-/> มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)  (อ่าน 1882 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้ดูแลบอร์ด
คะแนนน้ำใจ 8171
เหรียญรางวัล:
นักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลบอร์ด
กระทู้: 577
ออฟไลน์ ออฟไลน์
   
« เมื่อ: 18 ตุลาคม 2559, 02:21:05 PM »

Permalink: มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)

..มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
..บทนำโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกิดได้อย่างไร?
..โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีอาการอย่างไร?
..แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้อย่างไร?
..โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีกี่ระยะ?
..โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองรุนแรงไหม?
..โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองรักษาอย่างไร?
..มีวิธีตรวจคัดกรองและป้องกันมะเร็งต่อมน้ำเหลืองไหม?
..ควรพบแพทย์เมื่อไร?

ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :
ต่อมน้ำเหลือง  ระบบโลหิตวิทยา
อาการที่เกี่ยวข้อง :
ต่อมน้ำเหลืองโต

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) จัดเป็นโรคมะเร็งของระบบโลหิตวิทยา หรือระบบโรคเลือด เป็นมะเร็งที่เกิดกับเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลือง
 ซึ่งคือต่อมน้ำเหลืองที่กระจายอยู่ทั่วร่างกาย เช่น บริเวณลำคอ รักแร้ ขาหนีบ ข้อพับแขน ข้อพับขา ในช่องอก และในช่องท้อง
และนอกจากในต่อมน้ำเหลืองแล้ว เซลล์ต่อมน้ำเหลืองยังมีอยู่ทั่วไปในอวัยวะทุกๆอวัยวะทั่วร่างกาย ซึ่งสามารถเกิดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ทั้งสิ้น
 เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองของสมอง ของกระเพาะอาหาร ของลำไส้เล็ก ของลำไส้ใหญ่ ของผิวหนัง ของโพรงจมูก และของไซนัส
ซึ่งมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทั้งของต่อมน้ำเหลืองเอง และของเนื้อเยื่อต่างๆ มีสาเหตุ อาการ วิธีวินิจฉัย ระยะโรค แนวทางการรักษา
และความรุนแรงโรคคล้ายคลึงกัน
โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีได้หลากหลายชนิดของเซลล์มะเร็ง ซึ่งแต่ละชนิดของเซลล์มะเร็งจะมีความรุนแรงโรคต่างกัน อย่างไรก็ตาม มะเร็งต่อมน้ำ
 เหลืองแบ่งได้เป็นสองชนิดหลัก คือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin’s disease เรียกย่อว่า HD/เอชดี
 หรือ มีอีกชื่อว่า Hodgkin’s lymphoma เรียกย่อว่า HL/เอชแอล)
 และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอน-ฮอดจ์กิ้น (Non-Hodgkin’s lympho ma หรือ เรียกย่อว่า NHL/เอ็นเอชแอล)
โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นโรคมะเร็งพบบ่อยทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ
และพบในผู้ชายบ่อยกว่าในผู้หญิงเล็กน้อย

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแต่ที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงได้ คือ
การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัส เอชไอวี (HIV) ที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ (AIDS)
การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น ชนิดทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบ (H. pylori/เอชไพโลริ/เอชไพโลไร)
พันธุกรรม
โรคภูมิแพ้ตนเอง (ภูมิต้านตนเอง) บางชนิด เช่น โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ ชนิดไม่ติดเชื้อ
มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำจากสาเหตุต่างๆ เช่น กินยากดภูมิคุ้มกันต้าน ทานในการรักษาโรคโดยการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ปลูกถ่ายไต
อาจจากสิ่งแวดล้อม เพราะพบโรคได้สูงกว่าในคนมีอาชีพเกษตรกรรม

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีอาการอย่างไร?
ไม่มีอาการเฉพาะของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่เป็นอาการเหมือนโรคทั่วไป ที่พบได้บ่อยในโรคระยะต้นๆ
 คือมีต่อมน้ำเหลืองตำแหน่งใดก็ได้โต (มักพบที่ลำ คอ) คลำได้ ไม่เจ็บ แต่เมื่อโรคลุกลาม นอกจากต่อมน้ำเหลืองโตแล้ว
 อาจมีอ่อน เพลีย ซีด หรือ เมื่อเกิดกับอวัยวะอื่นๆที่ไม่ใช่ต่อมน้ำเหลือง จะมีอาการเหมือนอวัยวะนั้นๆอักเสบ
 เช่น ปวดศีรษะ อาเจียน แขน/ขาอ่อนแรง เมื่อเกิดกับสมอง หรือ ปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อเรื้อรัง เมื่อเกิดกับกระเพาะอาหาร

นอกจากนั้น ยังมีอาการที่เป็นตัวบอกว่าโรครุนแรง เรียกว่า อาการ บี (B symptoms) ซึ่งทุกอาการเกิดโดยยังไม่รู้สาเหตุแน่ชัด
 ได้แก่ มีไข้สูงเป็นๆหายๆ เหงื่อออกชุ่มตัวในตอนกลางคืน และน้ำหนักลดมากกว่า 10% ใน 6 เดือน แต่เมื่อไม่มีอาการเหล่านี้
 เรียกว่า อาการ เอ (A symptoms) ซึ่งโรครุนแรงน้อยกว่า

แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้อย่างไร?
แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้จาก อาการ การตรวจร่างกาย และตัดชิ้นเนื้อจากต่อมน้ำเหลือง หรือ ก้อนเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีกี่ระยะ?
โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แบ่งเป็น 4 ระยะ เช่นเดียวกับโรคมะเร็งอื่นๆ แต่ที่แตกต่างคือ จะแบ่งร่างกายเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนอยู่เหนือกระบังลม

 และส่วนอยู่ใต้กระบังลม ซึ่งระยะของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ได้แก่
ระยะที่ 1: เป็นมะเร็งของต่อมน้ำเหลืองเพียงบริเวณเดียว เช่น บริเวณคอด้านซ้าย หรือ บริเวณรักแร้ด้านขวา บริเวณใดบริเวณหนึ่ง
ระยะที่ 2: เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่ 2 บริเวณขึ้นไป เช่น บริเวณคอซ้าย และคอขวา หรือ คอซ้ายกับรักแร้ซ้าย
 แต่สองบริเวณนี้ต้องอยู่ด้านเดียวกันของกระบังลม เช่น เหนือกระบังลมทั้งหมด หรือ ใต้กระบังลมทั้งหมด
ระยะที่ 3: เป็นมะเร็งของต่อมน้ำเหลืองทั้งในส่วนเหนือ และในส่วนใต้กระบังลม เช่น ของลำคอ ร่วมกับ ของขาหนีบ
ระยะที่ 4:ไขกระดูก หรือ เนื้อเยื่ออวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ และสมอง (สมองเป็นได้ทั้งโรคระยะที่ 1 เมื่อมะเร็งเกิดจากเนื้อเยื่อน้ำเหลืองของสมองเอง
หรือเป็นระยะที่ 4 เมื่อโรคเกิดจากต่อมน้ำเหลือง และ/หรือ เนื้อเยื่อ/อวัยวะอื่นๆ แล้วแพร่กระจายสู่สมอง)โรคแพร่กระจายเข้า
อนึ่งอวัยวะที่ไม่ใช่ต้วต่อมน้ำเหลือง จะกำกับด้วย คำว่า อี (E) เช่น เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองกระเพาะอาหารระยะที่ 1E เป็นต้น
ที่แตกต่างจากมะเร็งอื่นๆอีกประการ คือ ทุกระยะโรคอาจกำกับด้วย อาการ เอ หรือ อาการ บี เพื่อเป็นตัวบอกความรุนแรงโรค
 เช่น ระยะ1A หรือ ระยะ1B นอกจากนั้น เมื่อเป็นมะเร็งของ

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองรุนแรงไหม?
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นโรคที่เซลล์มะเร็งตอบสนองได้ดีต่อยาเคมีบำบัดหลากหลายชนิด และต่อรังสีรักษา
ดังนั้น จึงจัดเป็นโรคความรุนแรงค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงโรคขึ้นกับหลายปัจจัย
เช่น ชนิดเซลล์มะเร็ง (ชนิดฮอดจ์กินรุนแรงน้อยกว่าชนิดนอน-ฮอดจ์กิน) อายุ (เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ โรครุน แรงกว่า)

 ระยะของโรค และสุขภาพผู้ป่วย
โดยทั่วไปอัตรารอดที่ 5 ปี ของโรคระยะที่ 1 และ 2 ประมาณ 70-80% ระยะที่ 3 ประมาณ 50-70% และระยะที่ 4 ประมาณ 0-50%
ขึ้นกับว่าโรคแพร่ กระจายสู่อวัยวะใด ซึ่งถ้ากระจายเข้าไขกระดูก อัตรารอดที่ห้าปี สูงกว่าการแพร่ กระจายสู่อวัยวะอื่นๆ โดยเฉพาะสู่สมอง

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองรักษาอย่างไร?
การรักษาหลักของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง คือ ยาเคมีบำบัด ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้แนะนำเองว่า ต้องให้ยาเคมีบำบัดอย่างไร และกี่ครั้ง
ทั้งนี้เพราะต้องนำความรุนแรงของโรคซึ่งแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคนเข้ามาประเมินในการรักษาด้วย ส่วนการรักษาวิธีการอื่นๆ เช่น
รังสีรักษา มักใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัดเมื่อโรคมีความรุนแรงสูง หรือเมื่อผู้ป่วยบางรายให้ยาเคมีบำบัดไม่ได้ เช่น จากมีปัญหาโรคไตเรื้อรัง
การรักษาจะเป็นรังสีรักษาวิธีการเดียว เพราะยาเคมีบำบัดส่วนตกค้างต้องกำจัดออกทางไต เมื่อไตเสีย จึงมียาเคมีบำบัดคั่งในร่างกายมาก
 ก่อภาวะติดเชื้อได้รุนแรง จนอัตราเสียชีวิตสูง เกินกว่าจะนำมารักษาผู้ป่วยได้ เป็นต้น

การผ่าตัด มักไม่ใช้การผ่าตัดในโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เพราะโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองรักษาได้ผลดีด้วยยาเคมีบำบัด
จึงไม่จำเป็นต้องผ่าตัดอวัยวะที่เกิดโรคมะเร็ง
ยารักษาตรงเป้า มีโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิดที่ตอบสนองได้ดีต่อยาเคมีบำบัด ร่วมกับยารักษาตรงเป้า
แพทย์มักแนะนำรักษาในโรคที่มีความรุนแรงสูง หรือ โรคย้อนกลับเป็นซ้ำ หรือ โรคดื้อต่อยาเคมีบำบัด อย่างไรก็ตาม
ยายังมีราคาแพงมหาศาลจนผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงยาได้ทุกคน
การปลูกถ่ายไขกระดูก ใช้รักษาได้ผลในเซลล์มะเร็งบางชนิดเมื่อมีโรคที่รุนแรง หรือ ดื้อต่อยาเคมีบำบัด หรือ ย้อนกลับเป็นซ้ำ
และเช่นเดียวกับยารักษาตรงเป้า ที่ค่าใช้จ่ายในการรักษายังสูงมาก

มีวิธีตรวจคัดกรอง และป้องกันมะเร็งต่อมน้ำเหลืองไหม? ควรพบแพทย์เมื่อไร?
ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองให้พบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระยะเริ่มต้นที่ยังไม่มีอาการ และยังไม่มีวิธีป้องกันโรค
ดังนั้น การดูแลตนเองที่ดีที่สุดขณะนี้ คือ การสังเกตตนเอง เมื่อคลำได้ต่อมน้ำเหลืองโต หรือ มีอาการ บี หรือ มีอาการผิด
ปกติต่างๆ ควรรีบพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เพื่อการวินิจฉัย และการรักษาแต่เนิ่นๆ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์

จาก หาหมอ.com
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: