-/> โควิด XBB.1.16 อันตรายแค่ไหน

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: โควิด XBB.1.16 อันตรายแค่ไหน  (อ่าน 1042 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 2984
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยม
กระทู้: 260
ออฟไลน์ ออฟไลน์
   
« เมื่อ: 18 เมษายน 2566, 10:50:27 AM »

Permalink: โควิด XBB.1.16 อันตรายแค่ไหน

โควิด XBB.1.16: อันตรายแค่ไหน เสี่ยงกลายเป็นสายพันธุ์หลักในไทยและทั่วโลกหรือไม่




อาการเยื่อบุตาอักเสบ เป็นหนึ่งในอาการที่ไม่พบบ่อยในโควิดสายพันธุ์ต่าง ๆ แต่พบในโควิด XBB.1.16


มหาวิทยาลัยแห่งโตเกียวเตือนว่า โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 หรือ “อาร์คตูรุส”
 มีศักยภาพจะแพร่ระบาดไปทั่วโลกในอนาคตอันใกล้ ขณะที่ ไทยพบผู้ป่วยสายพันธุ์นี้แล้ว 8 ราย
 และมีการพบการกลายพันธุ์ย่อย ๆ ของโควิดสายพันธุ์นี้แล้ว

วานนี้ (16 เม.ย.) กรมควบคุมโรคเปิดเผยตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)
ช่วงสงกรานต์ (9-15 เม.ย.) พบว่า มีผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 435 ราย เฉลี่ยวันละ 62 ราย
 ถือว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 2.5 เท่าจากสัปดาห์ก่อนหน้า

นอกจากนี้ นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า มีรายงานผู้ป่วยปอดอักเสบ 30 ราย
 และผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 19 ราย เพิ่มขึ้น 58% และ 36% ตามลำดับ เปรียบเทียบกับสัปดาห์ก่อน
โดยสัปดาห์ล่าสุด มีรายงานผู้เสียชีวิต 2 ราย และล้วนเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นแล้วนานเกินกว่า 3 เดือน
จึงเรียกร้องให้กลุ่มเสี่ยงเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

นอกเหนือจากความวิตกถึงสถานการณ์โควิดที่คาดพุ่งสูงขึ้นช่วงสงกรานต์
สังคมไทยยังกำลังวิตกถึงการระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 หรือ “อาร์คตูรุส”
ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในการสังเกตการณ์ขององค์การอนามัยโลก ตั้งแต่วันที่ 22 มี.ค.
หลังพบว่ามีผู้ป่วยในไทยแล้ว 6 ราย จนถึง 15 เม.ย. และเพิ่มเป็น 8 ราย
จากข้อมูลจนถึงวันที่ 16 เม.ย.

“กรณีการแพร่ระบาดของเชื้อสายพันธุ์โควิด XBB.1.16 ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก
พบเชื้อแล้วใน 22 ประเทศโดยเฉพาะประเทศอินเดีย เชื้อสายพันธุ์ล่าสุดนี้
มีความสามารถในการติดต่อสูงกว่าเชื้อสายพันธุ์ในอดีต
เป็นที่จับตาขององค์การอนามัยโลก” นพ.ธเรศ กล่าว

“แต่ข้อมูลขณะนี้พบว่าอาการไม่ได้รุนแรงเพิ่ม ทั้งนี้ ฐานข้อมูล GISAID 
มีรายงานการตรวจพบสายพันธุ์นี้ในประเทศไทย 6 ราย จากที่มีรายงานทั่วโลกเกือบ 3 พันราย
 (ข้อมูล ณ วันที่ 13 เม.ย.)”

สำหรับผู้ป่วยในไทยนั้น นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค
 ชี้แจงว่า จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าเป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ
 อยู่ในวัยทำงาน และอาการป่วยไม่รุนแรง





เยื่อบุตาอักเสบ หรืออาการตาแดง


ส่วนอาการสำคัญของ XBB.1.16 ที่ประเทศอินเดียรายงานว่ามี “เยื่อบุตาอักเสบ”
ยังไม่มีรายงานในผู้ป่วยที่พบในไทย

“ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่า XBB.1.16 จะมีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์อื่น ส่วนการกลายพันธุ์
ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ทางกรมควบคุมโรคก็ติดตามสถานการณ์ต่อเนื่อง จึงขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก
และขอให้มารับวัคซีนโควิด ถ้าหากฉีดเข็มสุดท้ายนานเกิน 4 เดือน” นพ.โสภณ กล่าว

สำหรับโควิดสายพันธุ์หลักในไทยเวลานี้ คือ XBB.1.5 โดยสัดส่วนสายพันธุ์ต่าง ๆ
ของโอมิครอนที่กำลังระบาดในไทย จากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก หรือ GISAID มีดังนี้

...XBB.1.5 - ประมาณ 47%
...XBB.1.9.1 ประมาณ 27%
...XBB.1.16 ประมาณ 13%
...XBB.1.5.7 ประมาณ 7%
...XBB.1.16.1 ประมาณ 7%

หากนับโควิดทุกสายพันธุ์ที่กำลังระบาดในไทย โควิด XBB.1.16 คิดเป็น 3% ของผู้ป่วยเท่านั้น
ในช่วงวันที่ 1 ก.พ.–16 เม.ย. (จากการถอดรหัสพันธุกรรม 410 ตัวอย่าง)




ทำความรู้จักโควิด XBB.1.16
โควิดสายพันธุ์ XBB.1.1.16 หรือที่เรียกว่า “อาร์คตูรุส” เป็นสายพันธุ์ย่อยของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน
โดยองค์การอนามัยโลกระบุว่า กำลังสังเกตการณ์สายพันธุ์นี้ เพราะ “มีศักยภาพสูงทำให้จำเป็นต้องเฝ้าระวังให้ดี”

โควิด XBB.1.16 ตรวจพบครั้งแรกเมื่อเดือน ม.ค. 2566 ก่อนที่องค์การอนามัยโลกจะขึ้นบัญชี
เป็นสายพันธุ์ที่อยู่ภายใต้การเฝ้าระวัง เมื่อวันที่ 22 มี.ค.

โควิดสายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์ลูกผสม ระหว่างสายพันธุ์ BA.2.10.1 และ BA.2.75
ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์หลักคือ โควิดโอมิครอน BA.2

องค์การอนามัยโลกแถลงข่าวเมื่อวันที่ 29 มี.ค. ว่า ตรวจพบผู้ป่วยสายพันธุ์ XBB.1.1.16
แล้วกว่า 800 คน ใน 22 ประเทศ ส่วนใหญ่ในอินเดีย และแทนที่สายพันธุ์ที่กำลังระบาด
ในปัจจุบันอื่น ๆ ก่อนที่จะเพิ่มเป็นกว่า 3,000 คนทั่วโลก จนถึงกลางเดือน เม.ย.




โควิด XBB.1.16 มีคุณลักษณะคล้ายสายพันธุ์ XBB.1.5 แต่มีการกลายพันธุ์เพิ่มเติมที่หนามโปรตีน
ซึ่งผลการทดลองในห้องแลบพบว่า ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
 ทำและมีโอกาสทำให้เกิดอาการของโรคได้ง่ายขึ้น

ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งโตเกียวในญี่ปุ่นพบว่า โควิด XBB.1.16
 สามารถแพร่เชื้อได้มากกว่าสายพันธุ์ XBB.1 และ XBB.1.5 ราว 1.17-1.27 เท่า
พร้อมยอมรับว่า โควิดสายพันธุ์นี้มีศักยภาพที่จะแพร่กระจายไปทั่วโลกได้ในอนาคตอันใกล้

ไม่เพียงเท่านั้น ผลการทดสอบยังพบว่า โควิดสายพันธุ์นี้ “มีฤทธิ์ต้านทาน”
 แอนติบอดีโควิด-19 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ด้าน ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ม.มหิดล
ให้สัมภาษณ์รายการ เจาะลึกทั่วไทยอินไซด์ไทยแลนด์ วันที่ 17 เม.ย. ว่า โควิด XBB.1.16
ถือเป็นโควิดสายพันธุ์ที่น่ากังวลที่สุดในเวลานี้ จากศักยภาพ “หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด
 เกาะเซลล์ได้ดีที่สุด... และกลายพันธุ์ได้ง่าย” โดยมีศักยภาพการติดเชื้อง่ายมากกว่า
สายพันธุ์หลักในไทย คือ BN.1.3 ราว 200% และเหนือกว่า XBB.1.5
 (สายพันธุ์โอมิครอนหลักในไทย) ถึง 89%

“โลกกังวลที่สุด... เพราะโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 อาจมาแทนที่ทุกสายพันธุ์”
ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ กล่าว แต่ย้ำว่า แม้จะติดเชื้อได้เร็ว
แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเจ็บป่วยรุนแรงมากขึ้น

สิ่งที่น่าวิตกที่สุดของโควิดสายพันธุ์นี้ คือ “จะมีลูกหลานออกไปอีกหรือเปล่า”
เพราะอย่างกรณีในไทย พบผู้ป่วยสายพันธุ์ย่อยของโควิด XBB.1.16 แล้ว คือ ).1.16.1

“มันเป็นสายพันธุ์ที่เราต้องจับตา” ดร. มาเรีย แวน เคอร์คโฮฟ
 หัวหน้าฝ่ายเทคนิคขององค์การอนามัยโลกด้านโควิด แถลงข่าวเมื่อ 29 มี.ค.
“มันแพร่กระจายมาหลายเดือนแล้ว”
อย่างไรก็ดี องค์การอนามัยโลกระบุว่า ยังไม่พบการเปลี่ยนแปลงเรื่องความรุนแรง
ของอาการต่อบุคคลหรือประชากร จากอิทธิพลของโควิดสายพันธุ์นี้ “แต่เราจะเฝ้าจับตาต่อไป”

จาก 0.21% สู่ 7.2% ในสหรัฐฯ
หากตรวจสอบจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 คิดเป็นสัดส่วนจากผู้ป่วยโควิดทั้งหมด
 พบว่า ผู้ป่วยโควิด XBB.1.16 อยู่ที่แค่ 0.21% ของผู้ป่วยโควิดในสหรัฐฯ
 ในเดือน ก.พ. แต่ผ่านไปเพียงแค่เดือนเดียว สัดส่วนผู้ป่วยโควิด XBB.1.16
เพิ่มสูงหลายสิบเท่า เป็น 3.69% ของผู้ป่วยโควิดทั้งหมด

และตอนนี้ ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ หรือ ซีดีซี ระบุว่า
ช่วงวันที่ 9-15 เม.ย. สัดส่วนผู้ป่วยโควิด XBB.1.16 คิดเป็น 7.2% แล้วในสหรัฐฯ
ถือว่าแพร่กระจายอย่างรวดเร็วมาก เพราะสัปดาห์ก่อนหน้า
สัดส่วนยังอยู่ที่ 3.9% และแค่ 2.1% ในสัปดาห์ก่อนหน้านั้น

อย่างไรก็ดี ในสหรัฐฯ นั้น โควิด XBB.1.5 ยังเป็นสายพันธุ์หลัก อยู่ที่ 78%
แต่ทางการสหรัฐฯ จับตาโควิด XBB.1.16 อย่างใกล้ชิด
 เพราะขยับขึ้นมาเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดมากที่สุดลำดับ 2 ในเวลาอย่างรวดเร็ว

สิ่งที่คนอเมริกัน รวมถึงคนไทยเอง วิตกถึงโควิดสายพันธุ์นี้ คืออาการ “เยื่อบุตาอักเสบ”
ซึ่งเป็นอาการที่ไม่พบบ่อยนักในโควิดสายพันธุ์ต่าง ๆ โดย ดร.ตาเตียนา โปรเวลล์
ผศ. ด้านมะเร็งวิทยา คณะเวชศาสตร์ ม.จอห์น ฮอปกินส์ ทวิตข้อความว่า
“ถ้าลูกหลานมีอาการตาแดง คัน ให้พึงระวังว่า อาจเป็นอาการของโควิด XBB.1.16
 ถ้าเจอให้ไปตรวจอาการ เพราะนี่เป็นอาการที่ไม่พบบ่อยนักในโควิดสายพันธุ์ต่าง ๆ
 และอาจเข้าใจผิดได้ว่าเป็นอาการภูมิแพ้”





ผู้ป่วยโควิดในไทยช่วงสงกรานต์เพิ่มขึ้นสูง


ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า โควิด XBB.1.16 หลบหลีกภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ
และจากการฉีดวัคซีนได้ดี แต่ข้อมูลที่พบอาการทางคลินิกยังไม่ต่างจากสายพันธุ์อื่น
 แม้ติดเชื้อยังไม่มีใครล้มป่วยหนัก แม้แต่ที่ประเทศอินเดียที่มีการระบาดมาก
แต่คนไข้อาการหนักไม่ได้เพิ่มมาก

ด้าน รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี
รักษาการแทนรองคณบดีฝ่ายดูแลสุขภาพ ให้สัมภาษณ์กับไทยรัฐออนไลน์
ถึงหนังสือของโรงพยาบาลรามาธิบดีเกี่ยวกับมาตรการรองรับกรณีโรคโควิด-19
ระบุว่า ให้เตรียมการรักษาหลังพบสายพันธุ์ลูกผสม XBB เพิ่มขึ้น
 และอาจไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยแอนติบอดีสำเร็จรูป หรือ LAAB


ขอบคุณที่มา  BBC News ไทย

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: