-/> นอนไม่หลับ ความทรมานที่ไม่ปรารถนา

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: นอนไม่หลับ ความทรมานที่ไม่ปรารถนา  (อ่าน 4383 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,134
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 29 เมษายน 2557, 08:41:23 AM »

Permalink: นอนไม่หลับ ความทรมานที่ไม่ปรารถนา




นอนไม่หลับ ความทรมานที่ไม่ปรารถนา  


นอนไม่หลับ (Insomnia) ความทรมานที่ไม่ปรารถนา
อาการนอนไม่หลับหรือหลับลำบาก การนอนหลับไม่สนิท ตื่นขึ้นกลางดึก หรือหลับๆ ตื่นๆ การตื่นนอนเช้าหรือเร็วกว่าปกติ
 และตื่นนอนแล้วไม่สดชื่น เป็นอาการที่พบได้บ่อย ปัญหาการนอนไม่หลับพบมากขึ้นในภาวะการณ์ปัจจุบัน
 และกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ซึ่งอีกสาเหตุหนึ่งของโรคดังกล่าวนี้มีบุคคลที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการนอนไม่หลับคือ ผู้สูงอายุ
ผู้ป่วยที่มีโรคทางกายเรื้อรังหรือใช้ยาประจำและผู้ป่วยโรคจิตเวช
โรคนอนไม่หลับตามทรรศนะแพทย์แผนจีนเรียกว่า ปู๋เม่ย (不寐) หรือเรียกอีกอย่างว่า ซือเหมียน(失眠)
 คือการเจ็บป่วยที่มีจุดเด่นที่ไม่สามารถนอนหลับได้ตามปกติ โดยปรากฏให้เห็นจากระยะเวลาและระดับการหลับที่น้อยเกินไป
-รายที่ไม่รุ่นแรง หลับยากหรือหลับแต่ไม่สนิท หลับๆตื่นๆ หรือเมื่อตื่นแล้วหลับต่อไม่ได้
-รายที่รุ่นแรง นอนไม่หลับทั้งคืน จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน การเรียนรวมถึงสุขภาพ

1. ระดับความลึกของการนอนหลับสามารถจำแนกได้ 2 ลักษณะ
   -รายที่ไม่รุ่นแรง ยังพอจะหลับได้ บางรายจะหลับยากในช่วงแรก กว่าจะหลับได้ก็กลางดึกหรือหลับแล้วตื่นง่ายหรือตื่นตอนเช้า
   -รายที่รุ่นแรง นอนไม่หลับทั้งคืน
2. ระยะเวลาในการหลับจำแนกได้ 2 ลักษณะ
   -แบบชั่วคราว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อม (เดินทางไปต่างที่ การประชุม เยี่ยมญาติสนิทมิตรสหาย เป็นต้น)
   -แบบระยะยาว โรคเรื้อรังบางประเภท

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
1.การบริโภคที่ไม่เหมาะสม
-การรับประทานอาหารมากเกินไป อาหารตกค้างที่กระเพาะอาหาร จะทำลายกระเพาะและม้าม เกิดเสมหะร้อนลอยขึ้นบน
การทำงานของชี่กระเพาะอาหารอยู่ในภาวะที่ไม่สมดุล ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ
-รับประทานอาหารและดื่มไม่เหมาะสม การดูดซึมและย่อยอาหารของม้ามขาดประสิทธิภาพ อาหารตกค้างที่จงเจียว(中焦)
อาหารตกค้างเกิดไอร้อน เสมหะร้อน ชี่ของกระเพาะอาหารเสียสมดุลความร้อนขึ้นไปรบกวนเสินหัวใจ
2.อารมณ์
-อารมณ์ หวาดกลัว กลัดกลุ้ม โกรธ ทำให้ชี่เดินผิดปกติ เกิดไฟในหัวใจและตับ ความร้อนทำลายสารน้ำในร่างกาย
เกิดเสมหะร้อนชื้นขึ้นไปรบกวนหัวใจ
3. ความเหนื่อยล้า การครุ่นคิดมากเกินไป จะทำลายม้าม
ม้ามพร่องทำให้การดูดซึมและย่อยอาหารได้ไม่ดี
การสร้างชี่และเลือดน้อย เสินที่หัวใจได้รับการหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ
4. หลังจากหายป่วยแล้ว ผู้สูงอายุ: ป่วยเป็นระยะเวลานานๆ ร่างกายอ่อนแอ
-อินไตกระทบกระเทือน ไฟหัวใจแกร่ง
-หยางตับแกร่ง เกิดไฟจากการพร่องไปรบกวนหัวใจ
-หัวใจม้าม(ชี่และเลือด)พร่อง หัวใจได้รับการหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ
การวิเคราะห์แยกประเภทกลุ่มอาการ
1.กลุ่มอาการไฟตับรบกวนหัวใจ
อาการหลัก นอนไม่หลับฝันมาก ถ้าเป็นมากจะไม่สามารถนอนหลับได้ทั้งคืน หงุดหงิดโมโหง่าย
อาการร่วม เวียนศีรษะ ปวดแน่นศีรษะ ตาแดง มีเสียงดังในหู ปากแห้งคอขม ไม่อยากอาหาร ท้องผูก
ลักษณะลิ้นและชีพจร ลิ้นแดงฝ้าเหลือง ชีพจรตึงเล็กและเร็ว
2.กลุ่มอาการเสมหะร้อนรบกวนหัวใจ
อาการหลัก ใจไม่สงบ นอนไม่หลับ แน่นหน้าอกและท้อง คลื่นไส้ เรอ
อาการร่วม ปากขม หนักศีรษะ ตาลาย
ลักษณะของลิ้นและชีพจร ลิ้นค่อนข้างแดง ฝ้าเหลืองหนา ชีพจรลื่นเร็ว
3.กลุ่มอาการชี่กระเพาะอาหารทำงานไม่สมดุล
อาการหลัก นอนหลับไม่สบาย รู้สึกไม่สบายท้อง ไม่อยากอาหาร เรอบ่อย
อาการร่วม แน่นท้อง มีเสียงในลำไส้ ขับถ่ายไม่สะดวกหรือท้องผูก
ลักษณะของลิ้นและชีพจร ฝ้าบนลิ้นหนาเหลือง ชีพจรจมลื่น
4.กลุ่มอาการหัวใจและม้ามพร่อง
อาการหลัก นอนหลับได้ลำบาก ฝันมากตื่นง่าย ใจสั่น หลงลืมง่าย ไม่มีแรง ทานอาหารได้น้อย
อาการร่วม เวียนศีรษะ ตาลาย แขนขาไม่มีแรง แน่นท้องถ่ายนิ่ม(ถ่ายเหลว)สีหน้าไม่มีประกายเลือดฝาด
ลักษณะของลิ้นและชีพจร ลิ้นซีด ฝ้าบาง ชีพจรเล็กไม่มีแรง
5.กลุ่มอาการหัวใจและไตไม่สัมพันธ์กัน(อินพร่องเกิดไฟ)
อาการหลัก ใจไม่สงบ นอนไม่หลับ นอนหลับได้ลำบาก ใจสั่น ฝันมาก
อาการร่วม เวียนศีรษะ หูมีเสียงดัง ปวดเมื่อยเอวและเข่า มีไข้ในช่วงเวลาบ่าย มีเหงื่อออกขณะนอนหลับ
ร้อนที่แขนขาและทรวงอก(อาการร้อนทั้งห้า) คอแห้ง ในหญิงประจำเดือนมาไม่ปกติ
ลักษณะของลิ้นและชีพจร ลิ้นแดง ฝ้าน้อยหรือไม่มีฝ้า ชีพจรเล็กเร็ว
6.กลุ่มอาการชี่หัวใจและถุงน้ำดีพร่อง
อาการหลัก นอนไม่หลับ ตื่นตกใจง่าย มีความรู้สึกตื่นตัวทั้งวัน ขี้ขลาด ใจสั่น
อาการร่วม หายใจสั้น เหงื่อออกง่าย อ่อนเพลียไม่มีแรง
ลักษณะของลิ้นและชีพจร ลิ้นซีด ชีพจรตึงเล็กละเอียด

การบำบัดรักษาทางแพทย์แผนจีน
Siam TCM Clinic  ทางแพทย์จีนก็จะทำการรักษาโดยจะแยกตามกลุ่มอาการของโรค โดยวิธี
1.การทานยาสมุนไพรจีน ปลอดภัย ไม่มีสารพิษตกค้าง ตามแต่ละกลุ่มอาการ
2.การฝังเข็มตามแต่ละกลุ่มอาการ เพื่อบำบัดรักษาอาการนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หลับๆตื่นๆ ตามแต่ละกลุ่มอาการ
 โดยมีการฝังเข็ม ตามจุดฝังเข็มที่บำบัด รักษาในเรื่องการนอน ตามจุดเส้นลมปราณที่เกี่ยวข้อง เช่น
   - จุดซ่านอินเจียว(ตำแหน่งอยู่ที่เหนือตาตุ่มด้านใน ขึ้นมาข้างขาประมาณ 3 นิ้ว)
   - จุดเสินเหมิน (อยู่ข้อมือด้านฝั่งนิ้วก้อย)
   - และจุดอื่นๆ ตามเส้นลมปราณที่เกี่ยวข้องกับอาการนั้นๆ
3.การนวดกดจุด นวดผ่อนคลายร่างกาย ช่วยให้นอนหลับได้ดี
เช่น จุดซานอินเจียว จุดเสินเหมิน จุดอันเหมี่ยน เป็นต้น
เคล็ด(ไม่)ลับ ช่วยนอนหลับ
1.ไม่ทานอาหารก่อนที่จะนอน อาหารเย็นไม่ควรทานจนอิ่มเกินไป
2.ทานน้ำอุ่นวันละ 2-3 ลิตร
3.ออกกำลังกายทุกวัน
4.อารมณ์ต้องดี (ผ่อนคลาย) ไม่เครียด ไม่คิดมาก

ชอบคุณ  


บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,134
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« ตอบ #1 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2564, 08:55:53 PM »

Permalink: Re: นอนไม่หลับ ความทรมานที่ไม่ปรารถนา
2638
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: