-/> พัฒนาการสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: พัฒนาการสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม  (อ่าน 896 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,136
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2566, 06:56:42 PM »

Permalink: พัฒนาการสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม


พัฒนาการสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
ถือเป็นพัฒนาการสำหรับเด็กวัยอนุบาล การเขียน มีข้อดีคือเป็นการช่วยฝึกล้ามเนื้อมือ
แต่เรามักพบว่า เด็กหลายคนถูกบังคับ จับมือเขียน หรือลากเส้นตามรอยประ
 หน้าตาไม่มีความสุขสักนิด ทั้งที่จริงแล้ว การฝึกเขียน เป็นพัฒนาการที่มีขั้นตอน
และมีความสำคัญไม่ต่างจากพัฒนาการ
ด้านอื่น ๆ เลย


           ขั้นที่ 1 ขีดเขี่ย (2-3 ขวบ)
สะเปะสะปะไร้ทิศทาง
           จับดินสอได้ก็ขีดเขียนเส้นต่าง ๆ พันกันมั่วไปหมด โดยที่ตาอาจไม่ได้
           มองมือ หรือกระดาษ (ที่ตัวเองเขียน) ด้วยซ้ำ

 ขั้นที่ 2 ควบคุมการขีดเขี่ย (3 ขวบ) แม้ร่องรอยขีดเขียนจะไม่ต่างจากขั้นแรก
                 แต่อย่างน้อย เขาก็เริ่มควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมือตัวเองได้แล้ว
                 และเขียนอย่างมีทิศทางมากขึ้น

ขั้นที่ 3 เขียนคล้ายตัวอักษร(3-4 ขวบ) หนูจะชอบเขียนตามจุดประ
                หรือลากเส้นทับคำที่อยากเขียนมาก แต่อย่าหวังว่าจะเห็นหนูเขียนได้สวยนะ เพราะมันบิดๆ เบี้ยว ๆ
                โย้ไปโย้มาเหลือเกิน ฉะนั้นแม่อย่าเอาแต่ซื้อสมุดแบบฝึกหัด ให้หนูคัดเขียนมากเกินไป
                อย่าลืมว่าความชอบของหนูมันเป็นแค่พัฒนาการช่วงหนึ่งเท่านั้น ไม่
               อย่างนั้นหนูก็อาจเบื่อ และล้าได้เหมือนกัน

ขั้นที่ 4 สามารถเขียนชื่อตนเอง ลอกคำต่าง ๆ ได้ (4 ขวบ)
                เริ่มเขียนคำที่มีความหมายกับเขาเองได้ เช่น ชื่อตัวเอง หรือประโยคที่ครูเคยเล่าแล้วเขาอยาก
                เขียน (นิทานเรื่องโปรด สถานที่ประทับใจ) พอครูเขียนให้ดู เขาจะพยายามลอกตาม

ขั้นที่ 5 คิดเขียนคำ (4-5 ขวบ) เมื่อเด็กได้ยินได้ฟังคำอะไรมา
                เช่น รักแม่ เขาจะนำคำนั้นมาคิดและเขียนลงไป ว่า "รักแม่" แม้ไม่ใช่แต่ก็ใกล้เคียง

   ขั้นที่ 6 เขียนอย่างถูกต้อง (5-7 ขวบ) เมื่อทุกอย่างพร้อม เมื่อนั้นเขาจะเขียนคำต่าง ๆ
                  ได้เองอย่างคล่องแคล่ว และถูกต้องมากขึ้น

             
กว่าที่เขาจะพัฒนาได้เป็นขั้นเป็นตอนแบบนี้
 ใช่ว่าจะตรงตามอายุเป๊ะ ๆ เขาอาจพัฒนาเร็ว-ช้าไม่เท่ากัน ขึ้นกับประสบการณ์ที่
 แต่ละคนสั่งสมมา ซึ่งการฝึกพัฒนาการมีอยู่ในกิจวัตรประจำวันง่าย ๆ เช่น การฉีกกระดาษ
 ตัดกระดาษ ช่วยแม่ตักข้าว คีบน้ำแข็ง เปิด-ปิดขวด หนีบผ้า หยิบไข่ และ
 กิจกรรมที่ทำร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ เล่านิทาน เล่มเกมที่เกี่ยวกับคำ
 เช่น ท่องคำคล้องจอง สังเกตคำที่เหมือนกันตามป้ายโฆษณาบนท้องถนน

      
  ทำกิจวัตรเช่นนี้ให้เป็นเรื่องปกติ
เมื่อนั้นเด็กจะเขียนได้เอง และเขียนอย่างมีความสุขอีกด้วย

บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: