-/> 31 ตุลาคม เป็นวันอะไร

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: 31 ตุลาคม เป็นวันอะไร  (อ่าน 2416 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 507
กระทู้: 44
ออฟไลน์ ออฟไลน์
The Lone Wolf
เว็บไซต์ อีเมล์
   
« เมื่อ: 19 ตุลาคม 2559, 11:55:53 PM »

Permalink: 31 ตุลาคม เป็นวันอะไร
31 ตุลาคม เป็นวันอะไร

โดย The Lone Wolf (หมาป่าเดียวดาย)
…………………………………………………………………………………………………………….

ในวันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปีหลายคนคงเข้าใจว่าเป็นวันฮาโลวีนที่มีการเฉลิมฉลองกันอย่างสนุกสนาน และเป็นงานที่เรียกได้ว่าเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองของการแต่งตัวแบบ แฟนตาซีก็ว่าได้ ที่บางคนแต่งตัวเลิศหรู อลังการ ในชุดผี ต่าง ๆ นานาชนิดกันไปอย่างมากหลาย แต่ที่สำคัญในวัน 31 ตุลาคม ของทุกปีนี้ ที่หลายคนก็ยังไม่ทราบว่าเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่ง ซึ่งเป็นวันสำคัญมากไม่แพ้ วันฮาโลวีน เลยทีเดียว แต่ก่อนที่จะอธิบายว่าเป็นวันอะไรนั้น ข้าพเจ้าก็จะขออธิบายให้เข้าใจก่อนว่า วันฮาโลวีน เป็นวันอะไร และสำคัญอย่างไร และมีประวัติความเป็นมาแบบไหน ทำไมถึงได้เรียกกันว่าวันฮาโลวีน และเป็นวันที่เกี่ยวกับอะไรบ้าง เพราะหลายคนยังไม่ทราบ ก็ได้แต่แต่งตัวตามเพื่อน ตามคนอื่น ๆ หรือหมู่ชนทั่วไปที่เขาแต่งกันอย่างสวยงาน บางคนหรูหราอลังการเลยทีเดียว

ประวัติวันฮาโลวีน

วันฮาโลวีน (ภาษาอังกฤษ Halloween) ตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี หลายคนรู้ว่าสัญลักษณ์ประจำวันฮาโลวีน ต้องมีปาร์ตี้ที่แต่งกายชุด ภูตผีปีศาจ ทั้งหลาย และต้องมีฟักทองเจาะหน้าตาแปลก ๆ แต่แล้วรู้หรือไม่ว่าวันฮาโลวีนมีความสำคัญอย่างไร

ในคริสต์ศาสนา นิกายคาทอลิก Halloween เป็นคำภาษาอังกฤษ ซึ่งเพี้ยนมาจากคำ All Hallows Eves ซึ่งแปลว่าวันก่อนวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย ตัดต่อคำโดย Hallow + Eve = Halloween คำว่า Hallow เป็นคำแองโกลแซกซัน แปลว่าทำให้ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งตรงกับภาษา เยอรมันว่า heiligen ในปัจจุบันซึ่งมีการนิยมใช้คำที่มาจากภาษา ละตินว่า sanctify คำว่า Halloween ยังมีใช้ในบทสวดอธิฐานเก่า ๆ เช่น Hallowed be thy Name (ขอพระนามจงเป็นที่สักการะ)

คำว่า Hallow ยังแปลได้อีกว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ศักดิ์สิทธิ์ นักบุญ ดังนั้น All Hallowmas จึงแปลว่า วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย ในปัจจุบันใช้คำว่า All Saints Day คู่กับ Christmas ซึ่งแปลว่า วันสมโภชพระคริสต์ (พระเยซู) หรือวันคริสต์มาสนั่นเอง

วันก่อนวันสมโภชคริสต์มาสมี Christmas Eve ที่นิยมเรียกว่าคืนก่อนวันคริสต์มาส วันก่อนวันสมโภชนักบุญทั้งหลายก็มี Hallowmas Eve ซึ่งต่อมาย่อเป็น Halloween โดยมีงานรื่นเริงและจัดให้มีพิธีกรรมทางศาสนาเช่นเดียวกับคืนวัน คริสต์มาส แต่ชาวคาทอลิกพร้อมใจกันเลื่อนพิธีกรรมทางศาสนาไป และหลังวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย ซึ่งเรียกกันว่า วันวิญญาณในแดนชำระ (All Souls Day) เพื่อให้คู่กับวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย

ความเป็นมาของวันฮาโลวีน (Halloween)

          วันฮาโลวีนของทุกปี จะตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม เชื่อว่ามีที่มาจากวันฉลองปีใหม่ของชาวเซลท์ (Celt) ในวันที่ 1 พฤศจิกายนที่เรียกว่า Samhain ซึ่งเป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งความตาย ทั้งนี้ ในวันที่ 31 ตุลาคม ชาวเคลต์ (Celt) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในไอร์แลนด์ ถือกันว่าเป็นวันสิ้นสุดของฤดูร้อน และวันต่อมา คือ วันที่ 1 พฤศจิกายนเป็นวันขึ้นปีใหม่

ซึ่ง ในวันที่ 31 ตุลาคมนี่เองที่ชาวเคลต์เชื่อว่า เป็นวันที่มิติคนตาย และคนเป็นจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตในปีที่ผ่านมา จะเที่ยวหาร่างของคนเป็นเพื่อสิงสู่ เพื่อที่จะได้มีชีวิตขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เดือดร้อนถึงคนเป็น ต้องหาทุกวิถีทางที่จะไม่ให้วิญญาณมาสิงสู่ร่างตน ชาวเคลต์จึงปิดไฟทุกดวงในบ้าน ให้อากาศหนาวเย็น และไม่เป็นที่พึงปรารถนาของบรรดาผีร้าย และยังพยายามแต่งกายให้แปลกประหลาด ปลอมตัวเป็นผีร้าย และส่งเสียงดัง เพื่อให้ผีตัวจริงตกใจหนีหายสาบสูญไป

นอกจากนี้คืนดังกล่าวยังเป็นคืนเฉลิมฉลองการสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยว และอาจมีการนำสัตว์ หรือพืชผลมาบูชายัญให้กับเหล่าภูตผี และวิญญาณด้วย หลังจากคืนนั้นไฟทุกดวงจะถูกดับ และจุดขึ้นใหม่ด้วยไฟศักดิ์สิทธิ์ของชาวเซลท์  

บางตำนานยังเล่าถึงขนาดว่า มีการเผา "คนที่คิดว่าถูกผีร้ายสิง" เป็นการเชือดไก่ให้ผีกลัวอีกต่างหาก แต่นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนคริสตกาล ที่ความคิดเรื่องผีสางยังฝังรากลึกในจิตใจมนุษย์ ต่อมาในศตวรรษแรกแห่งคริสตกาล ชาวโรมันรับประเพณีฮาโลวีนมาจากชาวเคลต์ แต่ได้ตัดการเผาร่างคนที่ถูกผีสิงออก เปลี่ยนเป็นการเผาหุ่นแทน
ในสมัยต่อชาวโรมันคาทอลิกต้องการกำจัดพิธีเฉลิมฉลอง ของกลุ่มชนนอกศาสนาคริสต์เหล่านี้ สันตะปาปา Gregory ที่ 4 จึงได้กำหนดวันที่ 1 พฤศจิกายนให้เป็นวันเฉลิมฉลอง All Saints Day หรือ All Hallows Day สำหรับชาวคริสต์เพื่อระลึกถึงนักบุญ และผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว แต่การเฉลิมฉลองในคืนวันที่ 31 ตุลาคมหรือ Hallow´s Eve ก็ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบันแต่ชื่อเรียกได้เพี้ยนไปเป็น Halloween

กาลเวลาผ่านไป ความเชื่อเรื่องผีจะสิงสู่ร่างมนุษย์เสื่อมถอยลงไปตามลำดับ ฮาโลวีนจึงกลายเป็นเพียงพิธีการ การแต่งตัวเป็นผี แม่มด สัตว์ประหลาดตามแต่จะสร้างสรรค์กันไปตามความชอบ และแต่งเพื่อความสนุกสนานโดยที่ไม่ได้คิดอะไรมากไปกว่า ความสนุก
เดิมเทศกาลฮาโลวีนจัดขึ้นในประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และประเทศข้างเคียงเท่านั้น แต่เมื่อชาวไอริช และชาวสกอตแลนด์อพยพไปตั้งหลักแหล่งในสหรัฐอเมริกา ในช่วงทศวรรษที่ 1840 ก็นำเอาประเพณีนี้ไปปฏิบัติด้วย ปรากฏว่าถูกใจชาวอเมริกันทุกเชื้อชาติ จึงปฏิบัติตามกันอย่างจริงจังตลอดมา และตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็กลายเป็นเทศกาลประจำชาติมาจนทุกวันนี้


กิจกรรมในวันฮาโลวีน

การฉลองวันฮาโลวีนนิยมจัดกันในสหรัฐอเมริกา ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร แคนาดา และยังมีในออสเตรเลีย กับนิวซีแลนด์ด้วย รวมถึงประเทศอื่นในทวีปยุโรปก็นิยมจัดงานวันฮาโลวีนเพื่อความสนุกสนาน ในประเทศทางตะวันตก เด็ก ๆ จะแต่งกายเป็นภูตผีปีศาจพากันชักชวนเพื่อนฝูงออกไปงานฉลอง เรียกว่า การเล่น Trick or Treat (หลอกหรือเลี้ยง) คือการเดินเคาะประตูขอขนมตามบ้าน

 เคล็ดอีกอย่างหนึ่งของเทศกาลฮาโลวีน นอกจากเคาะประตูขอขนมตามบ้านต่าง ๆ แล้ว ยังมีการนำ แอปเปิล กับเหรียญชนิดหกเพ็นซ์ใส่ลงในอ่างน้ำ หากใครสามารถแยกแยะของสองอย่างนี้ ออกจากกันได้ด้วยการใช้ปากคาบเหรียญขึ้นมา และใช้ส้อมจิ้มแอปเปิลให้ติดเพียงครั้งเดียวถือว่าผู้นั้นจะโชคดีตลอดปีใหม่ ที่กำลังมาถึง  
ทางด้านสาวอังกฤษสมัยก่อนจะออกไปหว่านและไถกลบเมล็ดป่านชนิดหนึ่งในยามเที่ยงคืนของวันฮาโลวีน พร้อมกับเสี่ยงสัตย์อธิษฐานด้วยการท่องคาถาว่า "เจ้าเมล็ดป่านที่ข้าหว่านจงช่วยบันดาลให้ผู้ที่จะมาเป็นคู่ชีวิตของข้าปรากฏตัวให้เห็น" หลังจากนั้นลองเหลียวมองผ่านบ่าด้านซ้ายของตนเองดู ก็จะได้เห็นนิมิตเรือนร่างของผู้ที่จะมาเป็นสามีในอนาคตของตน (นี่คือความเชื่อของสาวๆ อังกฤษ)

การเล่น Trick  or Treat

สำหรับประเพณี ทลิทออร์ทรีต Trick or Treat แปลว่า หลอกหรือเลี้ยงนั้น เริ่มขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยชาวยุโรป ซึ่งถือว่า วันที่ 2 พฤศจิกายน เป็นวัน "All Souls" พวกเขาจะเดินร้องขอ "ขนมสำหรับวิญญาณ" (soul cake) จากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง โดยเชื่อว่า ยิ่งให้ขนมเค้กมากเท่าไร วิญญาณของญาติผู้บริจาคก็ได้รับผลบุญ ทำให้มีโอกาสขึ้นสวรรค์ได้มากเท่านั้น

ประเพณี ทลิทออร์ทรีต ในสหรัฐอเมริกา คือ การละเล่นอย่างหนึ่งที่เด็ก ๆ เฝ้ารอคอยในวันฮาโลวีน ตามบ้านเรือนจะตกแต่งด้วยโคมไฟฟักทอง และตุ๊กตาหุ่นฟางที่เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลประเพณีเก็บเกี่ยว (Harvest) ในช่วงเดียวกันนั้น แต่ละบ้านจะเตรียมขนมหวานที่ทำเป็นรูปเม็ดข้าวโพดสีขาวเหลืองส้มในเม็ดเดียวกัน เรียกว่า Corn Candy และขนมอื่น ๆ ไว้เตรียมคอยท่า

  ส่วนเด็กๆ ในละแวกบ้านก็จะแต่งตัวแฟนซี เป็นภูตผีมาเคาะตามประตูบ้าน โดยเน้นบ้านที่มีโคมไฟฟักทองประดับ (เพราะมีความหมายโดยนัยว่าต้อนรับพวกเขา) พร้อมกับถามว่า "Trick or treat ?" เจ้าของบ้านมีสิทธิที่จะตอบ treat ด้วยการยอมแพ้ มอบขนมหวานให้ภูตผี (เด็ก) เหล่านั้น ราวกับว่า ช่างน่ากลัวเหลือเกิน หรือเลือกตอบ trick เพื่อท้าทายให้ภูตผีเหล่านั้นอาละวาด ซึ่งก็อาจเป็นอะไรได้ ตั้งแต่แลบลิ้นปลิ้นตาหลอกหลอน ไปจนถึงขั้นทำลายข้าวของเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วอาจจบลงด้วยการ treat เด็ก ๆ ด้วยขนมในที่สุด  

ในสมัยโบราณมีการกล่าวขานกันว่าเด็ก ๆ ไม่ได้ขนม จะแกล้งเจ้าของบ้าน เช่น ใส่ไข่ดิบในตู้จดหมายในคืนเทศกาลฮาโลวีนคนส่วนใหญ่จึงมีขนมและลูกกวาดเตรียมไว้เพื่อจะไม่ต้องโดนผีเด็ก ๆ แกล้ง และที่ขาดไม่ได้สำหรับเทศกาลฮาโลวีนเลย คือ การประดับประดาแสงไฟ และการแกะสลักฟักทองเป็นโคมไฟ เจาะทำตาจมูก และปากที่แสยะยิ้ม เรียกว่า แจ๊ค - โอ - แลนเทิร์น (Jack – o - lantern)

ตำนานแกะสลักฟักทอง แจ๊ค – โอ – แลนเทิร์น (Jack – o – lantern)

ตำนานที่เกี่ยวกับฟักทองนั้น เป็นตำนานพื้นบ้านของชาวไอริช กล่าวถึง แจ๊คจอมตืด ซึ่งเป็นนักเล่นกลจอมขี้เมา วันหนึ่งเขาหลอกล่อปีศาจขึ้นไปบนต้นไม้และเขียนกากบาทไว้ที่โคนต้นไม้ ทำให้ปีศาจลงมาไม่ได้ จากนั้นเขาได้ทำข้อตกลงกับปีศาจ "ห้ามนำสิ่งไม่ดีมาหลอกล่อเขาอีก" แล้วเขาจะปล่อยปีศาจลงจากต้นไม้ เมื่อแจ็คตายลง เขาปฏิเสธที่จะขึ้นสวรรค์ เพราะเขามีความคิดไปในทางของความชั่วร้าย ขณะเดียวกันปฏิเสธที่จะลงนรก เพราะเขาได้ทำข้อตกลงกับปีศาจไว้ ปีศาจจึงให้ถ่านที่กำลังคุแก่เขา เพื่อให้เขาใช้นำทางไปในทางที่มืดมิด และหนาวเย็น และแจ็คได้นำถ่านนี้ใส่ไว้ในหัวผักกาดเทอนิพที่ถูกเจาะให้กลวงเพื่อให้ไฟลุกโชติช่วงได้นานขึ้น  

ชาวไอริชจึงแกะสลักหัวผักกาดเทอนิพ และใส่ไฟในด้านใน อันเป็นอีกสัญลักษณ์ของวันฮาโลวีน เพื่อระลึกถึง "การหยุดยั้งความชั่ว" Trick or Treat เพื่อส่งผลบุญให้กับญาติผู้ล่วงลับ และพิธีทางศาสนาเพื่อทำบุญวันปีใหม่ แต่เมื่อมีการฉลองฮาโลวีนในสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกาพบว่าฟักทองหาง่ายกว่าหัวผักกาดมาก จึงเปลี่ยนมาใช้ฟักทองแทน
เครื่องดื่มของวันฮาโลวีน

โดยธรรมเนียมแล้ว วันฮาโลวีน เป็นวันถือศีล และไม่ดื่มสุราหรืออาหารฟุ่มเฟือย อาจมีโซลเค้ก (Soul Cake) ซึ่งเป็นขนมตามธรรมเนียมดั้งเดิมของงานวันฮาโลวีน หรือ อาหาร ที่ไม่ใช่เนื้อ และเมื่อได้รับโซลเค้กให้สวดภาวนาแด่ผู้ล่วงลับเป็นการตอบแทน

อย่าง ไรก็ตาม คนไทยปัจจุบันรู้จักเทศกาลฮาโลวีนเหมือนกับที่รู้จักเทศกาลต่าง ๆ ตามประเพณีของชาวยุโรป เช่น อีสเตอร์ วันขอบคุณพระเจ้า วันคริสต์มาส หรือวันวาเลนไทน์ ซึ่งในคืนวันฮาโลวีนในกรุงเทพฯ มักจะจัดงาน โดยเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวยามราตรีแต่งกายด้วยชุดแฟนซี สวมหน้ากากเป็นปีศาจรูปร่างต่าง ๆ เพื่อเป็นสีสันยามค่ำคืนฮาโลวีน จึงกลายเป็นที่คุ้นชินสำหรับวันฮาโลวีนนี้

จะอย่างไรก็ดีในวันฮาโลวีนนี้ก็ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของประวัติศาสตร์ ที่พวกเราทุกคนควรรู้ ซึ่งพวกเราคนไทยทุกคนที่เล่นแต่งชุดท่องราตรีและเฉลิมฉลองในวันฮาโลวีนนี้ ส่วนใหญ่แล้วคงไม่มีใครทราบว่าแท้ที่จริงวันฮาโลวีนเป็นวันสำคัญของทางคริสต์ศาสนา นิกายคาทอลิก และชาวเซลท์ มาก ซึ่งทางข้าพเจ้าก็ได้นำเรื่องราวมาถ่ายทอดให้เห็นแจ้งแก่การประจักษ์ เนื่องจากหลายคนคงสงสัย และเมื่ออ่านจบก็คงจะพอให้คลายความสงสัยได้ ไม่มากก็น้อย

และซึ่งเรื่องราวต่อไปที่ข้าพเจ้าจะนำมาเสนอก็คือ วันสำคัญอีกวันหนึ่ง ซึ่งตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี และวันสำคัญวันนี้ แทบจะไม่มีใครรู้จักเลยก็ว่าได้ และวันนั้นก็คือ วันแห่งการปฏิรูปศาสนาคริสต์ หรือเรียกอีกอย่างว่า วันฟื้นฟู โดยมีบุคคลสำคัญหลัก ซึ่งเป็นคนที่ถูกเรียนว่า บิดาแห่งการ ปฏิรูปของศาสนาคริสต์เลยก็ว่าได้ และเราจะได้ทราบกันแล้วว่า เขาคนนี้เป็นใครและมีความสำคัญอย่างไร และวันแห่งการปฏิรูปศาสนา หรือวันแห่งการฟื้นฟู มีความเป็นมาและสำคัญอย่างไร

ปฏิรูปศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์

31 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันระลึกถึงการปฏิรูปศาสนา ที่นำร่องโดย มาร์ติน ลูเทอร์ ซึ่งได้รับการขนาน นามว่า บิดาแห่งการปฏิรูปศาสนาอันเป็นกำเนิดของนิกายโปรเตสแตนต์ อนึ่งคริสตจักรโปรเตสแตนต์ในยุโรปมักเรียกตัวว่า evangelical church (e ตัวเล็ก ซึ่งหมายถึงคริสตจักรที่เน้นเรื่องข่าวประเสริฐ ไม่ใช่ Evangelicalism ซึ่งเป็นแนวคิดด้านเทววิทยาสายหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20)

คณะลูเทอแลนเป็นคณะแรกของคริสตจักรโปรเตสแตนต์ที่ถือกำเนิดขึ้น เป็นผลของการปฏิรูปศาสนาในศตวรรษที่ 16 เป็นคณะที่ดำเนินตามคำสอนของ มาร์ติน ลูเทอร์ นักศาสนศาสตร์และบาทหลวงของคริสตจักรโรมันคาทอลิกในระบบของออกัสติน ลูเทอร์ไม่ปรารถนาให้เกิดคณะลูเทอร์แลนขึ้น เพราะเขาไม่เคยปรารถนาที่จะแยกออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก วัตถุประสงค์ของลูเทอร์ในการปฏิรูปศาสนา ก็เพื่อแก้ไขคำสอนที่ผิดในสมัยนั้นให้ถูกต้องเท่านั้น ไม่ใช่ต้องการตั้งคริสตจักรนิกายใหม่แต่อย่างใด คำสอนของลูเทอร์ได้จุดประกายไฟการปฏิรูปศาสนาในยุโรป ซึ่งนำสู่การปฏิรูปในคริสตจักรสวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และที่ต่าง ๆ ในยุโรป

มาร์ติน ลูเทอร์

มาร์ติน ลูเทอร์ (เยอรมัน: Martin Luther) เป็นหนึ่งในผู้ปฏิรูปศาสนาคริสต์ โดยแยกมาเป็นนิกายโปรเตสแตนต์ เพราะไม่เห็นด้วยกับคำสอนของคริสตจักรโรมันคาทอลิกบางข้อ โดยการปฏิรูปนี้เกิดขึ้นในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เรียกว่าการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ นิกายที่ถือหลักเทววิทยาตามแนวคิดของ ลูเทอร์ เรียกว่านิกาย ลูเทอแลน ซึ่งเป็นนิกายย่อยในนิกายโปรเตสแตนต์

มาร์ติน ลูเทอร์ เกิดที่เมือง ไอสเลเบน นครแซกโซนี ประเทศเยอรมนีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1483 บิดามารดาเป็นคนยากจนและไม่ได้รับศึกษา เมื่อเติบโตขึ้นก็ไม่มีเงินจะให้ลูเทอร์เข้าโรงเรียน ลูเทอร์จึ่งต้องเที่ยวร้องเพลงขอทานตามบ้านต่างๆ เพื่อหาเงินมาจ่ายค่าเล่าเรียนในโรงเรียน เผอิญมีหญิงมั่งคั่งคนหนึ่งเกิดความเมตตาได้ช่วยเหลือให้เข้าอยู่ในมหาวิทยาลัยเมื่อ ค.ศ. 1500

ลูเทอร์ได้ศึกษาเทววิทยา วรรณคดี ดนตรี และที่เอาใจใส่มากที่สุดคือกฎหมาย บิดาของลูเทอร์ก็ปรารถนาให้ลูเทอร์เป็นนักกฎหมาย แต่เมื่ออายุ 22 ปีเกิดเหตุการณ์หนึ่งคือเพื่อนของลูเทอร์ถูกฆ่าตายในครั้งที่ดวลต่อสู้กับบุคคลหนึ่ง ทำให้ลูเทอร์กลายเป็นคนกลัวผี ขี้ขลาด ต่อมาอีก 2-3 วันลูเทอร์จะเข้าประตูมหาวิทยาลัย ก็เกิดฝนตกฟ้าร้อง ฟ้าผ่ามาใกล้ๆ ลูเทอร์ได้อธิษฐานว่า ถ้ารอดพ้นไปได้จะบวชเป็นบาทหลวง ต่อมาในไม่ช้าในวันที่ 17 มกราคม ค.ศ.1505 ลูเทอร์ก็เข้าไปอยู่ในอารามคณะออกัสติเนียนในมหาวิทยาลัยวิตเทนบูร์ก ตั้งหน้าศึกษาคัมภีร์ไบเบิลอย่างเอาใจใส่ เป็นคนเฉลียวฉลาด พูดเก่ง จนในที่สุดก็ได้เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้น

ในปี ค.ศ. 1511 ขณะที่ใช้ชีวิตอยู่ในอาราม ลูเทอร์ได้มีโอกาสไปแสวงบุญที่เมืองโรม และได้พบเห็นชีวิตของสันตะปาปาโอ่โถง หรูหราจนเกือบไม่มีกษัตริย์องค์ใดสู้ได้ และเห็นว่านักบวชไม่ควรดำเนินชีวิตอย่างนั้น

            จนในปีค.ศ. 1515 สันตะปาปาเลโอที่ 20 อยากจะสร้างโบสถ์ให้งดงามสมตำแหน่งจึงได้ตั้งบัญญัติใหม่ว่า ถึงแม้จะทำความผิดเป็นอุกฉกรรจ์มหันตโทษเพียงไร ก็สามารถล้างบาปได้โดยซื้อใบฎีกาไถ่บาป และบรรดานายธนาคารทั้งหลายในประเทศต่างๆก็ตกลงเป็นเอเยนต์รับฝากเงินที่คนทั้งหลายจะชำระล้างบาปโดยไม่ต้องส่งไปโรม ลูเทอร์ได้เริ่มวิพากษ์วิจารณ์ และเรียกประชุมผู้รู้ทั้งหลายมาปรึกษา โต้เถียงกับบัญญัติใหม่

จนในปีค.ศ. 1517 วันที่ 31 ตุลาคม ลูเทอร์ได้นำประกาศที่เรียกว่า "ญัตติ 95 ข้อ" (The 95 Theses) ไปปิดไว้ที่ประตู้หน้าโบสถ์เมืองวิทเตนเบอร์ก เพื่อแสดงการคัดค้านการเทศนาของ จอห์น เท็ทเซล เรื่องใบไถ่โทษฝ่ายโลก (indulgences) เพื่อนำเงินไปบูรณะวิหารนักบุญเปโตร (St. Peter’s Basilica) ในกรุงโรมสมัยของสันตะปาปาลีโอที่ 20
และในเดือนพฤศจิกายน มาร์ติน ลูเทอร์ก็ส่งคำคัดค้านนี้ไปให้ผู้นำคริสตจักรต่าง ๆ ในสมัยนั้นด้วย โดยที่ในเริ่มต้นนั้น มาร์ติน ลูเทอร์ต้องการให้มีการแก้ไขคำสอนให้ถูกต้องตามพระคัมภีร์ เมื่อคำโต้แย้งของมาร์ติน ลูเทอร์ไม่ได้รับการตอบสนองจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก ทาร์ติน ลูเทอร์จึงเริ่มต้นการโต้แย้งกับคริสตจักรโรมันคาทอลิกในเรื่องของหลักคำสอน เป็นต้นมาผ่านงานเขียนและการโต้แย้งกับบุคคลที่แต่งตั้งโดยทางการและกรุงโรม ซึ่งมีเนื้อหาประณามการขายใบยกโทษบาปของสันตะปาปา และการกระทำที่เหลวแหลกอื่น ๆ

ลูเทอร์ได้รับหมาย ”การตัดขาดจากศาสนา” (Excommunication) โดยที่ ลูเทอร์ต้องออกจากเขตปกครองของจักรพรรดิ ไปหลบที่วอร์มส์พร้อมกับผู้ติดตามอีกจำนวนหนึ่ง ที่นั่นท่านได้แปลพันธสัญญาใหม่เป็นภาษาเยอรมัน และได้เขียนงานเกี่ยวกับพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งมีทั้งพิธีมิสซาและศีลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งลูเทอร์ตั้งใจที่จะให้ชาวบ้านซึ่งไม่เข้าใจภาษาละติน สามารถเข้าถึงหลักคำสอนและมีส่วนร่วมในพิธีกรรมต่างๆได้

ใน ช่วงระหว่างปี 1517 – 1520 เดือนมิถุนายน มาร์ติน ลูเทอร์ได้เขียนหนังสือจำนวนมากโต้แย้งคำสอนที่ผิดของคริสตจักรโรมันคาทอลิก ในสมัยนั้น งานเขียนสำคัญ 3 เล่มที่เขียนในปี 1520 คือ

1. คำอุทธรณ์ไปยังขุนนางคริสตชนในประเทศเยอรมัน
2. คริสตจักรเป็นเชลยที่บาบิโลน
3.เสรีภาพของคริสตชน
ต่อมา สันตะปาปาพยายามเข้ามาจัดการเรื่องนี้โดยให้จักรพรรดิชาร์ลที่  5  เรียกประชุมที่สภาเมืองวอร์ม คริสตจักรโรมต้องการให้ลูเทอร์ยกเลิกความคิดและการสอนที่โต้แย้งกับคริสตจักรโรมเพื่อให้เรื่องจบลง แต่ลูเทอร์ปฏิเสธตามคำเสนอนั้น โดยกล่าวคำว่า “ข้าพเจ้าไม่สามารถยอมรับความเชื่อของสันตะปาปาหรือสภาของคริสตจักรโรมันคาทอลิกได้ เพราะเป็นคำสอนที่สอนผิดอย่างเห็นได้ชัด ข้าพเจ้าไม่สามารถยกเลิกความคิดของข้าพเจ้าได้ยกเว้นว่ามีการพิสูจน์จากพระคัมภีร์ว่า ข้าพเจ้าผิด นี้เป็นจุดยืนความเชื่อของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามรถกระทำอะไรได้อีก และขอพระเจ้าทรงช่วยข้าพเจ้า อาเมน”
ด้วยเหตุนี้ ลูเทอร์ต้องถูกอัปเปหิออกจากการเป็นพลเมืองของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดยอยู่ในสภาพคนที่เถื่อนที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิต แต่เจ้าชายเฟรเดอริค ผู้ชาญฉลาด (Frederick the Wise) เจ้าปกครอง   แค้วนแซกซอนได้คุ้มครองลูเทอร์ด้วยการให้เขาไปหลบซ่อนทีประสาทวัต เบิร์ก ซึ่งเป็นที่ลูเทอร์ได้แปลพระคัมภีร์ใหม่เป็นภาษาเยอรมัน

แม้ลูเทอร์จะเขียนหนังสือมาก แต่ลูเทอร์เป็นนักศาสนศาสตร์ด้านพระคัมภีร์ที่ศึกษาธรรมสารของเปาโลมากเป็น พิเศษโดยเฉพาะหนังสือโรมและกาลาเทีย ลูเทอร์ไม่ใช่นักศาสนศาสตร์ระบบ ดังนั้น เขาจึงไม่ได้เขียนหนังสือที่เป็นระบบตามคำสอนเหมือนอย่างคาลวินที่เขียน ประมวลหลักคำสอนของคริสตศาสนา (Institute of Christianity)
ถึงแม้ว่าคณะลูเทอแลนจะสอนเรื่อง พระคัมภีร์เป็นบรรทัดฐานสูงสุดของความเชื่อและการปฏิบัติ แต่เพื่อให้คริสตจักรเดินตามคำสอนที่ว่าพระคัมภีร์เป็นพระวจนะของพระเจ้า อย่างแท้จริง พวกเขาจึงใช้หนังสือประมวลหลักคำสอน (Book of Concord) ที่รวบรวมโดยคริสตจักรลูเทอแลนในปี 1580 เป็นแนวทางการอธิบายพระคัมภีร์ หนังสือประมวลหลักคำสอนนี้ประกอบด้วย หลักข้อเชื่ออัครทูต หลักข้อเชื่อไนเซีย หลักข้อเชื่อของอธาไนเซีย หลักคำสอนของคริสต์เตียนฉบับย่อ และฉบับสมบูรณ์ บทแถลงศรัทธาแห่งอ๊อกซเบิร์ก คำอธิบายบทแถลงศรัทธาแห่งอ๊อกซเบิร์ก บทความเชื่อสมาคาร์ล เป็นต้น คริสตจักรลูเทอแลนทั่วโลกจะให้ประมวลคำสอนนี้เป็นแนวทางการการสอนและเทศนา เราพอสรุปหลักคำสอนของนิกายลูเทอแลนได้ดังนี้

1.   พระคุณและการเป็นคนชอบธรรมโดยความเชื่อ

คณะลูเทอแลนสอนว่าความรอดของพระเจ้ามาสู่มนุษย์โดยพระคุณของพระเจ้าเท่านั้น โดยเน้นเรื่องพระคุณของพระเจ้าและความเชื่อของผู้ที่เชื่อในข่าวประเสริฐ คำสอนนี้เป็นแก่นความเชื่อของคณะลูเทอแลนที่ลูเทอร์ได้พบในหนังสือโรมและกาลาเทีย ที่สอนว่ามนุษย์ได้ล้มลงในความบาปอย่างสิ้นเชิงและไม่สามารถดำเนินชีวิตตาม ธรรมบัญญัติเพื่อนำไปสู่ความรอดได้ มนุษย์ล้มลงในความบาป จึงมีธรรมชาติที่บาป มนุษย์จึงมีความผิดพลาดและไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถปฏิบัติตามธรรมบัญญัติได้ ความเชื่อนี้ได้เป็นแม่บทความเชื่อของคริสตจักรนิกายโปรเตสแตนต์ทั่วไป

คณะลูเทอแลนเชื่อว่าความเชื่อเป็นของประทานที่พระเจ้าทรงประทานให้เพื่อตอบรับ พระคุณของพระเจ้า ความเชื่อจึงเป็นการรับเอาพระเยซูคริสต์และทุกสิ่งที่พระองค์ทรงกระทำเพื่อ เรา ความเชื่อจึงไม่ใช่ความสามารถที่ทำให้คนเข้าใจ หรือเข้าถึงความล้ำลึกในสิ่งที่พระเจ้าทรงกระทำ ความเชื่อไม่เพียงแค่เรื่องของการตัดสินใจรับเชื่อ แต่ความเชื่อที่เป็นของประทานของพระเจ้านี้ทำให้เราเป็นคนชอบธรรม ความเชื่อไม่ใช่แค่เรื่องการทำให้เกิดผลดีและพระจ้าทรงพอพระทัย ความชอบธรรมเกิดขึ้นเมื่อคนยอมรับความรอดของพระเยซูคริสต์ตามที่พระเจ้าได้ ทรงสัญญาในข่าวประเสริฐนั้น

คณะลูเทอแลนเชื่อว่าความเชื่อและการทำความดีเป็นเรื่องที่แยกกันไม่ออก แต่ก็เป็นเรื่องที่แตกต่างกันด้วย ความชอบธรรมโดยความเชื่อจึงเป็นเรื่องที่เล็งถึงความสัมพันธ์กับพระเจ้า (coram Deo) ขณะที่ความชอบธรรมของการทำความดีเป็นเรื่องความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ (coram hominibus) ด้วยเหตุนี้ เราจึงแยกความเชื่อออกจากความดีไม่ได้ เพราะ ที่ใดมีความเชื่อในพระคริสต์ ที่นั้นก็จะมีความรักและการทำความดีตามมา

2.   พระคัมภีร์เท่านั้น

แต่ไหนแต่ไรมา ที่คริสตจักรดำเนินตามคำสอนของคริสตจักรโรมันคาทอลิกสอนว่า พระคัมภีร์อย่างเดียวไม่เพียงพอต่อความเข้าใจในสิ่งที่พระเจ้าทรงสำแดง แต่ต้องอาศัยขนบหรือหลักคำสอนของคริสตจักรเช่นมติคำสอนของสภาหรือสันตะปาปา แต่ลูเทอร์สอนว่า ผู้ที่มีความรู้เรื่องการตีความพระคัมภีร์ก็สามารถใช้พระคัมภีร์เท่านั้น โดยไม่ต้องอาศัยขนบหรือการอธิบายของทางคริสตจักรคาทอลิก ในทัศนะของลูเทอร์นั้น พระคัมภีร์เป็นพระวจนะของพระเจ้า เป็นบรรทัดฐานของความเชื่อและปฏิบัติ ลูเทอร์ใช้พระคัมภีร์อธิบายพระคัมภีร์ ผลลัพธ์อย่างหนึ่งของการยึดมั่นว่าพระคัมภีร์เป็นพระวจนะของพระเจ้า คือ ลูเทอร์ได้กลับไปสู่ภาษาเดิมของพระคัมภีร์เพื่อเข้าใจความหมายแท้จริงของพระ คัมภีร์และแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาเยอรมันเพื่อให้ชาวเยอรมันได้อ่านและเข้าใจ พระคัมภีร์ เพราะพระคัมภีร์ฉบับบรรทัดฐานทีใช้โดยคริสตจักรทั่วไปในสมัยนั้นคือฉบับวัลเกต (Vulgate) ซึ่งเป็นภาษาลาตินที่มีเพียงปัญญาชนที่จะอ่านและเข้าใจได้

ลูเทอร์ป่วยตายในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1546 ขณะที่มีอายุได้ 62 ปี เขาได้เขียนข้อความสุดท้ายบนกระดาษแผ่นเล็กๆไว้ว่า “เราเป็นขอทาน และนี่เป็นเรื่องจริง”  (เยอรมัน : Wir sind bettler. Hoc est verum)

ผลงานของลูเทอร์นี้ได้สร้างคุณประโยชน์แก่ผู้ที่ไม่รู้หนังสือละตินได้มีโอกาสเข้าใจแก่นแท้ของศาสนาได้ด้วยตนเอง ซึ่งตรงกับจุดประสงค์ของลูเทอร์ที่ต้องการให้บุคคลสามารถ รับผิดชอบในความเชื่อของตน โดยไม่ต้องอาศัยบุคคลที่ 3 เช่น นักบวช กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในศาสนาเป็นเพียงสิ่งเปลือกนอกที่ไม่สำคัญเท่ากับการที่บุคคลนั้นได้เผชิญหน้าต่อพระพักตร์พระเจ้าด้วยตนเอง นิกายนี้จึงได้ตัดประเพณี พิธีกรรม ตลอดจนศีลศักดิ์สิทธิ์บางเรื่องออกไปเหลือแต่ศีลล้างบาปและศีลมหาสนิท และสนับสนุนให้บุคคลเอาใจใส่ต่อพระคัมภีร์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระวจนะของพระเจ้า ที่ทำให้มนุษย์เข้าถึงความรอดส่วนบุคคลภายในโบสถ์ของโปรเตสแตนต์จึงไม่มีรูปเคารพและศิลปกรรมที่ตกแต่งดังเช่นโบสถ์คาทอลิก บนแท่นบูชามีเพียงพระคัมภีร์เท่านั้นที่เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ส่วนอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากนี้เป็นเพียงเปลือกนอกที่มาจากตัณหาของมนุษย์ และทำให้เราเกิดความยึดถือยึดติดไม่สามารถเข้าถึงพระเจ้าได้ อาเมน

การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์

การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ (อังกฤษ: Protestant Reformation) คือขบวนการการปฏิรูปศาสนาที่เริ่มโดย มาร์ติน ลูเทอร์ เมื่อปี ค.ศ. 1517 เพื่อแก้ไขความเสื่อมโทรมของคริสตจักรโรมันคาทอลิก และสถาบันสันตะปาปา มาเสร็จสิ้นลงด้วยสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย ค.ศ. 1648  ผลจากการปฏิรูปคือการแยกตัวจากนิกายคาทอลิกมาเป็นนิกายโปรเตสแตนต์

เหตุก่อนการปฏิรูป

มีเหตุการณ์หลายประการที่เป็นต้นเหตุเกิดการเปลี่ยนแปลง และปฏิรูปศาสนาคริสต์ครั้งใหญ่ในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 16

1. สถาบันสันตะปาปาตกอยู่ใต้อำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสระหว่าง ค.ศ. 1305-1375 ที่เรียกว่า “การคุมขังแห่งบาบิโลเนีย  หรืออาวีญง  ทำให้สถาบันฯ เสื่อมอำนาจและความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นชนวนให้ผู้ใฝ่ในศาสนาดิ้นรนที่จะศึกษาถึงแก่นแท้ของคำสอน เกิดเป็นขบวนการการศึกษาภาษาฮีบรู และกรีกโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง ฟลอเลนซ์ และมีการค้นคว้าศึกษาวิจัยคัมภีร์ไบเบิลอย่างมากมายเพื่อให้ได้มาซึ่งสัจจะ ในคำสอน การได้ศึกษาพระคัมภีร์ด้วยตัวเองทำให้นักคิดชั้นนำสามารถวิจารณ์โจมตีสถาบัน ศาสนาได้อย่างเต็มที่

2. การพัฒนาของเทคโนโลยีการพิมพ์ แบบเรียงพิมพ์ทำให้มีการแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาต่างๆ และตีพิมพ์อย่างแพร่หลาย ซึ่งทำให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสศึกษาคัมภีร์ไบเบิลได้ด้วยตัวเอง และไม่จำเป็นต้องเชื่อฟังบาทหลวง บิชอป หรือสภาสังคายนาที่จะวินิจฉัยวางหลักการอย่างไรก็ต้องยอม

1.  อีราสมัส (Desiderius Erasmus ค.ศ. 1466-1563) แปลพระคัมภีร์ฉบับกรีกเพื่อเผยแพร่ทั่วไป
2.  บิชอปซิเมเนส (Ximenes) เป็นผู้ควบคุมจัดทำคัมภีร์ไบเบิลฉบับสมรวม (The Polyglot Bible)
3.  ในช่วงศตวรรษที่ 14 เรื่อยมา มีการดึงอำนาจที่กระจัดกระจายในหมู่ขุนนางศักดินา กลับคืนสู่ราชบัลลังก์ โดยได้รับความช่วยเหลือของกลุ่มชนใหม่ที่มีภูมิกำเนิดนอกสังคมขุนนางศักดินา คือกลุ่มชนที่มีพลังเศรษฐกิจและมีความรู้ความสามารถอันเป็นผลจากความสำเร็จของครอบครัวทางการค้า หรืออุตสาหกรรม กลายเป็นสังคมรัฐประชาชาติ มีการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจทางการเมืองภายในรัฐ ระหว่างรัฐในยุโรปกับสถาบันสันตะปาปา กลุ่มชนใหม่เหล่านี้ให้การสนับสนุนต่อประมุขการเมืองของรัฐปราบปรามบรรดาขุนนางศักดินาภายในรัฐ และต่อต้านสถาบันสันตะปาปาจากภายนอก กลุ่มชนใหม่นี้เรียกว่าชนชั้นกลางซึ่งประกอบด้วยกลุ่มพ่อค้า นักธุรกิจ นายธนาคาร และกลุ่มผู้มีการศึกษา

4.  สันตะปาปาในระยะศตวรรษที่ 15-16 ให้ความสำคัญในการประกอบภารกิจทางศาสนาน้อยมาก มีการหมกมุ่นในทางโลกและละเลยหน้าที่รับผิดชอบทางธรรมและพระวินัย มีการขายใบไถ่บาป (Sale of Indulgence) และการบูชาเรลิก ของนักบุญอย่างงมงาย มีการซื้อขายตำแหน่งสมณศักดิ์ มีการอุดหนุนบุคคลในครอบครัวให้ได้รับตำแหน่งสำคัญในศาสนา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 (ค.ศ. 1492-1503) แห่งสกุลเบอร์เจีย พยายามจะสร้างฐานะมั่นคงทางโลก และทรัพย์สินแก่ลูกชายลูกสาวอย่างลับ ๆ โดยลูกชายคนสำคัญคือ ซีซาเร เบอร์เจีย (ค.ศ. 1476-1507) และให้เมียลับแต่งตัวเป็นชายร่วมขบวนแห่เฉลิมพระเกียรติของพระองค์

5.  ในสภาสังคายนาแห่งคอนสแตนซ์ (The Constance Council) ค.ศ. 1417 ภายในการนำของจักรพรรดิซิกิสมุนด์ (Sigismund ค.ศ. 1410-1437) เปิดเผยหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าเอกสาร "บรรณาการของคอนสแตนติน" เป็นเอกสารปลอมที่สถาบันสันตะปาปาจัดทำขึ้นในศตวรรษที่ 8 ทำให้อำนาจของคริสตจักรยิ่งเสื่อและสูญเสียความนิยม มีกลุ่มคนเช่น จอห์น ไวคลิฟฟ์ (John Wyclyffe ค.ศ. 1320-1384) จอห์น ฮัส (John Huss ค.ศ. 1369-1415) และ เวสเซล (Wessl ค.ศ. 1420-1489) โจมตีคริสตจักรจากภายในเพื่อรื้อฟื้นให้คริสตจักรกลับเป็นผู้เผยแพร่คำสอนที่แท้จริง ซึ่งถึงแม้จะไม่ประสบความสำเร็จ แต่มีผลที่ทำให้คนในยุโรปในศตวรรษที่ 15 กล้าก้าวออกมาจากความงมงายของคำสอนที่แหลกเหลว และเคร่งครัดในยุคกลาง ตลอดจนการทำลายบทบาทของคริสตจักร ในฐานะอุปสรรคสำคัญของความก้าวหน้าทางด้านศิลปะวิทยาการ และความคิดที่มีเหตุผล

การปฏิรูปศาสนา (Protestant Reformation)

การปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และเสร็จสิ้นลงด้วยสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย ค.ศ. 1648 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กระแสใหญ่ๆคือ

1.  การปฏิรูปภายนอกที่แบ่งศาสนาคริสต์ออกเป็น 2 นิกายคือ โรมันคาทอลิก และโปรเตสแตนต์
2.  การปฏิรูปภายใน ที่แก้ไขความเสื่อมโทรมของศาสนา และสถาบันสันตะปาปา เพื่อต่อสู้ไม่ให้ชาวยุโรปหันไปนิยมนิกายโปรเตสแตนต์ ที่เกิดขึ้นใหม่โดยการปฏิรูปนั้นเริ่มต้นจากหลายๆทาง

จุดเริ่มต้นขบวนการปฏิรูปศาสนา

1. ผลงานวิทยานิพนธ์ “เทวนคร” (City of God) ของออกัสตินแห่งฮิปโป ที่เป็นแรงบันดาลใจในหมู่นักปฏิรูป

2.  ขบวนการฮุสไซท์ (The Hussites) กลุ่มผู้ติดตามจอห์น
บันทึกการเข้า
คะแนนน้ำใจ 507
กระทู้: 44
ออฟไลน์ ออฟไลน์
The Lone Wolf
เว็บไซต์ อีเมล์
   
« ตอบ #1 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2559, 11:58:25 PM »

Permalink: Re: 31 ตุลาคม เป็นวันอะไร
จุดเริ่มต้นขบวนการปฏิรูปศาสนา (ต่อ ๆ)
1. ผลงานวิทยานิพนธ์ “เทวนคร” (City of God) ของออกัสตินแห่งฮิปโป ที่เป็นแรงบันดาลใจในหมู่นักปฏิรูป
2.  ขบวนการฮุสไซท์ (The Hussites) กลุ่มผู้ติดตามจอห์น ฮุส (John Huss) ชื่อหลักการ Utraquism คือ ฆราวาสมีสิทธิเช่นเดียวกับสงฆ์ในพิธีรับศีลมหาสนิท ที่จะรับทั้งขนมปังและเหล้า โดยในสมัยนั้นฆราวาสจะรับได้เพียงขนมปังและน้ำเท่านั้น ซึ่งเบื้องหลังคือการกดดันให้สถาบันสันตะปาปา และคณะกรรมาธิการศาสนา (Council Authority) ยอมรับว่าทั้งบรรพชิตและฆราวาสนั้นเท่าเทียมกัน และพระคัมภีร์เท่านั้นที่มีอำนาจสูงสุดในศาสนกิจ โดยภายหลังการปฏิรูปศาสนากลุ่มฮัสไซท์ได้เข้ารวมกับพวกติดตามลูเทอร์
3.  ขบวนการลอล์ลาร์ด (The Lollard Movement) ของจอห์น ไวคลิฟฟ์ (John Wycliffe) ที่เน้นการปรับปรุงศาสนาให้เข้ากับความต้องการของสามัญชน เน้นการเทศนาสั่งสอนมากกว่าการรับศีล ต่อต้านการสารภาพบาป การสวดมนต์ให้แก่ผู้สิ้นชีวิตแล้ว การเดินทางไปจาริกแสวงบุญ การเชื่อ เครื่องรางของขลัง และเริ่มการใช้คัมภีร์ไบเบิลที่แปลเป็นภาษาพื้นเมือง เพื่อให้ชาวบ้านได้ศึกษาพระคัมภีร์ด้วยตนเองแทนการพึ่งพิงพระที่ใช้พระคัมภีร์ภาษาละติน โดยขบวนการลอล์ลาร์ดนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการปฏิรูปศาสนาระยะแรกภายใต้มาร์ติน ลูเทอร์
ดังนั้นพบว่าขบวนการปฏิรูปศาสนานั้นได้มีการเริ่มมาจากความไม่พอใจของสงฆ์ที่มีธรรมะ และสามัญชนที่ผิดหวังในสถาบันศาสนา ประกอบกับมีการผันแปรทางการเมือง ทัศนคติทำให้ผู้ที่ปรารถนาจะแก้ไขความเสื่อมในศาสนากล้าที่จะประกาศตนออกจากสถาบันศาสนา โดยไม่ต้องหวาดกลัวต่อชะตากรรมแบบ “ลอยแพ” ของสังคมในยุคกลางอีกต่อไป
ผลของการปฏิรูปศาสนา
ทางด้านการเมือง
การปฏิรูปศาสนาได้ทำให้พวกที่ไม่ต้องการระเบียบแบบแผน และพวกที่มีความคิดเห็นรุนแรงทางศาสนาก่อการจลาจลวุ่นวายขึ้นเรียกว่า “กบฏชาวนา” ในปี ค.ศ. 1525 ที่โบฮีเมีย มีทั้งกลุ่มอัศวินต่อสู้กับเจ้านายของตน และพวกชาวนาที่ก่อการปฏิวัติต่อเจ้าของที่ดินโดยต่างยื่นข้อเสนอเรียกร้องสิทธิของตน และกำหนดกฎเกณฑ์เอาตามใจชอบ บ้างก็ขอเสรีภาพในการถือศาสนา ดังนั้นลูเทอร์จึงได้ลุกขึ้นมาสอนให้ประชาชนเคารพประมุข และกฎหมายของรัฐ และต่อต้านการจลาจล โดยถือว่าประมุขของรัฐมีอำนาจอันชอบธรรมในสายตาของศาสนา ที่จะดำเนินการเด็ดขาดกับขบวนการเหล่านี้ เพราะฉะนั้นคำสอนของลักธิลูเทอรันส่งเสริมอำนาจชนชั้นปกครอง
ทางด้านศาสนา
เกิดการปฏิรูปศาสนาไปทั่วยุโรปโดยแบ่งแยกออกนิกายเป็น นิกายโปรเตสแตนต์ และโรมันคาทอลิก
การปฏิรูปภายในนิกายโรมันคาทอลิกเอง เช่น เกิดคณะเยสุอิต (The Jesuits) ที่เน้นการศึกษาวิทยาการใหม่เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม สภาสังคายนาแห่งเทรนต์ (1545-1563) ซึ่งต้องการแก้ไขข้อติดเตียนของขบวนการปฏิรูปศาสนาโปรเตสแตนต์ทั้งหมด แต่ยังเชื่อว่าสิทธิอำนาจมาจากพระคัมภีร์และขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ที่คริสตจักรได้รับสืบทอดมาจากเปโตร และยอมรับอำนาจของสันตะปาปาว่ายังมีอยู่ ผลการปฏิรูปนิกายโรมันคาทอลิก ทำให้สามารถป้องการการขยายตัวของความนิยมในนิกายโปรเตสแตนต์อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าสันตะปาปาต้องเสียอำนาจในยุโรปไปมาก แต่ก็ยังสามารถรักษาอิทธิพลทางจิตใจเหนือประชากรจำนวนมากของโลกตะวันตกไว้ได้ และสามารถฟื้นฟูความศักดิ์สิทธิของโรมได้จนถึงปัจจุบัน
กำเนิดนิกายโปรเตสแตนต์
นิกายโปรเตสแตนต์มีกำเนิดมาจากความคิดเห็นที่แตกแยกกันในเรื่องความเชื่อและการใช้ชีวิตของคริสตชน โดยคำว่า "โปรเตสแตนต์" (Protestant) แปลว่า "ผู้ประท้วง" หรือ "ผู้คัดค้าน" แยกตัวออกมาจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกในปี ค.ศ. 1529 โดย มาร์ติน ลูเทอร์ และผู้สนับสนุน ใน่ชวงที่คริสตจักรคาทอลิกเกิดปัญหาขึ้นมากมาย
ลูเทอร์ได้ตั้ง นิกายลูเทอร์แลนขึ้น โดยใช้หลักความเชื่อ
1. ผู้ชอบธรรมจะต้องดำรงชีวิตด้วยความเชื่อเท่านั้น (The Just shall live by Faith alone) คือยืนยันว่าชีวิตนิรันดร์และความรอด เป็นรางวัลที่พระเจ้าประทานให้แก่ผู้ที่มีความเชื่อในพระองค์ และการไถ่บาปได้มาจากพระเมตตาของพระเจ้าเท่านั้น ซึ่งเป็นการต่อต้านความเชื่อของสถาบันสันตะปาปา เกี่ยวกับความจำเป็นของพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อความรอด และการไถ่บาป
2. ผู้ที่เชื่อทุกคนคือผู้รับใช้พระเจ้า (Priesthood of all Believers) คือการยกเลิกนักบวชในศาสนาว่าเป็นผู้กุมกรรมสิทธิ์ในการติดต่อกับพระเจ้า ตามการกล่าวอ้างของสถาบันศาสนา แต่เน้นสิทธิของแต่ละบุคคลที่จะสามารถมีความสัมพันธ์โดยตรงกับพระเจ้าได้
3. เชื่อในคำตรัสของพระเยซูในการรับประทานอาหารค่ำมื้อสุดท้าย (The Last Supper) ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่ถือว่ามีความหมายยิ่งของศาสนาเพราะเป็นการสื่อสัมพันธ์ระหว่างพระเยซูและมนุษย์
4. สิทธิอำนาจสูงสุดมีสิ่งเดียวคือ “พระวจนะของพระเจ้า” (Word of God) นั่นคือพระวจนะที่อยู่ในพระคัมภีร์ไบเบิล พระวจนะที่ได้ยินจากคำเทศน์บนธรรมมาสน์ และพระวจนะที่อยู่ในพิธีบัพติสมาและศีลมหาสนิท ดังนั้นจึงเป็นการยกเลิกการยอมรับตามสถาบันสันตะปาปาที่ว่าที่มาแห่งสิทธิอำนาจในศาสนาประกอบด้วยพระคัมภีร์ พิธีกรรม และศาสนจักรคือเป็นการประกาศยกเลิกอำนาจของสันตะปาปานั่นเอง
5. เชื่อในพระประสงค์และน้ำพระทัยของพระเจ้า ที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าใจพระองค์ ทำให้มนุษย์ไร้ความหมายที่จะกระทำสิ่งใดด้วยใจอิสระของตนเองเพื่อเปลี่ยนแปลงพระประสงค์ และน้ำพระทัยของพระเจ้าได้
โดยข้อคิดทั้งหมดนี้ถือเป็นหลักของ “กลุ่มคริสตจักรปฏิรูป” (Reformed Church) ซึ่งประกาศเป็นทางการในปี ค.ศ. 1530 ณ การประชุมที่เอาก์สบูร์ก (The Diet of Augsburg) ที่แบ่งแยกผู้ติดตามลูเทอร์เป็นนิกายใหม่แยกจากคริสตจักรที่โรม เอกสารรวมความเชื่อนี้เรียกว่าเอกสาร “การสารภาพแห่งเมืองเอาก์สบูร์ก” (The Confession of Augsburg) ซึ่งเรียกรวมขบวนการปฏิรูปศาสนาที่แยกตัวจากโรมนี้เรียกว่า พวกโปรเตสแตนต์ (The Protestants)
หลังจากการประท้วงดังกล่าวได้ทำให้เกิดคลื่นกระแสการปฏิรูปศาสนาในยุโรปขยายออกไป เริ่มจากในเยอรมนีโดยลูเทอร์ ไปสวิสเซอร์แลนด์โดยอูลริค สวิงกลิ (Ulrich Zwingli ค.ศ. 1484-1531) ในฝรั่งเศสโดยจอห์น คาลวิน (John Calvin ค.ศ. 1509-1564) และกลายเป็นลัทธิคาลวิน (Calvinism) ซึ่งแพร่หลายอย่างรวดเร็วไปยังเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ฮังการี สกอตแลนด์ และโปแลนด์ ในประเทศอังกฤษ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 (ค.ศ. 1509-1547) ซึ่งประสงค์จะหย่าจากพระมเหสีเพื่อจะอภิเษกสมรสกับคนใหม่ เพราะคนเดิมไม่สามารถมีพระโอรสเพื่อสืบราชบัลลังก์ แต่พระสันตะปาปาไม่อนุญาตให้หย่า อังกฤษจึงแยกจากโรมนับแต่นั้นโดยตั้งองค์การขึ้นมาใหม่เรียกว่า “คริสตจักรแห่งอังกฤษ” (Church of England) ซึ่งพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งประมุขเสียเอง ซึ่งนิกายแองกลิคันนี้ยังคงรักษาหลักสำคัญบางประการของคาทอลิกไว้เพียงแต่ไม่ยอมรับอำนาจการปกครองของสันตะปาปาเท่านั้น
การปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์
การปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ คือขบวนการการปฏิรูปศาสนาที่เริ่มโดย มาร์ติน ลูเทอร์ เมื่อปี ค.ศ. 1517 เพื่อแก้ไขความเสื่อมโทรมของนิกายโรมันคาทอลิก และสถาบันสันตะปาปา มาเสร็จสิ้นลงด้วยสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย ค.ศ. 1648  ผลจากการปฏิรูปคือการแยกตัวจากนิกายคาทอลิกมาเป็นนิกายโปรเตสแตนต์
นิกายต่าง ๆ ของโปรเตสแตนต์
การกำเนิดของนิกายโปรเตสแตนต์ มีผลสำคัญทั้งทางศาสนา และการเมืองมาก เพราะเป็นการทำลาย การติดต่อเกี่ยวพัน ในระหว่างพวกคริสต์ และทำให้กลุ่มคาทอลิก สังคายนาระเบียบ ของตัวเองให้เรียบร้อยขึ้น ขณะเดียวกันยังทำให้ฝ่ายคาทอลิก ตัดรอนอำนาจของสันตะปาปาในกรุงโรม ทำให้เกิดรัฐอิสระอีกหลายแห่ง ดังนั้น ในช่วงนี้ จึงเรียกว่าเป็น ช่วงปฏิรูปศาสนา หรือ Reformation การเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องของกลุ่มเหล่านี้ มีอิทธิพลต่อนิกายเล็ก ๆ ในภายหลัง โดยกลุ่มที่เป็นตัวเคลื่อนไหวนี้ มีดังนี้คือ
นิกายลูเทอแลน (Lutheranism)
ตรงจุดนี้ ได้นำไปสู่การแตกแยกเป็นนิกายใหม่ ในเวลาต่อมา ชีวิตของลูเทอร์ ในระยะนี้ต้องหลบตลอดเวลา แต่ก็ทำให้มีเวลาแปลพันธสัญญาใหม่เป็นภาษาเยอรมัน และได้เขียนเกี่ยวกับพิธีกรรมรวมทั้งศีลศักดิ์สิทธิ์เป็นภาษาเยอรมัน เพื่อให้ชาวบ้านและคนทั่วไปสามารถเข้าใจหลักคำสอนและพิธีกรรม ซึ่งแต่เดิมมาเขียนเป็นภาษาละติน จึงยากแก่การสื่อความหมายให้เข้าถึงได้ จึงรู้ได้เฉพาะปัญญาชน นักบวช และนักศาสนาเท่านั้น
           ผลงานของลูเทอร์นี้ ได้สร้างคุณประโยชน์ แก่ผู้ที่ไม่รู้หนังสือละติน ได้มีโอกาสเข้าใจแก่นแท้ ของศาสนาได้ด้วยตนเอง ซึ่งตรงกับจุดประสงค์ของลูเทอร์ ที่ต้องการให้บุคคลสามารถ รับผิดชอบใน ความเชื่อของตน โดยไม่ต้องอาศัยบุคคลที่ 3 เช่น นักบวช กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในศาสนา เป็นเพียง สิ่งเปลือกนอก ที่ไม่สำคัญเท่ากับการที่บุคคลนั้นได้เผชิญหน้า ต่อพระพักตร์พระเจ้า ด้วยตนเอง นิกายนี้ จึงได้ตัดประเพณี พิธีกรรม ตลอดจนศีลศักดิ์สิทธิ์บางเรื่องออกไปเหลือแต่ศีลล้างบาป และศีลมหาสนิท และสนับสนุนให้บุคคลเอาใจใส่ต่อคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระวจนะของพระเจ้า ที่ทำให้มนุษย์ เข้าถึง ความรอด ส่วนบุคคลภายในโบสถ์ของโปรเตสแตนต์ จึงไม่มีรูปเคารพ และศิลปกรรมที่ตกแต่ง ดังเช่น โบสถ์คาทอลิก บนแท่นบูชามีเพียงพระคัมภีร์เท่านั้น ที่เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ส่วนอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากนี้เป็นเพียง เปลือกนอกที่มาจากตัณหาของมนุษย์ และทำให้เราเกิดความยึดถือ ยึดติด ไม่สามารถเข้าถึงพระเจ้าได้
กลุ่มคริสตจักรปฏิรูป
ฮุลดริค ซวิงกลี (Ulrich Zwingli) เกิดที่สวิสเซอร์แลนด์ มีชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1484 - 1531 ได้รับแนวความคิดจากลูเทอร์ และปรัชญามนุษยนิยม อูลริชไม่เห็นด้วยกับความคิดที่ว่า พิธีล้างบาป และพิธีศีลมหาสนิท เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นเพียงความเชื่อภายนอกเท่านั้น หาใช่ความเชื่อในพระเจ้าอย่างแท้จริง เพราะพิธีล้างบาป ก็คือการปฏิญาณตน และพิธีมหาสนิท ก็คือการระลึกถึงวันเลี้ยงมื้อสุดท้ายของพระเยซูเท่านั้น พิธีเหล่านี้ไม่ใช่พิธีที่มีความศักดิ์สิทธิ์
           ลัทธิคาลวิน (Calvinism) ผู้ริเริ่มและบุกเบิกนิกายนี้ คือ จอห์น คาลวิน หรือกาลแวง เป็นชาว ฝรั่งเศส ได้รับการศึกษาที่ มหาวิทยาลัยปารีส ต่อมาได้สนใจ แนวคิดทางศาสนาของลูเทอร์และสวิงลี จึงได้รับคำสอนเหล่านั้นมาปรับปรุง คำสอนของเขาแพร่หลายเข้าไปถึงประเทศอังกฤษ ซึ่งเรียกว่า เปรสไบทีเรียน
คาลวินมีอิทธิพลในกรุงเจนีวา เขาถูกเชิญไปที่นั่นหลายครั้ง จนกระทั่ง ได้อาศัยอยู่ที่เจนีวา จนสิ้นใจ ในปี 1564 ผลงานที่สำคัญ คือ หนังสือศาสนา ที่ต่อมาได้กลายเป็นหลัก เทวศาสตร์ ของโปรเตสแตนต์ ชื่อ "สถาบันศาสนาคริสต์" (The Institutes of the Christian Religion) แต่เดิมเขียนเป็นภาษาละติน แต่ถูกแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส ในเวลาต่อมา และถูกพิมพ์ถึง4 ครั้ง ในช่วงที่คาลวินมีชีวิตอยู่ หนังสือเล่มนี้ ช่วยให้เราสามารถเข้าใจ ศรัทธาของชาวคริสต์ คำสอนของนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป อีกทั้งทำให้เราเข้าใจ อำนาจของพระเจ้า เข้าใจในเรื่องบาปกำเนิด และเทวลิขิต นอกจากนี้ คาลวินได้ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยเจนีวา และทำให้กรุงเจนีวา เป็นศูนย์นัดพบของชาวโปรเตสแตนต์ทั่วยุโรป
คริสตจักรแห่งอังกฤษ
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "แองกลิกัน" มีกำเนิดในประเทศอังกฤษ โดยมีสาเหตุมาจากพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ต้องการให้พระสันตะปาปา ที่กรุงโรมอนุญาตให้หย่าร้าง และอภิเษกสมรสใหม่ แต่ได้รับการปฏิเสธจากพระสันตะปาปา จึงไม่พอพระทัยประกาศตั้งนิกายใหม่ที่เรียกว่าคริสตจักรแห่งอังกฤษ ไม่ขึ้นต่อกรุงโรม และทรงแต่งตั้งธอมัส แครนเมอร์ เป็นอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี
กลุ่มคณะเพ็นเทคอสตอล (Pentecostal)
สหรัฐอเมริกาได้รับอิทธิพลคำสอนของกลุ่มขบวนการชีวิตที่บริสุทธิ์  (Holiness Movement) แล้วนำมาสอนในโรงเรียน ให้มีการรับบัพติศมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ มีพระคัมภีร์เป็นมาตรฐานของความเชื่อและการดำเนินชีวิต แต่จะเน้นหนักในเรื่องของพระวิญญาณบริสุทธิ์ของประทานและการอัศจรรย์ ให้ความสำคัญเรื่องของนิมิตคำพยากรณ์และการทรงสำแดงของพระเจ้า เน้นให้พระวิญญาณทรงนำ เพราะฉะนั้นแม้จะมีระเบียบการนมัสการ แต่ก็ไม่ได้ยึดถืออย่างเคร่งครัด ให้เป็นอิสระภายใต้การนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์
กลุ่มคณะแบ๊บติสต์ (Baptist)
เริ่มมาจาก กลุ่มหนึ่งของพิวริตินในอังกฤษ ที่แยกตัวจากคริสตจักรแห่งอังกฤษ ต่อมาได้ขยายไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา เน้นว่าความรอดเป็นของส่วนบุคคล จึงควรให้บัพติศมาแก่ผู้ที่สามารถตัดสินใจด้วยตนเองได้เŨ
บันทึกการเข้า
Shafindows
บุคคลทั่วไป
   
« ตอบ #2 เมื่อ: 15 มีนาคม 2560, 11:41:58 AM »

Permalink: Re: 31 ตุลาคม เป็นวันอะไร
ชักอยากจะกลับบ้านไปดูซะแล้วซิ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: