ประวัติจังหวัด ชุมพร ตราประจำจังหวัด...
รูปเทวสตรียืนประทานพรหน้าค่าย มีต้นมะเดื่อขนาบอยู่ 2 ข้าง
คำขวัญประจำจังหวัด ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก |
ประวัติจังหวัด ชุมพร มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองสิบสองนักษัตร ของนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง และเป็นเมืองหน้าด้านฝ่ายเหนือเพราะอยู่ตอนบนของภาคใต้ ในพุทธศักราช 1997 รัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงว่า เมืองชุมพร เป็นเมืองตรี อาณาจักรฝ้ายใต้ของกรุงศรีอยุธยาในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นมณฑลชุมพรต่อมามีการยุบการปกครองระบอบมณฑลเป็นจังหวัดชุมพร จึงมีฐานะเป็นจังหวัด คําว่า "ชุมพร" มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคําว่า "ชุมนุมพล" เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่าน การเดินทัพไม่ว่าจะมาจากฝ่ายเหนือหรือว่าฝ่ายใต้ ล้วนเข้ามาตั้งค่ายชุมนุมพลกันที่นี่ จึงเรียกจุดนี้ว่า "ชุมนุมพล" ต่อมาเพี้ยนเป็น ชุมพร อีกประการหนึ่งในการเดินทางไปทําศึกสงครามของแม่ทัพนายกองตั้งแต่สมัยโบราณ มา เมื่อจะเคลื่อนพลจะต้องทําพิธีส่งทัพโดยการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ได้รับชัยชนะในการสู้รบเป็นการบํารุงขวัญทหาร
ในสถานที่ชุมนุมเพื่อรับพรเช่นนี้ ตรงกับความหมายชุมนุมพร หรือประชุมพร ซึ่งทั้งสองคํานี้อาจเป็นต้นเหตุของคําว่า "ชุมนุมพร"เช่นเดียวกัน แต่อีกทางหนึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะได้มาจากชื่อพันธุ์ไม้ธรรมชาติในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นมะเดื่อชุมพร เพราะที่ตั้งของเมืองชุมพรนั้นอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าตะเภา มีต้นมะเดื่อชุมพรขึ้นอยู่มากมาย ต้นมะเดื่อชุมพรจึงเป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งของตราประจําจังหวัดชุมพร |
เขตการปกครอง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ 70 ตำบล 674 หมู่บ้าน 1. อำเภอเมืองชุมพร 2. อำเภอท่าแซะ 3. อำเภอปะทิว 4. อำเภอหลังสวน 5. อำเภอละแม 6. อำเภอพะโต๊ะ 7. อำเภอสวี 8. อำเภอทุ่ง ตะโก ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิประเทศโดยทั่วไป มีลักษณะเป็นแนวยาวและแคบ ไปตามชายฝั่งทะเลอ่าวไทย โดยมีชายฝั่งทะเลยาวถึง 222 กิโลเมตร ความกว้างของจังหวัดโดยเฉลี่ยประมาณ 36 กิโลเมตร พื้นที่ประกอบด้วยภูเขาสูงสลับพื้นที่ราบ พื้นที่ฝั่งตะวันตกของจังหวัดเป็นเทือกเขาตะนาวศรี และเทือกเขาภูเก็ต ซึ่งเป็นเขตชายแดนไทยพม่า การที่จังหวัดชุมพรถูกขนาบด้วยภูเขาและทะเล อีกทั้งยังได้รับมรสุมทั้งทางฝั่งทะเลด้านตะวันออก และด้านตะวันตก ทําให้มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี เหมาะสมต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญของจังหวัด ได้แก่ ป่าไม้ ดีบุก และปะการัง แม่น้ำที่สําคัญๆของจังหวัด ได้แก่ แม่น้ำท่าตะเภา และแม่น้ำหลังสวน นอกจากนั้นยังประกอบไปด้วยลําคลองสายสั้นๆ ไหลจากเทือกเขาทางฝั่งตะวันตกของจังหวัดไหลลงสู่อ่าวไทยบริเวณปากน้ำชุมพร อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ่าวไทย ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดระนองและสหภาพพม่า |
ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาพประกอบ wikipedia.org