-/> ไฟแนนท์ยึดรถไปแล้ว นำไปขายตลาดขาดทุน

You are here: Khonphutorn.com - แหล่งข้อมูลของคนไทยหมวดอาชีพรู้กฎหมาย คลายปัญหา (ผู้ดูแล: พรหมพิพัฒน์)ไฟแนนท์ยึดรถไปแล้ว นำไปขายตลาดขาดทุน
หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ไฟแนนท์ยึดรถไปแล้ว นำไปขายตลาดขาดทุน  (อ่าน 1738 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ดูแลเรื่องกฏหมายของเว็บ
คะแนนน้ำใจ 1010
กระทู้: 130
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« เมื่อ: 22 กันยายน 2560, 05:23:00 PM »

Permalink: ไฟแนนท์ยึดรถไปแล้ว นำไปขายตลาดขาดทุน
***ฏีกาที่31/2560.....ไฟแนนท์ยึดรถไปแล้ว  นำไปขายตลาดขาดทุน  จะฟ้องร้องเรียกค่าส่วนต่างจากผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันได้อีกหรือไม่?  เพียงใด  ***คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2560  ได้วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานแล้วว่า การเรียกค่าขายรถที่เช่าซื้อไปแล้วขาดทุนนั้นคดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองต้องร่วมรับผิดในค่าขาดราคาหรือไม่ เพียงใด โดยศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงยุติว่า

๑) โจทก์ไม่ได้แจ้งการประมูลรถยนต์ที่เช่าซื้อให้จำเลยทั้งสองทราบ และ

(๒) โจทก์ไม่ได้นำพยานมาสืบให้ได้ความว่า การขายทอดตลาดรถยนต์ที่เช่าซื้อมีความเหมาะสมถูกต้องตามหลักเกณฑ์การขายทอดตลาดโดยทั่วไปหรือไม่

จึงรับฟังไม่ได้ว่า การขายทอดตลาดโดยการประมูลราคาดังกล่าวของโจทก์เป็นการกระทำที่เหมาะสม ซึ่งโจทก์จะพึงมีสิทธิเรียกค่าขาดราคาจากสัญญาเช่าซื้อได้อีก โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยทั้งสองนั้น เห็นว่า ตามสัญญาเช่าซื้อ เอกสารหมาย จ.๕ ข้อ ๑๒ วรรคท้าย ระบุว่า "ในกรณีธนาคารบอกเลิกสัญญาและกลับเข้าครอบครองรถ ธนาคารจะแจ้งล่วงหน้าให้ผู้เช่าซื้อทราบเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า ๗ วัน เพื่อให้ผู้เช่าซื้อใช้สิทธิซื้อได้ตามมูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ" ส่วนข้อ ๑๔ ระบุว่า "กรณีที่ธนาคารได้รถกลับคืนมา ธนาคารตกลงว่าหากนำรถออกขายได้ราคาเกินกว่าจำนวนหนี้คงค้างชำระตามสัญญานี้ ธนาคารจะคืนเงินส่วนเกินนั้นให้แก่ผู้เช่าซื้อ แต่หากได้ราคาน้อยกว่าจำนวนหนี้คงค้างชำระตามสัญญานี้ ผู้เช่าซื้อตกลงรับผิดส่วนที่ขาดเฉพาะในกรณีที่ธนาคารได้ขายโดยวิธีประมูลหรือขายทอดตลาดที่เหมาะสมเท่านั้น" และสัญญาค้ำประกัน เอกสารหมาย จ.๖ ข้อ ๒ ระบุว่า "หากผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนดไว้ไม่ว่าด้วยเหตุใด หรือผิดสัญญาเช่าซื้อไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วนจนเป็นเหตุให้ธนาคารได้รับความเสียหาย หรือรถยนต์ที่เช่าซื้อเกิดความเสียหายไม่ว่าด้วยเหตุใด แม้โดยอุบัติเหตุ เหตุสุดวิสัย หรือภัยพิบัติเหตุใดที่ไม่อาจป้องกันได้ ผู้ค้ำประกันยินยอมที่จะชำระหนี้ของผู้เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ธนาคารทันทีจนครบถ้วน ความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันตามสัญญานี้เป็นความรับผิดต่อธนาคารร่วมกันกับผู้เช่าซื้อและในฐานะลูกหนี้ร่วมด้วย ทั้งนี้ โดยไม่คำนึงถึงว่าธนาคารได้ทวงถามหรือบอกกล่าวผู้ค้ำประกันแล้วหรือไม่ก็ตาม" ดังนั้น ก่อนนำรถยนต์ที่เช่าซื้อออกขายทอดตลาด โจทก์จึงมีหน้าที่จะต้องแจ้งล่วงหน้าให้จำเลยที่ ๑ ทราบเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า ๗ วัน เพื่อให้จำเลยที่ ๑ ได้ใช้สิทธิซื้อรถยนต์กลับคืนตามมูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ เมื่อทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความโดยชัดแจ้งว่า โจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ ๑ ใช้สิทธิซื้อรถกลับคืนดังกล่าว ประกอบกับโจทก์มิได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้ได้ความว่า การขายทอดตลาดรถยนต์ที่เช่าซื้อมีความเหมาะสมถูกต้องตามหลักเกณฑ์การขายทอดตลาดโดยทั่วไป คดีจึงยังฟังไม่ได้ว่า โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อโดยเหมาะสมตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ข้อ ๑๔. โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกราคารถยนต์ส่วนที่ขาดอยู่ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์ ภาค ๔ แผนกคดีผู้บริโภคเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น  พิพากษายืน
บันทึกการเข้า

ใช้ชีวิตแบบสบายๆ ปล่อยวางบ้าง
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: