หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: งามอย่าง…เบญจกัลยาณี  (อ่าน 1500 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,127
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 18 ธันวาคม 2556, 08:22:16 AM »

Permalink: งามอย่าง…เบญจกัลยาณี

.

.

งามอย่าง…เบญจกัลยาณี


ความงามของหญิงสาวสมัยนี้คืออะไรคงไม่ต้องกล่าวถึง
 เราคงทราบกันดีอยู่แล้ว แต่ใครจะทราบบ้างหรือไม่ว่า ที่โบราณได้กล่าวถึง “เบญจกัลยาณี” นั้นมีหมายความว่าอย่างไร
 และหญิงที่มีลักษณะใดบ้าง ถึงจะได้ชื่อว่าเป็น “เบญจกัลยาณี”

“เบญจกัลยาณี” เป็นความงามของหญิงสาวตามหลักพระพุทธศาสนา
ซึ่งในสมัยพุทธกาลนั้นก็มีปรากฏให้เห็นในชื่อของนางวิสาขา ผู้เป็นมหาอุบาสิกาในสมัยนั้น
 เบญจกัลยาณีนั้น หมายถึง สตรีผู้มีศุภลักษณ์หรือลักษณะที่งาม 5 ประการ ดังนี้

•ผมงาม คือ มีผมเหมือนหางนกยูง เมื่อสยายออกทิ้งตัวลงมาถึงชายผ้า
•เนื้องาม คือ มีริมฝีปากแดงเหมือนลูกตำลึงสุก เรียบสนิทมิดชิดดี
•ฟันงาม คือ ขาวเหมือนสังข์และเรียบเสมอเหมือนเพชรเรียง
•ผิวงาม คือ ถ้าผิวดำก็ดำสม่ำเสมอเหมือนดอกอุบล ถ้าขาวก็ขาวเหมือนกลีบดอกกรรณิการ์
•วัยงาม คือ งามทุกวัย แม้คลอดบุตรมาแล้ว 10 ครั้งก็ยังดูสาวพริ้งอยู่


นางวิสาขา ผู้ได้รับการยกย่องว่ามหาอุบาสิกา ผู้ทำนุบำรุพระศาสนาดีอย่างไม่มีสตรีใดเท่า
 พร้อมทั้งเป็นเบญจกัลยาณีอีกด้วย นางเกิดในตระกูลเศรษฐี ในเมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ
บิดาชื่อว่า ธนญชัย มารดาชื่อว่าสุมนาเทวี และปู่ชื่อเมณฑกเศรษฐี
นางวิสาขาบรรลุโสดาบันตั้งแต่อายุเพียง 7 ขวบเท่านั้น

ขณะที่ในเมืองสาวัตถีนั้น มีเศรษฐีตระกูลหนึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า มิคารเศรษฐี
มีบุตรชายชื่อ ปุณณวัฒนกุมาร เมื่อเจริญวัยสมควรที่จะมีภรรยาได้แล้ว
 บิดามารดาขอให้เขาแต่งงานเพื่อสืบทอดวงศ์ตระกูล แต่เขาเองไม่มีความประสงค์จะแต่งเมื่อบิดามารดารบเร้ามากขึ้น
เขาจึงหาอุบายเลี่ยงโดยบอกแก่บิดามารดาว่า ถ้าได้หญิงที่มีความงามครบทั้ง 5 อย่าง
 ซึ่งเรียกว่า เบญจกัลยาณี แล้วจึงจะยอมแต่งงาน

เบญจกัลยาณี ความงามของสตรี 5 ประการ ที่เขาได้กล่าว มีดังนี้
•เกสกลฺยาณํ (ผมงาม) คือ หญิงที่มีผมยาวถึงสะเอวแล้วปลายผมงอนขึ้น
•มงฺสกลฺยาณํ (เนื้องาม) คือ หญิงที่มีริมฝีปากแดงดุจผลตำลึงสุกและเรียบชิดสนิทกันดี
•อฏฺฐิกลฺยาณํ (กระดูกงาม) คือ หญิงที่มีฟันสีขาวประดุจสังข์ และเรียบเสมอกัน
•ฉวิกลฺยาณํ (ผิวงาม) คือ หญิงที่มีผิวงามละเอียด ถ้าดำก็ดำดังดอกบัวเขียว ถ้าขาวก็ขาวดังดอกกรรณิกา
•วยกลฺยาณํ (วัยงาม) คือ หญิงที่แม้จะคลอดบุตรถึง 10 ครั้ง ก็ยังคงสภาพร่างกายสาวสวยดุจคลอดครั้งเดียว
เมื่อบิดามารดาได้ฟังแล้ว จึงให้เชิญพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในด้านอิตถีลักษณะมาถามว่า
 หญิงผู้มีความงามดังกล่าวนี้มีหรือไม่ เมื่อพวกพราหมณ์ตอบว่ามี
จึงส่งพราหมณ์เหล่านั้นออกเที่ยวแสวงหาตามเมืองต่าง ๆ
พร้อมทั้งมอบพวงมาลัยและเครื่องทองหมั้นไปด้วย

พวกพราหมณ์เที่ยวแสวงหาไปตามเมืองต่าง ๆ ทั้งเมืองเล็กเมืองใหญ่ จนมาถึงเมืองสาเกต
 ได้พบนางวิสาขามีลักษณะภายนอกถูกต้องตามตำราอิตถี ลักษณะครบทุกประการ
 ขณะที่นางพร้อมทั้งหญิงบริวารออกมาเที่ยวเล่นน้ำกันที่ท่าน้ำ ขณะนั้นฝนตกลงมาอย่างหนัก
 หญิงบริวารทั้งหลายพากันวิ่งหลบหนีฝนเข้าไปในศาลา แต่นางวิสาขากลับค่อย ๆ เดินช้า ๆ ตามไป
 ทำให้เนื้อตัวเปียกปอนไปหมด ทำให้พวกพราหมณ์ทั้งหลายรู้สึกแปลกใจ
ประกอบกับต้องการจะเห็นลักษณะฟันของนางด้วยจึงถามนางว่า “ทำไมเธอจึงไม่วิ่งหลบหนีฝนเหมือนกับหญิงอื่น ๆ”
นางวิสาขาตอบว่า ชน 4 จำพวกเมื่อวิ่งแล้วจะดูไม่งาม ได้แก่

•พระราชาทรงรับราชาภิเษก มีเครื่องอาภรณ์ประดับกายอยู่ ถ้าวิ่งเวลาใด จะถูกติเตียนได้ว่า ทำตัวเยี่ยงสามัญชน
•ช้างทรงของพระราชา ที่ควาญประดับเครื่องคชาภรณ์พร้อมให้สมกับตำแหน่ง ถ้าวิ่งเหมือนสัตว์อื่น
ก็เป็นสิ่งที่ไม่งาม ไม่สมควรแก่การเป็นช้างของพระราชา
•นักบวชหรือบรรพชิต ผู้ประพฤติดีงาม อยู่ในความสงบ มีจริยวัตรที่สงบเสงี่ยม ถ้าเผลอสติไปวิ่งเข้า
จะถูกติเตียนได้ว่าไม่มีความงามตามสมณวิสัย
•สตรี ควรรักษากิริยามารยาทให้สมกับเป็นหญิง เพราะความมีมารยาทงามนั้นดุจดั่งอาภรณ์งดงามประการหนึ่งทีเดียว
 ผู้หญิงที่ได้รับการประคับประคองดูแลอย่างดีจากบิดามารดา เปรียบดั่งอัญมณีอันหาค่ามิได้
ถ้าวิ่งแล้วเกิดพลาดพลั้งล้มลง ร่างกายได้รับบาดเจ็บ บิดามารดาย่อมเสียใจ
พวกพราหมณ์ได้เห็นปัญญาอันชาญฉลาด และคุณสมบัติเบญจกัลยาณีครบถ้วนทุกประการแล้ว
 จึงขอให้นางพาไปที่บ้านเพื่อทำการสู่ขอต่อพ่อแม่ตามประเพณี เมื่อสอบถามถึงชาติตระกูลและทรัพย์สมบัติก็ทราบว่ามีเสมอกัน
 จึงสวมพวงมาลัยทองให้นางวิสาขาเป็นการหมั้นหมายและกำหนดวันวิวาหมงคล

และในบรรดาอุบาสิกาทั้งหลาย นางวิสาขา นับว่าเป็นผู้มีบุญสั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติมาก
จึงทำให้นางมีคุณสมบัติพิเศษกว่าอุบาสิกาคนอื่น ๆ หลายประการ นั่นคือ ลักษณะของผู้มีวัยงาม
คือ นางแต่งงานอายุ 16 ปี คลอดบุตรจำนวน 20 คน และบุตรเหล่านั้นแต่งงานมีลูกอีกคนละ 20 คน
หลานเหล่านั้นแต่งงานมีลูกอีกคนละ 20 คน ซึ่งนางวิสาขามีลูก หลานและเหลนนับได้กว่า 8,000 คนเลยทีเดียว
แต่ถึงกระนั้นแม้นางจะอายุถึง 120 ปี แต่นางก็ยังดูสาวราวกับอายุ 16 ปี และเมื่อนั่งอยู่ในกลุ่มของลูก
หลาน เหลน นางจะมีลักษณะวัยใกล้เคียงกับคนเหล่านั้น จนไม่สามารถทราบได้ว่านางวิสาขาคือคนไหน
 แต่จะสังเกตได้เมื่อเวลาจะลุกขึ้นยืน ธรรมดาคนหนุ่มสาวจะลุกได้ทันที แต่สำหรับคนแก่จะต้องใช้มือยันพื้นช่วยพยุงกาย
จึงจะทราบว่านางวิสาขาคือคนไหน


บทความโดย: bank9597


บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: