-/> #กฎหมายวันละนิด กับการกู้ยืมเงินผ่านแอพลิเคชั่น (line,fb)

You are here: Khonphutorn.com - แหล่งข้อมูลของคนไทยหมวดอาชีพรู้กฎหมาย คลายปัญหา (ผู้ดูแล: พรหมพิพัฒน์)#กฎหมายวันละนิด กับการกู้ยืมเงินผ่านแอพลิเคชั่น (line,fb)
หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: #กฎหมายวันละนิด กับการกู้ยืมเงินผ่านแอพลิเคชั่น (line,fb)  (อ่าน 1939 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ดูแลเรื่องกฏหมายของเว็บ
คะแนนน้ำใจ 1010
กระทู้: 130
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« เมื่อ: 24 กันยายน 2560, 02:47:59 PM »

Permalink: #กฎหมายวันละนิด กับการกู้ยืมเงินผ่านแอพลิเคชั่น (line,fb)
#กฎหมายวันละนิด  กับการกู้ยืมเงินผ่านแอพลิเคชั่น (line,fb) หากผู้กู้ไม่ยอมคืนเงินผู้ให้กู้จะสามารถนำข้อความผ่านแอพลิเคชั่นดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในการฟ้องร้องเพื่อเรียกเงินคืนได้หรือไม่

 พิจารณาจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก่อนว่าการกู้ยืมเงินนั้นต้องทำแบบไหนถึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้ว่า " มาตรา 653 การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่"

ประเด็นคือ การกู้ยืมเงินทางแอพลิเคชั่นนั้น ถือเป็นการลงลายมือชื่อด้วยหรือไม่ ปัจจุบันมีกฎหมายอีกฉบับที่ออกมารองรับเรื่องการลงลายมือชื่อ คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ได้ให้นิยามคำว่า “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” ไว้ว่า หมายถึง "อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น"     

พระราชบัญญัติฯ ได้บัญญัติให้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อความทางโปรแกรมที่อยู่ในกล่องข้อความนั้น อาจถือเป็นหลักฐานที่เป็นหนังสือที่มีการลงลายมือชื่อแล้ว และยังเป็นบทบังคับให้ต้องรับฟังพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์นี้ด้วยจะปฏิเสธไม่รับฟังพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ (มาตรา 7) และหากกฎหมายกำหนดให้การใดต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นมาเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือแล้ว (มาตรา 8) ในส่วนกรณีการลงลายมือชื่อนั้นก็ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 9 ว่า กรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อ ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว ซึ่งหากพิเคราะห์แล้ว จะเห็นได้ว่าตามพระราชบัญญัติฯ การกู้ยืมเงินโดยพิมพ์ข้อความขอกู้ยืมเงินกันทางแอพลิเคชั่นนั้นอาจไม่สามารถกล่าวอ้างว่าไม่มีพยานหลักฐานเพื่อฟ้องร้องบังคับคดีได้ อีกทั้งแอพลิเคชั่นดังกล่าวถือเป็นโปรแกรมที่ต้องลงบัญชีผู้ใช้ที่เป็นการเฉพาะตัวอยู่แล้ว สามารถเจาะจงตัวได้ว่าบัญชีผู้ใช้นั้นเป็นของใคร ดังนั้น การกู้ยืมเงินผ่านแอพลิเคชั่นโดยการพิมพ์ข้อความ ตลอดจนการพิมพ์ข้อความและลงชื่ออาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีกันได้

  โดยการนำสืบสามารถปริ้นข้อความออกมาแสดงเป็นพยานหลักฐานต่อศาล แต่ไม่ควรเป็นการกล่าวอ้างลอยๆเพียงหลักฐานข้อความแอพลิเคชั่นเท่านั้น หลักฐานที่จะต้องมีเพิ่มเติมในชั้นสืบพยาน 
1.คำขอเปิดบัญชีธนาคารของจำเลย
2.คำขอเปิดใช้บริการโทรศัพท์มือถือของจำเลย
3.บทสนทนาที่เป็นหลักฐานว่าจำเลยกู้ยืมเงิน และ/หรือจะคืนเงินให้ (บทสนทนาผ่านโปรแกรมไลน์)

>> ตัวอย่างคำฟ้องเรียกเงินกู้ยืมคืนผ่านแอพลิเคชั่น
Cr. เพจข้อกฎหมายเด่น ฎีกาดัง
บันทึกการเข้า

ใช้ชีวิตแบบสบายๆ ปล่อยวางบ้าง
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: