-/> ผู้ที่กระทำความผิดทางอาญา มักจะอ้างข้อกฎหมายเรื่องป้องกันตัว บันดาลโทสะ

You are here: Khonphutorn.com - แหล่งข้อมูลของคนไทยหมวดอาชีพรู้กฎหมาย คลายปัญหา (ผู้ดูแล: พรหมพิพัฒน์)ผู้ที่กระทำความผิดทางอาญา มักจะอ้างข้อกฎหมายเรื่องป้องกันตัว บันดาลโทสะ
หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้ที่กระทำความผิดทางอาญา มักจะอ้างข้อกฎหมายเรื่องป้องกันตัว บันดาลโทสะ  (อ่าน 1661 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ดูแลเรื่องกฏหมายของเว็บ
คะแนนน้ำใจ 1010
กระทู้: 130
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2559, 01:59:56 PM »

Permalink: ผู้ที่กระทำความผิดทางอาญา มักจะอ้างข้อกฎหมายเรื่องป้องกันตัว บันดาลโทสะ
ผู้ที่กระทำความผิดทางอาญา มักจะอ้างข้อกฎหมายเรื่องป้องกันตัว บันดาลโทสะ หรือเหตุจำเป็น เพื่อให้พ้นโทษ หรือรับโทษน้อยลง แต่จะมีสักกี่คดีที่มีโอกาสรอด !

บ่อยครั้งที่เกิดกรณีทำร้ายร่างกาย หรือกรณีฆ่าคนตาย ผู้กระทำความผิดมักจะอ้างว่า ทำไปเพราะป้องกันตัว ทำไปเพราะบันดาลโทสะ หรือทำไปเพราะความจำเป็น ซึ่งเป็นสิทธิของผู้กระทำความผิดที่จะอ้างข้อกฎหมาย เพื่อให้ตนเองพ้นผิด ไม่ต้องรับโทษ หรือรับโทษน้อยลงจากการกระทำความผิดนั้นๆ

แต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละเรื่องไม่เหมือนกันทุกเรื่อง

ผู้กระทำความผิดจะอ้างข้อกฎหมาย เพื่อให้ตนเองพ้นผิด ไม่ต้องรับโทษ หรือรับโทษน้อยลง ได้หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาข้อเท็จจริง และพฤติการณ์อื่น ๆ ประกอบเป็นเรื่อง ๆ ไป

ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญา ซึ่งเกิดจากการบันดาลโทสะ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 วางหลักไว้ว่า

“ผู้ใดบันดาลโทสะ โดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมจึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้”

ซึ่งความผิดทางอาญาที่เกิดจากการบันดาลโทสะนั้น มีองค์ประกอบทางกฎหมายปลีกย่อยมากมา และจำเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงประกอบกับพิจารณาพฤติการณ์ของผู้กระทำการข่มเหงและผู้ถูกข่มเหงเป็นหลัก

การบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา เกิดจากการถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม คือ
การที่ผู้กระทำความผิดถูกบุคคลอื่นกระทำการข่มเหงก่อน ทำให้ได้รับบาดเจ็บ หรือ ทำให้เสียหายต่อชื่อเสียง, ทรัพย์สิน หรือ มีการด่าทอ พูดเสียดสีจนทำให้ผู้ถูกด่า หรือถูกพูดเสียดสีโมโห ฯลฯ

ซึ่งการข่มเหงดังกล่าวนั้น ไม่เป็นธรรมและร้ายแรง ตลอดจนผู้ข่มเหงไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะไปกระทำการเช่นนั้นต่อผู้ถูกข่มเหงได้

ทั้งนี้ ศาลจะใช้ดุลพินิจในการพิจารณาข้อเท็จจริงในแต่ละคดีว่าการกระทำครั้งนั้น เป็นการข่มเหงหรือไม่ เป็นธรรมหรือไม่ และร้ายแรงหรือไม่ ที่สำคัญเมื่อถูกข่มเหงแล้ว ผู้ถูกข่มเหงจะต้องกระทำต่อผู้ที่ทำการข่มเหงเท่านั้น จะไปกระทำต่อบุคคลอื่นไม่ได้

ในบางกรณี เมื่อถูกข่มเหงแล้ว ผู้ถูกข่มเหงไม่ได้กระทำต่อผู้ที่ทำการข่มเหงในทันที แต่ผู้ถูกข่มเหงกลับเดินทางกลับบ้านไปเอาอาวุธมาทำร้าย ซึ่งบ้านอยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุพอสมควร หรือระยะเวลาผ่านไปหลายวันแล้ว ผู้ถูกข่มเหงจึงมากระทำต่อผู้ข่มเหงจนถึงแก่ความตาย คดีลักษณะแบบนี้ เรียกว่าเหตุบันดาลโทสะขาดตอนแล้ว จึงไม่ถือว่าเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะครับ เนื่องจากระยะทางจากจุดเกิดเหตุมีระยะทางไกลพอสมควร หรือเหตุที่ถูกข่มเหงผ่านไปหลายวันแล้ว ซึ่งผู้ถูกข่มเหงมีระยะเวลาในการคิดไตร่ตรองหรือวางแผนพอสมควรว่าจะกระทำความผิดดีหรือไม่ กระทำแล้วมีผลอย่างไร ทำแล้วจะหลบหนีอย่างไร หรือมีข้อกฎหมายอ้างเป็นเหตุลดโทษอย่างไร

ในกรณีแบบนี้ผู้กระทำความผิดจะมีความผิดและรับโทษหนักขึ้น เช่น ในกรณีทำร้ายร่างกาย เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 แต่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 296

“ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 289 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ”

ในกรณีทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัส เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 แต่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 298 ผู้ใดกระทำความผิดตาม มาตรา 297 ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 289 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี

ในกรณีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 แต่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 289 (4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ต้องระวางโทษ ประหารชีวิต

ขอให้ทุกท่านใช้ความระมัดระวังในการใช้ชีวิต พึงมีสติอยู่เสมอ คิดก่อนทำทุกครั้ง เพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน โอกาส อนาคต ของตนเอง ครอบครัว และผู้อื่นครับ
บันทึกการเข้า

ใช้ชีวิตแบบสบายๆ ปล่อยวางบ้าง
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: