-/> สาระสำคัญของประมวลกฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่ล่าสุด ปี 2558

You are here: Khonphutorn.com - แหล่งข้อมูลของคนไทยหมวดอาชีพรู้กฎหมาย คลายปัญหา (ผู้ดูแล: พรหมพิพัฒน์)สาระสำคัญของประมวลกฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่ล่าสุด ปี 2558
หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: สาระสำคัญของประมวลกฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่ล่าสุด ปี 2558  (อ่าน 2474 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ดูแลเรื่องกฏหมายของเว็บ
คะแนนน้ำใจ 1010
กระทู้: 130
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« เมื่อ: 08 ธันวาคม 2558, 09:15:54 PM »

Permalink: สาระสำคัญของประมวลกฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่ล่าสุด ปี 2558

สาระสำคัญของประมวลกฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่ล่าสุด ปี 2558

โดย พ.ต.ต.สันติ ผิวทองคำฝ่ายกฏหมายสอบสวน ๔๘

- เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ผ่านร่างกฎหมาย พรบ.แก้ไข ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2558
จำนวน 2 ฉบับ คือฉบับที่ 22 และ 23

- ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558
มีผลใช้บังคับทั่วราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558

สาระของ ปอ.ที่แก้ไขใหม่ มีข้อแตกต่างจาก ปอ.เดิม อย่างไร หลักกฎหมายเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ และ ที่สำคัญ
 และมีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าพนักงานตำรวจอย่างไร ผู้เขียนจะวิเคราะห์แยกแยะแจกแจง
 ปอ.ที่แก้ไขเพิ่มเติมทั้ง 2 ฉบับ ดังต่อไปนี้

ฉบับที่ 1 (ฉบับที่ 22 ) มีการแก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
1.เพิ่มเติมนิยามคำว่า “เจ้าพนักงาน” ให้กว้างมากขึ้น
มาตรา 1 ( 16 ) คำว่า “เจ้าพนักงาน” ที่จะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ในหมวด ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง
มีความหมายครอบคลุมกว้างขึ้นมากกว่าเดิม
เพราะ เดิม คำว่าเจ้าพนักงานไม่มีบทนิยามไว้โดยเฉพาะ แต่ศาลฎีกา ได้ตีความวางหลักไว้ว่า หมายถึง ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง + มีอำนาจ+หน้าที่
ตามกฎหมาย + ต้องได้รับเงินเดือนจากหมวดงบประมาณเงินเดือนของแผ่นดิน

 ดังนั้น ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายแต่ไม่ได้รับเงินเดือนจากหมวดงบประมาณแผ่นดินจึงไม่ต้องรับผิดตาม
หมวด ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง

แต่ปัจจุบัน ไม่ว่าบุคคลใดหากได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ
 ย่อมถือเป็นเจ้าพนักงานทั้งสิ้น ไม่ว่าจะได้รับค่าตอบแทนจากหมวดงบประมาณแผ่นดินหรือไม่ หรือไม่ได้รับค่าตอบแทนเลยก็ตาม

** ประเด็นนี้ไม่มีผลต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมากนักเพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจถือเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้ว**
-2-
2.เพิ่มเติมอัตราโทษ ของความผิด ลหุโทษ
มาตรา 102 นิยามคำว่า ความผิดลหุโทษ
เดิม หมายถึง ความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ปัจจุบัน หมายถึง ความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท

3.เพิ่มหมวดความผิดเกี่ยวกับศพ ต่อจาก ความผิดฐานบุกรุก เป็นลักษณะที่ 13
3.1. มาตรา 366/1 ความผิดฐาน กระทำชำเราศพ (ไม่ข่มขืนเพราะศพไม่ขัดขืน)
เดิม ศพ ไม่มีสภาพบุคคล จึงไม่เป็น “ผู้อื่น” ตาม ปอ. ม. 276 หรือ 277
ดังนั้น ผู้ที่กระทำชำเราศพ จึงไม่มีความผิดเกี่ยวกับเพศ เพราะขาดองค์ประกอบความผิด
คงมีความผิดเพียง ทำให้เสียทรัพย์ หรือ ก่อความเดือดร้อนรำคาญ ฯลฯ
ปัจจุบัน มีความผิดแล้ว ดังนั้น หากมีการ ชำเราศพ (ไม่ว่าจะใช้อวัยวะเพศ กับ อวัยวะเพศ * ทวาร * ปาก ของศพ
หรือ ใช้สิ่งอื่นใดกับ อวัยวะเพศ* ทวาร ของศพ) ก็ถือว่าเป็นการ ชำเราศพ ทั้งสิ้น
** ประเด็นนี้มีผลต่อ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ฝ่าย สืบสวน ปราบปราม จราจร และ สอบสวน ในประเด็นหากมีการ
 แจ้งความ ร้องทุกข์ หรือแจ้งให้จับกุม ผู้ที่ชำเราศพ ต้องจับกุมดำเนินคดีทันทีเพราะมีความผิดตาม
ปอ.โดยตรงเฉกเช่นความผิด ข่มขืนผู้อื่น**


3.2. มาตรา 366/2 ความผิดฐาน อนาจารศพ
เดิม ศพ ไม่มีสภาพบุคคล จึงไม่เป็น “ผู้อื่น” ตาม ปอ. ม. 278 หรือ 279
ดังนั้น ผู้ที่อนาจารศพ จึงไม่มีความผิดเกี่ยวกับเพศ เพราะขาดองค์ประกอบความผิด
คงมีความผิดเพียง ทำให้เสียทรัพย์ หรือ ก่อความเดือดร้อนรำคาญ ฯลฯ
ปัจจุบัน มีความผิดแล้ว ดังนั้น หากมีการอนาจารศพ (การอนาจารคือ การ กอด จูบ ลูบ คลำ
 หรือกระทำการอย่างอื่นใดต่อศพที่เป็นการไม่สมควรทางเพศ ) ก็ถือว่าเป็นการอนาจารศพ ทั้งสิ้น

-3-
** ประเด็นนี้มีผลต่อ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ฝ่าย สืบสวน ปราบปราม จราจร และ สอบสวน ในประเด็นหากมีการ
 แจ้งความ ร้องทุกข์ หรือแจ้งให้จับกุม ผู้ที่อนาจารศพ ต้องจับกุมดำเนินคดีทันทีเพราะมีความผิดตาม
ปอ.โดยตรงเฉกเช่นความผิด อนาจารผู้อื่น **

3.3. มาตรา 336/3 ความผิดฐาน ทำให้ศพเสียหาย หรือ เคลื่อนย้ายศพโดยไม่มีเหตุ
เดิม การทำให้ศพเสียหาย มีปัญหาไม่ชัดเจนว่าจะผิดฐานทำให้เสียทรัพย์หรือไม่
และ การเคลื่อนย้ายศพโดยไม่มีเจตนาซ่อนเร้นปิดบังการตาย ไม่มีความผิด
ปัจจุบัน หากมีการทำให้ศพเสียหาย หรือ เคลื่อนย้ายศพโดยไม่มีเหตุ ย่อมเป็นความผิด
ตาม มาตรานี้ หรือ เรียกว่า ความผิดฐาน ทำให้ศพเสียหาย หรือ เคลื่อนย้ายศพโดยไม่มีอันสมควร

** ประเด็นนี้มีผลต่อ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ฝ่าย สืบสวน ปราบปราม จราจร และ สอบสวน
ในประเด็นหากมีการ แจ้งความ ร้องทุกข์ หรือแจ้งให้จับกุม ผู้ที่ทำให้ศพเสียหาย หรือ เคลื่อนย้ายศพโดยไม่มีเหตุ
ต้องจับกุมดำเนินคดีทันทีเพราะมีความผิดตาม ปอ.โดยตรงเฉกเช่นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และบุกรุก **


3.4.มาตรา 336/4 ความผิดฐานดูหมิ่นศพ
เดิม ไม่มีความผิดฐานดูหมิ่นศพ มีเพียงความผิดฐาน หมิ่นประมาทศพ ตาม ปอ.ม. 327
ปัจจุบัน มีความผิดฐาน ดูหมิ่นศพ (การดูหมิ่นคือ การด่า หรือกล่าวคำหยาบคายหรือด่าทอหรือเหยียดหยามผู้อื่น )
ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกถึง 3 เดือน “เกิน” อำนาจการเปรียบเทียบปรับของพนักงานสอบสวน แต่การดูหมิ่นบุคคลทั่วไป
 ตาม ม. 393 ยังอยู่ในอำนาจเปรียบเทียบปรับของ พงส. เช่นเดิม

** ประเด็นนี้มีผลต่อ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ฝ่าย สืบสวน ปราบปราม จราจร และ สอบสวน ในประเด็นหากมีการ
แจ้งความ ร้องทุกข์ หรือแจ้งให้จับกุม ผู้ที่ดูหมิ่นหรือด่าทอศพ ต้องจับกุมดำเนินคดีทันทีเพราะมีความผิดตาม
ปอ.โดยตรงเฉกเช่นความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า **


-4-
3.5.การแก้ไข อัตราโทษปรับในความผิดลหุโทษ ที่สำคัญคือ
1.มาตรา 367 ฐานไม่ยอมบอกชื่อหรือที่อยู่ตามคำถามเจ้าหน้าที่ฯ เดิมปรับ 100 บาท * ใหม่ปรับ ไม่เกิน 10,000 บาท
2.มาตรา 371 ฐานพาอาวุธไปในเมืองหมู่บ้าน
เดิมปรับ 100 บาท * ใหม่ปรับ ไม่เกิน 1,000 บาท
3.มาตรา 372 ฐานทะเลาะกันเสียงดังในทางฯ
เดิมปรับ 500 บาท * ใหม่ปรับ ไม่เกิน 5,000 บาท
4.มาตรา 374 ฐานไม่ช่วยคนใกล้ตายทั้งที่ช่วยได้ฯ
เดิมปรับ 1,000 บาท * ใหม่ปรับ ไม่เกิน 10,000 บาท
5.มาตรา 378 ฐานเมาสุราแล้วโวยวาย
เดิมปรับ 1,000 บาท * ใหม่ปรับ ไม่เกิน 10,000 บาท
6.มาตรา 390 ฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บแก่กายฯ
เดิมปรับ 1,000 บาท * ใหม่ปรับ ไม่เกิน 10,000 บาท
7. มาตรา 391 ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บฯ
เดิมปรับ 1,000 บาท * ใหม่ปรับ ไม่เกิน 10,000 บาท
3.6.มาตรา 397 การข่มเหงรังแกผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนรำคาญ
เดิม ต้องเป็นการข่มเหงรังแกผู้อื่นต่อหน้าธารกำนัล หรือที่สาธารณะ
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ปัจจุบัน เพียงแค่ข่มเหง รังแก ผู้อื่น ไม่ว่าที่ใดก็ผิด มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ข่มเหง รังแก ผู้อื่น หรือ คุกคาม ส่อไปทางเพศ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท จำคุกไม่เกิน 1 เดือน
ผู้กระทำผิดเป็น ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง หรือ ผู้มีอำนาจบังคับบัญชา ทำการข่มเหง รังแก คุกคาม
ผู้ใต้บังคับบัญชา มีโทษ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน

-5-
** ประเด็นนี้มีผลต่อ เจ้าหน้าที่ตำรวจโดยเฉพาะพนักงานสอบสวน ที่จะต้องนำเอาอัตราโทษใหม่
โดยเฉพาะโทษปรับที่มีอัตราสูงขึ้นกว่าเดิมมาบังคับใช้กับผู้ต้องหาให้เกิดความเกรงกลัวต่อกฎหมายความผิด
เล็กๆน้อยๆ อย่างความผิดลหุโทษ **


*** ประเด็นสำคัญ ดูหมิ่นศพ ปรับไม่ได้ ต้องฟ้องศาล แต่ดูหมิ่นคนเป็นๆ ปรับได้ *****

ฉบับที่ 2 ( ฉบับที่ 23 ) มีการแก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
1.แก้ไขอัตราโทษ “ปรับ” กรณี ชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ไม่ว่าเด็กจะยอมหรือไม่ก็ตามให้สูงขึ้น
มาตรา 277 วรรคหนึ่ง กรณี ชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าเด็กจะยอมหรือไม่ เดิม ปรับตั้งแต่ 8,000 ถึง 80,000 บาท
แต่ปัจจุบัน ปรับตั้งแต่ 80,000 ถึง 800,000 บาท
มาตรา 277 วรรคสอง กรณี ชำเราเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี ไม่ว่าเด็กจะยอมหรือไม่ เดิม ปรับตั้งแต่ 14,000 ถึง 40,000 บาท
แต่ปัจจุบัน ปรับตั้งแต่ 140,000 ถึง 400,000 บาท
** ประเด็นนี้ไม่มีผลต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมากนักเพราะเป็นการลงโทษจำเลยในชั้นศาล **

2.แก้ไข ข้อต่อสู้ของจำเลยในชั้นศาล ในประเด็นที่จำเลยต่อสู้ว่า จำเลย “ขาดเจตนากระทำผิดเพราะจำเลย
ไม่รู้องค์ประกอบภายนอกของความผิด ตาม ปอ.ม. 59 วรรคสาม” โดยเพิ่มเติม หลักกฎหมาย “ปิดปาก”
 มิให้จำเลยหยิบประเด็นดังกล่าวมาต่อสู้ (ตามหลักของกฎหมาย common law ของประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา )

-6-
มาตรา 285/1 ในกรณีจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดต่อเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี ในข้อหา
กระทำชำเราเด็ก ตาม ปอ. ม. 277
อนาจารเด็ก ตาม ปอ. ม. 279
เป็นธุระจัดหาเด็กไปให้ผู้อื่นอนาจารโดยเด็กยินยอม ตาม ปอ.ม. 282
เป็นธุระจัดหาเด็กไปให้ผู้อื่นอนาจารโดยเด็กไม่ยินยอม ตาม ปอ.ม.283
พาเด็กไปเพื่อการอนาจารโดยเด็กยินยอม ปอ.ม.283 ทวิ

“ห้ามจำเลยอ้างว่า ไม่รู้ว่าเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี มาต่อสู้คดีให้พ้นผิด”

มาตรา 321/1 ในกรณีจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดต่อเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี ในข้อหา
จัดหา หรือ พาเด็ก รับเด็กไว้เพื่อหาประโยชน์ ( ค้าเด็ก) ตาม ปอ.ม. 312 ตรี
พรากเด็กโดยไม่มีเหตุ ตาม ปอ.ม. 317

“ห้ามจำเลยอ้างว่า ไม่รู้ว่าเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี มาต่อสู้คดีให้พ้นผิด”

** ประเด็นนี้ไม่มีผลต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมากนักเพราะเป็นข้อต่อสู้ของจำเลยในชั้นพิจารณาคดีของศาล
และเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล **



บันทึกการเข้า

ใช้ชีวิตแบบสบายๆ ปล่อยวางบ้าง
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,134
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« ตอบ #1 เมื่อ: 08 ธันวาคม 2558, 09:51:57 PM »

Permalink: Re: สาระสำคัญของประมวลกฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่ล่าสุด ปี 2558

บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: