-/> กรณี ขับรถชนสัตว์ เรามาดูหลักกฎหมาย กันครับ

You are here: Khonphutorn.com - แหล่งข้อมูลของคนไทยหมวดอาชีพรู้กฎหมาย คลายปัญหา (ผู้ดูแล: พรหมพิพัฒน์)กรณี ขับรถชนสัตว์ เรามาดูหลักกฎหมาย กันครับ
หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: กรณี ขับรถชนสัตว์ เรามาดูหลักกฎหมาย กันครับ  (อ่าน 1925 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ดูแลเรื่องกฏหมายของเว็บ
คะแนนน้ำใจ 1010
กระทู้: 130
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« เมื่อ: 24 กันยายน 2560, 02:49:28 PM »

Permalink: กรณี ขับรถชนสัตว์ เรามาดูหลักกฎหมาย กันครับ
กรณี ขับรถชนสัตว์
เรามาดูหลักกฎหมาย กันครับ
กฎหมายแรก  คือ พรบ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พศ.2557

มาตรา ๓  ในพระราชบัญญัตินี้

“สัตว์” หมายความว่า สัตว์ที่โดยปกติเลี้ยงไว้เพื่อเป็นสัตว์บ้าน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้งาน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นพาหนะ สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นเพื่อน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการแสดง หรือสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการอื่นใด  ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีเจ้าของหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

“การทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทำหรืองดเว้นการกระทำใด ๆ ที่ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมานไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ ได้รับความเจ็บปวด ความเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรืออาจมีผลทำให้สัตว์นั้นตาย และให้หมายความรวมถึงการใช้สัตว์พิการ สัตว์เจ็บป่วย สัตว์ชราหรือสัตว์ที่กำลังตั้งท้องเพื่อแสวงหาประโยชน์ ใช้สัตว์ประกอบกามกิจ ใช้สัตว์ทำงานจนเกินสมควรหรือใช้ให้ทำงานอันไม่สมควรเพราะเหตุที่สัตว์นั้นเจ็บป่วย ชราหรืออ่อนอายุ

มาตรา ๒๐  ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร
 
มาตรา ๒๑  การกระทำดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ตามมาตรา ๒๐
(๑) การฆ่าสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหาร  ทั้งนี้ เฉพาะสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร
(๒) การฆ่าสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์
(๓) การฆ่าสัตว์เพื่อควบคุมโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์
(๔) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่สัตวแพทย์เห็นว่าสัตว์ป่วย พิการ หรือบาดเจ็บและไม่สามารถเยียวยาหรือรักษาให้มีชีวิตอยู่รอดได้โดยปราศจากความทุกข์ทรมาน
(๕) การฆ่าสัตว์ตามพิธีกรรมหรือความเชื่อทางศาสนา
(๖) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน
(๗) การกระทำใด ๆ ต่อร่างกายสัตว์ซึ่งเข้าลักษณะของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์โดยผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์หรือผู้ซึ่งได้รับยกเว้นให้กระทำได้โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์จากสัตวแพทยสภาตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการสัตวแพทย์
(๘) การตัด หู หาง ขน เขา หรืองาโดยมีเหตุอันสมควรและไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์หรือการดำรงชีวิตของสัตว์
(๙) การจัดให้มีการต่อสู้ของสัตว์ตามประเพณีท้องถิ่น
(๑๐) การกระทำอื่นใดที่มีกฎหมายกำหนดให้สามารถกระทำได้เป็นการเฉพาะ
(๑๑) การกระทำอื่นใดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

มาตรา ๓๑  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๐ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ดังนั้น 

1 หมา หรือแมว เป็น สัตว์ที่โดยปกติเลี้ยงไว้เพื่อเป็นสัตว์บ้านหรือเป็นเพื่อน ไม่ว่าจะมีเจ้าของหรือไม่ก็ตาม จึง เป็น สัตว์ ตาม พรบ.นี้

2 การขับรถ ไปชน เป็นการกระทำที่ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมานไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ ได้รับความเจ็บปวด ความเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรืออาจมีผลทำให้สัตว์นั้นตาย   จึงเป็นการทารุณกรรม  ตาม พรบ.นี้ เช่นเดียวกัน

3  ผู้ใดทำการทารุณกรรมสัตว์ (มาตรา 20) ต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 31)

4 ข้อยกเว้น ไม่เป็นการทารุณกรรมสัตว์ (มาตรา21)
(1) การฆ่าสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหาร  ทั้งนี้ เฉพาะสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร
(2) การฆ่าสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์
(3) การฆ่าสัตว์เพื่อควบคุมโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์
(4) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่สัตวแพทย์เห็นว่าสัตว์ป่วย พิการ หรือบาดเจ็บและไม่สามารถเยียวยาหรือรักษาให้มีชีวิตอยู่รอดได้โดยปราศจากความทุกข์ทรมาน
(5) การฆ่าสัตว์ตามพิธีกรรมหรือความเชื่อทางศาสนา
(6) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สิน
(7) การกระทำใด ๆ ต่อร่างกายสัตว์ซึ่งเข้าลักษณะของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์โดยผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์หรือผู้ซึ่งได้รับยกเว้นให้กระทำได้โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์จากสัตวแพทยสภาตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการสัตวแพทย์
(8) การตัด หู หาง ขน เขา หรืองาโดยมีเหตุอันสมควรและไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์หรือการดำรงชีวิตของสัตว์
(9) การจัดให้มีการต่อสู้ของสัตว์ตามประเพณีท้องถิ่น
(10) การกระทำอื่นใดที่มีกฎหมายกำหนดให้สามารถกระทำได้เป็นการเฉพาะ
(11) การกระทำอื่นใดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

ดังนั้น  การขับรถชนสัตว์ ก็คงต้องดูเป็นกรณีไป ว่า เข้าเหตุข้อยกเว้นหรือไม่  ซึ่งหลักฐาน ก็ย่อมปรากฎออกมาจากการกระทำ   เช่น ถนนเล็กๆ มีคนยืนอยู่เต็ม แต่ขับด้วยความรวดเร็ว  , สัตว์อยู่เฉยๆ สามารถบีบแตรไล่หรือ ขับช้าให้มันหลบไปเองได้ แต่กลับขับอย่างรวดเร็วพุ่งใส่  , ขับบนถนนหลวงซึ่งใช้ความเร็ว  อยู่ดีๆ สัตว์ โผล่ออกมา  ปัจจัยเหล่านี้ ที่จะชี้ชัดได้ว่า  คนขับมีเจตนาเช่นใด

กฎหมายต่อมาคือ  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเรื่องละเมิด

มาตรา ๔๒๐  ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

มาตรา ๔๓๓  ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์  ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่สัตว์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์ หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่น หรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น
อนึ่ง บุคคลผู้ต้องรับผิดชอบดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลผู้ที่เร้าหรือยั่วสัตว์นั้นโดยละเมิด หรือเอาแก่เจ้าของสัตว์อื่นอันมาเร้าหรือยั่วสัตว์นั้นๆ ก็ได้

มาตรา ๔๔๒  ถ้าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ต้องเสียหายประกอบด้วยไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๒๓ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม

มาตรา ๒๒๓  ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร
วิธีเดียวกันนี้ ท่านให้ใช้แม้ทั้งที่ความผิดของฝ่ายผู้ที่เสียหายจะมีแต่เพียงละเลยไม่เตือนลูกหนี้ให้รู้สึกถึงอันตรายแห่งการเสียหายอันเป็นอย่างร้ายแรงผิดปกติ ซึ่งลูกหนี้ไม่รู้หรือไม่อาจจะรู้ได้ หรือเพียงแต่ละเลยไม่บำบัดปัดป้อง หรือบรรเทาความเสียหายนั้นด้วย อนึ่งบทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๒๐ นั้นท่านให้นำมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม

กรณีนี้  ถ้าสัตว์นั้นมีเจ้าของ คนขับรถขับรถชนสัตว์มีเจ้าของ  ทั้ง 2 ฝ่าย ก็คงต้องไปพิสูจน์เรื่องฝ่ายใดเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใด 

มาดูกฎหมายฉบับต่อมา  เป็น กม.อาญา

มาตรา ๓๗๗  ผู้ใดควบคุมสัตว์ดุหรือสัตว์ร้าย ปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้นเที่ยวไปโดยลำพัง ในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๓๘๑  ผู้ใดกระทำการทารุณต่อสัตว์ หรือฆ่าสัตว์โดยให้ได้รับทุกขเวทนาอันไม่จำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา  377 ผู้ใดควบคุมสัตว์ดุหรือสัตว์ร้าย  จึงต้องพิจารณา ถึง 
1 คนควบคุม หรือไม่
2 สัตว์ดุหรือสัตว์ร้าย หรือไม่
3 ปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้นเที่ยวไปโดยลำพัง หรือไม่ 
4 ในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ หรือไม่

ส่วน มาตรา 381  คงต้องไปดูความหมายทารุณ ตาม  พรบ.ทารุณกรรมสัตว์ ข้างต้น แทน

กฎหมาย ต่อไป พระราชบัญญัติจราจรทางบก

มาตรา ๑๑๑ ห้ามมิให้ผู้ใดขี่ จูง ไล่ต้อน หรือปล่อยสัตว์ไปบนทางในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร และไม่มีผู้ควบคุมเพียงพอ
ตาม กฎหมายนี้   เอาผิดกับ ผู้ที่ ขี่ จูง ไล่ต้อน หรือปล่อยสัตว์ไปบนทางในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร และไม่มีผู้ควบคุมเพียงพอ

ดังนั้น  กรณีขับรถชนสัตว์ จะเข้าแบบไหน  ผู้อ่าน คงพอจะตีความจากพฤติการณ์ได้แล้วในเบื้องต้น  ส่วนจะเป็นเช่นไร คงต้องไปพิสูจน์กันในชั้นศาลต่อไป

นอกจากนี้  เจ้าของสัตว์ก็อาจต้องรับผลของการปล่อยปละละเลยสัตว์ของตนเช่นเดียวกัน(ถ้ามีการฟ้องร้องกันต่อไป)
บันทึกการเข้า

ใช้ชีวิตแบบสบายๆ ปล่อยวางบ้าง
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: