-/> เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พุ่มพวง ดวงจันทร์

You are here: Khonphutorn.com - แหล่งข้อมูลของคนไทยหมวดความบันเทิงโคลง (ผู้ดูแล: ครภูธน®)เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พุ่มพวง ดวงจันทร์
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พุ่มพวง ดวงจันทร์  (อ่าน 31451 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 8 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #15 เมื่อ: 09 มกราคม 2566, 05:48:57 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พร ภรมณ์


...พุทธชาดกแหล่ร้อง...........นิทาน    สอนธรรม
   วังแม่ลูก(อ่อน)ลุยลำธาร.....ด่าวดิ้น
   ดาวลูกไก่ตำนาน............ ดาราเด่น   กตัญญู
   รูปล่องพรภิรมย์สิ้น.......... แหล่ร้องคงเล่าขาน    กาลนาน....    


พร ภิรมย์ (ปุญญวังโสภิกขุ) (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลงชาวไทย ที่ใช้ดนตรีไทยเดิมเป็นพื้นฐาน เนื้อเพลงแนวนิทานชาดกแฝงธรรมะ มีชื่อเสียงจากเพลง "น้ำตาลาไทร" "บัวตูมบัวบาน" และ "ดาวลูกไก่"
ประวัติ
    พร ภิรมย์ มีชื่อจริงว่า บุญสม มีสมวงษ์ เป็นบุตรของนายประเสริฐ และนางสัมฤทธิ์ มีสมวงษ์ ชาวอำเภอพระนครศรีอยุธยา จบชั้นมัธยม 3 จากโรงเรียนวัดบพิตรพิมุข
    มีความเชี่ยวชาญการร้องและเล่นดนตรีไทย ทำขวัญนาค พากย์หนัง และเข้ามาเล่นลิเก ใช้ชื่อคณะว่า "บุญสม อยุธยา" เล่นกับเสน่ห์ โกมารชุน มีชื่อเสียงโด่งดังจนครูมงคล อมาตยกุล ชักชวนมาอยู่ วงดนตรีจุฬารัตน์
    พร ภิรมย์ ร้องเพลงอยู่กับวงดนตรีจุฬารัตน์หลายปี มีผลงานบันทึกเสียงประมาณ 200 เพลง เพลงที่ร้องส่วนใหญ่ร้อยละ95%เป็นผู้แต่งเอง ในแนวนิทานชาดกแฝงธรรมะ ด้วยเทคนิคการแหล่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร เพลงแรกที่ได้รับความนิยมคือ "บัวตูมบัวบาน" ตามด้วย "ดาวลูกไก่", "น้ำตาลาไทร", "กระท่อมทองกวาว", "ลานรักลานเท", "ดาวจระเข้", "วังแม่ลูกอ่อน", "กลับเถิดลูกไทย" เป็นต้น
เกียรติยศ
พร ภิรมย์ ได้รับ
    -รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ในปี พ.ศ. 2509 ถึง 3 รางวัล จากเพลง บัวตูมบัวบาน และ ดาวลูกไก่
    -และในปี พ.ศ. 2514 จากเพลง กลับเถิดลูกไทย และได้รับรางวัลกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทย ในปี พ.ศ. 2532 จากเพลง บัวตูมบัวบาน
    -และ พ.ศ. 2534 จากเพลง ดาวลูกไก่
บั้นปลาย
พร ภิรมย์ บวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดรัตนชัย (วัดจีน) ตำบลหอรัตนชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 จนถึงมรณภาพด้วยอาการปอดติดเชื้อ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553 สิริอายุ 82 ปี พรรษา 29
รางวัลเกียรติยศ
•   ได้รับรางวัลการเชิดชู ปูชนีย์บุคคลเกียรติยศ ทางด้านผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2553
•   ได้รับรางวัลพระคเณศ กรมศิลปากร จากผลงานรางวัลเพลง ดาวลูกไก่ เนื่องในโครงการเพชรในเพลง วันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2553

บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #16 เมื่อ: 10 มกราคม 2566, 02:07:06 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พัชรา แวงวรรณ


....ความ..(รักและ)..คิดถึงส่งซึ้ง..........คนไกล
    รักมั่นหมายหมดใจ......................แน่แท้
    ลารักห่างอาลัย  ........................หมองหม่น
    ดาวหล่นดลใจแพ้.......................เพิ่มเศร้าเหงาใจ....

....แหบใสพัชราร่ำร้อง ....................ครองใจ
    แรกเริ่มประเดิมใน.......................กลุ่มก้อน
   (ดิ)โอเวชั่นเฉิดไฉ......................กระฉ่อน    
    แยกเดี่ยวเดียวออดอ้อน................แช่มช้อยกลอยใจ....  

 
พัชรา แวงวรรณ (3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555) ชื่อเล่น เอ๋ นักร้องหญิงที่มีชื่อเสียง เคยเป็นนักร้องนำของวงโอเวชั่น วงดนตรีไทยช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ซึ่งวงโอเวชั่น เคยมีผลงานในช่วง พ.ศ. 2525 - 2532 กับสังกัดนิธิทัศน์ โปรโมชั่น
ประวัติ
    พัชรา แวงวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรสาวคนเล็กในบรรดาบุตร 4 คน ของโกศล แวงวรรณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด กับศรีสุดารัตน์ กาญจนรักษ์ ก่อนครอบครัวย้ายมาอาศัยอยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด
    พัชราเริ่มร้องเพลงตั้งแต่อายุ 9 ขวบ เมื่อเธอเรียนจบชั้นมัธยม เธอเข้าเป็นนักร้องที่โรงแรมแชงกรีล่า กรุงเทพมหานคร เป็นที่แรกในปี พ.ศ. 2524 เธอได้เข้าร่วมกับวงดนตรีชื่อ โอเวชั่น
ต่อมา พัชราและวงดิโอเวชั่นก็ได้เป็นศิลปินกลุ่มสังกัดนิธิทัศน์โปรโมชั่น ในปี พ.ศ. 2525
วงการบันเทิง
ดิ โอเวชั่น
    อัลบั้มแรกของวงวางแผงเมื่อปี พ.ศ. 2525 ในชื่อว่า "รักและคิดถึง" มีเพลงดังอย่างเพลง รักและคิดถึง, ขอเป็นเพื่อนใจ

    ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 ดิ โอเวชั่น ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 2 ในชื่อว่า "ที่เก่าเวลาเดิม" มีเพลงเด่นอย่าง ที่เก่าเวลาเดิม
    ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ดิ โอเวชั่น ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 3 ชื่อว่า "รักเธอเสมอ" มีเพลงเด่นอย่าง รักเธอเสมอ , อย่าให้เป็นเช่นนั้นเลย
    ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทางวงก็ได้รับ "ไวยวุฒิ สกุลทรัพย์ไพศาล" (ขาว) พี่ชายแท้ๆ ของ วิรุฬ สกุลทรัพย์ไพศาล หรือ "ดำ ฟอร์เอฟเวอร์" ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักร้องนำคนใหม่ของวงคู่กับ พัชรา นักร้องประจำวง เพื่อสร้างความแปลกใหม่ให้กับวง โดยในปีนั้น ทางวงได้ออกอัลบั้มชุดที่ 4 ในชื่อว่า "รักข้ามขอบฟ้า" มีเพลงเด่นคือเพลง รักข้ามขอบฟ้า , ฤทธิ์กามเทพ , พรุ่งนี้ฉันจะรักเธอจนตาย , คนไร้รัง

    ในปี พ.ศ. 2529 ดิ โอเวชั่น ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 5 ในชื่อว่า "รักไม่รู้จบ" มีเพลงเด่นอย่างเช่นเพลง รักไม่รู้จบ , รักเอย , คนหลายใจ , ใจคนคอย โดยอัลบั้ม รักไม่รู้จบ ถือเป็นอัลบั้มชุดสุดท้ายของ พัชรา แวงวรรณ กับ ดิ โอเวชั่น เพราะหลังจากการโปรโมตอัลบั้มนี้ได้ซาลงไป ทางต้นสังกัด คือ นิธิทัศน์ ก็เห็นว่าเอ๋นั้นไม่เหมาะกับเพลงเร็ว เพราะแนวเสียงของเธอนั้นเหมาะกับเพลงช้ามากกว่า ทางนิธิทัศน์จึงได้ให้เธอแยกออกมาทำอัลบั้มเดี่ยว ทางวงจึงต้องหานักร้องหญิงคนใหม่มาแทน พัชรา นั่นคือ พรพิมล ธรรมสาร (ก้อย) โดยก้อยได้มาเป็นนักร้องนำของวงโอเวชั่น ในอัลบั้ม "เริ่มวัยรัก" (พ.ศ. 2530)

ศิลปินเดี่ยว
อัลบั้มเดี่ยวชุดแรกของ พัชรา ได้ออกวางแผงใน
    ปี พ.ศ. 2530 โดยใช้ชื่อชุดว่า "เพียงดวงตาและรอยยิ้ม" อัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก อัลบั้มชุดที่ 2 จึงออกวางแผงใน
    ปี พ.ศ. 2531 โดยใช้ชื่ออัลบั้มว่า "ไม่รักไม่เจ็บ" ต่อมาใน
    ปี พ.ศ. 2533 พัชรา ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวชุดที่สาม ชื่อว่า "เพราะเรามาทีหลัง" โดยในชุดนี้มีเพลงเด่นอย่าง "เพราะเรามาทีหลัง"
หลังจากที่หายไปสองปี
    ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 พัชรา ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวชุดที่ 4 ในชื่อว่า "กล้ำกลืน"
ต่อมา
    ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2536 พัชรา ออกอัลบั้มเดี่ยวชื่อ "แอบช้ำ"

    ช่วง พ.ศ. 2537-2539 พัชราออกอัลบั้มเดี่ยวต่ออีกสองอัลบั้มในสังกัดนิธิทัศน์ ได้แก่ "ขื่นขม" และ "คลื่นซัดใจ"
    ใน พ.ศ. 2540 พัชราออกอัลบั้มเดี่ยวสังกัดวีเอ็มพี โดยมีชื่ออัลบั้มว่า "ไม่มีคืนนั้นอีกแล้ว"
การเสียชีวิต
    พัชรา แวงวรรณ เสียชีวิตในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ที่ริเวอร์ไซด์ ลอสแอนเจลิส สหรัฐ หลังจากไปใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นด้วยการร้องเพลงตามร้านอาหารและเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุเป็นเวลา 10 กว่าปี ขณะนั้นพัชรา แวงวรรณกำลังจะศึกษาต่อระดับปริญญาด้านนี้
 โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจสหรัฐฯ พบศพในลักษณะแขวนคอในโรงจอดรถ ที่บ้านพักซึ่งเช่าอยู่ตามลำพังขณะที่บางสำนักข่าวรายงานเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุทางรถยนต์
สุดท้ายได้ข้อสรุปจากการชันสูตรศพของตำรวจเมืองริเวอร์ไซต์ว่า พัชราเสียชีวิตเพราะฆ่าตัวตาย วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ครอบครัวของพัชรา และนฤชา เพ่งผล ตัวแทนจากนิธิทัศน์ เดินทางมารับศพพัชราที่อาคารคลังสินค้า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อเคลื่อนขบวนศพไปตั้งบำเพ็ญกุศล และสวดพระอภิธรรม ณ วัดสายไหม ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
บ่ายวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 มีพิธีฌาปนกิจศพพัชรา โดยมีดาราหลายคนและประชาชนร่วมงานนับพันคน
บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #17 เมื่อ: 11 มกราคม 2566, 03:05:18 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @บิ๊ก ดี2บี



...ฉันคนใจอ่อนอ้อน .................วอนแฟน   เลิกรา
   โปรดอย่ามาพบแสน ..............พร่ำเพ้อ
   พอเจอพ่ายรักแหน ...............ใจอ่อน  ไหวนา
   อ่อนใจเจ็บจนเฟ้อ.................ไป่เน้อโฉมตรู....  

....ดี..ทู..บี..แจ่มจ้า................บอยแบนด์... หล่อนา
    แดน..หนึ่ง..บีม..บิ๊ก..แฟน.....คลั่งไคล้
    รถพลิกคว่ำคลอนแคลน.........บิ๊กร่วง   คลองคู
   โคม่าราครองสมองให้ ...........ด่าวดิ้นตายแกน....

    

ปาณรวัฐ กิตติกรเจริญ (นามเดิม อภิเชษฐ์ กิตติกรเจริญ; เกิด 2 ธันวาคม พ.ศ. 2525 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2550) ชื่อเล่น บิ๊ก เป็นนักร้องและนักแสดงชาวไทย อดีตสมาชิกวงบอยแบนด์ ดีทูบี สังกัดอาร์เอส ซึ่งขณะนั้น บิ๊ก เสียชีวิตด้วยวัยเพียง 25 ปี
ประวัติ
ชีวิตตอนต้นและการศึกษา

    ปาณรวัฐ มีชื่อเดิมว่าอภิเชษฐ์ กิตติกรเจริญ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2525 บิ๊กเป็นบุตรชายคนเดียวของอุดมกับยุพา กิตติกรเจริญ เข้ารับการศึกษาระดับปฐมวัยจากโรงเรียนอนุบาลเทพารักษ์ ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเพ็ญสมิทธ์ กรุงเทพมหานคร และเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ภาควิชาวิทยุโทรทัศน์ สาขาภาพยนตร์ ในชั้นปีที่ 2
    บิ๊กเริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการประกวดร้องเพลงในโครงการพานาโซนิค สตาร์ ชาเลนจ์ ในปี พ.ศ. 2543 โดยใช้เพลง "งมเข็มในทะเล" ของโดม–ปกรณ์ ลัมในการประกวด เริ่มมีผลงานโฆษณา SWENSEN, PEPSI และถ่ายแบบลงนิตยสารวัยรุ่นอย่าง “เธอกับฉัน”  ก่อนจะมาเป็นหนึ่งในสมาชิกวง "ดีทูบี (D2B)" ในปี พ.ศ. 2544 บิ๊กมีความสามารถพิเศษในการควงพลองไฟและกระโดดลอดห่วงไฟ ซึ่งเขาเคยแสดงในรายการ สมาคมชมดาว กับ ตี10 ตามลำดับ

ประสบอุบัติเหตุและการเสียชีวิต
   ขณะที่ดีทูบีกำลังโด่งดังถึงขีดสุด หลังจากได้รับรางวัลศิลปินยอดนิยมจาก "MTV Asia Award 2003" ที่ประเทศสิงคโปร์ มาได้ไม่นาน  ก็เกิดเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้น ในช่วงเวลา 01.15 น. ของคืนวันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2546  บิ๊กได้ขับรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู รุ่น 318 หมายเลขทะเบียน วพ 4973 กรุงเทพมหานคร ของตนเพื่อกลับบ้านหลังจากแสดงคอนเสิร์ตเสร็จ แต่กลับประสบอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำตกลงไปในคูน้ำที่ถนนศรีนครินทร์ จังหวัดสมุทรปราการ ตำรวจ สภ.เมืองสมุทรปราการ จึงนำส่งโรงพยาบาล
    มีน้ำครำท่วมปอดแต่การรักษาเป็นไปได้ด้วยดีเมื่อบิ๊กรู้สึกตัว ก็สามารถทักทายแฟนเพลงได้อีกครั้ง ก่อนกลายเป็นฝันร้ายเมื่อเขาเข้าสู่อาการโคม่าก่อนแพทย์ตรวจพบเชื้อรา Scedosporium ในสมองในวันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งโอกาสรอดชีวิตมีเพียง 0.01% เท่านั้น หลังจากนั้นทางครอบครัวได้เปลี่ยนชื่อเขาเป็น ปาณรวัฐ ซึ่งเป็นชื่อขอพระราชทานจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร มีความหมายว่า "ผู้มีชีวิตอยู่ตามคำขอ" เพื่อเป็นศิริมงคล ภายหลังการรักษาด้วยวัคซีนเฉพาะโรคและได้รับกำลังใจอย่างมากมาย บิ๊กรอดชีวิตและออกจากห้องไอซียูในเวลาต่อมา แต่กลายเป็นเจ้าชายนิทราซึ่งสร้างความเศร้าโศกแก่แฟนเพลงอย่างแสนสาหัส จึงเกิดปรากฏการณ์พับนกกระดาษส่งกำลังใจให้กันทั่วประเทศ
    โดยทางทางต้นสังกัด คือ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ได้จัดคอนเสิร์ตพิเศษในชื่อ "ดีทูบี เดอะ เนเวอร์-เอ็นดิ้ง คอนเสิร์ต : ทริบูต ทู บิ๊ก ดีทูบี" ขึ้นในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2547 ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพื่อเป็นการระลึกถึงบิ๊ก และถือเป็นการยุติวงดีทูบีไปในตัว โดยรายได้จากการจัดคอนเสิร์ตเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว ได้มอบให้ครอบครัวของบิ๊ก เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วย
    ส่วนอาการของบิ๊กเบื้องต้นยังเป็นไปได้ด้วยดี ยังมีความรู้สึกตัวดี แต่ไม่นาน ก็ต้องนอนโดยไม่รู้สติ เพราะสมองถูกเชื้อโรคที่มาจากน้ำเน่าในคูทำลาย แฟนคลับที่ทราบข่าวซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กวัยรุ่นหญิง ต่างพากันไปเยี่ยมเยียนและร้องไห้เป็นกลุ่มจำนวนมากกลุ่มหนึ่ง การรักษา คณะแพทย์ได้พยายามช่วยชีวิตบิ๊กด้วยการให้ยาและผ่าตัดอยู่หลายครั้ง รวมถึงยาตัวใหม่ที่เพิ่งมีการผลิตออกมาด้วย แต่ก็ทำได้เพียงช่วยไม่ให้เสียชีวิตเท่านั้น แต่สมองก็ยังไม่รับรู้ใด ๆ ทั้งสิ้น ได้ย้ายที่รักษาไปหลายแห่ง และต้องนอนรักษาตัวอยู่นานถึง 4 ปี โดยมี น.พ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ เป็นแพทย์เจ้าของไข้ ซึ่งคณะแพทย์ผู้รักษาได้เปิดแถลงข่าว ความคืบหน้าของอาการเป็นระยะ ๆ จนกระทั่งเวลา 09.30 น. เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2550 บิ๊กเสียชีวิตลงในที่สุด ที่โรงพยาบาลศิริราช ด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือดทางปอด รวมอายุได้ 25 ปี กับ 1 สัปดาห์ หลังเป็นเจ้าชายนิทราจากประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ถึง 4 ปีต่อมา ศิลปินค่ายอาร์เอสกับศิลปินค่ายกามิกาเซ่ รุ่นบุกเบิกและแฟนคลับทั่วประเทศต่างก็มาร่วมไว้อาลัย บิ๊ก เป็นจำนวนมากครั้งสุดท้าย โดยทางสำนักข่าวสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวีหรือช่อง 9 เดิม กล่าวว่า บิ๊กเป็นผู้ป่วยชาวไทยคนแรกของเอเชีย ที่ป่วยเป็นเชื้อราร้าย Scedosporium จึงเป็นข่าวดังที่สนใจไปทั่วโลกเป็นอย่างมากในช่วงเวลานั้น
พิธีงานศพและรำลึก
    แล้วพิธีศพของบิ๊กถูกจัดขึ้นที่ ศาลา 3 วัดหนามแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) (ซึ่งเป็นศาลาที่ใช้ทำบุญวันเกิดบิ๊กตลอด 4 ปี ที่เป็นเจ้าชายนิทรา) โดยมีการสวดอภิธรรม 7 วัน ก่อนจะมีพิธีบรรจุศพ ซึ่งครอบครัวกิตติกรเจริญ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพวงมาลาหน้าศพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารพระราชทานพวงมาลา และทรงเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรม 7 วัน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ประทานพวงมาลาหน้าศพ และตลอดระยะเวลา 100 วันที่ได้มีการบรรจุศพของบิ๊ก จะมีการสวดพระอภิธรรมทุกวันพระใหญ่ โดยจะมีแฟนคลับและผู้ที่มีความผูกพันกับบิ๊กไปร่วมงานเสมอ วันทำบุญครบรอบ 50 และ 100 วันก็มีการถวายภัตตาหาร และทำบุญร่วมกัน ซึ่งจะมีคนมาร่วมงานมากกว่าปกติ
    วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นวันสวดอภิธรรมวันสุดท้าย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงรับไว้ในพระราชานุเคราะห์ และครอบครัวกิตติกรเจริญก็ได้รับพระมหากรุณาสูงสุด เมื่อได้รับพระราชทานเพลิงศพจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์เสด็จแทนพระองค์มาพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดยตลอดวันมีผู้คนเป็นจำนวนมากมาร่วมไว้อาลัยบิ๊กเป็นครั้งสุดท้าย โดยมีหลายคนที่ปักหลักอยู่ที่วัดหนามแดง จนกระทั่งได้รับคำยืนยันจากเจ้าหน้าที่ทางวัดหนามแดงว่าศพได้เผาหมดแล้ว จึงแยกย้ายกันกลับบ้าน และในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2551 ครอบครัวและคนใกล้ชิด ได้นำอัฐิของบิ๊กไปลอยอังคารที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แม้ทุกวันนี้บิ๊กจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่แฟนคลับ และคนใกล้ชิด ก็ยังแวะไปเยี่ยมเยียนครอบครัวกิตติกรเจริญเสมอโดยมีงานทำบุญครบรอบวันคล้ายวันเสียชีวิตในวันที่ 9 ธันวาคมของทุก ๆ ปี โดยมีแดน-วรเวช ดานุวงศ์ และบีม-กวี ตันจรารักษ์ มาร่วมงานทำบุญนี้ด้วยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา
ผลงาน
รางวัลที่ได้รับ

•   กรกฎาคม พ.ศ. 2545 "D2B" ได้รับรางวัลพระพิฆเนศทองพระราชทาน ประจำปี 2545 สาขานักร้องกลุ่มยอดเยี่ยม
•   17 มกราคม พ.ศ. 2545 "D2B" ได้รับรางวัลนักร้องกลุ่มยอดนิยมประจำปี 2002 จาก ท็อปอวอร์ดส์ 2002 ของนิตยสารทีวีพูล [20]
•   24 มกราคม พ.ศ. 2546 "D2B" ได้รับรางวัลศิลปินยอดนิยมจาก MTV Asia Awards 2003 ที่ประเทศสิงคโปร์ [2]
•   พฤษภาคม พ.ศ. 2546 "D2B" ได้รับรางวัลศิลปินไทยกลุ่มยอดนิยม จาก Channel V Thailand 2003
บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #18 เมื่อ: 12 มกราคม 2566, 02:01:48 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @แหวน ฐิติมา


....เรามีเราเฟื่องฟุ้ง .............ตำนาน   แน่นา  
    ดีกว่าเสียใจวาน..............ช่วยชี้
    (แหวน) ชีลืมไม่ลงหาญ....หักเยื่อ  ใยเอย    
    เผื่อจะเป็นคนนี้  …..........ปรี่ล้นลงดาน....

....แหวนชำนาญร่ำร้อง  ...... หลายหลาก
    จากลูกทุ่งเพราะมาก  ......เริ่มต้น
    ร๊อคก็เก่งหายาก.............นางเด่น
    เพลงเก่นละครล้น...........ก่นก้องฐิติมา....  

  เก่น ก. หนัก, กำลังแรง ,เร่ง
  ก่น  ก. ขุด, คุย, แผ่วถาง, ตั้งหน้า, มุ่งหน้า

ฐิติมา สุตสุนทร (4 กันยายน พ.ศ. 2504 − 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2560) ชื่อเล่น แหวน เป็นนักร้องและนักแสดงหญิงชาวไทย
ประวัติ (พอสังเขป)
 ฐิติมา สุตสุนทรเกิดที่อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นบุตรสาวคนที่สองจากทั้งหมดสี่คนของพันโท นายแพทย์ สมภพ กับสุภาภรณ์ สุตสุนทร เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2504 ขณะอายุ 5 ขวบได้ย้ายตามครอบครัวมาอยู่กรุงเทพมหานคร
    สำเร็จการศึกษาระดับประถมจากโรงเรียนราชินีบน ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสตรีวิทยา และระดับปริญญาตรีจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์
     เธอสมรสกับบรรเจิด กฤษณายุธ (ปุ๊ กรุงเกษม) (ถึงแก่กรรม) มีบุตรสาวคนเดียวคือเต็มฟ้า กฤษณายุธ (เกิด 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538) นักร้อง, นักแสดง, นางแบบ และนักกีฬายิมนาสติกทีมชาติไทย
เข้าสู่วงการ
    ขณะกำลังศึกษาอยู่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แหวนได้ทำกิจกรรมหลายอย่าง เช่น เป็นนักแสดงละครเวทีของมหาวิทยาลัย เป็นนักร้องในวงลูกทุ่งนิเทศศาสตร์ เป็นดรัมเมเยอร์ของมหาวิทยาลัยในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์
     ในกลางปี พ.ศ. 2524 แหวนได้เข้าประกวดร้องเพลงมณเฑียรทอง แล้วได้รับรางวัลชนะเลิศ จึงได้ร้องเพลงประจำอยู่ที่โรงแรมมณเฑียร ให้กับวงโอเรียลเต็ลฟังค์ของ เรวัต พุทธินันทน์ และได้ร่วมงานกับวง ฮ็อทชิลลี่, อริสโตแคทส์ (วงฟิลิปปินส์) และอิสซึ่น
       ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 ได้ย้ายมาร้องประจำที่ค็อกเทลเล้านจ์ของเบียร์สิงห์เฮ้าส์ นอกจากนั้น
      ในปี พ.ศ. 2526 แหวนได้เข้าเป็นนางเอกละครโทรทัศน์กับค่ายกันตนา
      แหวนเข้าสู่วงการเพลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 จากการร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง วัยระเริง เพลง "จากวันนั้นถึงวันนี้" เป็นเพลงแรกๆที่เริ่มเป็นที่รู้จัก แหวนก้าวสู่การเป็นนักร้องอาชีพ โดยได้รับการชักชวนจาก เรวัต พุทธินันทน์ ให้มาลงนามสัญญาเป็นนักร้องในสังกัดแกรมมี่ และเป็นนักร้องลำดับที่ 4 ของแกรมมี่ ซึ่งคนแรกคือ แพทย์หญิงพันทิวา สินรัชตานันท์, เรวัต พุทธินันทน์ และนันทิดา แก้วบัวสาย ตามลำดับ
     งานเพลงชุดแรกของฐิติมา ปี พ.ศ. 2527 ชุด ฉันเป็นฉันเอง ถือเป็นการแนะนำตัวของแหวน "ฐิติมา สุตสุนทร" กับแฟนเพลง มีเพลงฮิต เช่น ไดอารี่สีแดง ผู้หญิงคนนี้ เชิ้ตแขนยาวไทสีเทา และงานชุดฉันเป็นฉันเอง ประสบความสำเร็จด้านยอดขายอย่างมาก
    ปี พ.ศ. 2529 "เรามีเรา" ทำให้แฟนเพลงทั้งประเทศรู้จักนักร้องที่ชื่อ แหวน ฐิติมา และเพลงเรามีเรา เป็นเพลงที่ดังมากในยุคนั่น และถือเป็นเพลงที่อมตะของวงการเพลงไทยเพลงหนึ่งเลย เส้นทางการเป็นนักร้องของแหวนเปรียบเสมือนเส้นกราฟที่ ค่อยๆ ไต่ระดับความนิยมไปสู่จุดสูงสุดทีละน้อย ๆ จากชุด 1 ไล่เลียงมาจนถึง
    ชุดที่ 4 สัญญิงสัญญาที่มีเพลงร็อคเกือบทั้งอัลบั้มโดยเฉพาะเพลง ฟ้ายังมีฝน ยึกยัก สัญญิงสัญญา งานชุด สัญญิงสัญญา ถือว่าประสบความสำเร็จในด้านยอดจำหน่ายมาก กว่า 900000 ตลับ และโปรโมทชุดสัญญิง สัญญา ข้ามปี ทำ MV ชุดนี้ถึง 7 เพลง
    หลังจากตรวจพบเป็นมะเร็งเต้านม ตั้งแต่เดือน มีนาคม พ.ศ. 2559 แหวน ฐิติมา อุทิศตนเองโดยการเป็นวิทยากรให้ความรู้ จากประสบการณ์ที่ตนเองได้ต่อสู้กับมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ป่วยมะเร็ง ให้เกิดมีกำลังใจที่จะรักษาโรคมะเร็งให้หายเป็นปกติ แหวนจะบอกกับทุกคนเสมอว่า "ทุกอย่างอยู่ที่ใจ ถ้าใจแข็งแรง มีกำลังใจ ต้องรักษาได้"
อาการป่วยและเสียชีวิต
    แหวน ฐิติมา ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งลำไส้ในปี พ.ศ. 2554 โดยทำการรักษาและผ่าตัดลำไส้ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช จนหายเป็นปกติ หลังจากนั้นเข้าสู่ปีที่ 4 ตรวจพบมะเร็งที่เต้านม โดยทำการรักษาผ่าตัดเต้านม ฉายแสง และให้คีโม กว่า 25 ครั้ง ที่โรงพยาบาลศิริราช จนหายเป็นปกติอีกครั้ง
    แต่เมื่อประมาณ มีนาคม พ.ศ. 2560 นี้เองได้ตรวจพบเชื้อมะเร็งได้ลามไปถึงกระดูก เชิงกราน จนทำให้ป่วยหนักและร่างกายทรุดและเสียชีวิตอย่างสงบเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เวลา 15.15 น. สิริอายุได้ทั้งสิ้น 55 ปีที่โรงพยาบาลศิริราช

เบื้องต้นครอบครัวมีพิธีสวดพระอภิธรรม 10 คืน โดยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จไปในการพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ณ วัดธาตุทอง

บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,135
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« ตอบ #19 เมื่อ: 12 มกราคม 2566, 10:54:54 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พุ่มพวง ดวงจันทร์





..คราเดินตามทุ่งร้าง...........แนวไพร
แสนสุขหฤทัย.....................เปี่ยมล้น
เพลงลูกทุ่งหวานใส.............เต็มเปี่ยม   สุขนา
มากค่าตอนคิดค้น...............ที่น้องครองเพลง

                            น้องจ๋า
.
.
.



บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #20 เมื่อ: 13 มกราคม 2566, 01:40:20 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @กุ้ง กิตติคุณ
   

      
                    .....อารมณ์เหงาบ่าวเศร้า...........ฟังเพลง
                           หวานแว่วแววระเบง   .........กล่อมข้า
      (คืนนี้พี่คอยเจ้า)  มองจันทร์พี่คอยเอง ..........หมายมั่น  
                          พลันหน่ายเพลงไทยล้า........ฝรั่งบ้างชายเอง....
              
                    (ราชา)... .แนวเพลงคันทรี่ต้อง……นายเลย
                               คนหนุ่มหนวดงามเฮย.....เท่ห์แท้
                             เสียงหวานนุ่มชวนเชย.......สอดส่อง
                           ซอเล่นสานชะแง้..............พ่อกุ้งกิตติคุณ....


ซอ  ก.ภาคเหนือ หมายถึงการร้องเพลงโต้ตอบระหว่างชายหญิง ,ภาคกลางหมายถึงการร้องเพลง  ภาคใต้หมายถึงการร้องเพลง
เล่น หมายถึง ดีดกีตาร์
สาน   ร้องประสาน

กิตติคุณ เชียรสงค์ หรือ กุ้ง กิตติคุณ (25 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 - 28 กันยายน พ.ศ. 2550) นักร้องเพลงโฟล์กซอง เจ้าของฉายา ราชาเพลงคันทรี่เมืองไทย
ประวัติ
กิตติคุณ เชียรสงค์ เกิดที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนางสุดจิต เชียรสงค์ เติบโตที่อำเภอละงู จังหวัดสตูล ศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนปากพนัง จบมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จบปริญญาตรี บริหารธุรกิจจาก มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ศึกษาต่อปริญญาโท บริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยนอร์ทเท็กซัส สหรัฐอเมริกา โดยในระหว่างเรียนได้ประกอบอาชีพเล่นดนตรีและร้องเพลงสากลตามคลับเป็นอาชีพเสริม สมรสกับนางภัทรพร เชียรสงค์ ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คนคือ นางสาวพริมา เชียรสงค์ และ นางสาวณัฐณิชา เชียรสงค์
งานดนตรี
กิตติคุณ เชียรสงค์ เข้าสู่วงการดนตรีโดยจับคู่เล่นดนตรีกับเทียรี่ เมฆวัฒนา ชื่อวง "รันสป็อท" และเคยร่วมงานกับ ภูสมิง ภูสมสนุก สมัยที่ยังไม่ออกเทปเพลงไทย ใช้ชื่อวงว่า Mighty Shrimp [1] ทำเพลงประกอบภาพยนตร์โฆษณา และเพลงประกอบภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่นเรื่อง คู่รัก และรักข้ามโลก นำแสดงโดย ทูน หิรัญทรัพย์ มีผลงานชุดแรกกับค่ายอโซนา ชื่อ แด่ทุกคู่รัก และชุดที่สอง นกหลงรัง โดยนำเพลงเก่ากลับมาร้องใหม่ และมีผลงานเพลงเก่าออกมาประมาณ 10 ชุด จากนั้นจึงย้ายไปสังกัดค่ายนิธิทัศน์ โปรโมชั่น เมื่อ พ.ศ. 2529 จากโดยชุดแรกทีอัลบั้มกับนิธิทัศน์นันคืออัลบั้ม"ไกลบ้าน" พร้อมกับไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา มีผลงานออกมาประมาณ 20 ชุด โดยในอัลบั้มเพลงสากลแนวคันทรี่สมัยอยู่ค่ายนิธิทัศน์ ก็ได้ถูกทำเป็นมินิซีรีส์หลายเรื่องด้วยกัน จากนั้นมาทำธุรกิจร้านอาหาร “คันทรี่ฮัท” ที่จังหวัดเชียงใหม่ และลงทุนทำธุรกิจห้องบันทึกเสียงเป็นของตัวเอง พร้อมกับรับงานแสดงดนตรี และทำเพลงประกอบละครเป็นครั้งคราว
กุ้ง กิตติคุณ เชียรสงค์ ได้เป็นโปรดิวเซอร์ทำเพลงสากลยุ้อนยุค 60's, 70's ให้กับ แพท ทริสา เลียวสิริพงศ์ ใน 3 อัลบัม Season of Love I, II และ III ในปี 2542 - 2544 กับบริษัท APS Intermustic ในเครือของ Lion Records ในยุคนั้น และได้ร้องเพลงสากลคู่ เพลง Monday Morning ไว้ในอัลบั้มที่ 2 ไว้เป็นเพลงสุดท้ายในชีวิต
การเสียชีวิต
เมื่อวันศุกร์ ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550 เวลาประมาณ 14:30 น. ได้ประสบอุบัติเหตุไม่คาดฝันในวัย 50 ปี ขณะขับรถยนต์วอลโว่แวน รุ่น 940 แอสเตท สีเทาดำ หมายเลขทะเบียน 1อ 6611 กรุงเทพมหานคร พุ่งชนต้นไม้ ทำให้เสียหลักพลิกคว่ำลงข้างทาง บริเวณเส้นทางสายนครสวรรค์ - กำแพงเพชร ริมถนนพหลโยธินขาออก ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 265 - 266 อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ พร้อมกับเพื่อน นายวิริยะ อารีย์อิสเฮาะ และทั้งสองก็ได้เสียชีวิตคาที่ โดยในรายงานข่าวบอกว่า ช่วงเส้นทางที่เกิดอุบัติเหตุนั้นมีสภาพทัศนวิสัยในการขับรถไม่ค่อยดีนัก เพราะมีฝนตกลงมาหนัก และจุดเกิดเหตุเป็นทางโค้ง ส่งผลให้รถที่วิ่งมาด้วยความเร็วเสียหลัก หลุดโค้งพุ่งชนต้นไม้ข้างทาง ศพถูกนำส่งไปตรวจพิสูจน์ที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ และจะมีการติดต่อญาติมารับศพต่อไป
ผลงานการแสดง
ภาพยนตร์  แตกหนุ่มแตกสาว (2521) ถามหาความรัก (2527) ขวัญเรียม (2544) คืนไร้เงา (2546)
ละครโทรทัศน์ มณีร้าว (2533) ช่อง 7  ปะการังสีดำ (2539) ช่อง 7  ดวงใจพิสุทธิ์ (2540) ช่อง 7 คู่ต่างศูนย์เดียงสา (2541) ช่อง 3

      
 

  
บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #21 เมื่อ: 14 มกราคม 2566, 04:06:26 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @จรัญ มโนเพ็ชร


                  ..... คีตกวีเอกแห่งล้าน...........นาเอ๋ย
                        เสยชื่อจรัญเลย  ............ เด่นแท้
                       คำคนแก่ยายเฮย............  เกี่ยวผัก  ตายแฮ
                       สาวเจียงใหม่งามแต้......... แม่พริ้มพรายเอย....
  
                  .... รางวัลเสยส่งฟ้า............. มากมี  
                    ดีเด่นภาษากวี.................. ได้โล่
              เพลงหนังโอ่เขียนดี...................เสริมส่ง     (รางวัลพระสุรัสวดี)
(นักแสดงนำชาย)...ทรงเยี่ยมหนังด้วยเกล้า..... เอ่าถ้วย....สุพรรณหงส์  


จรัล มโนเพ็ชร (1 มกราคม พ.ศ. 2498 – 3 กันยายน พ.ศ. 2544) เป็นศิลปินชาวไทย ทั้งนักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลง และนักแสดง
งานดนตรีของจรัลมีเอกลักษณ์จากการสร้างสรรค์ภาษาถิ่นเหนือของเขาซึ่งเรียกว่า "โฟล์กซองคำเมือง" ที่ก่อเกิดขึ้นนับแต่ปี พ.ศ. 2520 และได้รับความสนใจจนเป็นที่ยอมรับ และกลายเป็นแบบอย่างบนแนวทางดนตรีท้องถิ่นร่วมสมัยในปัจจุบัน
เอกลักษณ์ของเขาทั้งในการแต่งเพลง ร้องเพลง และเล่นดนตรี ทำให้จรัลได้รับการยกย่องให้เป็น "ราชาโฟล์กซองคำเมือง" จรัลแต่งเพลงไว้กว่าสองร้อยเพลงในช่วงเวลาราวยี่สิบห้าปีของชีวิตศิลปินของเขา และได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเมื่อปี พ.ศ. 2537 ในฐานะ "บุคคลดีเด่นทางด้านการใช้ภาษา"
ประวัติ
จรัล มโนเพ็ชร เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ ในย่านที่เรียกว่าประตูเชียงใหม่ พ่อของเขาเป็นข้าราชการอยู่ที่แขวงการทางจังหวัดเชียงใหม่ ชื่อ สิงห์แก้ว มโนเพ็ชร ส่วนแม่ชื่อ เจ้าต่อมคำ (ณ เชียงใหม่) มโนเพ็ชร สืบเชื้อสายมาจากราชตระกูล ณ เชียงใหม่
จรัลเกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2498 เป็นบุตรชายคนที่สอง มีพี่น้องชายหญิงรวมทั้งหมด 7 คน ครอบครัวเป็นชนชั้นกลาง มีชีวิตเรียบง่ายสมถะตามแบบวิถีชีวิตชาวเหนือทั่วไป ใฝ่ใจในพุทธศาสนา ทั้งพ่อและแม่ของจรัลจะไปทำบุญและร่วมงานพิธีทางศาสนาอยู่เสมอที่วัดใกล้บ้าน คือ วัดฟ่อนสร้อย ซึ่งเป็นวัดที่ครอบครัวนี้มีศรัทธาอย่างยิ่ง ด้วยครอบครัวมโนเพ็ชรเป็นครอบครัวใหญ่ พ่อของจรัลจึงต้องหารายได้พิเศษ ความที่เป็นคนมีฝีมือในด้านงานศิลปะหัตถกรรมท้องถิ่นที่สืบทอดตกมาจากบรรพบุรุษชาวเหนือ ทั้งการเขียนรูป และการแกะสลักไม้ พ่อของจรัลจึงมีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงดูครอบครัว จรัลเองในเวลานั้นแม้จะอยู่ในวัยเด็ก แต่บางครั้งเมื่อพ่อมีงานพิเศษล้นมือจรัลจะเป็นผู้ช่วยพ่อของเขา ทั้งงานเขียนรูปและงานแกะสลักไม้
การศึกษา
จรัลเข้าเรียนหนังสือครั้งแรกที่โรงเรียนพุทธิโสภณ แล้วจึงย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนเมตตาศึกษา จากนั้นจึงสอบเข้าเรียนในขั้นอุดมศึกษาที่วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ จรัลฝึกเล่นกีตาร์มาตั้งแต่เด็กเพราะความชอบในดนตรี ทั้งจากที่เขาได้ฟังทางสถานีวิทยุในเชียงใหม่ และจากพวกมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในภาคเหนือ ระหว่างที่เรียนอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ จรัลช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัวด้วยการทำงานเพื่อหารายได้พิเศษโดยไม่ต้องรบกวนเงินทองจากทางบ้าน เขาเริ่มต้นด้วยการรับจ้างร้องเพลงและเล่นกีตาร์ตามร้านอาหาร หรือตามคลับตามบาร์ในเชียงใหม่ ซึ่งในเวลานั้นยังมีอยู่เพียงไม่กี่แห่ง แนวดนตรีที่เขาชอบเป็นพิเศษคือดนตรีโฟล์ค คันทรี และบลูส์ ที่ต่อมาได้กลายเป็นแรงบันดาลใจและมีอิทธิพลอย่างยิ่งในการแต่งเพลงของเขา
เมื่อจบการศึกษาจากวิทยาลัย จรัลเข้าทำงานรับราชการเป็นงานแรกที่แขวงการทางอำเภอพะเยา (เวลานั้นพะเยายังไม่ได้รับการยกให้เป็นจังหวัดเหมือนในปัจจุบัน) ต่อมาจึงย้ายไปทำงานที่บริษัทไทยฟาร์มมิ่ง และที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จรัลยังคงทำงานประจำไปด้วยควบคู่กับการร้องเพลงตามร้านอาหาร ตามโรงแรมและคลับบาร์ในเชียงใหม่
การเสียชีวิต
จรัลเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวฉับพลัน เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2544 จังหวัดลำพูน ศพตั้งบำเพ็ญกุศลอยู่ที่วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหารเป็นเวลา 5 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2544 ณ สุสานบ้านหลวย จังหวัดลำพูน
แนวเพลง ดนตรีโฟล์ก  ตำแหน่งร้องนำ /กีตาร์
อาชีพนักแสดง ผลงานเด่น ด้วยเกล้า, บุญชูผู้น่ารัก
รางวัลพระสุรัสวดี จากผลงานเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จาก บุญชูผู้น่ารัก 2531 และ บุญชู 2 น้องใหม่ 2532
รางวัล นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง ด้วยเกล้า
บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #22 เมื่อ: 15 มกราคม 2566, 04:11:27 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @อิทธิ พลางกูร


....เก็บตะวันส่องฟ้า ........พาฤทัย  ใสนา
    รพีคู่นภาฉันใด............เที่ยงแท้
    ทุกข์สุขคู่กันไป...........นอนแน่   เราเฮย
    ควรมั่นคงบางแม้........ อ่อนล้าปลุกใจ...

....อิทธิเติมไฟร่ายร้อง.......ลับคม  
    คนตื่นหายตรอมตรม......เปลี่ยนได้
    มีเพลงเด่นคนชม..........มากอยู่  หลายนา
    ไปต่อหยุดความท้อ...... เร่งตั้งอารมณ์.....


อิทธิ พลางกูร มีชื่อจริงว่า เอกชัยวัฒน์ พลางกูร เกิดเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2498 เป็นบุตรชายคนที่ 3 ของศาสตราจารย์ นายแพทย์โอภาส และ แพทย์หญิงสุมาลย์ พลางกูร
ประวัติ
อิทธิ พลางกูร จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร มัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอนุปริญญาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เล่นเครื่องดนตรีชิ้นแรกคือกลองก่อนจะหันมาเล่นกีตาร์ ซึ่งเพลงแรกที่หัดเล่นกีตาร์คือเพลง 500 Miles ของวง The Journeymen โดยได้รับอิทธิพลทางดนตรีมาจากพี่ชาย
อิทธิฉายแววนักดนตรีตั้งแต่ยังเด็ก และสามารถเล่นเพลงของจิมมี เฮนดริกซ์ และวง ครีม ซึ่งถือว่าเล่นยากมากได้ตั้งแต่อยู่ชั้นม.ต้น ต่อมาเมื่อเรียนม.ปลาย ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้ตั้งวงดนตรีเป็นครั้งแรกโดยใช้ชื่อว่าวง เดอะ สตรีม โดยได้ขึ้นแสดงเพลง Old Turkey Buzzard ของ Jose Faliciano ในงานของโรงเรียน ซึ่งเพลงดังกล่าวเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง McKenna's Gold หรือขุมทองแม็คเคนน่าที่โด่งดังมากในเมืองไทย นอกจากนี้ยังเล่นเพลงของเดอะ บีทเทิลส์ และวงครีม
หลังจบการศึกษาชั้นมัธยมปลาย อิทธิย้ายกลับกรุงเทพ เพื่อเรียนต่อด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้เข้าร่วมกับวง ดิ ออร์กาไนซ์เซชั่น เล่นเพลงแนวฮาร์ดร็อกของวงดีพ เพอร์เพิล, ยูไรอาห์ฮีป, แกรนด์ฟังก์เรลโรด
ก้าวเข้าสู่วงการเพลง
อิทธิเข้าสู่วงการเพลงด้วยการเป็นสมาชิกวง "เดอะ เบลสส์" ซึ่งเป็นการออดิชั่นเพื่อหางานดนตรีเล่นประจำตามไนท์ คลับ มีสมาชิกยุคเริ่มแรกคือ สุรสีห์ อิทธิกุล ในตำแหน่งมือกีตาร์, สมชาย กฤษณะเศรณี ตำแหน่งมือเบส , โชด นานา มือกลอง และไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว(ปั่น) เป็นนักร้องนำ โดยอิทธิ พลางกูร รับหน้าที่เล่นกีตาร์ พร้อมทั้งได้ปรับเปลี่ยนสไตล์การเล่นให้เบาลงเพื่อให้สามารถเล่นกับโรงแรมหรูๆ ได้
ต่อมาเมื่อ สุรสีห์, ไพบูลย์เกียรติ และ สมชาย ได้แยกตัวออกไป จึงเปลี่ยนสมาชิกในวงเป็น ธนิต เชิญพิพัฒธนสกุล ในตำแหน่งมือกลองและร้องนำ , วิวัฒน์ ไชยเจริญ ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกวงแกรนด์เอ็กซ์ในยุคแรก มาเป็นสมาชิกในตำแหน่งเปียโน, นพดล กมลวรรณ อดีตสมาชิกวง เดอะ ฟ็อกซ์ มาเล่นในตำแหน่งคีย์บอร์ดและซินธิไซเซอร์, สมบัติ พรหมมา อดีตนักดนตรีวงมุกดาพันธ์ ในตำแหน่งเครื่องเป่า , เกรียงไกร จิตตาโภคา ในตำแหน่ง กีตาร์เบส นอกจากนี้ยังได้ จารึก วิริยะกิจ หนึ่งในนักร้องที่ได้รับฉายาว่าเอลวิส เมืองไทย มาเป็นนักร้องหลักให้กับวง
วงเดอะ เบลสส์ ออกผลงานเพลงไทยชุดแรก เป็นอัลบั้มพิเศษ โดยเป็นการนำบทเพลงแนวโฟล์คซองคำเมือง จากอัลบั้ม โฟล์กซองคำเมือง อมตะ 1 และ 2 ของจรัล มโนเพ็ชร และเพลง คำวิงวอน โดยต้นฉบับของ สมบูรณ์ บุญโรจน์ มาทำดนตรีใหม่ในแนวเพลงดิสโก้ ชื่ออัลบั้ม คำเมืองดิสโก้ สังกัดค่ายชัวร์ออดิโอ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 ซึ่งเป็นยุคที่เพลงไทยกำลังเฟื่องฟู เดอะ เบลสส์ ได้ออกสตูดิโออัลบั้มที่เป็นผลงานของตัวเองชุดแรกในชื่อ หัวใจขายขาด สังกัดห้องอัดเสียงทอง ซึ่งมีอุกฤษฏ์ พลางกูร พี่ชายของอิทธิ เป็นผู้บริหารและควบคุมการบันทึกเสียงในขณะนั้น มีเพลงฮิตอย่าง หัวใจขายขาด ซึ่งเป็นเพลงเก่าของสุเทพคอรัส แนวร็อค แอนด์ โรล ร้องโดย ธนิต และเพลง เมื่อใดฉันไร้รัก เพลงช้าที่โดดเด่นมาก จากการร้องของอิทธิ โดยอัลบั้มนี้ได้ สุรพล โทณะวณิก มาเขียนคำร้อง
ปีต่อมา เดอะ เบลสส์ได้ออกอัลบั้ม คืนเหงาใจ ซึ่งมีเพลงฮิตคือ อเมริกา และอิทธิ พลางกูร ได้ร้องนำในอัลบั้มนี้ 4 เพลง ได้แก่ คืนเหงาใจ , ลวง, เธอกับฉัน และ คืนแสงจันทร์ แต่อัลบั้มนี้กลับไม่ประสบความสำเร็จทางยอดขายมากนัก จากนั้นทางวงประสบปัญหาไม่มีที่เล่นดนตรีประจำและสมาชิกเกิดความเบื่อหน่าย จึงยุบวง เดอะ เบลสส์ ที่มีอายุรวม 8 ปี หลังจากยุบวง อิทธิไปเป็นหุ้นส่วนทำห้องอัด "แจม สตูดิโอ" กับพี่ชาย พร้อมกับทำงานเป็นซาวนด์ เอ็นจิเนียร์ และโปรดิวเซอร์ให้กับศิลปินต่างๆ มากมาย
ในนามศิลปินเดี่ยว
อิทธิ พลางกูรได้รับการชักชวนจาก สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ หรือ เฮียฮ้อ ให้ออกอัลบั้มชุดแรกในปี พ.ศ. 2531 ชื่อชุด "ให้มันแล้วไป" กับสังกัดอาร์.เอส.โปรโมชั่น กรุ๊ป และเพียงแค่อัลบั้มแรกก็ประสบความสำเร็จสุดขีด โดยถือเป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงของวงการเพลงไทยด้วยยอดขายกว่า 700,000 ตลับ โดยเพลงที่ได้รับความนิยมอย่างมากคือ ให้มันแล้วไป และ เก็บตะวัน ซึ่งแต่งโดย ธนพล อินทฤทธิ์ ซึ่งต่อมาเพลงนี้ได้กลายเป็นเพลงยอดนิยมมาตราบจนปัจจุบัน และเป็นเสมือนสัญลักษณ์ประจำตัวของอิทธิ โดยมิวสิกวิดีโอเพลงนี้ได้ ปรัชญา ปิ่นแก้ว เป็นผู้กำกับ ซึ่ง 2 เพลงดังกล่าวฮิตติดชาร์ตอันดับหนึ่งเกือบทุกสำนัก นอกจากจะประสบความสำเร็จทางยอดขายแล้ว มิวสิกวิดีโอเพลง เก็บตะวัน ก็ยังได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ชนะเลิศ สาขามิวสิกวิดีโอดีเด่น อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีเพลงฮิตอื่นๆ เช่น ยังจำไว้ ซึ่งแต่งทำนองโดย ธนิต เชิญพิพัฒธนสกุล อดีตสมาชิก วงเดอะ เบลสส์ ที่มารับหน้าที่โปรดิวเซอร์ร่วม  แต่น่าสังเกตว่าเพลงนี้มีทำนองและดนตรีเหมือนกับเพลง 何の矛盾もない (Nanno Mujun Monai) ของ Tsuyoshi Nagabuchi จากอัลบั้ม License ที่ออกมาก่อนหน้านั้นหนึ่งปีแทบทุกประการ
ช่วงบั้นปลายชีวิต
ในกลางปี พ.ศ. 2545 อิทธิ พลางกูร ปรากฏเป็นข่าวโด่งดังในสังคม เมื่อพบว่าเป็นโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ขั้นรุนแรงแล้ว โดยที่เจ้าตัวไม่รู้ตัวมาก่อน มารู้ตัวก็ต่อเมื่อวันหนึ่งเกิดเลือดไหลจากทวารหนักอย่างรุนแรงจนเจ้าตัวหมดสติ เพื่อนข้างห้องซึ่งอยู่อพาร์ตเมนต์เดียวกันเป็นผู้นำส่งโรงพยาบาล ซึ่งอิทธิได้เผยว่า ตนเองเป็นคนชอบรับประทานน้ำอัดลมกับไอศกรีมอย่างมาก โดยเฉพาะน้ำอัดลมสามารถดื่มแทนน้ำได้เลยทีเดียว หลังจากผ่าตัดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2545 อิทธิก็มีร่างกายซูบผอมอย่างเห็นได้ชัด
ต่อมาทางอาร์.เอส.โปรโมชั่น ต้นสังกัดเก่าก็ได้ให้ความช่วยเหลือกับอิทธิและครอบครัว โดยการให้อิทธิ พลางกูรออกอัลบั้มอีกชุด ในชื่อชุดว่า เวลาที่เหลือ โดยมีเพลงที่ใช้โปรโมตคือเพลงสะดวกโยธิน และ เพลง เจ็บจะตาย และทำอัลบั้มชุดพิเศษที่รวมเอานักร้อง ศิลปินในค่ายมาร้องเพลงของอิทธิขึ้นมาใหม่ ในชื่อชุด "A Tribute To อิทธิ พลางกูร" และได้จัดคอนเสิร์ตใหญ่ขึ้นมาในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ที่อินดอร์ สเตเดี้ยม หัวหมาก ซึ่งอิทธิ ได้ขึ้นแสดงและร้อง 3 เพลง คือ เพลง กาลเวลา ร่วมกับเทียรี่ เมฆวัฒนา เพลง ไม่ธรรมดา ร่วมกับอุกฤษฎ์ พลางกูร พี่ชายของอิทธิเอง และเพลงสุดท้ายคือ ยังจำไว้ ที่อิทธิร้องเดี่ยวและสะกดผู้ชมทั้งงาน พร้อมกันนี้ภรรยาพร้อมลูก ๆ ก็ได้ขึ้นเวทีแสดงด้วย โดยเพลง ยังจำไว้ ถือเป็นเพลงสุดท้ายในชีวิตที่อิทธิ พลางกูร ร้องเดี่ยวต่อหน้าผู้ชม
การเสียชีวิต
ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 อิทธิ พลางกูร ได้เข้ามารักษาตัวที่โรงพยาบาลบางโพโดยมีอาการไข้สูง และอ่อนเพลีย แพทย์พบว่าแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ได้กระจายไปตามกระแสเลือด และพิษจากแบคทีเรียทำให้การไหลเวียนของเลือดล้มเหลว จากนั้นแพทย์ได้นำอิทธิเข้าห้องไอซียู แต่อิทธิก็ยังมีไข้ต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่วันที่ 9-10 พฤศจิกายน จนกระทั่งวันที่ 11 พฤศจิกายน 2547 เวลา 9.00 น. ก็มีอาการทรุดหนัก หายใจไม่สะดวกจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งแพทย์ได้ช่วยปั๊มหัวใจจนชีพจรเต้นขึ้นมาอีกครั้ง ต่อมาเวลา 14.50 น. หัวใจก็ล้มเหลวและหยุดเต้นอีกซึ่งแพทย์ได้พบว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปในอวัยวะทุกส่วนแล้ว รวมถึงสมองด้วย จากนั้นแพทย์ก็ได้ช่วยปั๊มหัวใจอีกและใส่เครื่องหายใจช่วย แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถช่วยชีวิตไว้ได้ โดยอิทธิได้สิ้นลมหายใจเมื่อเวลา 16.00 น.
งานศพของอิทธิทำการบำเพ็ญกุศลที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร มีพิธีพระราชทานเพลิงศพในวันที่ 17 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน
ชีวิตส่วนตัว
อิทธิ พลางกูร สมรสกับ นางชาญดา ลียะวณิช มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 3 คน คือ ญาดา , เขมิกาวราลี และ ภริชญา พลางกูร
ผลงานเพลง
เดอะ เบลสส์ ....คำเมืองดิสโก้ (พ.ศ. 2524)…หัวใจขายขาด (พ.ศ. 2526)…คืนเหงาใจ (พ.ศ. 2527)
อัลบั้มเดี่ยว...ให้มันแล้วไป (พ.ศ. 2531)…ไปต่อไป (พ.ศ. 2532)..อิทธิ 3 เวลา (พ.ศ. 2533)…อิทธิ 4 ป้ายแดง (พ.ศ. 2535)…อิทธิ 5 กำลัง D (พ.ศ. 2536)…อิทธิ 6 ปกขาว (พ.ศ. 2539)…อันปลั๊ก เชดส์ ออฟ เลิฟ (พ.ศ. 2541)..อิทธิ & กีตาร์ไม้ (พ.ศ. 2542)..เวลาที่เหลือ (พ.ศ. 2547)
รางวัลเกียรติยศ  รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ชนะเลิศ สาขามิวสิกวิดีโอดีเด่น จากเพลงเก็บตะวัน


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #23 เมื่อ: 16 มกราคม 2566, 05:32:56 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @สาริกา กิ่งทอง


        

                  ..สาริกาแหล่งใต้........ ชุมพร  เกิดนา
                ครวญคร่ำแต๋วจ๋าวอน....ร่ำไห้
               หวังเหวิดห่วงบังอร.........เป่นแสน  คอยหนา
                ลูกทุ่งแดนคอนใต้......... แหล่งร้องทองแดง.....
.

สาริกา กิ่งทอง ( สาลิกา ก็เรียก ) เป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงชื่อดังคนหนึ่งของประเทศไทย และถือกันว่าเป็นขุนพลเพลงลูกทุ่งหญิงจากแดนใต้คนแรกๆของประเทศ เธอเป็นบุตรสาวของนายจูเลี่ยม กิ่งทอง ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (หนังตะลุง) ปี 2535 และนายหนังตะลุงชื่อดังของจังหวัดชุมพร (ปัจจุบันได้รับยกย่องว่าเป็นศิลปินเมืองสุราษฎร์ธานี เพราะถิ่นฐานที่ตั้งของท่านอยู่ที่ อ.บ้านส่องจังหวัดสุราษฎร์ธานี) โดยสาริกามีผลงานเพลงดังติดหูคนไทยมากมายหลายเพลง และโด่งดังมาจากเพลง "แต๋วจ๋า"
ชายหรือหญิง
สาลิกา กิ่งทอง ชื่อจริงว่า สาลิกา ล้ำเลิศสกุล [กิ่งทอง]นามสกุลเดิม เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือนเมษายน พ.ศ. 2492 ที่ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร มีชื่อเล่นว่า ติ๋ว  มีพี่น้อง 10 คน จากภรรยา 5 คนของครูจูเลี่ยม กิ่งทอง เธอสร้างความตื่นตะลึงขนานใหญ่ให้กับวงการเพลงลูกทุ่งเมืองไทยเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน เมื่อผู้เป็นบิดาจัดตั้งวงดนตรีลูกทุ่งชื่อคณะ สาริกา กิ่งทอง และเปิดทำการแสดงทั่วไป สาริกาได้รับความสนใจจากแฟนเพลงมากมาย โดยสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เธอเป็นที่จับตามองนั้น นอกจากผลงานเพลงชื่อ “ แต๋วจ๋า” และอื่นๆ จะเป็นที่ติดอกติดใจแฟนเพลงไม่น้อยแล้ว ก็เป็นเพราะความสงสัยของแฟนเพลงทั่วประเทศว่า สาริกาเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายกันแน่ เพราะแม้เนื้อหาเพลง “แต๋วจ๋า “ และ เพลงอื่นๆของสาริกา จะเป็นบทเพลงสำหรับนักร้องชาย และหลายเพลงก็เป็นการร้องในทำนองเกี้ยวพาราสีผู้หญิง ตัวสาริกาเองก็อยู่ในเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายแบบนักร้องชาย ทว่าน้ำเสียง และหน้าตาท่าทางของเธอออกไปผู้หญิงมากกว่า จนในที่สุด หลังจากที่สงสัยกันมานาน ก็มีการเปิดเผยออกมาว่า สาริกาเป็นผู้หญิง และในการเปิดการแสดง ต้องมีการใช้ผ้าพันทรวงอก เพื่อปิดบังสัญลักษณ์ความเป็นสตรีของเธอ
ผลงาน
ผลงานเพลงของสาริกานั้น มากมายหลายเพลงเกิดจากการประพันธ์ของผู้เป็นบิดา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพลงที่ได้รับความนิยมจากแฟนเพลงมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น “ แต๋วจ๋า “ , “ แสนหวังเหวิด “ , “ ทำพรือมันเล่า “ ,“ หนุ่มล่องซุง" และ “นิราศรักพุมเรียง” นอกจากนั้น ครูจูเลี่ยม ยังทำหน้าที่ควบคุมการร้องของลูกสาวหัวใจชายคนนี้เองด้วย สำหรับเพลง”แสนหวังเหวิด” ที่ประพันธ์ทั้งคำร้องและทำนองโดยครูจูเลี่ยมนั้น ได้รับการยกย่องให้เป็นเพลงลูกทุ่งดีเด่นในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยด้วย
ในส่วนของเพลง "แต๋วจ๋า" ที่ถือว่าเป็นผลงานที่ฮิตที่สุดของสาริกานั้น ในช่วงที่เพลงกำลังดัง ก็เคยมีคนนำเพลงนี้ไปปรับเนื้อร้องใหม่ พร้อมกับให้ชื่อใหม่ว่า "ตุ๊จ๋า" (ตุ๊ เป็นนามเดิมของ จอมพลประภาส จารุเสถียร) เพื่อใช้ขับร้องในการชุมนุมขับไล่เผด็จการของขบวนการนักศึกษาและประชาชนยุคเมื่อกว่า 30 ปีที่ผ่านมา
ผลงานที่เป็นที่รู้จัก ..แต๋วจ๋า...แสนหวังเหวิด...ทำพรือมันเล่า..รินดาที่รัก...นิราศรักพุมเรียง...หนุ่มล่องซุง...สุราษฎร์แห่งความหลัง...ตัวอย่างเลว...หัวใจจัดสรร....หมอนข้าง....ผ้าขาวม้า...ชีวิตสาริกา...คิดเสียว่าตายจากกัน
ตำนานถูกสานต่อ
สาลิกา กิ่งทอง เสียชีวิตเมื่อปี 2540 ด้วยโรคมะเร็งเต้านม และหลายปีหลังจากที่เธอจากโลกนี้ไป เพลง ”นิราศรักพุมเรียง “ ที่ร้องไว้ ก็เพิ่งได้รับการร้องแก้ โดยเมื่อปี 2549 รัชนก ศรีโลพันธุ์ นักร้องลูก ทุ่งชาวใต้รุ่นใหม่ได้ร้อง"เพลงรอที่พุมเรียง “ เพื่อแก้เพลงของสาริกา เพราะตอนที่ครูสลา คุณวุฒิ วางแผนสร้างนักร้อง ได้ติดต่อขอให้ครูจูเลี่ยม ช่วยแต่งเพลงแก้"นิราศรักพุมเรียง" ให้

บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #24 เมื่อ: 17 มกราคม 2566, 12:26:52 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พรศักดิ์ ส่องแสง
 

         

          ..มีเมียเด็กอย่าไว้....... ใจหนา  เฒ่าเอ๋ย
         ยาอย่าขาดควรหา.........เผื่อใช้
        โบราณกล่าวนานมา........อย่านอน  ใจเลย
        หลากหนุ่มจรหรอยให้......แย่งยื้อเอานา

                     ..วาสนาบ่ได้ ......กานดา  
                    คราพี่รอเลิกรา......ก่อนเพ้ย
             พรศักดิ์ส่องแสงมา.....   ม่วนคัก
           มักกลอนพ่อลำเต้ย …… แม่นแล้วเฮฮา …….

พรศักดิ์ ส่องแสง หรือ นาย บุญเสาร์ ประจันตะเสน (2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564) นักร้องเพลงลูกทุ่งและหมอลำที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งของประเทศไทย เจ้าของฉายา "ไอ้หนุ่มแขนซ้ายลายมังกร"มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นนักร้องเพลงหมอลำคนแรก ๆ ที่ออกตระเวนแสดงคอนเสิร์ตในต่างประเทศ เกิดที่ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอบ้านแฮด (ในอดีตขึ้นกับอำเภอบ้านไผ่) จังหวัดขอนแก่น ย้ายภูมิลำเนามาที่ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ได้สมรสและไปอยู่บ้านภรรยา ที่ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จนเสียชีวิต
ประวัติ
นายพรศักดิ์ ส่องแสง มีชื่อจริงว่า นาย บุญเสาร์ ประจันตะเสน นักร้องเพลงลูกทุ่งและหมอลำที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งของประเทศไทย เจ้าของฉายา "ไอ้หนุ่มแขนซ้ายลายมังกร" พรศักดิ์ ส่องแสง เกิดที่บ้านหนองขาม ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอบ้านไผ่ ปัจจุบันคือ(ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น) เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายเฮา และนางแว่น ประจันตะเสน มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 6 คน
พรศักดิ์ ส่องแสงมีภูมิลำเนาที่บ้านหนองหญ้ารังกา ตำบลปะโค อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ในวัยเด็กจบการศึกษาชั้น ป. 4 แล้วช่วยพ่อแม่ทำนาที่ บ้านหนองหญ้ารังกา ตำบลปะโค อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี แล้วเข้ารับราชการทหาร จากนั้นตั้งวงดนตรีชื่อ "แชมป์อีสาน" บันทึกเทปชุดแรกเมื่อ พ.ศ. 2524 ชื่อชุด "เสือสำนึกบาป"
ชื่อ พรศักดิ์ ส่องแสง ตั้งให้โดยครูเพลง รักษ์ วัฒนยา หรือ ครูคำหอม พ่อฮ้างน้อย ผู้สนับสนุนให้ตั้งวงดนตรี พรศักดิ์ ส่องแสง มีผลงานเพลงออกมาอย่างต่อเนื่องประมาณ 40 ชุด มีชื่อเสียงโด่งดังสูงสุดประมาณปี พ.ศ. 2529-2530 จากเพลง "เต้ยสาวจันทร์กั้งโกบ" ออกตระเวนแสดงทั่วประเทศ และออกไปแสดงถึงในต่างประเทศ เคยมีการจัดคอนเสิร์ตประชันกันระหว่าง พรศักดิ์ ส่องแสง กับ เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ ด้วยดนตรีสองแนวต่างสไตล์มาแล้ว โดยใช้คอนเสิร์ตชื่อว่า "คอนเสิร์ตสองคนสองคม" แสดงเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 ที่ สนามกีฬาเวโลโดรม หัวหมาก
การเสียชีวิต
ในวันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2564 พรศักดิ์ได้เข้าห้องน้ำในบ้านพักส่วนตัว จู่ ๆ ก็ได้เกิดอาการวูบขณะที่อยู่ในห้องน้ำจนครอบครัวพานำส่งโรงพยาบาลหนองบัวลำภู และได้เสียชีวิตลงอย่างสงบในเวลา 20:40 นาที ด้วยอาการภาวะหัวใจวายโดยเฉียบพลัน ณ ห้องผู้ป่วย โรงพยาบาลหนองบัวลำภู สิริอายุ 60 ปี
ชีวิตครอบครัว
นายบุญเสาร์ สมรสกับนางจุฬาวัลย์ ประจันตะเสน อาศัยอยู่ที่ บ้านขามใหม่ ม.14 ตำบลบ้านขาม อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู มีลูก 3 คน ผู้หญิง 2 และลูกชาย 1 คน
รางวัล
พ.ศ. 2534 - รางวัลพระราชทานลูกทุ่งกึ่งศตวรรษ จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พ.ศ. 2548 - รางวัลมาลัยทองนักร้องยอดนิยม
ได้รับพระราชทานศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดนตรี จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ประจำปีการศึกษา 2547-48
พ.ศ. 2562 - รางวัลสิงหราช สาขาศิลปะการแสดง จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผลงานเพลง
 ..เสือสำนึกบาป (2523)…หนุ่มนานครพนม (2524)…มาลัยใจดำ (2526)…หนุ่มนานอนหนาว .(2526)…ลอยแพ (2526)…ครูยิงยาว (2527)…คุยสาวเกี่ยวข้าว (2527)…ปลอบใจน้องเล็ก (2527)…แม่ของใคร(พระคุณของแม่) (2528)…แค้นจ้อก้อ (2528)….รักขาดดุล (2529)…ชั่วก็ช่าง (2529)…สาวจันทร์กั้งโกบ (2529)…สาวนาในกรุง (2530)…พรศักดิ์เปิดอก (2530)…คนไกลบ้าน (2530)….ลืมน้องไม่ลง (2531)…สาวซิ่งใจฮั่ว (2533)…มักเจ้าอีหลี (2533)…รักที่เท่าไหร่ (2535)….ผัวเผลอเจอกัน (2536)…พรศักดิ์ลำซิ่ง (2537)..สะพานรัก สะพานมิตร (2537)…พรศักดิ์แหล่ 1 พ่อหม้ายใจมาร (2537)…ลาวอินเตอร์(อวยพรเจ้าภาพ) (2538)…เขาลืมเราแล้ว (2538)…พรศักดิ์แหล่ 2 รักแท้แม่เรา (2539)…ทั้งเจ็บทั้งเหม็น (2541)…สาวจันทร์ 42 (2542)…นั่งไม่ติด (2543)…สาวเจ้ยใจจืด (2544)….รักบริสุทธิ์ (13 ตุลาคม 2544)…รักเต็มร้อย (8 พฤษภาคม 2546)….มีเมียเด็ก (5 ตุลาคม 2547)….ผู้แพ้รัก (7 สิงหาคม 2548)…รวมเพลงดัง 25 ปี 1-4 (2548)…มักสาวซำน้อย (2549)…..พ่อหม้ายใจมาร(ทำใหม่ รวมเพลงจากอัลบั้มพรศักดิ์แหล่ 1-2) (25 กันยายน 2549)…ลำแพน ยายงก อกหัก (2550)…รักกับป๋าพาไปยันฮี (2550)…พูดจริงหรือเล่น (2552)….เต้ย ซู่ซ๋า (2552)….แมงหวี่ไม่มีสิทธิ์ (2553)….แฮงเมาแฮงคิดฮอด (2553)…รวมเพลงดัง 2553 (2553)…ซาหลงบั้ง (2553)…แก้วลืมคอน (2554)…30 ปีทอง พรศักดิ์ลำล่อง (2554)…หยุดเถิดน้ำตา (2555)…รวมเพลงเงินล้าน (2556)…ขอบใจที่ฮักคนมีเมีย (2557)…รักแท้แพ้ทุนนิยม (2559)…40 ปี พรศักดิ์ ส่องแสง (2562) ฯลฯ


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #25 เมื่อ: 18 มกราคม 2566, 12:54:31 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @เมื่องมนต์ สมบัติเจริญ



               ...กระเตงลูกทั่วหล้า.......     ตามเมีย  หายแน                      
                      เดินวิ่งหาจนเพลีย…….   อ่อนล้า
                       เจอคนชื่อเรียมเฮีย   ....บอกข่าว  ด้วยนา
                      ขอฟ่าวกลับหากช้า.....  พ่อน้องคงเคือง...

                 ...เมืองมนต์แรกเริ่มต้น ..... วงการ  
                     เปิดม่านประเดิมงาน.....  ร่องร้อง
                  ครูพลช่วยประสาน..........  ขานร่าง   หลายนา
                    วางชื่อตระกูลคล้อง.........ดั่งก้องสมบัติเจริญ...

เมืองมนต์ สมบัติเจริญ เป็นอดีตนักร้องลูกทุ่งชื่อดัง ที่มีผลงานเพลงติดหูผู้ฟังจำนวนมาก อย่างเช่น " กลับเถิดเรียมจ๋า" และได้รับเกียรติ สุรพล สมบัติเจริญ ราชาลูกทุ่งเมืองไทย ให้ใช้นามสกุล "สมบัติเจริญ" ในการแสดง ร่องเสียงของเมืองมนต์ ถูกนักร้องรุ่นหลังนำมาเป็นต้นแบบหลายคน อาทิเช่น ศรเพชร ศรสุพรรณ และ มนต์รัก ขวัญโพธิ์ไทยแต่บางคนบอกว่าร่องเสียงของเมืองมนต์ เหมือนกับของ คำรณ สัมบุณณานนท์
ประวัติ
เมืองมนต์ สมบัติเจริญ มีชื่อจริงว่าจรูญ สุขรักษ์ เป็นบุตร นายมี นางเล็ก สุขรักษ์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2481 ที่บ้านลาดตาล ตำบลดอนมะสังข์ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาจบนักธรรมเอก มีความศรัทธาและนิยมชมชอบ สุรพล สมบัติเจริญ อย่างมาก จึงเข้าไปขอเป็นลูกศิษย์ โดยมีจินดา สมบัติเจริญ น้องชายของสุรพล สมบัติเจริญ พาเข้ามาฝาก และถือได้ว่าเป็นนักร้องรุ่นแรก ๆ ของวงดนตรีสุรพล สมบัติเจริญ ต่อมาได้รับอนุญาตให้ใช้นามสกุลสมบัติเจริญตามหัวหน้าวงในการร้องเพลง สุรพล ได้แต่งเพลงให้เขาร้องหลายเพลง ต่อมา เมืองมนต์ สมบัติเจริญ ได้ออกมาตั้งวงดนตรีเองด้วย เพลงแรกที่บันทึกเสียงชื่อ " กลับเถิดเรียมจ๋า " ส่วนเพลงสุดท้ายคือ " หนาวเหลือเกิน" ไม่ทันฟังผลงานก็ต้องมาเสียชีวิตก่อน เมืองมนต์ มีผลงานเพลงดังมากมาย อย่างเช่นเพลง "กลับเถิดเรียมจ๋า", "อุ้มลูกตามเมีย", "คอยน้องทั้งคืน" และ " เก็บเงินแต่งงาน "
ปัจจุบัน นพพร เมืองสุพรรณ ทำหน้าที่เป็นเงาเสียง สืบทอดผลงานเพลงของเมืองมนต์ ต่อไป โดยนพพร เมืองสุพรรณ นั้นเป็นญาติของ เมืองมนต์ สมบัติเจริญปัจจุบันหยุดร้องเพลงแล้วด้วยปัญหาโรคพาร์กินสัน
ผลงาน
ผลงานเพลงที่เป็นที่รู้จัก…กลับเถิดเรียมจ๋า...เก็บเงินแต่งงาน...กระต่ายชมจันทร์...รักแฟนคนเดียว...อุ้มลูกตามเมีย…ชมสาวชาวนา...หนุ่มเกี่ยวข้าว...ลืมพี่แล้วหรือ...หนาวเหลือเกิน...คอยน้องทั้งคืน....ชาตินี้มีกรรม...หัวใจเรียกหา...หนุ่มสุพรรณ...หัวใจดื้อ...รักริมโขง...พี่จนฯลฯ
ลาลับ
เมืองมนต์ สมบัติเจริญ เสียชีวิต เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2513ที่โรงพยาบาลมิชชั่น โดยก่อนเสียชีวิตมีอาการอาเจียนเป็นเลือด ได้ตั้งบำเพ็ญกุศลฌาปณกิจศพที่วัดมงคลวนาราม (มะเกลือ) ย่านดาวคะนอง ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานวงดนตรีของเขาที่อยู่บริเวณหลังวัดนี้

บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #26 เมื่อ: 19 มกราคม 2566, 01:53:11 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @สุวรรณี สุคนธา (นักเขียน)


  



  
   


    
 
      ......สุวรรณีกลั่นแก้ว .....เรียงราว
      สาวเรื่องครบจบคราว......เรื่องสั้น
       เขาชื่อกานต์เปงดาว......งานเด่น  หนังนา
           เรื่องของน้ำพุนั้น.......แม่กล้าเปิดฉาว.....

       ....คนมีคาวชื่อพริ้ง........เริงเมือง   ดังนา  
   บทเด่นตัวโคตรเปลือง........ปล่อยผ้า  
   นางเอกเล่นบทรักเรือง........กลมกล่อม   สวยแฮ  
     หม่อมอูมเธอแสนกล้า.......เล่นเล้าผัวเคือง....



สุวรรณี สุคนธา เป็นนามปากกาของ สุวรรณี สุคนธ์เที่ยง (1 มีนาคม พ.ศ. 2475 – 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527) นักเขียนชาวไทย
ประวัติ
สุวรรณีเป็นบุตรของนายย้อยและนางแตงอ่อน มีพี่ชายหนึ่งคน สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนผดุงนารี-กวีพิทยา ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก แล้วมาต่อที่วิทยาลัยเพาะช่างสองปี และคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยสำเร็จการศึกษาและได้รับปริญญาศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ วิชาเอกจิตรกรรม เมื่อ พ.ศ. 2494 จากนั้นจึงเริ่มเป็นครูศิลปะที่โรงเรียนศิลปศึกษา กรุงเทพมหานคร อยู่สามปี แล้วไปเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร
ระหว่างนั้นได้เริ่มเขียนเรื่องสั้น เรื่องแรกคือ "จดหมายถึงปุก" (พ.ศ. 2508) โดยตีพิมพ์ในสตรีสาร และใช้นามปากกาว่า "สุวรรณี" ต่อมานายประมูล อุณหธูป บรรณาธิการสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ได้ตั้งนามปากกาให้ใหม่ว่า "สุวรรณี สุคนธา" เมื่อได้ส่งเรื่องสั้นให้ตีพิมพ์ในสยามรัฐ ส่วนนวนิยายเรื่องแรกที่เขียนคือ "สายบ่หยุดเสน่ห์หาย" ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
เมื่องานเขียนเริ่มเป็นที่นิยมสุวรรณีจึงลาออกจากราชการ และปฏิบัติงานเขียนอย่างเต็มตัว จนถึง พ.ศ. 2515 จึงเป็นบรรณาธิการนิตยสารลลนาจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
ผลงานการเขียนของสุวรรณีมีจุดเด่นตรงการเน้นตัวละครที่สมจริง ตัวเอกของเรื่องมิใช่คนสวยวิเศษแสนดีตามแบบฉบับที่นิยมกันในสมัยนั้น แต่มีชีวิตจิตใจ อารมณ์ และกิเลสเหมือนบุคคลทั่วไปที่ผู้อ่านสามารถพบเจอได้ในชีวิตจริง กับทั้งตัวละครยังสะท้อนด้านมืดของความเป็นมนุษย์ ภาษาที่ใช้เรียบง่ายแต่งดงามและเป็นเชิงเสียดสีสังคม ทำให้งานเขียนของสุวรรณีมีสีสันและได้รับความนิยมอย่างยิ่ง
ผลงานที่ได้รับรางวัลวรรณกรรม
 เช่น เขาชื่อกานต์ ได้รับรางวัล ส.ป.อ.ใน พ.ศ. 2513, ด้วยปีกของรัก ได้รับรางวัลชมเชยสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ พ.ศ. 2516, พระจันทร์สีน้ำเงิน ได้รางวัลยอดเยี่ยมจากสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ พ.ศ. 2519 และ สร้อยแสงแดง ได้รางวัลหนังสือเยาวชนระดับชมเชยจากสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ พ.ศ. 2524 เป็นต้น
นอกจากนี้ ผลงานของสุวรรณีตลอดจนเรื่องราวชีวิตของสุวรรณีเองยังได้รับการนำไปจัดทำเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น พระจันทร์สีน้ำเงิน(โดยใช้ชื่อเรื่อง น้ำพุ) เขาชื่อกานต์ คนเริงเมือง ฯลฯ
ด้านครอบครัว สุวรรณีสมรสกับทวี นันทขว้าง ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2533 และอาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีบุตร-ธิดาด้วยกันสี่คน ต่อมาหย่าขาดจากสามีแล้วมาร่วมชีวิตกับนายศิริสวัสดิ์ พันธุมสุต
สุวรรณี สุคนธ์เที่ยง เสียชีวิตขณะไปจ่ายตลาด แล้วถูกวัยรุ่นพยายามชิงรถยนต์เข้าทำร้ายด้วยอาวุธจนเสียชีวิต เพื่อที่จะนำไปขายแล้วหาซื้อยาเสพติด เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์.... เรื่องของน้ำพุ…สายบ่หยุดเสน่ห์หาย…กิ่งฟ้า...เขาชื่อกานต์…คนเริงเมือง…เก้าอี้ขาวในห้องแดง…ความรักครั้งสุดท้าย…คืนนี้ไม่มีพระจันทร์...จามร...เดือนดับที่สบทา...ดอกไม้ในป่าแดด…ด้วยปีกของรัก…ทะเลฤๅอิ่ม…ทองประกายแสด…แม่ศรีบางกอก...พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ…เรื่องของเกด...ลูกรัก...พระจันทร์สีน้ำเงิน…สร้อยสวาท...สามเงา…สร้อยแสงแดง...อิตถีเพศ…สวนสัตว์ (ใช้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของกระทรวงศึกษาธิการ และมีการแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นด้วย)…ถนนสายรมณีย์...วันวาร...คืนหนาวที่เหลือแต่ดาวเป็นเพื่อน (รวมเรื่องสั้น)…บางทีพรุ่งนี้จะเปลี่ยนใจ (รวมเรื่องสั้น)...ผู้หญิงคนนั้นชื่อเสลา…ฝันสีรุ้ง...กิจกรรมชายโสด

บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #27 เมื่อ: 20 มกราคม 2566, 02:19:00 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @วงชาตรี นราธิป กาจนวัฒน์


  
      

       ..จากเธอไกลค่อนฟ้า.......ลอนดอน  
              วอนที่รักจำจร..........ไป่ปั้น
            ลำบากยิ่งจักถอน.......ตอนพร่ำ   พลอดเฮย
         จำมั่นสัญญานั้น............เที่ยงแท้รอเธอ…….

 ..      แรกเจอฉันก่อเพ้อ.......  แฟนฉัน    ฝันหา
              เติมต่อจะรอวัน...... แต่งได้
          อธิษฐานแค่ไกลกัน.......รักมั่น      คงนา
          คือนั่นคำวอนไหว้.........ฝากไว้ชาตรี......

ชาตรี เป็นวงดนตรีเพลงโฟล์กที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2512 โดยนักศึกษาปี 2 แผนกช่างภาพ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ (ปัจจุบัน คือ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ) 3 คน คือ นราธิป กาญจนวัฒน์ ประเทือง อุดมกิจนุภาพ และคฑาวุธ สท้านไตรภพ ทั้งสามคนเล่นกีตาร์โปร่ง ต่อมาได้ชักชวนอนุสรณ์ คำเกษม เพื่อนร่วมห้องอีกคนหนึ่งมาเล่นกลอง ชื่อ ชาตรี มาจากชื่อหนังสือพระเครื่อง ของประชุม กาญจนวัฒน์ (บิดาของนราธิป)
ประวัติ
วงชาตรีเริ่มรวมวงและแสดงครั้งแรก ในงานเลี้ยงต้อนรับน้องใหม่ของแผนกช่างภาพ ต่อมาได้แสดงในหอประชุมใหญ่ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ และเข้าแข่งขันการประกวดวงโฟล์คซอง ทางวงรวบรวมเงินกันซื้อกลองเก่ามาหนึ่งชุด ทุกวันทุกคนในวงต้องช่วยกันขนกลองจากบ้านของอนุสรณ์ ที่มีนบุรี ขึ้นรถเมล์ไปวิทยาลัยเพื่อฝึกซ้อมในช่วงเย็น
วงชาตรีเริ่มบันทึกเสียงครั้งแรกทางรายการวิทยุ "120 นาที มัลติเพล็กซ์" โดยการชักชวนของครูไพบูลย์ ศุภวารี หนึ่งในกรรมการตัดสินโฟล์คซอง ซึ่งเห็นความสามารถ และได้บันทึกแผ่นเสียงชุดแรก จากไปลอนดอน พ.ศ. 2518 ชุดที่สอง แฟนฉัน พ.ศ. 2519 และได้ทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ สวัสดีคุณครู กำกับโดยพันคำ นำแสดงโดยจารุณี สุขสวัสดิ์ สุเชาว์ พงษ์วิไล จากนั้นจึงทำผลงานชุดที่สาม หลงรัก ซึ่งนำเพลงลูกทุ่งของชาตรี ศรีชลมาขับร้องใหม่
พ.ศ. 2520 ผลงานชุดที่สี่ ฝนตกแดดออก ประกอบภาพยนตร์ ฝนตกแดดออก กำกับโดยชาลี อินทรวิจิตร นำแสดงโดยสรพงศ์ ชาตรี ลลนา สุลาวัลย์ และ เศรษฐา ศิระฉายา จากนั้นได้ทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง รักแล้วรอหน่อย ของพันคำ นำแสดงโดยสรพงศ์ และจารุณี
วงชาตรีเพิ่มตำแหน่งนักดนตรีคีย์บอร์ด โดยได้ประยูร เมธีธรรมนาถซึ่งทำระบบเสียงให้กับวงมาเล่นให้ พ.ศ. 2522 ทำเพลงประกอบละครเรื่อง นางสาวทองสร้อย ทางช่อง 9 และออกผลงานชุดใหม่ รัก 10 แบบ และ ชีวิตใหม่
ผลงานชุดชีวิตใหม่ เกิดขึ้นจากทางวงได้เข้าไปเยี่ยมชมสำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก และได้แต่งเพลงชื่อ หลงผิด เนื้อหาเกี่ยวกับผู้ติดยาเสพติด รายได้มอบให้กับสำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก
พ.ศ. 2523 ออกผลงานชุด รักครั้งแรก และ สัญญาใจ เป็นที่ระลึกในโอกาสที่ ประเทือง สมาชิกวงแต่งงาน จากนั้นออกผลงานชุด ชะตารัก
พ.ศ. 2525 เปิดการแสดงสดครั้งใหญ่ที่โรงแรมดุสิตธานี และออกผลงานบันทึกการแสดงสด ชาตรีอินคอนเสิร์ต ตามด้วยชุด รักไม่เป็น ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองมหาชน จากเพลงภาษาเงิน
พ.ศ. 2526 ผลงานชุดใหม่ รักที่เธอลืม มีเพลง วันรอคอย และ ใต้ร่มเย็น ประพันธ์โดยพลเอกหาญ ลีลานนท์ แม่ทัพภาคที่ 4 ในขณะนั้นเนื้อหาให้คนไทยมีความสามัคคีและรักชาติ อัลบั้มชุดนี้ได้รางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว จากยอดขายมากกว่าสองแสนตลับ
ผลงานชุดถัดมาชื่อ แอบรัก บันทึกเสียงที่ห้องบันทึกเสียงชาตรี ซึ่งตั้งชื่อเป็นเกียรติให้กับวง ตามด้วยชุด ทศวรรษ
ผลงานชุดที่ 15 ชุดสุดท้ายของวง วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ชื่อชุด อธิษฐานรัก และคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายของพวกเขาได้จัดขึ้นที่รายการโลกดนตรีเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2528
ผลงาน...จากไปลอนดอน (2517)…แฟนฉัน (2519)…หลงรัก (ลูกทุ่ง ชาตรี ศรีชล) (2519)…ฝนตกแดด...ออก (2520)…รัก 10 แบบ (2522)…ชีวิตใหม่ (2522)….รักครั้งแรก (2523)…สัญญาใจ (2523)….ชะตารัก (2524)….ชาตรีอินคอนเสิร์ต (2525)…รักไม่เป็น (2525)…รักที่เธอลืม (2526)…แอบรัก (2527)…ชาตรีทศวรรษ (2527)…อธิษฐานรัก (2528)
เพลงประกอบภาพยนตร์...สวัสดีคุณครู (2520)…รักแล้วรอหน่อย (2521)…ครูขาหนูเหงา (2521)…ฝนตกแดดออก (2522)…กำนันสาว (2526)….สงครามเพลง (2526)
  ตลอดระยะเวลานานกว่า 10 ปี วงดนตรีชาตรีได้สร้างสรรค์บทเพลงที่เป็นที่นิยมอย่างมากมาย อาทิ จากไปลอนดอน, แฟนฉัน, รักครั้งแรก, สัญญาใจ, ชะตารัก, แอบรัก, อธิษฐานรัก ฯลฯ ก่อนประกาศอำลาวงการในปี 2528 จากนั้นทั้งหมดได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้งในคอนเสิร์ตใหญ่ “33 ปี ชาตรี The Memory Concert” ในปี 2549 รวมถึงล่าสุดกับ "Forget Me not Concert" เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2562            อนึ่งหลังประกาศอำลาวงการทางด้านของ "แดง นราธิป กาญจนวัฒน์” ได้เข้าพิธีบรรพชาบวชเป็นพระนานกว่า 17 พรรษา (อ่าน : สุดทางบวช แต่ไม่สุดทางธรรม “นราธิป กาญจนวัฒน์”)
"แดง นราธิป กาญจนวัฒน์" โพสต์ข้อความระบุถึงความสัมพันธ์ของตนและเพื่อนร่วมวง"ชาตรี"ว่า... พี่แดงขอเปิดใจพูดถึง "วงชาตรี" พี่แดงกับป้อมคฑาวุธ,เหมาประเทือง, ยุ่นประยูร,และปุ้ยอนุสรณ์ ปัจจุบันนี้ "ไม่เผาผีกัน" (เลิกคบกันหลายปีแล้ว) และได้พูดคุยกันแล้วว่า จะไม่ละเมิดสิทธิ์ ของเพลงที่แต่ละคนแต่ง
"วงชาตรี" ในยุคสมาชิกใหม่ ก็เพราะแฟนเพลงเรียกร้อง และเห็นว่าเราก็ยังมอบความสุขให้แฟนเพลงที่รักเราได้ฟังกันต่อโดยการนี้ พี่แดงชัดเจนต่อผู้ว่าจ้างทุกรายบอกว่าสมาชิกเดิมคือพี่แดงคนเดียว พร้อมสมาชิกใหม่ และเราจะร้องแต่เพลงที่เราเป็นผู้ประพันธ์เท่านั้น จะไม่ร้องเพลงของผู้อื่นเด็ดขาด ซึ่งผู้ว่าจ้างก็รับทราบและตอบตกลง"    
ในครอบครัวของทั้งสองต่างรู้ดีว่านราธิปและบุษบานั้น รักและอยู่ด้วยกันมาก่อนที่ฝ่ายชายจะไปบวชนานถึง 17 ปี
ซึ่งตอนไปบวช ฝ่ายหญิงก็ตั้งท้อง กระทั่งต่อมาคุณบุษบาไปมีครอบครัวใหม่ สุดท้ายเลิกราจากกัน และในช่วงที่พระนราธิปสึกก็กลับมาอยู่เป็นครอบครัวอีกครั้ง
นราธิปเล่าถึงเรื่องนี้ว่า กับกุ๊กไก่เป็นแฟนกันมานานแล้ว แต่ว่ายุคสมัยก่อน เรื่องแบบนี้ ศิลปินสมัยโบราณบางเรื่องต้องปิด โดยเฉพาะเรื่องความรักส่วนตัว เรารักหลายสิบปี ตั้งแต่เป็นหนุ่มเป็นสาว คือเป็นเพื่อนอยู่ด้วยกัน
แต่ว่าเบื้องหลังจริงๆ กุ๊กไก่เขาเป็นคนช่วยแต่งเพลงมาหมดทุกเพลงเลย แม้กระทั่งเพลงแฟนฉัน หรือเพลงอธิษฐานรัก เขาจะอยู่เบื้องหลัง
บางเพลงช่วยแต่งทำนอง บางเพลงช่วยเนื้อ บางเพลงจะช่วยเติมเต็มให้เพลงมันจบโดยสมบูรณ์
คนเราถ้าอยู่คนเดียวบางทีมันก็ไปได้ แต่บางครั้งถ้ามีคู่ใจก็เหมือนกับมีตัวช่วย


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #28 เมื่อ: 20 มกราคม 2566, 09:25:25 PM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @ชาตรี ศรีชล



.. ขาดนวลนางพี่ต้อง.....ซมซาน  
       นานเนิ่นทรมาน.....ดื่มเหล้า
       เมามายบ่ลืมกานต์......แสนแย่    
           รักเก่าเขาลืมเศร้า.......หนุ่มกลุ้มฤดี...

    ..ชาตรีศรีชลเก่งร้อง......เสียงดี
     เพลงเด่นดังมากมี....... แต่งไว้
      ทหารห่วงเมียศรี......... ดังเด่น
                คราห่างไกลโหยให้.........สั่งย้ำโปรดรอ......

        
ชาตรี ศรีชล เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งชายเสียงดีเลือดนักสู้จากเมืองน้ำเค็ม เขามีความสามารถทั้งการร้องเพลง รวมทั้งการประพันธ์เพลงลูกทุ่งในระดับชั้นแนวหน้าของวงการลูกทุ่งเมืองไทย ผลงานเพลงทั้งที่เขาร้องและประพันธ์ เป็นที่รู้จักของแฟนเพลงมากมาย ชาตรี ศรีชล เป็นเจ้าของผลงานเพลงดังอย่าง "สาวผักไห่", "สมัครรักสมัครแฟน" "ซมซาน" , "ทหารห่วงเมีย" และอื่น ๆ อีกมาก
ประวัติ
ชาตรี ศรีชล มีชื่อจริงว่า สมบุญ ลีเส็ง เกิดวันจันทร์ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492  ที่บ้านนากระรอก ต.ทุ่งขวาง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี พ่อชื่อ นายเผือก แม่ชื่อ นางสอน ลีเส็ง เป็นลูกคนที่ 5 ในจำนวนพี่น้อง 8 คน ชาตรี ศรีชล เรียนหนังสือจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนชลชาย โรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรี ปัจจุบันคือ โรงเรียนชลราษฎรอำรุง
ก้าวเข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งด้วยการไปสมัครร้องเพลงกับวง "รวมดาวกระจาย" ของครูสำเนียง ม่วงทอง ในยุคแรก ก่อนออกจากวงครูสำเนียง ก็มาสมัครอยู่กับวงดนตรีสุรพล สมบัติเจริญ (ขณะนั้นครูสุรพลเสียชีวิตแล้ว และมีศรีนวล สมบัติเจริญเป็นหัวหน้าวง) เมื่อปลายปี พ.ศ. 2511 โดยแต่งเพลงและช่วยเคาะจังหวะการร้องเพลงให้สีนวลในช่วงแรกๆคือเพลง "รักหน่อยนะ" จนสีนวลมีชื่อเสียง เมื่อปี พ.ศ. 2513 ออกจากวงศรีนวล สมบัติเจริญ มาตั้งวงเป็นของตัวเอง แต่ทำวงแค่ปีเดียวมีปัญหาต้องยุบวงเนื่องจากต้องโทษด้วยข้อคดีหนีการเกณฑ์ทหาร เมื่อพ้นโทษแล้ว ได้ตั้งวงใหม่ และประสพความสำเร็จด้วยเพลง "ไปเอาเหล้ามา" จากงานประพันธ์ของตัวเอง หลังจากเลิกวงแล้วก็ร้องเพลงตามห้องอาหารและรับเชิญเป็นบางโอกาส
ชาตรี ศรีชล ร้องเพลงบันทึกแผ่นเสียงเพลงแรกคือเพลงบัวหลวง ปีพ.ศ. 2512 (ซึ่งแต่งไว้ก่อนเข้าวงการ) ส่วนผลงานเพลงที่สร้างชื่อมีมากมาย อาทิ "สมัครรักสมัครแฟน" ,"ช้ำรักจากเมืองชล" "สาวผักไห่" "วอนแฟนเพลง", "โฉมนาง", "เมาเหล้าเมารัก", "รอไม่ไหว", "สาวอาปาเช่" ฯลฯ
ชาตรี ศรีชล ถือว่าเป็นนักร้องอัจฉริยะคนหนึ่ง ในวันหนึ่ง ๆ สามารถประพันธ์เพลงได้หลายสิบเพลงเลยทีเดียว โดยเฉพาะถ้าได้ดื่มสุราด้วยแล้ว ว่ากันว่าสมองแล่นเขียนเพลงได้อรรถรสนินัก
เพลงที่ชาตรีประพันธ์ไว้มีอยู่ราว 200 เพลง โดยเพลงที่ยังไม่เคยบันทึกเสียงมีราว 100 เพลง
ชีวิตครอบครัว
จากบทเพลง "ช้ำรักจากเมืองชล" ที่เนื้อหาของเพลงส่วนหนึ่งมีว่า "พี่ยากจนจากชลบุรี ขอน้องปราณีสงสารพี่หน่อย" แต่เจ้าตัวไม่ชำรักแน่ เพราะคนชื่อ "ปราณี" ที่ปรากฏในบทเพลงคือคู่ชีวิตในเวลาต่อมา ทั้งสองมีบุตรด้วยกัน 4 คน ชาย 1 คน หญิง 3 คน
ลาลับ
ช่วงท้ายของชีวิต ชาตรี ศรีชล เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลบ่อยสุขภาพเสื่อมโทรมไว เนื่องจากดื่มสุราหนักจนท้ายที่สุด ก็เสียชีวิตที่โรงพยาบาลชลบุรีจากอาการเส้นเลือดในสมองแตก เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 รวมอายุได้ 40 ปี



ทหารไทย ใจห่วงเมีย
เฝ้าสั่งเสีย เสียจนตะวันสาย
ยิ้มก่อนซิ ก่อนที่พี่จะจากไกล
มันไม่นานเท่าใหร่
จะกลับมาให้ไออุ่น
บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #29 เมื่อ: 22 มกราคม 2566, 11:06:04 PM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @ทมยันตี


   

                  

  

      

          


...ทมยันตีชื่อนี้ ......... ตำนาน
เขียนเด่นจินตนาการ....  พร่างแพร้ว
เสกสรร “คู่กรรม “ ชาน........รักล่ม
เกลียดเปลี่ยนรักคราแคล้ว...... โศกเศร้าสงคราม….
....นิยามรักมั่นข้าม.........เวลา
“ทวิภพ” ส่องชะตา........เก่าย้อน
กระจกเก่าเสกพา......นางล่อง
สองเรื่องละครซ้อน.......สร้างชื่อวิมล....



ทมยันตี เป็นนามปากกาของ คุณหญิงวิมล เจียมเจริญ เกิดที่กรุงเทพมหานคร บิดาเป็นทหารเรือ ส่วนเชื้อสายทางมารดาเคยเป็นชาววัง วิมลศึกษาชั้นประถมปีที่ 1 ถึงมัธยมปีที่ 8 ที่โรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ จากนั้นเข้าศึกษาต่อคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ภายหลังเปลี่ยนมาเรียนคณะพณิชยศาสตร์และการบัญชี จนจบอนุปริญญา วิมลสมรสครั้งแรกกับ นายสมัคร กล่ำเสถียร และได้หย่าขาดจากกัน ต่อมาสมรสกับ ร.ต.ท.ศรีวิทย์ เจียมเจริญ (ยศขณะนั้น) มีบุตรด้วยกัน 3 คน และต่อมาได้เลิกร้างกัน และวิมลได้ฟ้อง พ้นตำรวจเอกศรีวิทย์ เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นคดีความยืดเยื้อกันไปถึงสามศาล

ขณะเรียนในชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปสมัครเป็นครูสอนวิชาภาษาไทยโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ เมื่อโรงเรียนรับสมัครเข้าเป็นอาจารย์ จึงลาออกจากธรรมศาสตร์ โดยระหว่างสอนหนังสือก็ได้เขียนหนังสือไปพร้อมกันด้วย

หลังจากเป็นแกนนำสำคัญของชมรมแม่บ้านโจมตีขบวนการนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 วิมลได้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และต่อมาในปี พ.ศ. 2520 ได้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, ปี พ.ศ. 2522 เป็นสมาชิกวุฒิสภา, และปี พ.ศ. 2527 ได้เป็นผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

นอกจากจะมีความสามารถในการเขียนแล้ว ทมยันตียังเคยมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่นิยมอย่างสูงในฐานะนักพูด แนวการพูดของทมยันตี คือโน้มนำให้ประชาชนรักชาติ เสียสละเพื่อชาติ และมีความยึดมั่นในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 วิมลมีบทบาทเป็นแกนนำสำคัญของชมรมแม่บ้าน ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของภรรยาข้าราชการ ภรรยานายพล และแม่บ้าน มีบทบาทโจมตีขบวนการนักศึกษาว่าเป็นผู้บ่อนทำลายมิตรประเทศ (สหรัฐอเมริกา) [1] ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว วิมลได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

งานเขียนครั้งแรก

วิมลเริ่มเขียนเรื่องสั้นเป็นครั้งแรกเมื่ออายุ 14 ปี ขณะเรียนอยู่ชั้นม. 4 ได้ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร ศรีสัปดาห์ และได้เขียนเรื่องสั้นต่อเนื่องอยู่ถึง 11 ปี ขณะที่เริ่มเขียนเรื่องยาวเรื่องแรกคือเรื่อง ในฝัน เมื่ออายุ 19 ปี ใช้นามปากกา โรสลาเรน ตีพิมพ์ในนิตยสารศรีสัปดาห์ วิมลเขียนเรื่องสั้นและนวนิยายจนอายุ 70 ปีจึงเลิกเขียน

นามปากกา 5 ชื่อ ได้แก่

1. โรสลาเรน
เป็นนามปากกาแรก เทียบคำในภาษาฝรั่งเศสแปลว่า "กุหลาบราชินี" ใช้เขียนเรื่องรักพาฝันหรือจินตนิยาย

2. ลักษณวดี
ใช้สำหรับเขียนนวนิยายรัก ส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาของเหล่าเจ้าหญิงเจ้าชาย

3. กนกเรขา
ใช้สำหรับแต่งเรื่องตลกเบาสมอง แต่ที่สร้างชื่อเสียงให้มากที่สุดคือ

4. ทมยันตี
นามปากกาที่ใช้แต่งเรื่องราวที่สะท้อนชีวิตและสังคม รวมทั้งแต่งเรื่องแนวจิตวิญญาณ

5. มายาวดี
ใช้เขียนเรื่องเกี่ยวกับศาสตร์แห่งเทวะ หรือเรื่องเล่าจากตำนาน

แม้ไม่ปรากฏว่างานเขียนของทมยันตีเคยได้รับรางวัลสำคัญ แต่เป็นที่ยอมรับทั่วไปว่าทมยันตีถือเป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จ มีผลงานได้รับความนิยมอย่างสูงเป็นจำนวนมาก เหตุผลที่ไม่มีผลงานของทมยันตีได้รับรางวัลทางวรรณกรรมใด ๆ นั้น เป็นเพราะทมยันตีไม่ประสงค์ให้นำผลงานของตนไปส่งประกวด และปฏิเสธการรับรางวัลทั้งปวง ทมยันตีได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “ฉันเคยได้รับรางวัลจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ มาแล้ว นั่นคือรางวัลสูงสุดในชีวิต จากนั้นไม่เคยอยากได้รางวัลใด ๆ อีกเลย” และในขณะนี้ ทมยันตีได้เริ่มลงมือเขียนเรื่อง 'จอมศาสดา' ซึ่งจะเป็นเรื่องสุดท้ายที่ทมยันตีจะเขียนแล้ว จากนั้นทมยันตีจะหันหน้าเข้าสู่ความสงบใต้ร่มพระศาสนา

เกียรติยศที่ได้รับ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ วิมลได้รับเครื่องราชอิสริยาภาณ์ตริตาภรณ์มงกุฎไทย ตริตาภรณ์ช้างเผือกและ ทุติยาภรณ์มงกุฎไทย ต่อมาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุตถจุลจอมเกล้า เป็น “คุณหญิง” เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2548

ผลงานรวมเล่ม

ในนามปากกา "ทมยันตี"

คู่กรรม, กษัตริยา, เถ้ากุหลาบ, กฤตยา, ใยเสน่หา, แม่ดอกสวะ, เมียน้อย, เวียงกุมกาม, ร่มฉัตร, รอยลิขิต, ยอดอนงค์, รักลวง, รักที่ต้องมนตรา, ราชาวดี, แก้วกัลยาของแผ่นดิน, แก้วกลางดง, มงกุฎหนาม, เจ้าแม่, โซ่สังคม, มณีร้าว, เทพบุตรสุดแสบ, แนวสุดท้าย, ใบไม้ที่ปลิดปลิว, แผลหัวใจ, เพลงชีวิต, วันที่รอคอย, สะพานดาว, สองชีวิต, สายรุ้ง, สำรองรัก, ศิวาลัย, สตรีหมายเลขหนึ่ง, สุริยวรรมัน, สุดหัวใจ, อย่าลืมฉัน, อันธการ, อตีตา, อธิราชา, ล่า, ไวษณวี, คำมั่นสัญญา, คู่กรรมภาคสอง, คุณหญิงนอกทำเนียบ, จิตา, จดหมายถึงลูกผู้ชาย, ชามี, ฌาน, ดาวเรือง, ดาวนภา, ตราบาป, ตะวันลา, ถนนสายหัวใจ, ทิพย์, นายกหญิง, นางเอก, บาป, ประกาศิตเงินตรา, พิเธีย, พี่เลี้ยง, พิษสวาท, ทวิภพ, คลื่นชีวิต, รายากุนิง

วิมลถึงแก่กรรมอย่างสงบในขณะนั่งสมาธิ ณ ล้านนาเทวาลัย นิวาสสถานแห่งสุดท้ายของตน เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564 สิริอายุ 84 ปี ทั้งนี้ ได้มีการจัดพิธีเคารพศพขึ้น ณ วัดบวกครกใต้ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน พ.ศ. 2564 และได้มีกำหนดการเคลื่อนย้ายร่างของเธอไปยังวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564 โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพแก่คุณหญิงวิมล นอกจากนี้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้ดำเนินการขอพระราชทานเพลิงศพและยกย่องเชิดชูเกียรติในฐานะศิลปินแห่งชาติในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2564 อีกด้วย

บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: