-/> ประโยขน์ของกระเทียม

หน้า: [1]   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ประโยขน์ของกระเทียม  (อ่าน 2092 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,132
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« เมื่อ: 04 กันยายน 2556, 09:05:49 AM »

Permalink: ประโยขน์ของกระเทียม



ประโยขน์ของกระเทียม


มีการศึกษาฤทธิ์ของกระเทียมต่อการป้องกันและบรรเทาอาการไข้หวัด จำนวน 5 งานวิจัย ซึ่งการศึกษาใน ค.ศ. 2001
เป็นการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการรับประทานกระเทียมต่อการป้องกันและบรรเทาอาการไข้หวัด
ระหว่างอาสาสมัครที่รับประทานกระเทียมกับอาสาสมัครที่ไม่ได้รับประทานกระเทียม โดยให้อาสาสมัครรับประทานกระเทียม
ที่มีสารอัลลิซินประมาณ 180 มิลลิกรัมต่อวันเป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ จากการศึกษานี้พบว่ามีอาสาสมัคร
ที่ไม่ได้รับประทานกระเทียมทุกวัน ป่วยเป็นไข้หวัดจำนวน 65 คน ในขณะที่อาสาสมัครกลุ่มที่รับประทานกระเทียมเป็นประจำทุกวัน
 ป่วยเป็นไขหวัดเพียง 24 คนเท่านั้น และกลุ่มอาสาสมัครที่รับประทานกระเทียมมีจำนวนที่เป็นไขน้อยกว่ากลุ่มอาสาสมัคร
ที่ไม่ได้รับประทานกระเทียม แต่จำนวนวันที่หายขาดจากอาการไข้หวัดของทั้งสองกลุ่มนั้นไม่แตกต่างกัน
สรุปได้ว่ากระเทียมช่วยป้องกันการเกิดไขหวัดและช่วยลดอาการของไขหวัด อย่างไรก็ตาม
การศึกษาฤทธิ์ของกระเทียมต่อการป้องกันและบรรเทาอาการไขหวัดจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันฤทธิ์ของกระเทียมต่อผลดังกล่าว

1.ความสามารถของกระเทียมต่อการต้านอนุมูลอิสระ
สารสกัดกระเทียม และสารประกอบในกลุ่มออร์แกโนซัลเฟอร์เป็นประเด็นศึกษาถึงประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ
ทั้งในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองและสัตว์ทดลอง สารประกอบในกลุ่มออร์แกโนซัลเฟอร์สามารถกระตุ้น
การทำงานของเอนไซม์ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระในตับ เช่น กูลทาไธโอนเปอร์ออกซิเดส (Glutathione Peroxidase)
 คะตาเลส (Catalase) ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเตส (Superoxide Dismutase)
ตัวอย่างของงานวิจัยที่น่าในใจของกระเทียมต่อการต้านอนุมูลอิสระคือการทดลองกับสัตว์ทดลอง
โดยให้สัตว์ทดลองรับสารสกัดกระเทียมร่วมกับยาไซโคลสปอริน (Cyclosporin)
ที่ใช้กดภูมิคุ้มกันของร่างกายสำหรับปลูกถ่ายอวัยวะเพื่อป้องกันการต่อต้านอวัยวะ ซึ่งผลข้างเคียงของยาคือ
 ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อไตและตับ จากผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจากกระเทียมสามารถช่วยป้องกั
นการเกิดพิษที่ไตในสัตว์ทดลองได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อศึกษาประสิทธิภาพดังกล่าวในมนุษย์ต่อไป

2.กระเทียมกับไขหวัด
 
    มีการศึกษาฤทธิ์ของกระเทียมต่อการป้องกันและบรรเทาอาการไข้หวัด จำนวน 5 งานวิจัย
 ซึ่งการศึกษาใน ค.ศ. 2001 เป็นการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการรับประทานกระเทียมต่อการป้องกัน
และบรรเทาอาการไข้หวัดระหว่างอาสาสมัครที่รับประทานกระเทียมกับอาสาสมัครที่ไม่ได้รับประทานกระเทียม
 โดยให้อาสาสมัครรับประทานกระเทียมที่มีสารอัลลิซินประมาณ 180 มิลลิกรัมต่อวันเป็นเวลานาน 12 สัปดาห์
จากการศึกษานี้พบว่ามีอาสาสมัครที่ไม่ได้รับประทานกระเทียมทุกวัน ป่วยเป็นไข้หวัดจำนวน 65 คน
ในขณะที่อาสาสมัครกลุ่มที่รับประทานกระเทียมเป็นประจำทุกวัน ป่วยเป็นไขหวัดเพียง 24 คนเท่านั้น
และกลุ่มอาสาสมัครที่รับประทานกระเทียมมีจำนวนที่เป็นไขน้อยกว่ากลุ่มอาสาสมัครที่ไม่ได้รับประทานกระเทียม
แต่จำนวนวันที่หายขาดจากอาการไข้หวัดของทั้งสองกลุ่มนั้นไม่แตกต่างกัน สรุปได้ว่ากระเทียมช่วยป้องกัน
การเกิดไขหวัดและช่วยลดอาการของไขหวัด อย่างไรก็ตาม การศึกษาฤทธิ์ของกระเทียมต่อการป้องกัน
และบรรเทาอาการไขหวัดจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันฤทธิ์ของกระเทียมต่อผลดังกล่าว

3.กระเทียมช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายยามอ่อนล้า

สำหรับคำกล่าวอ้างของกระเทียมกับการเพิ่มพลังงานและฟื้นฟูร่างกายยามอ่อนล้านั้น
 นักวิทยาศาสตร์พยายามค้นหาคำตอบเพื่อพิสูจน์ถึงประถึงประสิทธิภาพดังกล่าว
พบว่ากระเทียมเพิ่มประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนโลหิตให้มีการขนส่งออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงสมองมากขึ้น
พร้อมทั้งกระตุ้นให้ระบบไหลเวียนโลหิตเพิ่มการขนส่งสารอาหารสู่อวัยวะต่าง ๆ ที่ทำงานหนักและอ่อนล้า
โดยเฉพาะสมอง ปอด กล้ามเนื้อ และหัวใจ กระเทียมยังมีบทบาทกระตุ้นให้กล้ามเนื้อขจัดของเสียที่เกิดขึ้นจาก
ใช้งานหนักเป็นเวลานาน กระเทียมช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ทำให้ร่างกายสู้สึกสบาย
 ซึ่งทั้งหมดเป็นกลไกช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายเมื่อเกิดความอ่อนล้า นอกจากนี้กระเทียมช่วยปกป้องหลอดเลือดฝอย
จากการทำลายของอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีภาวะความเครียดและอ่อนล้าด้วย

4.การบริโภคกระเทียมช่วยลดความดันโลหิต

ใน ค.ศ.2008 รีด(Ried) และคณะคณะ รวบรวมงานวิจัยที่อ้างถึงประสิทธิภาพของกระเทียม
ในการลดความดันโลหิตสูงจำนวน 25 ฉบับ และนำมาวิเคราะห์และสรุปพบว่า นักวิจัยให้ผู้ป่วยโรความดันโลหิตสูง
รับประทานกระเทียมทั้งในรูปสารสกัดผงแห้งและน้ำมันกระเทียมในขนาดตั้งแต่ 600 มิลลิกรัมต่อวัน
จนถึง 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน โดยให้ติดต่อกันเป็นเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 12 สัปดาห์
 และจากผลการวิเคราะห์งานวิจัยทั้งหมดพบว่า กลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่รับประทานกระเทียม
มีค่าความดันไดแอสโตลิก (Systolic Blood Pressure) ลดลงเฉลี่ย 8.6 มิลลิเมตรปรอท
 และมีความค่าความดันไดแอสโตลิก (Diatolic Blood Pressure) ลดลงเฉลี่ย 7.3 มิลลิเมตรปรอท
 เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลลิตสูงที่ไม่รับประทานกระเทียม ซึ่งการรวบรวมงานวิจัยของรีดและคณะ
น่าจะเป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันถึงประสิทธิภาพของกระเทียมในการลดความดันโลหิตได้

5.ประโยชน์ของกระเทียมกับการช่วยลดระดับไขมันในเลือด

มีคำถามมากมายเกี่ยวกับการประทานกระเทียมเป็นประจำจะช่วยลดไขมันในเลือดได้หรือไม่
 โดยเฉพาะการลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ถือได้ว่าเป็นประเด็นสำคัญ
ที่นักวิทยาศาสตร์พูดถึงกันเป็นอย่างมาก สังเกตได้จากการตีพิมพ์บทความและงานวิจัยที่ให้คำตอบอย่างหลากหลาย
 บางงานวิจัยก็ให้ทั้งคำตอบว่าลดไขมันในเลือดได้ดี แต่บางงานวิจัยก็สรุปว่าการรับประท่านกระเทียม
ไม่มีผลต่อการช่วยลดไขมันในเลือดได้เลน ใน ค.ศ.2009 ไรน์ฮาร์ท (Reinhart) และคณะ
รวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานการะเทียมต่อการลดระดับไขมันในเลือดจำนวน 29 ฉบับ
และนำมาวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์โดยใช้หลักทางสถิติและสรุปได้ว่า การรับประทาน
กระเทียมติดต่อกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์ จะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด
กลไกการออกฤทธิ์ของกระเทียมต่อการลดระดับไขมันโคเลสเตอรอลจากตับ
 อย่างไรก็ตามเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการลดระดับโคเลสเตอรอลที่ดียิ่งขึ้น
การควบคุมอาหารและการออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องปฏิบัติร่วมกับการรับประทานกระเทียมเป็นประจำ


อ้างอิงข้อมูล จาก
รุ่งนภา สุระพิทักษ์
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ
ส่วนพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ




บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
คะแนนน้ำใจ 4202
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดนักโพสดีเด่น
กระทู้: 681
ออฟไลน์ ออฟไลน์
   
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 กันยายน 2556, 06:13:54 PM »

Permalink: Re: ประโยขน์ของกระเทียม


หมึก-หมูทอดกระเทียมพริกไทย ..อร่อยค่ะ
บันทึกการเข้า




หน้า: [1]   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: