-/> กระจับ

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: กระจับ  (อ่าน 2084 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,134
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 19 มิถุนายน 2561, 08:29:28 PM »

Permalink: กระจับ






19 มิถุนายน 2561 รายการ "สมุนไพรใกล้ตัว" วันนี้ขอนำเสนอวัชพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งอาจจะไม่ค่อยมักคุ้นกันดีนัก
 แต่สำหรับผมแล้ว ผมชอบทานมาก พืชสมุนไพรที่ผมกำลังกล่าวถึง คือ "กระจับ"
ต้นกระจับ วัชพืชทางน้ำ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของกระจับ ประโยชน์ของกระจับ
สรรพคุณของกระจับ เช่น เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปวดท้อง บำรุงผิว บำรุงกระดูก เป็นต้น โทษของกระจับ มีอะไรบ้าง
ทำความรู้จักกับ ต้นกะจับ อย่างละเอียด
ต้นกระจับ ชื่อสามัญ เรียก Water Chestnut กระจัม มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Trapa bicornis Osbeck
 ชื่อเรียกอื่นๆของกระจับ เช่น กะจับ มาแง่ง พายับ เขาควาย สำหรับต่างประเทศที่ปลูกต้นกระจับมาก เช่น จีน ไต้หวัน และ อินเดีย เป็นต้น

ประเภทของต้นกระจับ
สำหรับการแบ่งประเภทของต้นกระจับ สามารถแบ่งประเทของกระจับได้ 2 ประเภท คือ กระจับสองเขา
 และ กระจับสี่เขา รายละเอียด ดังนี้
1) ต้นกระจับสองเขา ได้แก่ กระจับเขาแหลม และ กระจับเขาทู่
2) ต้นกระจับสี่เขา ได้แก่ กระจ่อม ( Jesuit Nut ) และ กระจับ ( Tinghara Nut )

ต้นกระจับในประเทศไทย
กระจับ พบมากในจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นลักษณะของวัชพืชน้ำ ประเทศไทยไม่นิยมปลูกกระจับเพื่อประโยชน์ทางอาหาร
แต่พบว่ามีการนำกระจับมาปลูกเพื่อใช้เป็นไม้ประดับ สำหรับการปลูกต้นกระจับเพื่อรับประทานฝัก และ เพื่อจำหน่ายฝักกระจับ
พบว่ามีการปลูกมากในทุกภาค เช่น ภาคกลาง ( ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี อุทัยธานี ) ภาคใต้ นครศรีธรรมราช

คุณค่าทางโภชนากการของกระจับ
สำหรับคุณค่าทางอาหารของกระจับ นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของเนื้อฝักกระจับ ขนาด 100 กรัม
พบว่าให้พลังงาน 117 แคลอรี่ มีความชื้น 70% มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 4.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 23.9 กรัม
 ไขมัน 0.3 กรัม แคลเซียม 20 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 150 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.8 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม
และ ไนอาซีน 0.6 มิลลิกรัม

ต้นกระจับ
ต้นกระจับ นั้นเป็นพืชน้ำ เหมือนบัว ออกดอกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงมีนาคมของทุกปี ขยายพันธ์โดยการแตกหน่อ
สำหรับต้นประจับมีลักษณะ ดังนี้
1) ลำต้นของกระจับ ลำต้นอยู่ใต้ดิน ลำต้นส่วนหนึ่งจะโผล่บนผิวน้ำ ลำต้นมีช่องอากาศ เลื้อยยาวเป็นปล้องๆ
 รากเป็นสีน้ำตาล รากจะแตกออกบริเวณข้อปล้องของลำต้น สามารถหยั่งลึกลงได้
2) ใบของกระจับ มี 2 ชนิด คือ ใบใต้น้ำ และ ใบเหนือผิวน้ำ ใบเหนือผิวน้ำ รูปทรงข้าวหลามตัด ฐานใบกว้าง
ท้องใบ ก้านใบ และ เส้นใบ ใบเรียบ สีเขียวเข้ม เป็นมัน ส่วนใบใต้น้ำ ลักษณะคล้ายราก มีสีเขียว
 ลำใบเป็นฝอย เรียวยาว จะแตกออกบริเวณข้อของลำต้น
3) ดอกของกระจับ ดอกจะแทงออกบริเวณซอกใบเหนือน้ำออก ดอกเป็นดอกเดี่ยว มีขนาดเล็ก กลีบดอกมีสีขาว
4) ฝักของกระจับ มีลักษณะคล้ายหน้าควาย มีเขา 2 ข้าง เปลือกฝักแข็ง สีดำ เนื้อฝักมีสีขาว

ประโยชน์ของกระจับ
สำหรับประโยชน์ของกระจับมีมากมาย ซึ่งส่วนมากและการใช้ประโยชน์จากกระจับจะนิยมนำฝักกระจับ
มารับประทานเนื้อของฝักกระจับ สามารถนำเอามาทำอาหารหวานและอาหารคาวได้มากมาย
ส่วนฝักกระจับก็สามารถนำมาทำเชื้อเพลิงได้ ส่วนต้นกระจับหลายคนนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เหมือนบัว
ต้นกระจับนั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้ นำมาทำยาแก้ปวดท้อง
นอกจากนั้น ต้นกระจับที่เหลือจากการนำมาใช้ประโชยน์นั้นนิยมนำมาทำปุ๋ยหมัก ซึ่งสามารถวับน้ำได้ดี เหมาะแก่การปลูกพืช

สรรพคุณของกระจับ

การใช้ประโยชน์จากกระจับด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกายนั้น นิยมใช้ประโยชน์จาก ลำต้นหรือเง้า
ใบกระจับ เนื้อฝักกระจับ และ เหลือกฝักกระจับ โดยสรรพคุณของกระจับ มีดังนี้
1) ลำต้นและเหง้าของกระจับ สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง และ บำรุงครรภ์
2) ใบของกระจับ สรรพคุณช่วยถอนพิษต่างๆได้
เนื้อฝักกระจับ สรรพคุณเป็นยาชูกำลัง ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ บำรุงกระดูก ช่วยเสริมสร้างการสร้างกระดูก
3) เปลือกฝักกระจับ สรรพคุณแก้อาการปวดท้อง แก้ท้องเสีย

โทษของกระจับ
สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระจับนั้น มีประโยชน์ แต่ก็มีโทษและข้อควรระวังอยู่บ้าง โดยรายละเอียด ดังนี้
1) ผลแก่ของกระจับ มีลักษณะแหลม และ มักจะอยู่ตามโคลนตม ซึ่งมองไม่เห็น
หากไม่ใส่เครื่องป้องกันเท้าอาจเหยียบกระจับจนได้รับบาดเจ็บได้ หากเกิดการติดเชื้อโรคอาจเป็นเรื่องใหญ่มากกว่านี้อีกมาก
2) ต้นกระจับ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในน้ำโดยเฉพาะช่วงฤดูฝน ซึ่งหากปล่อยให้ต้นกระจับแพร่กระจายมากเกินไป
 อาจทำให้เกิดเป็นวัชพืชปกคลุมผิวน้ำ ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศได้
3) ต้นกระจับหากปล่อยให้เจริญเติบโตโดยไม่ควบคุมปริมาณจะส่งผลต่อการจราจรทางน้ำได้
_____________________

ที่มา: 1.เนื้อหา www.beezab.com
2. ภาพค้นหาจาก Internet.




ขอบคุณที่มา  อาจารย์ ดร.สุชาติ ใจภักดี

บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: