พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง (เกิด 2 กันยายน พ.ศ. 2504) ชื่อเล่น อ๊อฟ เป็นนักร้อง นักแสดง ผู้กำกับชาวไทย ทางด้านธุรกิจเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท แอค อาร์ต เจเนอเรชั่น จำกัด สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดสุทธิวรารามและปริญญาตรีที่คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประวัติ
เข้าสู่วงการบันเทิงพงษ์พัฒน์ มีบิดาและมารดารับราชการครู พงษ์พัฒน์ได้เข้าไปเป็นพนักงานที่บริษัทผลิตรองเท้ากีฬาแห่งหนึ่ง โดยดูแลงานในส่วนของฝ่ายผลิตภัณฑ์ทั้งงานผลิตและการตลาด แต่หลังจากนั้นก็ได้เข้ามาเป็น 1 ในคนทางบ้านที่สมัครเข้าแข่งขันในรายการเกมโชว์ที่โด่งดังในยุคนั้น คือ มาตามนัด และ พลิกล็อก และเป็นที่เข้าตาทีมงานบริษัทเจเอสแอล เมื่อทางบริษัทกำลังจะเปิดตัวละครเรื่องใหม่ที่ต้องการนักแสดงที่มีร่างกายกำยำ แข็งแรง พงษ์พัฒน์จึงถูกเรียกให้เข้ามาทดสอบการแสดง จนได้แสดงละครครั้งแรกคือเรื่อง เมฆินทร์พิฆาต ในปี พ.ศ. 2528 ถือเป็นการเข้าสู่วงการบันเทิงอย่างเต็มตัว และเริ่มมีงานละครอีกหลายเรื่องในระยะเวลาต่อมา
นักร้องพงษ์พัฒน์มีชื่อเสียงจากการเป็นนักร้องในแนวร็อก สังกัดคีตา เอนเตอร์เทนเมนท์ โดยได้ออกผลงานเพลงของตนเองจำนวน 7 ชุด ก่อนจะพลิกบทบาทมาอยู่เบื้องหลังในฐานะผู้กำกับละครและภาพยนตร์ ควบคู่กับงานแสดง และงานร้องเพลงตามที่ว่าจ้าง
การเมืองในวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2550 พงษ์พัฒน์เป็นบุคคลหนึ่งที่เข้าร่วมในการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย โดยได้ขึ้นเวทีปราศรัยของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยพร้อมกับ ศรัณยู วงษ์กระจ่าง เพื่อนนักแสดงรุ่นราวเดียวกัน
นอกจากนี้แล้วในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อ พ.ศ. 2535 พงษ์พัฒน์ก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของผู้ชุมนุมครั้งนั้นด้วย
รางวัลนาฏราชในงานประกาศผลและมอบรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 1 ณ หอประชุมกองทัพเรือ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 พงษ์พัฒน์ได้รับรางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม จากบทคุณพ่อผู้อาภัพในละครเรื่อง พระจันทร์สีรุ้งแล้ว ซึ่งเมื่อขึ้นรับรางวัล และกล่าวขอบคุณ รวมถึงกล่าวเทิดทูนและปกป้องในหลวง ได้สร้างความฮือฮาและซาบซึ้งให้แก่นักแสดงและแขกที่มาร่วมงานเป็นอย่างมาก รวมถึงยังได้เกิดกระแสบนอินเทอร์เน็ต ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งมีทั้งคล้อยตามและขัดแย้ง โดยต่างมีเหตุผลส่วนตัวของแต่ละคนแตกต่างกันไป
ต่อมา ในงานประกาศผลรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 5 ณ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ พงษ์พัฒน์ได้รับรางวัลผู้กำกับละครยอดเยี่ยม และละครยอดเยี่ยม จากเรื่องทองเนื้อเก้า เขาได้รับความสนใจจากผู้มาร่วมงานอีกครั้ง เมื่อกล่าวขอบคุณผู้ที่คืนความสุขแก่คนไทย พร้อมชูนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วก้อย แสดงภาษามือสื่อถึงความรัก ในการรับรางวัลแรก และกล่าวขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เลียนแบบประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการรับรางวัลที่สอง
ผลงานเพลง
อัลบั้มเพลงพงษ์พัฒน์ (พ.ศ. 2531)
...ตัวสำรอง....อีกนาน...ความสุขเล็กเล็ก...ใจพเนจร...นายดิบดิบ...แล้วก็แล้วกันไป...อย่าทำอย่างนั้น...ใจมันร้าว...อย่าทำอย่างนั้น ภาค 2 (ทำมันไปอีก)
พงษ์พัฒน์ ภาค 2 (พ.ศ. 2532)
...ฟั่นเฟือน...ถึงลูกถึงคน...ทรมาน...ตัวจริง...พูดจาภาษาไทย...เวรกรรม...กำกวม...เท่าไหร่เท่ากัน...นายครก...คำพ่อ...
พงษ์พัฒน์ ภาคพิสดาร (พ.ศ. 2534)
...สักครั้งจะไม่ลืมพระคุณ...กะโหลกไขว้...ทะเลทราย...ระเบิดเวลา...ยอมแพ้...ตายไปแล้ว...ชดใช้....โชคดี...หลอกซ้ำหลอกซาก...ปฏิวัติใจ
พงษ์พัฒน์ ภาค 3 (พ.ศ. 2535)
...คำสุดท้าย...ฉันโง่เอง...ก็เป็นอย่างนี้...อีกไม่นาน...เต็มแรงเต็มใบ...สำออย...สายลมที่จากไป (นายคนตรง)...อย่าให้เจอ...มากมาย...ไม่มีทาง
ร็อกนี่หว่า (ปกเหล็ก) (พ.ศ. 2537)
...เอาให้ตาย...ไม่รู้นี่หว่า...คนเนรคุณ...ใจนักเลง...อย่าบ่อยเกินไป...ชาติเดียว...ปาก...ขอเถอะฟ้า...ทำร้ายตัวเอง...หมายความว่าไง
หน้ากากร็อก (พ.ศ. 2538)
...สั่งเสีย...ครายจะทำมาย...ไม่ใช่ไม่รัก...บาดเจ็บเล็กน้อย...หน้ากากร็อก...ข้ามศพ...เดี๋ยวเจอดี...หนึ่งนาที...ตัวต่อตัว...อย่าขวางทางปืน
101-7-ย่านร็อก (พ.ศ. 2541)
...รุนแรง...โดน (ถามคำเจ็บไหม)...เธออยู่ที่ไหน...ห้ามรังแกเด็ก...พงษ์พัฒน์...อยากเลวกว่านี้...เป็นอะไรไม่รู้....อยากให้เธอได้ยิน...หลบไป....CONVERSE
เพลงประกอบภาพยนตร์ไม่มีพรุ่งนี้อีกแล้ว เพลง ความสุขเล็ก ๆ
เพลงประกอบละครหัวใจลิขิต (เพลงประกอบละครเรื่อง เลือดมังกร ตอน แรด)
คอนเสิร์ตคอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม พงษ์พัฒน์ ร็อคกำลังสอง วันที่ 19 ตุลาคม ปี 2531 ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม พงษ์พัฒน์ ภาค 2 ปี 2532 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ
คอนเสิร์ตพงษ์พัฒน์ ภาคพิสดาร ปี 2534 ณ เอ็มบีเค ฮอลล์ มาบุญครอง
คอนเสิร์ตพงษ์พัฒน์ ภาค 3 ปี 2536 ณ เอ็มบีเค ฮอลล์ มาบุญครอง
Return of the Rock พงษ์พัฒน์ วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2548 ณ อาคารนิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ
Kita Back To The Future Concert วันเสาร์ที่ 20 มกราคม 2550 ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ สยามพารากอน
เพลงรักยุคคีตา โดย นกเฉลียง (ศิลปินรับเชิญ) วันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2553 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
We Are The One Concert วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 2554 ณ ไบเทค บางนา
The Heroes Concert วันเสาร์ที่ 15 และอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2554 ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ สยามพารากอน
หล่อมากมาก ปี 2558
Rock In Pain Concert ปี 2559
The Legend Music Festival ปี 2560
Of My Life Concert ปี 2561
ผลงานการแสดงละครโทรทัศน์2529 เทวดาตกสวรรค์ รับบท แอ๊ด (ช่อง 9)
2529 เมฆินทร์พิฆาต คู่กับ ธัญญา โสภณ (ช่อง 3)
2530 อวสานเซลส์แมน (ช่อง 3)
2530 สัญชาตญาณดิบ (ช่อง 9)
2530 ทองเนื้อเก้า รับบท วันเฉลิม คู่กับ สาวิตรี สามิภักดิ์ (ช่อง 7)
2530 หัวใจสองภาค รับบท ดนตร์ (ช่อง 7)
2530 แก้วกลางดง รับบท ทรงเผ่า คู่กับ อรพรรณ พานทอง (ช่อง 7)
2531 สามีตีตรา รับบท มรว.พิสุทธิ์ คู่กับ จริยา แอนโฟเน่ (ช่อง 3)
2531 ปราสาทมืด รับบท หมอภะรต คู่กับ ปรียานุช ปานประดับ (ช่อง 7)
2531 บริษัทจัดคู่ (ช่อง 7)
2531 อาศรมสาง (ช่อง 3)
2533 จ้าวพ่อกรรมกร (ช่อง 7)
2533 กตัญญูประกาศิต (ช่อง 3)
2533 สายใจ (ช่อง 3)
2535 ไฟรักอสูร รับบท แก้ว คู่กับ นาถยา แดงบุหงา (ช่อง 3)
2536 โสดหารสอง (ช่อง 5)
2536 ด้วยสองมือแม่นี้ที่สร้างโลก รับบท บัว คู่กับ จันจิรา จูแจ้ง (ช่อง 3)
2536 โสดยกกำลังสาม (ช่อง 3)
2537 โสมส่องแสง รับบท ภูริต (ภู) คู่กับ ศิริลักษณ์ ผ่องโชค (ช่อง 3)
2537 ขอให้รักเรานั้นนิรันดร รับบท ตรัย คู่กับ บุญพิทักษ์ จิตต์กระจ่าง (ช่อง 3)
2538 เรือนแพ รับบท แก้ว (ช่อง 5)
2539 ฉก.เสือดำ ถล่มหินแตก รับบท ร้อยเอก อรรถพล ชาติวินิจ (ช่อง 5)
2539 แสงเพลิงที่เกริงทอ (ช่อง 5)
2539 โปลิศจับขโมย รับบท เสือโหย คู่กับ บุษกร วงศ์พัวพันธ์ (ช่อง 3)
2540 ล่าปีศาจ รับบท ฉีต้าเหมิน / เดวิด คู่กับ สรพงศ์ ชาตรี / บุษกร วงศ์พัวพันธ์ (ช่อง 3)
2540 สายรุ้ง รับบท ทรงยศ คู่กับ แอน ทองประสม (ช่อง 3)
2540 ชุมทางเขาชุมทอง คู่กับ สันติสุข พรหมศิริ / อภิรดี ภวภูตานนท์ (ช่อง 5)
2541 ตามรักคืนใจ รับบท ราม คู่กับ ธนากร โปษยานนท์ / รามาวดี สิริสุขะ / นาถยา แดงบุหงา / ดารัณ ฐิตะกวิน (ช่อง 3)
2542 เพรงเงา รับบท อุดร (ช่อง 3)
2542 ขุนเดช รับบท ขุนเดช คู่กับ สรพงศ์ ชาตรี / ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ (ช่อง 7)
2542 รัก...สุดหัวใจ รับบท เทวา (ช่อง 3)
2542 ละครชุด พ่อ ตอน เทียนขี้ผึ้ง รับบท แสน (ช่อง 5)
2542 เกิดแต่ชาติปางไหน รับบท อานนท์ (ช่อง 3)
2542 พระจันทร์ลายกระต่าย (ช่อง 5)
2543 พันท้ายนรสิงห์ รับบท พระเจ้าเสือ คู่กับ ธีรภัทร์ สัจจกุล / พิยดา อัครเศรณี / กมลชนก เขมะโยธิน (ช่อง 7)
2543 บ้านทรายทอง รับบท หม่อมเจ้าเอนกนพรัตน์ (ท่านต้อม) (ช่อง 3)
2543 เพลงผีบอก รับบท เริงฤทธิ์ สิทธิการณ์ คู่กับ ธัญญา โสภณ (ช่อง 5)
2543 ฝนตกขี้หมูไหล คนอะไร?มาพบกัน รับบท ปีเตอร์ คู่กับ บุษกร วงศ์พัวพันธ์ (ช่อง 3)
2543 คนของแผ่นดิน รับบท จอมพลวู (ช่อง 3)
2543 อุบัติรักจากฟากฟ้า (ช่อง 3)
2544 เทวดาเดินดิน รับบท พล (ช่อง 3)
2545 รักในรอยแค้น รับบท บำรุง ธานินทร์นิมิตร คู่กับ กาญจนา จินดาวัฒน์ (ช่อง 5)
2546 กาเหว่าที่บางเพลง (ช่อง 3)
2546 ดงดอกเหมย รับบท ฮัว คู่กับ จินตหรา สุขพัฒน์ / จริยา แอนโฟเน่ (ช่อง 3)
2546 วิวาห์พาวุ่น รับบท บรรณ (ช่อง 3)
2546 ฝันกลางตะวัน รับบท พี่เสริม (ช่อง 7)
2547 เก่งไม่เก่ง...ไม่เกี่ยว (ช่อง 3)
2547 แหวนทองเหลือง รับบท ร้อยเอกกฤษฎา คู่กับ สรพงศ์ ชาตรี / กมลชนก เขมะโยธิน (ช่อง 7)
2548 อยู่กับก๋ง รับบท ก๋ง (ช่อง 5)
2548 บันทึกจาก(ลูก)ผู้ชาย (ช่อง 3)
2549 นรกตัวสุดท้าย รับบท จ้าวฟ้าดำ / ดร.ประเทศ (ช่อง 3)
2550 ดั่งดวงตะวัน รับบท จ่าหิน (ช่อง 3)
2550 หุบเขากินคน รับบท วาม (ช่อง 3)
2551 สุดแต่ใจจะไขว่คว้า รับบท พล (พ่อ) คู่กับ เพ็ญพักตร์ ศิริกุล (ช่อง 3)
2552 พระจันทร์สีรุ้ง รับบท อารักษ์ (ช่อง 3)
2553 มนต์รักข้าวต้มมัด รับบท อาโจว คู่กับ จินตหรา สุขพัฒน์ (ช่อง 3)
2553 หัวใจสองภาค รับบท เตี่ยเม้ง (ช่อง 3)
2553 7 ประจัญบาน รับบท จ่าดับ จำเปาะ คู่กับ สรพงศ์ ชาตรี / เศรษฐา ศิระฉายา / กุลณัฐ กุลปรียาวัฒน์ (ช่อง 3)
2554 วนาลี รับบท เสือสอน (ช่อง 3)
2554 บันทึกกรรม (ตอน ทางเลือก) รับบท น้อย (ช่อง 3)
2555 เหนือเมฆ 2 มือปราบจอมขมังเวทย์ รับบท จ่าสมิง (ช่อง 3)
2556 คุณชายรัชชานนท์ รับบท พ่อใหญ่ / เจ้าหลวงสุริยวงศ์ (ช่อง 3)
2558 เสือ (เลือดมังกร) รับบท ซินแสง้วง (ช่อง 3)
2558 สิงห์ (เลือดมังกร) รับบท ซินแสง้วง (ช่อง 3)
2558 กระทิง (เลือดมังกร) รับบท ซินแสง้วง (ช่อง 3)
2558 แรด (เลือดมังกร) รับบท ซินแสง้วง (ช่อง 3)
2558 หงส์ (เลือดมังกร) รับบท ซินแสง้วง (ช่อง 3)
2559 นาคี รับบท พญาศรีสุทโธนาคราช (รับเชิญ) (ช่อง 3)
2561 The Mirror กระจกสะท้อนกรรม (รับเชิญ) (ช่อง 3)
ภาพยนตร์เรารักกันนะที่ปักกิ่ง (2530)
คู่สร้างคู่สม (2530)
ปีกมาร (2530)
ดีแตก (2530)
แรงเทียน (2531)
โกย (2532)
รักคืนเรือน (2532)
ไม่มีพรุ่งนี้อีกแล้ว (2532)
หัวใจ 4 สี (2532)
พันธุ์หมาบ้า (2533)
หนุก (2533)
ต้องปล้น (2534)
มาห์ (2534)
กึ๋ยทู สยึ๋มกึ๋ย 2 (2538)
อันดากับฟ้าใส (2540)
สุริโยไท (2544)
7 ประจัญบาน (2545)
คืนไร้เงา (2546)
Belly of the beast (2546)
โหมโรง (2547)
ซาไกยูไนเต็ด (2547)
7 ประจัญบาน 2 (2548)
เสือคาบดาบ (2548)
โอปปาติก เกิดอมตะ (2550)
ก่อนบ่ายเดอะมูฟวี ตอนรักนะ...พ่อต๊ะติ๊งโหน่ง (2550)
ช็อคโกแลต (2551)
ชิงหมาเถิด (2553)
จากฟ้าสู่ดิน (2553)
ชั่วฟ้าดินสลาย (2553)
สิ่งเล็กเล็ก ที่เรียกว่า..รัก (2553)
อุโมงค์ผาเมือง (2554)
อันธพาล (2555)
จัน ดารา ปฐมบท (2555)
จัน ดารา ปัจฉิมบท (2556)
แผลเก่า (2557)
นาคี 2 (2561)
พิธีกร(2535) ผู้ชาย 4 หน้า (ช่อง 7)
(2540) เกม ฟอร์ โกลด์ (ช่อง 5)
โฆษณาบิ๊กซี (2549)
ผู้จัดละครผลงานละครโทรทัศน์ทั้งหมดในฐานะผู้จัดละครช่อง 3 และ กำกับการแสดง บริษัท แอค-อาร์ต เจเนเรชั่น จำกัด (Act Art Generation co.,Ltd)
2546 12 ราศี (ละครโทรทัศน์)
2547 เก่งไม่เก่ง...ไม่เกี่ยว (ละครโทรทัศน์)
2548 กุหลาบสีดำ (ละครโทรทัศน์)
2549 วีรกรรมทำเพื่อเธอ (ละครโทรทัศน์)
2550 เมื่อดอกรักบาน (ละครโทรทัศน์)
2552 ดงผู้ดี (ละครโทรทัศน์)
2552 หัวใจสองภาค (ละครโทรทัศน์)
2553 4 หัวใจแห่งขุนเขา ตอน วายุภัคมนตรา (ละครโทรทัศน์)
2554 รอยไหม (ละครโทรทัศน์)
2555 รักเกิดในตลาดสด (ละครโทรทัศน์)
2556 สุภาพบุรุษจุฑาเทพ ตอน คุณชายรัชชานนท์ (ละครโทรทัศน์)
2556 ทองเนื้อเก้า (ละครโทรทัศน์)
2557 เวียงร้อยดาว (ละครโทรทัศน์)
2558 ละครซีรีส์ชุด เลือดมังกร ตอน เสือ, กระทิง, แรด, หงส์ (ละครโทรทัศน์)
2559 นาคี (ละครโทรทัศน์)
2560 รากนครา (ละครโทรทัศน์)
2561 เสน่ห์นางงิ้ว (ละครโทรทัศน์)
2562 กรงกรรม (ละครโทรทัศน์)
2564 มนต์รักหนองผักกะแยง (ละครโทรทัศน์)
2564 อีสาวอันตราย (ละครโทรทัศน์)
2565 ลายกินรี (ละครโทรทัศน์)
2566 ดวงใจเทวพรหม ตอน ลออจันทร์ (ละครโทรทัศน์)
ผลงานละครโทรทัศน์ทั้งหมดในฐานะผู้จัดละครอิสระ2566 HANGOUT เปลือก ช่อง MONO 29
กำกับภาพยนตร์2550 Me...Myself ขอให้รักจงเจริญ (กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก)
2551 แฮปปี้เบิร์ธเดย์ (ภาพยนตร์ไทย)
2553 จากฟ้าสู่ดิน (ภาพยนตร์สั้นเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาส ๘๓ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : หนึ่งในน้ำพระราชหฤทัย)
2553 ชิงหมาเถิด (ภาพยนตร์ไทย)
2561 นาคี 2 (ภาพยนตร์ไทย)
รางวัลที่ได้รับพ.ศ. 2533 ชมรมวิจารณ์บันเทิง – นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – ต้องปล้น
พ.ศ. 2533 ชมรมวิจารณ์บันเทิง – นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม - พันธุ์หมาบ้า
พ.ศ. 2537 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ดาราสนับสนุนชายดีเด่น– โสมส่องแสง
พ.ศ. 2539 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ดารานำชายดีเด่น – โปลิศจับขโมย
พ.ศ. 2546 Hamburger Award – นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – ดงดอกเหมย
พ.ศ. 2546 Star Entertainment Awards - นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – ดงดอกเหมย
พ.ศ. 2546 คมชัดลึกอวอร์ด – นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – ดงดอกเหมย
พ.ศ. 2546 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ดารานำชายดีเด่น – ดงดอกเหมย
พ.ศ. 2547 ชมรมวิจารณ์บันเทิง – นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม – โหมโรง
พ.ศ. 2548 Hamburger Award – ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ละครยอดเยี่ยม – กุหลาบสีดำ
พ.ศ. 2548 Star Entertainment Awards - ผู้กำกับยอดเยี่ยม – กุหลาบสีดำ
พ.ศ. 2548 คมชัดลึกอวอร์ด – ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ละครยอดเยี่ยม กุหลาบสีดำ
พ.ศ. 2548 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ละครยอดเยี่ยม – กุหลาบสีดำ
พ.ศ. 2550 คมชัดลึกอวอร์ด – ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ละครยอดเยี่ยม – เมื่อดอกรักบาน
พ.ศ. 2551 เฉลิมไทยอวอร์ด – ผู้กำกับภาพยนตร์แห่งปี (สำหรับภาพยนตร์ไทย) – แฮปปี้เบิร์ธเดย์
พ.ศ. 2551 Star Entertainment Awards – ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม – แฮปปี้เบิร์ธเดย์
พ.ศ. 2551 ท็อปอวอร์ด 2008 – ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม – แฮปปี้เบิร์ธเดย์
พ.ศ. 2552 ท็อปอวอร์ด 2009 – นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม – พระจันทร์สีรุ้ง
พ.ศ. 2552 คมชัดลึกอวอร์ด – ผู้กำกับละครยอดเยี่ยม – ดงผู้ดี
พ.ศ. 2552 คมชัดลึกอวอร์ด – นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – พระจันทร์สีรุ้ง
พ.ศ. 2552 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ดาราสนับสนุนชายดีเด่น – พระจันทร์สีรุ้ง
พ.ศ. 2552 รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 3 – นักแสดงชายแห่งปี, ละครโทรทัศน์แห่งปี – พระจันทร์สีรุ้ง
พ.ศ. 2552 แฮมเบอร์เกอร์อวอร์ดส ครั้งที่ 7 – นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม -- พระจันทร์สีรุ้ง
พ.ศ. 2552 สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2009 ครั้งที่ 8 – ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม – พระจันทร์สีรุ้ง
พ.ศ. 2552 รางวัลนาฏราช – นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม – พระจันทร์สีรุ้ง
พ.ศ. 2554 รางวัลเมขลา ครั้งที่ 24 – รางวัลผู้กำกับเมขลามหานิยมแห่งปี – รอยไหม
พ.ศ. 2554 รางวัลนาฏราช – ผู้กำกับละครยอดเยี่ยม – รอยไหม
พ.ศ. 2556 คมชัดลึกอวอร์ด – ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ละครยอดเยี่ยม – ทองเนื้อเก้า
พ.ศ. 2556 รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 5 – ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ละครยอดเยี่ยม – ทองเนื้อเก้า
พ.ศ. 2558 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ผู้กำกับยอดเยี่ยม – เลือดมังกร
พ.ศ. 2559 Fever Awards 2016 – ผู้กำกับฟีเวอร์ – นาคี
พ.ศ. 2559 รางวัลฮาวอวอร์ด สาขาผู้ผลิตละครและเฟ้นหานักแสดงคุณภาพสู่วงการบันเทิ�