#คืนรถที่เช่าซื้อแต่ยังถูกฟ้องให้ชำระค่าขายรถขาดราคาต้องทำอย่างไร
ปัจจุบันการให้เช่าซื้อรถเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถผ่อนจ่ายราคาค่ารถได้โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายค่ารถในครั้งเดียว บางคนก็สามารถผ่อนจ่ายได้จนครบสัญญาได้โอนชื่อในทะเบียนรถเป็นชื่อตัวเอง แต่มีจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถผ่อนได้ตามสัญญา แล้วตัดสินใจคืนรถเพื่อยุติปัญญา แต่เมื่อคืนรถแล้วปัญญาหาดันไม่จบ กับถูกไฟแนนซ์ฟ้องเป็นคดีต่อศาล เรียกให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าขายรถขาดราคา
โดยทั่วไปแล้วหากผู้เช่าซื้อค้างค่างวดครบ 3 งวด ไฟแนนซ์จะส่งหนังสือทวงถามและบอกเลิกสัญญา ให้ผู้เช่าซื้อหรือผู้ค้ำประกันชำระค่างวดที่ค้างภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ( หนังสือจะถูกส่งไปยังที่อยู่ผู้เช่าซื้อหรือผู้คำที่ระบุไว้ในสัญญา ถ้าเปลี่ยนที่อยู่ผู้เช่าซื้อหรือผู้ค้ำต้องแจ้งให้ทางไฟแนนซ์ทราบ ) หากผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว ไม่ชำระค่างวดรถพร้องด้วยค่าปรับให้สถานะ การผ่อนชำระเป็นปกติไม่ค้างค่างวด ไฟแนนซ์ก็มีสิทธิ์ยึดรถ หากคืนรถภายในระยะเวลาดังกล่าวผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าขายรถขาดราคาตามที่ไฟแนนซ์ฟ้องเรียกร้องมา
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว เมื่อไฟแนนซ์เป็นโจทก์ฟ้องคดีเรียกให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันรับผิดชำระค่าขายรถขาดราคา ผู้เช่าซื้อก็มักจะต่อสู้คดีอย่างไม่เต็มที่ และในคดีประเภทนี้ผู้เช่าซื้อมักจะขาดนัดพิจารณา (คือไม่ไปศาล) หรือไปศาลแต่ไม่ยืนคำให้การสู้คดี ( หนังสือที่แสดงเหตุในการแก้ข้อกล่าวหา ) เปิดโอกาสให้โจทก์นำสืบไปฝ่ายเดียว ผลที่สุดโจทก์ก็จะชนะคดีอย่างลอยลำ ซึ่งศาลยุติธรรมจะพิพากษาให้โจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องเกือบเต็มจำนวน และมักจะลังเลใจในการตัดสินใจใช้ดุลพินิจลดค่าเสียหายลง ทั้งนี้ เพราะการใช้ดุลพินิจของศาลในการลดค่าเสียหายย่อมต้องขึ้นอยู่กับข้อมูลรวมทั้งเหตุและผล ไม่ใช่ว่านึกจะตัดให้น้อยลงเพียงใดก็ทำได้
ดังนั้น เมื่อถูกฟ้องคดี (ได้รับหมายศาลแจ้งให้ไปศาลตามวันเวลานัด ) ผู้เช่าซื้อควรรีบปรึกษาทนายก่อนว่าคดีที่ตนถูกฟ้องสามารถแก้ต่างคดีอย่างไรได้บ้าง เพื่อรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของผู้เช่าซื้อเอง
#ฝากกดไลค์กดแชร์เพจให้ด้วยนะครับ
ปรึกษากฎหมายฟรี
ร่างสัญญา ตรวจสอบสัญญา
ว่าความแก้ต่างคดี
ทนายธาน
Line : panithansa
Email.panithan.sa@gmail.com