-/> แพ้กุ้ง ทานอย่างไรไม่ให้แพ้

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: แพ้กุ้ง ทานอย่างไรไม่ให้แพ้  (อ่าน 2391 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 4206
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดนักโพสดีเด่น
กระทู้: 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์
   
« เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2556, 11:53:29 PM »

Permalink: แพ้กุ้ง ทานอย่างไรไม่ให้แพ้
แพ้กุ้ง ทานอย่างไรไม่ให้แพ้


กุ้ง อาหารที่ชื่นชอบของใครหลายๆ คน แต่อีกหลายๆคนที่แพ้กุ้ง มักไม่ชอบแน่ ซึ่งอาการแพ้ต่างๆ เหล่านี้อาจสร้างความลำคาญใจให้กับผู้ป่วย เพราะบางรายมีอาการแพ้ที่แตกต่างกันออกไป แต่วิธีในการรักษากับเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากค่ะ  
 

อาการแพ้อาหารทะเล โดยเฉพาะกุ้ง เป็นอาหารต้องห้ามของใครหลายๆ คน เพราะอาการแพ้อาหารทะเล อาจทำให้คุณต้องเสียชีวิตได้ไม่รู้ตัว งั้นเรามาลองหาสาเหตุของอาการแพ้กุ้งกันค่ะ  สาเหตุ และสังเกตอาการแพ้กุ้ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธ์ภัคดี สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลว่า อาการแพ้กุ้ง คือ หนึ่งในกลุ่มอาการแพ้อาหาร (food allergy) มีสาเหตุจากสารในอาหาร(Antigen) หรือสารที่เกิดขึ้นจากกระบวนการย่อยอาหาร (breakdown product) กระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวให้สร้างภูมิคุ้มกัน (Antibody) ขึ้นมาต่อต้าน อาการแพ้จึงปรากฏ

อาการแพ้จะแสดงออกใน 3 ระบบ คือ
1.ระบบผิวหนัง เช่น มีผื่นขึ้น
2.ระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง
3.ระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด บางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

อย่างไรก็ตามบางคนที่ไม่เคยมีอาการแพ้กุ้งมาก่อน แต่กลับมีอาการแพ้เมื่ออายุ เพิ่มขึ้น แม้ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านตั้งข้อสังเกตว่า อาการแพ้ที่เกิดจากภูมิคุ้มกันภายในร่างกายบกพร่องอาจมีสาเหตุมาจากการทำงานหนัก กินอาหารไม่ถูกสัดส่วน พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือหลายปัจจัยร่วมกัน แพ้สารอะไรในตัวกุ้ง


โครงการวิจัยล่าสุด ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2553 เรื่อง “การศึกษาหาสารก่อภูมิแพ้ที่จำเพาะที่เป็นสาเหตุของการแพ้กุ้งน้ำจืดและกุ้งทะเลที่นิยมบริโภคในคนไทย” ชี้ให้เห็นว่า กุ้งน้ำจืดที่พบรายงานการแพ้มากที่สุด คือ กุ้งก้ามกราม ส่วนกุ้งทะเล คือ กุ้งกุลาดำ ทั้งนี้อาการแพ้อาจเกิดจากกุ้งเพียงชนิดเดียว หรือมากกว่า 1 ชนิด

กุ้งก้ามกราม


ดร.สุรพล พิบูลโภคานันท์ นักวิจัยผู้ควบคุมโครงการ จากสถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำตัวอย่างเลือดของอาสาสมัครที่แพ้กุ้งมาทดสอบและวิเคราะห์หาสารก่อภูมิแพ้ จึงค้นพบว่า สารก่อภูมิแพ้ที่จำเพาะต่อคนไทยใน
กุ้งก้ามกราม คือ โปรตีนฮีโมไซยานิน ส่วนสารก่อภูมิแพ้ในกุ้งกุลาดำ คือ โปรตีนลิพิด บายดิง (lipid binding protein)
และโปรตีน แอลฟาแอกตินิน (alpha actinin protein)


กุ้งกุลาดำ

การป้องกันอาการแพ้ทุกชนิด ไม่ว่าจะแพ้กุ้ง แพ้อากาศ หรือแพ้ขนสัตว์ เราป้องกันได้ด้วยการกิน นอน พักผ่อน ออกกำลังกาย และทำงานให้สมดุลกับร่างกายค่ะ
 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 335
ขอขอบคุณภาพภาพจาก  :  อินเตอร์เน็ต
บันทึกการเข้า




หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: