบคุณข้อมูลจาก องค์กรเก็บขยะแผ่นดิน
บันทึกการเข้า
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,134
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« ตอบ #1 เมื่อ: 16 มิถุนายน 2557, 05:16:49 PM »

Permalink: Re: ตราแผ่นดินของไทยในอดีตก่อนที่จะใช้ตราครุฑ
อันนี้ก็สวย นะคะ
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: