-/> ฟันซี่แรกของหนู โอย....

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ฟันซี่แรกของหนู โอย....  (อ่าน 1868 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,127
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 23 ธันวาคม 2560, 02:41:08 PM »

Permalink: ฟันซี่แรกของหนู โอย....


ฟันขึ้นซี่แรกกี่เดือน
ฟันซี่แรกของลูกน้อย เรียกว่า ฟันน้ำนม ซึ่งฟันน้ำนมนี้จะเริ่มขึ้นเมื่ออายุ 6 เดือนและทยอยขึ้นจนครบเมื่ออายุ 2 ขวบ
แต่พบบ่อยครั้งได้ว่าลูกน้อยอาจมีฟันซี่แรกขึ้น เมื่ออายุมากกว่าหรือน้อยกว่า 6 เดือน ไม่ใช่ภาวะผิดปกติแต่อย่างใด
 ฟันซี่แรกของลูกไม่ควรเกิน 12 เดือน หากพบว่าลูกฟันขึ้นช้าควรปรึกษาทันตแพทย์เด็ก
ฟันขึ้นเร็วฟันขึ้นช้า เกิดจากอะไร
เด็กผู้หญิงฟันจะพัฒนา เร็วกว่าเด็กผู้ชายโดยประมาณ 2 เดือนถึง 10 เดือน เด็กบางคน ฟันขึ้นช้ากว่าเพื่อนๆ รุ่นเดียวกัน
มากจนพ่อแม่เป็นห่วง แต่สาเหตุยังไม่ทราบแน่นอน จากการสังเกตพบว่ามีคนในครอบครัวเดียวกันที่ฟันขึ้นเร็วเหมือนๆกัน
 ขึ้นช้าเหมื่อนๆกัน  นักวิจัยพบว่า ฟันที่ขึ้นเร็วส่วนมากจะมีส่วนประกอบทุกอย่าง เหมือนกับฟันที่ขึ้นตามกำหนด
 เพียงแต่อาจจะโยกเล็กน้อย ฟันที่ขึ้นมาเร็วควรจะเก็บไว้จนกว่าจะหลุดไปเอง
 ยกเว้นกรณีฟันแถมหรือมีฟันตั้งแต่เเรกคลอดต้องพบแพทย์

อาการที่บ่งบอกว่าลูกฟันกำลังขึ้นเป็นอย่างไร
เหงือกบริเวณที่ฟันกำลังจะขึ้นอาจมีอาการบวมแดง คัน และพบว่ามีปุ่มสีขาวอยู่บริเวณเหงือกที่จะมีฟันขึ้นด้วย
ซึ่งลูกจะรู้สึกอยากเคี้ยวหรืออยากกัดสิ่งของ เรียกอาการดังกล่าวว่า ” อาการคันเหงือก ” ลูกน้อยจะมีอาการคันเหงือก
นานประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ เมื่อฟันขึ้นขอบฟันจะดันเหงือกขึ้นมาและเหงือกจะแยกออกเพื่อให้ฟันโผล่ขึ้นมาได้
 จึงทำให้ลูกน้อยรู้สึกเจ็บและมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป  เช่น

ชอบเอามือเข้าปาก
มีน้ำลายมากกว่าปกติจนบางครั้งไหลย้อยออกมานอกปาก
กลางคืนตื่นบ่อย
 รับประทานอาหารได้น้อยลง
ปฎิเสธเต้านมดูดนมน้อยลง 
และพบว่าเด็กหลายคนมีไข้ร่วมด้วย
ฟันซี่แรกมักเป็นซี่ที่ทำให้ลูกน้อยรู้สึกเจ็บที่สุด เพราะเป็นความรู้สึกใหม่ที่เกิดขึ้นกับลูกน้อย และจะเจ็บที่สุดอีกครั้ง
เมื่อวันที่ฟันกรามขึ้นเพราะมีขนาดใหญ่ คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมรับมือให้ดี เพื่อพร้อมรับมือกับอาการงอแงเมื่อวันนั้นมาถึงดังนี้

ลูกฟันขึ้นดูแลอย่างไรไม่ให้เจ็บปวดโยเย
ในวันที่ลูกน้อยฟันขึ้น คุณพ่อคุณแม่ต้องมีวิธีตั้งรับเป็นอย่างดี เพราะพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง จากความเจ็บปวด
ร้องไห้งอแงของลูกอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เครียดได้ การเอาใจใส่ดูแลอยู่ใกล้ๆตลอดเวลา คือสิ่งที่ลูกต้องการมากที่สุด
 พร้อมกับใช้เทคนิคลดความเจ็บปวดและอาการคันเหงือก 4 ข้อนี้ รับรองลูกรักของคุณงอแงน้อยลงแน่นอน                         




1.ลดอาการคันเหงือกจากฟันขึ้นด้วยการนวด
ทำได้กรณีเหงือกของลูกไม่บวมหรือเจ็บจนเแตะไม่ได้ คุณแม่ล้างมือให้สะอาด แล้วลองใช้นิ้วเข้าไปนวดเหงือกของลูกเบาๆ
การนวดช่วยให้ลูกผ่อนคลายและรู้สึกดีขึ้น
2.ลดอาการคันเหงือกจากฟันขึ้นด้วยการกัดยางกัด




ยางกัดสำหรับลูกน้อยควรเลือกชนิดปลอดสาร BPA  ยางกัดที่ดีควรเป็นยางค่อนข้างแข็ง ยืดหยุ่นดี
ไม่มีส่วนประกอบใดที่เล็ก หรือหลุดออกมาได้  ให้ลูกกัดเล่นเพื่อบรรเทาอาการคันเหงือก และทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายลงได้

3.ลดความเจ็บปวดจากฟันขึ้นด้วย ความเย็น
ความเย็น จะช่วยลดอาการบวมของเหงือกและทำให้รู้สึกชา คุณแม่สามารถเลือกใช้ความเย็นจาก ยางกัดแช่เย็น
หรือสำหรับเด็กโต อาจจะรับประทานผลไม้เย็นๆ  หรืออีกวิธีคุณแม่ใช้ผ้าผืนเล็ก ๆ แช่เย็นแล้วเอามาเช็ด
หรือนวดๆตามเหงือกของลูก ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้ดี 
แต่มีข้อควรระวังคือ ความเย็นมากเกินไปอาจไปทำร้ายเหงือกและยิ่งเจ็บปวดกว่าเดิม

4.ลดความเจ็บปวดจากฟันขึ้นด้วยยาพาราเซตามอล
เมื่อฟันขึ้นขอบฟันจะดันเหงือกขึ้นมา และเหงือกจะต้องแยกออกเพื่อให้ฟันโผล่ขึ้นมาได้
จึงทำให้ลูกน้อยรู้สึกเจ็บและยังพบว่าฟันขึ้นอาจมีไข้ร่วมด้วย คุณแม่สามารถเลือกใช้ยาแก้ปวด – ลดไข้
กลุ่มพาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดไข้ได้อย่างปลอดภัย โดยคำนวณปริมาณยาตามน้ำหนักตัวปัจจุบัน
หรือตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร กรณีลูกมีไข้ระหว่างฟันขึ้นนอกจากให้ยาพาราเซตามอลแล้ว
 ควรเช็ดตัวลดไข้ควบคู่ไปด้วย หากไข้ไม่ลดลง ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

อาการปวดจากฟันขึ้นไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจในความเจ็บปวดนั้น เพราะเด็กแต่ละคน
มีความอดทนต่อความเจ็บปวดที่แตกต่างกัน สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่เตรียมใจให้พร้อม
และอย่าลืมนำเทคนิคดีๆทั้ง 4 ข้อไปปรับใช้ ถ้าหากวันนั้นมาถึงนะคะ







เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
บทความแนะนำเพิ่มเติม

ชนิดของยาลดไข้ และการเลือกใช้ยาลดไข้ที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก
การให้ยาลดไข้ที่ถูกต้อง ในเด็กแต่ละช่วงวัย


บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: