-/> การแชร์ไฟล์ระหว่าง Windows 7 กับ Windows XP

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: การแชร์ไฟล์ระหว่าง Windows 7 กับ Windows XP  (อ่าน 5021 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ไม่รู้..จงถามผู้รู้..
คะแนนน้ำใจ 31
กระทู้: 15
ออฟไลน์ ออฟไลน์
ไม่รู้..จงถามผู้รู้..
   
« เมื่อ: 25 ธันวาคม 2555, 03:21:37 PM »

Permalink: การแชร์ไฟล์ระหว่าง Windows 7 กับ Windows XP
การแชร์ไฟล์ระหว่าง Windows 7 กับ Windows XP

หลายคนที่ใช้ Windows 7 กับ Windows Xp จะมีปัญหาการ Setup ในการแชร์ข้อมูลกันภายในวงแลน ปัญหาคือ Setup ไม่เป็นนั้นเองหรือว่าSetup แล้วปรากฎว่า Accessไม่ได้ แต่วันนี้ผมจะบอกวิธีการ Setup เป็นทีละ Step by Step รับรองว่าคุณสามารถทำเป็นเองได้แน่ๆ ครับ ง่ายๆครับยิ่งกว่าปลอกกล้วยเข้าปากเสียอีก ผมรู้ว่าคุณกำลังประสบกับปัญหาแชร์ไฟล์บน windows 7 ไม่ได้เนื่องจากเป็นมือใหม่หัดใช้ windows 7 หรือว่าทำแล้วยังไงก็ทำไม่ได้สักทีเลยต้องมาทำการ Search ใน Google แต่วันนี้เมื่อคุณได้ทำการอ่านบทความนี้เสร็จคุณก็สามารถเป็นมือโปรทันเลยของ windows 7

บทความนี้เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มใช้ Windows 7 ที่มีปัญหากับการแชร์ไฟล์บน windows 7

****** ผมสมมุติขึ้นมาเองน่ะครับ *****

Windows 7 : Ip adddress 192.168.100.1

Windows Xp : Ip address 192.168.100.2

Subnet mark 255.255.255.0 ทั้งคู่นะครับ

คอมพิวเตอร์ที่บ้านของคุณอาจจะได้ IP มาจาก Router อัตโนมัติมาก็ได้นะครับ

วิธีการดู Ip ก็ Start > run > cmd > จากนั้นพิมพ์ ipconfig /all



**เกริ่นก่อนนะครับ

1. ที่เครื่อง Windows 7 ผมได้ไปที่ Start - > Run -> cmd

จากนั้นทำการ Ping ไปยัง Windows Xp ที่ Ip address 192.168.100.2 ปรากฎว่าpingได้

**แต่้ถ้่่า Ping ไม่ได้อาจจะติด Firewall  ที่ Windows xp เองหรือว่า Antivirus บนเครื่อง Windows xp นะครับ



2.ที่เครื่อง Windows XP ผมได้ Ping ไปยัง Ip address 192.168.100.1 (windows 7)

ปรากฎว่า Time out



สรุป windows 7 ping ไปยัง Windows Xp ได้ แต่ Windows Xp ping ไปยัง Windows 7 ไม่ได้เพราะว่า Service บางตัวของ Windows 7 บางตัวได้ปิดอยู่ครับ



ขั้นตอนลงมือทำจริงในการแชร์ไฟล์

3. ที่ Windows 7

Start > Control Panel > เลือก Choose homegroup and sharing options



4. ขั้นตอนนี้ให้เลือก Change advaced sharing setting



5. จากนั้นให้เลือก Public (Current profile)



หัวข้อ File and Printer sharing ให้เป็น Turn on



และในส่วนของ Password protected sharing ก็ให้ปรับเป็น Turn Off ครับ และทำการกด Save ในการปิดนี้เป็นการปิด Password ในการแชร์ครับ ซึ่งตัว Defualt ของ Windows 7 จะมี Security เพื่อป้องกันการเข้ามา Access ในไฟล์หรือ Folder นั้นครับ



6. จากนั้นไปที่ เครื่อง windows xp แล้วลอง Ping ไปมาที่ Windows 7 ปรากฎว่า Ping ได้แล้วครับ เนื่องจากเราไปเปิด turn on file and printer sharing เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

* ถ้ายัง Ping ไม่ได้อาจจะติด Antivirus ของ Windows 7 ครับ



7. จากนั้นมาที่ Windows 7 เพื่อทำการ Share Folder ในที่นี้

ผมขอสร้าง Folder Name : Share windows 7

เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ผมขออธิบายตามหมายเลขในรูปนะครับ

1. ให้คลิกขวา ที่ Folder Share windows7 แล้วเลือก Properties
2. ให้เลือก Tab Sharing
3. เลือก Advanced Setting
4. ให้ติ๊ก (?) Share this folder จากนั้นให้ใส่ Share name : ผมขอใส่ชื่อว่า share windows7
5. กด Permissions เพื่อกำหนดสิทธิ์
6. ผมให้สิทธิ์ Everyone เป็น Full Control นะครับ

จากนั้น กด Ok เพื่อ Save



7. หลังจากเรากด Share ตรงหมายเลข 7 ก็ให้ให้เราพิมพ์ Everyone ลงไปแล้วกด Addตามภาพครับ



จากนั้นให้เลือกตรงลูกศรสีฟ้าครับ ว่าจะปรับให้ได้แค่ อ่านได้อย่างเดียว หรือ ทั้งอ่านและเขียน ลงได้ด้วยครับ เมื่อปรับแล้วให้กด Shareครับ



8. จากนั้นมาืที่เครื่อง Windows Xp และผม ได้เปิด My Computer ขึ้นมา

และผมได้พิมพ์ Ip address : \\192.168.100.1(Windows 7) > Enter (หรือชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ฺของ Windows 7 เครื่องนั้น)

ผมก็จะเห็น Folder : Share windows 7 ที่ผมได้แชร์มาจาก Windows 7 แล้วครับ



ในทางกลับกัน ถ้าคุณจะดึงไฟล์จาก Windows XP มายัง Windows 7

ก็แค่ สร้างแชร์โฟล์เดอร์ที่ Windows XP จากนั้นเปิดแชร์เอาไว้ แล้วค่อย Browse จาก Windows 7ตามภาพ

ผมอยู่ที่เครื่อง Windows 7 เปิด my computer ขึ้นมาจากนั้นพิมม์ \\192.168.100.2 (windows Xp) หรือชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ฺของ Windows XP เครื่องนั้น จากนั้นก็จะปรากฎ Folder ที่ผมแชร์เอาไว้ใน Windows Xp ครับ



ถ้าคุณทำแล้วยังไม่สามารถเปิดแชร์ได้ ให้ลองตรวจสอบที่ Antivirus ดูครับว่าได้ทำการ Block ไว้อยู่หรือเปล่าในส่วนนี้ แต่ผมว่าถ้าคุณทำแค่นี้ คุรก็สามารถแชร์ไฟล์บน windows 7 ได้แล้วละครับ

CREDIT : itithai.com

 (020)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: