71
เมื่อ: 28 มกราคม 2568, 08:51:38 PM
|
เริ่มโดย share - กระทู้ล่าสุด โดย share
|
โคลงดั้น วิวิธมาลี
@ รักจริง จักเปี่ยมล้น ......ให้อภัย ผิดจึ่งละจดจำ ......มากน้อย ชั่ว ใช่ปล่อยปะไป ......อาละวาด คุม,แนะ,ตะล่อม,คล้อยโน้ม ......สู่ธรรม
@ ลงทัณฑ์โทษใช่แก้ ......ปัญหา สอนสั่ง”ปันรัก”นำ ......ชั่วพ้น “แบบอย่าง”ดุจดารา ......กระจ่างจิต พลาดผิดทุกข์ท้นแท้ ......เมตตา
ปรับใช้ รัสสระ(สระสั้น) แทนคำ รูปเอก/คำตาย ใน ตำแหน่งบังคับ (เอก ๗ โท ๔)
@ รักจริง จักมิไร้ ......ให้อภัย ผิด! จะมิจดจำ ......สิน้อย ชั่วใช่ละปล่อยไป ......พาลผลิ คุม,แนะ,ตะล่อม,คล้อยโน้ม ......สู่ธรรม
@ ลงทัณฑ์โทษมิแก้ ......ปัญหา สอนสิ ”ปันรัก”นำ ......ละร้าย “แบบอย่าง”ประดุจดารา ......เตือนสติ พลาด,ระทมทุกข์แท้ ......ลุปัน
|
73
เมื่อ: 27 มกราคม 2568, 08:40:17 PM
|
เริ่มโดย share - กระทู้ล่าสุด โดย share
|
ใช้ รัสสระ(สระสั้น) แทนคำ รูปเอก ในตำแหน่ง บังคับ (เอก ๗ โท ๔)
@ ขอ"โคลงฉันท์"ผลิให้ .....ไสวกานท์ โดย ละ"รูปเอก" จาร .....จะแจ้ง แทนด้วย"สระสั้น" วาน .....ชมติ..กันนา แต่งสิ! ไป่ปล่อยแล้ง ....."ริ"นั้นสร้างสรรค์
|
74
เมื่อ: 27 มกราคม 2568, 02:09:42 PM
|
เริ่มโดย share - กระทู้ล่าสุด โดย share
|
กาพย์ ภุชงคลิลา
@ กาพย์บุราณ....ลองจารแนะชี้ สอง สี่ สี่ สี่...........ยาก ฤ ง่ายร่ายดู
ฉันท์ ภุชงคลิลา ๑๔
@ คค......ลคคค คคลค......ลคคค
@ รูปแบบ....สิอิงแอบ เดิม! สิบสี่ มิเติม...ริเริ่มลองพลัน
ฉันท์ ภุชงคลิลา ๑๕
@ คลค.....ลคคค คคลค......ลคคค
@ หากจะปลุก...สนุกกานท์ฉันท์ แต่งเติมสระสั้น...ประชันกันเลย
ฉันท์ ภุชงคลิลา ๑๔ (อีกแบบ) @ คค......คคลค คคลค......ลคคค
@ หากเพื่อน.......ใคร่เลื่อนขยับ "เสียงสั้น"จะปรับ..."ตำแหน่ง" ได้เลย!
ฉันท์ ภุชงคลิลา ๑๕ (อีกแบบ) @ คลค.....คคลค คคลค......ลคคค
@ หรือเสนอ.....รูปใดก็เผย จารแต่งมิเฉย....สิเสริมส่งกัน
|
75
เมื่อ: 26 มกราคม 2568, 10:54:14 PM
|
เริ่มโดย share - กระทู้ล่าสุด โดย share
|
แบบ 3 "ฉันท์ฉบัง ๑๖"
คลคคลค คลคค คลคคลค
@ กาพย์ฉบัง เดิมประสงค์ ขอพินาศ จง อันธพาล มารมลาย
@ สรร(ะ)เสริญ ให้กำจาย จาร ริเริ่ม "ร่าย"* เปล่งพระพร บารมี
* โองการดำน้ำและลุยเพลิง แต่งเป็นร่ายและกาพย์ฉบัง
ร่าย เป็นคำเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ฉบัง เป็นคำแช่งผีที่เห็นแก่สินบน
สุจิตต์ วงษ์เทศ มติชนสุดสัปดาห์ 20-26 เมษายน 2555
|
76
เมื่อ: 26 มกราคม 2568, 09:24:34 PM
|
เริ่มโดย share - กระทู้ล่าสุด โดย share
|
ฉันท์ฉบัง ๑๖
(* วรรค 6 คำ จะแต่งแบบ 3-3 หรือ 2-2-2 ก็ได้ ครับ)
ฉบัง มีรากจากคำเขมร "จฺบําง" หรือ "จํบําง" (ไทยใช้ จำบัง) - รบ สงคราม
แบบ 1 "ฉบังฉันท์ ๑๖"
คลคคคค คลคค คคลคคค
@ รั้งฉบัง รั้งรุกราน ร่วมขจัดพาล สุขสันติ โลกดั่งสรวง
@ สุขสงบ ชนทั้งปวง พึงละเล่ห์ลวง ปกป้อง "ระทม" แบ่งปัน
แบบ 2 "จำบังฉันท์ ๑๖"
คคลคคค คคลค คคลคคค
@ สงคราม ฉบัง ยั้งหยุด ไป่ปล่อยริผุด แยกแตกระแหง แล้งใจ
@ โลกหล้า สวรรค์ ใช่ไกล ร่วมแรง ไสว ธรรมจง จรัส ดำรง
|
77
เมื่อ: 26 มกราคม 2568, 07:53:58 PM
|
เริ่มโดย share - กระทู้ล่าสุด โดย share
|
ยานีฉันท์ ๑๑ (อีกแบบ)
@ ค ค ล ค ค ... ล ค ค ค ค ค ค ค ล ค ค ... ล ค ค ค ค ค
@ มีผู้ ประสงค์ให้ แสดงไข ใน "ความต่าง" กาพย์ฉันท์ สิจัดวาง จะยึด"ต่าง" จากหลักใด
@ "เสียง"! ฉันท์ ตระหนัก จง จะยึดตรง "ทุกเสียง"ใส "ตำแหน่ง" กำหนดไว้ * มิอาจให้ ปรับเปลี่ยนเลย
* อำ ใอ ไอ เอา เป็น ครุ หรือ ลหุ ก็ได้ ที่นี้ ตำแหน่ง : ตำ เป็น ครุ กำหนด : กำ เป็น ลหุ
แต่หากมี วรรณยุกต์ จะจัดเป็น ครุ ครับ
|
78
เมื่อ: 26 มกราคม 2568, 05:10:34 PM
|
เริ่มโดย share - กระทู้ล่าสุด โดย share
|
ยานีฉันท์ ๑๑
@ ค ค ล ค ค ... ค ค ค ล ค ค ค ค ล ค ค ... ค ค ค ล ค ค
@ ขอเริ่ม ริจารฉันท์ "ยานี"นั้น เสนอแปลง "เสียงสั้น" สิเติมแต่ง แต่ยึด"ง่าย" แสดงเห็น
@ "ยานี" สิฉันท์ใหม่ หวังจักให้ริลองเข็น ไม่นานจะจารเป็น พร้อมร่วมกันประชันฉันท์
|
79
เมื่อ: 25 มกราคม 2568, 11:18:50 AM
|
เริ่มโดย share - กระทู้ล่าสุด โดย share
|
ฉันท์ ธนัญชยางค์ ๓๒
@ หวังฉันท์ไสว เปิดกว้างพิสัย จารขานวิไล แผ่ไกลพระธรรม จงเยาวชน ทุกหนมุนำ เมตตาลุล้ำ "รัก"ค้ำ"ระทม"
@ ปันแบ่งกระทำ "จริงใจ"สิย้ำ พ้นพาลขยำ ผลบุญสะสม โลกหล้าผลิสันต์ ด้วยธรรม์นิยม "ตัดตน"ผละขม รื่นรมย์นิรันดร์
|
80
เมื่อ: 25 มกราคม 2568, 05:54:15 AM
|
เริ่มโดย share - กระทู้ล่าสุด โดย share
|
ฉันท์ ธนัญชยางค์ ๓๒
@ ฉันท์นี้ริง่าย จ ารพอสบาย เสียงสั้นสิคลาย ร่ำร่ายไสว ร้อยกรองกำหนด เกณฑ์กฎลุให้ สาวหนุ่มมุได้ กานท์กลอนประเทือง
กาพย์ธนัญชยางค์ กาพย์ชนิดนี้ข้าพเจ้าออกแบบให้ใช้เป็นคำอธิบายภาพเรื่อง “ศรีธนญชัย” ที่พิมพ์สัปดาห์ละชุด ในหนังสือพิมพ์ “ประมวสาร” กาพย์อย่างใหม่นี้ก็คือ กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ แบบเก่านั้นเอง แต่เติมอีก ๔ คำแลเพิ่มสัมผัสเข้าอีก รูปภาพที่พิมพ์ใน “ประมวญสาร” นั้น ภาพหนึ่งมีที่สำหรับคำอธิบายเพียงบันทัดเดียว ยาวเพียง ๔ นิ้วครึ่ง จึ่งต้องใช้กลอนชนิดที่ จุความได้มากในที่น้อย แลเมื่อแยกบทหนึ่งเป็นสองบันทัด ก็ให้บรรทัดยาวเท่ากัน กาพย์ธนัญชยางค์ได้กำเนิดด้วยประการฉนี้
พระราชวรวงค์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)
** ข้อมูลจาก "บ้านกลอนน้อย" ขอบคุณ ครับ
|
|