ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
กระทู้: 18,134
ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
|
|
« เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2557, 08:40:15 AM » |
|
Permalink: มารู้จัก วัคซีน “ไข้หวัด2009″ กันเถอะ
มารู้จัก วัคซีน “ไข้หวัด2009″ กันเถอะ วัคซีน ป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่หลายประเทศกำลังเร่งผลิตและทดลองกันอยู่ในขณะนี้ กลายเป็นความหวังของคนทั่วโลก ในยามที่โรคอุบัติใหม่ดังกล่าวกำลังระบาดอยู่ในตอนนี้ ขณะที่นักวิจัยของไทยเองได้มีการสร้างเชื้อไวรัสสำหรับผลิตวัคซีนเองเหมือน กัน ทั้งวัคซีนชนิด เชื้อเป็นและ เชื้อตาย แต่วัคซีนชนิดไหนดี เด่น หรือด้อย อย่างไร คงต้องลองเปรียบเทียบดูหลายๆ ปัจจัย อาทิเช่น
ผลิตจากอะไร? วัคซีนเชื้อเป็น : ผลิต มาจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เอช1 เอ็น1 ที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่เป็นชนิดที่อ่อนแรงไม่ก่อให้เกิดโรค นำมาเลี้ยงเพิ่มจำนวนแล้วนำไปใช้เป็นวัคซีนได้เลย
วัคซีนเชื้อตาย : เป็นการ นำเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เอช1 เอ็น1 2009 มาพัฒนาด้วยเทคนิคทางพันธุกรรม สร้างไวรัสตัวใหม่ที่ไม่ก่อโรคขึ้นมา นำไปเลี้ยงเพิ่มจำนวนแล้วทำให้ตาย เหลือแต่ส่วนผิวซึ่งมีลักษณะจำเพาะของไวรัสที่ใช้กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ แล้วจึงนำไปทำเป็นวัคซีนต่อไป
วิธีการใช้? วัคซีนเชื้อเป็น : ใช้วิธีฉีดพ่นใส่โพรงจมูก วัคซีนเชื้อตาย : ฉีดผ่านทางกล้ามเนื้อใต้ผิวหนัง สามารถขับออกจากร่างกายได้หรือไม่? วัคซีนเชื้อเป็น : เชื้อไวรัสที่อ่อนแรงนี้ออกมากับน้ำมูก น้ำลายได้ วัคซีนเชื้อตาย : ไม่มีเชื้อไวรัส
จุดเด่น? วัคซีนเชื้อเป็น : สามารถ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว และสามารถผลิตได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆ ภายในเวลาอันสั้น แถมยังมีต้นทุนต่ำอีกด้วย
วัคซีนเชื้อตาย : ข้อดี ของวัคซีนเชื้อตายคือปลอดภัย 100% เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไม่ก่อให้เกิดโรคหรืออาการเจ็บป่วยใดๆ สามารถให้ได้เกือบทุกคน โดยไม่มีอาการแพ้
ข้อจำกัดของวัคซีน? วัคซีนเชื้อเป็น : ห้าม ใช้กับคนบางกลุ่ม เช่น ผู้ที่แพ้ไข่ หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ และผู้ที่มีความบกพร่องของ ภูมิคุ้มกัน
วัคซีนเชื้อตาย : หลัง จากฉีดแล้ว ค่อนข้างต้องใช้เวลานานในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายและต้นทุนในการ ผลิตก็สูง จำนวนที่ผลิตได้ในแต่ละครั้งต้องใช้เวลามากและได้วัคซีนค่อนข้าง น้อย และอาจสร้างภูมิคุ้มกันได้ไม่ดีเท่ากับวัคซีนเชื้อเป็น
ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดไหน ก็ขอให้คนไทยทำสำเร็จ สามารถนำมาใช้กับคนได้จริงๆ สำหรับตอนนี้ในขณะที่ วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ยังไม่มี พวกเราก็ต้องใช้วิธีดูแลตัวเองไปก่อน พยายามป้องกันอย่าให้ป่วยเป็นโรคนี้ ด้วยการล้างมือบ่อยๆ หากยังไม่ได้ล้างมือก็อย่านำมือมาขยี้ตา แคะจมูก หรือหยิบสิ่งของเข้าปาก ไอจามใส่กระดาษทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้า และร่วมรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการสวมหน้ากากอนามัยทันทีที่ไม่สบายหรือเป็น หวัด สำหรับคนปกติหากเข้าที่แออัดก็ควรสวมหน้ากากอนามัยเช่นกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองรับเชื้อโรคโดยไม่รู้ตัว หากพวกเรา “รวมพลังกันสู้หวัด” ตามมาตรการเหล่านี้อย่างเคร่งครัด เชื่อว่า เราจะสามารถเอาชนะเจ้าไข้หวัด2009 ได้อย่างแน่นอน
1+1 ใน 5 = สัญญาณอันตราย วิธีง่ายๆ ที่ใช้สังเกตอาการไข้หวัด 2009 ลดความกังวลใจ ลดความเสี่ยงในการไปโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น
ถ้ามีไข้สูง 38 องศาเซลเซียส ร่วมกับ ไอ เจ็บคอ ให้ดูว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นหนักหรือเปล่า ถ้าใช่ต้องไปหาหมอทันที
ถ้าไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง (ข้อมูลกลุ่มเสี่ยงอยู่ในหมวดการรักษา) ในเบื้องต้นให้กินยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้
ถ้า กินยาพาราเซตามอลแล้ว อาการขั้นแรกยังมีอยู่ นั่นคือ ไข้สูง ไอ เจ็บคอ แล้วก็มีอาการเพิ่มเติมเพียงแค่ 1 ใน 5 สัญญาณอันตราย ก็ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน นั่นคือ 1. ปวดหัวมากแม้กินยาพาราเซตามอลก็ยังไม่ดีขึ้นนัก 2. เบื่ออาหารอย่างมาก ไม่อยากกินอะไรเลย น้ำก็ไม่อยากดื่ม 3. เหนื่อย อ่อนเพลียและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก 4. ไอแล้วเหนื่อย หรือไอแล้วเจ็บเฉพาะที่ ไอแล้วเจ็บหน้าอก 5. มีอาการท้องเสียหรืออาเจียน
เรียก ว่าถ้ามี 1 อาการหลัก(ไข้ ไอ เจ็บคอ) ร่วมกับอาการที่เป็นสัญญาณอันตราย อย่างน้อย 1 ใน 5 ดังกล่าว ก็ต้องรีบไปหาหมอโดยด่วน จำไว้ว่า 1+1 ใน 5 = สัญญาณอันตราย
*แต่ถึงแม้จะไม่มีอาการร่วม 1 ใน 5 สัญญาณอันตราย แต่ถ้าพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน 2 วัน แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นแม้แต่น้อย ก็จะต้องไปหาหมอเช่นกันห้ามกินยาแอสไพรินโดยเด็ดขาด เพราะอาการของไข้หวัดใหญ่นั้นจะใกล้เคียงกับไข้เลือดออก ซึ่งถ้าเป็นไข้เลือดออกหากเรากินยาแอสไพรินเข้าไปอาจทำให้ภาวะเลือด ออกรุนแรงขึ้นหรือเลือดออกมากขึ้น แต่ถ้าเป็นไข้หวัดใหญ่การกินยาแอสไพริน อาจจะทำให้เกิดอาการ สมองบวม ปวดหัว จนถึงไม่รู้สึกตัวและในบางรายอาจถึงขั้นตับวายได้
กินยาปฏิชีวนะ ไม่ช่วยอะไร เพราะไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ เพราะยาปฏิชีวนะมีไว้สำหรับจัดการเจ้าเชื้อแบคทีเรีย ยกเว้นว่าพบเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน จึงค่อยรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
ข้อมูลจากทีมงาน flu2009thailand.com
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|