-/> โรคหลายอัตลักษณ์

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: โรคหลายอัตลักษณ์  (อ่าน 2052 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,134
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 05 สิงหาคม 2566, 10:15:17 AM »

Permalink: โรคหลายอัตลักษณ์


โรคหลายอัตลักษณ์
โรคหลายอัตลักษณ์ บุคลิกภาพที่ควรได้รับความเข้าใจ

ในภาพยนตร์หลายเรื่องมีการนำโรคหลายอัตลักษณ์ไปประยุกต์ใช้อยู่ในตัวละคร
 ทำให้เกิดความสงสัยอยู่ว่าโรคดังกล่าวมีอยู่จริงหรือไม่ แล้วรายละเอียดของโรคเป็นอย่างไร
 วันนี้ทางเราก็ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับโรคดังกล่าวมาฝากเพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน

โรคหลายอัตลักษณ์ จัดเป็นอาการป่วยทางจิตประเภทหนึ่ง
มีชื่อโรคทางภาษาอังกฤษว่า Dissociative Identity Disorder (DID)
 เปลี่ยนจากชื่อโรคเดิมที่มีชื่อว่าโรคหลายบุคลิกภาพ Multiple Personality Disorder
 เพราะอัตลักษณ์มีความหมายที่แตกต่างคำว่าบุคลิก ขณะที่คนเราโดยทั่วไป
สามารถมีความหลากหลายทางบุคลิกภาพได้ และไม่จัดว่าเป็นโรค
ยกตัวอย่างเช่น อยู่กับเพื่อนมีความกล้าแสดงออก แต่อยู่กับผู้ใหญ่อาจไม่ค่อยพูด
 เงียบ และเหนียมอาย นั่นเองที่เป็นบุคลิกภาพของคนเดียวที่แตกต่าง
ไปตามสถานการณ์ ซึ่งเป็นเรื่องปกติไม่ใช่อาการป่วย

แต่อาการป่วยที่แท้จริงคือความหลากหลายของอัตลักษณ์
โดยอัตลักษณ์เป็นสิ่งที่อยู่ภายในตัวตนของคนๆ นั้น ในคนปกติจะมีเพียงอัตลักษณ์เดียว
แต่ในผู้ป่วยเป็นโรคหลายอัตลักษณ์มักมีมากกว่าหนึ่ง มีความเกี่ยวข้องกับสติ ความจำ
 เอกลักษณ์ของตัวเอง และการรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว
โดยในผู้ป่วยโรคนี้จะมีความผิดเพี้ยนทั้งหมดในส่วนที่กล่าวมา
เพราะในตัวตนของคนเหล่านั้นมีหลายส่วนที่ไม่ต่อเนื่องกัน
หรือถูกแยกออกจากกันเป็นหลายส่วน อย่างในคนทั่วไปจะรู้ตัวเองว่าตัวเองถนัดอะไร
 ไม่ถนัดอะไร หรือตกอยู่ในสถานการณ์ไหน เป็นที่รักหรือไม่เป็นที่รักจากใคร
แต่เขาก็ยังไม่ลืมตัวตนของตัวเอง เพียงแต่จะแสดงออกแตกต่างกันไปตามสถานการณ์

แต่ในผู้ป่วยความเป็นตัวตนเหล่านั้นจะขาดออกจากกัน
ทำให้อารมณ์และพฤติกรรมที่แสดงออกไม่ต่อเนื่องและไม่เหมือนกัน
บางครั้งจะรู้สึกรักตัวเอง แต่บางครั้งก็จะรู้สึกเกลียดตัวเอง และมีความกดดันเกิดขึ้น
มีความทรงจำเกี่ยวกับตัวเองที่ขาดหายไป จึงแสดงออกแตกต่างไปจากเดิมที่เคยเป็น
 เกิดจากพันธุกรรมและประสบการณ์วัยเด็ก ที่อาจมีเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง
เช่น ถูกทำร้ายทางร่างกายและจิตใจในวัยเด็ก ถูกทำร้ายทางเพศ
หรือมีเหตุการณ์ที่รุนแรงทางเพศ เมื่อผู้ป่วยต้องเจอกับเหตุการณ์ที่รุนแรง
จึงมีกลไกป้องกันตัวเองเกิดขึ้น และตัดขาดจากตัวเอง ตัดขาดจากความทรงจำของตัวเอง
 เพราะรู้สึกไม่ชอบและไม่ยอมรับในตัวตนของตัวเอง จึงแสดงออกในอัตลักษณ์ที่แตกต่างออกไป
บางครั้งพบร่วมกับภาวะโรคซึมเศร้าหรือเจอร่วมกับประวัติของการถูกทำร้าย
โดยคนไข้จะแสดงอาการเมื่อเกิดความเจ็บปวดทางร่างกายและจิตใจ
 เพราะคนไข้รู้สึกว่าตัวเองอยู่ในภาวะที่ไม่ปลอดภัย

การรักษาอาการดังกล่าว
จะต้องใช้จิตบำบัดในระยะยาว ซึ่งจะต้องค่อยๆ ปรับอัตลักษณ์และบุคลิกภาพ
ในระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวนาน โดยใช้จิตแพทย์เป็นหลักในการรักษา
สิ่งที่คนรอบข้างควรทำคือให้ความเข้าใจและยอมรับในสิ่งที่คนไข้เป็น
 เมื่อคนไข้แสดงอาการก็พยายามยอมรับ หรือไม่แสดงอาการต่อต้าน
เพื่อให้คนไข้รู้สึกยอมรับในตัวเองให้ได้ และอัตลักษณ์ของคนไข้ก็จะค่อยๆ กลมกลืนกัน

ข้อมูลจาก
อ. พญ.วินิทรา แก้วพิลา
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: