วีซ่า คืออะไร ต่างกับ หนังสือเดินทาง อย่างไร ?
เวลาเราจะเดินทางออกต่างประเทศ โดยขึ้นเครื่องบิน หลาย ๆ คนนั้นจะต้องทำความเข้าใจเรื่องของ "วีซ่าและหนังสือเดินทาง" กันก่อน ว่ามันแตกต่างกัน แตกต่างอย่างไร ?
หลายคนยังคงสับสนระหว่างคำว่า พาสปอร์ตและวีซ่า ซึ่งอาจจะเข้าใจตาม ๆ กันไปว่า
"มันคืออันเดียวกัน"
และรวมไปถึงความเข้าใจผิดเรื่องของพาสปอร์ตในการทำงานต่างประเทศ , พาสปอร์ตการท่องเที่ยว และพาสปอร์ตของแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทย
ซึ่งก่อนอื่นขออธิบายเรื่องของหนังสือเดินทางหรือที่เราเรียกกันว่า passport กันก่อน
#passport (พาสปอร์ต) หรือหนังสือเดินทาง นั้น
เป็นหนังสือที่จะออกให้กับประชาชน และเจ้าหน้าที่รัฐสำหรับการเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งปกติแล้วประชาชนทั่ว ๆ ไปจะทำได้แค่หนังสือเดินทางธรรมดา ๆ ซึ่งก็คือ หน้าปกสีแดงเลือดหมู
โดยเราสามารถใช้งานได้หลาย ๆ อย่างด้วยกัน ตั้งแต่เรื่องท่องเที่ยว , ไปหาญาติ , ไปทำธุรกิจต่าง ๆ หรือไปเรียนหนังสือในต่างประเทศ (กรณีไปเรียนต่างประเทศจะต้องขอวีซ่าเฉพาะด้วย)
สำหรับหนังสือเดินทางนั้น ชาวต่างชาติ หรือคนต่างด้าวก็จะต้องทำ passport ด้วยเช่นกัน ก่อนจะเข้าประเทศไทย
แต่ไม่สามารถใช้ทำงานในประเทศไหน ๆ ได้เลย รวมถึงประเทศไทยด้วย เพราะมันผิดกฏหมาย และหากพาสปอร์ตนั้นใกล้หมดอายุ หรือว่าเหลือไม่ถึง 6 เดือน ก็จะไม่สามารถใช้เดินทางไปไหนต่อไหนได้แล้วเช่นกัน
#visa (วีซ่า)
หมายถึง หลักฐานในการอนุญาตเข้าประเทศที่ทำเป็นรอยตราประทับ หรือที่เป็นแผ่นกระดาษสติ๊กเกอร์ติดอยู่ในหนังสือเดินทาง passport
สำหรับหลักการนั้นก็โดยหลักการเดียวกัน คือ ทั่วโลกนั้นได้ถือปฏิบัติว่า แม้ว่าการเดินทางระหว่างประเทศนั้นจำเป็นที่จะต้องขอวีซ่า สำหรับการเดินทางเข้าประเทศนั้น ๆ เสียก่อนก็ตาม
แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับบางประเทศซึ่งได้ทำความตกลงไม่ต้องขอวีซ่าระหว่างกันก็ได้ หรือบางประเทศนั้นอาจจะยกเว้น โดยจะอนุญาตให้คนสัญชาติใดเดินทางเข้าไปได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าเลยก็ได้
#พาสปอร์ตแรงงานต่างด้าว นั้น
เป็นเอกสารที่แสดงตัวตนสำหรับชาวต่างชาติหรือแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งเป็นเอกสารเช่นเดียวกันกับบัตรประชาชน โดยจุดประสงค์ของมัน คือ เพื่อมาทำงานในไทย ตามที่ประเทศต้นทางนั้นได้ทำข้อตกลงร่วมกับประเทศไทยไว้แล้ว
ส่วนประโยชน์ของมันคือเพื่อใช้เป็นเอกสารในการแสดงตนกับเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของรัฐ ซึ่งเจ้าหน้าที่นั้น ๆ จะขอทำการตรวจสอบ และที่สำคัญนั้น จัดเป็นเอกสารสำหรับใช้ทำสัญญาจ้างงานกับนายจ้างที่อยู่ในเมืองไทย ซึ่งนอกจากนี้แล้วยังจะต้องขอวีซ่าสำหรับทำงาน และจะต้องต่อทุก ๆ 90 วัน ด้วย
สำหรับหนังสือเดินทาง ปัจจุบันนั้นประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภท คือ
1. หนังสือเดินทางธรรมดา (หน้าปกสีแดงเลือดหมู) ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี
2. หนังสือเดินทางราชการ (หน้าปกสีน้ำเงินเข้ม) หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว
3. หนังสือเดินทางทูต (หน้าปกสีแดงสด)
4. หนังสือเดินทางชั่วคราว (หน้าปกสีเขียว)
สำหรับวีซ่านั้นจะมีด้วยกันหลัก ๆ 6 ประเภท คือ
1. ประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร
2. ประเภทนักท่องเที่ยว 3. ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
4. ประเภททูต
5. ประเภทราชการ
6. ประเภทอัธยาศัยไมตรี
ถ้าอธิบายแบบง่าย ๆ แล้ว ก็คือ
passport นั้น ก็เสมือนบัตรประชาชนสำหรับใช้งานทั่วโลก
ส่วนวีซ่านั้น ก็เป็นบัตรผ่านทางใน การเข้าประเทศ เวลาที่เรานั้นจะไปเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวนั่นล่ะครับ
ซึ่งในบางที่นั้นจะเก็บค่าเข้า เช็คกระเป๋า และตรวจเครื่องแต่งกายก่อนเข้า ในกรณีนี้ก็คือ ต้องขอวีซ่า
บางที่นั้นก็ไม่มี เราสามารถเดินเข้าได้สบาย ๆ แบบไม่ต้องขอ
ซึ่งในแต่ละประเทศนั้นจะระบุเวลา บางประเทศเข้าได้ 15 วันไม่ต้องขอ บางประเทศ 30 วันอะไรทำนองนี้
แล้ววีซ่านั้นก็จะมีระบุเวลาเอาไว้ ว่าขอไปแล้วใช้ได้กี่ครั้งกี่วัน
ก็อธิบายมาพอสังเขปแล้ว ก็คงจะเข้าใจถึง เรื่องของวีซ่า และpassport กันมากขึ้น จะได้ไม่สับสนว่ามันคืออันเดียวกันนะครับ
สำหรับการเที่ยวต่างประเทศนั้น ขอพูดถึงเรื่องของ การขอวีซ่ากันนิดนึง สำหรับผู้ที่ไม่รู้ว่าจะต้องขอวีซ่าอย่างไรและทำอย่างไร ซึ่งมือใหม่เที่ยวต่างประเทศครั้งแรก หลาย ๆ คนนั้น มักจะเจอกับปัญหาเรื่องการขอวีซ่าที่ไม่รู้จะต้องทำยังไง ?
การเดินทางไปต่างประเทศนั้นโดยปกติแล้วเราจำเป็นจะต้องมีเอกสารสำหรับการเดินทางให้พร้อมซึ่งนั่นก็คือ
1. หนังสือเดินทาง
2. วีซ่า (Visa) เข้าประเทศนั้น ๆ ในหนังสือเดินทาง
3. ตั๋วเครื่องบิน
4. เงินสำหรับใช้จ่าย ซึ่งมีการแปลงเป็นสกุลเงินท้องถิ่น หรือสุกุลเงินของประเทศนั้น ๆ เรียบร้อยพร้อมใช้แล้ว
วีซ่านั้น คือ เป็นหลักการเดียวของการใช้งานนานาประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นเสมือนกับบัตรผ่านทางการเข้าเมือง หรือเรียกว่าบุคคลที่จะเข้าประเทศ จากประเทศนึงไปอีกประเทศนึงนั้นจำเป็นจำต้องขอวีซ่าเพื่อเข้าประเทศ จากสถานฑูตของประเทศที่จะเดินทางกันเสียก่อน
ซึ่งปลายทางของแต่ละประเทศนั้น ๆ เขาก็จะมีเงื่อนไข และเอกสารหลักฐานประกอบการขอวีซ่าที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเมื่อท่านได้รับการอนุญาตก็จะได้รับประทับตราวีซ่า หรือติดเป็นสติ๊กเกอร์ให้ในหนังสือเดินทาง
ดังนั้น วีซ่า ก็คือ หลักฐานการอนุญาตของบุคคลประเทศอื่นให้สามารถเข้ามายังประเทศได้ ซึ่งก็จะทำเป็นรอยประทับตรา หรือเป็นสติ๊กเกอร์ติดเอาไว้ในหนังสือเดินทาง
ข้อยกเว้นของบางประเทศ
ถึงแม้ว่าจะบอกว่า การเดินทางออกนอกประเทศนั้นจะต้องขอวีซ่า แต่ในบางประเทศนั้นก็ไม่จำเป็นที่จะต้องขอวีซ่าในการเข้าประเทศ หรือมีกรณียกเว้นเอาไว้ ซึ่งในบางประเทศนั้นได้ทำการตกลงโดยไม่ต้องขอวีซ่าระหว่างกันได้ หรืออาจจะมีกรณียกเว้นไว้ สามารถอนุญาตให้กับคนบางสัญชาติเท่านั้นเดินทางเข้าไปในประเทศได้โดยไม่ต้อง ขอวีซ่าเลยก็ได้ อย่างเช่น ประเทศไทย เรานั้นก็ยกเว้นให้แก่ผู้ที่มีสัญชาติประเทศที่มีความเจริญ รวมถึงมี ฐานะค่อนข้างดี ที่เข้ามาเพื่อท่องเที่ยวในประเทศ ในระยะเวลาสั้น ๆ คือ 1 เดือน หรือ 30 วัน เท่านั้น
ประเทศไหนที่คนไทยไม่ต้องขอวีซ่า ประเทศนั้นก็ไม่ต้องขอวีซ่าเช่นกัน
ซึ่งหลายประเทศที่รัฐบาลไทยไปทำข้อตกลงเอาไว้สำหรับการเดินทางได้สะดวกและมีหลายประเทศที่เขาอำนวยความสะดวกให้แก่คนไทยเป็นพิเศษ ซึ่งจะมีอยู่ 22 ประเทศ ด้วยกัน ที่คนไทยสามารถเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า แต่จะมีกำหนดระยะเวลาในการพักเช่นกัน ดังนี้
ระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน ได้แก่
• อาร์เจนตินา (Argentina)
• บราซิล (Brazil)
• ชิลี (Chile)
• เกาหลีใต้ (South Korea)
• เปรู (Peru)
• เอกวาดอร์ (Ecuador)
ระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน
• ฮ่องกง (Hong Kong)
• อินโดนีเซีย (Indonesia)
• ลาว (Laos)
• มาเก๊า (Macau)
• มองโกเลีย (Mongolia)
• มาเลเซีย (Malaysia)
• มัลดีฟส์ (Maldives)
• รัสเซีย (Russia)
• แอฟริกาใต้ (South Africa)
• เวียดนาม (Vietnam)
• เซเชลส์ (Republic of Seychelles)
ระยะเวลาไม่เกิน 21 วัน
•ฟิลิปปินส์ (Philippines)
ระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน
• บาห์เรน (Bahrain)
ระยะเวลาไม่เกิน 14 วัน
• บรูไน (Brunei)
• สิงคโปร์ (Singapore)
• กัมพูชา (Cambodian)
การท่องเที่ยวในโซนยุโรปเราได้รับการยกเว้นซึ่งเป็นการตกลงและหว่างประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ในยุโรป เพื่อให้เรานั้นสามารถเดินทางสะดวก และเดินทางเข้าออกประเทศระหว่างกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยประเทศที่ได้มีการทำข้อตกลงเอาไว้ โดยไม่ต้องขอวีซ่า ทั้งหมด 26 ประเทศด้วยกัน ดังนี้
• ออสเตรีย (Austria)
• เบลเยียม (Belgium)
• เดนมาร์ก (Denmark)
• ฟินแลนด์ (Finland)
• ฝรั่งเศส (France)
• เยอรมนี (Germany)
• ไอซ์แลนด์ (Iceland)
• อิตาลี (Italy)
• กรีซ (Greece)
• ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg)
• เนเธอร์แลนด์ (The Netherlands)
• นอร์เวย์ (Norway)
• โปรตุเกส (Portugal)
• สเปน (Spain)
• สวีเดน (Sweden)
• เอสโตเนีย (Estonia)
• ลัตเวีย (Latvia)
• ลิทัวเนีย (Lithuania)
• ฮังการี (Hungary)
• มอลตา (Malta)
• โปแลนด์ (Poland)
• สโลวีเนีย (Slovenia)
• สโลวาเกีย (Slovakia)
• สาธารณะรัฐเช็ก (Czech Republic)
• สวิสเซอร์แลนด์ (Switzerland)
• โมนาโก (Monaco)
แต่ไม่ได้หมายความว่า เที่ยวในโซนยุโรปนั้นจะไม่ต้องขอวีซ่าเลย เพราะเรียกว่ายกเว้น แต่ก็มีการทำวีซ่าแบบพิเศษขึ้นมาที่เรียกว่า
"Schengen Visa"
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวจากประเทศต่าง ๆ ให้เดินทางเข้ายุโรป ซึ่งคนไทยนั้นก็มีสิทธิ์ที่จะขอวีซ่าชนิดนี้ โดยไม่ต้องขอวีซ่าประเทศอื่น ๆ อีก และอยู่ที่ประเทศนั้น ๆ ได้ไม่เกิน 3 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน
สำหรับการยื่นขอวีซ่านั้นเราจะต้องไปยื่นขอที่ สถานฑูตของประเทศที่เราจะไปพำนักอยู่นานที่สุด หรือหากตัดสินใจยังไม่ได้ ไม่สามารถระบุแบบชัดเจนได้ ก็สามารถไปขอ ที่สถานฑูตของประเทศแรกที่จะเดินทางเข้าไป สำหรับท่านใดที่อาจจะเคยเจอโฆษณา ชวนเชื่อ อย่างเช่น เชิญชวนว่าสามารถยื่นขอวีซ่า ให้ผู้ที่ต้องการเดินทางไปต่างประเทศ ได้ทุกรณี ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องหลอกลวง และก็ เป็นเรื่องผิดกฎหมาย ดังนั้นจะต้องระมัดระวังควรยื่นเอกสารและคำร้องด้วยตัวเองจะดีที่สุด และควรทำความเข้าใจศึกษาเรื่องของการยื่นขอวีซ่า ของแต่ละสถานฑูตด้วยตัวเอง ให้เข้าใจกันเสียก่อน
สุดท้ายเชื่อว่าหลาย ๆ ท่านคงจะเข้าใจเรื่องของ หนังสือเดินทาง passport กับวีซ่า visa กันมากยิ่งขึ้นว่ามันแตกต่างกันอย่างไร และมันมี step ขั้นตอนที่แตกต่างกันออกไป
ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้ในการเดินทางออกนอกประเทศ หรือเดินทางไปต่างประเทศ ไม่ใช่จะออกนอกประเทศแล้วอยู่ ๆ จะไปได้เลย จะต้องมีหลาย ๆ อย่างที่พร้อมจะทำให้เรานั้นสามารถเดินทางออกต่างประเทศ หรือออกนอกประเทศกันได้เสียก่อน
ขอบคุณภาพจาก : hotcourses.in.th
http://www.horizonexpedition.com/