-/> เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พุ่มพวง ดวงจันทร์

You are here: Khonphutorn.com - แหล่งข้อมูลของคนไทยหมวดความบันเทิงโคลง (ผู้ดูแล: ครภูธน®)เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พุ่มพวง ดวงจันทร์
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 9   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พุ่มพวง ดวงจันทร์  (อ่าน 31460 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #30 เมื่อ: 24 มกราคม 2566, 06:52:29 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @ระพิน ภูไท




… “คนสวยใจดำ” ย่ำให้...... อกตรม    
      ชายหนุ่มเจ็บระบม.....   ร่ำไห้
      จนไปหน่อยอดชม.........งามชื่น
      ขมขื่นคนรวยได้........... แต่งน้องสมจินต์     …..

... ”ระพินภูไท”นักร้อง......... เสียงทอง
      แรกขี่รถถีบจอง.......  ..  สั่งจ้าง
  ครางเพลงไป่คนมอง.........เสียงเด่น  
 ครูช่วยเสกสรรสร้าง...........ชื่อไว้เพลงไทย....
 

ระพิน ภูไท (9 ตุลาคม พ.ศ. 2490 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2524) เป็นนักร้องลูกทุ่งชายชาวไทย มีเพลงดังระดับอมตะ เช่น "คนสวยใจดำ", "คุณนายโรงแรม" และอีกมากมาย รวมทั้งเคยร่วมแสดงภาพยนตร์ด้วย
ประวัติ
ระพิน ภูไท มีชื่อจริงว่า บุญมี เรืองรัศมี เกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2490 ที่ ตำบลคลองกระจง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย เป็นบุตรของบุญมา กับเจียน เรืองรัศมี มีพี่น้อง 8 คน เขาเป็นคนที่ 5 เมื่อเขาโตขึ้น ครอบครัวย้ายมาอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก โดยพ่อมีอาชีพถีบสามล้อรับจ้าง ต่อมาก็ซื้อรถสามล้อมาให้เช่า บางครั้งระพินจึงช่วยถีบสามล้อหาเงินบ้าง แต่เขาชอบที่จะร้องเพลงมากกว่า โดยชอบไปร้องเพลงเชียร์รำวงตามงานวัด ซึ่งพ่อแม่ของเขาก็ส่งเสริม โดยพาไปฝากอยู่กับวง "รวมดาวกระจาย" ของครูสำเนียง ม่วงทอง ที่มาเปิดการแสดงที่พิษณุโลก และครูก็รับเข้าร่วมวง หลังขึ้นไปทดลองร้องเพลง "กล่อมน้องนอนเปล" และ "ตำรวจครับ" ของชาย เมืองสิงห์ และได้รับการตอบรับจากผู้ชมอย่างดี (บางแห่งบอกว่าเขาร้องเพลง "ทุกข์ร้อยแปด" ของชาย เมืองสิงห์ เป็นที่ถูกใจ ผู้ชมจึงขอให้เขาร้องเพิ่มอีกเพลง) เมื่อมาร่วมวง เขาใช้ชื่อว่า "เพชร พิษณุโลก"
ระพินยังไม่ประสบความสำเร็จกับการเป็นนักร้อง จึงออกมาจากวงรวมดาวกระจายกับภรรยาชาวนครราชสีมา ที่พบรักตอนอยู่ในวง มาอยู่กับพี่สาวที่นครราชสีมา โดยหาเลี้ยงชีพด้วยการถีบสามล้อ ขณะที่ภรรยาค้าขาย
ต่อมาเมื่อวงดนตรีบรรจบ เจริญพร มาแสดงที่นครราชสีมา เขาจึงไปสมัครเป็นนักร้องในวง แต่ถูกปฏิเสธเพราะนักร้องเต็ม แต่ระพินก็ได้ขอขึ้นร้องหน้าเวที และเพราะสุ้มเสียงที่ไพเราะ ทำให้บรรจบเปลี่ยนใจรับเข้ามาร่วมวงด้วย โดยใช้ชื่อว่า "ยอดเพชร ราชสีมา" แต่อยู่ประมาณ 1 ปี ก็ลาออก
โด่งดัง
ปี 2514 ครูฉลอง ภู่สว่างนักแต่งเพลงชื่อดังชอบในน้ำเสียงของเขาจึงแต่งเพลงให้ร้องชุดแรก 3 เพลง คือ เพลงลาก่อนความโกหก, ปีวอกหลอกพี่, คำสั่งคุณหมอ โดยใช้ชื่อ ระพิน ภูไท เป็นครั้งแรกแต่ไม่มีทุน แต่ในที่สุด ก็ได้ประกิจ ศุภวิทยาโภคี มาเป็นนายทุน โดยทำสัญญาระบุว่า ระพินต้องอัดแผ่นเสียงให้ห้างซิมสันของเขาเพียงแห่งเดียวในระยะเวลา 3 ปีและสังกัดอยู่กับวงดนตรี "พิณศรีวิชัย" เท่านั้น ถ้าไปร้องให้คนอื่นต้องถูกปรับเพลงละ 20,000 บาท ระพินรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม แต่จนเมื่อเพลงชุดแรกดังแล้ว เขาได้ขอขึ้นค่าตัว แต่นายห้างไม่ยอม ระพินจึงงดออกงานกับวง ทำให้นายห้างฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ระพินยอมออกจากวง และมาตั้งวงเองเมื่อปี 2515 ก่อนจะมีผลงานเพลงออกมามากมาย
ในช่วงปี 2516-2517 ที่ระพิน ภูไท รุ่งเรืองสูงสุดนั้น เขาเป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงมาก มีค่าตัวแพงที่สุด และมีภรรยาถึง 3 คน ประกอบกับความมีน้ำใจของเขา ทำให้ทรัพย์สินร่อยหรอ อย่างรวดเร็ว ทั้งๆ ที่สมัยอยู่วงรวมดาวกระจาย เขาเป็นคนที่ทำงานหนัก และประหยัดที่สุด เขาไม่เอาเปรียบใคร และไม่ค่อยยุ่งกับใคร เขาจะไม่ยอมเสียเงินค่าโรงแรมตอนที่ออกเดินสาย แต่จะอาศัยนอนบนรถของวง และต้องเผชิญกับกองทัพยุงอยู่เป็นนิจ
ตกต่ำ
ในระยะหลัง เมื่อความนิยมตกต่ำ ระพิน ภูไท เริ่มประสบปัญหาชีวิตมากมายจนกลายเป็นคนดื่มเหล้าจัด จนต้องเลิกวงประมาณปี 2518 เพราะเมาจนร้องเพลงไม่ได้ ภรรยาก็แบ่งสมบัติ และเลิกราแยกย้ายกันไป จนเหลือแต่ภรรยาคนสุดท้าย ระพินเริ่มกลับมายากจนอย่างมากอีกครั้ง
ต่อมาในปี 2523 ถนอม จันทร์เกตุ เพื่อนสนิทของระพิน พาไปพบชลธี ธารทอง นักแต่งเพลงชื่อดังขอให้แต่งเพลงให้ โดยทั้งคู่เคยเป็นเพื่อนรักกันสมัยอยู่วง "รวมดาวกระจาย" และระพิน เคยพยายามชวนครูชลธีมาร่วมเป็นนักร้องในวงของเขาสมัยรุ่งเรืองด้วย โดยเสนอค่าตัวในระดับสูงมากเมื่อเทียบกับสมัยนี้ แต่ชลธีซึ่งไปร่วมร้องเพลงเป็นบางครั้งบางคราว ตัดสินใจเลิกไปช่วยร้องในที่สุด เพราะเกรงใจระพินที่ให้เงินมาก
ชลธีแต่งเพลงให้ระพินได้แก่ เพลงไอ้หนุ่ม ต.ช.ด., ซังข้าวเฝ้านา, น้ำตาเจ้าพิน ,ไอ้หนุ่มบ้านนา, ลำดวนใจดำ ระพินที่ถูกถนอมขอให้เลิกกินเหล้า และหันมาซ้อมร้องเพลงอีกครั้ง แต่ก็เป็นไปอย่างทุลักทุเล เพราะเสียงไม่มี ต้องอัดกันหลายครั้งในแต่ละเพลง และผลงานที่ได้มาก็ไม่ดีเช่นสมัยก่อน ทั้งๆที่สมัยก่อนวันหนึ่งๆเขาสามารถอัดได้หลายเพลง หลังอัดเสียงเพลงชุดสุดท้ายเสร็จ ถนอมได้ให้เงินระพินไปก้อนหนึ่ง ซึ่งหลังจากนั้นระพินล้มป่วย จนต้องเข้าโรงพยาบาล
บั้นปลายชีวิต
ระพิน ภูไท ซึ่งเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่ก่อนแล้ว เสียชีวิตด้วยวัยเพียง 33 ปี ด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองแตก ที่โรงพยาบาลมหาชัย เวลา 04.00 น. วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2524 ก่อนจะพบจุดจบ เขาปวดขามาก ปวดติดต่อกันหลายวัน สังเกตดูพบว่าข้อเท้าบวม ขาก็บวม การขึ้นเวทีครั้งสุดท้าย ระพิน รับเชิญไปกับวง ลูกทุ่งฉันทนา ของ ศิลป์ จิตรกร ได้เงินค่าตัว 1,000 บาท
เย็นวันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม ระพินตั้งใจไปหาหมอที่คลินิกเพราะรู้สึกขาจะบวมมากผิดปกติ แต่คลินิกปิด เขาเลยบอกกับภรรยาว่าเดี๋ยวไปรับเชิญวันที่ 24 ก่อน ได้เงินแล้ววันที่ 25 ค่อยมาตรวจ แล้วไม่รู้นึกยังไง ระพิน เลยชวนภรรยาไปดูหนังเรื่อง ผีตาโบ๋ หนังเลิกก็กลับบ้านนอน นอนพักเดียวบ่นร้อนมากไม่ไหวเลยออกไปนอนที่ม้าหินอ่อนใกล้ๆ หน้าบ้าน จู่ๆ ก็แน่นหน้าอกกลับเข้าบ้านยิ่งแน่นหน้าอกเข้าไปใหญ่ ภรรยาเลยตัดสินใจนำส่งโรงพยาบาลมหาชัย แล้วตีสี่ของรุ่งเช้าวันจันทร์นั่นเอง ระพิน ภูไท ก็สิ้นลมหายใจสุดที่แพทย์จะเยียวยาได้ หมอให้เหตุผลการตายของเขาว่า เส้นโลหิตในสมองแตก
ผลงานเพลงดัง....คุณนายโรงแรม…คนสวยใจดำ….อีแม๊ะ…เอาคำว่ารักของเธอคืนไป…ปีวอกหลอกพี่….ชุมทางเขาชุมทอง…ลาก่อนความโกหก…..ชายคลอง….จ้างก็ไม่รัก……เอาคำว่ารักของคุณคืนไป…..โธ่คนอย่างเรา….คิดถึงพี่หน่อย…หนุ่มสลัม….เดือนสามช้ำรัก…..คำสั่งคุณหมอ…..คนจนเป็นไง….ชายคลอง….ไม่ยิ้มจะเอาเท่าไหร่….ยังไม่พอ….สระบุรีร้องไห้….เจ้าพิน…เหมือนลูกโบว์ลิ่ง….คิดถึงแหม่ม….น้ำตาเจ้าพิน….ซังข้าวเฝ้านา….หนุ่มบ้านนอก….หลอกพี่ให้พอ….ระพินเลือกคู่….ยิ่งกว่าช้ำ….ทุยเพื่อนแก้ว….งามเหลือเกิน….จดหมายต.ช.ด.....หลอกพี่ให้พอ…เป็นต้น
ผลงานการแสดง
ลานสาวกอด 2515
นำแสดงโดย: ครรชิต ขวัญประชา และ เพชรา เชาวราษฎร์ (ได้ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ 2 เพลงคือ"ลานสาวกอด" และ "ใต้ฟ้าเชียงฮาย")
อสูรกาย (2515)
นำแสดงโดย: สมบัติ เมทะนี , สังข์ทอง สีใส
สองฝั่งโขง (2514)
นำแสดงโดย: ครรชิต ขวัญประชา, ดวงใจ หทัยกาญจน์,นงคราญ ผาสุข, ทักษิณ แจ่มผล



บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #31 เมื่อ: 25 มกราคม 2566, 01:51:56 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @เต่อ เรวัต พุทธินันทน์






.....เหตุใดรักเริ่มต้น ........ชายหนี  ไกลนา
     หาหล่อรวยแสนดี.......พร่ำเพ้อ
     พลาดหวังบ่อยอีกที.....ลองใหม่
     ขออย่ากลัวฝนเน้อ......ชุ่มแห้งอาจเจอ....

....เต๋อเรวัตแต่งร้อง.........สุนทรี
    แกรมมี่เกิดเพลงดี.......เด่นได้
    นำปรับเปลี่ยนดนตรี.....แนวใหม่
  ลองเล่นแปลกแนวไว้......ร่ายร้องเวที....

เรวัต พุทธินันทน์ (ชื่อเล่น: เต๋อ ; 5 กันยายน พ.ศ. 2491 - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2539)
 เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ อดีตสมาชิกวงดิ อิมพอสซิเบิ้ล และวงโอเรียนเต็ล ฟังก์
อีกทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเม้นท์ (หรือที่รู้จักกันดีในนามจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่)
ร่วมกับ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม เมื่อ พ.ศ. 2526

เต๋อ เรวัต
- เป็นบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ผู้มีคุณูปการมหาศาลของวงการเพลงของประเทศไทย
-เป็นโปรดิวเซอร์ นักดนตรี นักแต่งเพลงในตำนาน
-เป็นผู้ปฏิวัติวงการเพลงไทยให้ไปสู่ยุคทองแห่งความเจริญรุ่งเรือง และผู้ริเริ่มความทันสมัย
ของดนตรีสมัยใหม่ให้กับประเทศไทย
-เป็นผู้บุกเบิกแนวเพลงสตริงอันทันสมัยให้กับการเพลงไทย
ผู้นำแนวเพลง ร๊อค ป๊อบ แดนซ์ โมเดิร์นแจ๊ส ฟังค์ ฯลฯ เข้ามาเป็นที่นิยมในไทย
-เป็นผู้ปลุกปั้นศิลปินให้มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับ เป็นบุคคลตัวอย่างและเป็นแรงบันดาลใจ
ของนักร้องนักดนตรีของเมืองไทยมากมายจวบจนสมัยนี้

เรวัต พุทธินันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2491 ที่กรุงเทพ เรวัตเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 6 คน
 ของนาวาตรีทวีและนางอบเชย พุทธินันทน์ และเขายังมีน้องชายต่างมารดาอีก 1 คน
 คือ ดิเรก พุทธินันทน์ (ต่อง) แต่ไม่ได้เข้าวงการบันเทิง (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้วเช่นกัน)
 เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ (ปัจจุบันคือโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต)
 จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล และจบปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เส้นทางดนตรี
เรวัตหัดเล่นดนตรีตั้งแต่อายุ 11 ปี โดยบิดาบังคับให้เรียนแซกโซโฟน เขากับเพื่อน ๆ
โรงเรียนเซนต์คาเบรียลตั้งวงดนตรี ชื่อ Dark Eyes ต่อมาเปลี่ยนชื่อวงเป็น Mosrite
และเข้าประกวดในงานของสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย
ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในปี พ.ศ. 2508 และ 2509 ขณะเรียนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ใน พ.ศ. 2510 ได้ร่วมกับเพื่อนตั้งวง Yellow Red (เหลือง-แดง คือสีประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
เพื่อนในวงคนสำคัญคือ ดนู ฮันตระกูล และจิรพรรณ อังศวานนท์

ต่อมาเรวัตได้ร่วมกับเพื่อนจากธรรมศาสตร์(Napasak Nop Manisuk) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(Chalermkiat Khor Amornsingha, Krit Jod Choktippattana) ตั้งวง The Thanks
รับแสดงตามงานต่างๆ เน้นดนตรีร็อค เรวัตรับตำแหน่งร้องนำและ keyboard player
(Porames Tee Vajarapana was the drummer)

เพื่อนร่วมวงคนหนึ่งคือ กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา วง The Thanks
 มีชื่อเสียงได้เล่นสลับกับวงดิอิมพอสซิเบิ้ลตามไนท์คลับต่าง ๆ
หลังเรียนจบ เรวัตได้รับการชักชวนให้ร่วมวงดิอิมพอสซิเบิ้ล และเดินทางกับวงไปแสดงที่ฮาวาย
 สหรัฐอเมริกาและยุโรป ในตำแหน่งนักร้องนำและเล่นคีย์บอร์ด
เมื่อวงดิอิมพอสซิเบิลประกาศยุบวง เมื่อ พ.ศ. 2520 เขาตั้งวง โอเรียนเต็ลฟังก์ เล่นดนตรีฟังก์
ร่วมกับวินัย พันธุรักษ์ เล่นประจำที่โรงแรมมณเฑียร และตระเวนเปิดการแสดงในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
ในระหว่างนั้นเรวัตได้ศึกษาการเขียนเพลงและดนตรีเพิ่มเติม

ในปี พ.ศ. 2526 เรวัตร่วมกับ เพื่อนจากจุฬาฯ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ก่อตั้งบริษัท แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเม้นท์
 เขาทำหน้าที่ดูแลด้านการผลิตเพลง ใช้เทคนิคการสร้างศิลปินแบบสากล คือขายทั้งความสามารถและภาพพจน์
 ทำให้ผลงานของบริษัทประสบความสำเร็จแทบทุกชุด
เรวัตมีเอกลักษณ์ประจำตัวอีกหนึ่งอย่างคือ ชอบไว้หนวด

อัลบั้มเดี่ยว
ชื่ออัลบั้ม เพลง
2526 เต๋อ 1

 1 ที่แล้วก็แล้วไป
 2 ดอกฟ้ากับหมาวัด
 3 มือน้อย
 4 เจ้าสาวที่กลัวฝน
 5 เศร้า
 6 อยากรู้นัก
 7 สาวเอยจะบอกให้
 8 เพื่อนเอย
 9 หมู่บ้านในนิทาน
 10 ยิ่งสูงยิ่งหนาว
2528 เต๋อ 2
 1 ดอกไม้พลาสติก
 2 อกหักไม่ยักกะตาย
 3 มันแปลกดีนะ
 4 ชายแปลกหน้า
 5 เสี้ยวอารมณ์
 6 ณ.โลกสีขาว
 7 เมื่อรักมาเยือน
 8 เป็นเวรเป็นกรรม
 9 กำลังใจ
 10 บทเพลงเพื่อเด็ก
2529 เต๋อ 3
 1 สองเราเท่ากัน
 2 สมปองน้องสมชาย
 3 ไม่สายเกินไป
 4 เพื่อน
 5 ฝัน
 6 เมืองใหญ่เมืองนี้
 7 ปากคน
 8 ใจของเรา
 9 คงจะมีสักวัน
2530 ชอบก็บอกว่าชอบ
 1 ชอบก็บอกชอบ
 2 อย่างน้อยก็คิดดี
 3 เมืองใหญ่เมืองนี้
 4 ยิ่งสูงยิ่งหนาว
 5 ชายแปลกหน้า
 6 ดอกไม้พลาสติก
 7 เพื่อนเอย
 8 มือน้อย
 9 สองเราเท่ากัน
 10 บทเพลงเพื่อเด็ก
 11 ฝัน
 12 ที่แล้วก็แล้วไป
 13 เจ้าสาวที่กลัวฝน
 14 กำลังใจ
 15 คงจะมีสักวัน
 •  •



บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #32 เมื่อ: 26 มกราคม 2566, 01:32:46 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @ยอดรัก สลักใจ
     
 
  




   ....”สามสิบยังแจ๋ว” จ้า...... สวยนัก
    คนหนุ่มหลงอยาก “รัก ..... แม่หม้าย”
    “เด็กมันยั่ว” ยากหัก..........ใจแย่
     “เอาแน่” คนสุดท้าย.........”แม่หม้ายรายวัน”......

.... สมฝัน” ยอดรัก”ร่ายร้อง...”สลักใจ”
       หวานแว่วเฉิดไฉไล........ อยู่หน้า
               พิจิตรพ่อเกิดใน..... ลูกทุ่ง
   “จดหมายจากแนวหน้า”......ส่งซึ้งตรึงใจ...


ยอดรัก สลักใจ (ชื่อเล่น แอ๊ว) หรือชื่อจริง สิบตำรวจโท นิพนธ์ ไพรวัลย์ (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 — 9 สิงหาคม พ.ศ. 2551) เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในเมืองไทยเป็นที่รู้จักในนามพระเอกลูกทุ่งไทยตลอดกาล มีผลงานที่สร้างชื่อหลากหลายเพลง เพลงที่รู้จักกันดี ได้แก่ "30 ยังแจ๋ว"
ประวัติ
ยอดรัก สลักใจ มีชื่อเล่นคือ แอ๊ว เกิดวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 ที่ตำบลงิ้วราย อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เป็นบุตรนายบุญธรรม และ นางบ่าย ไพรวัลย์ มีพี่น้อง 8 คน ชาย 7 คน หญิง 1 คน โดยยอดรักเป็นคนสุดท้อง
จบการศึกษา ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหาดแตงโม อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เนื่องจากทางบ้านไม่มีเงินส่งเสียค่าเล่าเรียน บิดาเสียชีวิตตั้งแต่ยอดรักอายุได้ 7 ขวบ มารดามีฐานะยากจนและมีพี่น้องหลายคน จึงได้ออกเร่ร่อนร้องเพลงที่บาร์รำวง ได้เงินคืนละ 5 - 10 บาท ได้เงินมาก็หาซื้อหนังสือมาอ่านเอง และเรียนด้วยตนเอง จนกระทั่งได้เรียนที่โรงเรียนถาวรวิทยา อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดยเรียนการศึกษาผู้ใหญ่ และสอบเทียบจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ยอดรัก สลักใจ ได้มีโอกาสเข้าเรียนที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขน เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2534 และศึกษาต่อจนกระทั่งปี พ.ศ. 2537 ได้รับปริญญาครุศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศศ.บ.) สาขาศิลปศาสตร์ สายดนตรีและศิลปะ การแสดง วิทยาลัยครูธนบุรี

วงการเพลง
เมื่อยอดรักยังเด็ก เขาไปสมัครร้องเพลงกับคณะรำวง “เกตุน้อยวัฒนา” ซึ่งได้เงินมาครั้งละ 5 - 10 บาท และต่อมามีโอกาสไปร้องเพลงในห้องอาหารที่ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยได้ใช้เพลงของไพรวัลย์ ลูกเพชร, ชาย เมืองสิงห์, สุรพล สมบัติเจริญ, ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เป็นต้น จนกระทั่งวันหนึ่ง เด็ดดวง ดอกรัก นักจัดรายการของสถานีวิทยุ ท.อ.04 ตาคลี ได้มาฟังเพลงที่ห้องอาหาร และประทับใจยอดรักที่ร้องเพลง ' ใต้เงาโศก ' ของ ' ไพรวัลย์ ลูกเพชร ' จึงได้มาชักชวนเข้าสู่วงการ โดยนำมาฝากกับ อาจารย์ ชลธี ธารทอง ยอดรักก็ได้อยู่เลี้ยงลูกให้อาจารย์ชลธีเกือบหนึ่งปี และตั้งชื่อให้ว่า “ ยอดรัก ลูกพิจิตร ” และได้บันทึกแผ่นเสียง 3 เพลงคือ สงกรานต์บ้านนา, น้ำสังข์หลั่งน้ำตาริน ,เต่าหมายจันทร์

การเสียชีวิต
พ.ศ. 2550 ยอดรักถูกตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งตับระยะแรก และได้ถึงแก่กรรมในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เวลา 01.05 น. ด้วยวัย 52 ปี พิธีศพของยอดรักได้จัดขึ้นไว้ ณ วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม และ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดหาดแตงโม อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร


ผลงานเพลง
เพลงที่ทำชื่อเสียงให้ชุดแรก มี จดหมายจากแนวหน้า น้ำสังข์หลั่งน้ำตาริน ห่มธงนอนตาย ทหารเรือมาแล้ว หลังจากนั้นมี ผลงานเพลงที่ขับร้องเอง มากกว่า 4000 เพลง งานเพลงชุดสุดท้ายก่อนเสียชีวิตคือ มะเร็งไม่มายิง ออกโดยค่าย เอส เอส มิวสิก เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ซึ่ง ยอดรัก สลักใจ ได้รับค่าตอบแทน เป็นเงิน 570,000 บาท และเพลงสุดท้ายที่ยอดรักขับร้อง คือ เพลง "ยอดรัก" ซึ่ง บอย โกสิยพงษ์ เป็นผู้แต่งเนื้อร้องและทำนอง
ผลงานเพลงที่ยอดรักบันทึกเสียงถึง 9 ครั้ง และมีศิลปินเพลงรายอื่นนำไปขับร้องอีกเป็นจำนวนมากคือเพลง สามสิบยังแจ๋ว
เพลง สามสิบยังแจ๋ว ที่ขับร้องโดย ยอดรัก สลักใจ
และก็ออกอัลบั้มอีกหลายชุด เช่น
•   30 ยังแจ๋ว
•   40 ยังเจ๋ง
•   กรรมกรวอนแฟน
•   กระเป๋ารถคนจน
•   ก็รู้ๆ กันอยู่
•   กลับมาทำไม
•   กลับเชียงรายเถิดน้อง
•   กอดเข่าใจลอย
•   กันตรึมยอดรัก
•   กำนัน กำใน
•   กำนัลใจ
•   กิ้งก่าได้ทอง
•   กึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทย
•   เกรงใจเมีย
•   เกาะกง (ทำที่ต่างประเทศ)
•   แกะกล่อง
•   โกลเด้นซอง ยอดรัก 29
•   กิ่งทองใบหยก
•   ขอแค่คำรัก
•   ขอเพียงแค่ฝัน
•   ขาดการติดต่อ
•   ขาดคนหุงข้าว
•   ขาดเงิน ขาดรัก
•   ข่าวร้ายปลายพ.ศ.
•   ข่าวลือยอดรัก
•   ขี้เมาอ้อนเมีย
•   เข้าคิว
•   คณะบุญหลายมันส์หยุดโลก (1-3)
•   คนของเสี่ยอ๋า
•   คนจนเจ้าเอ๋ย
•   คนรักเมีย
•   คนรักหาย
•   คนละงาน
•   คนอะไรใจดำ
•   ครูจันทร์แรม
•   ครูประชาบาล
•   คอยจนแก้มเอียง (ร้องคู่กับ ขนิษฐา ธิดาไท)
•   คุณเป็นแฟนใคร
•   คู่รัก คู่ฮา (ร้องคู่กับ อาภาพร นครสวรรค์)
•   แค้นรัก
•   ใครบอกยอดรักอกหักไม่เป็น
•   คิดถึงแม่ม่าย
•   คาถามหานิยม
•   จดหมายจากแนวหน้า
•   จดหมายทหารใหม่
•   จักรยานคนจน
•   จากใจแนวหลัง
•   จากใจพนา เจือเพ็ชร์
•   จากแผ่นเสียงแผ่นเล็ก
•   จูงควายกลับบ้าน
•   จากหัวใจยอดรัก
•   จำใจดู
•   จำปูนจำปีจำปา
•   ชายอกสามศอก
•   โชคดีที่มีเมียแก่
•   โชคดีที่รัก
•   โชเล่ย์พเนจร
•   ซึมไปเลย
•   ซุปเปอร์ลูกทุ่ง
•   เซ็งหัวใจผู้หญิง
•   ด่วนขอนแก่น
•   ดาวลืมดิน
•   ดีที่สุด ยอดรัก สลักใจ
•   ดื่มเพื่อลืมคนลวง
•   ดูใจจันทร์
•   เด็กมันยั่ว
•   เด็กมันให้
•   เด็กมันอวบ
•   เด็กเอ๊าะๆ
•   ต้นฉบับเพลงทอง
•   ต้อนไว้ๆ
•   ตังเกเหว่ว้า
•   ตามไปดู
•   ตายไม่กลัว....กลัวแก่
•   ตำรวจยอดรัก
•   โตได้ โตดี
•   ทหารเรือมาแล้ว
•   ทหารสั่งเมีย
•   ทหารใหม่ไปกอง
•   ทหารเอกแม่ย่า
•   ท็อปฮิตลูกทุ่งมาตรฐาน
•   ทางสายใหม่
•   ทำบัตรประชาชนหรือยัง
•   ทำหมันแล้ว
•   ที่ไหนก็ 4 คน
•   ทุยเพื่อนรัก - ชุด เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้
•   ทหารอากาศขาดรัก
•   เธอช้ำเพราะคำลวง
•   นกเอี้ยงจ๋า
•   นอนคนเดียว
•   นักร้องพ่อลูกอ่อน
•   นางสาวร.ร. (ร้องคู่กับ พรพรรณ หลานย่าโม)
•   นิราศรักเวียดนาม
•   น้ำสังข์หลั่งน้ำตาริน
•   บ.ข.ส. รอรัก
•   บ่มีจั๊กบาท
•   บ้านนาสุขใจ
•   บานไม่รู้โรย
•   เบรกไม่อยู่
•   เบื่อเมีย
•   เบื่อแม่ม่าย
•   แบ่งคนละครึ่ง
•   ปัดฝุ่นรุ่นพิเศษ
•   เปลี่ยนพ.ศ.ใหม่ เปลี่ยนใจหรือยัง
•   เปลี่ยนเมียเปลี่ยนแผล
•   เปลี่ยนรัก เปลี่ยนรถ
•   เปลืองน้ำตา
•   เปิดกรุ
•   เปิ้นคนใจดำ
•   ไปไหนมาน้อง
•   โปรดเถิดดวงใจ
•   ผัวมือสอง
•   ผ้าห่มหัวใจ
•   ผิดไหมที่ไม่แก่
•   แผลเก่า
•   แผลรักสลักใจ
•   ผู้หญิงคนนั้น
•   ฝากใจไว้ระยอง
•   ฝากใจไว้อีสาน
•   พบเธอแล้วไม่อยากพบใคร
•   พยักหน้าก็เข้ามานะตัว
•   พ่อตาเรียกพี่
•   พ่อหม้ายซิง ซิง
•   พิเศษ 2548
•   พี่ชอบอย่างเดียวแต่บอกไม่ได้
•   พี่ไม่หลอก
•   เพลงเทิดพระเกียรติ
•   เพลงกรมสรรพากร
•   เพลงเงินล้านหวาน - มันส์
•   เพลงเฉพาะกิจ
•   เพลงเฉลิมพระเกียรติ สดุดี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
•   เพลงชนะการประกวดวันแม่แห่งชาติ ปี 2523
•   เพลงดัง 5 ดาว ชุดที่ 1 และ 3
•   เพลงใต้สไตล์ยอดรัก
•   เพลงเทิดพระเกียรติ
•   เพลงเทิดพระเกียรติสดุดี สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี
•   เรือเพลง
•   อีส้มสมหวัง
•   สงครามเพลงแผน 2
•   อ้อนรักแฟนเพลง
•   เพลงรัก เพลงปืน
•   เพลงลูกกรุง
•   เพลงสมัย ยอดรัก ลูกพิจิตร
•   เพลงแหล่ยอดรัก
•   เพื่อนเจ้าบ่าว
•   ฟ้าสีคราม
•   แฟนเราเขาลืม
•   แฟนหาย
•   ภาพแห่งความหลัง
•   มงกุฎเพชร
•   มนต์รักฝังใจ
•   มนต์รักแม่น้ำมูล
•   มนต์รักลูกทุ่ง
•   มนต์หลวงพ่อคูณ
•   มรดกลูกทุ่งไทย 3
•   มหกรรมดอนเจดีย์
•   มหาอกหัก
•   มะนาวไม่มีน้ำ (ร้องคู่กับ ผ่องเพ็ญ เด่นนภา)
•   มาเต้นรำกัน
•   มาลี มาลัย
•   มีเมียแม่หม้าย
•   เมาจัง...สตังค์อยู่ครบ
•   เมาหยุดโลก
•   เมียผมดี
•   เมียไม่มาเมียไม่มี
•   เมียหึง-ผัวเบื่อ
•   แม่ดาวเทียม
•   แม่หม้ายรายวัน
•   ไม่ทราบชื่อชุด
•   ไม่เมาไม่มา
•   ไม่รักอย่าหลอก
•   ไม่รู้นะเนี่ย
•   เมตตาธรรม
•   ยอดรักนัมเบอร์วัน
•   ยอดรักเมา
•   ยอดรัก 2 ลีลา
•   ยอดรัก เพลงเฉพาะกิจ
•   ยอดรัก ยอดลูกทุ่งไทย
•   ยอดรัก ยอดฮิต(ค่ายกรุงไทย)
•   ยอดรัก สุด สุด 91
•   ยอดรักกลองยาว
•   ยอดรักขายตัว
•   ยอดรักคาลิปโซ่
•   ยอดรักดิสโก้
•   ยอดรักโต้ตอบนันทิดา
•   ยอดรักถูกหลอก
•   ยอดรักมันส์ระเบิด
•   ยอดรักไม่ติดเบรก
•   ยอดรักรอคู่
•   ยอดรักลอยกระทง
•   ยอดรักล้าน% 1
•   ยอดรักลาบวชปีทอง 38
•   ยอดรักสมัครแฟน
•   ยอดรักเสี่ยงมาลัย
•   ยอดรักหลายลีลา 1
•   ยอดรักแหล่หลายรส
•   ยอดรักอกหัก – ขมกว่าสะเดา
•   ยอดรักอกหัก – ไม่รักไม่ง้อ
•   ยอดรักเอ๊าะ...เอ๊าะ
•   ยังไงก็ไม่แก่
•   ยิ้มหน่อยให้ร้อยบาท
•   ยิ้มให้คุณ
•   ยอดรักอาลัยทูลทองใจ
•   รถติด – คอยเธอ
•   รวม 12 เพลงไว้อาลัย 12 แด๊นซ์เซอร์
•   รวม HOT ยอดรัก
•   รวมดาวลูกทุ่งทานตะวัน
•   รวมเพลงคิดถึงยอดรัก 1 และ 2
•   รวมเพลงชนะเลิศ รองชนะเลิศ งานสมโภช 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์
•   รวมเพลงดังอมตะพิเศษยอดรัก 10
•   รวมเพลงดังอมตะพิเศษยอดรัก 8
•   รวมเพลงดังอมตะยอดรัก 5
•   รวมฮิตลูกทุ่งโบว์แดง ชุด 2
•   รสชาติของคนรุ่นใหม่
•   รอรับดาวร่วง
•   รักกันเล่นๆ
•   รักขมที่สันทราย
•   รักครึ่งทาง
•   รักจริงทิ้งเบอร์
•   รักเธอคนเดียว
•   รักน้องเมีย
•   รักเผื่อเลือก
•   รักพี่แค่ไหน
•   รักเพราะไม่รู้
•   รักเมียหลวงห่วงเมียน้อย
•   รักแม่ม่าย
•   รักแม่หม้าย ภาค 2
•   รักและคิดถึง
•   รักสะท้านดินสะเทือน
•   รักสาวอิสลาม
•   รักสุดขีด
•   รักอาอย่าเกลียดคนเมา
•   รับครึ่งเดียว
•   รู้แล้วจะหนาว
•   เราซิมันถูกหลอก
•   เรียนรักเกินตำรา (ร้องคู่กับ พุ่มพวง ดวงจันทร์)
•   เรื่องของผม
•   โรคแพ้รัก
•   โรควูป
•   ล่องเรือหารัก
•   ลิเกยอดรัก
•   ลิเกเงินกีบ
•   ลีลาใหม่ 3
•   ลูกคุณหญิง
•   ลูกทุ่งก.ศ.น.
•   ลูกทุ่งเซอร์ราวด์
•   ลูกทุ่งทองแท้
•   ลูกทุ่งยอดนิยม
•   ลูกทุ่งสามช่า
•   ลูกทุ่งสายฟ้า
•   ลูกทุ่งเสียงทอง
•   ลูกสาวใคร
•   ลูกสองน้องยังสวย
•   ลวดลายยอดรัก
•   วอนรัก
•   วาสนาคนเฮง
•   เศรษฐีดินปั้น
•   สงครามเพลง
•   สดุดี 200 ปี อุบลราชธานี
•   สภาหัวใจ
•   สมบัติเยาวชน
•   สมศรีตายแล้ว
•   สวรรค์บ้านทุ่ง
•   สองลูกทุ่งไทย
•   สาลิกาลิ้นทอง
•   สาวนาสั่งแฟน
•   สาวนาเห่อกรุง
•   สาวรถแอร์
•   สาวลานมัน
•   สาวเอวลอย
•   สุขเถิดที่รัก
•   สุดห้ามใจ
•   สู่ขวัญบัวคำ
•   หนาวลมหนาวรัก
•   หนึ่งในสยาม
•   หนุ่มกล้าสาวเก่ง (ร้องคู่กับ สไบแพร บัวสด)
•   หนุ่มมะนาว – สาวมะปริง
•   หยุดโลก...เพื่อเธอ
•   หลงคนสวย
•   หลวงพ่อคูณช่วยด้วย
•   หลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง
•   หล่อตอนแก่
•   หล่อตอนเมา
•   หอรักหักทรวง
•   หัวใจดื้อ
•   หัวใจเผลอ
•   หัวใจเพียงกำมือ
•   หันหน้าหากัน ชุดที่ 1 เสียงแคนแทนใจ (ร่วมกับ ยิ่งยง ยอดบัวงาม)
•   ห้ามบอกใคร
•   เห็นหุ่นก็อุ่นใจ
•   เหมือนดาวคอยเดือน
•   แหล่ประวัติยอดรัก
•   แหล่ประวัติชีวิตพุ่มพวง
•   ให้เป็นเมียหลวง
•   อกหักตอนแก่
•   อดีตรัก สลักใจ
•   อดีตรักงานย่าโม
•   อนุสรณ์ยอดรัก
•   อมตะยอดรัก ต.ช.ด.ขอร้อง
•   อมตะลูกทุ่ง 1-2-3-4-5
•   อมตะลูกทุ่งไทย
•   อเมซซิ่งโคกเจริญ
•   อยากบอกให้เธอเข้าใจ
•   อยากมีเมีย
•   อยากเป็นเขยกำนัน
•   อย่าหลงเมืองหลวง
•   อยุธยาเมืองเก่า
•   อยู่ทำไม
•   อวยพรคู่วิวาห์
•   อะไรก็กู
•   อะไรจะเกิด
•   อาลัยผึ้ง
•   อาลัยแม่ฟ้าหลวง
•   อำลาอาลัย 15 ปี ยอดรัก
•   อีกเมื่อไหร่จะให้พบ
•   อีแต๋นไอเลิฟยู
•   อีสานอีเศร้า
•   เอาแน่
•   เอาอีกไหม
•   แอ๊ว'88 กลับมารักษาใจ
•   ไอ้หนุ่มกรรมกร
•   ไอ้หนุ่มช่างทอง
•   ไอ้หนุ่มชุมพร
•   ไอ้หนุ่มตู้เพลง
•   ไอ้หนุ่มรถอีแต๋น
•   มะเร็งไม่มายิง
นอกจากนี้ยังมีผลงานเพลงอื่นๆ อีก เช่น
รักน้องเมีย ไพฑูรย์ ขันทอง …อยากมีเมีย ไพฑูรย์ ขันทอง…รักแม่หม้าย ไพฑูรย์ ขันทอง…เด็กเอ๊าะๆ ไพฑูรย์ ขันทอง…ทหารเรือมาแล้ว…รักสะท้านดินสะเทือน…คาถามหานิยม…บ้านนาสัญญารัก…ห้องนอนคนจน…ใต้เงาโศก…นางหลายใจ…ต.ช.ด. ขอร้อง…หนุ่มนารอนาง….ยืนร้องไห้คอยใคร…ฝากใจไว้อีสาน…มนต์รักลูกทุ่ง….ยิ้มให้คุณ…ไอ้หนุ่มตู้เพลง…จำปาลืมต้น…เอาแน่….ทหารอากาศขาดรัก…เมียไม่มาเมียไม่มี….พอหรือยัง….เซซัง….หนุ่ม อบต.....รักขมที่สันทราย…คุณนายลูกสาวกำนัน…ทหารห่วงเมีย…ครูประชาบาล…อกหักซ้ำสอง…แผลที่ใจ…โชคดีที่รัก…เด็กมันยั่ว…ห่มธงนอนตาย…จดหมายจากแนวหน้า…รักเก่าที่บ้านเกิด…ความรักเหมือนยาขม….น้ำตาจ่าโท…บอกแล้วน้องลวง…พลัดคู่…รักแท้แพ้รถ…อ.ส. รอรัก…น้ำตาตกใน…พี่มีแต่ให้…ทุยเพื่อนรัก…บัวตูมบัวบาน…จำใจจาก…กระท่อมทองกวาว…พ่อหม้ายตามเมีย…หนุ่มเรือนแพ…สัจจะชาวนา…อย่าลืมตัว….อุทัย อุดร….มนต์รักเสนา….พลอยเมืองจันท์…ทหารใหม่ไปกอง…ชวนน้องแต่งงาน…ขอบคุณแฟนเพลง…นางฟ้ายังอาย…มะเร็งไม่มายิง ฯลฯ

ผลงานการแสดงภาพยนตร์
•   [2522] เรือเพลง (คู่กับ วาสนา, พนม, รัตนาภรณ์, สุลาลีวัลย์)
•   [2526] สงครามเพลง (คู่กับ พุ่มพวง, เนาวรัตน์, กรุง, มานพ, รณ, เศรษฐา, ธิติมา, สายัณห์, ฤทธิ์)
•   [2526] เสน่ห์นักร้อง (คู่กับ สายัณห์, พุ่มพวง, เนาวรัตน์, ยอด, ชูศรี, ล้อต๊อก)
•   [2527] สาวนาสั่งแฟน (คู่กับ พุ่มพวง, ส.อาสนจินดา, ศรินทิพย์, ศิริ ศิริจินดา, ชูศรี, พรพรรณ, รัตนาภรณ์)
•   [2527] สาลิกาลิ้นทอง (คู่กับ อภิรดี, พิศมัย, เมตตา, มาลี, สมควร, ท้วม, ดี๋, สมพงษ์, ดวงดาว)
•   [2527] อีแต๋น ไอเลิฟยู (คู่กับ ทูน, พุ่มพวง, ล้อต๊อก, ชูศรี, เด๋อ, พิศมัย, เมตตา, เศรษฐา, ท้วม)
•   [2527] ไอ้หนุ่มรถอีแต๋น (คู่กับ ปิยะมาศ, สินจัย, เทพ, ธิติมา, ส.อาสนจินดา, ชาลี, บู๊, สมควร, สมศักดิ์)
•   [2527] ทหารเกณฑ์เจอผี (คู่กับ พรพรรณ, ล้อต๊อก, ฤทธิ์, โน้ต, ยอด, ท้วม)
•   [2528] นักร้องพ่อลูกอ่อน (คู่กับ จารุณี, ธิติมา, บู๊, ล้อต๊อก)
•   [2530] เพลงรัก เพลงปืน (คู่กับ สรพงศ์, มาริษา, ครรชิด, พุ่มพวง, ลักษณ์, ฉัตร)
•   [2531] อยู่กับยาย (คู่กับ สรพงศ์, ลักษณ์, ไพโรจน์, นีรนุช, ศิรินทรา)
•   [2533] อ้อนรักแฟนเพลง (คู่กับ ศิรินทรา, นิรุตติ์)
•   [2533] สงครามเพลงแผน 2 (คู่กับ สรพงศ์, สุทธิพงษ์, โน๊ต, สมพร, สามารถ, มานพ, บู๊, พนม, เสกสรรค์, รณ, สุนารี)
•   [2541] เสือ โจรพันธุ์เสือ (คู่กับ อำพล, หงา, สุเทพ, ขจรศักดิ์, ชาลี)
•   [2545] มนต์เพลงลูกทุ่งเอฟเอ็ม (คู่กับ ยิ่งยง, รุ่ง, กุ้ง, ดำรง, เสรี, เอกราช, แดง, ทศพล, เอกชัย, แดน, ชาย เมืองสิงห์, ชินกร, สดใส, พรศักดิ์)
•   [2550] อีส้ม สมหวัง (คู่กับ ปิติศักดิ์, สุวนันท์, โน้ต)

ละครโทรทัศน์
•   [2545] มนต์รักแม่น้ำมูล ..... ยอดรัก
•   [2544] อะเมซซิ่งโคกเจริญ ..... อาจารย์เอ๋อ
•   [2541] สุรพล (คนจริง) สมบัติเจริญ ..... ปรีชา (รับเชิญ)
•   [2541] สวรรค์บ้านทุ่ง ..... แสง
•   [2538] มนต์รักลูกทุ่ง ..... บุญเย็น
•   [2533-2534] ล่องเรือหารัก (คู่กับ ปภัสรา เตชะไพบูลย์)

ซิตคอม
•   [2533] ตะกายดาว ตอน ดาวบ้านนา
•   [2542-2546] ระเบิดเถิดเทิง
คอนเสิร์ต
•   คอนเสิร์ต เพื่อนช่วยเพื่อน ยอดรัก สลักใจ (2551)
•   คอนเสิร์ต ชุมทางเสียงทอง (2545)

รางวัลที่ได้รับ
•   พ.ศ. 2520 ได้รับรางวัลพระราชทานเสาอากาศทองคำ ประเภทนักร้องยอดเยี่ยมในเพลง ทหารเรือมาแล้ว
•   พ.ศ. 2522 ได้รับรางวัลพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ ประเภทนักร้องยอดนิยมลูกทุ่งชาย จากสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (28 ธันวาคม 2533)
•   พ.ศ. 2523 ได้รับรางวัลพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ เพลง กำนันกำใน จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะที่เป็นผู้มีความสามารถใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง ไพเราะ เป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ เป็นตัวอย่างอันดีแก่เยาวชน
•   พ.ศ. 2523-2524 ได้รับรางวัลทีวีตุ๊กตาทองมหาชน โดยคะแนนเสียงจากประชาชนทั่วประเทศ 2 ปีซ้อน ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์บ้านเมือง
•   พ.ศ. 2532 ได้รับรางวัลพระราชทานเพลงดีเด่น จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในการจัดงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ในเพลง จักรยานคนจน
•   พ.ศ. 2533 ได้รับเกียรติให้ร้องเพลงชนะเลิศจากการประกวดวันแม่แห่งชาติ และเป็นเกียรติสูงสุดที่ได้ร้องถวายในวันครบรอบ 90 พรรษา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในเพลง สมเด็จย่า
•   พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลพระราชทานเพลงดีเด่น เนื่องในการจัดงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2 ในเพลง ทหารใหม่ไปกอง
•   พ.ศ. 2551 ได้รับรางวัล "ปริยศิลปิน" จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในฐานะที่เป็นศิลปินที่เป็นที่รักของประชาชน ซึ่งถือเป็นรางวัลเกียรติยศภายหลังการเสียชีวิตแล้ว และถือเป็นศิลปินคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ด้วย
•   พ.ศ. 2563 รางวัลพระพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #33 เมื่อ: 27 มกราคม 2566, 01:15:29 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @นิมิตร ภูมิถาวร
 

    
       


 

    
 


 

 
 
   ......นิมิตเขียนเด่นได้........รางวัล     หลายนา
  เขียนเรื่องแรกลองพลัน.......ได้โล่                                         
          คนเผาถ่านตัวฉัน.......เคยอ่าน    เรียนแฮ
        ครูสั่งวิเคราะห์โอ้ ........เรื่องสั้นนี้ดี .....
     
      ....สุขศรีตามผู้แต่ง........บรรยาย
         ฉันอ่านเพลินสบาย.....ท้องเรื่อง                                   
          ชมคนแต่งขยาย.......ภาพแจ่ม   ชัดนอ
         อ่านจบรายงานเรื้อง....ได้สี่ไทยเอย.....

( สี่ หมายถึงได้เกรดสี่ วิชาภาษาไทยชั้น ม.3  การอ่านวิเคราะห์ วิจาร์ณ วรรณกรรม )   
ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร
เรื้อง
•   (วด.) ว. (ดู เรือง).
เรือง
•   ว. รุ่งเรือง, สว่าง, สุกใส (เหมือน เรืองรอง).


ประวัติส่วนตัว :
นิมิตร ภูมิถาวร นามสกุลเดิม ภักดี
เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 ณ ตำบลบ้านไร่ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง 3 คน บิดามารดาเป็นชาวนาชื่อ นายมั่น และนางนวม ภูมิถาวร สมรสกับนางสมัย ภูมิถาวร เมื่อ พ.ศ. 2501 มีบุตรธิดา 4 คน คือ
1. นางเนตรทราย บุญเกตุ สมรสกับ นายวัชรชัย บุญเกตุ
2. น.ส.กรรณิกา ภูมิถาวร
3. นางศุภศัณห์ ชูบุญ สมรสกับ นายชรินทร์ ชูบุญ
4. น.ส.เรือนแก้ว ภูมิถาวร


ชั้นประถมศึกษาเรียนที่โรงเรียนบ้านไร่ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ประวัติการเรียนดีมาก สอบไล่ได้ชั้นประถม 4 ในปี 2488 รวมเวลาเรียน 3 ปี จากนั้นเข้าเรียนต่อที่ โรงเรียนราษฎรบำรุงวิทยา อำเภอศรีสำโรง จบชั้นมัธยมปีที่ 4 แล้วไปต่อที่โรงเรียนสวรรควิทยา อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย จนจบชั้นมัธยมปีที่ 6 เมื่อปี 2494 สอบชิงทุนได้เรียนวิชาครูมูล ที่โรงเรียนฝึกหัดครูอุตรดิตถ์ 1 ปี ได้วุฒิฝึกหัดครูมูลเมื่อปี 2495
เมื่อจบการศึกษาเข้าทำงานครั้งแรกที่สหกรณ์ที่ดิน อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ระยะหนึ่ง วันที่ 16 มิถุนายน 2497 อายุ 18 ปี เข้ารับราชการชั้นจัตวา ในตำแหน่งครูโรงเรียนประชาบาล กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นครูที่โรงเรียนโคกกระทือ อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย สมรสกับนางสมัย ภูมิถาวร เมื่อพ.ศ. 2501 มีบุตรธิดา 4 คน วันที่ 30 กันยายน 2521 เป็นครูใหญ่ระดับ 5 โรงเรียนบ้านไร่ (สำนักงานสลากกินแบ่งสงเคราะห์ 55) และในปี พ.ศ. 2521 นี้ ได้รับประกาศนียบัตร เกียรติคุณครูใหญ่ดีเด่น พร้อมกับโรงเรียนบ้านไร่เป็นโรงเรียนดีเด่น แห่งจังหวัดสุโขทัย

นิมิตร ภูมิถาวร ได้ถูกกระทรวงศึกษาธิการยืมตัวมาช่วยราชการ ให้เป็นกรรมการ เขียนหนังสือประกอบการเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษาสำหรับเด็กไทยทั่วประเทศ ที่กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2522 แล้วลาออกจากราชการรับบำนาญเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523 ย้ายภูมิลำเนา ทั้งครอบครัวมาอยู่กรุงเทพฯ และเข้าทำงานในกองบรรณาธิการ นสพ. ฟ้าเมืองไทย

เขียนเรื่องสั้นเรื่องแรกเมื่ออยู่ชั้น ม.6 อายุ 16 ปี (2495) เรื่อง "ความหลัง" ลงหนังสือพิมพ์โรงเรียน ชนะประกวดเรียงความ ของสมาคมษย์เก่าเรื่อง "พระร่วง" (2495) ผลงานเขียนเรื่องแรกคือ "คนสวยของฉัน" ลงพิมพ์ในนิตยสารไทยโทรทัศน์ ได้ค่าเรื่อง 100 บาท 2512 อาจินต์ ปัญจพรรค์ ออกหนังสือ "ฟ้าเมืองไทย" นิมิตรส่งเรื่องสั้นชื่อ "โลกที่พบใหม่" ลงใน "ฟ้าเมืองไทย" ฉบับที่ 8 2513 เรื่อง "แด่คุณครู-ด้วยคมแฝก" ลงใน "ฟ้าเมืองไทย" (ชนะรางวัลยอดเยี่ยม ปี 2517) ใช้ชื่อจริงเป็นนามปากกา หลังจากนั้นก็เขียนหนังสือเรื่อยมา ปัจจุบันมีผลงานเรื่องสั้น กว่า 60 เรื่อง นวนิยาย เรื่องยาวประมาณ 10 เรื่อง (สำรวจเมื่อ พ.ศ. 2523)

นิมิตร ภูมิถาวร ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2524

นามปากกา
นิมิตร ภูมิถาวร
การศึกษา :

•   ระดับชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านไร่ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย
•   โรงเรียนราษฎรบำรุงวิทยา อำเภอศรีสำโรง
•   โรงเรียนสวรรควิทยา อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
•   โรงเรียนฝึกหัดครูอุตรดิตถ์
รางวัลที่ได้รับ :
งานที่ได้รับรางวัล

•   2495 ชนะประกวดเรียงความเรื่อง "พระร่วง"
•   2512 ชนะประกวดเรื่องสั้นเรื่อง "เด็กที่ครูไม่ต้องการ" จากวิทยาสาร เป็น เรื่องสั้น 1 ใน 20 เรื่อง ที่กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ คัดเลือกให้เป็นหนังสืออ่าน ภาษาไทยนอกเวลาสำหรับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย (เรื่องสั้น)
•   2512 ชนะประกวดเรื่อง "มรดก" จากลองแมนกรีน (เรื่องสั้น)
•   2517 ได้รับรางวัลนวนิยายยอดเยี่ยมประจำปีจากเรื่อง "แด่คุณครู-ด้วยคมแฝก" (นวนิยาย)
•   2518 ได้รับรางวัลจากเรื่อง "สร้อยทอง" (นวนิยาย)
•   2519 ได้รับรางวัลดีเด่นประจำปีจากเรื่อง "เรื่องสั้นชนบท" (เรื่องสั้น)
•   2520 ได้รับรางวัลดีเด่นประจำปีจากเรื่อง "สร้อยทอง" เรื่องนี้กรรมการอาเชียนฝ่ายไทย ส่งเข้าชิงรางวัลวรรณกรรมอาเชียน (แปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น) (นวนิยาย)
•   2522 ได้รับรางวัลเรื่อง "คนเผาถ่าน" (นวนิยาย)
ผลงาน :
งานเขียนครั้งแรก

•   เรื่อง "ความหลัง" ลงหนังสือพิมพ์โรงเรียน ชนะประกวดเรียงความ ของสมาคมศิษย์เก่าเรื่อง "พระร่วง" (2495)
•   เรื่องคือ "คนสวยของฉัน" ลงพิมพ์ในนิตรสารไทยโทรทัศน์
ผลงานรวมเล่ม
นวนิยาย ขนาดตั้งแต่ 16 ยกขึ้นไป พิมพ์ปกแข็ง

•   แด่คุณครูด้วยคมแฝก(ได้รางวัลและเป็นหนังสือเรียนและถูกสร้างเป็นภาพยนต์)
•   แด่เรือจ้างด้วยแจวหัก

•   หนุ่มชาวนา
•   สาวชาวไร่
•   ท้องนาสะเทือน (ถูกสร้างเป็นภาพยนต์)
•   สร้อยทอง(ได้รางวัลและเป็นหนังสือเรียน)
•   หอมกลิ่นดอกอ้อ
•   ช่องเขาขาด
•   พ่อพวงมาลัย
•   กำนันโพธิ์เชิงชาย
•   กัดฟันสู้
•   นักเลงบ้านไร่
•   สายลมเสียงซอ
•   คนเผาถ่าน(ได้รางวัลและเป็นหนังสือเรียน)
•   เสน่ห์บ้านนา
•   ผู้ใหญ่บ้านกลองยาว
•   สิงห์ลูกซอง
•   ศึกสองตระกูล
•   แผ่นดินลูกตะกั่ว
•   ลูกสาวนักเลง
•   กระสุนอัปยศ
•   สิงห์มอเตอร์ไซค์
•   ดาวประจำเมือง
•   แผ่นดินชายดง
•   เมืองมืด
เรื่องสั้น รวมเป็นเล่ม พ็อกเก็ตบุ๊ค แต่ละเล่มบรรจุประมาณ 12-16 เรื่องแยกแต่ละประเภทตามชื่อปก
•   มือที่เปื้อนชอล์ก
•   ตีนที่เปื้อนโคลน
•   โลกที่ 5
•   เหยียบฝุ่นชอล์ก
•   ไม้เรียวอันสุดท้าย
•   ครูใหญ่แก่ๆ
•   นรกในโรงเรียน
•   กระดานดำกระดานรัก
•   ปล้นครูสาว
•   รอยเปื้อนของครูสาว
•   เรื่องสั้นชนบท(ได้รางวัลและเป็นหนังสือเรียน)
•   แม่ม่ายท้องนา
•   โรงเรียนนักเลง
•   โลกนี้คือโรงเรียน
•   หน้าที่เปื้อนดิน
•   ครูครับผมจน
•   คนนอกเครื่องแบบ
•   เด็กที่ครูไม่ต้องการ
 
บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #34 เมื่อ: 28 มกราคม 2566, 03:38:14 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @อจ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
     























          ..ยอดศิลปินเก่งก้อง.......โลกา
              วาดเก่งจินตนา..........เปี่ยมล้น
          “เฉลิมชัย”พ่อพอพา........สั่งสม   บุญนา
              สืบต่อศาสน์คนต้น......ก่อสร้าง”วัด(ร่องขุ่น)”กัน

         ..เสกสรรงามทั่วหล้า........ชอบชม
           งามเด่นคนนิยม............เยี่ยมไหว้
             วัดเสร็จบ่เสพสม.........ฝันต่อ     เลาะแฮ
                สุดที่รอมาได้.......... เที่ยวแว้นสมใจ........

อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ (เกิด 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498) เป็นจิตรกรไทยมีผลงานจิตรกรรมไทยหลายผลงาน เช่น ภาพจิตรกรรมไทยในอุโบสถวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ, เขียนภาพประกอบบทพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก และผลงานศิลปะที่ วัดร่องขุ่น ซึ่งมีทั้งงานสถาปัตถยกรรม, ประติมากรรมปูนปั้น และงานจิตรกรรมไทย ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ในปี พ.ศ. 2554

ประวัติ

อาจารย์เฉลิมชัยเป็นจิตรกรที่มีฝีมือเป็นที่ยอมรับคนหนึ่งของประเทศไทย เป็นชาวหมู่บ้านร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายฮั่วชิว แซ่โค้ว (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนายไพศาล) และนางพรศรี อยู่สุข ทำคลอดด้วยหมอตำแยชื่อยายตุ่น ชีวิตตอนเด็ก ๆ ไม่ตั้งใจเรียน แต่มีความชอบวาดรูป จึงพยายามเข้าเรียนที่เพาะช่างและมหาวิทยาลัยศิลปากร ภาควิชาศิลปไทยรุ่นแรก 2521 เคยได้รับเหรียญทองจากการประกวดผลงานระดับชาติ ในตอนที่เรียนอยู่ตอนปีที่ 4 มีผลงานรูปวาดตามผนังของวัดไทยมากมาย ผลงานปัจจุบัน เฉลิมชัยสร้างวัดร่องขุ่น ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของเขา ด้วยศิลปะไทยประยุกต์ หรือศิลปะสมัยใหม่

ชีวิตส่วนตัว

ชีวิตด้านครอบครัว อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ได้สมรสกับ กนกวัลย์ โฆษิตพิพัฒน์ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2535 และมีลูกชายด้วยกัน 1 คน น้องแทน หรือ ณภัส โฆษิตพิพัฒน์

ผลงาน

เฉลิมชัยจัดแสดงผลงานเดี่ยว และร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการสำคัญต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 จนถึงปัจจุบัน
•   พ.ศ. 2523 เป็นประธานก่อตั้งกลุ่ม "ศิลปไทย 23" เพื่อต้านอิทธิพลศิลปะจากยุโรป อเมริกา
•   พ.ศ. 2527 เริ่มโครงการจิตรกรรมฝาผนังวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และเดินทางไปเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดพุทธปทีป โดยไม่คิดค่าจ้าง
•   พ.ศ. 2539 เริ่มดำเนินการออกแบบก่อสร้างอุโบสถ วัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงรายบ้านเกิดของตนถวายเป็นพุทธบูชาจนถึงปัจจุบัน
•   พ.ศ. 2548 เริ่มดำเนินการออกแบบและก่อสร้างหอนาฬิกาเชียงรายขึ้น ณ ถนนบรรพปราการ

รางวัลและเกียรติยศ
 

•   พ.ศ. 2520 - รางวัลที่ 1 เหรียญทอง จากการประกวดจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 3
•   พ.ศ. 2520 - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 จากการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 25
•   พ.ศ. 2522 - รางวัลที่ 2 เหรียญเงิน จากการประกวดจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 4 ของธนาคารกรุงเทพ
•   พ.ศ. 2536 - ได้รับเครื่องหมายเกียรติคุณบุคคลตัวอย่างผู้สร้างเสริมงานวัฒนธรรมด้านจิตรกรรม จาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
•   พ.ศ. 2537 - ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ "เพชรสยาม" (สาขาจิตรกรรม) จากสถาบันราชภัฎจันทรเกษม
•   พ.ศ. 2538 - ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้เขียนภาพประกอบ บทพระราชนิพนธ์ "พระมหาชนก" และออกแบบเหรียญพระราชทานคณะแพทย์
•   พ.ศ. 2543 - ที่ปรึกษากรมศิลปากร งานเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานในพระบรมมหาราชวัง
•   พ.ศ. 2547 - ได้รับรางวัลศิลปากร สาขาทัศนศิลป์ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2547
•   พ.ศ. 2554 - ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี 2554
o   ที่ปรึกษาธนาคารแห่งประเทศไทย ออกแบบธนบัตรราชาภิเษกสมรส ครบ 50 ปี
o   ถวายการสอนพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์
•   พ.ศ. 2559 ปริญญาศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (จิตรกรรมไทย) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

ทุนที่ได้รับ

•   พ.ศ. 2523 - ทุนจากกลุ่มศิลปินร่วมสมัยของศรีลังกา ร่วมกับสถานทูตไทยในโคลัมโบให้พำนักศึกษา พุทธศิลป์ เป็นเวลา 6 เดือน และทุนในการแสดงผลงาน
•   พ.ศ. 2524 - ทุนจากโยฮันเนส ซุลทส์เทสมาร์ ให้พำนักและแสดงผลงานในเยอรมนีเป็นเวลา 6 เดือน - ได้รับเชิญจากบริติชเคาน์ซิล ให้ไปดูงานศิลปะ และพบศิลปินมีชื่อของอังกฤษ
•   พ.ศ. 2526 - ทุนจากทูตวัฒนธรรมเยอรมนี ไปศึกษาดูงานพุทธศิลป์ ในประเทศพม่า
•   พ.ศ. 2527 - ทุนจากมูลนิธิวัดพระพุทธศาสนา ณ กรุงลอนดอน และรัฐบาลไทยในการเขียนภาพจิตรกรรม ฝาผนัง วัดพุทธปทีป ณ กรุงลอนดอน
•   พ.ศ. 2532 - ทุนจากกงสุลเยอรมนีในซานฟรานซิสโก แสดงผลงานในสหรัฐอเมริกา
•   พ.ศ. 2539 - ทุนจากกงสุลไทยในแอลเอ ร่วมกับสภาศิลปกรรมไทยในสหรัฐอเมริกาเพื่อเดินทางไปแสดงผลงาน เนื่องในโอกาสเปิดสถานกงสุลไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

•   พ.ศ. 2555 –   เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)

บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #35 เมื่อ: 29 มกราคม 2566, 06:19:13 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @ต่อ ฟีโนมีน่า ธนญชัย ศรศรีวิชัย











คมความคิด "ต่อ ฟีโนมีน่า"



ตัวอย่างภาพยนต์โฆษณาผลงาน "ต่อ ฟิโนมีน่า"










....”อิทธิบาทสี่” สร้าง....”.เหตุปัจ  จัย” นา
      ผลที่ตามมาจัด....... แจ่มจ้า
      ผลงานเด่นเห็นชัด....ยกย่อง    
      รับโล่มาเกินห้า.....   “ต่อ”นี้”ธนญชัย”

.....ยุคสมัยที่ต้อง.......... โฆษณา
     คุณต่อเสกสรรมา.......น่าลุ้น
     หนังจบก่อปัญญา.......คุณค่า    
     มาร่วมกันเป็นหุ้น........ส่วนสร้างสังคม....

ธนญชัย ศรศรีวิชัย (ต่อ ฟีโนมีน่า) ผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา
ประวัติ


ธนญชัย เริ่มต้นอาชีพจากการเป็นกราฟิก ดีไซเนอร์ ที่บริษัท สามหน่อ จำกัด ก่อนที่จะมาเริ่มต้นการทำงานเป็นผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณาครั้งแรกที่ บริษัท ฟีโนมีน่า จำกัด โดยมีผลงานให้กับบริษัทและหน่วยงานต่างๆอาทิ เยสโล่ เพจเจจ ฟอร์ดคิงคอง สมูทอี เบบี้ เฟซ โฟม เซียงเพียงอิ๊ว กรุงเทพประกันภัย สสส. ฯลฯ
สไตล์โฆษณาที่โดดเด่นของธนญชัยคือ โทนสีโฆษณาแบบตุ่นๆ นักแสดงที่ไม่ได้มีหน้าตาดี แต่นำชาวบ้านธรรมดาเป็นนักแสดง และเสียงพากย์แกมประชดที่เขาเป็นผู้ให้เสียงเอง ซึ่งวงการโฆษณาโลกถือเป็นแนวทางใหม่ และทำให้เกิดโฆษณาที่นำแนวทางนี้ไปใช้ทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
จากแนวทางนี้เองทำให้ธนญชัยได้รับรางวัลจากการกำกับโฆษณา โดยเฉพาะรางวัลสิงโตเมืองคานส์ (Cannes Lion) ซึ่งถือเป็นรางวัลสูงสุดด้านโฆษณาของโลก ธนญชัยได้รับรางวัลระดับทองคำ (Gold Lions) มาเป็นเวลา 5-6 ปีติดต่อกัน จนได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้กำกับโฆษณาอันดับต้นๆ ของโลก กระนั้นเขาก็ไม่ได้ขึ้นรับรางวัลเองเลย แม้บางปีเขาจะไปร่วมงานก็ตาม

การศึกษา
•   ระดับศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัด เชียงใหม่
•   ระดับปริญญาตรีสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

การงาน
ปี พ.ศ.   ตำแหน่ง   ชื่อบริษัท
2537 - 2554   ผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา   บริษัท ฟีโนมีนา จำกัด
2534 - 2537   กราฟิกดีไซเนอร์   บริษัท สามหน่อ จำกัด

รางวัล
•   รางวัลการจัดอันดับ โฆษณาทีวี Awarded Director จาก The Gunn Report 2005 พ.ศ. 2548

ผลงาน
ประเทศไทย

พ.ศ. 2549  
•   Cannes Lion Gold สมูทอี เบบี้ เฟซ โฟม
•   Gold กรุงเทพประกันภัย
•   One Show Silver กรุงเทพประกันภัย
•   Clio Gold แคมเปญกรุงเทพประกันภัย
•   Gold กรุงเทพประกันภัย ชุด พายุ
•   Silver สมูทอี เบบี้ เฟซ โฟม
•   Bronze ไทยประกันชีวิต
พ.ศ. 2550
•   หลอดไฟซิวเวอร์เนีย ชุด ปิคนิค
•   smart purse ชุด อาม่า ทิชชู่
•   ฮอลล์ ชุด บ้านทรายทอง.
•   สินมั่นคงประกันภัย ชุด มาไว...ไปไว
•   ชิเคลทส์ ชุด เบื่อ
พ.ศ. 2551
•   กระทรวงพลังงาน สาวๆ แก๊งหัวหิน
•   กระทรวงพลังงาน : คุณพี่ตำรวจ
•   กรุงเทพประกันภัย : รถสปอร์ต
•   กรุงเทพประกันภัย : เครื่องบิน
พ.ศ. 2552
•   ขอโทษประเทศไทย
•   กองทุนโลก - ยืดอกพกถุง
•   สามัคคี ชุด เทวดาไม่รับ
•   กระทรวงพลังงาน - คุณนาย
•   กระทรวงพลังงาน - ไม่เกี่ยว
พ.ศ. 2553
•   เมืองไทยประกันชัวิต ชุด เหมือนอยู่บ้าน
•   ไทยประกันชีวิต ชุด บุตรสุดรัก
•   สสส. ชวนกินเหล้าเท่ากับแช่ง
•   เนเจอร์กิฟ ชุด ของขวัญ
•   เนเจอร์กิฟ ชุด ดีใจ
•   car for cash ชุด พิซซ่าหน้าปลาร้า
•   มายมิ้นท์ แบล็คมิ้นต์ ชุด บอกเลิก
•   idea max ชุด Monster
•   สุรพลฟู้ดส์ ชุด น้องกุ้ง
พ.ศ. 2554
•   วิกซอล ชุด คลาบใคร
•   โอเรียนทอล พริ้นเซส ชุด AF ใครจะอยู่ใครจะไป
•   Double A Color print ชุด พิมพ์ไม่ดีมีเละ
•   สสส. ให้เหล้าเท่ากับแช่ง
•   เพรียว คอฟฟี
•   Cash to car กรุงศรี ชุด อ่อยอิ่ง
•   ไทยประกันชีวิต ชุด silence of love
ต่างประเทศ
•   สิงค์โปร เครื่องดิ่ม AnyThink+?
•   ไต้หวัน ธนาคาร TC Bank- Dream Rangers


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #36 เมื่อ: 30 มกราคม 2566, 06:06:36 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @ศรเพชร ศรสุพรรณ





    

      …..  “ทหารพิการรัก” อ้อน...........วอนหมอ    วางยา
          เจ็บที่แฟนหนีขอ......................ด่าวดิ้น
         แขนขาไม่มีหนอ......................รักล่ม    
           ตายไป่เสียจบสิ้น.....             พี่น้อยใจเนา......

.         ...“ไปโดนเขาหลอกอีกแล้ว”……ครางครวญ    ห่วงนา
           เสียงร่องแหลมโหยหวน.........ร่ำไห้
          ลูกคอสั่นกระบวน................ ประหวั่น
          เสียงพ่อศรเพชรได้...............ร่ายร้องรัญจวน…….

       ….นวลปรางฟังพี่เว้า.................ขอวอน
             นาล่มตรมถึงตอน...............เกี่ยวข้าว
             “ข้าวไม่มีขาย” นาดอน........จนแน่
            อดแต่งนางโกยอ้าว............ “ทุ่งร้างนางลืม”

ศรเพชร ศรสุพรรณ มีชื่อจริงว่า บุญทัน คล้ายละมั่ง เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งชาวไทย จากจังหวัดสุพรรณบุรี มีชื่อเสียงจากเพลง "ข้าวไม่มีขาย" ซึ่งได้รับรางวัลเสาอากาศทองคำ เมื่อปี พ.ศ. 2518
ประวัติ
นายบุญทัน คล้ายละมั่ง (ศรเพชร ศรสุพรรณ) เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2491 เป็นบุตรของ นายเทิ่ง และนางหมก คล้ายละมั่ง ศรเพชรจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดศรีสร้อยเพชร อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เริ่มเข้าสู่อาชีพนักร้อง จากการเป็นนักร้องเชียร์รำวงของ ดำ แดนสุพรรณ โดยมี เลี้ยง กันชนะ เป็นผู้ชักนำเข้าวงการ จนได้พบกับ โผผิน พรสุพรรณ นักร้องเชียร์รำวงอีกคนหนึ่ง โผผินจึงแต่งเพลงให้กับศรเพชรไว้หลายเพลงจนมีชื่อเสียงโด่งดังในช่วงปี พ.ศ. 2513-2519 โดยเพลงที่สร้างชื่อเสียงอย่างมาก คือ "ข้าวไม่มีขาย" ได้รับรางวัล นักร้องดีเด่นเสาอากาศทองคำ จากสถานีวิทยุเสียงสามยอด ปี พ.ศ. 2518 โดยมีตัวแทนของศรเพชรมารับรางวัลแทน เนื่องจากศรเพชรติดงานร้องเพลงไว้ และไม่คิดว่าจะได้รับรางวัลนี้
ผลงานเพลงที่มีชื่อเสียงในระยะแรกและต่อมา ได้แก่ หยิกแกมหยอก, เข้าเวรรอ, มอเตอร์ไซค์ทำหล่น, ไอ้หวังตายแน่, ใจจะขาด, อภัยให้เรียม, เสียน้ำตาที่คาเฟ่, รักมาห้าปี เป็นต้น โดยศรเพชรเป็นนักร้องที่มีลูกคอสะเด็ดเป็นเอกลักษณ์จนหาใครเทียบยาก
อนึ่งชื่อในวงการ ศรเพชร ศรสุพรรณ เป็นชื่อที่เจ้าตัวตั้งขึ้นเอง โดยแรกเริ่มได้ตั้งชื่อว่า ศรีเพชร ศรีสุพรรณ และเปลี่ยนเป็น ศรเพชร ศรสุพรรณ ในเวลาต่อมา
การเสียชีวิต
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ศรเพชรเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช และขอรับบริจาคเลือด B Rh-negative เนื่องจากมีอาการป่วยที่ก้อนเนื้อบริเวณกระเพาะอาหาร และเกิดภาวะน้ำท่วมปอด ก่อนที่จะเสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2565 สิริอายุรวม 73 ปี พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี เป็นประธานพิธีพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ ณ เมรุวัดยางไทยเจริญผล ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
ผลงานการแสดง
ภาพยนตร์

•   ลูกทุ่งเสียงทอง (2528) รับบท ศรเพชร
•   ลูกสาวป้าแช่ม (2528) รับบท ศรเพชร
•   เพลงรักลูกทุ่ง (2539) รับบท ศรเพชร
•   ลูกทุ่งซิกเนเจอร์ (2559) รับบท ศรเพชร
ละครโทรทัศน์[
•   สวรรค์บ้านทุ่ง (ช่อง 9) (2541)
คอนเสิร์ต
•   คอนเสิร์ต ลูกทุ่งไทย รวมน้ำใจต้านภัยเอดส์ (21 กันยายน 2543)
•   คอนเสิร์ต เพลงดี-ดนตรีดัง จิตรกร บัวเนียม ครั้งที่ 2 (14 มิถุนายน 2552)
•   คอนเสิร์ต ลูกทุ่งจ๋ามหาสนุก (21 – 22 เมษายน 2555)
•   คอนเสิร์ต รำลึก 20 ปี ราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ (17 มิถุนายน 2555)
•   คอนเสิร์ต วันอำลา ขวัญใจคนเดิม สายัณห์ สัญญา (27 กรกฎาคม 2556)
•   คอนเสิร์ต 78 ปี ตำนานแห่งสายน้ำ ครูชลธี ธารทอง (16 พฤษภาคม 2558)
•   คอนเสิร์ต Big Mountain Music Festival 7 (19-20 ธันวาคม 2558)
•   คอนเสิร์ต OTOP และของดี อำเภอป่าโมก (27 กันยายน 2559)
•   คอนเสิร์ต รำลึก 26 ปี ราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ (25 มิถุนายน 2561)
•   คอนเสิร์ต ลูกทุ่งการกุศล (8 พฤศจิกายน 2561)
อัลบั้ม
•   ข้าวไม่มีขาย
•   หยิกแกมหยอก
•   รักเธอคนเดียว
•   ใช่แล้วชิ
•   คิดถึงจังเลย
•   ท็อปฮิต
•   เปิดกรุเพลงดัง
•   ชักหันชา
•   เอาใจกัน
•   ลูกทุ่งคลาสสิด
•   กลับเถิดเรียมจ๋า
•   เด็กมันยอม
•   แฟนพันธุ์แท้
•   รวมฮิต 14 เพลงเด็ด
•   กองทัพขี้เมา
•   คิดถึงน้องอร
•   ไม่รักอย่ามอง
•   นี่หรือใจ
•   แท็กชี่กับนางโลม
•   คณะบุญหลายมันส์หยุดโลก
•   แม่ค้าลาบเป็ด
•   บอกแล้วไม่เชื่อ
•   ลูกทุ่งสามช่า
ผลงานเพลง
•   ข้าวไม่มีขาย
•   หยิกแกมหยอก
•   เข้าเวรรอ
•   ทหารพิการรัก
•   มอเตอร์ไซค์ทำหล่น
•   ไอ้หวังตายแน่
•   ใจจะขาด
•   อภัยให้เรียม
•   เสียน้ำตาที่คาเฟ่
•   รักมาห้าปี
•   น้ำตาไอ้หนุ่ม
•   ไก่จ๋า
•   หนึ่งปีที่ทรมาน
•   ทุ่งร้างนางลืม
•   จองไว้ก่อน
•   ขอคืนดี
•   ตบให้ตาย
•   หอมกลิ่นดอกคำใต้
•   แฟนจ๋าอยู่ไหน
•   ช้ำแล้วหรือ
•   หนาวนอกร้อนใน
•   ศรเพชรเมาเหล้า
•   บัวตูมบัวบาน
•   น้ำตาลาไทร
•   จำใจจาก
•   กระท่อมทองกวาว
•   ลานรักลานเท
•   พ่อหม้ายตามเมีย
•   กระท่อมพ่อหม้าย
•   เก็บเงินแต่งงาน
•   เพราะคุณคนเดียว
•   ไปเอาเหล้าเมา
•   ไอ้ตี๋ขี้เมา
•   เมาจนนึกไม่ออก
•   นาดำนาดอน
•   ยังรอสาวชล
•   เทพีสามพราน
•   คนบ้านนอก
•   ไม่รักอย่ามอง
•   พี่ไม่ยอม
•   คิดถึงจังเลย
•   รักน้องคนเดียว
•   แต๋วจ๋า
•   ชีวิตไอ้ธรรม
•   ชุมทางเขาชุมทอง
•   สมัครรักสมัครแฟน
•   จากบ้านนาด้วยรัก
•   แม่แตงร่มใบ
•   สาวผักไห่
•   ขายเรือนหอ
•   หนุ่มเรือนแพ
•   แม่ค้า แม่ขาย
•   ลานเทสะเทือน
•   แกล้งหยอก
•   ชีวิตชาวนา
•   รักแฟนคนเดียว
•   แม่ค้าลาบเป็ด
•   ศรีเมืองไทย
บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #37 เมื่อ: 31 มกราคม 2566, 03:04:18 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @ดร.โฉมฉาย อรุณฉาน สุนทราภรณ์







ถูกตาต้องใจ ต้องมนต์ของใครคนหนึ่ง
หลงไปเก็บเขามาคำนึง จนติดตรึง หทัย
อกเอยลืมตน ต้องมนต์เสียจนเป็นไข้
เพราะเป็นโรคหัวใจอาลัย
เฝ้าครวญเพ้อไป เต็ม กลั้น
เงินแสนเงินหมื่นของใคร
แม้นมากองให้ถึงใจ
จะ เมิน ห่าง ไกล มิยอมให้ใคร ซื้อ กัน
แต่คนในใจ ไม่มีของใดมาหมั้น
เหมือน มีโชคล้านเป็นรางวัล
ด้วยใจรักอัน มี ค่า

ด้วยใจผูกพัน ผูกพันเสียจนต้องตู่
สมมุติว่าเขามาเอ็นดู คงชื่นชู อุรา
ดุจมีเทวัญ แบ่งปันทิพย์ธารลงหล้า
ฉันคงอิ่มเพราะธารเทวา ที่มีฤทธา เต็มที่
คงรักกันอยู่ทุกวัน เหมือนดังไฟต้องน้ำมัน
เกิด ระ เบิด พลัน เพราะมันต้องกัน ทุก ที
เฝ้าครวญรำพัน โอ้เราฝันไปหรือนี่
โถคนที่รักดังชีวี ก็ยังมิมี ที ท่า







.

...ใจผูกพันเด่นต้อง..........ทึกทัก   เอาแน
     รักนี่มีมากนัก..............ตื่นรู้
    “สมมุติว่าเขารัก”.......   ชื่นใจ     แน่นา  
      เสียงที่หวานชวนชู้...... ใคร่รู้ประโคม….

......โฉมฉายแรกเริ่มร้อง.....ทำเพลง
       คนชื่นชมบรรเลง........ท่วมท้น
     เสียงสาวใหม่ระเบง.......ลั่นกรุง  
        ใจมั่นรักเกินล้น...........ครูเอื้อหวานใจ....


ดร.โฉมฉาย อรุณฉาน นักร้องวงดนตรีสุนทราภรณ์หรือวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ และศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) และผู้มีน้ำเสียงหวานเป็นเอกลักษณ์

ประวัติ
โฉมฉาย อรุณฉาน มีชื่อจริงว่า นิตยา อรุณวงศ์ เป็นนักร้องลูกกรุงประจำวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์หรือวงดนตรีสุนทราภรณ์ เกิดเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 3 ของคุณนิรันดร์ อรุณวงศ์ และ คุณเรณู ปทีปเสน จบการศึกษาที่โรงเรียนสารสาส์นพิทยา จากนั้นได้เข้าศึกษาที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดยสำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2542 และศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชามานุษยดุริยางค์) โดยสำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2547 จบสาขา ดุริยางคศิลป์ ระดับ ปริญญาเอก (ปร.ด.) โดยสำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2556 โดยมีผลงานวิจัย เรื่องการบริหารจัดการวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์, และศึกษาชีวประวัติและวิธีการขับร้องของ รวงทอง ทองลั่นธม

เข้าสู่วงการ
เริ่มชีวิตการเป็นนักร้องเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2512 โดย คุณคณิต ประทีปะเสน ซึ่งเป็นคุณตา เป็นผู้นำมาฝากกับครูเอื้อ สุนทรสนาน และวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 ก็ได้รับเลือกให้แสดงเป็นนางฟ้า ในการแสดงจินตลีลาชุด "คนธรรพ์ พิณทิพย์" ที่ไทยทีวีช่อง 4 ภาคดึก เนื่องในวันฉลองครบรอบ 30 ปี ของ วงดนตรีสุนทราภรณ์ โดยใช้ชื่อโฉมสุรางค์ อรุณวงศ์
ต่อมาได้เป็นนักเรียนฝึกการขับร้องที่โรงเรียนสุนทราภรณ์การดนตรีรุ่นเดียวกับดาวใจ ไพจิตร จนได้รับคัดเลือกให้บันทึกเสียงเพลงสมมุติว่าเขารักเป็นเพลงแรกในชีวิต เมื่อปีพ.ศ. 2512 และมีผลงานอื่นๆตามมา

หลังจากครูเอื้อ สุนทรสนาน เสียชีวิต โฉมฉายได้โด่งดังกับการขับร้องเพลงชุดร่วมกับน้องสาวคือ วไลลักษณ์ อรุณฉาน และ ลัดดาวัลย์ อรุณฉาน ในชื่อ สามกัลยา ขับร้องเพลงให้กับวงสังคีตสัมพันธ์ของวินัย จุลละบุษปะและศรีสุดา รัชตะวรรณ

ปัจจุบันโฉมฉาย อรุณฉาน เกษียณอายุราชการในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานศิลปิน 8 ผู้อำนวยการส่วนบริหารการดนตรี กรมประชาสัมพันธ์ ภายใต้การควบคุมของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย นอกจากนั้นยังเป็นอาจารย์พิเศษ ในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และยังเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ในหน่วยงานต่าง ๆ

ส่วนงานทางด้านบันเทิงนั้น เป็นผู้ดำเนินรายการหลัก ในรายการเสียงสวรรค์เมื่อวันวาน ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และรายการวันอาทิตย์คิดถึงกัน ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย อีกด้วย

ผลงานเพลงที่มีชื่อเสียง
•   สมมุติว่าเขารัก
•   ถ้าเธอจะรักฉันก็จะรอ
•   ภวังค์รัก
•   คอยรักคืนรัง
•   รอคนรัก
•   คอยหามาหาย
•   หนาวนี้เมื่อปีก่อน
•   งามลำปางเขลางค์นคร
•   ล่องเจ้าพระยา (คู่กับ นพดฬ ชาวไร่เงิน)
•   หัวใจเอ๋ย
•   ถ้าเธอยังรอฉันก็ยังรัก
•   ฝันรัญจวน
•   นางนอน
•   อินทนนท์
•   อินทนนท์รำพึง
•   คอยรวีวันใหม่
•   ทะเลมาลี
•   ลุ่มเจ้าพระยา
•   คลื่นโลมทราย
•   สุโขทัย (นำหมู่)
•   บ้านเกิดเมืองนอน (คู่กับ ศรีสุดา รัชตะวรรณ วรนุช อารีย์ มาริษา อมาตยกุล)

และบทเพลงในแนวลูกกรุงอีกมากมาย


เครื่องราชอิสริยาภรณ์
•   พ.ศ. 2552 –   เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
•   พ.ศ. 2547 –   เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
•   พ.ศ. 2542 –   เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #38 เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2566, 12:24:25 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @ศรคีรี ศรีประจวบ







   

       ..”ศรคีรี” ร่ายร้อง..............เสียงหวาน
          เพลงเริ่มแรกตำนาน......”น้ำท่วม”
          “คิดถึงพี่ไหม”การ ......... พร่ำเพรียก
        “ เสียงขลุ่ยเรียกนาง”ต้วม...เตี้ยม”กล่อมนางนอน”

            ..อรชร ”ขี้เหร่ ..............ก็รัก”    
           สูงโปร่งขาเรียวตัก.........พี่เพ้อ.
          “วาสนาพี่น้อย”นัก.........”หนุ่มนา”
            ตัวเก่ารถทับเฮ้อ...........ด่าวดิ้นลมปราณฯ.....


ศรคีรี ศรีประจวบ (4 มีนาคม พ.ศ. 2487 - 30 มกราคม พ.ศ. 2515) เป็นนักร้องลูกทุ่งชื่อดังระดับตำนานของวงการลูกทุ่งเมืองไทย จากน้ำเสียงที่หวานหยด จนได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นราชาเพลงหวานหนึ่งเดียวของประเทศ
แม้เขาจะบันทึกผลงานเพลงไว้ค่อนข้างน้อย แต่เกือบทุกเพลงก็เป็นที่ติดใจคนฟังถึงยุคปัจจุบัน ต่อมานักร้องรุ่นหลังหยิบมาคัฟเวอร์ใหม่ในภายหลังจากที่เขาได้เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2515

ประวัติ

ศรคีรี เล่าถึงประวัติของตัวเองเอาไว้เมื่อ พ.ศ. 2515 ว่า "บ้านเกิดผมเลขที่ 13 บ้านหนองอ้อ ต. บางกระบือ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม พ่อผมชื่อมั่ง แม่ชื่อเชื้อ ผมมีพี่น้อง 6 คน ผมเป็นคนสุดท้อง ชื่อจริงผม ชื่อ สงอม ทองประสงค์ (ชื่อเล่น: น้อย) เกิดวันที่ 4 มีนาคม 2487 ผมเรียนจบ ป.4 ที่โรงเรียนพรหมสวัสดิ์สาธร (โรงเรียนวัดตะโหนดราย ในปัจจุบัน) จบมาก็ช่วยแม่ปาดตาล (มะพร้าว) ปีนต้นตาลทุกวันมันเหนื่อยก็เลยหยุดพักบนยอดตาล เพื่อไม่ให้เสียเวลาผมก็ร้องเพลงบนยอดตาลจนหายเหนื่อยแล้วค่อยทำงานต่อ เพลงที่ชอบร้องก็มี "เสือสำนึกบาป", "ชายสามโบสถ์" เพราะตอนนั้นเพลงของคำรณ สัมบุญณานนท์ ฮิตเป็นบ้าเลย ตอนนั้นอยากเป็นนักร้องใจแทบขาด เวลาวงดนตรีของ พยงค์ มุกดา มาแสดงใกล้บ้าน ผมจะไปสมัครร้องให้ครูพยงค์ฟัง แกบอกว่าให้ไปหัดร้องมาใหม่ พยายามอยู่ 2 ครั้งครูพยงค์บอกว่ายังไม่ดี ผมเลยเลิกไปเอง จากนั้นพออายุ 20 ปี บวชได้พรรษาหนึ่งก็สึก พ่อแม่ผมไปซื้อไร่ที่ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ โน่น ตอนนั้นเขากำลังทำไร่สับปะรดกัน"
แต่ประวัติอีกกระแสบอกว่า เพราะรักครั้งแรกเป็นพิษขณะที่บวช เมื่อว่าที่พ่อตาให้ลูกสาวแต่งงานกับชายอื่น เขาจึงเตลิดหนีออกจากบ้านมาอยู่กับพี่ชายที่ บ้านห้วยขวาง อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยพี่ชายแบ่งไร่สับปะรดให้ทำ
ที่นี่ ศรคีรีเริ่มร้องเพลงอีกครั้ง โดยเข้าประกวดร้องเพลงตามงานวัด และคว้ารางวัลมากมาย จนเพื่อนชื่อ ประยงค์ วงศ์สัมพันธ์ ซึ่งเป็นโฆษกงานวัดและงานบุญต่างๆ มาชวนให้ร่วมวงที่เช่าเครื่องดนตรี และจ้างครูดนตรีจากที่ค่ายธนะรัชต์ มาสอน เพื่อความสนุกในหมู่บ้าน ต่อมาเมื่อคนรู้จักมากขึ้น จึงตั้งวง "รวมดาววัยรุ่น" ฝึกซ้อมและเปิดวงครั้งแรกที่วัดเฉลิมประดิษฐาราม (วัดหนองตาแต้ม) ซึ่งไม่ไกลจากบ้านนัก ที่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "รวมดาวเมืองปราณ" รับงานแสดงทั่วไปตามบ้านที่ขายสับปะรดได้โดยไม่คิดเงินทอง ตอนนั้นศรคีรีร้องเพลงแบบรำวง และใช้ชื่อ "พนมน้อย" เพราะร้องเพลงของ พนม นพพร และศักดิ์ชาย วันชัย ต่อมาได้นำวงมาแสดงในงานปีใหม่ของจังหวัด "ประหยัด สมานมิตร" ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ฟังเสียงและเห็นหน้าก็รักใคร่ชอบพอ จึงเปลี่ยนชื่อให้เป็น ศรคีรี ศรีประจวบ
หลังจากนั้น วิจิตร ฤกษ์ศิลป์วิทยา คนอยู่ใกล้บ้านกันให้การสนับสนุนเพื่อวงดนตรีแข็งแรงขึ้นและพากันเข้ากรุงเทพฯ เช่าเวลารายการวิทยุยานเกราะจาก จำรัส วิภาตะวัธ วิ่งล่องกรุงเทพฯ - ประจวบฯ อยู่บ่อย ๆ ก็ได้พบกับ เพลิน พนาวัลย์ ที่พาเขาไปพบครูไพบูลย์ บุตรขัน ที่บ้าน ตามคำขอร้องของศรคีรี

วงการเพลง
"ภูพาน เพชรปฐมพร" อดีตนักร้องลูกวงที่ใกล้ชิดกับศรคีรีในวง "รวมดาววัยรุ่น" เล่าว่า ตอนไปขอเพลง ตอนนั้นครูมีนักร้องที่ดังมากคือ รุ่งเพชร แหลมสิงห์ เป็นลูกศิษย์อยู่ ศรคีรีก็ร้องเพลงแนวเดียวกัน ครูไพบูลย์ก็ไม่ให้ จึงต้องเทียวไปเทียวมาอยู่หลายครั้งจนครูใจอ่อน เพลงแรกที่ได้มาคือ น้ำท่วม ตอนที่บันทึกเพลง น้ำท่วม จ. ประจวบคีรีขันธ์ เสียหายอย่างมาก สับปะรดถูกน้ำท่วมทั้งหมด นอกจากนั้น ครูก็ยังให้เพลงมาอีก 3 เพลง คือ "บุพเพสันนิวาส", "แม่ค้าตาคม", "วาสนาพี่น้อย" สำหรับการบันทึกเสียงครั้งแรกนั้น ชุดแรกมีทั้งหมด 6 เพลง คือ น้ำท่วม, บุพเพสันนิวาส, วาสนาพี่น้อย, แม่ค้าตาคม, พอหรือยัง และบางช้าง งานนี้ศรคีรี เปลี่ยนสภาพจากนักร้องเพลงรำวง มาเป็นนักร้องเพลงหวานโดยสมบูรณ์
หลังจากเพลงเริ่มเป็นที่รู้จัก ศรคีรีลงมาอยู่กรุงเทพฯ แต่ยังไม่นำวงดนตรีมาด้วย โดยจะนำมาก็แต่เมื่อมีงานครั้งแรกในกรุงเทพฯ เขาเปิดการแสดงงานศพน้องชายครูไพบูลย์ที่ วัดหลักสี่ บางเขน จากนั้นวงก็เริ่มรับงานในกรุงเทพฯ และเดินสายทั่วประเทศ และในการออกเดินสายใต้เป็นครั้งแรก วงประสบความสำเร็จอย่างงดงาม จัดว่าเป็นวงที่มีค่าตัวแพงวงหนึ่ง ช่วงนั้นศรคีรีได้มีโอกาสแสดงหนังของครูรังสี ทัศนพยัคฆ์ เรื่อง "มนต์รักจากใจ" ด้วย
ต่อมาศรคีรีมีชื่อเข้าไปพัวพันคดีสังหาร วิจิตร เลิศศิลปวิทยา หัวหน้าวงดนตรีจตรไพบูลย์ พร้อมพวกอีก 4 คน ชื่อเสียงจึงตกลงไปบ้าง แต่ในที่สุดก็พิสูจน์ตัวเองได้ และกลับมาอีกครั้งในเพลง "ตะวันรอนที่หนองหาร", "อยากรู้ใจเธอ", รักแล้งเดือนห้า", "ลานรักลั่นทม" และ "คิดถึงพี่ไหม"
ซึ่งเพลง "คิดถึงพี่ไหม" มีเบื้องหลังของเพลงนี้คือ ในขณะบันทึกเสียงศรคีรีร้องโดยปิดไฟมืด ซึ่งเขาไม่เคยทำมาก่อน เพลงนี้แต่งโดย พยงค์ มุกดา โดย ทิว สุโขทัย เคยร้องไว้เป็นคนแรกและเสียชีวิตไปก่อนหน้า และเพลงนี้เป็นเพลงสุดท้ายที่ศรคีรีได้บันทึกเสียงไว้

ชีวิตส่วนตัว
ศรคีรีได้สมรสกับบุญนาค ทองประสงค์ มีบุตรธิดาร่วมกัน 3 คน เป็นลูกชาย 2 คนและผู้หญิง 1 คน นั่นคือ สมศักดิ์ ทองประสงค์, เพ็ญรุ่ง ทองประสงค์ และสันติ ทองประสงค์

การเสียชีวิต
ก่อนเสียชีวิต ศรคีรีเคยไปทำการแสดงที่โรงหนังเอกมัยราม่า มีบุคคลคนหนึ่งนำเอาพวงมาลัยดอกไม้สด แต่คาดด้วยผ้าดำแบบที่ทำไว้สำหรับผู้เสียชีวิตมอบให้เขาบนเวทีในขณะร้องเพลง เขาก็รับไว้ด้วยความเกรงใจ เมื่อกลับเข้าหลังเวที เขาสั่งเลิกการแสดงคืนนั้นทันทีหลังจากที่ร้องเพลงได้เพียง 5 เพลง
ศรคีรีได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2515 ในวัยเพียง 27 ปี 10 เดือน โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 03.00 - 05.00 น. ที่บริเวณริมถนนพหลโยธิน ช่วงหลัก กม.ที่ 448 - 449 ตำบลอ่างทอง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ขณะเดินทางกลับจากการแสดงที่วัดหน้าพระธาตุ อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เข้าเมืองกรุงเทพมหานคร เพื่อเปิดทำการแสดงที่วัดภาษี เอกมัย ในช่วงค่ำ
มีการคาดว่าคนขับรถของศรคีรีเกิดอาการง่วง จึงจอดรถเก๋งโตโยต้าคราวน์ข้างทางเพื่อหลับพักข้างทาง แต่ปรากฏว่ามีรถบรรทุกไม้วิ่งมาด้วยความเร็วสูงประกอบกับในขณะนั้นพื้นที่บริเวณนั้นยังเป็นสะพานสูง เมื่อรถบรรทุกไม้วิ่งมาด้วยความเร็ว เมื่อถึงสะพานก็ทำให้รถกระโดดเสียหลัก ขึ้นไปทับรถของศรคีรี ทำให้เขาเสียชีวิตคาที่
หลังการแสดงในวันนั้น ลูกวงได้ออกเดินทางมายังจุดนัดพบที่ปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งก่อน แต่หลังจากที่ลูกวงรออยู่นาน หัวหน้าวงยังเดินทางมาไม่ถึง จึงออกเดินทางต่อ แต่วิ่งไปสักระยะหนึ่ง ก็มีรถพลเมืองดีวิ่งไล่ตามและเรียกให้จอด เพื่อแจ้งข่าวเรื่องการประสบอุบัติเหตุของรถของศรคีรี หลังพบใบปลิวการแสดงปลิวออกจากรถศรคีรีเกลื่อนกลาด หลังรถบัสวิ่งกลับไปก็พบศพดังกล่าว ข้อมูลบางแหล่งบอกว่า ศรคีรีเสียชีวิตประมาณ 8.00 น. ซึ่งเวลาดังกล่าวน่าจะเป็นเวลาที่พบศพมากกว่า
ครูไพบูลย์ บุตรขัน เคยเขียนไว้อาลัยการจากไปของศรคีรีว่า "แด่สุดรัก เธอเกิดมาเป็นผู้กล่อมโลก ฉันเป็นผู้ถ่ายทอดอารมณ์ บัดนี้เธอจากโลกไปแล้วเหลือเพียงเสียงเพลง ศรคีรี ศรีประจวบ ฉันเสียดาย เสียดายจริง ๆ เพราะเธอควรจะอยู่กล่อมโลกให้นานกว่านี้"

ผลงานเพลงดัง
ศรคีรี ศรีประจวบ บันทึกผลงานเพลงเอาไว้ทั้งสิ้น 34 เพลง ดังนี้

•   น้ำท่วม (ไพบูลย์ บุตรขัน)
•   บุพเพสันนิวาส (ไพบูลย์ บุตรขัน)
•   แม่ค้าตาคม (ไพบูลย์ บุตรขัน)
•   ฝนตกฟ้าร้อง (ไพบูลย์ บุตรขัน)
•   ขี้เหร่ก็รัก (ไพบูลย์ บุตรขัน)
•   พระอินทร์เจ้าขา (ไพบูลย์ บุตรขัน) เพลงแก้คือ เทวดาเจ้าคะ - เตือนใจ บุญพระรักษา
•   คิดถึงพี่ไหม (พยงค์ มุกดา) เพลงแก้คือ น้องคิดถึงพี่ - ขวัญดาว จรัสแสง
•   วาสนาพี่น้อย (ไพบูลย์ บุตรขัน)
•   มนต์รักแม่กลอง (ไพบูลย์ บุตรขัน)
•   ดอกรักบานแล้ว (ไพบูลย์ บุตรขัน)
•   หนุ่มนาบ้ารัก (ไพบูลย์ บุตรขัน)
•   ทุ่งรัก (พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา)
•   พอหรือยัง (ชลธี ธารทอง)
•   บางช้าง (ศรคีรี ศรีประจวบ) เพลงแก้คือ สาวบางช้าง - ขวัญดาว จรัสแสง
•   หวานเป็นลมขมเป็นยา (สำเนียง ม่วงทอง)
•   เฝ้าดอกฟ้า (ไพบูลย์ บุตรขัน)
•   หนาวลมที่เรณู (สุรินทร์ ภาคศิริ) (สนธิ สมมาตร เคยนำมาร้อง)
•   ตะวันรอนที่หนองหาร (พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา)
•   เสียงขลุ่ยบ้านนา (เกษม สุวรรณเมนะ) (สายัณห์ สัญญา เคยนำมาร้อง แต่เปลี่ยนชื่อเพลงเป็น เสียงขลุ่ยเรียกนาง) เพลงแก้คือ มนต์ขลังเสียงขลุ่ย - วันเพ็ญ เดือนเต็มดวง
•   หนุ่มกระเป๋า (สุรินทร์ ภาคศิริ)
•   รักแล้งเดือนห้า (ไพบูลย์ บุตรขัน)
•   ลานรักลั่นทม (ไพบูลย์ บุตรขัน)
•   รักจากใจ (สำเนียง ม่วงทอง)
•   ไปให้พ้น (สมนึก ปราโมทย์)
•   คนมีเวร (สงเคราะห์ สมัตภาพงษ์)
•   อยากรู้ใจเธอ (ไพบูลย์ บุตรขัน)
•   เข็ดแล้ว (ไพบูลย์ บุตรขัน)
•   แม่กระท้อนห่อ (พยงค์ มุกดา)
•   ทุ่งสานสะเทือน (พยงค์ มุกดา)
•   แล้งน้ำใจ (ชิงชัย ชุ่มชูจันทร์)
•   หนุ่มนา (พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา)
•   เสียงซุงเว้าสาว (ไพบูลย์ บุตรขัน)
•   รักเธอหมดใจ (ไพบูลย์ บุตรขัน)
•   กล่อมนางนอน (ไพบูลย์ บุตรขัน)

ผลงานการแสดง
•   มนต์รักจากใจ กำกับโดย รังสี ทัศนพยัคฆ์ และศรคีรีได้ร้องเพลง "ลานรักลั่นทม" และ "รักแล้งเดือนห้า" ประพันธ์โดยครูไพบูลย์ บุตรขัน ประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย

เกียรติยศ
•   ปี 2547 ผลงานเพลง "เสียงขลุ่ยเรียกนาง" ของศรคีรี ศรีประจวบ จากการประพันธ์โดย เกษม สุวรรณเมนะ และขับร้องใหม่โดย ไท ธนาวุฒิ ได้รับรางวัล "มาลัยทอง" ประเภทเพลงเก่าทำใหม่ยอดเยี่ยม


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #39 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2566, 01:25:54 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @เศรษฐา ศิระฉายา ดิ อิมพอสซิเบิ้ล















      .....กลัว “เป็นไปไม่ได้”.........หยุดฝัน     รักฤา
            ฟันฝ่าพิสูจน์พลัน...........รักแท้
         “ทะเลไม่(เคย)หลับ”ดัน......ลูกคลื่น   ซัดเนอ  
           นวล”ชื่นรัก”ใจแพ้.......... ได้แต่ง”อรัญญา”....

    .....”เศรษฐา” พาเพื่อนพ้อง......บรรเลง    เพลงนา
         มีชื่อ “ดิ อิมฯ” เอง.............รู้ทั่ว
          “ทะเลเปี่ยมรัก”เพลง.........”ชั่วนิจ (นิ)   รันดร”    
         ยุคที่ดนตรียั้ว....................พี่ร้องนำเครง......

“ดิ อิมฯ” คำย่อของ  ดิ อิมพอสซิเบิ้ล

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร

ยั้ว•   ว. ติดกันเป็นหมู่ เป็นกลุ่ม และมีอาการเคลื่อนไหวมากมาย (เหมือน ยั้วเยี้ย).


เศรษฐา ศิระฉายา (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565) ชื่อเล่น ต้อย เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) ประจำ พ.ศ. 2554  เป็นพิธีกร นักแสดง อดีตนักร้องนำวงดิอิมพอสซิเบิ้ล และอดีตประธานมูลนิธิสวัสดิการนักแสดงอาวุโส

ประวัติ
เศรษฐา เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ที่จังหวัดพระนคร ประเทศไทย จบมัธยมปลายจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ ระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ หลักสูตรโครงการพิเศษ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต MBA มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีและปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

การทำงาน
เศรษฐาเข้าสู่วงการบันเทิงตั้งแต่อายุประมาณ 16 ปี ด้วยการขนเครื่องดนตรีในวงดนตรีตามคำชักชวนของน้าชายของเขา สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ อดีตพระเอกภาพยนตร์ชื่อดังในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ต่อมาเศรษฐาได้ฝึกหัดทักษะด้านดนตรีแบบครูพักลักจำ จนกระทั่งได้ก้าวขึ้นมาเป็นนักร้องตามสถานบันเทิงต่าง ๆ เช่น ตั้งวงหลุยส์กีต้าร์เกิร์ล กระทั่งได้รวมตัวกับเพื่อน ๆ นักดนตรีตั้งวงดนตรี Holiday J-3 ร่วมกับวินัย พันธุรักษ์, พิชัย ทองเนียม, อนุสรณ์ พัฒนกุล และสุเมธ อินทรสูต ต่อมา เปลี่ยนชื่อเป็น Joint Reaction และเปลี่ยนอีกครั้งในชื่อ ดิอิมพอสซิเบิ้ล (The Impossibles) ซึ่งเป็นชื่อการ์ตูนชื่อดังของอเมริกาในสมัยนั้น โดยเขารับบทบาทเป็นนักร้องนำ พ.ศ. 2512 ดิอิมพอสซิเบิ้ลสามารถคว้าถ้วยพระราชทานรางวัลชนะเลิศการประกวดวงสตริงคอมโบ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ส่งผลให้เริ่มเป็นที่นิยมและเป็นจุดเปลี่ยนให้เศรษฐาได้เข้ามาสัมผัสโลกภาพยนตร์เป็นครั้งแรก เมื่อเขาและเพื่อน ๆ ได้รับการทาบทามจากเปี๊ยก โปสเตอร์ ให้มาร่วมบรรเลงเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องโทน (2513)

ดิอิมพอสซิเบิ้ลยังคงชนะเลิศการประกวดวงสตริงคอมโบอีก 2 ครั้งติดต่อกัน หลังจากนั้นและได้บรรเลงเพลงประกอบภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง อาทิ ดวง (2514), สวนสน (2514), ระเริงชล (2515), ตัดเหลี่ยมเพชร (2518) ฯลฯ กลายเป็นวงที่มีชื่อเสียงโด่งดัง พ.ศ. 2518 หลังกลับมาจากการไปทัวร์ที่ต่างประเทศ เศรษฐาก็ได้รับการชักชวนจากจุรี โอศิริ ให้มาแสดงภาพยนตร์อย่างจริงจังครั้งแรกคือเรื่อง ฝ้ายแกมแพร (2518) แต่ก็ได้รับรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมมาครองจากผลงานดังกล่าวได้ทันที
พ.ศ. 2519 ดิอิมพอสซิเบิ้ลประกาศยุบวงอย่างเป็นทางการ เศรษฐาจึงก้าวเข้าสู่โลกมายาอย่างเต็มตัว มีบทบาทโดดเด่นทั้งการเป็นพิธีกรและนักแสดง นับเป็นดารายอดฝีมือคนหนึ่งซึ่งสามารถรับบทบาทได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นบทดี บทร้าย บทตลก ส่งผลให้มีผลงานออกมามากมายจวบจนปัจจุบัน โดยเรื่องที่โดดเด่นที่สุดเรื่องหนึ่งคือชื่นรัก (2522) ซึ่งเขาได้รับบทพระเอกประกบคู่กับอรัญญา นามวงศ์ นางเอกชื่อดัง เป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ให้ทั้งคู่กลายเป็นคู่ชีวิตกันในเวลาต่อมา

ผลงาน

สตูดิโออัลบั้ม
•   เป็นไปไม่ได้ (พ.ศ. 2512)
•   จันทร์เพ็ญ (2514)
•   หมื่นไมล์แค่ใจเอื้อม (พ.ศ. 2516)
•   Hot pepper (พ.ศ. 2518)
•   ผมไม่วุ่น (พ.ศ. 2520)

อัลบั้มพิเศษ
•   กลับมาแล้ว (พ.ศ. 2533)

ผลงานการแสดงดนตรี
(จากการบันทึกของสมาชิกวงพิชัย ทองเนียม และปราจีน ทรงเผ่า หนังสือ รวมบทเพลง The Impossibles)

ช่วงปี 2509 - 2512 (ยุคเริ่มต้น)
•   Holiday Garden ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง Holiday J-3)
•   Washington Bar ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง Joint Reaction)
•   Progress Bar ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง The Impossibles)
•   Las Vegas Bar ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง The Impossibles)

ช่วงปี 2512 - 2517 (หลังชนะการประกวดสตริงคอมโบชิงถ้วยพระราชทานปีแรก)
•   The Fire Cracker Club โรงแรม First ประตูน้ำ
•   The impossibles Cafe ศูนย์การค้าประตูน้ำ ปทุมวัน
•   ศาลาแดง ฮอลล์ ตรงข้างสวนลุมพินี (สลับกับวงวิชัย อึ้งอัมพร)
•   Hawaiian Hut Ala Moana Hotel Honolulu Hawai U.S.A. - การแสดงต่างประเทศครั้งแรก
•   The Den โรงแรมอินทรา ประตูน้ำ กรุงเทพฯ

ช่วงปี พ.ศ. 2517 (ทัวร์ยุโรปครั้งแรก ค.ศ. 1974)
•   Europa Hotel - Gothenberg Sweden
•   Norrköping - Sweden
•   Monday Club - Stockholm Sweden
•   Hesperia Hotel - Helsinki Finland
•   Rainbow Club - Oslo Norway
•   Noimalman - Stockholm Sweden
•   Borsen Club - Stockholm Sweden
•   Sundsvall - Sweden
•   Grand Central Hotel - Gävle Sweden
•   Hotel Jonkoping -Sweden
•   New Yaki Club - Gothenberg Sweden
•   แอน แอน คลับ - โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ (กลับเมืองไทยชั่วคราว)

ช่วงปี พ.ศ. 2518 - 2519 (ทัวร์ยุโรปครั้งที่สอง ค.ศ. 1975 - 1976)
•   Tragarn Restaurant - Gothenberg Sweden
•   Hesperia Hotel - Helsinki Finland
•   Malibu Club Basle - Switzerland
•   New Yaki Club - Gothenberg Sweden
•   Grinderwald - Switzerland
•   Mascot Club Zurich - Switzerland
•   Babalu Club Bern - Switzerland
•   แอน แอน คลับ โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ (กลับเมืองไทย 2519|1976)
•   ประกาศยุบวงในเดือนเมษายน 2519 ขณะเล่นที่ แอน แอน คลับ
•   หลังประกาศยุบวงยังได้กลับมารวมตัวไปแสดงที่ ไต้หวัน ช่วง 1 มิถุนายน - 4 กันยายน 2519 Majestic Club Majestic Hotel - Taipei Taiwan
•   ตุลาคม 2519 กลับเมืองไทย เล่นส่งท้าย (ประมาณ 14 วัน) คืนละ 3 แห่ง ที่ แมนฮัตตัน คลับ สุขุมวิท, ทอปเปอร์คลับ ตึกนายเลิศ, เดอะ ฟอกซ์ ศูนย์การค้าเพลินจิต

เพลงประกอบภาพยนตร์
•   เริงรถไฟ-เพลงประกอบภาพยนตร์โทน (2513)
•   ปิดเทอม-เพลงประกอบภาพยนตร์โทน (2513)
•   ชื่นรัก-เพลงประกอบภาพยนตร์โทน (2513)
•   รักกันหนอ-จากภาพยนตร์เรื่อง รักกันหนอ (2513) ทำนองเพลงญี่ปุ่น Good Night Baby - King Tones 1969
•   เจ้าพระยา-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
•   ลำนำรัก-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
•   เริงสายชล-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
•   ล่องวารี-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
•   เริงทะเล-จากภาพยนตร์เรื่อง ชื่นชีวาฮาวาย (2514)
•   ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน-จากภาพยนตร์เรื่อง ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน (2514)
•   ไปตามดวง-จากภาพยนตร์เรื่อง ดวง (2514)
•   หนาวเนื้อ-จากภาพยนตร์เรื่อง ดวง (2514)
•   ผม-จากภาพยนตร์เรื่อง ดวง (2514)
•   โลกของเรา-จากภาพยนตร์เรื่อง สะใภ้หัวนอก (2514)
•   น้ำผึ้งพระจันทร์(ร้องโดยชรินทร์ นันทนาคร)-จากภาพยนตร์เรื่อง น้ำผึ้งพระจันทร์ (2514)
•   ใจหนุ่มใจสาว-จากภาพยนตร์เรื่อง น้ำผึ้งพระจันทร์ (2514)
•   มันไหนล่ะ-จากภาพยนตร์เรื่อง สายชล (2514)
•   จันทร์เพ็ญ-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
•   ดีด สี ตี เป่า-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
•   ความหวัง-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
•   หาดสีทอง-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
•   สายใยชีวิต-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
•   ระเริงชล-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล (2515)
•   จูบฟ้า ลาดิน-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล (2515)
•   มิสเตอร์สโลลี่-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล (2515)
•   ข้าวเปลือก-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล (2515)
•   ค่าของคน-จากภาพยนตร์เรื่อง ค่าของคน (2515)
•   ค่าของรัก-จากภาพยนตร์เรื่อง ค่าของคน (2515)
•   ค่าของเงิน-จากภาพยนตร์เรื่อง ค่าของคน (2515)
•   รอรัก-จากภาพยนตร์เรื่อง เจ้าลอย (2515)
•   หนึ่งในดวงใจ-จากภาพยนตร์เรื่อง เจ้าลอย (2515) ทำนองเพลงสากล One Toke Over The Line - Brewer and Shipley 1971
•   เดอะทีนเอจ-จากภาพยนตร์เรื่อง สวนสน (2514)
•   ทะเลไม่เคยหลับ-จากภาพยนตร์เรื่อง สวนสน (2514)
•   ครองจักรวาล-จากภาพยนตร์เรื่อง สวนสน (2514)
•   โลกมายา-จากภาพยนตร์เรื่อง สาวกอด (2515)
•   โอ้รัก-จากภาพยนตร์เรื่อง โอ้รัก (2515) ทำนองเพลงสากล A Place to Hideaway - The Carpenters 1971
•   หัวใจเหิร-จากภาพยนตร์เรื่อง สองสิงห์สองแผ่นดิน (2515)
•   ยอดเยาวมาลย์-จากภาพยนตร์เรื่อง ภูกระดึง (2515)
•   ไม่มีคำตอบจากสวรรค์-จากภาพยนตร์เรื่อง ไม่มีคำตอบจากสวรรค์ (2516)
•   ทอง-จากภาพยนตร์เรื่อง ทอง (2516)
•   ข้าวนอกนา-จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา (2518)
•   ชีวิตคนดำ-จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา (2518)
•   เกลียดคนสวย-จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา (2518)
•   ตัดเหลี่ยมเพชร-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
•   แล้วเธอจะรู้-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
•   ราตรีที่แสนเหงา-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
•   The Great Friday(บรรเลง)-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
•   ดับสุริยา-จากภาพยนตร์เรื่อง ดับสุริยา (2519)
•   คมกุหลาบ-จากภาพยนตร์เรื่อง คมกุหลาบ (2519)
•   ในช่วงปี 2517 บริษัทศรีกรุงภาพยนตร์ ได้จัดสร้างภาพยนตร์เรื่องเป็นไปไม่ได้ โดยมีรงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นผู้เขียนเรื่องและบทภาพยนตร์ มีเพลงประกอบที่สำคัญคือ เพลงเป็นไปไม่ได้ กังวลทะเล ผมเป็นโคบาลไทย และเพลงกุลา(ผลงานของสุรชัย จันทิมาธร) แต่งานสร้างประสบความล้มเหลว ไม่สามารถสร้างให้จบได้

ผลงานภาพยนตร์
ต่อไปนี้เป็นผลงานภาพยนตร์ของดิอิมพอสซิเบิ้ล เฉพาะที่สมาชิกของวงทุกคนร่วมแสดง
•   โทน (2513)
•   รักกันหนอ (2514)
•   หนึ่งนุช (2514)
•   ดวง (2514)
•   ค่าของคน (2514)
•   สะใภ้หัวนอก (2514)
•   สวนสน (2515)
•   ระเริงชล (2515)
•   ลานสาวกอด (2515)
•   จันทร์เพ็ญ (2515)
•   สายชล (2516)

คอนเสิร์ต
•   คอนเสิร์ต ดิอิมพอสซิเบิ้ล 2008 (2551)
•   คอนเสิร์ต หนังไทยในเสียงเพลง (2555)
•   คอนเสิร์ต 70 ยังแจ๋ว เศรษฐา ศิระฉายา (2557)
•   คอนเสิร์ต The Impossibles' 50th Anniversary Concert (2557)
•   คอนเสิร์ต The End of The Im (2561)

เพลงที่มีชื่อเสียง
•   เป็นไปไม่ได้
•   เริงทะเล
•   ชื่นรัก
•   ทะเลไม่เคยหลับ
•   โอ้รัก
•   ไหนว่าจะจำ
•   คอยน้อง
•   หนาวเนื้อ
•   หนึ่งในดวงใจ
•   จูบฟ้า ลาดิน
•   ชั่วนิจนิรันดร
•   ขาดเธอ ขาดใจ
•   ทัศนาจร
•   ชาวดง
•   นกขมิ้น
•   ข้าวนอกนา
•   เกลียดคนสวย
•   ชีวิตคนดำ
•   ผมไม่วุ่น

สิ่งสืบเนื่อง
•   วง ดิ อิมพอสซิเบิ้ล ถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์ เก๋า..เก๋า โดยเป็นเนื้อเรื่องเมื่อวงพอสซิเบิ้ลได้เจออุปกรณ์วิเศษคล้ายไมโครโฟนจึงพาข้ามมาปรากฏตัวในปี พ.ศ. 2549



พ.ศ. 2554 เศรษฐา ศิระฉายา ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง)

การป่วยและเสียชีวิต
ช่วงบั้นปลายชีวิต เศรษฐาเข้ารับการรักษามะเร็งปอด หลังจากตรวจพบใน พ.ศ. 2562  ระหว่างนั้นในปี พ.ศ. 2564 เขาเคยป่วยด้วยโรคโควิด-19 และได้รับการรักษาจนไม่มีเชื้อโควิดในร่างกายแล้ว  แต่ในที่สุด เศรษฐาก็เสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ณ เวลา 04:41 นาที หลังจากกลับไปรักษาอาการมะเร็งปอดด้วยเคมีบำบัด สิริอายุ 77 ปี
การนี้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหีบลายก้านแย่ง เป็นเครื่องเกียรติยศบรรจุศพ โดยโปรดเกล้าฯ ให้พลอากาศโทภักดี แสงชูโต รองอธิบดีกรมราชเลขานุการในพระองค์ อัญเชิญพวงมาลาหลวง, พวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง, พวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี และพวงมาลาของพระบรมวงศานุวงศ์ไปตั้งที่หน้าหีบศพ มีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 โดยโปรดให้พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณเป็นประธานในพิธี ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2565 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพเศรษฐา ณ เมรุด้านใต้ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร โดยมี นันทิดา แก้วบัวสาย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการเข้าร่วมในพิธี






บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #40 เมื่อ: 03 กุมภาพันธ์ 2566, 01:12:35 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @เศรษฐา ศิระฉายา งานด้านการแสดงและพิธีกร





      

      .....“มาตาม  นัด” เล่นแล้ว........รอดู
          เกมส์ที่ สนุกชู...................ช่างรู้
        “เศรษฐา” คู่ ”ญาณี” หนู.........รับส่ง     มุกฮา
         อีกหนึ่ง สามารถสู้ ............   เร่งสร้างครอบครัว.......

     …..ทำสุด ตัวเมื่อได้ ................ โอกาส  
         เต็มที่ สุดสามารถ.................พ่อต้อย
      “ละคร” บ่อย “หนัง “ ดาษ..........หลากเรื่อง      
       ปราชญ์เปรื่อง งานเรียบร้อย.......เกี่ยวก้อยรางวัล.......  
      
พ.ศ. 2518 หลังกลับมาจากการไปทัวร์ที่ต่างประเทศ เศรษฐาก็ได้รับการชักชวนจากจุรี โอศิริ ให้มาแสดงภาพยนตร์อย่างจริงจังครั้งแรกคือเรื่อง ฝ้ายแกมแพร (2518) แต่ก็ได้รับรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมมาครองจากผลงานดังกล่าวได้ทันที

พ.ศ. 2519 ดิอิมพอสซิเบิ้ลประกาศยุบวงอย่างเป็นทางการ เศรษฐาจึงก้าวเข้าสู่โลกมายาอย่างเต็มตัว มีบทบาทโดดเด่นทั้งการเป็นพิธีกรและนักแสดง นับเป็นดารายอดฝีมือคนหนึ่งซึ่งสามารถรับบทบาทได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นบทดี บทร้าย บทตลก ส่งผลให้มีผลงานออกมามากมายจวบจนปัจจุบัน โดยเรื่องที่โดดเด่นที่สุดเรื่องหนึ่งคือ"ชื่นรัก" (2522) ซึ่งเขาได้รับบทพระเอกประกบคู่กับอรัญญา นามวงศ์ นางเอกชื่อดัง เป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ให้ทั้งคู่กลายเป็นคู่ชีวิตกันในเวลาต่อมา

ผลงาน

พิธีกร
•   รายการมาตามนัด (คู่กับญาณี จงวิสุทธิ์) ทาง ท.ท.บ. 5 และ โมเดิร์นไนน์ทีวี (10 มิถุนายน พ.ศ. 2529 – มิถุนายน พ.ศ. 2537, 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555 – 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556)[8]
•   รายการน่ารักน่าลุ้น ทาง ท.ท.บ. 5 (พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2538)
•   รายการทีวีเกม '28 ทาง ช่อง 3 อ.ส.ม.ท. (พ.ศ. 2528)
•   รายการพีเพิลเกม ทาง ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.
•   รายการไทยมุง ทาง ช่อง 3 อ.ส.ม.ท.
•   รายการสามโช๊ะโป๊เชะ ทาง ช่อง 3 อ.ส.ม.ท.
•   รายการต่อหน้าต่อตา ทาง ช่อง 3 อ.ส.ม.ท.
•   รายการกูรูเกม ทาง ช่อง 3 อ.ส.ม.ท. (พ.ศ. 2549)
•   รายการพีเพิลทูไนท์ ทาง ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. (พ.ศ. 2536 – พ.ศ. 2539)
•   รายการเศรษฐาโชว์ (พ.ศ. 2539 – พ.ศ. 2540)
•   รายการดวงกับดาว ทาง ช่อง 3 อ.ส.ม.ท. (พ.ศ. 2537 – พ.ศ. 2542)
•   รายการยังคลับ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น แบบ เด็ก เด็ก) ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท.
•   พิธีกรบนเวทีคอนเสิร์ตในรายการ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ทุกซีซั่น ทางยูบีซี, ไอทีวี, โมเดิร์นไนน์ทีวี, ทรูวิชั่นส์ และทรูโฟร์ยู (พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2558)
•   พิธีกรบนเวทีคอนเสิร์ตในรายการ เดอะ มาสเตอร์ ทางยูบีซี, ทรูวิชั่นส์ (พ.ศ. 2553)

ละครโทรทัศน์
•   ตุ๊กตาเสียกบาล (พ.ศ. 2519)
•   ขบวนการคนใช้ (พ.ศ. 2520)
•   รักประกาศิต (พ.ศ. 2520)
•   เธอจ๋า รักฉันไหม (พ.ศ. 2521)
•   ดาวเรือง (พ.ศ. 2522)
•   ฝ้ายแกมแพร (พ.ศ. 2522)
•   คุณผู้หญิง (พ.ศ. 2523)
•   ชื่นชีวานาวี (พ.ศ. 2523)
•   ห้วงรัก เหวลึก (พ.ศ. 2523)
•   พล นิกร กิมหงวน (พ.ศ. 2523)
•   ศิขริน เทวินตา (พ.ศ. 2523)
•   สี่แผ่นดิน (พ.ศ. 2523)
•   ชาวเขื่อน (พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2524)
•   เมียหลวง (พ.ศ. 2524)
•   ทิพย์ (พ.ศ. 2524)
•   หลิวลู่ลม (พ.ศ. 2525)
•   สามหัวใจ (พ.ศ. 2525)
•   พ่อปลาไหล (พ.ศ. 2526)
•   ผู้กองอยู่ไหน (พ.ศ. 2526)
•   กาแกมหงส์ (พ.ศ. 2528)
•   โซ่เกียรติยศ (พ.ศ. 2529)
•   บ้านวังแดง (พ.ศ. 2530)
•   เลขานินทานาย (พ.ศ. 2530)
•   เดชแม่ยาย (พ.ศ. 2530)
•   นายจ๋าเลขาขอโทษ (พ.ศ. 2531)
•   ตะกายดาว (พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2533)
•   เขยบ้านนอก (พ.ศ. 2532)
•   เกิดจากวัด (พ.ศ. 2532)
•   คนค้นคน (พ.ศ. 2533)
•   พระเอกในความมืด (พ.ศ. 2533)
•   โก๋ตี๋กี๋หมวย (พ.ศ. 2533)
•   ปีศาจหรรษา (พ.ศ. 2534)
•   พ่อปลาไหล แม่พังพอน (พ.ศ. 2534)
•   เขยบ้านนอก ภาค 2 (พ.ศ. 2535)
•   เมียนอกกฎหมาย (พ.ศ. 2535)
•   กาในฝูงหงส์ (พ.ศ. 2535)
•   เคหาสน์ดาว (พ.ศ. 2535)
•   สนทนาประสาจน (พ.ศ. 2537)
•   ครึ่งของหัวใจ (พ.ศ. 2538)
•   ทานตะวัน (พ.ศ. 2540)
•   ตุ๊ ต๊ะ ต๋อม แต๋ม สุภาพบุรุษตัว "ต" (พ.ศ. 2541)
•   พ่อปลาไหล (พ.ศ. 2541)
•   หัวใจและไกปืน (พ.ศ. 2541)
•   กิจกรรมชายโสด (พ.ศ. 2542)
•   ขุนช้างขุนแผน (พ.ศ. 2542)
•   สามี (พ.ศ. 2542)
•   จ้าวไตรภพ ช่อง 3 (พ.ศ. 2543)
•   สังข์ทอง ช่อง 3 (พ.ศ. 2543)
•   เก็บแผ่นดิน ช่อง 7 (พ.ศ. 2544)
•   เขยบ้านนอก ช่อง 3 (พ.ศ. 2544)
•   วิมานกุหลาบ ช่อง 3 (พ.ศ. 2544)
•   สามีตีตรา ช่อง 3(พ.ศ. 2544)
•   เสือ 11 ตัว ช่อง 3 (พ.ศ. 2544)
•   สะใภ้ไร้ศักดินา ช่อง 3 (พ.ศ. 2544)
•   แชมเปี้ยนสะบัดช่อ ช่อง 3 (พ.ศ. 2545)
•   18 - 80 เพื่อนซี้ไม่มีซั้ว ช่อง 3 (พ.ศ. 2546)
•   ตราบฟ้าสิ้นดาวสาวแก่ ช่อง 3 (พ.ศ. 2546)
•   รักพันลึก ช่อง 3 (พ.ศ. 2546)
•   กิเลสมาร ช่อง 3 (พ.ศ. 2546)
•   เขยมะริกัน ช่อง 3 (พ.ศ. 2547)
•   รัตตมณี ร.ศ.220 ช่อง 3 (พ.ศ. 2547)
•   เขียวหวาน 2001 ช่อง 3 (พ.ศ. 2547)
•   คุณชายทรานซิสเตอร์ ช่อง 3 (พ.ศ. 2548)
•   แผ่นดินหัวใจ ช่อง 3 (พ.ศ. 2548)
•   วีรกรรมทำเพื่อเธอ ช่อง 3 (พ.ศ. 2549)
•   เขยใหญ่สะใภ้เล็ก ช่อง 3 (พ.ศ. 2549)
•   ตี๋ตระกูลซ่ง ช่อง 3 (พ.ศ. 2549)
•   รังนกบนปลายไม้ ช่อง 3 (พ.ศ. 2549 – พ.ศ. 2550)
•   ตากสินมหาราช ช่อง 3 (พ.ศ. 2550)
•   โบตั๋นกลีบสุดท้าย ช่อง 3 (พ.ศ. 2551)
•   หาบของแม่ ช่อง 3 (พ.ศ. 2551)
•   ดินเนื้อทอง ช่อง 3 (พ.ศ. 2551)
•   แม่ค้าขนมหวาน ช่อง 3 (พ.ศ. 2552)
•   ก๊วนกามเทพ ช่อง 3 (พ.ศ. 2552)
•   ล่าผีปอบ ช่อง 3 (พ.ศ. 2552)
•   เจ้าสาวไร่ส้ม ช่อง 3 (พ.ศ. 2553)
•   สะใภ้เจ้าสัว ช่อง 3 (พ.ศ. 2553)
•   เขยบ้านนอก ช่อง 3 (พ.ศ. 2553)
•   7 ประจัญบาน ช่อง 3 (พ.ศ. 2553)
•   ปลาไหลป้ายแดง ช่อง 3 (พ.ศ. 2554)
•   สองผู้ยิ่งใหญ่ ช่อง 3 (พ.ศ. 2554)
•   นายสุดซ่าส์ ข้าสุดแสบ ช่อง 3 (พ.ศ. 2554)
•   ต้มยำลำซิ่ง ช่อง 3 (พ.ศ. 2555)
•   สะใภ้พญายม ช่อง 3 (พ.ศ. 2555)
•   ตะวันยอดรัก ช่อง 3 (พ.ศ. 2555)
•   เล่ห์ร้อยรัก ช่อง 3 (พ.ศ. 2555)
•   ก้นครัวตัวแสบ ช่อง 3 (พ.ศ. 2555)
•   คุณชายพุฒิภัทร ช่อง 3 (พ.ศ. 2556)
•   คุณชายรัชชานนท์ ช่อง 3 (พ.ศ. 2556)
•   แผนร้ายพ่ายรัก ช่อง 3 (พ.ศ. 2556)
•   ชาติเจ้าพระยา ช่อง 3 (พ.ศ. 2556)
•   อย่าลืมฉัน ช่อง 3 (พ.ศ. 2557)
•   ทรายสีเพลิง ช่อง 3 (พ.ศ. 2557)
•   ครอบครัวตึ๋งหนืดตืดขั้นเทพ ช่อง 7 (พ.ศ. 2558)
•   ขอเป็นเจ้าสาวสักครั้งให้ชื่นใจ ช่อง 3 (พ.ศ. 2558)
•   อตีตา ช่อง 7 (พ.ศ. 2559)
•   ท่านชายกำมะลอ ช่อง 3‬ (พ.ศ. 2559)
•   True Love Story เพราะเธอคือรัก คนที่คุณก็รู้ว่าใคร ทรูโฟร์ยู (พ.ศ. 2559)
•   เพชรกลางไฟ ช่อง 3 (พ.ศ. 2560)
•   บัลลังก์ดอกไม้ ช่อง 3 (พ.ศ. 2560)
•   ชั่วโมงต้องมนต์ ช่อง 3 (พ.ศ. 2561)
•   ริมฝั่งน้ำ ช่อง 3 (พ.ศ. 2561)
•   วัยแสบสาแหรกขาด โครงการ 2 ช่อง 3 (พ.ศ. 2562)
•   พระจันทร์ซ่อนดาว ช่อง 3 (ฉายออนไลน์) (พ.ศ. 2564)

ผู้จัดละคร
ผลงานละครโทรทัศน์ทั้งหมดในฐานะผู้จัดละคร ร่วมกับพุทธิดา ศิระฉายา บริษัท ทรัพย์ เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด


ภาพยนตร์
•   โทน (2513)
•   รักกันหนอ (2514)
•   หนึ่งนุช (2514)
•   ดวง (2514)
•   ค่าของคน (2514)
•   สะใภ้หัวนอก (2514)
•   สวนสน (2515)
•   ระเริงชล (2515)
•   ลานสาวกอด (2515)
•   จันทร์เพ็ญ (2515)
•   สายชล (2516)
•   ฝ้ายแกมแพร (2518) .... ธงฉาน
•   พ่อม่ายทีเด็ด (2520)
•   มนต์รักแม่น้ำมูล (2520) .... สุดเขต
•   คนละทาง (2520) .... ศักดิ์
•   รักคุณเข้าแล้ว (2520) .... นรินทร์
•   คู่ทรหด (2520)
•   แผลเก่า (2520) .... จ้อย
•   เมืองอลเวง (2520) .... นิกร
•   ทรามวัยใจเด็ด (2520) .... ผู้ช่วยได้สิบโทเบิ้ม
•   ชื่นชีวานาวี (2520) .... หมอเอกชัย
•   วัยเสเพล (2520)
•   เก้าล้านหยดน้ำตา (2520) .... ต้อย
•   123 ด่วนมหาภัย (2520) .... เชษฐา
•   พ่อครัวหัวป่าก์ (2521)
•   คนหลายเมีย (2521)
•   รักเต็มเปา (2521)
•   คู่รัก (2521)
•   4 อันตราย (2521) .... จืด
•   เพลงรักเพื่อเธอ (2521) .... ไชยยงค์
•   ใครว่าข้าชั่ว (2521)
•   รักเธอเท่าช้าง (2521)
•   อีโล้นซ่าส์ (2521)
•   โก๋บ้านนอกกี๋บางกอก (2521) .... ภูมิใจ
•   รักระแวง (2521) .... มนตรี
•   หอหญิง (2521)
•   กาม (2521)
•   วัยแตกเปลี่ยว (2521)
•   แตกหนุ่มแตกสาว (2521) .... ติ๊ก
•   ลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง (2521)
•   ยิ้มสวัสดี (2521) .... ดำ บางนรา
•   หัวใจกุ๊กกิ๊ก (2521) .... ต้อย
•   ผ้าขี้ริ้วหัวเราะ (2521) .... ร.ต.ต.แขยง ดอกมะม่วง
•   สิงห์สะเปรอะ (2521) .... เจ้าแย้
•   จำเลยรัก (2521) .... ธวัชชัย
•   ตึ่งนั้ง (2521)
•   แผ่นเสียงตกร่อง (2522)
•   ฐานันดร 4 (2522)
•   ไอ้ติงต๊อง (2522) .... เลขา
•   บี้ บอด ใบ้ (2522)
•   มนุษย์ 100 คุก (2522)
•   นักรักรุ่นกระเตาะ (2522)
•   กามเทพหลงทาง (2522)
•   ชื่นรัก (2522)
•   ร้ายก็รัก (2522)
•   ลูกทาส (2522) .... มาโนช
•   รักประหาร (2522)
•   อยู่อย่างเสือ (2522) .... อารี
•   พลิกล็อก (2522)
•   พ่อกระดิ่งทอง (2522)
•   สมบัติเจ้าคุณปู่ (2522)
•   วิมานไฟ (2522)
•   แดร๊กคูล่าต๊อก (2522)
•   ผมรักคุณ (2522) .... ต้อย
•   ฝนตกแดดออก (2523) .... มั่งมี
•   เดิมพันชีวิต (2523)
•   ผีหัวขาด (2523) .... ลอย
•   ผิดหรือที่จะรัก (2523) .... ชลาธร
•   ลูกทุ่งดิสโก้ (2523) .... บุญเหมาะ
•   บัวสีน้ำเงิน (2523) .... เมธ
•   ถึงอย่างไรก็รัก (2523)
•   ทหารเกณฑ์ ภาค 1 (2523)
•   กิ่งทองใบตำแย (2523)
•   จากครูด้วยดวงใจ (2523) .... ครูแห้ง
•   ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน (2523)
•   เมียสั่งทางไปรษณีย์ (2523) .... อมฤทธิ์
•   หยาดพิรุณ (2523) .... ธิติ
•   พ่อจ๋า (2523) .... เจ้าธง
•   อาอี๊ (2523) .... ต้อย
•   รุ้งเพชร (2523)
•   ยอดตาหลก (2523) .... ต้อย
•   ทหารเกณฑ์ ภาค 2 (2523)
•   กามนิต วาสิฎฐี (2524) .... วาชศรพ
•   สุดทางรัก (2524)
•   สิงห์คะนองปืน (2524)
•   ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2524)
•   หาเมียให้ผัว (2524)
•   พ่อปลาไหล (2524) .... ร ต ท ยงยุทธ
•   รักครั้งแรก (2524)
•   ยอดรักผู้กอง (2524) .... ไอ้อ่ำ
•   เขยขัดดอก (2524)
•   จู้ฮุกกรู (2524) .... ต้อย
•   คำอธิษฐานของดวงดาว (2524)
•   แม่กาวาง (2524)
•   ทหารเรือมาแล้ว (2524)
•   หญิงก็มีหัวใจ (2524)
•   พระเอกรับจ้าง (2525) .... กุมภา
•   เพชฌฆาตหน้าเป็น (2525)
•   ยอดเยาวมาลย์ (2525) .... ประจวบ
•   กระท่อมนกบินหลา (2525)
•   รักข้ามรุ่น (2525)
•   ตามรักตามฆ่า (2525) .... รุจน์
•   พระจันทร์สีเลือด (2526)
•   พระจันทร์เปลี่ยนสี (2526)
•   มนต์รักก้องโลก (2526)
•   ล่าข้ามโลก (2526)
•   สงครามเพลง (2526)
•   รักกันวันละนิด (2526)
•   ทุ่งปืนแตก (2526)
•   เงิน เงิน เงิน (2526) .... สัปเหร่อยุทธ
•   แม่ยอดกะล่อน (2526)
•   ผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 9 (2526) .... เวช
•   ไอ้แก้วไอ้ทอง (2526)
•   แม่ดอกกระถิน (2526)
•   ดวงนักเลง (2526)
•   7 พระกาฬ (2526) .... พยัคฆ์ ศักดิ์นารายณ์
•   เห่าดง (2526)
•   มหาเฮง (2526)
•   มดตะนอย (2527)
•   เสือลากหาง (2527)
•   สัจจะมหาโจร (2527)
•   แล้วเราก็รักกัน (2527)
•   อีแต๋น ไอเลิฟยู (2527)
•   ลูกสาวคนใหม่ (2527) .... แก่น
•   เด็กปั๊ม (2527)
•   ถล่มเจ้าพ่อ (2527)
•   เลดี้ฝรั่งดอง (2527)
•   รักสุดหัวใจ (2527)
•   หลานสาวเจ้าสัว (2528) .... จะเด็ด
•   หยุดโลกเพื่อเธอ (2528) .... โทโร
•   รักคือฝันไป (2528)
•   ครูสมศรี (2529) .... ทนายทองดี
•   เจ้าสาวมะลิซ้อน (2529)
•   แม่ดอกรักเร่ (2529)
•   เฮงได้ เฮงดี รักนี้ (2530)
•   พรหมจารีสีดำ (2530)
•   ก้อ...โอเคนะ (2530)
•   พ่อมหาจำเริญ (2531)
•   คนกลางเมือง (2531)
•   ครูไหวใจร้าย (2532)
•   ห้าวเล็ก ๆ (2532)
•   วิมานมะพร้าว (2534) .... อาก๋ง (เจ้าสัว)
•   ตุ๊ ต๊ะ ต๋อม แต๋ม สุภาพบุรุษตัว ต. (2537)
•   มัจจุราชตามล่าข้าไม่สน (2541)
•   โคลนนิ่ง คนก๊อปปี้คน (2542)
•   เก๋า เก๋า (2549) .... ต้อย
•   คู่แรด (2550)
•   บิ๊กบอย (2553)
•   ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี (2554) .... พญาละแวก
•   ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง (2554) .... พญาละแวก
•   ขรัวโต (2558)

ผลงานกำกับการแสดง
•   แม่ยอดกะล่อน (2526)
•   รักสองต้องห้าม (2528)
•   พ่อมหาจำเริญ (2531)
•   เขยบ้านนอก (2533)
•   บ้านเล็ก (2535)
•   เขยบ้านนอก ภาค 2 (2535)
•   คู่แท้ 2 โลก (2540)

ชีวิตส่วนตัว

เศรษฐาเคยสมรสกับแอร์โฮสเตส ต่อมาสมรสกับอรัญญา นามวงศ์ มีบุตรสาวหนึ่งคน (คือ พุทธธิดา ศิระฉายา หรืออิ๊ฟ สมรสกับเติมศักดิ์ ศักดาพร นักธุรกิจ ผู้สร้างละครโทรทัศน์ในสังกัดช่อง 3 และช่อง 7)


เครื่องราชอิสริยาภรณ์
•   พ.ศ. 2551 –   เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)
•   พ.ศ. 2552 –   เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
•   พ.ศ. 2555 –   เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)

รางวัลที่ได้รับ

•   พ.ศ. 2553 : รางวัลพระราชทานบันเทิงเทิดธรรม (พ.ศ. 2553) จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
•   พ.ศ. 2553 : รางวัลการเชิดชูบุคคล ทางด้านผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2553
•   พ.ศ. 2554 : รางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง)


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #41 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2566, 03:55:11 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @ดอน สอนระเบียบ











             .. "นางโลม"โลมที่เล้า........ชายเชย  ชมนา
                 ในที่มึนเมาเลย..............คลั่งไคล้
              "สวรรค์  ปิด"ลมเผย..........นางหน่าย  หนีเฮย
              ตัวอย่างเพลง "ดอน" ได้....เริ่มร้องดังมา

            .. อานิจจาด่อนต้อง............มีกรรม
         งานเด่นหลอดหมองดำ...........ตีบได้
              หลอดเลือดที่แตกทำ........อัมพฤกษ์    ซ้ายนา
            มี"ดาว ประดับใจ"ไว้...........แมวเก้าชีวา
      ..........

ดอน สอนระเบียบ (เกิด 27 มิถุนายน พ.ศ. 2492 - ) เป็นนักร้องและนักแสดงชาวไทย และเป็นสมาชิกวงดนตรี P.M.5

ประวัติ
ดอน สอนระเบียบ เป็นชาวกรุงเทพมหานครและนครสวรรค์จบการศึกษาจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสันติราษฎร์ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2492 เข้าสู่วงการเพลงด้วยการสมัครวงดนตรีของครูพยงค์ มุกดาศิลปินแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นมือกลองของวง P.M.Pocket Music จนมีชื่อเสียงโด่งดัง
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวงเป็น P.M.7 ไม่นานก็เปลี่ยนชื่อเป็น P.M.5 มีผลงานเพลงออกมาให้แฟนเพลงอย่างต่อเนื่อง
เดินสายไปตามสถานที่ต่างๆ ในย่านเพชรบุรีตัดใหม่ตามคำเรียกร้องของแฟนเพลง

หลังจากที่มีการยุบวง P.M.5 ดอนเข้ามาเป็นศิลปินเดี่ยวในสังกัดนิธิทัศน์ โปรโมชั่นของวิเชียร อัศวศิวะกุลมีเพลงดังเช่น เก้าล้านหยดน้ำตา, สวรรค์ปิด,ไม่รักแกล้งหลอก, รักแสนเศร้า, ดาวประดับใจ, นางโลม, รอวันเธอกลับ, ทางรักสีดำ, ดา ดา ดา ฯลฯ
ดอน สอนระเบียบอยู่ในวงการเพลงมาอย่างยาวนาน จนได้รับฉายาว่า "แมวเก้าชีวิต"
ขณะที่ ดอน สอนระเบียบ ยึดอาชีพนักร้องเป็นชีวิตจิตใจมอบความสุขให้กับแฟนเพลงแต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ในช่วงปี พ.ศ. 2539 ดอนเกิดอาการหมดสติ จึงนำส่งโรงพยาบาล พบว่าเป็นเส้นเลือดในสมองตีบ ใช้เวลาในการรักษาตัวประมาณ 2-3 เดือน จากนั้นดอนกลับมาจับไมค์อีกครั้ง
16 กันยายน 2546 ดอนเข้าสู่โรงพยาบาลอีกครั้ง พบว่าเป็นเส้นเลือดในสมองแตก ส่งผลให้ดอนเป็นอัมพฤกษ์ซีกซ้าย มือและขาข้างซ้ายไม่สามารถใช้งานได้

ผลงาน
บทเพลง

•   ยอม (ทำนองเพลง Yuuyake No Uta ของ Masahiko Kondō)
•   ของแท้คือเธอ
•   เอาความรักเธอคืนกลับไป
•   ทางรักสีดำ (ทำนองเพลง Gaki no Koro no Youni - ガキの頃のように ของ Horiuchi Takao - 堀内孝雄)
•   เก้าล้านหยดน้ำตา (ทำนองเพลง 9,999,999 Tears ของ Dickey Lee) [1]
•   ชีวิตนี้คือละคร
•   สวรรค์ปิด
•   นางโลม
•   ไม่รักแกล้งหลอก (ทำนองเพลง Lightnin' Bar Blues ของ Brownsville Station )
•   ดา ดา ดา (ทำนองเพลง Da Da Da ของวง Trio)
•   ซาโยนาระ
•   เสียดายเวลา
•   ดาวประดับใจ (ทำนองเพลง Subaru ของ ชินจิ ทานิมูระ)
•   แค่นี้ก็ช้ำเป็น (ทำนองเพลง Sixteen Bar ของ The Stylistics)
•   ไปโรงเรียนสาย (ทำนองเพลง Simon Says ของ 1910 Fruitgum Company)
•   ร้ายนักรักนี่ (ทำนองเพลง The End of the World ของ Skeeter Davis)

ละครโทรทัศน์
•   ทับเทวา (2546)

ภาพยนตร์
•   เหมือนหนึ่งในฝัน (2519)
•   ลืมตัว (2519)
•   จ่าทมิฬ (2519)
•   เก้าล้านหยดน้ำตา (2520) รับบท ดอน
•   เมืองอลเวง (2520) รับบท เดือน
•   นางฟ้าท่าเรือ (2520)
•   รักเต็มเปา (2521)
•   ผ้าขี้ริ้วหัวเราะ (2521) รับบท ภราดร สอนหอยเสียบ
•   วัยแตกเปลี่ยว (2521)
•   พลิกล็อก (2522)
•   ไอ้ติงต๊อง (2522) รับบท สนั่น
•   นักรักรุ่นกระเตาะ (2522)
•   จากครูด้วยดวงใจ (2523) รับบท พี่ชายเพียงเพ็ญ
•   จู้ฮุกกรู (2524) รับบท ดอน
•   ยอดพยัคฆ์นักเพลง (2526)
•   มนต์รักก้องโลก (2526)
•   นักเพลงผู้ยิ่งใหญ่ (2527)

เพลงประกอบภาพยนตร์
•   ลืมตัว (2519)
•   จ่าทมิฬ (2519)
•   เก้าล้านหยดน้ำตา (2520)
•   เมืองอลเวง (2520)
•   นางฟ้าท่าเรือ (2520)
•   ยมบาลจ๋า (2521)
•   ผ้าขี้ริ้วหัวเราะ (2521)
•   รักข้ามโลก (2521)
•   วัยแตกเปลี่ยว (2521)
•   พลิกล็อก (2522)
•   นักรักรุ่นกระเตาะ (2522)
•   จากครูด้วยดวงใจ (2523)
•   เจ้าพายุ (2523)
•   คุณนายซาอุ (2525)
•   ไอ้ผาง ร.ฟ.ท. (2525)
•   ยอดพยัคฆ์นักเพลง (2526)
•   พยัคฆ์ยี่เก (2526)
•   มนต์รักก้องโลก (2526)
•   นักเพลงผู้ยิ่งใหญ่ (2527)

คอนเสิร์ต
•   คอนเสิร์ต รวมน้ำใจช่วย ดอน สอนระเบียบ (18 พฤษภาคม 2560)
•   คอนเสิร์ต เพื่อนช่วยเพื่อน” เพื่อ ดอน สอนระเบียบ (23 มิถุนายน 2555)

อัลบั้มเพลง
•   P.M.5
•   อย่าดีกว่า
•   ออนสเตท
•   โฟล์กซองลูกทุ่ง
•   นางใจ
•   ดา ดา ดา
•   เปรี้ยว 1-2 (2527)
•   เมตตาธรรม (2528)
•   ดอน 85 (2528)
•   นางโลม (2529)
•   รวมเพลงยอดนิยม (2529)
•   เพียงเรารักกัน (2531)
•   อมตะตลอดกาล 2531 (2531)
•   ก็ OK นะ! (2533)
•   ดอน ซูเปอร์ฮิต (2533)
•   ดอน ซูเปอร์ฮิต 2 (2533)
•   ดอน-ก้อย เพลงคู่ซูเปอร์ฮิต (2533)
•   ซุเปอร์บูม (2534)
•   ที่สุด นิรันดร์กาล (2535)
•   เล่นกับไฟ (2536)
•   ดอน Medley Super Big (2537-2538)
•   เปาบุ้นจิ้น 1995 (2538)
•   รวมเพลงคนอกหัก 1 (2543)
•   36 ปี อมตะเพลงดัง (2546)








บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #42 เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2566, 11:50:35 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @เพลินพิศ พูนชนะ







..ได้ยินไหมพี่   เสียงนี้ คือสาวบ้านนา
พร่ำเพรียกเรียกหา   ตั้งตานับเวลารอ คอย
คอยเช้า คอยเย็น   ไม่เห็น สักหน่อย
ปีเคลื่อน เดือนคล้อย   รักเอ๋ยมาลอย
รักเอ๋ยมาลอยแรมไกล   อีก เมื่อไร
รักจะคืน รื่นรมย์

...ตะแบกบานแล้วร่วง   สี ม่วง ที่พี่ชื่นชม
หรีดหริ่ง ระงม   พี่ปล่อย น้องให้ตรมคนเดียว
รวงเอ๋ย รวงทอง   ต้องร้าง คนเกี่ยว
รวงข้าว คอยเคียว  น้องนี้คอยเหลียว
คอยนับวันรอ พี่มา  กลับ เถิดหนา
สาวบ้านนา ยังคอย

...ตะแบกบานแล้วร่วง   สี ม่วง ที่พี่ชื่นชม
หรีดหริ่ง ระงม  พี่ปล่อย น้องให้ตรมคนเดียว

รวงเอ๋ย รวงทอง  ต้องร้าง คนเกี่ยว
รวงข้าว คอยเคียว   น้องนี้คอยเหลียว
คอยนับวันรอ พี่มา   กลับ เถิดหนา
สาวบ้านนา ยังคอย.





      ... ตะแบกบานแล้วร่วง ...... โรยรา
         หรีดหริ่งระงมหา.............เนื้อคู่
        คอยคนเกี่ยวรวงจา...........หลุดหล่น  เสียแฮ
     อีกเมื่อไรโปรดรู้..................นี่น้องคอยเมิน

  …”เพลินพิศพูนชนะ”เริ่มร้อง......ตรึงตรา
     กานท์แต่งเพลงจากนา.........ท้องทุ่ง
     ดอกสีม่วงตำรา...................ว่าแทน    ทุกข์นา
      ฟังไป่ใจเกิดฟุ้ง..................น่งน้องคอยชาย.......

ประวัตินักร้อง เพลินพิศ พูนชนะ ในปัจจุบันค้นหาไม่พบ

แต่พบแต่ผู้แต่งเพลงและที่มาของบทเพลงดังนี้
 
เพลง "เหมือนข้าวคอยเคียว" ขับร้องโดย เพลินพิศ พูนชนะ คำร้อง-ทำนอง กานท์ การุณวงศ์

กานท์ การุณวงศ์ เกิดปี 2476 ที่อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เรียนจบ ม.3 จากโรงเรียนประจำอำเภอ แล้วช่วยทางบ้านทำนามาตลอด ช่วงวัยรุ่นชอบอ่านหนังสือและเขียนกลอนส่งไปตามนิตยสารต่างๆเกือบร้อยชิ้น ส่วนตัวชอบร้องเพลงและฟังเพลง ชอบผลงานประพันธ์เพลงของครูไพบูลย์ บุตรขัน และ ครู ป.ชื่นประโยชน์ เป็นพิเศษ
ช่วงปี 2502-2503 ครูเบญจมินทร์ได้มอบศิษย์เอกอย่างทูล ทองใจไปอยู่วงจุฬารัตน์ แล้วคิดจะปั้นนักร้องใหม่ฝ่ายหญิง โดยประกาศรับสมัครทางวิทยุ กานท์พาน้องสาวไปสมัคร แต่น้องสาวอายุยังน้อย ครูเบญจมินทร์ให้กลับไปเรียนหนังสือก่อนแลัวรับพี่ชายไว้แทน หลังจากเทสต์เสียงแล้ว ครูเบญจมินทร์เตรียมเพลงไว้ 6 เพลงให้กานท์ร้องอัดแผ่นเสียง แต่ด้วยความประหม่า กานท์ร้องเพลงไม่ติด กุศล กมลสิงห์ลูกศิษย์อีกคนจึงได้ร้องแทน

กานท์ยังคงฝึกฝนวิทยายุทธอยู่ในสำนักครูเบญจมินทร์ และแต่งเพลง"เหมือนข้าวคอยเคียว"ในปี 2503 เป็นเพลงรักเศร้าๆ ใช้ฉากท้องทุ่งหลังบ้าน ที่มีต้นตะแบกแตกดอกสีม่วง และยังยืนต้นอยู่ในทุ่งนาหลังบ้านจนทุกวันนี้ เมื่อแต่งเสร็จนำไปให้ครูเบญจมินทร์ตรวจ ทราบทีหลังว่าครูเบญจมินทร์นำเพลงนี้ไปอวดครูไพบูลย์ บุตรขัน ว่าเป็นผลงานของลูกศิษย์

หลายปีต่อมากานท์ได้เจอครูไพบูลย์ บุตรขัน ครูไพบูลย์บอกว่า"ผมรักเพลงคุณ ตั้งแต่ครูตุ้มเอาเพลงมาให้ดูแล้ว"


ขอบคุณ ข้อมูลจากหนังสือ"หอมดินเคล้ากลิ่นไอฝน" เรียบเรียงโดย วัฒน์ วรรลยางกูร





บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #43 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2566, 03:37:48 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี



























    ...พระมงกุฎเกล้าเจ้าฯ …….รัชกาล     หกเอย
        ทรงพระประสงค์งาน.........ช่างปั้น
       เลือกคนที่ชนะการ............ร่างแบบ    เหรียญตรา
      คนต่างแดนไกลนั้น............อยู่ตั้งแดนไกล…

    …ในสมพระฤทัยได้.............คนดี     ศรีนา
            เกิดที่อิตาลี.................ค่อนฟ้า
         คอร์ราโด่เฟโรซี...............นามชื่อ    เก่าเอย
      เปลี่ยนนามหนีเกณฑ์ข้าฯ....เมื่อครั้นสงคราม...

    ...นาม”ศิลป์พีระศรี”นี้.........จับใจ    
       ครูที่รักศิษย์เกินใคร.........ใจ่รู้
       สอนเพาะช่างศิลป์ไทย.....โดดเด่น  
        ที่มามหาลัยกู้................ต่อห้องวิทยา...

     ...ศิลปากรชื่อนี้................บังเกิด    
    โดยที่”ศาสตร์ฯศิลป์”เชิด....เริ่มต้น
    อธิการหนึ่งประเสริฐ..........ก่อกล
    แรกเริ่มศิลป์ไทยท้น..........ร่วมร้อยทันการณ์...

        ...ฝากงานอันสร้างชื่อ........”ครูศิลป์”  
          ที่พุทธมณฑล”ศิลป์”........ปั้นหล่อ
      “พระนเรศ””พ่อตากสิน”........”ย่าโม”  
  “ รอหนึ่ง(ร.1)”รอหก(ร.6)ก้อ.....หล่อปั้นงานครู.....
.


ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (15 กันยายน พ.ศ. 2435 — 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) เดิมชื่อ คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) เป็นชาวอิตาลีสัญชาติไทย เป็นประติมากรจากเมืองฟลอเรนซ์ที่เข้ามารับราชการในประเทศไทยตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยถือเป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทยที่ได้สร้างคุณูปการในทางศิลปะและมีผลงานที่เป็นที่กล่าวขานจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งและอาจารย์สอนวิชาศิลปะที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ซึ่งภายหลังได้รับการยกฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์คนแรก มีความรักใคร่ ห่วงใยและปรารถนาดีต่อลูกศิษย์อยู่ตลอดจนเป็นที่รักและนับถือทั้งในหมู่ศิษย์และอาจารย์ด้วยกัน

เขายังเป็นผู้วางรากฐานที่เข้มแข็งให้แก่วงการศิลปะไทยสมัยใหม่จากการที่ได้พร่ำสอนและผลักดันลูกศิษย์ให้ได้มีความรู้ความสามารถในวิชาศิลปะทั้งงานจิตรกรรมและงานช่าง มีจุดประสงค์ให้คนไทยมีความรู้ความเข้าใจในศิลปะและสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะได้ด้วยความสามารถของบุคลากรของตนเอง การก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรจึงเปรียบเสมือนการหว่านเมล็ดพันธุ์ให้แก่คนไทยเพื่อที่จะออกไปสร้างศิลปะเพื่อแผ่นดินของตน และถึงแม้จะริเริ่มรากฐานของความรู้ด้านศิลปะตะวันตกในประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันเขาได้ศึกษาศิลปะไทยอย่างลึกซึ้ง เนื่องจากต้องการให้คนไทยรักษาความงามของศิลปะไทยเอาไว้ จึงได้เกิดการสร้างลูกศิษย์ที่มีความรู้ทั้งงานศิลปะตะวันตกและศิลปะไทยออกไปเป็นกำลังสำคัญให้แก่วงการศิลปะไทยเป็นจำนวนมาก และเกิดรูปแบบงานศิลปะไทยสมัยใหม่ในที่สุด

ด้วยคุณูปการนี้เขาจึงได้รับการยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคลของมหาวิทยาลัยศิลปากรและของประเทศไทย โดยเฉพาะในงานประติมากรรมที่ได้มีผลงานที่โดดเด่นมากมายที่สร้างไว้แก่ประเทศไทย ได้แก่ พระพุทธรูปประธานที่พุทธมณฑล, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และรวมไปถึง พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่วงเวียนใหญ่, พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช, อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และพระบรมราชานุสาวรีย์ของกษัตริย์ไทยอีกหลายพระองค์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ศาสตราจารย์ศิลป์ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย และเป็น ผู้วางรากฐานมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยในวันที่ 15 กันยายน ของทุกปีจะถือเป็นวันศิลป์ พีระศรี ซึ่งมหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดงานรำลึกขึ้นทุกปีเพื่อระลึกถึงคุณงามความดีที่มีต่อมหาวิทยาลัยและประเทศไทยนานัปการ

ประวัติ

วัยหนุ่มและชีวิตที่ฟลอเรนซ์
ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี มีนามเดิมว่าคอร์ราโด เฟโรชี เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ในเขตซานโจวันนี (San Giovanni) เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เป็นบุตรของนายอาตูโด เฟโรชีและนางซานตินา เฟโรชี ซึ่งประกอบธุรกิจการค้า และเนื่องจากเกิดและอาศัยอยู่ ณ เมืองฟลอเรนซ์ นครแห่งการกำเนิดศิลปะเรอเนซองส์ชื่อก้องของอิตาลี คอร์ราโดจึงมีความสนใจในวิชาศิลปะมาตั้งแต่วัยเด็ก คอร์ราโดนั้นมีความสนใจและชื่นชอบในผลงานประติมากรรมของมิเกลันเจโลและโลเรนโซ กีแบร์ตีในมหาวิหารฟลอเรนซ์เป็นอย่างมาก จึงได้สมัครเป็นลูกมือช่วยงานศิลปินที่มีชื่อเสียงตามสตูดิโอต่างๆของเมืองฟลอเรนซ์ เขามีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะศึกษาวิชาศิลปะและเป็นศิลปินให้ได้ อย่างไรก็ตามบิดามารดาของคอร์ราโดกลับไม่เห็นด้วยกับความคิดของเขาเพราะต้องการให้มาสืบทอดธุรกิจของครอบครัวต่อไปมากกว่า แต่คอร์ราโดมีความตั้งใจที่จะศึกษาศิลปะอย่างแรงกล้า จึงได้เก็บสะสมเงินและเข้าศึกษาในสถาบันศิลปแห่งนครฟลอเรนซ์ (Accademia di Belle Arti di Firenze) หลักสูตร 7 ปี ในปีพ.ศ. 2451 และจบการศึกษาในปีพ.ศ. 2458 ในขณะที่มีอายุ 23 ปีด้วยเกียรตินิยมอันดับที่หนึ่ง และได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียน ต่อมาได้สอบคัดเลือกและได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ประจำราชวิทยาลัย ศาสตราจารย์คอร์ราโดมีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ วิจารณ์ศิลป์และปรัชญาโดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรมเป็นอย่างสูง ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะไว้มากมายและได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดออกแบบอนุสาวรีย์จากรัฐบาลหลายครั้ง อาทิเช่น ผลงานอนุสาวรีย์ผู้กล้าในสงครามโลกครั้งที่ 1 บนเกาะเอลบา เป็นต้น

การเข้ารับราชการในแผ่นดินสยาม
ศาสตราจารย์คอร์ราโด สมรสกับนางแฟนนี วิเวียนนี มีบุตรสาวชื่อ อิซซาเบลล่า และสืบเนื่องจากปี พ.ศ. 2466 ท่านได้ชนะการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยามที่จัดขึ้นในยุโรปและยังมีความต้องการแสวงหาสถานที่ปฏิบัติงานแห่งใหม่ ประกอบกับในช่วงเวลานั้นซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ต้องการบุคลากรที่เชี่ยวชาญในด้านศิลปะตะวันตกเพื่อที่จะเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นในแผ่นดินไทยและทำการฝึกสอนช่างไทยให้มีความสามารถในการสร้างงานประติมากรรมแบบตะวันตกได้ ทางรัฐบาลอิตาลีจึงได้ยื่นข้อเสนอโดยการส่งคุณวุฒิและผลงานของศาสตราจารย์คอร์ราโดให้สยามพิจารณา โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นบุคคลสำคัญในการคัดเลือกศาสตรจารย์คอร์ราโดให้มาปฏิบัติงานในสยาม ด้วยเหตุนี้ศาสตราจารย์คอร์ราโดจึงเดินทางสู่แผ่นดินสยามพร้อมกับภรรยาและบุตรสาวโดยทางเรือ เพื่อเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร กระทรวงวัง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 ขณะมีอายุได้ 32 ปี และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภา ในปี พ.ศ. 2469

เมื่อแรกเริ่มการเข้ารับราชการ ศาสตาจารย์คอร์ราโดทำสัญญารับราชการในสยามเป็นระยะเวลา 3 ปี ด้วยอัตราเงินเดือน 800 บาท แต่ในตอนแรกก็ยังไม่ได้รับการยอมรับมากเท่าใดเนื่องจากยังไม่มีใครได้เห็นฝีมือของท่าน จนกระทั่งได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งได้ประทับทดลองเป็นแบบปั้นให้กับศาสตราจารย์คอร์ราโด และปรากฏว่าศาสตราจารย์คอร์ราโดสามารถปั้นได้อย่างสมจริงเป็นอย่างมาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์จึงกราบบังคมทูล เชิญให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จมาเป็นแบบจริงให้แก่ศาสตราจารย์คอร์ราโด โดยปั้นหุ่นเฉพาะพระพักตร์ ได้เป็นที่พอพระราชหฤทัยและเป็นที่ยอมรับของคนในกระทรวง แรกเริ่มศาสตราจารย์คอร์ราโดได้วางหลักสูตรอบรมให้แก่ผู้ที่สนใจในวิชาประติมากรรมซึ่งส่วนมาจบการศึกษามาจากโรงเรียนเพาะช่างโดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมใดๆ ซึ่งต่อมาบุคคลที่ผ่านการอบรมก็ได้เป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของกิจการงานปั้นหล่อของกรมศิลปากร ทำให้ทางราชการได้ขอให้ศาสตราจารย์คอร์ราโดวางหลักสูตรการศึกษารูปแบบเดียวกันกับสถาบันศิลปะในยุโรป

ศาสตรจารย์คอร์ราโดได้วางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้น เพื่อใช้ในโรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ที่พระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์) ก่อตั้งขึ้น ภายหลังได้รวมโรงเรียนเข้ากับโรงเรียนนาฏยดุริยางคศาสตร์และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง” และพัฒนาการเรียนการสอนเรื่อยมา จนในปี พ.ศ. 2485 กรมศิลปากรได้แยกจากกระทรวงศึกษาธิการไปขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในขณะนั้นโดย ฯพณฯจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะว่าเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งสาขาหนึ่งของชาติ จึงได้มีคำสั่งให้ อธิบดีกรมศิลปากร ในขณะนั้นคือ พระยาอนุมานราชธน ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร และจิตรกรรมควบคู่ไปกับตำแหน่งอาจารย์ผู้สอนอีกด้วยตราพระราชบัญญัติ ยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 โดยจัดตั้งคณะจิตรกรรมและประติมากรรม ขึ้นเป็นคณะวิชาแรก ซึ่งศาสตราจารย์คอร์ราโดก็ได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรกของคณะ

การได้รับสัญชาติไทยและชีวิตในบั้นปลาย

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2485 ประเทศอิตาลียอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ชาวอิตาลี ในประเทศไทยจึงตกอยู่ภายใต้การควบคุมตัวของญี่ปุ่น เนื่องจากฝ่ายญี่ปุ่นเองต้องการสืบให้ทราบว่าชาวอิตาลีกลุ่มนี้ภักดีต่อกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซาวอยผู้ซึ่งประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรหรือสนับสนุนฝ่ายสาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลีที่ประกาศขอสู้ต่อกันแน่ ทำให้ศาสตราจารย์คอร์ราโดเองก็ถูกควบคุมตัวไว้เช่นกัน แต่รัฐบาลไทยได้เล็งเห็นถึงความสามารถท่านและได้ขอควบคุมตัวศาสตราจารย์คอร์ราโด เฟโรจีเอาไว้เองเพื่อคุ้มครองท่านไว้ ไม่ต้องไปถูกเกณฑ์เป็นเชลยศึกให้สร้าง ทางรถไฟสายมรณะ และสะพานข้ามแม่น้ำแคว เมืองกาญจนบุรี โดยหลวงวิจิตรวาทการ ได้ดำเนินการทำเรื่องราวขอโอนสัญชาติจากสัญชาติอิตาลีมาเป็นสัญชาติไทย โดยเปลี่ยนชื่อของท่านจากนายคอร์ราโด เฟโรจีให้มาเป็น "นายศิลป์ พีระศรี" นับแต่นั้นเป็นต้นมา

แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงอย่างมากภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ค่าครองชีพในประเทศไทยสูงขึ้น ทำให้สถานะทางการเงินของท่านได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก โดยเขาจำต้องขายทั้งรถยนต์และบ้าน รวมถึงที่ดิน เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตทางการเงิน แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ในท้ายที่สุด เขาจึงจำเป็นต้องเดินทางกลับไปยังอิตาลี ประเทศบ้านเกิดพร้อมกับครอบครัวหรือก็คือการลาออกจากราชการนั่นเอง แต่เนื่องจากงานในประเทศไทยที่ยังคงติดค้างอยู่มาก รวมไปถึงความรักในประเทศไทยและอุดมการณ์ในการพัฒนาวงการศิลปะไทยของท่าน ทำให้เขาตัดสินใจเดินทางกลับมารับราชการและรับตำแหน่งเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยศิลปากรอีกครั้งในพ.ศ. 2492 แต่ในครั้งนี้นางแฟนนี อิซาเบลลาและโรมาโน(ลูกชายที่เกิดในประเทศไทย) นั้นไม่ได้เดินทางกลับมาด้วย ทำให้อาจารย์ศิลป ต้องจากครอบครัวและหยุดชีวิตสมรสของท่านลงเช่นกัน



ศาสตราจารย์ศิลป์ แต่งงานใหม่กับนางมาลินี เคนนี่ ในปีพ.ศ. 2502 แต่ไม่ได้มีบุตรด้วยกัน โดยยังคงทุ่มเทเวลาและอุทิศชีวิตให้กับวงการศิลปะไทยเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2505 ท่านได้ล้มป่วยลงด้วยอาการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก่อนจะถึงแก่อนิจกรรมในวันที่14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ที่โรงพยาบาลศิริราช ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวภายหลังการเข้ารับการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ สิริอายุได้ 69 ปี 241 วัน โดยมีพิธีพระราชทานเพลิงศพที่เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่17 มกราคม พ.ศ. 2506 ซึ่งอัฐิถูกแยกไปสามส่วนด้วยกันคือที่สุสานชิมิเตโร เดญลี อัลลอรี เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ส่วนที่สองถูกบรรจุในอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ณ ลานศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ และส่วนที่สามถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป พีระศรี อนุสรณ์ ในกรมศิลปากร
โดยตลอดชั่วชีวิตการทำงานกว่า 39 ปีในประเทศไทย ท่านได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้ออกแบบปั้นและควบคุมการหล่อพระบรมราชานุสาวรีย์และอนุสาวรีย์สำคัญของประเทศไทยจำนวนมาก และยังรวมไปถึงการออกแบบพระพุทธรูปประธานที่พุทธมณฑล ซึ่งศาสตราจารย์ศิลป์ ได้ศึกษาพระพุทธรูปลีลาของศิลปะสุโขทัยอย่างลึกซึ้ง จนสามารถสร้างพระพุทธรูปลีลาที่มีการผสมผสานรูปแบบศิลปะสุโขทัยเข้ากับศิลปะไทยสมัยใหม่และมีความงดงามเป็นอย่างมากที่สุดองค์หนึ่งของไทย ผลงานของท่านยังคงปรากฏให้เห็นต่อสายตาชาวไทย เฉกเช่นเดียวกับคุณงามความดีของท่านที่ยังเป็นที่ระลึกถึงเสมอมา

ชีวิตส่วนตัว
เขาถือเป็นบุคคลที่มีใจรักในศิลปะมาตั้งแต่เด็ก เป็นสิ่งทีท่านให้ความสนใจมากกว่าสิ่งอื่นใด ท่านก็สามารถส่งเสียตัวเองจนเรียนจบด้วยเกียรตินิยมอันดับที่ 1 และสามารถสอบเข้าเป็นศาสตราจารย์ได้ตั้งแต่อายุยังน้อย แต่งงานครั้งแรกกับนางพาโอล่า แองเจลินี แต่ก็ได้ขอแยกทางตามคำสั่งศาลในหนึ่งปีให้หลัง จากนั้นท่านแต่งงานใหม่กับ แฟนนี วิเวียนนี มีบุตรสองคน บุตรสาวชื่อ อิซาเบลลา ส่วนบุตรชายชื่อ โรมาโน (เกิดและเติบโตที่ไทย) เมื่อเข้ารับราชการในประเทศไทยท่านได้รับเงินเดือนที่เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัวของท่าน เขามีนิสัยรักธรรมชาติ ชอบความเรียบง่ายและหลงรักในวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างมาก มีความตั้งใจจริงที่จะช่วยพัฒนาวงการศิลปะไทยให้ก้าวหน้า ในมุมมองของลูกศิษย์นั้น เขาเป็นคนที่มีความรักใคร่ ห่วงใยละปรารถนาดีต่อลูกศิษย์เป็นอย่างมาก ในเวลาสอนเขาจะจริงจังและเป็นคนที่มีความตรงต่อเวลา สอนด้วยความเข้มงวดและมักจะพร่ำสอนให้นักศึกษาทำงานหนักอยู่เป็นประจำ เพราะงานศิลปะที่ดีนั้นย่อมมาจากการฝึกฝนอย่างหนัก โดยท่านยังมีความเป็นกันเองกับนักศึกษา มักจะแทนตัวเองว่า “ฉัน” และแทนนักศึกษาว่า “นาย” เมื่อนักศึกษาคนไหนขาดแคลนทุนทรัพย์ท่านก็มักจะช่วยเหลือเสมอ ท่านยังโปรดปรานการฟังเพลงเป็นอย่างมาก โดยเพลงที่ท่านมักจะฮัมเวลาทำงานอยู่บ่อยๆก็คือเพลงซานตาลูเซีย เพลงพื้นเมืองภาษาอิตาลีซึ่งภายหลังได้กลายมาเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร

ศาสตราจารย์ศิลป์ ยังเป็นคนที่ตั้งใจในการทำงานอย่างแท้จริง ท่านจะมาทำงานตั้งแต่เช้าตรู่ ใช้เวลาพักผ่อนในช่วงกลางวันแค่สั้นๆเพื่อที่จะไม่เป็นการเสียเวลาต่อการทำงาน และจะกลับบ้านก็ต่อเมื่อค่ำแล้วเท่านั้น โดยจะใช้เวลาไปกับการทำงานในห้องทำงาน สอนนักศึกษาและหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านจะพิมพ์คัดลอกเอกสารสำหรับสอนนักศึกษาไว้เพิ่มเติมอีกหนึ่งชุดเสมอเพื่อป้องกันความเสียหายจากระเบิด หลังจากสงครามสิ้นสุดท่านจำต้องขายทั้งรถ บ้านและที่ดินเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตการเงินครอบครัว แต่ก็ยังปั่นจักรยานจากบ้านทางถนนสุขุมวิทมาสอนอยู่ทุกวัน เมื่อจำเป็นต้องเดินทางกลับอิตาลีเพราะวิกฤตทางการเงินแต่ท่านก็ยังห่วงงานที่ประเทศไทยที่ยังคงคั่งค้าง จึงจำเป็นต้องแยกทางกับครอบครัวเพื่อที่จะมาสานต่ออุดมการณ์ของท่านต่อ ในช่วงบั้นปลายแม้จะป่วยหนักแต่เขาก็ยังทำงานของท่านต่อ ท่านยังตรวจข้อสอบของนักศึกษาในขณะที่รักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช ท่านได้บอกกล่าวกับลูกศิษย์ไว้ว่า "นาย ถ้าฉันตาย นายนึกถึงฉัน นายรักฉัน นายไม่ต้องไปทำอะไร นายทำงาน" ซึ่งเป็นคำสอนที่ลูกศิษย์ยึดถือไว้อีกประโยคหนึ่งเพื่อช่วยสืบต่ออุดมการณ์ของศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ในการพัฒนาวงการศิลปะไทยต่อไปตราบนานเท่านาน

คุณูปการต่อศิลปะไทย
 
พระพุทธรูปประธานที่พุทธมณฑล ผลงานที่มีการผสมผสานความงามแบบเก่าและใหม่อย่างลงตัว ถือเป็นการริเริ่มศิลปะไทยสมัยใหม่อย่างแท้จริง

ศาสตราจารย์ศิลป์ มีอุดมการณ์ที่จะต้องการพัฒนาวงการศิลปะไทยให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นไปอีก และในยุคที่ศิลปะตะวันตกกำลังรุ่งเรืองในประเทศไทย สิ่งที่ท่านเล็งเห็นก็คือการทำอย่างไรให้คนไทยสามารถสร้างผลงานรูปแบบตะวันตกได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องว่าจ้างช่างตะวันตก และมีงานศิลปะที่เป็นตัวของตัวเองไม่ลอกเลียนแบบตะวันตกไปเสียหมด ด้วยแนวคิดนี้จึงเกิดโรงเรียนประณีตศิลปกรรมขึ้นเพื่อเพาะพันธุ์เมล็ดศิลปินที่จะเติบโตไปเป็นช่างแห่งกรุงสยามในภายภาคหน้า อีกสาเหตุหนึ่งที่ท่านตัดสินใจตั้งโรงเรียนขึ้นก็เพราะท่านมองว่าการเปิดโรงเรียนสอนเพื่อผลิตศิลปินนั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อวงการศิลปะมากกว่าการสร้างสรรค์งานแต่ตัวท่านเพียงลำพัง นอกจากนี้เขายังได้มีส่วนช่วยในการจัดหาทุนทรัพย์และทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาศิลปะชาวไทยเพื่อรักษาให้ชาติยังคงมีศิลปินหน้าใหม่เกิดขึ้นต่อไป เนื่องจากในยุคข้าวยากหมากแพงนั้นผู้ปกครองแทบทุกคนไม่สนับสนุนให้ลูกของตนเรียนวิชาศิลปะ เขาจึงได้พยายามอย่างสุดความสามารถให้ไทยสามารถมีช่างที่มีฝีมือได้ต่อไป ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเพราะบรรดาลูกศิษย์ของท่านเริ่มเป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง

จากความรู้ในด้านศิลปะตะวันตกที่ท่านได้พร่ำสอนให้แก่ลูกศิษย์นี้เองทำให้วงการศิลปะไทยเกิดศิลปินหน้าใหม่ที่มีฝีมือและรูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่ออกมาได้ ศาสตราจารย์ศิลป์ ได้รับมอบหมายให้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์และอนุสาวรีย์สำคัญของไทยมากมายหลายแห่ง ซึ่งท่านได้ใช้ความรู้ในด้านศิลปะตะวันตกสร้างงานแต่ก็ยังมิได้ละทิ้งความงามของศิลปะไทยหรือที่เรียกกันว่า ศิลปะแบบไทยประเพณีไป ทั้งนี้เพราะท่านได้เล็งเห็นว่าศิลปะไทยก็มีความงามและเอกลักษณ์เป็นของตน อีกทั้งช่างไทยยังได้มีการสืบทอดความรู้วิชาในด้านศิลปะไทยมายอย่างยาวนาน การที่จะทำให้วงการศิลปะไทยก้าวหน้าก็ต้องไม่ลืมรากเหง้าเดิมของไทยที่มีมาแต่โบราณ ท่านจึงได้ทำการศึกษาศิลปะไทยอย่างละเอียดโดยเฉพาะการศึกษาพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัยที่ท่านได้ยกย่องไว้ว่ามีความงดงามเป็นที่สุด ได้มีการศึกษารูปแบบศิลปะของพระพุทธรูปและมีบทความวิชาการตีพิมพ์ออกมามากมาย ก่อนที่จะประสบความสำเร็จในการออกแบบพระพุทธรูปพระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดของความงามของศิลปะไทย มีการนำความรู้ใหม่คือศิลปะตะวันตกในลัทธิสัจนิยมที่เชื่อในเรื่องของความสมจริงมาผนวกใช้กับความงามแบบดั้งเดิมของศิลปะสุโขทัย ที่สร้างแบบศิลปะไทยประเพณีจนก่อให้เกิดความงามรูปแบบใหม่ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นต้นแบบของศิลปะไทยสมัยใหม่อย่างแท้จริง เนื่องจากเขาได้เป็นผู้วางรากฐานให้อย่างมั่นคง จึงส่งผลให้ศิลปินรุ่นหลังสามารถสืบทอดงานศิลปะไทยออกไปได้อย่างเต็มที่

นอกไปจากนั้นแล้วศาสตราจารย์ศิลป์ ยังได้เป็นกำลังหลักในการผลักดันให้เกิดการประกวดวาดเส้น จิตรกรรมและประติมากรรม จนเกิดเป็นงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติขึ้น มีจุดประสงค์ให้ศิลปินไทยเกิดการแข่งขันในการสร้างสรรค์ผลงานที่ดีออกสู่สาธารณชนและช่วยให้ศิลปะไทยมีความก้าวหน้าต่อไปได้อย่างไม่มีหยุด และเล็งเห็นต่องานช่างและงานศิลปะไทยในสาขาอื่นๆ จึงได้ส่งเสริมให้มีการก่อตั้งคณะในมหาวิทยาลัยศิลปากรเพิ่มคือคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งในระยะแรกเรียกว่าคณะสถาปัตยกรรมไทย คณะโบราณคดี และคณะมัณฑนศิลป์

 ด้วยคุณูปการนานัปการนี้ ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี จึงได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทยที่ได้พลิกโฉมรูปแบบศิลปะไทยแบบเดิมให้มีความก้าวหน้าไปอย่างสูงทัดเทียมสากล เกิดศิลปินและผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากที่สามารถสืบทอดงานศิลปะไทยต่อไปได้นานเท่านาน ไม่เพียงแต่งานด้านจิตรกรรม ประติมากรรมแต่ยังรวมไปถึงงานด้านสถาปัตยกรรม โบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะ รวมไปถึงมัณฑนศิลป์อีกด้วย

ผลงานประติมากรรมของ ศิลป์ พีระศรี
•   สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (เฉพาะพระเศียร) - ทำจากสำริด ถือเป็นผลงานชิ้นแรกที่ทำให้ศาสตราจาย์ศิลป์เป็นที่รู้จัก
•   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (เฉพาะพระเศียร) - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างมากหลังได้เห็นพระบรมรูปของพระองค์
•   พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครึ่งพระองค์) - ทำปูนปลาสเตอร์ ปัจจุบันอยู่ที่กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร
•   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล 2 องค์ - ทำปูนปลาสเตอร์ ปัจจุบันอยู่ที่กองหัตถศิลป์
•   พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า - เป็นประติมากรรมนูนต่ำด้วยปูนปลาสเตอร์ ปัจจุบันอยู่ที่หอศิลปแห่งชาติ
•   สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ครึ่งพระองค์) - ทำจากปูนปลาสเตอร์ ปัจจุบันอยู่ที่กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร
•   สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาส (ครึ่งองค์) - ปัจจุบันอยู่ในกรมศิลปากร
•   พระญาณนายก (ปลื้ม จันโทภาโส มณีนาค) วัดอุดมธานี จังหวัดนครนายก - เป็นประติมากรรมนูนสูง ทำจากปูนพลาสเตอร์
•   หลวงวิจิตรวาทการ (ครึ่งตัว) - ทำจากปูนปลาสเตอร์ ปัจจุบันอยู่ที่กรมศิลปากร
•   ม.ร.ว.สาทิศ กฤดากร (เฉพาะศีรษะ) - ทำจากบรอนซ์
•   นางมาลินี พีระศรี (เฉพาะศีรษะ) - ปัจจุบันตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ กรุงเทพมหานคร
•   โรมาโน (ลูกชาย ภาพร่างไม่เสร็จ) - ปัจจุบันอยู่ที่กรมศิลปากร
•   นางมีเซียม ยิบอินซอย (รูปเหมือนครึ่งตัว) - ทำจากบรอนซ์ ปัจจุบันอยู่ที่หอศิลปแห่งชาติ
•   พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (เฉพาะพระเศียร)
•   พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช - ครึ่งพระองค์ ปั้นไม่เสร็จ เพราะเสียชีวิตก่อน

การรำลึกและอนุสรณ์

วันสำคัญ
มีการรำลึกถึงท่านทุกวันที่ 15 กันยายน ซึ่งตรงกับวันคล้ายเกิดของท่าน เรียกกันว่าวันศิลป พีระศรี โดยถือเป็นวันสำคัญของวงการศิลปะไทยและนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ในวันศิลป์ พีระศรี มหาวิทยาลัยศิลปากร จะจัดกิจกรรมขึ้นภายในมหาวิทยาลัยเพื่อให้ศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่าหรือผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน มีการวางดอกไม้เป็นการรำลึกถึงท่านที่ลานอาจารย์ศิลปบริเวณหน้าคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ โดยนักศึกษาจะเปิดร้านขายของที่ระลึกและมีการแสดงดนตรีสดตลอดทั้งวัน นอกจากนั้นยังมีการเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมแสดงความเคารพต่ออัฐิของท่านในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป พีระศรี อนุสรณ์ และพิธีสำคัญจะเริ่มขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งทุ่ม ซึ่งจะเป็นการจุดเทียนที่ลานอาจารย์ศิลป ร่วมร้องเพลงซานตา ลูเซียและ เพลงศิลปากรนิยม เพื่อเป็นการรำลึกถึงท่านในวันสำคัญนี้

อนุสาวรีย์และอนุสรณ์สถาน
 
อนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
เหล่าลูกศิษย์ก็ได้มีความพยายามที่จะจัดสร้างอนุสาวรีย์ของเขาเพื่อเป็นเกียรติแด่ท่านที่ได้มีคุณูปการต่อศิลปะไทยและเป็นผู้ก่อตั้งและวางรากฐานให้แก่มหาวิทยาลัยศิลปากร แต่เนื่องด้วยกฎหมายของประเทศไทยในตอนนั้นไม่อนุญาตให้มีการจัดตั้งอนุสาวรีย์ของคนต่างชาติในประเทศได้ ถึงอย่างนั้นอาจารย์สนั่น ศิลากรณ์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์รุ่นแรก ๆ ของเขา ได้แอบสร้างอนุสาวรีย์ของเขาขนาดเท่าคนจริงขึ้น แต่ก็ไม่มีที่ที่จะสามารถจัดตั้งได้จึงจำเป็นต้องเก็บเอาไว้ในห้องคณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ จนกระทั่งในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ นำโดยพิษณุ ศุภนิมิตร ได้เข้าไปนำอนุสาวรีย์ออกมาจากห้องคณบดี ก่อฐานแล้วทำการติดตั้งอนุสาวรีย์เขาโดยไม่เกรงกลัวกับการโดนจับ ซึ่งในปัจจุบันอนุสาวรีย์นี้ก็ยังคงตั้งอยู่เช่นเดิม โดยลานแห่งนี้มีชื่อเรียกกันในหมู่นักศึกษาว่า ลานอาจารย์ศิลป และยังมีการสร้างเพิ่มเติมในภายหลังที่วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์และวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีอีกด้วย
นอกเหนือไปจากการจัดทำอนุสาวรีย์แล้วยังได้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพื่อเป็นเสมือนอนุสรณ์สถานแก่เขา โดยใช้ชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป พีระศรี อนุสรณ์ โดยเป็นความร่วมมือกันระหว่างบรรดาลูกศิษย์และผู้ใกล้ชิดเขา เพื่อรำลึกถึงคุณูปการของท่าน ตั้งอยู่ในกรมศิลปากร มีการทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2527 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 92 ปี ของท่าน โดยนายชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้นมาเป็นประธานในพิธี ซึ่งปัจจุบันพิพิธภัณฑ์แห่งนี้สังกัดในสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ในเครือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ภายในตัวอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวร มีการแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 2 ห้องจัดแสดง คือห้องชั้นนอกตรงทางเข้าพิพิธภัณฑ์จัดแสดงผลงานศิลปะของลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด อาทิเช่น ผลงานของ เฟื้อ หริพิทักษ์, ชลูด นิ่มเสมอ, เขียน ยิ้มศิริ และ สวัสดิ์ ตันติสุข ซึ่งถือเป็นศิลปินรุ่นแรก ๆ ของศิลปะไทยแบบสมัยใหม่ที่ได้สืบทอดความรู้ ความคิดสร้างสรรค์และอุดมการณ์ที่เขาได้วางรากฐานไว้ให้ ในส่วนของห้องที่สองหรือห้องชั้นใน จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ของเขาในช่วงที่ท่านยังมีชีวิต เช่น โต๊ะทำงาน เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องมือปั้น เป็นต้น โดยในห้องที่สองนี้ได้มีการจำลองห้องทำงานแบบดั้งเดิมในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ รวมไปถึงแบบร่างอนุสาวรีย์และประติมากรรมชิ้นสำคัญและหนังสือหายากที่เขาเคยใช้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะตะวันตกซึ่งให้บริการแก่ผู้เข้าชมอีกด้วย

เกียรติยศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์

•   พ.ศ. 2497 –   เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
•   พ.ศ. 2495 –   เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
•   พ.ศ. 2496 –   เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))
•   พ.ศ. 2485 –   เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 4 (ว.ป.ร.4)
 
สมัญญานาม
•   บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย



บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #44 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2566, 03:14:08 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @กิ่งดาว จันทร์สวัสดิ์






....โอ๊ยโอยโอ๊ยเจ็บโอ๊ยโอยโอ๊ยเจ็บ….เจ็บที่ใจฉันนี่
โดนเขามาย่ำยีผลาญพล่าไม่ปราณี….ขยี้จนทนไม่ไหว

โอ๊ยโอยโอ๊ยเจ็บโอ๊ยโอยโอ๊ยเจ็บ….เจ็บแสบแทบร้องไห้
เรารักเขาตลอดใจรักเขาตลอดกาย….ยังมิวายถูกลวง

โอยโอ๊ยโอยโอ๊ยโอยโอยโอ๊ยเจ็บ….เจ็บโอ๊ยเจ็บเจ็บเจ็บเจ็บที่ทรวง
ปวดโอ๊ยปวดปวดจนน้ำตาร่วง….โดนรักหักทรวงหัวใจแทบฉีกสลาย

โอ๊ยโอยโอ๊ยเจ็บโอ๊ยโอยโอ๊ยเจ็บ….เจ็บจนทนไม่ได้
จึงตั้งคำสาปไว้ขอเวรแห่งใจ….สาปให้ไกลผู้ชาย

โอ๊ยโอยโอ๊ยเจ็บโอ๊ยโอยโอ๊ยเจ็บ….เจ็บที่ใจฉันนี่
โดนเขามาย่ำยีผลาญพล่าไม่ปราณี....ขยี้จนทนไม่ไหว

โอ๊ยโอยโอ๊ยเจ็บโอ๊ยโอยโอ๊ยเจ็บ….เจ็บแสบแทบร้องไห้
เรารักเขาตลอดใจรักเขาตลอดกาย…..ยังมิวายถูกลวง

โอยโอ๊ยโอยโอ๊ยโอยโอยโอ๊ยเจ็บ….เจ็บโอ๊ยเจ็บเจ็บเจ็บเจ็บที่ทรวง
ปวดโอ๊ยปวดปวดจนน้ำตาร่วง......โดนรักหักทรวงหัวใจแทบฉีกสลาย

โอ๊ยโอยโอ๊ยเจ็บโอ๊ยโอยโอ๊ยเจ็บ…..เจ็บจนทนไม่ได้
จึงตั้งคำสาปไว้ขอเวรแห่งใจ………สาปให้ไกลผู้ชาย




 .....แรกยินเพลง”โอ้ยเจ็บ”.......ถูกใจ  ม่วนแฮ
     “กิ่งดาว” เปิดตัวไป............เด่นแท้
      เสียงเธอที่แหลมใส...........โดดเด่น    ดีนา
      เต็มที่อารมณ์แล้...............ร่วมด้วยครืนเครง
  
.....อีกเพลงหนาชื่อแท้.............จำยาก
    แต่”ปู(น้อย)หนีบมือ”มาก.......รู้แน่
   แลเพลง”จ่ายตลาด”หลาก........คนบ่น    มากแน
   การณ์ร่วมสมัยแต้...............   ช่วยแก้ของแพง

กิ่งดาว จันทร์สวัสดิ์
เจ้าของเพลง เซ้าๆอย่าเว้าหลาย (คนชอบเรียก ปูน้อยหนีบมือ จนกลายเป็นอีกชื่อของเพลงนี้)
ที่ดังมากในอดีต

ชื่อจริง กันยา จันทร์สวัสดิ์ ชื่อเล่น ตุ่ม (แต่คนชอบเรียก ปู ตามเนื้อในเพลง)
เกิดเดือนกันยายน ปี 2494 (พ่อแม่ตั้งชื่อจริงเธอตามเดือนเกิด)

-ชอบร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก เคยประกวดร้องเพลงในงานวัดคลองเตย ชนะเลิศ จึงไปสมัครเป็นนักร้องกับวงพยงค์ มุกดา ต่อมาออกจากวงโดยเธอให้เหตุผลว่าตอนนั้นยังเด็ก เห็นหน้าครูพยงค์ดุๆเลยกลัวมาก! ออกจากวงพยงค์ มุกดา ไปอยู่กับวงดนตรีจิระบุตร เพลงแรกที่เธอได้อัดแผ่นคือ เพลง สิทธิหัวใจ
.....ต่อมาได้ไปเล่นหนัง รักเธอเสมอ (2513) ของชรินทร์ นันทนาคร เพลงปูน้อยหนีบมือ หรือ เซาๆอย่าเว้าหลาย ซึ่งอยู่ในหนังดังมาก (หนังเรื่องรักเธอเสมอ ประสบความสำเร็จมาก) เธอจึงมีชื่อเสียงขึ้นมาทันใด!
..... เธอได้ร้องเพลงประกอบหนังอีกคือ เพลง บ้านสาวโสด และเพลง จ่ายตลาด ในหนังเรื่องบ้านสาวโสด ดังทั้งสองเพลง, เพลง มดตะนอย ในหนังชื่อเดียวกัน อีกเพลงที่ดังคือ โอ๊ย..เจ็บ ที่ร้องว่า โอ๊ย โอย โอ๊ย เจ็บ...
-ผลงานหนังเรื่องอื่นๆ เช่น ทุ่งเศรษฐี (2514), แม่ศรีไพร (2514) ฯลฯ แต่เธอไม่ค่อยชอบแสดงหนัง ด้วยเหตุผลที่ว่าทำงานหนัก แต่หลายครั้งที่ได้เงินไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย บางครั้งตกลงไว้อย่าง แต่จ่ายให้อีกอย่าง โดนเบี้ยวก็หลายครั้ง





บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 9   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: