
ผลกระทบที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีแอลกอฮอล์ผสม (เช่น ในรูปแบบน้ำผลไม้ที่วางขายกันเต็มท้องตลาด ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ) ทั้งหลายนั้น นอกจากปัญหาทางด้านร่างกาย ซึ่งก็คือ ผลต่อตับ ทำห้เป็นโรคตับแข็ง มะเร็งตับ หรือผลต่อหัวใจ ฯลฯ แล้ว อันตรายที่หลายคนอาจจะไม่นึกถึงก็คือผลต่อโรคทางจิตประสาท ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างมากมายมหาศาลได้เช่นกัน
อาการแทรกซ้อนทางจิตประสาทเนื่องจากการใช้แอลกอฮอล์
ความบกพร่องทางสติปัญญา
• ความบกพร่องทางสติปัญญาและการเคลื่อนไหว จะเกิดขึ้นหลังจากการดื่มในแต่ละครั้ง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณการดื่มในครั้งนั้นๆ ด้วย
• ความจำเสื่อมแบบไปข้างหน้า หลังการดื่มในปริมาณมากๆ เซลล์สมองถูกทำลายเนื่องจากการใช้แอลกอฮอล์
• ความบกพร่องด้านความจำ ซึ่งรูปแบบที่รุนแรงที่สุดคือ Korsakoff syndrome มีความสัมพันธ์กับการขาดไธอามีน ร่วมกับการได้รับพิษจากแอลกอฮอล์ โดยจะมีอาการความจำเสื่อมในระยะสั้น แต่ละรักษาความจำระยะยาวและการคิดย้อนอดีตได้ดีกว่า
• อาการผิดปกติที่สมองส่วนหน้า ทำให้เกิดความบกพร่องในด้านการคิดรวบยอด การวางแผน และการจัดระบบ
• การฝ่อของสมองส่วนซีรีเบลลั่ม ทำให้เดการเดินเซ ทรงตัวได้ไม่ดี
• ภาวะเลือดใต้เยื่อหุ้มสมอง ทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง อาจเกิดหลังจากมีอุบัติเหตุที่ศีรษะซึ่งอาจถูกมองข้ามไปเนื่องจากการได้รับพิษจากแอลกอฮอล์
อันตรายของหลอดเลือดสมอง
• เส้นเลือดในสมองแตก มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการบริโภคแอลกอฮอล์ที่ก่อให้เกิดอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดื่มในปริมาณมากๆ ในคราวเดียวกัน
• หลอดเลือดสมองอุดตัน มีความสัมพันธ์กับการดื่มที่ก่อให้เกิดอันตรายติดต่อกันเป็นเวลานาน
เส้นประสาทส่วนปลายพิการ
• จะมีอาการชาตามเท้า รู้สึกหนาเหมือนใส่ถุงมือถุงเท้า หรือกล้ามเนื้อกลุ่ม Proximal หรือ datal อ่อนกำลังลง การฟื้นตัวจะช้ามาก ประมาณ 1 ปี แม้ว่าจะหยุดดื่มอย่างสิ้นเชิงแล้วก็ตาม
บาดแผล
• การบาดเจ็บที่ศีรษะ
• ซี่โครงหัก
• กระดูกขนาดยาวหัก
ผลของแอลกอฮอล์ต่อตัวอ่อนในครรภ์
• ในปัจจุบันพบว่าเป็น 1 ใน 2 สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ของการเกิดภาวะปัญญาอ่อนในประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ
• ค่าเฉลี่ย IQ ของเด็กที่ได้รับผลกระทบจากแอลกอฮอล์จะอยู่ที่ 70 และจะไม่มีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาเพิ่มขึ้นตามวัย
• ใบหน้าจะมีลักษณะเฉพาะ ได้แก่ สันจมูกยุบ ริมฝีปากบางผิดปกติ ไม่มีกระดูกอ่อนที่กั้นโพรงจมูก
• พบความผิดปกติของหัวใจได้บ่อย
อาการแทรกซ้อนทางสังคมที่เกิดจากการใช้แอลกอฮอล์
ครอบครัวและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
• เสียเพื่อน
• ทำลายความสัมพันธ์กับคู่สมรส และความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดอื่นๆ
• การแยกกันอยู่ หรือการหย่าร้าง
อาชีพ
• ไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง
• ถูกลดตำแหน่ง
• ถูกไล่ออก
• ว่างงาน
เศรษฐกิจ
• ขาดรายได้ประจำที่เคยได้จากการทำงาน
• เงินทองไม่พอใช้
• เป็นหนี้การพนัน
• ถูกฉ้อโกง ถูกหลอกลวง
กฎหมาย
• ฝ่าฝืนกฎหมายที่ห้ามดื่มสุราหรือเสพยาขณะขับรถ
• ถูกยึดใบอนุญาตขับขี่
• มีคดีเกี่ยวกับทรัพย์สิรน
• ถูกทำร้ายร่างกาย
• ฆ่าตัวตาย
• ทอดทิ้ง ไม่เลี้ยงดูเด็ก
• ขายบริการทางเพศ
แค่ไหนถึงเรียกว่าดื่มไม่มากเกินไป
“มากเกินไป” หมายถึง การดื่มที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ปัญหาความสัมพันธ์ ปัญหาการงานและหน้าที่ความรับผิดชอบของคุณ และเป็นการดื่มที่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นด้วย
คำถามต่อไปนี้จะช่วยให้คุณคำนึงถึงคำตอบที่ดีกว่าคือ
- แค่ไหนถึงจะเรียกว่ามากเกินไปสำหรับสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง
- แค่ไหนถึงจะเรียกว่ามากเกินไปเมื่อดื่มเป็นประจำติดต่อกันเป็นเวลานานๆ
การดื่มมากเกินไปในบางโอกาส
ยังไม่มีกฎที่ชัดเจนว่าแค่ไหนถือว่ามากเกินไปสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณและความเร็วที่สุด กับโอกาสที่ดื่มด้วย เช่น อาจเกิดอันตรายได้ถ้าเมแอลกอฮอล์ก่อนขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักร หรือในช่วงที่กำลังเลี้ยงเด็ก แต่ในบางกรณี ก็อาจดื่มได้หลายดื่มโดยไม่เกิดอันตราย เช่น ในงานเลี้ยงสังสรรค์ภายในครอบครัวที่บ้านของตนเอง เป็นต้น
การดื่มมากเกินไปในสถานการณ์หนึ่งอาจทำให้มีผลทางลบตามมาอีกมาก ซึ่งผลที่ตามบางอย่างแม้มันจะอยู่ตนเองไม่นาน เช่น อาการเมาค้าง หรืออาการไม่สบายกายบางอย่าง แต่อาการเหล่านี้อาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ ต่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น ในช่วงต่อไปจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับอาการทางกายที่นักดื่มมักจะพบเสมอเมื่อดื่มมากเกินไป
ผลทางลบอย่างรุนแรงที่ตามมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ การได้รับบาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุ จำไว้ว่าความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือดในระดับสูง จะทำให้หย่อนความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเอง ทำให้การคิดลการตัดสินใจไม่ดี และง่วงซึม ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดปัญหาร้ายแรงอื่นๆ ที่มักเกิดขึ้นอย่างกะทันหันและส่งผลกระทบ ที่ร้ายแรงเกินคาด
การดื่มเป็นประจำเป็นเวลานานๆ
การดื่มเป็นประจำเป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดปัญหาได้มากมายหลายแบบ ปัญหาหนึ่งที่รุนแรงคือการติดสุรา การดื่มไปเรื่อยๆ จะเกิดการสะสมของแอลกอฮอล์ทำให้เกิดผลเสียขึ้น เช่น ตับจะถูกทำลายเมื่อดื่มจัดแต่กว่าตนจะรู้สึกตัวก็ต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ หรือเป็นปีๆ
รายงานการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การดื่มโดยเฉลี่ยมากกว่าวันละ 4 ดื่มในผู้ชาย หรือมากกว่า 3 ดื่มต่อวันในผู้หญิง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคตับแข็ง แผลในกระเพาะอาหาร และมะเร็ง บางชนิดอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหารุนแรงที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่ดื่มจัดติดต่อกันเป็นเวลาหลายๆ ปี วิจัยยังแสดงให้เห็นด้วยว่าการดื่มจัดยังทำให้อายุขัยเฉลี่ยของชายและหญิงลดลงอีกหลายปีด้วย
นักดื่มหลายคนที่เคยดื่มวันละ 5-7 ดื่มและมีปัญหามากกว่า 5 ปี นั้นมักจะยังไม่ได้มีปัญหาสุขภาพขั้นร้ายแรง ส่วนใหญ่จะมีปัญหาครอบครัวและปัญหาการงานมากกว่า ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะทวีความรุนแรงมากขึ้นถ้าพวกเขาไม่เปลี่ยนนิสัยการดื่ม เมื่อพวกเขามาเข้าร่วมโปรแกรมนั้น ระดับการติดแอลกอฮอล์อย่างรุนแรงจะถูกส่งต่อไปรับการบำบัดรักษาจากผู้เชี่ยวชาญต่อไป
แนวทางการลดความเสี่ยงและการหลีกเลี่ยงปัญหาจากการดื่ม
ถ้าการดื่มทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ มีปัญหาความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด หรือปัญหาด้านหน้าที่ความรับผิดชอบ หรือการดื่มทำให้ตนและคนอื่นไม่ปลอดภัย นั่นแสดงว่ามีการดื่มมากเกินไปแล้ว แนวทางต่อไปนี้ จะช่วยให้นักดื่มลดความเสี่ยงจากการดื่ม และสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดจากการดื่มได้
1. ไม่ดื่มเลยในสถานการณ์ต่อไปนี้
• ก่อนขับรถหรือก่อนทำงานที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของตนเองและคนอื่นๆ
• เมื่อกำลังใช้ยาตามแพทย์สั่ง ซึ่งอาจเกิดปฏิกิริยาทางลบเมื่อผสมกับแอลกอฮอล์
• ถ้ามีปัญหาสุขภาพที่จะทรุดหนักลงถ้าดื่มแอลกอฮอล์
• ตั้งครรภ์หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร (แม้จะยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่ระบุว่าการดื่มเป้นครั้งคราวจะเป็นอันตรายต่อทารก แต่ก็ขอแนะนำให้อย่าประมาทและอย่าดื่มเลยจะดีกว่า
2. ไม่ดื่มทุกวัน
3. ไม่ดื่มมากกว่า 4 ดื่มต่อวันสำหรับผู้ชาย และไม่มากกว่า 2 ดื่มต่อวันสำหรับผู้หญิง
4. ไม่ดื่มเกิน 1 ดื่มต่อชั่วโมง
5. ไม่ดื่มเกินกว่า 12 ดื่มในแต่ละสัปดาห์สำหรับผู้ชายหรือ 9 ดื่มสำหรับผู้หญิง ทั้งนี้นักดื่มที่ประสบความสำเร็จในการดื่มให้น้อยลงเมื่อเข้าโปรแกรมนี้ มักจะควบคุมการดื่มให้อยู่ในปริมาณ ที่น้อยกว่า 10 ดื่มต่อสัปดาห์เท่านั้น
*******************************************
เอกสารอ้างอิง:จากหนังสือคู่มือการให้การปรึกษาสำหรับผู้ประสบปัญหาแอลกอฮอล์ หน้า 81-85