เปิดประโยชน์! 8 เห็ด ยอดนิยม เพื่อสุขภาพ อร่อยได้ ร่างกายแข็งแรง ใครเลิฟเนื้อสัมผัสที่กรุบๆ อร่อย ในอาหารขอให้ยกมือขึ้น! วันนี้เรามี ฟู้ดทิปส์ ดีๆ มาฝากกันเช่นเคยค่ะ บอกเลยว่าต้องถูกอกถูกใจคนรักสุขภาพแน่นอน เพราะเราจะพาไปดู ประโยชน์ของ 8 เห็ด ยอดนิยม เพื่อสุขภาพ แต่ละชนิดนี้เราสามารถเห็นได้ทั่วไปในอาหารที่ทาน เรียกได้ว่าวนเวียนอยู่ในร่างกายเราเสมอเลยล่ะค่ะ เห็นรสชาติอร่อยกรุบๆ แบบนี้เค้าก็มีประโยชน์เยอะใช่เล่นเลยน้า แถมยังช่วยป้องกันโรคต่างๆ ที่จะเกิดกับร่างกายเราอีกด้วยค่ะ ใครที่ชอบทานเห็ดอยู่แล้วงานนี้จะต้องรู้สึกดีขึ้นแน่นอน ส่วนใครที่ไม่ชอบทาน ถ้าได้ลองเปิดใจแล้วรับรองเลยว่าจะต้องติดใจในรสชาติ และคุณประโยชน์มากมายเลยล่ะค่า ว่าแล้วก็ตามเราไปทำความรู้จักกันได้เล้ยยย!
เห็ดเข็มทอง เห็ดเข็มทอง เริ่มต้นด้วยเห็ดที่เราคุ้นเคยกันดี เป็นวัตถุดิบที่อยู่ในเมนูใดก็อร่อย รสชาติอร่อย เหนียวนุ่ม นำมารับประทานแบบสดๆ หรือใส่กับสลัดผักก็ได้ค่ะ แต่ถ้าชอบแบบสุก สามารถนำไปย่าง ผัด หรือลวกแบบสุกี้ได้เลย หลายๆ คนที่กำลังควบคุมน้ำหนักมักจะเลือกทาน เพราะมีไฟเบอร์สูง แคลอรีต่ำ ทำให้ทานแล้วอิ่มเร็วอยู่ท้อง และยังควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้หิวเร็วอีกด้วยค่ะ
ประโยชน์ของเห็ดเข็มทอง 1..สามารถต้านมะเร็ง และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงได้
2..ช่วยในการสลายไขมันในระบบทางเดินอาหาร ทำให้ร่างกายดูดซึมอาหารไปใช้ได้ดียิ่งขึ้นขึ้น
3..ช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ เพราะมีไฟเบอร์สูง
4..บำรุงสมอง เพราะเป็นพืชที่มีกรดอะมิโนสูง ซึ่งทำให้ช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองในส่วนของความจำ
5..กากใยในเห็ดเข็มทอง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูง
6..ถ้าทานเห็ดเข็มทองเป็นประจำจะช่วยรักษาโรคตับ กระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบเรื้อรังได้
เห็ดฟาง เห็ดฟาง อีกหนึ่งเห็ดยอดนิยมของคนไทย หลายๆ คนชอบทาน เพราะมีรสชาติอร่อย หวานเล็กน้อย สามารถหาซื้อได้ง่าย เพราะเป็นเห็ดที่ขึ้นได้ดีในธรรมชาติ มักจะเพากันบนกองฟางข้าวชื้นๆ สามารถนำไปประกอบอาหารได้อย่างหลากหลาย เช่น การนำไปผัดให้สุก หรือใส่ในต้มยำ แกง ได้
ประโยชน์ของเห็ดฟาง 1..มีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันโรคเหงือก เลือดออกตามไรฟัน ช่วยป้องกันการเติบโตของไวรัสที่ทำให้ป่วยไข้หวัดใหญ่ได้
2..มีกรดอะมิโนสำคัญอยู่หลายชนิด หากทานประจำจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยลดการติดเชื้อต่างๆ ลดความดันโลหิต และเร่งการสมานแผลได้
3..ทางแพทย์แผนโบราณจัดให้เห็ดฟางเป็นเภสัชวัตถุที่มีรสหวานเย็น จึงสามารถบำรุงร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง บำรุงตับ แก้ร้อนใน และแก้ช้ำใน
เห็ดหูหนู เห็ดหูหนู เห็ดอีกหนึ่งชนิดที่นิยมทาน เนื้อสัมผัสกรุบๆ รสชาติอร่อยไม่แพ้เห็ดชนิดอื่นค่ะ สามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด นิยมนำมาใส่ในแกงจืด หรือนำไปผัดกับผักชนิดอื่นได้ สรรพคุณทางยาและสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเรา แฝงอยู่ในเห็ดหูหนู เรียกได้ว่าคุ้มค่ามาก เมื่อเทียบกับราคาของตัวเห็ดค่ะ
ประโยชน์ของเห็ดหูหนู 1..เป็นแหล่งของวิตามินหลายชนิด โดยเฉพาะวิตามินซี ซึ่งมีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันและยับยั้งไม่ให้เซลล์ผิดปกติจนกลายเป็นเนื้อร้ายได้
2..มีฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญกับทุกเซลล์ในร่างกาย มีหน้าที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของเซลล์ต่างๆ ให้ทำงานได้อย่างเป็นปกติ
3..แคลเซียมในเห็ดหูหนู จะช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ซึ่งจะทำงานร่วมกันกับฟอสฟอรัส ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงจะเกิดโรคกระดูกพรุนได้โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ และบรรเทาอาการปวดฟัน ปวดเหงือกได้ดีอีกด้วย
4..มีสารสำคัญชื่อว่า อะดีโนซีน ทำให้มีสรรพคุณช่วยลดความเหนียวข้นของเลือด ทำให้เลือดไม่ไปอุดตันเส้นเลือดหัวใจ สมอง และในอวัยวะอื่นๆ ภายในร่างกายได้ นั่นก็คือช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่เป็นอันตรายต่อร่างกายขึ้น เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดอุดตัน
5..ช่วยลดความดันโลหิตสูง ช่วยบำรุงเลือด รักษาโรคโลหิตจาง ทำให้เลือดลมในร่างกายไหลเวียนได้สะดวก
6..มีคุณสมบัติที่ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น สามารถแก้อาการท้องผูก ป้องกันโรคริดสีดวงทวาร และสามารถขับของเสียจากในลำไส้ได้ดี เพราะเห็ดหูหนูมีไฟเบอร์สูง ทำให้ส่งผลดีต่อการช่วยควบคุมน้ำหนักด้วย
เห็ดหอม เห็ดหอม หรือเห็ดชิตาเกะ เป็นเห็ดที่นำไปประกอบอาหาร แล้วทำให้อาหารมีรสชาติขึ้น อร่อย หอม สมชื่อเห็ดเลยล่ะค่ะ เมนูยอดฮิตที่นำไปประกอบอาหารได้อร่อย เช่น ข้าวต้ม กระเพาะปลา ส่วนผสมในตัวเกี๊ยว บ๊ะจ่าง เมนูตุ๋น และเมนูผัดต่างๆ เป็นต้น
ประโยชน์ของเห็ดหอม 1..มีวิตามินดีสูง ช่วยบำรุงกระดูก และมีปริมาณโซเดียมต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต
2..ช่วยให้อวัยวะภายในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น เช่น ปอด หลอดลม เส้นประสาท สมอง
3..มีสารเลนติแนน ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับเซลล์เนื้องอก มีความสามารถในการช่วยป้องกันหลอดเลือดแดงแข็งตัว
4..มีสารหลายชนิดที่ช่วยลดไขมันในเลือด และคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
5..เป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้
6..มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ซึ่งช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการไข้หวัด
เห็ดแชมปิญอง เห็ดแชมปิญอง หรือเห็ดกระดุม อีกหนึ่งเห็ดรสชาติดี นำมาปรุงอาหารได้อร่อย ที่เรามักจะเห็นในอาหารสไตล์ยุโรป ก็เพราะว่าเห็ดชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศฝรั่งเศสนั่นเองค่ะ เมนูอร่อยแนะนำ ไม่ว่าจะเป็น ซุปครีมเห็ด พิซซ่า เห็ดแชมปิญองผัดน้ำมันหอย ลาบเห็ดแชมปิญอง และเมนูอื่นๆ อีกมากมาย
ประโยชน์ของเห็ดแชมปิญอง 1..มีสารที่ไปช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมในผู้หญิงให้น้อยลง ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็งเต้านมลงได้มาก รวมทั้งมีสารเลนติแนน ซึ่งจะช่วยต่อต้านและป้องกันโรคมะเร็งได้อีกหลายชนิด
2..ช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอลและไขมันในเลือดได้เป็นอย่างดี ทำให้ช่วยลดต้นเหตุที่จะก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้
3..ช่วยบำรุงร่างกายให้มีพละกำลัง สามารถชดเชยพลังงานให้ร่างกายมีแรงในการทำงานได้
4..ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถทำงานได้ดีขึ้น
5..มีเส้นใยอาหารสูง ทำให้ช่วยขับถ่าย หรือล้างสารพิษที่สะสมอยู่ในร่างกายออกมาได้อย่างดี
6..มีแคลเซียมทำให้กระดูกแข็งแรง สามารถลดความเสี่ยงจะเกิดโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโอกาสจะเกิดได้ง่าย
เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า และเห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า และเห็ดเป๋าฮื้อ ทั้งสามเห็ดนี้ จัดอยู่ในตระกูลเดียวกันค่ะ เจริญเติบโตเป็นช่อคล้ายพัด เห็ดนางรมมีสีขาวอมเทา เห็ดนางฟ้ามีสีขาวอมน้ำตาล และเห็ดเป๋าฮื้อมีสีคล้ำ เนื้อเหนียวหนานุ่ม ทำให้มีรสชาติที่อร่อยคล้ายเนื้อสัตว์มากกว่าเห็นอื่น
ประโยชน์ของ เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า และเห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดทั้งสามนี้ สามารถนำมาประกอบอาหารได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น แกง ต้ม ทอด ผัด หรือนำมาย่าง การบริโภคเห็ดเข้าไปทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย ช่วยการไหลเวียนเลือด และช่วยในโรคกระเพาะได้ รวมถึงเห็ดนางฟ้า ยังมีสารซีลีเนียม ซึ่งเป็นสารสำคัญที่จะช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ เส้นเลือดในสมองตีบ และสารเบต้า-กลูแคนส์ ที่มีฤทธิ์ปรับภูมิคุ้มกันและลดความรุนแรงของหวัดได้อย่างดีอีกด้วยค่ะ
ขอบคุณที่มา....ที่มา : สสส. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (กรมอนามัย) และสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา