-/> *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***

หน้า: [1] 2 3   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***  (อ่าน 17081 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2559, 01:44:23 PM »

Permalink: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
ตอนกำเนิดมงคล

** จะขอกล่าวเรื่องราวอุดมผล
คือ "มงคล" ให้ได้คิดจิตผ่องใส
ครั้งสมัยพุทธกาลเนิ่นนานไกล
มีเหตุการณ์ยิ่งใหญ่มาถกกัน

** อันคนเราเกิดมาจากที่ไหน
เมื่อตายแล้วจะไปที่ไหนนั่น
ทำอย่างไรจะมีสุขทุกคืนวัน
ต่างมุ่งมั่นพูดจาพาวุ่นวาย

** มีหลายคนจึงมีหลายความคิด
ถูกหรือผิดมีมากหลากความหมาย
เวลาผ่านมงคลมีมากมาย
แต่อรรถาธิบายไม่ได้เลย

** พระพุทธองค์ผู้ทรงตรัสรู้
ประทับอยู่ "เชตวัน" อันผ่าเผย
เทพบุตรทูลถามจึงภิเปรย
ทรงเฉลย "มงคล" เริ่มต้นไป

** พระพุทธองค์ได้ตรัสเป็นมาตรฐาน
มีสามสิบแปดประการขอขานไข
สาธุชนจงรับฟังโดยตั้งใจ
และนำให้ปฏิบัติตามศรัทธา

** รีบจูงมือกันมาสดับเถิด
จะได้เกิดความเข้าใจไม่กังขา
โปรดสดับรับรู้ความเป็นมา
จะได้เกิดปัญญาตามขั้นตอน

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา
ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #1 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2559, 02:06:47 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๑ การไม่คบคนพาล
(อเสวนา จ พาลานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** มงคลที่หนึ่งไม่พึงคบคนพาล
มีสันดานหยาบช้าพาทอดถอน
ทำความชั่วเรื่อยไปไม่อาทร
หลีกให้ไกลไว้ก่อนจะปลอดภัย

** การคบคือการไปมาเพื่อหาสู่
อีกทั้งอยู่พึ่งพาและอาศัย
มีความรักต่อกันมั่นฤทัย
เมื่อจากกันอาลัยใฝ่คำนึง

** คนพวกนี้ล้นมีสันดานชั่ว
เห็นแก่ตัวมัวเมาด้วยโกรธขึ้ง
อีกโลภมากอยากได้ให้ตราตรึง
ความลุ่มหลงมากจึงใฝ่อบาย

** การพูดจาโน้มเอียงข้างต่ำทราม
มีพูดจาหยาบหยามไร้ความหมาย
ทั้งโกหกหลอกลวงไม่เสื่อมคลาย
อีกเพ้อเจ้องมงายล้วนไม่ดี

** ด้วยสาเหตุภัยเกิดจากคนพาล
อัปมงคลเผาผลาญสิ้นศักดิ์ศรี
อุปสรรคมากมายจะเกิดมี
จงหลีกหนีให้ไกลไปโดยเร็ว

** การไม่คบคนพาลสันดานหยาบ
ห่างจากบาปเป็นมงคลพ้นจากเหว
มีชีวิตสดใสไกลความเลว
ชีวิตไม่แหลกเหลวเป็นมงคล

เรื่อง  นกแขกเต้า

** มีนิทานชาดกยกมาเล่า
เรื่องของนกแขกเต้าในไพรสณฑ์
ตัวที่หนึ่งลมพัดจรดล
สู่วังวนโจรไพรใจทมิฬ

** อีกตัวหนึ่งพึงตกหมู่ฤๅษี
ถูกสั่งสอนให้ดีไม่ใจหิน
แตกต่างกันที่คนดังยลยิน
จะดีเลวเพราะเคยชินคบกันมา

** วันหนึ่งเจ้าผู้ครองพระนคร
เสด็จจรประพาสไพรพฤกษา
ทรงล่าเนื้อหลงไปในพนา
จนเหนื่อยล้าเข้าพักใต้ร่มไทร

** ลมเอื่อยเอื่อยพัดมาพาให้ง่วง
ใบไม้ร่วงดังเสียงกล่อมให้หลับใหล
หลับตาลงจินตนาพาไปไกล
ไม่เท่าใดเริ่มเลือนรางย่างนิทรา

** เป็นดินแดนที่นกอยู่กับโจร
ใจหยาบโลนยิ่งนักร้ายหนักหนา
เจ้านกน้อยเมื่อเห็นจอมพารา
ด้วยสันดานนกป่าเหมือนโจรไพร

** จึงพูดว่าต้องฆ่าเอาทรัพย์สิน
ตื่นบรรทมได้ยินไม่ไถล
เสด็จหนีโดยพลันในทันใด
ให้ห่างไกลนกพาลสันดานทราม

** ได้พบนกที่อยู่กับนักบวช
อย่างยิ่งยวดต้อนรับดีมิหยาบหยาม
มีสัมมาคารวะแสนงดงาม
พระราชาชื่นชมความเป็นนกดี

** นกทั้งสองพี่น้องท้องเดียวกัน
แต่แตกต่างเพราะผูกพันคนละที่
นกที่อยู่กับโจรมีราคี
นกที่อยู่กับฤๅษีมีน้ำใจ

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #2 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2559, 05:52:59 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๒ การคบบัณฑิต
(ปณฺฑิตานัญฺ จ เสวนา  เอตมงฺคลมุตฺตมํ)

** ผู้ที่ทำประโยชน์ให้บังเกิด
แสนประเสริฐนักหนาพาผ่องใส
ประโยชน์ในโลกนี้หรือโลกใด
เป็น "บัณฑิต" ยิ่งใหญ่ในโลกา

** "การรู้จักประโยชน์ในชาตินี้"
ดูแลทรัพย์ที่มีไร้ปัญหา
รักษาเกียรติ เงินทองที่ได้มา
เป็นคนดีมีค่าต่อสังคม.

** "การรู้จักประโยชน์ในชาติหน้า"
มีศรัทธาเลื่อมใสไม่ขื่นขม
อีกจาคะจะพาให้รื่นรมย์   (จาคะ = การบริจาค  การให้)
และสั่งสมพูนเพิ่มเสริมปัญญา

** ขั้นสุดท้ายทำจิตให้ผ่องใส
รู้จักหลีกให้ไกลเหตุปัญหา
รู้สภาพความจริงอนิจจา
เมื่อเกิดมาตั้งอยู่แล้วดับไป

** บัณฑิตย่อมแนะนำให้ทำดี
และบอกชี้แนวทางสวรรค์ให้
ทั้งแนะนำทุกสิ่งด้วยจริงใจ
ทำสิ่งใดคิดดูรู้อุบาย

** การคบกับบัณฑิตย่อมมีผล
จะห่างพ้นความชั่วสมดังหมาย
คบบัณฑิตย่อมสดใสทั้งใจกาย
จะเกิดสุขมากมายทุกข์ไม่มี

เรื่อง  ประโยชน์ของการคบมิตร

** ในอดีตกาลที่ผ่านมา
สมเด็จพระศาสดาเปล่งรัศมี
ทรงปรารภเรื่องมิตรจิตอารี
จึงทรงมีพระธรรมเทศนา

** พระราชอุทยานในกาลนั้น
ต่างก็มีสุขสันต์ชื่นหรรษา
โพธิสัตว์บังเกิดเป็นเทวดา
ประจำกอหญ้าคาในอุทยาน

** ได้เป็นมิตรเทวราชผู้ใหญ่ยิ่ง
ซึ่งพักพิงไม้มงคลมหาศาล
เกิดอาเพสมีเหตุพิสดาร
เสาปราสาทราชฐานไหวขึ้นมา

** ทรงรับสั่งให้ช่างรีบปรับเปลี่ยน
พวกนายช่างต่างเพียรเที่ยวเสาะหา
เมื่อพบไม้มงคลจึงหมายตา
ขออนุญาตพระราชาเพื่อจัดการ

** ทรงอนุมัติตามขอไม่รอช้า
เทวราชถึงคราน่าสงสาร
กอดคอลูกร้องไห้แทบวายปราณ
ใครหนอจะกล้าหาญมาช่วยเรา

** โพธิสัตว์บอกว่าข้าจะช่วย
ไม่ต้องตัดไม้ด้วยอย่าโศกเศร้า
ถึงเวลาฝ่ายช่างไม่ดูเบา
จึงรีบเข้าไปตัดในทันที

** โพธิสัตว์แปลงร่างเป็นกิ้งก่า
วิ่งนำหน้าเร็วไวอย่างด่วนจี๋
เข้าไปในต้นไม้โดยทันที
เปรียบประหนึ่งว่ามีโพรงข้างใน

** ฝ่ายนายช่างต่างเห็นเหตุการณ์นั้น
จึงพากันยกเลิกเพื่อหาใหม่
เทวราชจึงอยู่สืบต่อไป
กล่าวสรรเสริญด้วยซึ้งในการช่วยตน

** บุคคลที่เสมอกันหรือสูงกว่า
ควรคบหาเอาไว้ไม่หมองหม่น
แม้ต่ำกว่าก็คบได้ไม่อับจน
มิตรทุกคนมีเยื่อใยมากไมตรี

** คบมิตรดีล้วนมีแต่ความสุข
ห่างจากทุกข์ใดใดไม่หมองศรี
คบบัณฑิตปิดนรกชั่วชีวี
หนุนให้มีความสุขทุกคืนวัน


สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #3 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2559, 06:02:07 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๓  การบูชาผู้ที่ควรบูชา
(ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** บูชาคือยกย่องและกราบไหว้
เชิดชูไว้ด้วยศรัทธาพาสุขสันต์
มีการมอบสิ่งของสารพัน
นับถือกันด้วยใจใฝ่สิ่งดี

** การบูชามีอยู่สองชนิด
จงได้คิดใคร่ครวญอย่างถ้วนถี่
หนึ่งบูชาด้วยสิ่งของที่ตนมี
เรียกสิ่งนี้ว่า “อามิสบูชา”

** สองปฏิบัติคุณธรรมที่พร่ำสอน
ละนิวรณ์สำรวมอินทรีย์ห้า
ละความโลภโกรธหลงไม่นำพา
เป็น “ปฎิบัติบูชา” ด้วยจิตใจ

** ผู้ที่ควรยกย่องและนับถือ
นั่นก็คือพุทธองค์ทรงเป็นใหญ่
อีกพระธรรมพระสงฆ์ก่อนใครใคร
เหนืออื่นใดมารดาบิดาเรา

** ทั้งครูบาอาจารย์ท่านสอนสั่ง
สร้างความหวังกำจัดความโง่เขลา
ต้องนับถือบูชาอย่าดูเบา
ขีวิตเราก้าวหน้าหาใดปาน

** ผลที่เกิดจากการกระทำนี้
จะมั่งมีโภคทรัพย์นับไพศาล
เกียรติยศเกิดขึ้นดังบันดาล
มีความสุขทุกวันวารไร้โรคา

เรื่อง  นายสุมนะมาลาการ

** ในสมัยพุทธกาลกล่าวขานไว้
เป็นตัวอย่างเพื่อให้ได้ศึกษา
ขอเชิญชวนทุกท่านผู้ศรัทธา
ล้อมวงมาฟังกันขอบรรยาย

** ณ กรุงราชคฤห์แคว้นมคธ
ซึ่งงามงดโสภางค์อย่างเหลือหลาย
มีผู้คนอาศัยอยู่มากมาย
กระทาชายสุมนะมาลาการ

** ทำหน้าที่เป็นผู้จัดดอกไม้
เพื่อมอบให้พระเจ้าพิมพิสาร
ทำอย่างนี้ติดต่อมาเนิ่นนาน
พระราชทานเงินทองของตอบแทน

** จนวันหนึ่งได้พบพระพุทธองค์
พร้อมพระสงฆ์สาวกอีกเนืองแน่น
เกิดศรัทธาเลื่อมใสไม่คลอนแคลน
หมายวังแดนสวรรค์อันรื่นรมย์

** จึงถวายดอกไม้ให้เป็นทาน
เริ่มด้วยการแบ่งส่วนอย่างเหมาะสม
สองกำแรกโยนขึ้นไปตามลม
น่าชื่นชมได้กลายเป็นเพดาน

** สถิตอยู่เบื้องบนพระศาสดา
อีกสองกำต่อมาก็ประสาน
อยู่เบื้องหลังดูแลงามตระการ
ช่างเป็นเหตุพิสดารเกิดขึ้นมา

** ครั้งที่สามปรากฏอยู่เบื้องซ้าย
ครั้งที่สี่ก็ย้ายมาเบื้องขวา
มวลดอกไม้ลอยตามดูงามตา
เหล่าประชาโห่ร้องก้องกังวาล

** สุมนะปลื้มปิติเป็นที่ยิ่ง
ยอมทุกสิ่งแม้จะถูกประหาร
เพราะไม่มีดอกไม้ให้ภูบาล
หมือนดังวันวานและทุกวัน

** จึงเข้าเฝ้าสมเด็จเจ้าเหนือหัว
ไม่เกรงกลัวแม้ภัยใหญ่มหันต์
รีบกราบทูลให้ทราบมิช้าพลัน
บังคมคัลพร้อมรับกับอาญา

** พระราชาจึงตรัสว่า “สาธุ”
จงบรรลุสิ่งพึงปรารถนา
แล้วมอบเงินทองของนานา
ทั้งช้างม้าวัวควายให้เขาไป

** การบูชาผู้ที่ควรบูชา
ย่อมได้มาซึ่งสินทรัพย์นับไม่ได้
และย่อมเกิดความสุขเหนืออื่นใด
ทำให้ใจหายขุ่นมัวชั่วนิรันดร์            

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #4 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2559, 06:08:24 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๔  การอยู่ในประเทศที่สมควร  
(ปฏิรูปเทสวาโส จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** สถานที่คนดีอาศัยอยู่
คนทุกผู้ย่อมมีความสุขสันต์
สะดวกการทำกินเป็นสำคัญ
ปลอดภัยจากภยันอันตราย

** มีนักปราชญ์ราชบัณฑิตจิตผ่องใส
ย่อมทำให้รื่นรมย์สมใจหมาย
การเดินทางไปมาก็สบาย
ไม่วุ่นวายเป็น “ประเทศที่สมควร”

** อานิสงส์เกิดแก่เราทั้งหลาย
มีมากมายย้อนถึงคำนึงหวน
ประสบแต่ความสุขทุกกระบวน
ทั้งกายใจก็ล้วนสงบลง

** ได้อยู่ใกล้นักปราชญ์ญาติธัมมะ
รู้จักละกิเลสเหตุความหลง
ตั้งมั่นในคุณธรรมดังจำนง
สืบเผ่าพงศ์ความดีที่ยงยืน

** อีกโพยภัยทั้งหลายไม่กรายกล้ำ
มีความสุขเลิศล้ำกว่าที่อื่น
การทำมาหากินทุกวันคืน
จะราบรื่นสวัสดีมีโชคชัย

** การที่อยู่ในถิ่นอันเหมาะสม
จะอุดมทรัพย์สินถิ่นอาศัย
ทั้งเจริญก้าวหน้าไปตามวัย
ชื่นฤทัยสมหวังทั้งใจกาย

เรื่อง พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร

** เมื่อสมัยพุทธกาลแสนนานนัก
สองเพื่อนรักสาบานเป็นสหาย
ให้สัญญารักกันจนวันตาย
เกิดเบื่อหน่ายกามคุณวุ่นโลกีย์

** คนที่หนึ่งคือโมคคัลลานะ
อุตสาหะดิ้นรนพ้นวิถี
อีกคนหนึ่งสารีบุตรชายชาตรี
อยากหลีกลี้หนีทุกข์ให้สุดไกล

** จับมือกันเป็นศิษย์สญชัยเฒ่า
ตั้งใจเฝ้าศึกษาหาสิ่งใหม่
ได้เรียนจบหลักสูตรในเร็วไว
เจ้าสำนักตั้งให้เป็นอาจารย์

** คอยสั่งสอนรุ่นน้องให้ท่องบ่น
และฝึกฝนวิชาพาอาจหาญ
ไม่สมปรารถนาที่ต้องการ
อยากพบพานผู้รู้โมกขธรรม์

** จึงขอลาอาจารย์ออกเสาะหา
ให้สัจจะวาจาไม่แปรผัน
แม้นใครพบผู้รู้จะบอกกัน
เป็นพันธะผูกพันตลอดไป

** ครั้นวันหนึ่งสารีบุตรสุดโชคดี
พบสมณะผู้มีกายผ่องใส
คือพระอัสสชิมิใช่ใคร
เป็นหนึ่งในกลุ่มปัญจวัคคีย์

** จึงเข้าไปสนทนาวิสาสะ
เพื่อศึกษาธรรมะพระชินศรี
จึงนิมนต์ให้แสดงธรรมวาที
จงเอื้อนเอ่ยวจีเป็นสำเนา

** พระอัสสชิบอกว่าตัวข้านี้
ผู้บวชใหม่ยังมีความโง่เขลา
พระบรมศาสดาครูของเรา
จะสั่งสอนให้เจ้าได้เข้าใจ

** สารีบุตรนมัสการกล่าวขานว่า
ขอจงโปรดเมตตาจะได้ไหม
บอกข้อธรรมเบื้องต้นเป็นสายใย
พอทำให้ก่อเกิดภูมิปัญญา

** อัสสชิภิกษุพระผู้น้อย
จึงเอ่ยถ้อยกล่าวไปไม่กังขา
อันว่าธรรมเหล่าใดย่อมไหลมา
มีตัณหาเป็นเหตุเกิดเภทภัย

** ผลของมันย่อมทำให้เกิดทุกข์
ไร้ความสุขโศกาอย่าสงสัย
ละตัณหาสิ้นทุกข์สุขฤทัย
มีโชคชัยไร้กิเลสเหตุเกิดพลัน

** สารีบุตรปล่อยใจใฝ่ธรรมะ
จิตลดละอกุศลผลเกินฝัน
จนที่สุดบรรลุโสดาบัน
ในวันนั้นด้วยธรรมองค์สัมมา

** รีบกลับไปแจ้งข่าวแก่เพื่อนรัก
แล้วชวนชักสญชัยเพื่อไปหา
กราบบังคมสมเด็จพระศาสดา
แต่สญชัยบอกว่าไม่เป็นไร

** สองสหายเข้าเฝ้าจอมโมลี
ได้ขอบวชทันทีมิหวั่นไหว
เพียรบำเพ็ญกัมมัฏฐานฝึกจิตใจ
ครั้นที่สุดก็ได้บรรลุธรรม

** สารีบุตรนั้นเลิศทางปัญญา
โมคคัลลาเลิศทางฤทธิ์จิตคมขำ
เป็นอัครสาวกองค์ผู้นำ
เพราะได้ทำคุณงามสร้างความดี

** ทั้งสองท่านประสบความสำเร็จ
ประหนึ่งเพชรส่องประกายฉายแสงสี
เป็นเพราะประเทศนั้นบังเกิดมี
พุทธศาสน์เป็นที่หลอมศรัทธา

** อันการอยู่ในประเทศที่เหมาะสม
เป็นอุดมมงคลดีหนักหนา
ประดุจดังวิมานเทพเทวา
มีความสุขทุกทิพาราตรีกาล

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #5 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2559, 06:13:52 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๔  การอยู่ในประเทศที่สมควร  
(ปฏิรูปเทสวาโส จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** สถานที่คนดีอาศัยอยู่
คนทุกผู้ย่อมมีความสุขสันต์
สะดวกการทำกินเป็นสำคัญ
ปลอดภัยจากภยันอันตราย

** มีนักปราชญ์ราชบัณฑิตจิตผ่องใส
ย่อมทำให้รื่นรมย์สมใจหมาย
การเดินทางไปมาก็สบาย
ไม่วุ่นวายเป็น “ประเทศที่สมควร”

** อานิสงส์เกิดแก่เราทั้งหลาย
มีมากมายย้อนถึงคำนึงหวน
ประสบแต่ความสุขทุกกระบวน
ทั้งกายใจก็ล้วนสงบลง

** ได้อยู่ใกล้นักปราชญ์ญาติธัมมะ
รู้จักละกิเลสเหตุความหลง
ตั้งมั่นในคุณธรรมดังจำนง
สืบเผ่าพงศ์ความดีที่ยงยืน

** อีกโพยภัยทั้งหลายไม่กรายกล้ำ
มีความสุขเลิศล้ำกว่าที่อื่น
การทำมาหากินทุกวันคืน
จะราบรื่นสวัสดีมีโชคชัย

** การที่อยู่ในถิ่นอันเหมาะสม
จะอุดมทรัพย์สินถิ่นอาศัย
ทั้งเจริญก้าวหน้าไปตามวัย
ชื่นฤทัยสมหวังทั้งใจกาย

เรื่อง พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร

** เมื่อสมัยพุทธกาลแสนนานนัก
สองเพื่อนรักสาบานเป็นสหาย
ให้สัญญารักกันจนวันตาย
เกิดเบื่อหน่ายกามคุณวุ่นโลกีย์

** คนที่หนึ่งคือโมคคัลลานะ
อุตสาหะดิ้นรนพ้นวิถี
อีกคนหนึ่งสารีบุตรชายชาตรี
อยากหลีกลี้หนีทุกข์ให้สุดไกล

** จับมือกันเป็นศิษย์สญชัยเฒ่า
ตั้งใจเฝ้าศึกษาหาสิ่งใหม่
ได้เรียนจบหลักสูตรในเร็วไว
เจ้าสำนักตั้งให้เป็นอาจารย์

** คอยสั่งสอนรุ่นน้องให้ท่องบ่น
และฝึกฝนวิชาพาอาจหาญ
ไม่สมปรารถนาที่ต้องการ
อยากพบพานผู้รู้โมกขธรรม์

** จึงขอลาอาจารย์ออกเสาะหา
ให้สัจจะวาจาไม่แปรผัน
แม้นใครพบผู้รู้จะบอกกัน
เป็นพันธะผูกพันตลอดไป

** ครั้นวันหนึ่งสารีบุตรสุดโชคดี
พบสมณะผู้มีกายผ่องใส
คือพระอัสสชิมิใช่ใคร
เป็นหนึ่งในกลุ่มปัญจวัคคีย์

** จึงเข้าไปสนทนาวิสาสะ
เพื่อศึกษาธรรมะพระชินศรี
จึงนิมนต์ให้แสดงธรรมวาที
จงเอื้อนเอ่ยวจีเป็นสำเนา

** พระอัสสชิบอกว่าตัวข้านี้
ผู้บวชใหม่ยังมีความโง่เขลา
พระบรมศาสดาครูของเรา
จะสั่งสอนให้เจ้าได้เข้าใจ

** สารีบุตรนมัสการกล่าวขานว่า
ขอจงโปรดเมตตาจะได้ไหม
บอกข้อธรรมเบื้องต้นเป็นสายใย
พอทำให้ก่อเกิดภูมิปัญญา

** อัสสชิภิกษุพระผู้น้อย
จึงเอ่ยถ้อยกล่าวไปไม่กังขา
อันว่าธรรมเหล่าใดย่อมไหลมา
มีตัณหาเป็นเหตุเกิดเภทภัย

** ผลของมันย่อมทำให้เกิดทุกข์
ไร้ความสุขโศกาอย่าสงสัย
ละตัณหาสิ้นทุกข์สุขฤทัย
มีโชคชัยไร้กิเลสเหตุเกิดพลัน

** สารีบุตรปล่อยใจใฝ่ธรรมะ
จิตลดละอกุศลผลเกินฝัน
จนที่สุดบรรลุโสดาบัน
ในวันนั้นด้วยธรรมองค์สัมมา

** รีบกลับไปแจ้งข่าวแก่เพื่อนรัก
แล้วชวนชักสญชัยเพื่อไปหา
กราบบังคมสมเด็จพระศาสดา
แต่สญชัยบอกว่าไม่เป็นไร

** สองสหายเข้าเฝ้าจอมโมลี
ได้ขอบวชทันทีมิหวั่นไหว
เพียรบำเพ็ญกัมมัฏฐานฝึกจิตใจ
ครั้นที่สุดก็ได้บรรลุธรรม

** สารีบุตรนั้นเลิศทางปัญญา
โมคคัลลาเลิศทางฤทธิ์จิตคมขำ
เป็นอัครสาวกองค์ผู้นำ
เพราะได้ทำคุณงามสร้างความดี

** ทั้งสองท่านประสบความสำเร็จ
ประหนึ่งเพชรส่องประกายฉายแสงสี
เป็นเพราะประเทศนั้นบังเกิดมี
พุทธศาสน์เป็นที่หลอมศรัทธา

** อันการอยู่ในประเทศที่เหมาะสม
เป็นอุดมมงคลดีหนักหนา
ประดุจดังวิมานเทพเทวา
มีความสุขทุกทิพาราตรีกาล

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #6 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2559, 06:26:53 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๕  การทำบุญไว้ในกาลก่อน
(ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** ปุพเพ จะ กะตะปุญญตา
หมายความว่าสร้างบุญเป็นพื้นฐาน
ได้สั่งสมความดีมี ศีล ทาน
ภาวนา แต่กาลชาติก่อนมา

** คนที่เคยทำบุญชาติก่อนนั้น
เรียกสั้นสั้นคนมีวาสนา
มีผิวพรรณงดงามทั่วกายา
เสียงไพเราะดังนกการะเวกดง

** มีจิตใจสะอาดและสงบ
ใครได้พบจะพากันลุ่มหลง
ในคุณงามความดีที่มั่นคง
เจตน์จำนงสร้างกรรมดีชั่วนิรันดร์

** การสั่งสมบุญไว้ในการก่อน
ผลจะย้อนทำให้มีสุขสันต์
ไม่มีทุกข์โรคภัยมาพัวพัน
โลกทั้งโลกก็พลันงดงามตา

** ในชาตินี้จงสร้างแต่กุศล
เพื่อเป็นผลตามไปในชาติหน้า
ละความโลภโกรธหลงไม่นำพา
อีกความชั่วนานาหลีกให้ไกล

** นี่คือผลของบุญที่หนุนสร้าง
เป็นข้ออ้างก่อนที่จะมาเกิดใหม่
นับตั้งแต่วันนี้สืบต่อไป
เรื่องอื่นใดปล่อยวางอย่างจริงจัง

เรื่อง  ควาญช้างได้เป็นพระมหากษัตริย์

** อดีตกาลผ่านมาเวลาผ่าน
แสนเนิ่นนานขอกล่าวเล่าความหลัง
เรื่องเกิดที่พาราณสีโปรดจงฟัง
นิทานังได้ฤกษ์เริ่มเบิกโรง

** ชายคนหนึ่งอาชีพตัดฟืนขาย
สุขสบายแม้จะไม่โอ่โถง
เป็นอาชีพสุจริตไม่คิดโกง
รับรองโปร่งไม่มีที่นอกใน

** ณ วันหนึ่งจึงออกไปในป่า
หวังจะตัดไม้มาไม่เหลวไหล
นำไปขายทำกินในถิ่นไพร
เพื่อจะได้ยังชีพเช่นทุกวัน

** ไม่เกียจคร้านซื่อตรงต่อหน้าที่
เป็นคนมีมานะและขยัน
ตื่นแต่เช้าเข้าป่ามิช้าพลัน
นิจนิรันดร์สุขใจไม่อาทร

** ตัดไม้เพลินเกินเวลากว่าจะกลับ
ตะวันลับขอบฟ้าพาสังหรณ์
ถ้าประตูเมืองปิดคงร้าวรอน
จึงรีบจรกลับมายังหน้าเมือง

** ถึงเวลานายประตูรู้หน้าที่
จึงรีบปิดทันทีใช่ทำเขื่อง
ปฏิบัติตามกติกาอย่าขุ่นเคือง
ไม่ใช่เรื่องเสแสร้งหรือแกล้งใคร

** คนตัดฟืนมาถึงจึงได้รู้
ว่าประตูเพิ่งปิดไปใหม่ใหม่
ในที่สุดจึงได้ตัดสินใจ
ไม่เป็นไรจะนอนนอกกำแพง

** ครั้นใกล้รุ่งสะดุ้งเพราะเสียงไก่
เถียงกันสนั่นไหวอวดกำแหง
อันสาเหตุทะเลาะกันรุนแรง
ไก่ตัวบนผิดสำแดงถ่ายลงมา

** ให้บังเอิญถูกหัวไก่ตัวล่าง
ความบาดหมางจึงวิ่งเข้ามาหา
เกิดโอ้อวดเถียงกันจำนรรจา
ต่างก็ว่าตัวเก่งไม่เกรงกัน

** ไก่ตัวล่างบอกว่าตัวข้านี้
มีของดีประเสริฐเกินเสกสรร
อันเนื้อข้ามีคุณนับอนันต์
ใครได้กินมีเงินพันในทันใด

** ไก่ตัวบนบอกว่าข้าแน่กว่า
ใครได้กินตัวข้าจะสดใส
เป็นพระมหากษัตริย์ในเร็วไว
เป็นมเหสีหรือไม่เป็นขุนคลัง

** คนตัดฟืนได้ฟังไม่รอช้า
รีบลุกมาพร้อมกับมีความหวัง
เป็นราชาที่เข้มแข็งมีพลัง
ได้ครอบครองเวียงวังอันโอฬาร

** จึงจับไก่ตัวบนเอามาฆ่า
นำไปให้ภรรยาทำอาหาร
เล่าเรื่องราวที่เกิดแก่นงคราญ
เยาวมาลย์จะได้เป็นยอดนารี

** เมื่อเสร็จแล้วจึงบอกให้ทราบว่า
อาบน้ำก่อนดีกว่าจะเป็นศรี
จงได้นำอาหารเท่าที่มี
ไปยังริมนทีชำระกาย

** ขณะนั้นเกิดมีพายุใหญ่
พัดอาหารลอยไปเกินคาดหมาย
ลอยละล่องในธาราอย่างท้าทาย
คนตัดฟืนเสียดายอดได้กิน

** เป็นเพราะวาสนาสร้างมาน้อย
โชคจึงลอยล่องไปไกลสูญสิ้น
บุญกาลก่อนไม่ได้สร้างจึงโบยบิน
โอ้ชีวินไร้คุณค่าแทบบ้าตาย

** โชคชะตาวาสนาของควาญช้าง
ที่ได้สร้างเอาไว้ไม่สูญหาย
ขณะที่นำช้างเยื้องย่างกราย
ไปริมฝั่งของสายมหานที

** มีถาดไก่ลอยมากลางสายน้ำ
จึงได้จ้ำว่ายไปอย่างเร็วรี่
รีบคว้าเอาถาดไก่ไว้ทันที
เป็นโชคดีได้อาหารกลับบ้านตน

**ฝ่ายดาบสอาจารย์ของควาญช้าง
ญาณพิเศษนำทางไม่สับสน
รู้เรื่องราวของไก่เป็นมงคล
จรดลหาควาญช้างอย่างเร็วไว

** นายควาญช้างจึงรีบบอกภรรยา
รีบนำอาหารมาแล้วมอบให้
ฝ่ายดาบสจึงรับอาหารไป
เพื่อจัดการแบ่งให้กับทุกคน

** แบ่งสันในให้แก่นายควาญช้าง
บุญบารมีที่สร้างทางกุศล
จะได้เป็นราชาของหมู่ชน
ภายใต้นพปฏลเศวตทอง

** ฝ่ายภรรยาดาบสให้สันนอก
เพื่อจะบอกชาตินี้ไม่มีหมอง
ได้เป็นมเหสีผู้ครอบครอง
ราชธานีดังปองคู่ราชา

** ส่วนดาบสเลือกเนื้อติดกระดูก
จะพันผูกรับใช้เสน่หา
เป็นเสนาบดีมีศักดา
คู่พระทัยกษัตราครองธานี

** อีกสามวันข้าศึกมาประชิด
รอบทุกทิศของกรุงพาราณสี
จอมกษัตริย์ผู้ซึ่งครองบุรี
จึงได้มีดำรัสสั่งลงมา

** ให้ควาญช้างแต่งตัวเป็นกษัตริย์
อนุมัติให้ออกศึกคึกหนักหนา
พระองค์เองเป็นทหารออกตรวจตรา
โดนธนูยิงมาถึงสิ้นใจ

** ควาญช้างเปลี่ยนอุบายการต่อสู้
เอาชนะศัตรูให้จงได้
นำทรัพย์สินเงินทองจากคลังใน
จะมอบให้แก่ผู้ออกสู้รบ

** ในที่สุดก็ได้ชัยชนะ
นับแต่นี้จะมีความสงบ
การกระทำแบบนี้เพิ่งเคยพบ
นายควาญช้างสยบพวกมาเยือน

** ชาวเมืองยกให้เป็นวีรบุรุษ
ยอดมนุษย์เก่งกล้าหาใครเหมือน
จึงสถาปนาไม่แชเชือน
เป็นกษัตริย์เชือดเฉือนด้วยศักดา

** ด้วยผลบุญทำไว้ในปางก่อน
จึงสะท้อนให้มีวาสนา
ดำรงศักดิ์ยิ่งใหญ่ในพารา
ทั้งสามีภรรยาและอาจารย์

** รีบสร้างบุญกันไว้ในชาตินี้
จะได้มีต้นทุนในสงสาร
เกิดชาติใดไม่ทุกข์ทรมาน
สั่งสมบุญบันดาลให้สุขใจ

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #7 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2559, 01:09:18 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๖  การตั้งตนไว้ชอบ
(อตฺตสมฺมาปณิธิ  จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** มงคลหกขอยกเอามากล่าว
เป็นเรื่องราวบอกแจ้งแถลงไข
ให้ชาวพุทธได้เรียนรู้คู่กันไป
เพื่อพี่น้องคนไทยผู้ใฝ่บุญ

** การตั้งตนไว้ชอบประกอบด้วย
ความศรัทธาจะช่วยสนับสนุน
อีกบริจาค ความเพียร ล้วนเป็นคุณ
ช่วยค้ำจุนให้ใจไร้ราคี

** ความละอายต่อบาปโปรดทราบว่า
จะนำพาพ้นทุกข์มีสุขศรี
การตั้งตนคือตั้งใจใฝ่ความดี
เป็นสิ่งมีคุณค่าหาใดปาน

** ตั้งใจดีการกระทำก็ล้ำค่า
ไม่เสียทีที่เกิดมาในสงสาร
ตั้งตนชอบมั่นใจในบุญทาน
ละวิตกจิตพาลให้ห่างไกล

** ตั้งจิตผิดย่อมนำเกิดความเสื่อม
เป็นตัวเชื่อมชั่วร้ายให้หวั่นไหว
ตั้งจิตถูกวิธีดีกว่าใคร
จะสดใสก้าวหน้าพารุ่งเรื่อง

** การตั้งตนไว้ชอบประกอบกิจ
รู้ถูกผิดคิดดูจะฟูเฟื่อง
ตั้งตนดีมีค่าจะประเทือง
เกียรติยศลือเลื่องชั่วชีวัน

เรื่อง  โกสิยะผู้ตระหนี่

** จะขอเล่านิทานในกาลก่อน
เพื่อสะท้อนการทำดีที่สร้างสรรค์
และส่งเสริมละความชั่วอย่าผูกพัน
ใช่จะเพ้อจำนรรจ์เพียงลมลม

** ในกาลนั้นที่กรุงพาราณสี
ท่านเศรษฐียิ่งใหญ่ไม่ขื่นขม
มีทรัพย์สินเงินทองเอกอุดม
น่าชื่นชมจิตใจใสละมุน

** ตั้งโรงทานหกแห่งเพื่อช่วยเหลือ
มีจิตใจเอื้อเฟื้อช่วยเกื้อหนุน
แก่คนจนยากไร้ได้พึ่งบุญ
ต่อชีวิตเป็นทุนก้าวต่อไป

** สี่โรงทานตั้งอยู่ในสี่ทิศ
ใกล้เคียงชิดกับสี่ประตูใหญ่
มีผู้คนมากมายทั้งใกล้ไกล
พวกเขาได้อาศัยในโรงทาน

** อีกแห่งหนึ่งกลางเมืองดูเรืองรุ่ง
คนยากไร้ต่างมุ่งรับอาหาร
อีกหนึ่งแห่งตั้งอยู่หน้าเรือนชาน
พร้อมให้บริการทุกทุกวัน

** การสร้างบุญทำให้จิตผ่องใส
เมื่อตายแล้วจะได้ไปสวรรค์
ท่านเศรษฐีก็เป็นเช่นเดียวกัน
เมื่อตายพลันไปเกิดเป็นพระอินทร์

** ฝ่ายลูกชายก็ได้สละทรัพย์
เช่นเดียวกับเศรษฐีเป็นนิจสิน
ทำจิตใจให้ผ่องใสไร้ราคิน
ละชีวินไปเกิดเป็นพระจันทร์

** ส่วนหลานชายได้รับมรดก
ก็หยิบยกปฏิปทามาสานฝัน
ดำเนินการทุกสิ่งให้เหมือนกัน
ไปตามที่ปู่นั้นท่านทำมา

** ครั้นสุดท้ายถึงกาลสิ้นชีวิต
ไปสถิตเทวโลกโชคหนักหนา
ชื่อพระอาทิตย์ผู้ทรงมหิทธา
เพราะบุญญาที่สร้างอย่างถาวร

** อีกหลายรุ่นผ่านไปไม่เปลี่ยนผัน
คงยึดมั่นในทานไม่ถ่ายถอน
จนกระทั่งคนสุดท้ายก็คลายคลอน
ยกเลิกสิ่งเก่าก่อนแม้โรงทาน

** โกสิยะเป็นคนที่ตระหนี่
ไม่เคยมีเมตตาและสงสาร
คิดว่าคนรุ่นเก่าโง่ดักดาน
การให้ทานสิ้นเปลืองเลิกเสียที

** การเป็นอยู่ของเขาช่างแสนเข็ญ
ทำตัวเป็นยากไร้ให้เสื่อมศรี
ใช้เสื้อผ้าเก่าเก่าคลุมกายี
การเป็นอยู่เหลือที่น่าเวทนา

** บริโภคปลายข้าวเช้าเที่ยงค่ำ
ชีวิตแสนชอกช้ำเพราะบาปหนา
เนื่องจากความตระหนี่เกินอัตรา
จึงได้พาให้คิดผิดทำนอง

** เช้าวันหนึ่งโกสิยะจะเข้าเฝ้า
เหนือหัวเจ้าพาราณสีเพื่อสนอง
นโยบายต่าง ๆ ดังใจปอง
เพื่อรับใช้ผู้ครองราชธานี

** จึงแวะหาเศรษฐีเพื่อนผู้น้อง
ซึ่งเป็นคู่ปรองดองไม่หน่ายหนี
เขาทานข้าวปายาสอยู่พอดี
ได้ชวนชี้โกสิยะทานด้วยกัน

** ความอยากทานบังเกิดอย่างจับจิต
แต่นิ่งคิดเกรงกลัวจนตัวสั่น
เราจะต้องตอบแทนเขาสักวัน
ความเสียดายเกินขั้นจะพรรณนา

** กลับถึงบ้านความอยากก็มากขึ้น
ต้องนั่งกลืนน้ำลายให้โหยหา
กลัวจะเสียทรัพย์สินจึงรอรา
จนกายาผ่ายผอมสุดตรอมตรม

** อาการไข้ได้ป่วยก็กำเริบ
เพราะอยากเปิบข้าวปายาสไม่สุขสม
จะนั่งนอนโศกเศร้าเร้าระทม
ภรรยาคู่ภิรมย์คอยปลอบใจ

** สอบถามว่าว่าต้องการสิ่งใดหรือ
จะปรนปรือจัดให้อย่างยิ่งใหญ่
อันทรัพย์สินเรามีออกถมไป
ถ้าอยากได้จะรีบจัดหามา

** โกสิยะจึงแจ้งให้เมียรู้
เรื่องที่ข้าคิดอยู่และปรารถนา
อยากกินข้าวปายาสเพียงสักครา
ภรรยารีบตอบว่าตกลง

** ถ้าอย่างนั้นจะสั่งคนรับใช้
ให้เตรียมของเอาไว้ไม่ลืมหลง
พรุ่งนี้จะได้หุงอย่างมั่นคง
เจตน์จำนงให้ทุกคนได้รับทาน

** ท่านเศรษฐีบอกว่าไม่จำเป็น
มันสิ้นเปลืองเห็นเห็นจะร้าวฉาน
มีแต่เราไม่เปลืองงบประมาณ
คนในบ้านเขาคงไม่อดตาย

** ภรรยากล่าวว่าถ้าอย่างนั้น
ท่านกับฉันสองคนคงสมหมาย
หุงข้าวปายาสกินอย่างสบาย
ไม่มีใครวุ่นวายกับสองเรา

** โกสิยะว่าเจ้าไม่อยากกิน
ทำมากก็สูญสิ้นเสียเปล่าเปล่า
ข้าคนเดียวไม่มากพอทำเนา
ขอให้เจ้าจงได้รีบจัดการ

** เราจะไปหุงกันที่ในป่า
จะไม่มีใครมาช่วยล้างผลาญ
ทำให้เราเจ็บใจและร้าวราน
ข้าจะได้รับประทานอย่างสุขใจ

** ร้อนถึงบรรพบุรุษในชั้นสรวง
เขาทั้งปวงปรึกษากันจะแก้ไข
ความตระหนี่ถี่เหนียวโดยเร็วไว
มิฉะนั้นสิ้นใจลงอบาย

** เนรมิตกายามาเป็นพราหมณ์
ที่อุตส่าห์พยายามด้วยกระหาย
หวังส่วนแบ่งข้าวปายาสเพื่อเลี้ยงกาย
จึงทุรนทุรายมาขอกิน

** โกสิยะเสียดายไม่อยากให้
ปฏิเสธไม่ได้ดังถวิล
จำต้องยอมแบ่งให้ใจรวยริน
ต้องสูญสิ้นบางส่วนชวนเสียดาย

** แต่น่าแปลกประหลาดคาดไม่ถึง
อาหารพึงไม่พร่องหรือสลาย
โกสิยะรู้สึกหิวอย่างมากมาย
จึงมุ่งหมายรีบตักอาหารกิน

** ปัญจะสิขะเทพผู้เป็นพ่อ
ไม่รีรอแปลงร่างอย่างใจหิน
เป็นสุนัขฉี่ใส่ในหม้อดิน
โกสิยะเลยสิ้นโอกาสทาน

** จึงลุกขึ้นวิ่งไล่เจ้าสุนัข
เพราะความแค้นสุดจักจะสมาน
หวังจะตีให้เข็ดไปอีกนาน
สุนัขพาลกลายร่างเป็นพาชี

** แล้วกลับมาแสดงความดุร้าย
มุงหน้าหมายมาไล่ท่านเศรษฐี
ให้หันหลังวิ่งไปในทันที
เพราะกลัวมีอันตรายมาใกล้ตน

** พราหมณ์ทั้งห้าแสดงตัวตามฐานะ
กลับกลายเป็นเทวะใจกุศล
สั่งสอนให้ก้าวพ้นความอับจน
เป็นมงคลทำให้สุขสำราญ

** พรรณนาถึงผลความตระหนี่
ทำให้มีแต่ทุกข์ในสงสาร
จงทำดีเลื่อมใสในผลทาน
เทวโลกสถานอันพึงไป

** โกสิยะเข้าใจในคำสอน
กราบขอพรเริ่มต้นชีวิตใหม่
สร้างโรงทานสานฝันอันเกรียงไกร
ตามบรรพบุรุษน้อยใหญ่ได้ทำมา

** เมื่อละโลกไปเกิดในวิมาน
สุขสราญรมย์รื่นชื่นหรรษา
การตั้งตนไว้ชอบย่อมนำพา
ให้ชีวิตสูงค่าสุขสบาย

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #8 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2559, 01:18:17 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๗ ความเป็นพหูสูต
(พหุสจฺจญฺ  จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** “พาหุสัจจะ”  แปลว่าพหูสูต
ขอโอกาสได้พูดเพื่อขยาย
ให้ท่านผู้ใฝ่รู้อีกมากมาย
ได้ฟังคำบรรยายพอเข้าใจ

** พหูสุตคือการศึกษามาก
ซึ่งเกิดจากรับฟังสิ่งใหม่ใหม่
ทั้งค้นคว้าเรียนรู้ทั่วทั่วไป
อีกทั้งใฝ่สัมมนาฝึกอบรม

** พยายามท่องจำทุกคำสอน
จนจำได้ทุกตอนอย่างเหมาะสม
นำไปใช้พัฒนาทางอารมณ์
เลี้ยงชีวิตให้อุดมและสมบูรณ์

** จะตั้งในความดีความถูกต้อง
ตามครรลองกุศลผลไม่สูญ
เพราะละเว้นความชั่วตัวอาดูร
จึงเพิ่มพูนศรัทธาบารมี

** พึงเป็นที่เคารพสักการะ
ใช้ธรรมะส่องใจใฝ่ศักดิ์ศรี
มีความรู้ใช้ความรู้เพื่อชีวี
เป็นวิถีนำทางสร้างสังคม

** นำความรู้ที่ร่ำเรียนเพียรศึกษา
สร้างปัญญาให้เกิดเป็นประถม
ชีวิตไม่ลำเค็ญเป็นมัธยม
ส่วนอุดมมีสุขทุกข์ห่างไกล

เรื่อง  เสนกะบัณฑิต

** ขอย้อนกล่าวถึงพระโพธิสัตว์
ครั้งเสวยพระชาติเป็นพราหมณ์ใหญ่
ชื่อว่า “เสนกะ” ผ่องอำไพ
เรียนรู้จากแดนไกลตักสิลา

** รับราชการที่กรุงพาราณสี
ทำหน้าที่อนุศาสน์ไขปัญหา
ได้ขยายอรรถธรรมแก่ราชา
และบรรยายธรรมาแก่ปวงชน

** มีพราหมณ์แก่ขอทานเลี้ยงชีวิต
หากินสุจริตไม่หมองหม่น
เดินขอไปในย่านของผู้คน
ได้เงินมาเหลือล้นเกินรำพัน

** จึงหวนกลับเคหาเคยอาศัย
แสนอาลัยหนักหนาพาไหวหวั่น
ต้องจากไปขอทานเสียนานครัน
เพื่อครอบครัวสุขสันต์ทุกวันวาร

** ระหว่างทางแวะเข้าใต้ต้นไม้
เพื่อจะได้หยุดพักทานอาหาร
หยิบข้าวตังออกมารับประทาน
แล้วลนลานรีบออกไปล้างมือ

** จนทำให้เขาลืมปิดปากถุง
เพราะใจมุ่งมั่นหมายไม่ใช่หรือ
งูพิษร้ายได้กลิ่นหอมกระพือ
เป้าหมายคือถุงผ้าของขอทาน

** ฝ่ายพราหมณ์แก่กลับมาไม่ได้คิด
จึงรีบปิดถุงผ้ากลับถิ่นฐาน
ทันใดนั้นมีเสียงก้องกังวาน
เพื่อบอกให้ขอทานระวังตัว

** ถ้าวันนี้หยุดพักระหว่างทาง
ชีพจะต้องวายวางใช่พูดมั่ว
ถ้าถึงบ้านเมียตายอย่างน่ากลัว
ดีหรือชั่วสร้างไว้ได้แน่นอน

** พราหมณ์แก่ได้ทราบเรื่องเดินร้องไห้
มีใครบ้างช่วยได้ช่วยถ่ายถอน
ให้พ้นจากทุกข์ภัยใจสั่นคลอน
แสนอาวรณ์ต่อชีวิตอนิจจัง

** จนกระทั่งถึงเมืองพาราณสี
เห็นผู้คนมากมีต่างมุ่งหวัง
ได้มุ่งหน้าไปสู่พระราชวัง
เพื่อรับฟังธรรมบรรยายให้สุขใจ

** จึงเดินตามฝูงชนไปห่างห่าง
จะฟังธรรมนำทางจิตผ่องใส
เพื่อบรรเทาความเศร้าที่ภายใน
คิดหาใครมาช่วยคงไม่มี

** เสนกะมองเห็นขอทานแก่
ก็รู้แน่มีทุกข์ไม่สุขี
จึงรีบถามเรื่องราวในทันที
รู้ได้ดีมีเหตุให้ร้อนรน

** เริ่มสอบถามเรื่องราวสาวสาเหตุ
เพื่อสังเกตพื้นฐานไม่สับสน
ที่ในถุงมีข้าวตังใส่ปะปน
เป็นเสบียงยามจนต้องทนเอา

** ขอทานเฒ่ารีบตอบว่าถูกต้อง
เป็นครรลองยามเดินทางที่เงียบเหงา
ทานอาหารหรือไม่จงบอกเรา
ที่ในกลางลำเนาตอนเดินทาง

** จึงบอกว่าได้ทานที่กลางป่า
ใต้พฤกษาต้นใหญ่ยามฟ้าสาง
ก่อนดื่มน้ำล้างมือให้สะอาง
ปิดปากถุงที่เปิดกว้างหรือไม่เอย

** จึงตอบว่าข้านี้ไม่ได้ปิด
เสนกะครุ่นคิดแล้วเฉลย
อสรพิษได้กลิ่นลมรำเพย
หอมจังเลยเลื้อยเข้าถุงข้าวตัง

** ถ้าหากท่านกินอาหารในเย็นนี้
จะต้องสิ้นชีวีตามคาดหวัง
เป็นเพราะถูกงูพิษกัดอย่างจัง
แต่ถ้าถึงเคหังจะรอดตาย

** ภรรยาจะเป็นผู้ถูกงูกัด
เพราะย่อมจัดของในถุงดังมุ่งหมาย
ให้ขอทานวางถุงบนพื้นทราย
ใช้วิธิง่ายง่ายคอยไล่งู

** ใช้ไม้เคาะเบาเบาที่ถุงผ้า
มันจึงเลื้อยออกมาส่งเสียงขู่
แผ่พังพานแล้วร้องดัง ฟู  ฟู
บอกให้รู้เข้ามาข้ากัดจริง

** เมื่อจัดการเรื่องงูสำเร็จแล้ว
ใจขอทานผ่องแผ้วเป็นสุขยิ่ง
เกิดศรัทธาเสนกะไม่ประวิง
มอบทุกสิ่งที่ได้มาบูชาคุณ

** พร้อมทั้งเงินเจ็ดร้อยกหาปณะ
เสนกะไม่ขอรับอย่าเคืองขุ่น
เพิ่มให้อีกสามร้อยเพื่อทำบุญ
ครบหนึ่งพันเป็นทุนให้ขอทาน

** แล้วถามว่ามีใครให้ไปขอ
ไม่รีรอรีบตอบเพื่อไขขาน
ภรรยาโฉมงามแม่นงคราญ
โฉมสราญให้ไปขอพอมีกิน

** เสนกะรู้ว่าเธอยังสาว
จึงได้บอกเรื่องราวดังถวิล
จงเก็บเงินนอกบ้านเป็นอาจิณ
อย่าปล่อยให้ยุพินได้รับรู้

** มิฉะนั้นคู่นอนของโฉมศรี
จะเอาเงินที่มีไม่อดสู
พราหมณ์ขอทานเชื่อฟังคำของครู
เก็บเงินแล้วเดินสู่ประตูเรือน

** ตะโกนเรียกเมียสาวเจ้าอยู่ไหน
มัวแต่ทำอะไรใยเชือดเฉือน
ไม่สนใจผัวเจ้าเฝ้าแช เชือน
ที่ผัวกลับมาเหมือนไม่สนใจ

** ฝ่ายภรรยาเริงร่าอยู่กับชู้
ครั้นพอรู้ผัวมาพาวุ่นใหญ่
จึงบอกชู้จงรีบไปปิดไฟ
แล้วจงรีบหนีไปค่อยย้อนมา

** รีบออกมารับหน้าสามีไว้
แล้วถามไถ่เรื่องเงินที่ไปหา
เงินอยู่ไหนเร็วไวเผยวาจา
จงรีบเอาเงินมาอย่ารอรี

** เฒ่าขอทานกล่าวว่าอยู่ข้างนอก
เอ่ยปากบอกถึงที่ฝังอย่างถ้วนถี่
ฝ่ายชายชู้รีบไปในทันที
ขุดเอาเงินที่มีเป็นของตน

** เช้าขึ้นมาจึงรู้ว่าเงินหาย
แสนเสียดายหนักหนาพาหมองหม่น
จึงไปพบเสนกะในบัดดล
เพื่อจะแจ้งยุบลเรื่องเงินทอง

** เสนกะครั้นรู้เรื่องทั้งหมด
ให้รู้สึกรันทดและหม่นหมอง
จึงได้แจ้งอุบายให้ไปลอง
ตามทำนองคนดีมีปัญญา

** ตามเนื้อหาของอุบายให้เริ่มต้น
เชิญผู้คนทั้งสองฝ่ายให้มาหา
เพื่อกินเลี้ยงทุกวันหนึ่งสัปดาห์
โดยต้องลดอัตราลงมาพลัน

** ฝ่ายละหนึ่งพึงลดงดเชิญต่อ
แล้วจงรอครบเวลาใครขยัน
จะพึงมีหนึ่งคนมาทุกวัน
จงพาคนผู้นั้นมาหาเรา

** ครั้นได้ตัวรีบไปหาเสนกะ
เพื่อชำระความผิดคิดร้ายเขา
ขโมยเงินขอทานพาลมัวเมา
จงนำเอาเงินมาคืนให้ครบพัน

** เสนกะลงโทษกับชายชู้
ตามกระทู้กระบวนความอย่างกวดขัน
คนทำดีได้ดีเป็นรางวัล
คนทำชั่วโทษทัณฑ์ติดตามมา

** คนอ่านมาก  ฟังมาก  ย่อมรู้มาก
เป็นผลจากการตั้งใจใฝ่ศึกษา
คือพื้นฐานอันประเสริฐเกิดปัญญา
วัฒนารุ่งเรืองประเทืองบุญ

** ดังเช่นกับตัวท่านเสนกะ
ใช่ว่าจะมีฤทธามาช่วยหนุน
แต่เป็นเพราะสังเกตเป็นต้นทุน
ช่วยเจือจุนสมมุติฐานการควรเป็น

** นี่คือผู้ที่เป็นพหูสูต
มิใช่คิดและพูดเพียงได้เห็น
ต้องมีเหตุมีผลเกิดประเด็น
พิจารณาจากที่เป็นข้อเท็จจริง

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #9 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2559, 01:28:58 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๘  มีศิลปะ
(สิปฺปญฺ  จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** ศิลปะหมายถึงฉลาดทำ
เพื่อน้อมนำเป็นอาชีพที่ใหญ่ยิ่ง
คือนำเอาศิลปะมาอ้างอิง
ทำให้เกิดเป็นสิ่งน่านิยม

** ศิลปะแบ่งออกเป็นสองสถาน
หนึ่งเป็นงานของคฤห้สถ์จัดสั่งสม
คือฉลาดหากินให้อุดม
จนสังคมยอมรับนับว่าดี

** สองเป็นกิจสำหรับบรรพชิต
ที่ต้องคิดสร้างศิลป์ปิ่นศักดิ์ศรี
พระอานนท์คือตัวอย่างปรากฏมี
ออกแบบจีวรเป็นยอดนิยม

** ความเป็นศิลปะย่อเป็นสาม
ซึ่งมีตามคัมภีร์ดีเหมาะสม
คือช่างคิดช่างทำดูขำคม
และช่างพูดรื่นรมย์สุขสมใจ

** มีศิลปะเป็นมงคลอุดมผล
จะเลิศล้นก้าวหน้าพาสดใส
เกิดประโยชน์สามประการเลิศวิไล
ขอกล่าวไว้เป็นเบื้องต้นชนพึงฟัง

** อัตถะประโยชน์ตนและคนอื่น
หิตะยื่นเกื้อกูลพูนความหวัง
สุขะอำนวยสุขเพิ่มพลัง
ให้จิรังยั่งยืนพันหมื่นปี

เรื่อง  บุรุษง่อยนักดีดก้อนหิน

** อดีตกาลผ่านมาช้านานแล้ว
 ณ เมืองแก้วชื่อว่าพาราณสี
บุรุษง่อยคนเก่งและแสนดี
เลี้ยงชีวีด้วยศิลป์ดีดหินกิน

** ทุกทุกเช้าพวกเด็กลูกชาวบ้าน
ได้พาไปสร้างงานดีดก้อนหิน
ให้กระทบใบไม้งามโสภิณ
จะเกิดภาพตามจินตนาพลัน

** เป็นวัวควายช้างม้านานาสัตว์
สาระพัดรูปร่างช่างสร้างสรรค์
คนที่ผ่านไปมาชื่นชมกัน
มอบเงินเป็นรางวัลกำนัลมา

** ครั้นวันหนึ่งกษัตริย์ทรงประพาส
พร้อมอำมาตย์น้อยใหญ่ใจปรารถนา
จะออกไปล่าสัตว์ในพนา
เมื่อผ่านมาได้เห็นเป็นสำคัญ

** เห็นรูปสัตว์ต่างต่างช่างงามนัก
เป็นประจักษ์ศิลปะหฤหรรษ์
เมื่อได้พบชายง่อยค่อยจำนรรจ์
จึงเสกสรรตรัสถามเนื้อความไป

** ปุโรหิตของเราเขาพูดมาก
เราจึงอยากให้ช่วยจะได้ไหม
บุรุษง่อยรีบตอบในทันใด
คงจะพอช่วยได้นะพระองค์

** พระราชาจึงพาคนง่อยเปลี้ย
ไม่ให้เสียเวลาตามประสงค์
ทรงยกเลิกเที่ยวป่าดังจำนง
จึงมุ่งตรงกลับไปยังในวัง

** พระองค์ทรงรับสั่งให้เจาะม่าน
เพื่อให้ชายพิการอยู่ข้างหลัง
มีผ้าม่านเป็นส่วนที่ปิดบัง
จัดที่นั่งปุโรหิตตรงพอดี

** ถึงเวลาราชาประทับนั่ง
ที่เหนือราชบัลลังก์คชสีห์
ปุโรหิตอำมาตย์มุขมนตรี
ต่างกล่าวราชสดุดีองค์ราชัน

** องค์ราชาเริ่มมีพระดำรัส
พระทรงตรัสราชกิจจิตสุขสันต์
ปุโรหิตพูดมากเหมือนทุกวัน
ทุกคนต่างพากันเอือมระอา

** กล่าวฝ่ายชายพิการผู้มีศิลป์
ในการดีดก้อนหินชื่นหรรษา
เมื่อได้รับมูลแพะจากราชา
นั่งหลังม่านบังตาดำเนินการ

** ครั้นท่านปุโรหิตอ้าปากพูด
จึงดีดคูถของแพะดังกล่าวขาน
เป็นศิลปะที่มีความชำนาญ
เข้าในปากของท่านโดยทันที

** ปุโรหิตรู้ตัวนึกอับอาย
ไม่กล้าคายออกมาหน้าเช่นผี
จึงต้องกลืนมูลแพะแต่โดยดี
จนอิ่มท้องเต็มที่สุดพรรณนา

** พระราชาตรัสว่าปุโรหิต
ท่านจงคิดให้ดีด้วยเถิดหนา
เนื่องจากท่านได้เอ่ยเผยวาจา
จนเกินกว่าพอดีที่ควรเป็น

** ในท้องท่านจึงเต็มด้วยมูลแพะ
ขอชี้แนะอย่าทนความทุกข์เข็ญ
จงรีบทำในสิ่งที่จำเป็น
คือดื่มน้ำเย็นเย็นสำรอกมัน

** นับแต่นั้นปุโรหิตสงบเสงี่ยม
รู้จักเจียมกายใจไม่หุนหัน
จะพูดเฉพาะเรื่องที่สำคัญ
ไม่พูดมากเหมือนวันที่ผ่านมา

** พระราชาขอบใจชายพิการ
พระราชทานรางวัลมากนักหนา
มอบหมู่บ้านสี่ตำบลไม่รอรา
ทั้งเงินทองของมีค่านับอนันต์

** อันความรู้รู้กระจ่างเพียงอย่างเดียว
แต่ให้เชี่ยวชาญเห็นเป็นมิ่งขวัญ
ศิลปะเป็นมงคลนิจนิรัดร์
นานกัปกัลป์มีคุณค่ากว่าสิ่งใด

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #10 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2559, 01:38:40 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๙ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว
(วินโย จ สุสิกฺขิโต เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** อันวินัยย่อมนำให้สูงส่ง
จะมั่นคงในความดีที่ยิ่งใหญ่
สร้างสังคมสุขสันต์ทุกวันไป
ฝึกกายวาจาใจได้อย่างดี

** วินัยนี้แบ่งออกได้เป็นสอง
หนึ่งเป็นของคฤหัสถ์วัตรเป็นศรี
ทั้งศีลห้าศีลแปดบรรดามี
เป็นเครื่องชี้คุณค่าน่าชื่นชม

** สองเป็นศีลสำหรับพระภิกษุ
เพื่อบรรลุความดีที่เหมาะสม
ศีลสองร้อยยี่สิบเจ็ดเพชรแห่งพรหม
เลิศอุดมความดีมีในตน

** ได้ศึกษาเรียนรู้ผู้ละเว้น
ประพฤติเป็นแบบอย่างทางกุศล
เมื่อศึกษาดีแล้วเป็นมงคล
ย่อมจะพ้นหายนะและอบาย

** อานิสงส์พึงมีแสนดีนัก
เป็นที่รักแห่งชนคนทั้งหลาย
เพราะกิริยางดงามอย่างมากมาย
ความไม่ดีมลายสิ้นหายไป

** มีความก้าวหน้าในกุศลธรรม
ไม่เปื้อนกรรมมลทินสิ้นเงื่อนไข
อยู่ร่วมกับสังคมอย่างสุขใจ
ผู้อยู่ในศีลนี้ดีนักเอย

เรื่อง  นกกระจาบแตกสามัคคี

** จะขอยกนิทานในการก่อน
อุทาหรณ์น้อมนำคำเฉลย
มาเปรียบเทียบให้เห็นเหมือนเช่นเคย
ติดตามเลยจะรู้ว่าค่าอนันต์

** พุทธองค์ได้ประทับกบิลพัสดุ์
ณ ที่วัดโครธารามงามเกินฝัน
ทรงปรารภพระญาติทะเลาะกัน
จึงเลือกสรรนิทานมาแสดง

** ณ กาลนั้นยังมีฝูงกระจาบ
หวังบินคาบหาเหยื่อเสาะแสวง
นับจำนวนหลายพันล้วนแข็งแรง
รวมเป็นแก็งกลุ่มใหญ่ในพนา

** นกหัวหน้าเป็นห่วงจึงบอกกล่าว
ถ้าถึงคราวติดบ่วงของพรานป่า
ให้จงรีบเอาหัวสอดเข้ามา
ที่ในช่องตาข่ายของนายพราน

** แล้วออกแรงบินขึ้นพร้อมพร้อมกัน
เอาตาข่ายไปพันอย่างอาจหาญ
กับต้นไม้ต้นใหญ่ไม่ร้าวราน
แล้วบินผ่านลงต่ำจำเอาไว้

** ถ้าทุกท่านมีวินัยไม่ตายแน่
สามัคคีช่วยแก้วิกฤตได้
จงรักกันช่วยกันด้วยห่วงใย
อันตรายใดใดไม่กล้ำกราย

** ฝ่ายนายพรานดักนกเป็นอาชีพ
จึงได้รีบจัดการวางตาข่าย
เกณฑ์ชะตาของนกไม่ถึงตาย
ปฏิบัติตามนัดหมายจึงปลอดภัย

** แต่อยู่อยู่วันหนึ่งจึงเกิดเหตุ
เป็นอาเพศแล้วหนาพาสงสัย
ความแตกแยกกัดกินสิ้นอาลัย
ถึงสมัยต้องพินาศอนาถครัน

** เหตุเพราะว่าขณะกินอาหาร
มีเหตุการณ์เกิดขึ้นดังอาถรรพ์
นกตังหนึ่งบินโผลงมาพลัน
ไปเหยียบหัวเพื่อนกันไม่เจตนา

** นกถูกเหยียบโวยวายสนั่นทุ่ง
พวกเพื่อนเพื่อนต่างมุ่งเข้ามาหา
แบ่งออกเป็นสองฝ่ายไม่รอรา
ต่างต่อว่าอีกฝ่ายน่าอายจริง

** จึงกลายเป็นน้ำผึ้งเพียงหยดเดียว
มาขับเคี่ยวกันไปในทุกสิ่ง
สามัคคีมลายคลายประวิง
อันวินัยถูกทิ้งไม่ไยดี

** นกหัวหน้าพูดจาคอยเกลี้ยกล่อม
ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมอ้างศักดิ์ศรี
นกหัวหน้าเห็นว่าไม่เข้าที
ความพินาศจักมีอย่างแน่นอน

** จึงได้พาสมาชิกที่เป็นกลาง
หลีกหนีห่างออกไปใจทอดถอน
แม้นจากไปมิใช่ไม่อาวรณ์
แสนเร้ารอนจากไปจำใจลา

** ครั้นเวลาผ่านไปไม่นานนัก
นายพรานวางข่ายดักหมู่ปักษา
กระจาบติดตาข่ายดังเจตนา
ของพรานป่าเพื่อนำไปฆ่าแกง

** ฝ่ายกระจาบต่างเถียงกันและกัน
พวกเจ้านั้นเก่งกาจอาจกำแหง
อย่าชักช้านะเจ้ารีบแสดง
จงออกแรงดันตาข่ายให้พ้นไป

** เอาแต่เกี่ยงไม่สนใจในภาระ
ขาดธรรมะสามัคคีนี่ไฉน
ตกเป็นเหยื่อเป็นอาหารของพรานไพร
ขาดอะไรก็ไม่ร้ายเท่าขาดธรรม

** พรานจึงกล่าวคาถาว่าดังนี้
เมื่อเจ้ามีความร่าเริงช่างคมขำ
ก็สามารถดันตาข่ายได้ประจำ
ต่างก็ทำได้ดังใจไม่ร้อนรน

** แต่เมื่อใดที่พวกเจ้าเฝ้าทะเลาะ
เหมือนมีเคราะห์บาปกรรมอกุศล
ต้องเป็นเหยื่อของข้าพาอับจน
ขาดมงคลขาดใจในทันที

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #11 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2559, 01:45:25 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๑๐ วาจาสุภาษิต
(สุภาสิตา จ ยา วาจา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** สุภาษิต  คือคำพูดที่ดีแล้ว
แสนเพริดแพรวเปรียบตะวันเปล่งรัศมี
ประกอบด้วยลักษณะอันควรมี
เป็นวจีห้าประการสราญใจ

** หนึ่งคำพูดถูกกาลสถานที่
หนึ่งล้วนมีความจริงสิ่งขานไข
หนึ่งสุภาพเอื้อนเอ่ยเผยออกไป
หนึ่งประโยชน์เหนืออื่นใดในวาจา

** หนึ่งเมตตาปราณีมีคุณยิ่ง
พูดความจริงพูดดีมีสง่า
ผู้ที่ฟังชื่นใจเกิดศรัทธา
คือคุณค่าสุภาษิตลองคิดดู

** เอ่ยวาจาพาทีที่ดีนั้น
เมื่อได้ฟังสุขสันต์ไม่หดหู่
ไม่มีภัยและไร้ซึ่งศัตรู
เป็นที่รักเชิดชูของผู้ฟัง

** การเว้นจากวจีทุจริต
ปราศจากพิษแสนดีมีมนต์ขลัง
เป็นวาจาสุภาษิตมากพลัง
ให้ผู้ฟังรักใคร่และชื่นชม

** อันคำพูดแม้เพียงประโยคหนึ่ง
ฟังซาบซึ้งใจสงบไม่ขื่นขม
นับว่ามีคุณค่าน่านิยม
มากกว่าเล่ห์คารมเป็นหมื่นพัน

เรื่อง  วาทศิลป์

** อดีตกาลผ่านมาพระโพธิสัตว์
ได้อุบัติในตระกูลที่สุขสันต์
เป็นบุตรของเศรษฐีชื่นชีวัน
มีสินทรัพย์อนันต์สุขสบาย

** ครั้นวันหนึ่งจึงออกไปเดินเล่น
เพื่อรับลมเย็นเย็นกับสหาย
อีกสามคนที่รักกันมากมาย
เพื่อผ่อนคลายอารมณ์สมอุรา

** ขณะนั้นนายพรานบรรทุกเนื้อ
มากมายเหลือนำไปใจปรารถนา
เพื่อจะขายให้แก่ชาวพารา
จึงมุ่งหน้าตรงไปภายในเมือง

** สี่สหายเมื่อเห็นนายพรานป่า
จึงหันมาปรึกษาดำเนินเรื่อง
การใช้วาทศิลป์จินต์ประเทือง
ว่าใครจะปราดเปรื่องยิ่งกว่ากัน

** คนที่หนึ่งจึงเดินเข้าไปหา
นายพรานป่าด้วยหวังอย่างแม่นมั่น
แล้วจึงเริ่มเจรจาโดยเร็วพลัน
เฮ้ย ! พรานจงแบ่งปันเนื้อให้เรา

** นายพรานจึงร้องตอบออกไปว่า
ช่างหยาบคายหนักหนานะคนเขลา
เปรียบได้กับพังผืดตามทำเนา
จงรับเอาพังผืดอย่ารีรอ

** คนที่สองลองเอ่ยเผยวจี
นี่แนะ ! พี่จงแบ่งเนื้อนะเราขอ
ไปประกอบอาหารให้เพียงพอ
แก่ครอบครัวเถิดหนอโปรดเห็นใจ

** นายพรานจึงเอ่ยว่าคำว่าพี่
ฟังแล้วไพเราะดีจะมีไหน
ซึ่งเป็นส่วนประกอบมนุษย์ไง
ใช้เรียกขานทั่วไปในสังคม

**  คำพูดท่านเป็นเหมือนส่วนประกอบ
เราจะมอบเนื้อให้ตามเหมาะสม
คือเนื้อส่วนประกอบน่ารื่นรมย์
ตามคารมที่เอ่ยเผยออกมา

** คนที่สามมุ่งหมายได้ร้องขอ
พูดว่าพ่อให้เนื้อบ้างเถิดหนา
ตามที่เห็นสมควรจะกรุณา
โปรดเมตตาเถิดท่านวานแบ่งปัน

** นายพรานจึงพูดว่าคำว่าพ่อ
น่าชื่นใจยิ่งหนออกไหวหวั่น
ได้ยินคำว่าพ่อพอใจครัน
นิจนิรันดร์สุขใจหาใดปาน

** วาจาท่านนั้นเป็นเช่นน้ำใจ
เราจะให้ตอบแทนแสนไพศาล
ได้แก่เนื้อหัวใจใสตระการ
มอบให้ท่านรับไว้ได้อิ่มเอม

** คนสุดท้ายได้แก่โพธิสัตว์
ปฏิบัติด้วยใจอันเกษม
ภารกิจที่นับว่าเป็นเกม
เยื้องงกรายดังหงส์เหมชวนให้มอง

** จึงเอื้อนเอ่ยวาจาว่าเพื่อนเอ๋ย
อย่าช้าเลยโปรดได้ตอบสนอง
ให้เรานี้มีเนื้อเพื่อครอบครอง
เป็นเจ้าของสักนิดจิตเปรมปรีดิ์

** นายพรานฟังวาจาพาขนลุก
มีความสุขเกินคิดจิตผ่องศรี
วาจาโพธิสัตว์ฟังเข้าที
เอ่ยวจีกล่าวคาถาช่างน่าฟัง

** บ้านใดไม่มีเพื่อนเหมือนกับป่า
อันวาจาท่านนี้มีความหวัง
เปรียบได้เหมือนสมบัติทั้งเวียงวัง
โปรดจงฟังนะสหายให้หมดเลย

** อันเนื้อที่มีอยู่เราให้ท่าน
เพื่อนำกลับไปบ้านอย่างเปิดเผย
จงไปยังบ้านข้าอย่าละเลย
รีบขึ้นเกวียนเพื่อนเอ๋ยไปด้วยกัน

** เมื่อถึงแล้วโพธิสัตว์จึงจัดการ
พานายพรานไปบ้านของเขานั่น
พร้อมทั้งบุตรธิดามิช้าพลัน
อาศัยอยู่ด้วยกันทุกวันมา

** แล้วจึงให้ละเลิกการฆ่าสัตว์
สร้างแต่บุญเป็นวัตรดีหนักหนา
เกื้อกูลกันและกันมั่นสัญญา
ความเป็นเพื่อนเหนือกว่าจะบรรยาย

** ทั้งหมดนี้ที่เล่ากล่าวมานั้น
เพื่อที่จะยืนยันด้วยมุ่งหมาย
ว่าวาจาสุภาษิตดีมากมาย
ท่านทั้งหลายลองคิดดูจะรู้ดี

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #12 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2559, 05:46:19 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๑๑ การบำรุงมารดาบิดา
(มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** อันมารดาบิดามีคุณมาก
สุดแสนยากจะบรรยายให้ถ้วนถี่
เขาเรียกว่าผู้เป็นบุพการี
จะกี่เดือนกี่ปีมิเปลี่ยนแปลง

** ชีวิตนี้พลีอุทิศให้ลูกรัก
แม้เหนื่อยนักก็ไม่บ่นหรือหน่ายแหนง
รักลูกดั่งดวงใจไม่เคลือบแคลง
บริสุทธิ์ดุจแสงแห่งดวงเดือน

** พุทธองค์ทรงยกย่องคุณแม่พ่อ
ผู้เกิดก่อชีวาหาใดเหมือน
เป็นหนึ่งในทิศหกยกมาเตือน
อย่าลืมเลือนเทิดพระคุณบุญบารมี

** ปุรัตถิมาทิส  ได้แก่ทิศเบื้องหน้า
คือมารดาบิดาผู้เป็นศรี
ผู้เป็นแสงส่องทางของชีวี
แม่พ่อนี้คือบุคคลที่สำคัญ

** บุญคุณของแม่พ่อผู้ก่อเกิด
ให้กำเนิดชีวิตคิดรังสรรค์
ท่านเป็นครู  เป็นพรหม  พร้อมพร้อมกัน
อีกทั้งพระอรหันต์สุดยอดคน

** แม่และพ่อประเสริฐเลิศที่สุด
คือมนุษย์ผู้มีใจเป็นกุศล
ทำเพื่อลูกเหน็ดเหนื่อยก็ยอมทน
ไม่ยอมบ่นลูกไร้ทุกข์ก็สุขใจ

** หน้าที่บุตรพึงปฏิบัติต่อพ่อแม่
คอยดูแลไม่หลีกลี้หนีไปไหน
บำรุงท่านให้มีสุขทุกข์ห่างไกล
มีสิ่งใดทำได้ไม่รีรอ

** "ท่านเลี้ยงเราเราต้องเลี้ยงท่านตอบ"
ต้องรอบคอบเอาใจใส่ให้มากหนอ
อุปการะเลี้ยงดูอยู่เคลียคลอ
คอยบำรุงแม่พ่อทุกวี่วัน

** "ช่วยทำกิจของท่าน" ให้ผ่านพ้น
เป็นอุดมมงคลเกินเสกสรร
ท่านมอบหมายกิจใดรีบทำพลัน
เมื่อท่านนั้นเจ็บป่วยช่วยดูแล

** "ดำรงวงศ์สกุล" ตอบแทนท่าน
คอยประสานญาติมิตรชิดกระแส
ทั้งโอบอ้อมเอื้อเฟื้อและเทคแคร์
ญาติพี่น้องที่พ่อแม่เคยแลดู

 ** "ประพฤติตนเป็นคนควรรับมรดก"
ขอหยิบยกมาขานไขใจต้องสู้
ต้องรอบคอบการได้เสียและฟื้นฟู
นำไปสู่ความเจริญเพลิดเพลินใจ

** "เมื่อท่านล่วงลับทำบุญให้แก่ท่าน"
ทำบุญบริจาคทานส่งไปให้
สร้างสาธารณะสถานมองการไกล
รักษาศีลอุทิศไปตามสมควร

เรื่อง  นกแขกเต้าเลี้ยงพ่อแม่

** ณ หมู่บ้านชื่อว่า “สาลินทิยะ”
เศรษฐีมีภาระทำนาสวน
ได้จ้างให้คนทำตามกระบวน
ถึงเวลาอันควรก็งอกงาม

** ชื่อว่า “โกสิยะ” ทำนาข้าว
ประมาณราวพันไร่ไว้หาบหาม
ข้าวเจริญเติบโตทุกโมงยาม
ท่ามกลางฟ้าสีครามเขียวขจี

** ไม่ไกลจากทุ่งนาเป็นป่าเขา
ภูมิลำเนาของสัตว์เช่นปักษี
นับเป็นที่อาศัยปลอดภัยดี
อีกลิงค่างชะนีมีมากมาย

** อันพระโพธิสัตว์ถือกำเนิด
จุติลงมาเกิดเลิศเหลือหลาย
เป็นพญานกแขกเต้าเพริดพราวพราย
บริวารมากมายหลายร้อยตัว

** พญานกแขกเต้ามีพ่อแม่
ต้องดูแลและเทิดไว้เหนือหัว
มีลูกน้อยกลอยใจไม่หมองมัว
ต้องเลี้ยงดูจนทั่วทุกตัวตน

** คาบรวงข้าวมาฝากแม่และพ่อ
อีกลูกน้อยที่รอไม่หมองหม่น
แม้จะยากจะเหนื่อยก็สู้ทน
จิตใจช่างงามล้นเกินบรรยาย

** ครั้นวันหนึ่งพญานกแขกเต้า
ได้พาเหล่าบริวารสิ้นทั้งหลาย
มุ่งหน้าสู่ท้องนาอย่างสบาย
เพราะมีข้าวมากมายให้จิกกิน

** จึงบินลงที่นาของเศรษฐี
มองเห็นมีอาหารดังถวิล
นับจากนั้นก็มาเป็นอาจิณ
ทั้งจิกกินและคาบเอากลับไป

** คนเฝ้านามองเห็นตะโกนก้อง
ส่งเสียงร้องดังลั่นสนั่นไหว
เพื่อให้นกทั้งสิ้นรีบบินไป
แต่นกไพรไม่หนีดังที่คิด

** ในที่สุดยอมแพ้แก่ฝูงนก
แสนวิตกหนักหนาพาหงุดหงิด
จึงแจ้งแก่เศรษฐีให้พินิจ
แก้เหตุการณ์วิกฤตให้คืนดี

** ฝ่ายเศรษฐีทราบเรื่องขุ่นเคืองยิ่ง
ช่างเจ็บใจจริงจริงไม่สุขี
จึงได้มีคำสั่งในทันที
จงจับนกเหล่านี้มาให้เรา

** ลูกจ้างจึงรีบไปจัดการ
หมู่นกที่คอยผลาญเม็ดข้าวเขา
วางกับดักจับนกเพื่อบรรเทา
ภัยจากนกแขกเต้าเข้ารุกราน

** เป็นวาระโชคร้ายพญานก
เกิดดวงตกก้าวล่วงบ่วงสังหาร
ติดบ่วงดิ้นไม่หลุดสุดทรมาน
เพราะผลกรรมบันดาลให้เป็นไป

** ด้วยภาวะผู้นำจำทนนิ่ง
นึกเกรงกริ่งบริวารจะหวั่นไหว
หากรู้ว่าบัดนี้เกิดอะไร
คงจะบินหนีไปเพราะความกลัว

** จึงปล่อยให้พวกนกกินอาหาร
จนอิ่มหนำสำราญกันถ้วนทั่ว
ต่างพากันสดใสไม่หมองมัว
ให้สัญญาณทุกตัวรู้ถึงภัย

** บรรดานกตกใจรีบบินหนี
อย่างเร็วรี่เพื่อกลับที่อาศัย
พญานกก้มหน้าทอดอาลัย
ห้วงหทัยร้อนเร่าเฝ้ากังวล

** คนเฝ้านามาจับพญานก
เอาขึ้นมาแนบอกแล้วลูบขน
นำไปให้เศรษฐีมิวกวน
ดีใจล้นได้ขจัดเหล่าศัตรู

** โกสิยะจับนกแล้ววางไว้
แล้วจึงได้เอ่ยถามไม่ข่มขู่
มาคุยกันดีดีทดลองดู
เราอยากรู้ตอบได้จะปล่อยไป

** ทำไมหรือเจ้าจึงโลภมากหนอ
กินไม่พอยังคาบเอาไปไหน
หรือมียุ้งเพื่อเก็บตุนเอาไว้
เจ้าจึงได้คาบกลับไปรวงรัง

** พญานกจึงตอบว่าท่านเอ๋ย
ยุ้งข้าวไม่มีเลยตามคาดหวัง
ไม่โลภมากอยากได้เกินกำลัง
โปรดจงฟังเถิดหนอขอสาธยาย

** ประการหนึ่งพึงทราบเพื่อใช้หนี้
ประการสองนั้นมีจุดมุ่งหมาย
ให้เขากู้วันหน้าจะสบาย
ประการสามจะขยายเนื้อนาบุญ

** นำเอาไปฝังไว้เป็นขุมทรัพย์
เพื่อผลลัพธ์เบื้องหน้ามาอุดหนุน
จะมีผลยิ่งใหญ่ได้เจือจุน
นับเป็นการลงทุนที่สุนทร

** โกสิยะบอกว่าไม่เข้าใจ
จงรีบเผยเงื่อนไขอย่าหลอกหลอน
ฟังง่ายง่ายรู้เรื่องขออ้อนวอน
เป็นขั้นตอนว่ามาอย่ารีรอ

** จึงเอื้อนเอ่ยวจีมีความว่า
ท่านเจ้าขาโปรดฟังดังร้องขอ
ท่านผู้ให้กำเนิดได้ถักทอ
คือแม่พ่อมีคุณเจือจุนมา

** เวลาผ่านท่านก็แก่ลงมาก
ออกหากินลำบากยากหนักหนา
ต้องเลี้ยงดูตอบแทนตอนชรา
ข้าเรียกว่าใช้หนี้ผู้มีคุณ

** ส่วนลูกน้อยคอยพ่อรออาหาร
ต้องจัดการสรรหามาเกื้อหนุน
นำอาหารไปให้ด้วยการุณ
หวังพึ่งบุญตอนแก่และใกล้ตาย

** ข้าจึงได้เรียกการกระทำนี้
ว่าก่อหนี้มิใช่เรื่องเสียหาย
เป็นเรื่องดีมีคุณอย่างมากมาย
จะสบายได้พึ่งพาคราอ่อนแรง

** ยังมีนกชราและป่วยไข้
ข้าจึงได้เที่ยวไปเสาะแสวง
หาอาหารไปฝากอย่าเคลือบแคลง
เพื่อแสดงน้ำใจและไมตรี

** ได้ชื่อว่าขุมทรัพย์ที่ฝังไว้
หวังจะได้เป็นทุนบุญราศรี
การสั่งสมซึ่งบุญเป็นสิ่งดี
ส่งให้มีความสุขทุกวันคืน

** โกสิยะได้ฟังถึงนั่งอึ้ง
เกิดซาบซึ้งน้ำตาไหลไม่อาจฝืน
นกตัวนี้มีธรรมเป็นจุดยืน
เลี้ยงพ่อแม่และนกอื่นไม่เหมือนใคร

** โกสิยะกล่าวว่าต่อแต่นี้
ข้าวในนาที่มีเรายกให้
ลงมากินและจัดการเอาตามใจ
คาบกลับไปดังปรารถนาและต้องการ

** พญานกกล่าวตอบว่าขอบคุณ
ที่ค้ำจุนช่วยเหลือดังกล่าวขาน
ขอให้ท่านไร้ทุกข์สุขสำราญ
เป็นที่พึ่งอันเบิกบานและรื่นรมย์

** นกแขกเต้าปลอดภัยในครั้งนี้
เป็นเพราะคุณความดีที่สั่งสม
เลี้ยงบิดามารดาน่าชื่นชม
ให้ทุกคนในสังคมพึงสังวรณ์

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #13 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2559, 05:55:16 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๑๒  การสงเคราะห์บุตร
(ปุตฺต สงฺคโห เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** “บุตร” หมายถึงลูกชายและลูกสาว
ผู้ที่ต้องบอกกล่าวและสั่งสอน
คอยสงเคราะห์ดูแลด้วยอาทร
ต้องพร่ำสอนแนะนำให้ทำดี

** ผู้เป็นแม่เป็นพ่อได้ก่อเกิด
ให้กำเนิดบุตรมาพาสุขี
เลี้ยงดูด้วยเมตตาและปราณี
มิให้มีโพยภัยมารบกวน

** อันมารดาบิดามีหน้าที่
ต้องเลี้ยงดูบุตรนี้ให้ทั่วถ้วน
เอาใจใส่ดูแลไม่แปรปรวน
คอยชักชวนให้ลูกดีมีศีลธรรม

** ประการหนึ่ง "พึงห้ามทำความชั่ว"
ให้หมองมัวคึกคะนองจนถลำ
คบเพื่อนชั่วมัวหมองต้องระกำ
ผิดศีลธรรมเลวร้ายให้ช้ำทรวง

** ประการสอง "สอนให้ทำความดี"
เพื่อได้มีความสุขสันต์อันใหญ่หลวง
รู้จักบาปรู้จักบุญคุณทั้งปวง
ไม่ก้าวล่วงความชั่วมั่วอบาย

** ประการสาม "ให้ศึกษาศิลปะ"
มุมานะเรียนรู้สู่จุดหมาย
ตามสมควรแก่วัยไม่เสื่อมคลาย
ตอนสุดท้ายจักได้เลี้ยงดูตน

** ประการสี่ "หาคู่ครองที่ดีให้"
เพ่ือจะได้ผู้เหมาะสมอุดมผล
สืบสกุลและเผ่าพันธุ์มั่นกมล
ดำรงตนดำรงศักดิ์รักตระกูล

** ประการห้า "มอบมรดกและทรัพย์สิน"
ให้มีกินมีใช้ไม่หายสูญ
เป็นต้นทุนเริ่มต้นพ้นอาดูร
ได้เพิ่มพูนสินทรัพย์นับอนันต์

** การสงเคราะห์บุตรจัดเป็นมงคล
แสนเลิศล้นจะมีแต่สุขสันต์
ได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ดีพลัน
บุตรธิดาพากันเฝ้าชื่นชม

ตำราเลือกลูกเขย  จาก คหปติชาดก

** อดีตกาลมีนิทานนำมาเล่า
เป็นเรื่องเก่าการเลือกคู่ดูเหมาะสม
จะอยู่ดีกินดีเอกอุดม
แสนสุขสมชื่นใจหาใดปาน

** ครั้งนั้นสมเด็จพระโพธิสัตว์
ได้อุบัติเป็นครูที่เรียกขาน
ว่าทิศาปาโมกข์ชำนาญการ
ผู้เชี่ยวชาญศิลปะวิทยา

** พราหมณ์คนหนึ่งมีลูกสาวสี่ใบเถา
งามเทียบเท่านางสวรรค์ชื่นหรรษา
ชายใดเห็นเป็นต้องถูกชะตา
อยากได้มาสมสู่เป็นคู่ครอง

** ในบรรดาชายหนุ่มที่รุมล้อม
หวังดมดอมเชยชมภิรมย์สอง
พราหมณ์ผู้พ่อจับตาเฝ้าคอยมอง
เลือกคู่เคียงประคองให้ลูกตน

** มีชายหนุ่มสี่คนน่าสนใจ
คุณสมบัติต่างกันไปตามกุศล
เคยทำดีได้ดีมีมงคล
เคยทำชั่วไม่พ้นผลไม่ดี

** คนที่หนึ่งรูปหล่อเป็นยิ่งนัก
ช่างน่ารักงามสง่ามีราศี
ทั้งกิริยาวาจาก็เข้าที
เอ่ยวจีอรรถรสปรากฏไกล

** คนที่สองผ่านโลกมาหลายฝน
อายุพ้นวัยเด็กเป็นผู้ใหญ่
สัมผัสสุขและทุกข์ผลัดเปลี่ยนไป
สุดหาใครเป็นคู่ครองอกหมองตรม

** คนที่สามร่ำรวยลูกเศรษฐี
ตระกูลดีเป็นผู้ที่เหมาะสม
เป็นคู่ครองสาวสาวร่วมภิรมย์
คงสุขสมฤดีมิเสื่อมคลาย

** คนที่สี่มีศีลธรรมแสนล้ำเลิศ
ก่อให้เกิดกุศลผลมากหลาย
งามสง่าอำไพทั้งใจกาย
หญิงมากมายหมายจองครองคู่กัน

** พราหมณ์พ่อไม่สามารถเลือกใครได้
เพื่อจะให้ลูกสาวร่วมสร้างฝัน
เป็นเพื่อนคิดคู่ใจไปนานวัน
สายสัมพันธ์มั่นคงยงยืนนาน

** จึงไปหาอาจารย์ท่านปาโมกข์
ผู้เข้าใจเรื่องโลกโชคไพศาล
เริ่มปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญ
เล่าเหตุการณ์ทั้งหลายให้ได้ฟัง

** หลังจากนั้นจึงถามถึงความเห็น
ควรเลือกเฟ้นคนใดจึงสมหวัง
ผู้ที่ควรครองคู่อยู่จีรัง
โปรดแนะนำสักครั้งเป็นพระคุณ

** ฝ่ายพระโพธิสัตว์จึงตรัสว่า
แม้รูปร่างกายาเป็นส่วนหนุน
ให้ดูดีมีค่ามาเจือจุน
แต่ขาดศีลเป็นทุนก็สิ้นงาม

** ถ้าเป็นเราจะเลือกคนมีศีล
เป็นไทยจีนก็สูงค่าน่าเกรงขาม
กลิ่นของศีลหอมฟุ้งทุกโมงยาม
ไม่ผลีผลามยามเดินและนั่งนอน

** แล้วจึงเอ่ยวจีเป็นคาถา
เจตนาให้ฟังดังคำสอน
รูปสวยตระกูลดีมีคลายคลอน
ถ้ามีศีลสังวรปราศจากภัย

** พราหมณ์ได้ฟังชอบใจไม่รอช้า
รีบกลับคืนเคหาที่อาศัย
ครั้นถึงจึงบอกสี่อรทัย
เรื่องคู่ครองทรามวัยโดยเร็วพลัน

** พราหมณ์จึงยกสี่สาวที่สดใส
ให้คนมีศีลไปด้วยใจมั่น
ต้องอยู่ดีมีสุขชั่วนิรันดร์
ทุกคืนวันก้าวหน้าพาเพลิดเพลิน

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์

บันทึกการเข้า

นักกลอนตลาด ที่ผิดพลาดเรื่องสัมผัสเป็นนิสัย
คะแนนน้ำใจ 1621
เหรียญรางวัล:
มีความคิดสร้างสรรค์นักโพสดีเด่น
กระทู้: 246
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สร้างความฝันอันละไมในบทกลอน"
อีเมล์
   
« ตอบ #14 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2559, 06:06:46 PM »

Permalink: Re: *** มงคล ๓๘ ประการคำกลอน ***




มงคล ๓๘ ประการคำกลอน
มงคลที่ ๑๓  การสงเคราะห์ภรรยา (หรือสามี)
(ทารสฺส สงฺคโห เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ)

** ภรรยาคือคู่คิดที่ชิดใกล้
คอยดูแลเอาใจไม่ห่างเหิน
จะสุขทุกข์อย่างไรร่วมใจเดิน
พร้อมเผชิญร่วมกันไม่หวั่นเลย

** ส่วนสามีมีหน้าที่พึงบำรุง
คอยผดุงความถูกต้องไม่มองเฉย
ทำหน้าที่ให้ดีจนคุ้นเคย
จะเฉลยไขขานให้ท่านฟัง

** "ด้วยยกย่องนับถือเป็นภรรยา"
ตามโบราณกล่าวมาแต่หนหลัง
โดยให้เกียรติมอบสิทธิ์ไม่ปิดบัง
มอบความรักให้ดังวิญญูชน

** "ไม่ดูหมิ่น" เหยียดหยามประณามด่า
ไม่ดูถูกบ่นว่าพาสับสน
มอบความรักความเมตตาไม่อับจน
การครองเรือนสุขล้นผลเกิดมี

** "ไม่ประพฤตินอกใจ" ให้เดือดร้อน
ไม่ยอกย้อนคบหญิงใหม่ให้บัดสี
ไม่ทำตนนอกใจใฝ่ราคี
มีรักเดียวอุทิศพลีให้แก่เธอ

** "มอบความเป็นใหญ่ให้" ไม่รอรั้ง
เป็นพลังคอยแลดูอยู่เสมอ
มอบทุกสิ่งด้วยใจใฝ่บำเรอ
ยกให้เธอเป็นใหญ่ในบ้านเรือน

** "มอบให้เครื่องแต่งตัว" ด้วยแผ่เผื่อ
คอยช่วยเหลือแนะนำเปรียบดังเพื่อน
เรื่องความสวยจงดูแลอย่าแชเชือน
คอยพร่ำเตือนให้ใส่ใจในความงาม

** ภรรยามีหน้าที่อนุเคราะห์
ให้พอเหมาะกับสามีมิหยาบหยาม
เป็นความดีที่เหมาะสมทุกโมงยาม
ชนทุกนามสรรเสริญเจริญคุณ

** ประการหนึ่ง " จัดการทำงานดี"
ทุกทุกเรื่องที่มีคอยเกื้อหนุน
ทั้งงานครัวงานบ้านและงานบุญ
พร้อมให้ความอบอุ่นแก่ทุกคน

** ประการสอง "ต้องสงเคราะห์คนเคียงข้าง"
เป็นการสร้างน้ำใจไม่หมองหม่น    
เอื้ออารีเผื่อแผ่แก่เหล่าชน  
ไม่พร่ำบ่นญาติพี่น้องของสามี

** ประการสาม " ไม่ประพฤตินอกใจเขา"
ตามทำเนาของศีลห้าทุกวิถี
แม้นทำไปจะถูกด่าว่ากาลี
ทั้งสามีทั้งภรรยาพากันอาย

** ประการสี่ "รักษาทรัพย์ที่ได้มา"
ช่วยดูแลช่วยรักษาอย่าให้หาย
ทำให้เกิดเพิ่มขึ้นอีกมากมาย
ช่วยกันเก็บและใช้จ่ายแบบพอเพียง

** ประการห้า "ต้องขยันทำการงาน"
เพียรประกอบกิจการไม่หลีกเลี่ยง
ร่วมกันทำร่วมกันสร้างอยู่ข้างเคียง
ใจโน้มเอียงน้อมนำไม่ย่ำยี

** ภรรยาเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง
เป็นพลังหนุนเกื้อให้สุขี
มีความรักมอบให้กันชั่วชีวี
สงเคราะห์ดีบำรุงดีมีต่อกัน

** อนุเคราะห์สามีหรือภรรยา
ดังกล่าวมาทำให้มีสุขสันต์
โภคทรัพย์บริบูรณ์นับอนันต์
ความสัมพันธ์ยืนยาวคู่ดาวเดือน

เรื่อง  พญาเนื้อทอง

** ณ ชายป่ายังมีพญาเนื้อ
ผิวดังทองงามเหลือหาใครเหมือน
มีกวางสาวเนื้อเย็นเป็นขวัญเรือน
อยู่เคียงคู่เป็นเพื่อนที่รู้ใจ

** ครอบครองบริวารราวแปดหมื่น
คอยหยิบยื่นสิ่งดีดีมีมอบให้
รักบริวารเท่ากันทุกตัวไป
มีจิตใจเป็นธรรมไม่ลำเอียง

** ครั้นวันหนึ่งจึงได้พาลูกน้อง
พี่และน้องหากินในถิ่นเสี่ยง
ปากเล็มหญ้าตาจ้องคอยมองเมียง
หูฟังเสียงต่างต่างอย่างจริงจัง

** ด้วยผลกรรมทำไว้ในกาลก่อน
กลับมาย้อนส่งผลดังมนต์ขลัง
กินใบไม้เพลินไปไม่ระวัง
ก้าวสู่ฝั่งวังวนบ่วงนายพราน

** เผลอก้าวเท้าเข้าบ่วงพรานดักไว้
รู้ตัวได้ถึงภัยใจร้าวฉาน
รีบสลัดให้หลุดสุดทรมาน
น่าสงสารเจ็บปวดรวดร้าวกาย

** จึงร้องบอกพวกพ้องทั้งน้องพี่
ที่แห่งนี้มีภัยรีบผันผาย
จงหนีไปให้ไกลก่อนวางวาย
มีความตายรอท่าอย่าช้าพลัน

** อันตัวเราติดบ่วงของพรานแล้ว
ไม่คลาดแคล้วชีวาต้องอาสัญ
เป็นอาหารพรานไพรใจฉกรรจ์
อย่าห่วงฉันรีบหนีไปไวไว

** เหล่าบริวารตกใจไม่ยั้งคิด
ต่างก็รักชีวิตกว่าสิ่งไหน
ไม่คิดหน้าคิดหลังให้ยาวไกล
ทิ้งหัวหน้าเอาไว้เพียงตัวเดียว

** ฝ่ายนางกวางภรรยาบ่ายหน้าหนี
เพื่อรักษาชีวีไม่เฉลียว
ถึงกวางผู้สามีสักนิดเทียว
จึงปล่อยให้เปล่าเปลี่ยวอย่างเดียวดาย

** เมื่อหนีไปนิดหนึ่งพึงสังหรณ์
นึกอาวรณ์ถึงสามีที่เงียบหาย
ไม่ติดตามกันมาหรือว่าตาย
จึงย่างกรายกลับไปใจไม่ดี

** มองเห็นกวางสามีที่ยืนอยู่
จึงได้รู้ไม่ตายให้สุขี
เข้าไปใกล้แล้วเอ่ยเผยวจี
เหตุไฉนหนอพี่จึงไม่ไป

** พญากวางจึงเผยเอ่ยวาจา
อันตัวพี่นี่หนาไปไม่ได้
ขาของพี่ติดบ่วงของพรานไพร
เมื่อเข้าใจอย่าช้าจะอันตราย

** นางกวางน้อยจึงตอบขอบคุณพี่
ตัวน้องนี้ไม่กลัวภัยทั้งหลาย
จะขออยู่ที่นี่กับพี่ชาย
ถ้าต้องตายขอตายไปด้วยกัน

** ไม่ช้านานพรานป่าก็มาถึง
นางกวางจึงเอ่ยถ้อยค่อยเสกสรร
ขอจงได้เมตตาอย่าฆ่าฟัน
โปรดเถอะไว้ชีวันพญากวาง

** ถ้าจะฆ่าโปรดจงฆ่าเราก่อน
ให้ม้วยมรณ์สิ้นใจไม่ขัดขวาง
แล้วค่อยฆ่าสามีให้วายวาง
ชีพอับปางดับไปไม่เสียดาย

** พรานป่าฟังน้ำคำชื่นฉ่ำนัก
เป็นความรักยิ่งใหญ่สมใจหมาย
กล่าววาจาจับใจไม่เสื่อมคลาย
แม้ความตายไม่หวั่นพรั่นพรึงเลย

** ไม่เคยเห็นมีใครในโลกนี้
ยอมสละชีวีหน้าตาเฉย
เพื่อผัวที่ตนรักจักเสบย
จึงได้เอ่ยวาจาน่าชื่นใจ

** พรานป่าชอบจึงตอบวจีว่า
เราไม่ฆ่าเจ้าทั้งสองหยุดร้องไห้
จะปล่อยเจ้าทั้งสองเข้าป่าไป
ขอจงได้สุขสันต์นิรันดร์กาล

** นางกวางป่าจึงตอบขอบคุณมาก
ก่อนลาจากอยากขอจงสงสาร
อย่าทำร้ายสัตว์ป่าให้ร้าวราน
จงหยุดการฆ่าฟันให้บรรลัย

** ก่อนจากไปพญากวางจึงมอบแก้ว
ให้พรานแล้วจึงได้เอ่ยปราศรัย
เลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิตให้อภัย
ตลอดอายุขัยจงทำดี

** หมั่นทำทานรักษาศีลภาวนา
มีเมตตาเอื้อเฟื้อเพื่อสุขศรี
จงเอาแก้วที่ให้เลี้ยงชีวี
ทำบุญตามที่มีโอกาสทำ

** ขอลาทีวันนี้ขอลาแล้ว
ทำให้ใจแน่แน่วอย่าถลำ
แล้วตั้งตนตั้งใจมั่นในธรรม
ละเวรกรรมห่างอบายได้สุขเลย

** การสงเคราะห์แก่กันพลันเกิดสุข
ห่างจากทุกข์ดังที่ได้เปิดเผย
เรื่องของกวางทั้งคู่ชื่นชูเชย
ต่างก็ไม่ละเลยความสัมพันธ์

สมพงศ์  ชูสุวรรณ
บ้านกัลปังหา

ข้อมูล : ๑. มังคลัตถทีปนี  เล่ม ๑–เล่ม ๒  ๒. มงคล ๓๘ ประการ  สำหรับนักเรียน  สำนักพิพ์ธรรมสภา  ๓. มงคลแห่งชีวิต  โดย ศิลาแลง  หจก. อรุณการพิมพ์


บันทึกการเข้า

หน้า: [1] 2 3   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: