-/> ฟ้าผ่า

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ฟ้าผ่า  (อ่าน 7006 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,141
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2557, 01:12:14 PM »

Permalink: ฟ้าผ่า




   ฟ้าผ่า


ฟ้าผ่า เกิดจากอะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร วิธีป้องกันฟ้าผ่า
ฟ้าผ่า (Thunder) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำในประเทศไทยและทั่วโลก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีฝนตกหรือพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าผ่านั้นสามารถสร้างความเสียหายต่างๆได้มากมาย เช่น ต้นไม้หักโค่น
 ระบบไฟฟ้าเสียหาย คนรือสัตว์เลี้ยงเสียชีวิต เป็นต้น
ฟ้าผ่าเกิดจากอะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร วันนี้เรามีเฉลยมาให้ทราบกันค่ะ

ฟ้าผ่าเกิดจากอะไร
ฟ้าผ่าเกิดจากการถ่ายเทของประจุไฟฟ้าในบรรยากาศ เมื่อมีลมพัดผ่านผิวพื้นดินหรืออาคาร จะทำให้ลมซึ่งประกอบด้วโมเลกุลของแก๊สชนิดต่าง ๆ
ได้รับอิเลคตรอนจากการขัดสี และพาอิเลคตรอนไปยังก้อนเมฆในอากาศ ทำให้บริเวณพื้นดินมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกขณะเดียวกัน
บริเวณด้านล่างของก้อนเมฆจะมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ แต่เนื่องจากก้อนเมฆซึ่งประกอบด้วยโมเกลุลของไอน้ำจึงเป็นตัวนำ ไฟฟ้าได้ดีกว่าอากาศ
 จึงทำให้อิเลคตรอนที่บริเวณด้านล่างของก้อนเมฆจะเหนี่ยวนำให้เกิดประจุไฟฟ้าบวกขึ้นที่ด้านบนของก้อนเมฆ จนในที่สุดทำให้บริเวณด้านบนของก้อนเมฆมีประจุไฟฟ้าบวกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และบริเวณด้านล่างของก้อนเมฆจะมีอิเลคตรอนเคลื่อนที่ไปรวมกันอยู่มากเมื่อนานขึ้นประจุลบจะเกิดมากขึ้น
 ประกอบกับที่ผิวโลกก็จะเกิดประจุไฟฟ้าบวกขึ้นทั้งนี้เพราะสูญเสียอิเลคตรอนไป จึงทำให้เกิดแรงดูดระหว่างประจุบวกที่ผิวโลกกับอิเลคตรอน
ที่ด้านล่างของก้อนเมฆ จึงทำให้อิเลคตรอนเคลื่อนที่จากด้านล่างของก้อนเมฆลงสู่พื้น และในการเคลื่อนที่ของอิเลคตรอนลงสู่พื้น
จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงจึงเกิดแรงผลักอากาศให้แยกออกจากกันอย่างรวดเร็วและเมื่อออากาศเคลื่อนที่มากระทบกันจะเกิดเสียงดังขึ้น
และมีประกายไฟเกิดขึ้นด้วย
หรืออาจจะกล่าวให้ง่ายขึ้นได้ว่า ฟ้าผ่าเกิดจากการปลดปล่อยประจุไฟฟ้าออกจากเมฆฝนฟ้าคะนอง หรือ เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus)
มีลักษณะเป็นก้อนขนาดใหญ่ บริเวณฐานเมฆจะสูงจากพื้นประมาณ 2 กิโลเมตร และส่วนยอดเมฆอาจสูงถึง 20 กิโลเมตร
โดยภายในก้อนเมฆจะมีการไหลเวียนของกระแสอากาศอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้หยดน้ำและก้อนน้ำแข็งในเมฆเสียดสีกันจนเกิดประจุไฟฟ้า
 โดยพบว่าประจุบวกมักจะอยู่บริเวณยอดเมฆ ส่วนประจุลบอยู่บริเวณฐานเมฆ ซึ่งประจุลบที่ฐานเมฆอาจจะเหนี่ยวนำให้พื้นผิวของโลก
ที่อยู่ใต้เงาของมันมีประจุเป็นบวกด้วย

ฟ้าผ่ามีกี่ประเภท
ฟ้าผ่าโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้
1. ฟ้าผ่าภายในก้อนเมฆ
2. ฟ้าผ่าจากเมฆก้อนหนึ่งไปยังเมฆอีกก้อนหนึ่ง
3. ฟ้าผ่าจากฐานเมฆลงสู่พื้น เรียกว่า ฟ้าผ่าแบบลบ
4. ฟ้าผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้น เรียกว่า ฟ้าผ่าแบบบวก

วิธีป้องกันตัวเองจากฟ้าผ่า
เมื่อเกิดฝนฟ้าคะนองจะเกิดฟ้าผ่าได้ง่าย ดังนั้นเมื่อเกิดฝนฟ้าคะนองเราควรป้องกันตัวเองจากฟ้าผ่าด้วย ซึ่งสามารุทำได้ดังนี้
- อย่าอยู่ในที่โล่ง โดยที่ตัวเราสูงกว่าสิ่งอื่นๆ ตัวเราจะกลายเป็นสื่อนำไฟฟ้าและฟ้าจะผ่าลงมาที่ตัวเราได้
- ถ้าอยู่ในที่มีต้นไม้ อย่าหลบใต้ต้นไม้ที่สูงที่สุด เพราะต้นไม้สูงมีโอกาสโดนฟ้าผ่ามากกว่าต้นไม้เตี้ย
- ถ้าอยู่ในที่โล่ง หาที่หลบไม่ได้ พยายามก้มตัวให้ต่ำที่สุด แล้วรีบเข้าหาที่กำบังให้เร็วที่สุด
- ถ้าบ้านไม่ไม่สายดินหรือระบบตัดไฟฟ้า ให้ยกสะพานไฟออกขณะเกิดฝนตกฟ้าคะนอง ไม่เช่นนั้นอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดอาจะเสียหายได้เมื่อเกิดฟ้าผ่า
- อย่าใช้โทรศัพท์ในขณะที่อยู่กลางแจ้งและมีฝน เนื่องจากโลหะในโทรศัพทืมือถือสามารถเหนี่ยวนำไฟฟ้า และสามารถทำให้ฟ้าผ่าลงมาที่ตัวเราได้
- อย่าพยายามอยู่ใกล้หรือสัมผัสโลหะ เนื่องจากโลหะสามารถเหนื่ยวนำไฟฟ้าได้

เนื่องจากฟ้าผ่ามีพลังงานสูงมาก ผู้โดนฟ้าผ่าส่วนมากจะเสียชีวิต ดังนั้นเมื่อเกิดฝนตกฟ้าคะนองเราควรอยู่ห่างจากสื่อไฟฟ้าให้มากที่สุด
และไม่ควรอยู่กลางแจ้ง สำหรับบ้านเรือนทั่วไป ควรติดตั้งสายดินแบบมาตรฐานและควรมีระบบตัดไฟด้วย เพราะถ้าเกิดฟ้าผ่าที่บ้าน
ไฟฟ้าพลังงานสูงที่เกิดจะวิ่งลงดินตามสายดิน ระบบตัดไฟฟ้าจะทำงานโดยอัตโนมัติ
ช่วยให้บ้านและอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ได้รับความเสียหายจากฟ้าผ่า


เกร็ดความรู้ .net


บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,141
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« ตอบ #1 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2566, 07:17:00 PM »

Permalink: Re: ฟ้าผ่า
5231
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: