ตัวอย่างสัมผัสใน*
1.ตัวอย่างสัมผัส “เคียง” หมายถึงสัมผัสสระเรียงชิดกัน 2 คำ เช่น
แหกตา(หลอกกลอก)คางทำหางโก่ง
2.ตัวอย่างสัมผัส “เทียบเคียง” หมายถึงสัมผัสสระเรียงชิดกัน 3 คำ เช่น
เห็น(นกหกกก)ลูกรัญจวนจิต
3.ตัวอย่างสัมผัส “ทบเคียง” หมายถึงสัมผัสสระสองสระเรียงกันสระละ 2 คำ เช่น
เสียงเลื่อน(ลั่นครั่น)(ครื้นพื้น)พิภพ
4.ตัวอย่างสัมผัส “เทียบแอก” หมายถึงสัมผัสสระที่มีสระอื่นคั่น 1 สระ อยู่ปลายวรรค เช่น
ปีบจำปีจำ(ปา)แล(กา)หลง
5.ตัวอย่างสัมผัส “แทรกเคียง” หมายถึงมีสระอื่นคั่น 1 สระ อยู่ต้นวรรค เช่น
สิ้นบุญแล้วน้องแก้วจะลาตาย
6.ตัวอย่างสัมผัส “แทรกแอก” เป็นลักษณะเดียวกับเทียบแอกแต่มีสระอื่นคั่น 2 คำ เช่น
แต่เห็น(กัน)ยังไม่(ทัน)ได้บอกกล่าว
7.ตัวอย่างสัมผัส “ยมก” หมายถึงการซ้ำคำ เช่น
ถึงวัด(ทอง ทอง)ทาบ อยู่ปลาบเปล่ง
8.ตัวอย่างสัมผัส “คู่” หมายถึงสัมผัสอักษรชิดกัน 2 คำ เช่น
(ที่เภทภัยสารพัดกำจัดแคล้ว)
9.ตัวอย่างสัมผัส “เทียบคู่” หมายถึงสัมผัสอักษรชิดกัน 3 คำ เช่น
มาแปลงเปลี่ยนแปลกไปไม่เหมือนก่อน
10.ตัวอย่างสัมผัส “เทียมรถ” หมายถึงสัมผัสอักษรชิดกัน 4 คำ เช่น
(โอ้อกเอ๋ยอา)วรณ์ต้องจรจาก
11.ตัวอย่างสัมผัส “เทียบรถ” หมายถึงสัมผัสอักษรชิดกัน 5 คำ เช่น
มา(โรยร่วงแรมเรศเร)ณูนวล)
12.ตัวอย่างสัมผัส “ทบคู่” คือสัมผัสอักษร 2 อักษรเรียงกัน 2 คำ เช่น
จน(ดาวเดือนเลื่อนลับ)ไปจากฟ้า
13.ตัวอย่างสัมผัส “แทรกคู่” เป็นสัมผัสอักษรที่มีอักษรอื่นคั่น 1 คำ เช่น
ตัวคน(เดียว)หลง(เดิน)ในดงแดน
14.ตัวอย่างสัมผัส “นิสสัย” คือสัมผัสอักษรระหว่างปลายวรรคหน้ากับต้นวรรคหลัง เช่น
ฝืนวิโยคโศกเศร้าเข้าใน(ห้อง) (เห็น)แท่นทองที่ประทมภิรมย์สงวน
15.ตัวอย่างสัมผัส “นิสสิต” คือ อักษรปลายวรรคหน้าสัมผัสอักษรที่สองของวรรคหลัง เช่น
ให้ปลาบปลื้มมิได้ลืมละอา(ลัย) คิด(แล้ว)ให้หวนซ้ำระกำทรวง
*ขอขอบคุณข้อมูลจาก Internet ค่ะ*