-/> สะเดา สมุนไพรรสขม ยาดีที่ควรมีไว้ใกล้ตัว

You are here: Khonphutorn.com - แหล่งข้อมูลของคนไทยหมวดอาชีพบทความ นานาสาระ (ผู้ดูแล: พงศธร)สะเดา สมุนไพรรสขม ยาดีที่ควรมีไว้ใกล้ตัว
หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: สะเดา สมุนไพรรสขม ยาดีที่ควรมีไว้ใกล้ตัว  (อ่าน 2551 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,136
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2560, 10:08:27 AM »

Permalink: สะเดา สมุนไพรรสขม ยาดีที่ควรมีไว้ใกล้ตัว



สะเดา สมุนไพรรสขม ยาดีที่ควรมีไว้ใกล้ตัว



สะเดา สมุนไพรรสขม พืชสารพัดประโยชน์ที่ทุกครัวเรือนควรมีไว้ ต้นสะเดาถือเป็นต้นไม้แห่งยา เพราะทุกส่วนของสะเดาล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งสิ้น
          ตามตำราแพทย์ส่วนใหญ่เชื่อว่า รสขมเป็นรสชาติที่ดีต่อสุขภาพที่สุด แต่กลับเป็นรสชาติที่คนส่วนใหญ่ไม่ชอบเท่าไรนัก เพราะรสขมนั้นไม่อร่อย ซึ่งอาหารที่มีรสขมที่หากินง่ายในบ้านเรา นอกจากมะระ และบอระเพ็ดแล้ว ก็ยังมีผักสมุนไพรพื้นบ้านอีกหนึ่งชนิด นั่นคือ สะเดา พืชสมุนไพรพื้นบ้านที่คนไทยเรานิยมบริโภคกันมาช้านานแล้ว และนอกจากจะนำมาใช้เป็นอาหารแล้ว ยังนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงการเกษตรได้อีกด้วยล่ะ มาลองอ่านกันว่า พืชรสขมอย่างสะเดามีดีอะไรบ้าง

สะเดา คืออะไร มาจากไหนกันนะ
          สะเดาเป็นต้นไม้ที่ขึ้นชื่อเรื่องสรรพคุณทางยา และเป็นต้นไม้ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วน ต้นสะเดาถือเป็นต้นไม้ที่มีอิทธิพลต่อชาวอินเดียเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านความเชื่อทางศาสนา และการรักษาโรค รวมถึงประโยชน์ใช้สอย
          จากหลักฐานอ้างอิงในพุทธประวัติเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อน มีการบันทึกเอาไว้ว่าต้นสะเดา หรือ ต้นนิมพะเป็นต้นไม้ที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนา ตามพระพุทธประวัติกล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าได้นำต้นสะเดามาใช้ประโยชน์ในเชิงรักษาโรคมากมาย อีกยังพบหลักฐานในตำราสมัยอินเดียโบราณอีกด้วยว่า มีการใช้ประโยชน์จากต้นสะเดาในเชิงการแพทย์ในหลายกรณี ด้วยเหตุนี้ ต้นสะเดาจึงกลายเป็นต้นไม้แห่งยา และเป็นสัญลักษณ์แห่งความมีสุขภาพดีมาจนทุกวันนี้

สะเดา ชื่อวิทยาศาสตร์คืออะไร
          สะเดา มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Azadirachta indica A. Juss. Var. Siamensis Valeton จัดอยู่ในวงศ์ MELIACEAE ชื่ออังกฤษ Neem Tree, Indian Margosa Tree, Pride of China, Holy Tree และ Margosa Tree

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสะเดา




ต้นสะเดา จัดเป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-25 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบตลอดปี มีรากที่แข็งแรงกว้างขวางและหยั่งลึก สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดได้แก่ สะเดาไทย สะเดาอินเดีย และสะเดาช้าง โดยสะเดาไทยและสะเดาอินเดียเป็นชนิดเดียวกัน แต่ต่างสายพันธุ์กัน โดยต้นสะเดานั้นสามารถพบได้ทั่วไปตามป่าแล้งในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ปากีสถาน ศรีลังกา รวมถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย โดยจะกระจายพันธุ์อยู่ตามธรรมชาติตามป่าเบญจพรรณแล้งและป่าแดงท­­­ั่วประเทศ

สะเดากับคุณค่าทางโภชนาการที่ไม่ธรรมดา
          จากข้อมูลของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยว่า สะเดา เป็นผักสมุนไพรพื้นบ้านที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการเต็มเปี่­­­ยม อุดมไปด้วยสารอาหารโปรตีน แร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนี้ ยังพบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายที่จะทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพตามมาได้ เช่น ภาวะความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ ระบบภูมิคุ้มกันลดลง และโรคมะเร็ง เป็นต้น

          เราลองมาดูกันว่า คุณค่าทางโภชนาการของยอดสะเดา ต่อ 100 กรัม นั้นจะอัดแน่นไปด้วยสารอาหารใดบ้าง
พลังงาน 76 กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 12.5 กรัม
โปรตีน 5.4 กรัม
ไขมัน 0.5 กรัม
เส้นใยอาหาร 2.2 กรัม
น้ำ 77.9 กรัม
เบต้าแคโรทีน 3,611 ไมโครกรัม
วิตามินบี1 0.06 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.07 มิลลิกรัม
วิตามินซี 194 มิลลิกรัม
แคลเซียม 354 มิลลิกรัม
เหล็ก 4.6 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม

สะเดา สรรพคุณทางยาที่หาได้จากทุกส่วน
          สะเดาไทยมี 2 ชนิดด้วยกัน คือ สะเดายอดเขียวและสะเดายอดแดง ซึ่งสะเดายอดเขียวจะมีความขมน้อยกว่าหรือบางต้นอาจจะขมน้อยจนได­­­้ชื่อว่า สะเดาหวานหรือ สะเดามัน แต่สำหรับสะเดายอดแดงจะมีความขมมากกว่าและเกือบทุกส่วนของต้นสะ­­­เดาล้วนมีสรรพคุณทางยา ดังนี้
 1. ใบอ่อน แก้โรคผิวหนัง ปรับสมดุลน้ำเหลือง รักษาแผลพุพอง
 2. ใบแก่ บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร
 3. ก้าน แก้ไข้ บำรุงน้ำดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงสุขภาพในช่องปาก
 4. ดอก แก้พิษโลหิต บรรเทาอาการเลือดกำเดาไหล แก้ริดสีดวง บรรเทาอาการคันคอ บำรุงธาตุไฟ
 5. ผล บำรุงหัวใจเป็นยาระบาย แก้อาการหัวใจเต้นผิดปกติ
 6. ผลอ่อน ช่วยเจริญอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะขัด
 7. เปลือกต้น เป็นยาขมเจริญอาหาร แก้ไข บิดมูกเลือด แก้ท้องร่วง แก้กษัย หรือ โรคซูบผอมแห้งแรงน้อย ลดเสมหะ แก้อาการท้องเดิน แก้บิด มูกเลือด
 8. แก่น แก้คลื่นไส้ อาเจียน แก้ไข้จับสั่น บำรุงโลหิต บำรุงธาตุไฟ
 9. ราก แก้เสมหะในลำคอ แก้เสมหะที่เกาะแน่นในทรวงอก
 10. ยาง ใช้ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
 11. กระพี้สะเดา แก้น้ำดีพิการให้คลั่งเพ้อ แก้เพ้อคลั่ง บำรุงน้ำดี
 12. เมล็ดสะเดา นำมาสกัดเป็นน้ำมันสะเดาบริสุทธิ์ ใช้บำรุงผิวพรรณและเส้นผม


สะเดา สรรพคุณทางยาที่มีต่อสุขภาพ






สะเดาขึ้นชื่อว่าต้นไม้แห่งยา ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า แค่สะเดาต้นเดียวก็สามารถช่วยบำรุงสุขภาพของเราให้แข็งแรงได้ เห็นได้จากสรรพคุณดังนี้

 1. ดีท็อกซ์สารพิษตกค้างในร่างกาย
          ใบสะเดาเมื่อนำมาต้มในน้ำร้อน ใช้จิบอย่างน้อยวันละครั้ง ก็จะช่วยให้เลือดสะอาด เป็นการล้างพิษในกระแสเลือด กระตุ้นให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น

2. รักษาโรคผิวหนัง
          สารเกดูนิน (Gedunin) และ นิมโบลิดี (Nimbolide) ในใบและเมล็ดสะเดามีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา แบคทีเรียและเชื้อไวรัสสูง ดังนั้น จึงสามารถบรรเทาอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อรา ไวรัส และแบคทีเรียได้ผลอย่างชะงัดนัก ไม่ว่าจะเป็นเชื้อราตามเท้า เล็บมือ เล็บเท้า กลาก-เกลื้อน หิด เริม แผลจากโรคสะเก็ดเงิน (เชื้อแบคทีเรีย) หัด ลมพิษ ผดผื่นคัน หูด และอีสุกอีใส

 3. แก้ไข้มาเลเรีย
          สารเคมีกลุ่มลิโมนอยด์ (Limonoids) ได้แก่ สารเกดูนิ
และ นิมโบลิดี ในใบและเมล็ดสะเดา สามารถยับยั้งเชื้อฟัลซิปารัม (P.Falciparum) ซึ่งเป็นเชื้อไข้มาลาเรียดื้อยาชนิดหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ­­­

4. โรคไขข้อ
          ขอบใบสะเดา เมล็ดสะเดา และเปลือกต้น เป็นส่วนที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรคไขข้อได้ โดยช่วยลดอาการปวด และบวมในข้อ ซึ่งอาจนำมาสกัดเป็นน้ำมันใช้ทาในบริเวณที่มีอาการปวดกล้ามเนื้­­­อ ปวดข้อ และอาการปวดหลังช่วงล่าง หรือนำใบมาต้มเป็นน้ำดื่มเพื่อรักษาอาการของโรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ โรคกระดูกพรุน

5. ช่วยย่อยอาหาร
          ใบสะเดา สามารถนำมาทำเป็นเมนูเรียกน้ำย่อยได้ เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำดี ที่จะมีผลให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดีขึ้น อีกทั้งน้ำดีที่ถูกกระตุ้นสร้างออกมานั้นจะช่วยย่อยอาหารประเภท­­­ไขมันได้ดีขึ้นด้วย

6. บำรุงสุขภาพช่องปาก
          ตามตำราอายุรเวทแล้ว สะเดาเป็นพืชที่มีคุณสมบัติบำรุงเหงือกและฟัน จึงนิยมนำมาสกัดเป็นส่วนผสมในยาสีฟันทั่วไป จึงช่วยรักษาโรครำมะนาด โรคเลือดออกตามไรฟัน โรคเหงือก และลดอาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก

 7. ลดความเสี่ยงการเกิดเนื้องอกและมะเร็ง

          มีผลวิจัยบางชิ้นเผยว่า สารพอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) และสารลิโมนอยด์ (Limonoids) ที่พบในเปลือก ใบ และผลสะเดา มีคุณสมบัติช่วยลดความเสี่ยงการเกิดเนื้องอก และมะเร็ง โดยไม่ก่อผลข้างเคียงใด ๆ

8. คุมกำเนิด
          ตามตำราแพทย์อารยุรเวทบันทึกไว้ว่ามีการใช้น้ำมันสะเดาเพื่อคุม­­­กำเนิดในผู้หญิงและผู้ชาย โดยลักษณะวิธีใช้จะต่างกัน สำหรับผู้หญิงนั้นจะใช้น้ำมันสะเดาชุบสำลีทาบริเวณปากในช่องคลอ­­­ดเพื่อชะลอการปฏิสนธิกับไข่ โดยจะฆ่าเชื้ออสุจิให้ตายภายใน 30 วินาที ส่วนผู้ชายจะใช้ฉีดน้ำมันสะเดาบริเวณท่อนำอสุจิ เพื่อยับยั้งการปล่อยอสุจิที่จะออกฤทธิ์นานประมาณ 4 ชั่วโมง

9. บำรุงข้อต่อ
          สะเดาช่วยบำรุงกระดูกและข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกายเรา และยังช่วยบรรเทาอาการจากโรคไฟโบรไมอัลเจีย(Fibromyalgia) หรือโรคในกลุ่มอาการปวดเรื้อรังอีกด้วย

10. เบาหวาน
          สะเดามีรสขมสามารถรักษาโรคเบาหวานได้ โดยจะยับยั้งการผลิตอินซูลินได้กว่าร้อยละ 50 และยังช่วยปรับสมดุลความอยากอาหารได้อีกด้วย

11. กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันโรค
          สะเดามีฤทธิ์ดีท็อกซ์สารพิษในกระแสเลือด ทำให้มีปริมาณเลือดดีหมุนเวียนในร่างกายมากขึ้น ลดการติดเชื้อในร่างกาย ต้านโรคหวัดได้ดี

12. ต้านมะเร็ง
          สารพอลิแซ็กคาไรด์ และสารลิโมนอยด์ที่พบมากในผล ใบ และเปลือกของต้นสะเดา มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย ที่อาจพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็งในเวลาต่อมา

13. ลดการติดเชื้อในช่องคลอด
          น้ำมันสะเดา สามารถช่วยลดการติดเชื้อราในช่องคลอดได้ แต่อาจมีผลข้างเคียงคือ หากใช้เป็นเวลานาน จะมีโอกาสตั้งท้องยากขึ้น

14. บำรุงหัวใจ
          ผลของต้นสะเดา หากนำมาต้ม ใช้จิบอย่างน้อยวันละครั้ง มีคุณสมบัติช่วยขยายหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดเป็นปกติขึ้น ปรับสมดุลจังหวะการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ หัวใจจึงแข็งแรงขึ้น

สะเดา ประโยชน์ต่อสุขภาพอันหลากหลาย

          สะเดานอกจากจะมีสรรพคุณทางยาช่วยป้องกันและรักษาโรคแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านอื่น ๆ อีกด้วย ดังนี้
 1. ลดสิว น้ำมันสะเดาสกัดเย็นบริสุทธิ์ สามารถนำมาบำรุงผิวพรรณได้ เช่น รอยแดง ผื่นคัน สิว รอยสิว และรอยแผลเป็นจากสิว
 2. รักษารังแคและอาการคันหนังศีรษะ ใช้น้ำต้มใบสะเดาล้างหลังสระผมแล้ว จะช่วยรักษารังแค กำจัดแบคทีเรียบนหนังศีรษะ แก้อาการคัน หนังศีรษะแห้งเป็นขุยได้
 3. ยับยั้งเชื้อปรสิตเชื้อรา และไล่แมลงตัวเล็ก สะเดามีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อรา และยังเป็นสารฆ่าแมลงธรรมดาอีกด้วย จึงสามารถลดโรคเรื้อน และเห็บหมัด ในสัตว์เลี้ยง รวมถึงกำจัดเห็บ หมัด เหา โลน มด ไร และยุงได้
 4. ชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย สะเดามีคุณสมบัติเป็นสารแอนตี้ออกซิเดนท์ ที่จะช่วยฟื้นฟู และชะลอความเสื่อมต่าง ๆ ของเซลล์จากการถูกทำร้ายของสารอนุมูลอิสระ
 5. ลดการอักเสบของแผล ใบสะเดามีฤทธิ์เย็น ช่วยถอนพิษจากแมลงกัดต่อย ด้วยคุณสมบัติต้านเลือดแข็งตัว ต่อต้านการอักเสบ จึงช่วยลดการติดเชื้อในบาดแผล แผลอักเสบแผลพุพอง แผลสด และแผลเปื่อย


สะเดากับเมนูสุขภาพที่อัดแน่นด้วยคุณค่า




สะเดาเป็นผักใบฤดูหนาว และเป็นสมุนไพรที่คนโบราณนิยมนำมากินเป็นผักเครื่องเคียงกับเมน­­­ูต่าง ๆ เช่น ปลาดุกย่าง ปลาทูทอด และกุ้งเผา เพราะการกินคู่กับอาหารอย่างอื่นจะช่วยลดความขมของสะเดา ที่สำคัญคือ เราจะได้ประโยชน์เน้น ๆ จากใบสะเดาอีกด้วย เพราะในใบสะเดานั้นมีสาร พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) และสารลิโมนอยด์ (Limonoids) ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกหรือเนื้อร้าย และยังมีสารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งอีกด้วย­­­ เมนูจากสะเดายอดฮิตที่นิยมทำได้แก่
 1. สะเดาน้ำปลาหวาน กับปลาดุกย่าง
 2. สะเดาน้ำปลาหวานกับกุ้งเผา
 3. ยำดอกสะเดา
 4. สะเดาทรงเครื่อง
 5. สะเดาจิ้มน้ำพริกหรือน้ำกะทิ กินคู่กับข้าวสวยร้อน ๆ

ลวกสะเดาไม่ให้ขม
          ใบสะเดารสขมที่เรานำมาปรุงอาหารนั้น หากปรุงไม่ดีละก็ อาจทำให้เมนูโปรดของเราหมดอร่อยเลยก็ได้ ซึ่งวิธีการดับรสขมของใบสะเดาอยู่ที่เทคนิคการลวกค่ะ ตามสูตรนี้เลย
 1. นำน้ำซาวข้าวมาตั้งไฟให้เดือดจัด
 2. ใส่เกลือเล็กน้อยประมาณครึ่งช้อนชา
 3. นำสะเดาที่เตรียมไว้ลงไปลวกสักครู่ อาจแช่ไว้ประมาณ 1-2 นาที
 4. นำมาพักในน้ำเย็น
 5. เสิร์ฟคู่กับเมนูโปรดของเราได้เลย ไม่ว่าจะเป็นน้ำปลาหวาน ปลาย่าง หรือน้ำพริกก็อร่อยเหาะทั้งนั้น

สะเดา ตัวช่วยไล่แมลงแบบปลอดสารพิษ





สะเดา ถือเป็นพืชสมุนไพรที่เด่นในเรื่องของการไล่แมลง ทำให้ยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีไล่แมลงส่วนใหญ่ต้องมีสะเดาเป็นส่วนประกอบด้วยเสมอ

          จากข้อมูลของ ศ.ดร.ขวัญชัย สมบัติศิริ ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ เผยว่า การนำสะเดามาใช้เป็นสารฆ่าแมลงและปราบศัตรูพืชนั้นจะใช้ส่วนของ­­­ใบ และเมล็ดของสะเดามาสกัดกับแอลกอฮอล์และน้ำ เพื่อให้ได้สารสกัดที่เรียกว่า สารอะซาไดแรคติน (Azadirachtin) ซึ่งเป็นสารที่ปลอดภัยต่อมนุษย์ และมีคุณสมบัติไล่แมลง ทำให้แมลงไม่ชอบกินอาหาร ยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง ทำให้หนอนไม่ลอกคราบหนอนตายในระยะลอกคราบ ลักษณะการออกฤทธิ์จะมีผลต่อการสร้างฮอร์โมนของแมลงทำให้มีการผล­­­ิตไข่และการฟักไข่ลดน้อยลง สำหรับกากที่เหลือจากการสกัดน้ำมัน จะเรียกว่า นีม เค้ก (Neem cake) สามารถใช้เป็นประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ผสมกับกากนํ้าตาลใช้เป็นอาหารสัตว์ ทำเป็นปุ๋ยยูเรีย และใช้เป็นสารฆ่าแมลงสารฆ่าโรคพืช หรือไส้เดือนฝอยบางชนิด

          นอกจากนี้แล้ว กรมวิชาการเกษตรยังได้แนะนำวิธีทำสูตรน้ำมันสะเดาไล่แมลงอีกด้ว­­­ย ดังนี้
 1. นำเมล็ดสะเดาแห้งที่มีทั้งเปลือกหุ้มเมล็ดและเนื้อเมล็ด มาบดให้ละเอียด
 2. นำผงเมล็ดสะเดาที่บดได้มาหมักกับน้ำในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร จากนั้นใส่ไว้ถุงผ้าขาวบาง นำไปแช่ในน้ำนาน 24 ชั่วโมง
 3. ควรใช้มือบีบถุงตรงส่วนของผงสะเดา เพื่อสารอะซาไดแรคตินที่อยู่ในผงสะเดากระจายตัวออกมาให้มากที่ส­­­ุด เพื่อที่เวลานำไปฉีดแล้วสารจะจับกับใบพืชได้ดีขึ้น
 4. ก่อนนำน้ำหมักที่ได้ไปฉีดพืช ควรนำมาละลายกับน้ำก่อน โดยใช้น้ำหมัก 3 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่นราดทุก ๆ 3 วัน หรือเว้นช่วงประมาณ 5-7 วัน หรือฉีดพ่นทุกวันจนกว่าการระบาดของแมลงจะลดลง
         ข้อแนะนำคือ ควรฉีดพ่นในเวลาเย็นจะเห็นผลดีกว่า และควรใช้สลับกับสารฆ่าแมลงเป็นครั้งคราว แต่ในกรณีที่แมลงระบาดอย่างรุนแรง ก็ควรใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นแทนดีกว่า จะช่วยลดความเสียหายได้รวดเร็วกว่า
สะเดา หาซื้อได้อย่างไรบ้างและมีราคาแพงหรือไม่




สะเดาถือเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้าน ดังนั้นเราจึงหาซื้อง่ายมาก อีกทั้งยังมีราคาไม่แพงด้วย ดังนี้
          -ผลิตภัณฑ์กลุ่มสารสกัดสะเดาสำหรับปราบศัตรูพืช เช่น น้ำหมักชีวภาพ และยาฆ่าแมลง มีราคาตั้งแต่หลักร้อยขึ้นไป แหล่งซื้อคือ ร้านขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
          -ต้นกล้าสะเดาราคาเริ่มต้นตั้งแต่หลักสิบจนถึงหลักพัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสูงและขนาดของต้น แหล่งซื้อคือ ร้านเพาะพันธุ์ไม้ทั่วไป
          -เมล็ดเพาะพันธุ์สะเดา และเมล็ดสะเดาบด ขายเป็นซองบรรจุสำเร็จ หรือชั่งเป็นกิโลกรัม ราคาขึ้นอยู่กับแหล่งซื้อ แหล่งซื้อคือ ร้านขายสินค้าผลิตภัณฑ์โอทอปและ ร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร
          -ใบสะเดา สามารถซื้อได้ตามตลาดสดทั่วไป ราคาโดยเฉลี่ยกำละ 5 บาท
          -น้ำมันสะเดา มีทั้งแบบสกัดจากใบ และเมล็ด โดยน้ำมันสะเดาที่สกัดจากใบนั้นนิยมนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตร แต่น้ำมันสะเดา (Margosa oil) สกัดจากเมล็ดนั้นนิยมนำมาบำรุงความงาม ส่วนใหญ่ขายบรรจุขวด ราคาขึ้นอยู่กับขนาด แหล่งซื้อคือ ร้านขายสินค้าผลิตภัณฑ์ otop ร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร และร้านขายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

สะเดาดิน กับ สะเดา ต่างกันอย่างไร

          ความจริงแล้วสะเดาดินกับสะเดานั้น เป็นพืชคนละสายพันธุ์กัน ซึ่งชื่อสะเดาดินก็คืออีกชื่อเรียกหนึ่งของผักขวง ที่มีรสชาติขมคล้ายสะเดา ประกอบกับมีลักษณะลำต้นทอดเลื้อยแตกแขนงแผ่ออกครอบคลุมดินคล้าย­­­พรม จึงถูกเรียกว่าสะเดาดิน โดยชาวบ้านตามชนบทจะใช้ผักขวงเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกและรับประ­­­ทานร่วมกับลาบ บ้างนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริกหรือนำมาแกงรวมกับผักอื่น ๆ

คนท้องกินสะเดาได้หรือไม่ พร้อมข้อควรระวังอื่น ๆ
          สะเดาเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านของเรา ที่ถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมากมาย แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นสำหรับคนบางกลุ่ม ดังนี้
 1. เด็กแรกเกิด ไม่ควรใช้น้ำมันสะเดาทาเพื่อลดผื่นผ้าอ้อมในเด็ก เพราะอาจเกิดการระคายเคืองได้
 2. ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร และผู้หญิงที่กำลังตั้งท้อง เพราะจะทำให้ไม่มีน้ำนม
 3. คนเป็นโรคความดันโลหิตต่ำ เพราะสะเดามีคุณสมบัติลดน้ำตาลในเลือด อาจยิ่งทำให้เลือดไหลเวียนน้อยลง เป็นลม หมดสติ หรือวูบได้ง่าย
 4. สะเดามีรสขม จึงเป็นยาเย็น จึงไม่เหมาะกับคนธาตุเย็น เพราะจะยิ่งทำให้ท้องอืด เกิดลมในกระเพาะ
 5. คนเป็นโรคไต เพราะสะเดาเป็นอาหารที่มีโปรแทสเซียมสูง
 6. คนที่เป็นโรคกระเพาะหรือโรคที่เกี่ยวกับช่องท้อง เช่น โรคกรดไหลย้อน ภาวะเรอเปรี้ยว แสบร้อนกลางอก เพราะรสขมเป็นรสที่ช่วยกระตุ้นสร้างน้ำย่อยให้ออกมาขึ้น
          เห็นไหมละคะว่า สะเดา ผักพื้นบ้านของไทยเรานี่สุดยอดประโยชน์จริง ๆ เป็นทั้งอาหารบำรุงร่างกาย สมุนไพรรักษาอาการเจ็บป่วยก็ได้ และยังใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรได้อีกด้วย มีประโยชน์ครบครันแบบนี้ ต้องรีบหาซื้อมาไว้ในครัวกันแล้วล่ะค่ะ


ขอบคุณที่มา  กะปุก .คอม
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: