You are here: Khonphutorn.com - แหล่งข้อมูลของคนไทยหมวดความบันเทิงโคลง (ผู้ดูแล: ครภูธน®)เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พุ่มพวง ดวงจันทร์
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9   ลงล่าง
 
ผู้เขียน หัวข้อ: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พุ่มพวง ดวงจันทร์  (อ่าน 27913 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #90 เมื่อ: 03 เมษายน 2566, 07:29:35 PM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @สี่ทหารเสือราชินี ครูคำสอน สระทอง



























.......ศิลปินเรื่องผ้า..................ไหมไทย
       สืบต่ออาชีพใน.................ถิ่นท้อง
       “ราชา””ราชญี”ไทย...........ส่งเสริม    รักษ์นา
        “สี่ทหารเสือราชินี”ซ้อง.......ครูช่างผ้าไทย.....

  ......สาว”ผู้ไทย”ไม่ให้..............มีผัว
     หากไม่เป็นงานนัว..............กี่ผ้า
    ปลูกหม่อนหนอนไหมหัว......ช่ำชอง  เก่งนา
      ทอซิ่นเป็นทอผ้า................แต่งได้ถูกตา....
      
.....”ไหมแพรวา”ชื่อผ้า.............ทอมือ
      คลุมไหล่สไบหรือ.............”ผ้าเบี่ยง”
      ไหมสีมากกว่าคือ...............ความต่าง  เด่นนา
      ลายหลักลายคั่นเลี้ยง..........”ลายช่อปลายเชิง”....
      
 ....รำเพิงคราที่ได้...................ไปรับ   เสด็จ
     สวยเด่นสไบทับ..................ซิ่นเสื้อ  
     “ราชญี”ทรงกำชับ...............ช่วยทอ  ให้นา
     ทรงจ่ายทุนแรกเชื้อ..............เริ่มต้นประเดิม....

 ....ทรงเสริมปรับแต่งหน้า..........ขวางยาว
     สาวไป่ตัดเย็บนาว...............เป่งเสื้อ
     รวมเป็นกลุ่มของชาว............ช่างทอ   ผ้านา  
    “กลุ่มสตรีทอผ้าแพรวา”เอื้อ.....ที่”บ้านโพน”แฮ....

 ....ทรงดูแลส่งผ้า...................ไปขาย
  “ที่สวนจิตรลดา”กลาย...........สร้างชื่อ
“คำสอน(สระทอง)”แม่ครูตาม....สอนสั่ง  ศิษย์นา
   ริเริ่มพัฒนาหื้อ.....................ช่างสร้างสรรค์ดี....

....เดิมทีมี”ผ้าแซ่ว...................เป็นตัว   อย่างนา
     สืบต่อในครอบครัว...............ซ้ำย่ำ
     ครูริเริ่มลายตัว....................เป่งสัตว์   เสริมนา
 เก็บลายใส่กระดาษกราฟย้ำ......ส่งให้ศิษย์ทำ....

....ศิลปะเพียรหมั่นได้................ฝีมือ
    เป็นแม่ครูระบือ....................ถิ่นท้อง
   วิทยากรถ่ายทอดพือ...............พร่ำสอน  เมตตา
   หนึ่งทหารเสือฯสานซ้อง..........ได้โล่ศิลปิน....

คำสอน สระทอง เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2482 ที่บ้านโพน ชุมชนชาวผู้ไทในอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นช่างทอผ้า ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2559 สาขาทัศนศิลป์ ประเภทประยุกต์ศิลป์ (ประณีตศิลป์-ทอผ้า) นางคำสอนได้พัฒนารูปแบบลวดลายให้สวยงามทั้งแบบดั้งเดิมและแบบสมัยนิยม สามารถประดิษฐ์ลวดลายได้อย่างประณีตงดงาม ได้คิดลวดลายผ้าแพรวารูปแบบใหม่ ๆ ประดิษฐ์รูปแบบการทอผ้าที่เรียกว่า เขาลาย หรือ ตะกรอลาย

คำสอนเกิดมาในครอบครัวเกษตรกร แต่ในส่วนตัวมีความสนใจเรื่องทอผ้ามาตั้งแต่เด็ก ๆ เริ่มหัดทอผ้าตั้งแต่อายุ 13 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แต่งงานเมื่อตอนอายุ 19 ปี กับสามีคือ นายบุรี สระทอง ชาวบ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยย่าของสามี คือ นางเบง สระทอง เป็นผู้สอนศาสตร์การทอผ้าไหมแพรวาให้ โดยเฉพาะลวดลายโบราณดั้งเดิม กับการปลูกฝังเรื่องการทอผ้าไหมแพรวา
      กระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2520 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เยี่ยมราษฎรที่อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ได้รับผ้าไหมแพรวาเข้ามาพัฒนาส่งเสริมเข้าสู่โครงการศิลปาชีพพิเศษ

    คำสอนเคยได้รับพระราชทานเงินจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จำนวน 40,000 บาท เพื่อเป็นทุนในการปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรสอนเทคนิคการทอผ้าไหมแพรวาให้แก่สมาชิก
    ได้รับรางวัลพระธาตุนาดูนทองคำ ผู้มีผลงานดีเด่นสาขาทัศนศิลป์ (ศิลปะการทอผ้าแพรวา)
    ได้รับคัดเลือกให้เป็นแม่ดีเด่นแห่งชาติ คนดีศรีกาฬสินธุ์ ครูภูมิปัญญาไทย
    นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ได้มอบปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์เมื่อ พ.ศ. 2557
    ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2559 สาขาทัศนศิลป์ ประเภทประยุกต์ศิลป์ (ประณีตศิลป์-ทอผ้า)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2560 – Order of the Direkgunabhorn 4th class (Thailand) ribbon.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)

    ห้วงยามที่มีความสุขของ ครูคำสอน สระทอง ผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์-ทอผ้า) พุทธศักราช ๒๕๕๙ คือขณะที่ท่านนั่งอยู่หน้ากี่และลงมือทอผ้าอย่างตั้งอกตั้งใจ กระทั่งลวดลายประณีตสวยงามปรากฏขึ้นบนผืนผ้าแพรวาที่กำลังทออยู่

            แพรวา หรือ ผ้าไหมแพรวา คือผ้าทอมือที่เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาวผู้ไท กลุ่มชนที่มีถิ่นเดิมอยู่บริเวณทางเหนือของลาวและเวียดนาม ก่อนอพยพโยกย้ายมาอยู่ทางอีสานของไทย ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร

            ครูคำสอนปัจจุบันอายุ ๗๘ ปี เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ที่บ้านโพน ชุมชนชาวผู้ไทในอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ท่านจึงเป็นเช่นเดียวกับหญิงผู้ไทคนอื่น ๆ นั่นคือมีโอกาสได้เห็นผู้หญิงรุ่นแม่และย่ายายในหมู่บ้านทอผ้ามาตั้งแต่จำความได้

           “คนเฒ่าคนแก่ชาวผู้ไทบ้านโพนมีคำสอนลูกหลานผู้หญิงว่า ‘ถ้าต่ำผ้ามิเป็นแจ ต่ำแพรมิเป็นฝากระตาดต้อน เล้งม้อนมิฮู้จักโตลุกโตนอน พ่อแม่มิให้เอาโผ’ หมายความว่า ผู้สาวในหมู่บ้านโพน ถ้าใครทอผ้าไม่เป็น เลี้ยงไหมไม่เป็น เขาไม่ให้แต่งงาน คือพ่อแม่ฝั่งผู้ชายเขาก็ไม่ชอบ เพราะเห็นว่าเราทำงานไม่เป็น”

            ครูคำสอนอธิบายพร้อมเล่าให้ฟังว่า ตัวท่านหัดทอผ้าตั้งแต่อายุ ๑๓ ปี หลังจากเรียนจบชั้น ป.๔ เริ่มจากการทอผ้าฝ้ายที่เป็นผ้าพื้นสำหรับตัดชุด กระทั่งเก่งขึ้นค่อยขยับมาทอลายผ้าซิ่นและผ้าแพรวาที่ทอยากขึ้นตามลำดับ

             แพรวาหมายถึงผ้าทอที่ยาว ๑ วา หรือ ๑ ช่วงแขน ดั้งเดิมเป็นผ้าหน้าแคบใช้สำหรับคลุมไหล่หรือห่มสไบเฉียงที่ชาวผู้ไทเรียกว่าผ้าเบี่ยง หญิงผู้ไทมักใช้แต่งกายในโอกาสที่ไปร่วมงานบุญประเพณีหรืองานสำคัญอื่น ๆ

            “แพรวาจะทอยากกว่าผ้าอย่างอื่น ถ้าผ้าขิดธรรมดาจะมี ๒ สี แต่แพรวามีหลายสี อาจใช้เส้นไหมสี ๔-๘ เส้น” ครูคำสอนอธิบาย
แพรวามีลวดลายผสมกันระหว่างลายขิดและจกบนผืนผ้า การทอแพรวาต่างจากผ้าอย่างอื่นก็คือ ในส่วนการจกซึ่งคือกรรมวิธียกเส้นด้ายยืน แล้วสอดเส้นไหมสีซึ่งเป็นเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปในผืนผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายนั้น การทอแพรวาแบบผู้ไทจะไม่ใช้อุปกรณ์อื่นช่วย ไม่ว่าเข็ม ไม้ หรือขนเม่น แต่จะใช้นิ้วก้อยจกเกาะเกี่ยว และสอดเส้นไหมสีแล้วผูกปมเส้นด้ายด้านบน โดยลวดลายแพรวาจะอยู่ด้านล่างของผืนผ้าในขณะทอ

            ลวดลายที่ปรากฏบนแพรวานั้นประกอบด้วยลาย ๓ ส่วน คือ ลายหลัก ลายคั่น และลายช่อปลายเชิง

            ลายหลักคือลายขนาดใหญ่ที่ปรากฏบนพื้นที่ส่วนใหญ่ของผืนผ้า แพรวาผืนหนึ่งมีลายหลักประมาณ ๑๓ ช่อง แต่ละช่องมีความกว้างสม่ำเสมอกัน

            ลายคั่นหรือลายแถบ เป็นลายขนาดเล็ก กว้างประมาณ ๔-๖ เซนติเมตร ทำหน้าที่คั่นหรือแบ่งลายหลักแต่ละช่อง

            ลายช่อปลายเชิง คือลายตรงส่วนปลายผ้าทั้งสองด้าน ทอติดกับลายคั่น ทำหน้าที่เป็นตัวเริ่มและตัวจบของลายผ้า

            ครูคำสอนเล่าว่าในสมัยก่อนหญิงผู้ไทในหมู่บ้านทอผ้ากันทุกครัวเรือน แต่ละบ้านจะมีกี่ทอผ้าตั้งอยู่ใต้ถุนหรือบนเรือน แต่ทอสำหรับใช้เอง ยังไม่ได้ขายให้พ่อค้าผ้าหรือคนภายนอก

            กระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เสด็จเยี่ยมพสกนิกรชาวอำเภอคำม่วง ครูคำสอนและชาวบ้านโพนก็พร้อมใจกันแต่งกายด้วยชุดผู้ไทไปรับเสด็จ

            “พวกเราบ้านโพนก็แต่งตัวแบบชุดผู้ไท คือใส่เสื้อผู้ไท ซิ่นผู้ไท ห่มทับด้วยสไบแพรวา สมเด็จพระราชินีนาถเสด็จฯ เข้ามาหา ตรัสว่า สวยนะ ผ้าที่ห่ม ถ้าข้าพเจ้าอยากได้ ทำให้ได้ไหม ชาวบ้านก็บอกว่าทำได้ พอรุ่งเช้าพระองค์ทรงให้ราชเลขานำเส้นไหมพระราชทานมาให้พวกเรา

            “พอพวกเราทอเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ก็นำผ้าไปทูลเกล้าถวายที่พระราชวังไกลกังวล พอพระองค์ทอดพระเนตรก็ตรัสว่าเป็นงานฝีมือที่สวยมาก ขอให้พวกเราทำไปเรื่อย ๆ สืบทอดภูมิปัญญาของปู่ย่าตายายอย่าให้สูญหาย ตั้งแต่นั้นมาท่านก็พระราชทานเส้นไหม ฟืม และเงินทุนมาให้พวกเราทอแพรวา เสร็จแล้วก็ส่งไปที่สวนจิตรลดาเพื่อจำหน่าย” ครูคำสอนเล่าด้วยความปลาบปลื้มปีติ

            นับจากเหตุการณ์คราวนั้นที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงทอดพระเนตรเห็นความงามของผ้าทอแพรวา จึงโปรดให้มีการสนับสนุนและมีพระราชดำริให้ขยายหน้าผ้าให้กว้างขึ้นเพื่อจะนำไปใช้ตัดเสื้อผ้าได้ ทำให้แพรวาเกิดการพัฒนาจนคนทั่วไปทั่วไปเห็นคุณค่า และกลายเป็นที่ต้องการของท้องตลาด อีกทั้งทำให้บ้านโพนมีชื่อเสียงขึ้นในฐานะแหล่งผลิตผ้าแพรวาชั้นดีที่ใคร ๆ ต่างแวะเวียนเข้ามาซื้อหาจับจอง ช่วยให้ชาวบ้านคนทอผ้ามีรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น
ครูคำสอนและเพื่อนบ้านยังได้รวมกันตั้งกลุ่มสตรีทอผ้าแพรวาบ้านโพนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๑ มีสมาชิกเริ่มต้นจำนวน ๑๐๒ คน โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการต่าง ๆ

            ผลงานในชีวิตที่ครูคำสอนปลาบปลื้มภูมิใจก็คือ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้เป็นผู้นำกลุ่มสตรีทอผ้าแพรวา อำเภอคำม่วง ทอผ้าไหมแพรวายาวที่สุดในโลก ๙๙ เมตร มี ๖๐ ลาย นำไปทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร

            ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้ทอผ้าไหมแพรวาขนาดหน้ากว้างพิเศษ ๘๐ เซนติเมตร ยาว ๙ เมตร มี ๑๐ ลาย รวม ๔๓ แถว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา ณ โรงพยาบาลศิริราช

            การทอผ้าเป็นงานที่ครูคำสอน สระทอง อุทิศตนทำด้วยใจรักมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน นับจากหัดทอกระทั่งพัฒนาฝีมือขึ้นเป็นลำดับ จนสามารถสร้างสรรค์ผลงานผ้าทอแพรวาที่โดดเด่นมากมายนับไม่ถ้วน ทำให้ตัวท่านได้รับการยกย่องและรางวัลต่าง ๆ มากมาย อาทิ

            พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดกลุ่มทอผ้าไหมดีเด่น ประเภทผ้าไหมทอ ๔-๘ เส้น จากคณะส่งเสริมสินค้าไหมไทย

            พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม สาขาทัศนศิลป์ (ทอผ้าแพรวา) จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

            พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในงานมหกรรมวิจิตรแพรวาราชินีแห่งไหม ประเภทผ้าไหมแพรวาลายเกาะ-ตัดชุด จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
รวมทั้งในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ท่านได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติพระธาตุนาดูนทองคำ ประเภทบุคคลดีเด่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สาขาทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยในคำประกาศเกียรติคุณตอนหนึ่งมีใจความว่า

            “...นางคำสอน สระทอง เป็นผู้มีความอุตสาหะ รักการเรียนรู้ ช่างสังเกตและมีความเป็นศิลปินมากกว่าความเป็นช่างฝีมือธรรมดา งานทอผ้าแพรวาจึงทรงคุณค่าในทางศิลปะ อันเกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นอกเหนือจากการศึกษางานฝีมือตามแบบอย่างของบรรพบุรุษอย่างถ่องแท้แล้ว ยังได้พยายามทดลองค้นคว้าหาวิธีการเพื่อพัฒนาการทอผ้าแพรวาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น ทั้งในด้านเทคนิคการทอผ้าและรูปแบบ ลวดลาย สีสัน ทำให้การทอผ้าแพรวาไม่เพียงแต่ทรงคุณค่าในรูปแบบประเพณีที่ดีของโบราณเท่านั้น แต่ยังมีความแปลกใหม่อย่างวิจิตรพิสดาร สืบทอดเป็นมรดกอันทรงคุณค่า...”

            โดยทั่วไปชาวผู้ไทแต่ละครอบครัวจะได้รับ “ผ้าแซ่ว” เป็นมรดกสืบทอดจากพ่อแม่หรือคนรุ่นก่อน ผ้าแซ่วก็คือผืนผ้าไหมทอลวดลายดั้งเดิม ผืนหนึ่งอาจมีลวดลายมากกว่าร้อยลาย ใช้สำหรับเป็นต้นแบบในการทอแพรวา ผู้ทอจะดูตัวอย่างลวดลายจากผ้าแซ่วเพื่อเลือกสรรไปใช้ ส่วนการจัดวางลายใดตรงส่วนไหนหรือให้สีสันอย่างไรขึ้นอยู่กับความคิดของผู้ทอ

            สิ่งที่ทำให้ครูคำสอนพิเศษแตกต่างจากผู้ทอแพรวารายอื่นคือ นอกจากทอผ้าด้วยลวดลายดั้งเดิมของบรรพบุรุษแล้ว ท่านยังคิดสร้างสรรค์ลวดลายแพรวาใหม่ ๆ ด้วยตัวเองอีกด้วย

            ตัวอย่างเช่นลายรูปช้าง ซึ่งผ้าทอแพรวาของผู้ไทไม่เคยปรากฏลวดลายนี้มาก่อน ครูคำสอนเผยที่มาว่าเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ท่านได้เห็นคนสุรินทร์พาช้างเข้ามาเดินรับบริจาคในหมู่บ้าน เห็นว่าช้างเป็นสัตว์ที่รูปร่างสวย จึงนำความประทับใจมาออกแบบเป็นลายผ้า หรือลวดลายนกยูงรำแพนที่ครูคำสอนออกแบบในช่วงปีเดียวกัน ก็เกิดจากท่านได้ไปเห็นนกยูงรำแพนอย่างสวยงามที่วัดภูค่าว อำเภอสหัสขันธ์

            รวมทั้งลายดอกหงอนเงือก (เงือกหมายถึงนาค) ครูคำสอนก็ออกแบบจากความทรงจำที่เคยเห็นบันไดนาคตามวัดต่าง ๆ

            นอกจากนั้นครูคำสอนยังเป็นคนคิดริเริ่มวิธีการทำแม่แบบลายผ้า หรือการเก็บลายผ้าลงในสมุดกราฟ โดยใช้ปากกาสีเมจิกจุดลวดลายลงบนกระดาษกราฟ สำหรับเป็นแบบในการทอผ้า ช่วยให้การเก็บขิดลายทำได้ง่ายและชัดเจน

           “เราเริ่มเก็บลายใส่สมุดกราฟตั้งแต่ปี ๔๒ คนทอผ้าคนอื่นมาเห็น ก็ยืมสมุดเราไปเป็นแบบ เอาไปทำบ้าง แล้วตอนนี้ครูในโรงเรียนเอาไปสอนให้นักเรียนที่เรียนทอผ้าทำด้วย”
นอกจากวิธีเก็บลายผ้าใส่สมุดกราฟแล้ว ลวดลายแพรวาที่ท่านออกแบบไว้นับสิบลาย ครูคำสอนก็ยินดีให้ลูก ๆ หลาน ๆ หรือคนทอผ้าอื่น ๆ นำไปใช้ได้โดยไม่หวงแหน

            กล่าวได้ว่าครูคำสอนไม่เพียงมีฝีมือชั้นเลิศด้านการทอผ้า ท่านยังมีจิตวิญญาณความเป็นครู ด้วยบทบาทการถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ช่วงเวลาที่ผ่านมาครูคำสอนได้รับเชิญไปสอนการทอผ้าให้เด็กในโรงเรียนท้องถิ่น อีกทั้งเดินทางไปเป็นวิทยากรให้กับกลุ่มทอผ้าตามจังหวัดต่าง ๆ และศูนย์ศิลปาชีพหลายแห่ง

            หากไม่มีกิจธุระต้องออกไปเป็นวิทยากรนอกสถานที่ ทุกวันนี้ครูคำสอนยังทอผ้าอยู่สม่ำเสมอ ยามกลางวันมักทอผ้าไหมมัดหมี่ด้วยกี่โลหะที่ตั้งอยู่หน้าบ้าน ส่วนยามกลางคืนที่เงียบสงบก็นั่งทอแพรวาในบ้านด้วยกี่ไม้คู่ชีพที่ใช้งานกันมาหลายสิบปี

            ผ้าทอจากฝีมือครูคำสอนมักมีพ่อค้าผ้าเจ้าประจำและคนทั่วไปมาสั่งซื้อสั่งจองกันตั้งแต่ยังทอไม่เสร็จ ยิ่งแพรวาที่มีลายหลักหลายลายในผืนเดียวกันราคายิ่งสูงขึ้น ทว่ารายได้ไม่สำคัญเท่ากับได้ทำงานที่ตนเองรัก ดังที่ครูคำสอนพูดให้ฟังว่า

            “แม่ไม่เคยคิดเลิกทอผ้าเลย เพราะเป็นงานที่ชอบมาก เราทำได้เรื่อย ๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่เคยเบื่อ ไม่เคยขี้เกียจ ยามตื่นก็นึกถึง อยากออกแบบลวดลายใหม่ ๆ ตอนหลับบางทีก็ฝันถึงการทอผ้า หรือคืนไหนที่นอนไม่หลับ ตีหนึ่งตีสองเราก็ลุกมานั่งทอผ้า”

            ด้วยเหตุนี้ชีวิตและงานของครูคำสอนจึงกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน ตลอดเวลาที่ผ่านมาท่านไม่เพียงสร้างผลงานผ้าทอทรงคุณค่า ที่สำคัญยังถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์สู่ลูกหลานรุ่นหลัง ซึ่งมีส่วนอย่างยิ่งที่จะช่วยรักษามรดกภูมิปัญญาการทอผ้าแพรวาของชาวผู้ไทให้สืบทอดไปสู่อนาคต


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #91 เมื่อ: 05 เมษายน 2566, 02:26:23 PM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @แดง จิตกร








....”แดง จิตกร” นักร้อง..........คน”ขอน  แก่น”นา
    พ่อแม่เลิกกันถอน.............ถิ่มไว้
    มาอยู่กับยายสอน.............ทำไร่   ไถนา
    ทุกอย่างทำถ้าได้.............เงินให้ช่วยยาย....

....ชอบมากมายเล่นร้อง........ทำเพลง
    มาเป่นคอนวอยเอง...........สั่งตั้ง
    ทำทุกอย่างระเบง............เครื่องเสียง เวที
    ทำสี่ปีจึงยั้ง...................เริ่มร้องในวง....

....คงหวังเป่นนักร้อง............ขายเสียง
    วันหนึ่งครูมองเมียง...........น่าได้
    “ร.ป.ภ.หัวใจ”เคียง..........คู่เพลง  แรกนา
     ยังไม่ดังพอให้...............ได้เริ่มประเดิม....

....คอยเติมเสริมเล่นร้อง.........พอนาน
    ลูกทุ่งคนอีสาน................ทนย้ำ
    “ครูสลา”ส่งเพลงพาน........เสริมส่ง   ดังนา  
    ขมขื่นอุรา “น้ำ................ตาผ่าเหล้า”เมา....

....”บอกกับเขาว่าขี้..............เมาโทร    มา”แน
   “พี่แดงคนเดิม”โฮ.............ร่ำไห้
   “(ขอ)เป็นอะไหล่รัก”โถ......โง่งม  งายนา
    “อาชีพอกหัก”ได้.............”ผ่าเหล้าผ่ารัก”

...เพลงดังนักเด่นร้อง............”สักวา   หน้าหนาว”
   “มนต์รัก ต.จ.ว.”พา............เฟื่องฟุ้ง
    “หัวใจคึดฮอด”จา.............หมั่นโทร   ถี่นา
     ดังเด่นมาดับทุ้ง...............ไป่ด้วยมะเร็ง....


แดง จิตกร หรือชื่อจริงว่า สมจิตร เกตุภูเขียว (ชื่อเล่น: แดง) เกิดเมื่อวันที่ (14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 – 30 เมษายน พ.ศ. 2559) เป็นนักร้องลูกทุ่ง สังกัดค่ายท็อปไลน์ ไดมอนด์ ผลงานเพลงที่มีชื่อเสียง อาทิ น้ำตาผ่าเหล้า หัวใจคิดฮอด มนต์รัก ตจว.

แดง จิตกร เป็นคนขอนแก่น จบการศึกษาระดับชั้น ป.4 ด้วยความที่พ่อแม่เลิกกัน เขาจึงอยู่กับยายมาตั้งแต่เด็ก และความที่เป็นลูกชาวนาชาวไร่ ทำให้เขามุมานะอดทนทำงานสารพัดที่ขอนแก่น แต่ด้วยใจรักเสียงเพลง ผลักให้ตัวเองเข้ามาสมัครเป็นคอนวอยในวงดนตรี ชื่อว่า "วงชุมแพ คอมพิวเตอร์" ที่ขอนแก่น ด้วยใจคิดฝันไปว่าวันข้าง หัวหน้าคณะจะให้ร้องเพลงบ้างแล้ววันหนึ่งนักร้องประจำวงป่วย เขาจึงถูกเรียกตัวให้ร้องแทน วันนั้นทำได้ดี จึงถูกจ้างให้เป็นนักร้องประจำวง ตั้งแต่นั้นมาเส้นทางนักร้องเริ่มต้นขึ้น เมื่อเขาได้มีโอกาสทำเพลง และให้บริษัทท็อปไลน์ ฯ เป็นผู้จัดจำหน่าย ผลงานที่ที่สร้างชื่อให้เขาก็คือ เพลง "น้ำตาผ่าเหล้า" และเพลง "หัวใจคิดฮอด" เป็นผลงานการแต่งของ “สลา คุณวุฒิ”

ประวัติ
พ.ศ. 2513 - 2536: ชีวิตวัยเด็กและก่อนเข้าสู่วงการ
    แดง จิตกร เกิดที่จังหวัดขอนแก่น จากครอบครัวชาวนาที่แสนยากแค้น ครอบครัวมีปัญหาเพราะพ่อแม่แยกทางกันเดินตั้งแต่แดงอายุได้เพียง 2 ปี โดยทิ้งให้แดงผจญชะตากรรมอยู่กับยายเพียงลำพัง

   หลังแดงอายุได้ 13 ปี แดงต้องออกจากโรงเรียน จึงมีวุฒิแค่ประถมศึกษาปีที่ 4 เพราะยายอายุมากขึ้น บวกกับความยากจนหาเช้ากินค่ำ แดงต้องออกมารับจ้างทำนาโดยได้ส่วนแบ่งเป็นข้าวพอได้ประทังชีวิตกับยาย อาหารหลักที่แดงกับยายกินประจำคือ หน่อไม้ที่แดงต้องขึ้นไปหาบนภูเขา ที่ต้องเดินทางไปกลับไกลกว่า 15 กิโลเมตร  และ กุ้ง ฝอย หอยขม ปูนา ปลาสารพัดชนิด ซึ่งหกยากเนื่องจากความแห้งแล้ง

   ด้วยความที่เป็นชอบร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก เมื่อว่างจากการรับจ้างทำนา แดงจึงไปสมัครเป็น คอนวอย อยู่วง "ชุมแพคอมพิวเตอร์" มีหน้าที่ทำทุกอย่างตั้งแต่ขนของขึ้นรถ ตั้งเวทีเครื่องเสียง แสงไฟ ใครเรียกใช้เวลาใดก็ต้องทำ โดยได้ค่าแรงวันละ 50 บาทต่องาน แดงเป็นคอนวอยอยู่กับวงถึง 4 ปี  จึงได้มีโอกาสจับไมโครโฟน ร้องเพลง เพราะนักร้องประจำวงไม่สบาย  แดงจึงได้ฝึกร้องเพลงและเล่นหมอลำอย่างจริงจังตั้งแต่บัดนั้น

พ.ศ. 2537 - 2541: เริ่มเข้าสู่วงการ
ข้อมูลจากปกเทปชุดหนึ่งของแดง กล่าวว่า "ชีวิตแดง จิตกร เริ่มดีขึ้น ส่งเงินให้ยายใช้เป็นประจำ ส่วนตัวเขาก็อยู่กับวง "ชุมแพคอมพิวเตอร์" จึงได้เป็นพระเอกหมอลำอย่างเต็มตัว วันหนึ่งสุทัศน์ เอี่ยมชโลธร จากบริษัทนิธิทัศน์โปรโมชั่น  ต้องการนักร้องและได้มาฟังแดง ร้องเพลง จึงเกิดชอบในน้ำเสียงและชักชวนแดงมาทำเพลง ซึ่งแดงดีใจมากที่ฝันของตนจะได้เป็นจริง สุทัศน์พาแดงเข้ากรุงเทพฯและทำเทปชุดแรกให้กับแดงทันทีโดยมี อ๊อด คีรีบูน เป็นโปรดิวเซอร์ ชื่อชุด "ร.ป.ภ.หัวใจ" ซึ่งเป็นแนวลูกทุ่งอีสานที่แดงถนัด แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จ"

    แดงผิดหวังมากและเริ่มท้อ จึงเลิกร้องเพลงเพราะคิดว่าคงไม่มีโอกาสเป็นนักร้องที่โด่งดังได้ จึงหันไปทำงานก่อสร้างและไปอยู่กับเรือหาปลาถึง 2 ปี ต่อมาแดงได้เจอกับ ป๊อด บัณฑิต เอี่ยมสะอาด ได้นำแดงกลับมาทำเพลงอีกครั้งในสังกัด เคซีเอสกรุ๊ป และทำอัลบั้มชุดที่ 2, 3, 4 และชุดที่ 5 ชื่อ "พี่แดงคนเดิม" ถึงแม้อัลบั้มจะไม่โด่งดัง แต่แดงก็ยังรู้สึกที่ได้ทำเพลงที่ตนเองรัก ซึ่งช่วงนั้น เคซีเอส ทำเพลงและให้ไดมอนด์ สตูดิโอ จัดจำหน่าย ในช่วงนั้น แดงได้เซ็นสัญญากับท็อปไลน์มิวสิค แต่ยังไม่มีการทำเพลงเพราะยังไม่ได้จังหวะ และแดง จิตกร ก็ไม่ใช่นักร้องดังมาก่อน

พ.ศ 2542 - 2544: อัลบั้ม ลืมใจไว้อีสาน และ การเป็นศิลปินสังกัดท็อปไลน์มิวสิค อย่างเต็มตัว
    หลังจากนั้น ในช่วงปี พ.ศ. 2542 ป๊อด บัณฑิต ได้นำแดงมามอบให้กับ เสี่ยแบงค์ แห่งบริษัท "ลาวัลย์เอนเตอร์เทนเมนท์" จังหวัดสกลนคร ซึ่ง ปัญญา คุณวุฒิ ได้เล่าให้ฟังว่า เสี่ยแบงค์ เจ้าของค่าย มีเพลงชุด ลืมใจไว้อีสาน ซึ่ง ครูสลา กับ ปัญญา คุญวุฒิ ได้เตรียมไว้ให้ "เอกชัย ศรีวิชัย"  เพื่อนของเสี่ยแบงค์ ขับร้อง  ซึ่งในชุดนี้มีเพลงชื่อ "น้ำตาผ่าเหล้า" ด้วย แต่จังหวะตอนนั้น เอกชัย กลับมาโด่งดังจาก "หมากัด" พอดี จึงไม่มีเวลาไปอัดเสียงชุดนี้

    แดง ซึ่งว่างงานและโต๋เต๋อยู่แถวโรงงานการ์เมนท์  ได้อัดเพลง "น้ำตาผ่าเหล้า" ที่ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ห้องอัด อ.หนุ่ม ภูไท จนเพลงนี้เพลงโด่งดังเปรี้ยงปร้าง แต่เพลงชุดนี้ มีปัญหาในการจัดจำหน่ายเพราะ เสี่ยแบงค์ นำไปให้ ซีเอ็นซี จัดจำหน่าย แต่ยอดขายช้า ทั้งๆที่เพลงดังมาก จึงพยายามนำมาให้ อาร์.เอส.โปรโมชั่น โดยมนต์ เมืองเหนือ จัดจำหน่าย แต่เมื่อได้ตรวจสอบสัญญาแล้ว พบว่า ป๊อด ได้เซ็นสัญญาแดง จิตกร กับค่ายท็อปไลน์มิวสิคไว้ก่อน ในช่วงที่ เคซีเอส ผลิต ท็อปไลน์ ขาย อาร์.เอส.จึงส่งกลับมาให้ท็อปไลน์  ซึ่งในเวลานั้น เสี่ยแบงค์ ค่ายลาวัลย์ จึงปั้น เขียว ดวงสดใส ขึ้นมา (มีชื่อเสียงโด่งดังจากเพลง "บ่ออนซอน") ต่อเนื่องกับแดง จิตกร ซึ่งเพลง "น้ำตาผ่าเหล้า" จึงเป็นเพลงที่มีปัญหาซับซ้อนเรื่องลิขสิทธิ์ และภายหลังเพลงนี้ได้ถูกนำไปใช้เป็นเพลงประกอบของรายการปลดหนี้ โดยใช้เฉพาะช่วงอินโทรของเพลง

    หลังจากอัลบั้ม ลืมใจไว้อีสาน ที่มีเพลง "น้ำตาผ่าเหล้า" เป็นเพลงดังในขณะนั้น ในปี พ.ศ. 2543 แดงได้ออกอัลบั้มเพลงในสังกัดท็อปไลน์มิวสิค ชื่อชุด "ผ่าเหล้าผ่ารัก" ถือว่าเป็นผลงานชุดที่ 7 ของเขา และเป็นชุดแรกในฐานะศิลปินสังกัดท็อปไลน์มิวสิค อย่างเป็นทางการ ต่อมาได้ออกอัลบั้มชุด "หัวใจคึดฮอด" ในปีเดียวกัน มีเพลงเปิดตัวชื่อเดียวกัน ที่ได้รับความนิยมมากต่อจาก "น้ำตาผ่าเหล้า"

ในปี 2544 แดงได้ออกอัลบั้มอีก 2 ชุดคือ รักสลายข้างไหเหล้า และ น้ำตาหน้าด้าน ชึ่งได้รับความนิยมมาอย่างดี

พ.ศ. 2545 - 2546: อัลบั้ม บอกอ้ายได้บ่ และ เพลง มนต์รัก ตจว.
ก่อนที่แดงจะมีอัลบั้มชุดใหม่ แดงได้ร่วมแสดงภาพยนตร์ไทยเรื่อง มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. ออกฉายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 โดยรับบทเป็นตัวประกอบในต้นเรื่อง ถือว่าเป็นผลงานการแสดงเรื่องแรกของเขา

    เดือนสิงหาคม ปีเดียวกัน แดงได้ออกอัลบั้มชุดที่ 11 ชื่อว่า บอกอ้ายได้บ่ มีเพลงเปิดตัวคือ "บอกอ้ายได้บ่" และ "มนต์รัก ตจว." ทั้ง 2 เพลงผลงานการแต่งของ "พิณ พานทอง" นักแต่งเพลงชื่อดังอีกคนของวงการเพลงลูกทุ่ง (อีกนามแฝงของครูสลา คุณวุฒิ ที่ใช้แต่งเพลงเพื่อเพื่อนพ้องและศิษย์ต่างค่าย)

    หลังการโปรโมทอัลบั้มชุดนั้น กระแสตอบรับความนิยมก็เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเพลง "มนต์รัก ตจว." ชึ่งกลายเป็นบทเพลงชิ้นเอกที่เป็นที่นิยมของคนฟังทั่วประเทศ และทำให้ แดง จิตกร ได้รับ "รางวัลมาลัยทอง" พ.ศ. 2546 ในสาขาเพลงลูกทุ่งยอดนิยมฝ่ายชาย และนักร้องชายยอดนิยม เมื่อปี พ.ศ. 2547

พ.ศ. 2547: อัลบั้ม ขอเป็นอะไหล่รัก และ คึดฮอดบ้านเฮาเนาะ
เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 แดงได้ออกอัลบั้มชุดที่ 12 ชื่อว่า ขอเป็นอะไหล่รัก ชึ่งเป็นอัลบั้มที่ต่อยอดความสำเร็จจากชุด "บอกอ้ายได้บ่" ในปี พ.ศ. 2545 มีผลงานเพลงที่ได้รับความนิยมและเป็นที่น่าสนใจ อาทิ "ขอเป็นอะไหล่รัก", "ผู้ยินยอม", "ผู้สาวบ้านใด๋" และ "อิสานสิ้นมนต์"

จากนั้น ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547 เขาได้ออกอัลบั้มชุดที่ 13 ชื่อว่า คึดฮอดบ้านเฮาเนาะ ซึ่มีผลงานเพลงที่ได้รับความนิยมและเป็นที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน ได้แก่ เพลง "คึดฮอดบ้านเฮาเนาะ" เพลงเปิดตัวที่เขาร้องไว้เพื่อให้กำลังใจคนที่ต้องมาทำงานในที่ๆห่างไกล เพลงนี้กลายเป็นเพลงที่ติดอันดับต้นๆของชาร์ตเพลงในสถานีวิทยุทั่วประเทศอีกด้วย

พ.ศ. 2548 - 2549: ยอดชายนายคำเม้า และ อัลบั้ม พี่แดงคนเดิม
แดงได้ร่วมแสดงภาพยนตร์อีกครั้ง ในเรื่อง ยอดชายนายคำเม้า โดยเป็นภาพยนตร์ที่จำหน่ายในรูปแบบ วีซีดี ผลิตและจำหน่ายโดย ท็อปไลน์มิวสิค ในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ในภาพยนตร์เรื่องนี้ เขาได้รับบทเป็นพระเอกของเรื่องนี้ นอกจากนั้นยังมีศิลปินร่วมเล่นด้วย อาทิ ยิ่งยง ยอดบัวงาม, วิฑูรย์ ใจพรหม, บานเย็น รากแก่น, อ้อยใจ แดนอีสาน, น้องเบนซ์ จูเนียร์, สาวมาด เมกะแดนซ์, นพดล ดวงพร ฯลฯ

ในเดือนสิงหาคม ปีเดียวกัน เขาได้ออกอัลบั้มชุดที่ 14 ชื่อว่า พี่แดงคนเดิม ชึ่งนำเพลงชื่อเดียวกันที่เขาร้องไว้สมัยอยู่ค่ายเคซีเอส มาเผยแพร่อีกครั้งเป็นเพลงลำดับแรก ส่วนอีก 9 เพลงที่เหลือ เป็นผลงานเพลงแต่งใหม่ทั้งหมดและเป็นชุดแรกที่ สมบูรณ์ ปาราชิตัง เป็นผู้เรียบเรียงทำดนตรีให้ เช่น "อาชีพอกหัก", "ถามข่าวผู้สาวเก่า", "พ่ายรักที่ลำนางรอง" ฯลฯ

พ.ศ. 2549-2550: อัลบั้มพิเศษ และ อัลบั้ม หัวใจ...สะแหมฮัก/สักวาหน้าหนาว
เดือนเมษายน พ.ศ. 2549 แดงได้อออัลบั้มพิเศษ ที่รวมบทเพลงแนวหมอลำที่เขาร้องไว้ในช่วงเข้าสู่วงการใหม่ๆ มารวมไว้ในอัลบั้มชื่อว่า รวมฮิตเพลงหมอลำ อัลบั้มนี้แบ่งออกเป็น 2 ชุด มีบทเพลงที่แนะนำคือ "ฟ้าไกลดิน", "สาวอรใจร้าย", "ข่าวร้ายสายด่วน", "ดื่มให้ลืมเธอ" ฯลฯ

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 แดงได้ออกอัลบั้มชุดที่ 15 ของเขา ในชื่อ หัวใจ...สะแหมฮัก มีเพลงเปิดตัวชื่อ "สักวาหน้าหนาว" ผลงานการแต่งของ ศิริ มงคล ชึ่งเป็นบทเพลงที่นำบทกลอนสักวามาประยุกต์ใช้กับแนวเพลงลูกทุ่ง หลังจากเพลงนี้ได้เผยแพร่ในสื่อต่างๆ ก็ได้รับกระแสความนิยมเป็นอย่างมาก จึงทำให้ต้นสังกัด เปลี่ยนชื่ออัลบั้มจาก หัวใจ...สะแหมฮัก เป็น สักวาหน้าหนาว ในเวลาต่อมา นอกจากเพลงสักวาหน้าหนาวแล้ว ยังมีอีกหลายบทเพลงในอัลบั้มนี้ที่น่าสนใจ เช่น "หวานใจมือถือ", "คอยเธอที่คลื่นชุมชน", "หัวใจไก่เหงา", "ให้เว้าหยอกแหน่" ฯลฯ

พ.ศ. 2551 - 2553: อัลบั้ม ห่วงเจ้า…สาวโรงงาน, งามข้ามปี และ สุขสันต์วันคิดฮอด
จากกระแสการตอบรับจากชุด สักวาหน้าหนาว ทำให้ความแรงของเขายังไม่หยุดเพียงเท่านี้ ในปี พ.ศ. 2551 แดงได้ออกอัลบั้มชุด ห่วงเจ้า…สาวโรงงาน มาให้แฟนเพลงได้ฟังกัน อัลบั้มนี้ได้รับกระแสตอบรับจากผู้ฟังได้อย่างดี จากนั้นในปี พ.ศ. 2552 แดงออกอัลบั้มชุด งามข้ามปี มีเพลงชื่อเดียวกับชื่ออัลบั้ม ที่ได้ ศิริ มงคล ผู้แต่งเพลง สักวาหน้าหนาว จนโด่งดัง มาแต่งเพลงนี้อีกครั้ง จนกลายเป็นเพลงที่แฟนเพลงชื่นชอบและให้การต้อนรับอย่างดี

ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 แดงกลับมาอีกครั้งกับอัลบั้ม สุขสันต์วันคิดฮอด โดยอัลบั้มนี้ได้ครูสลา คุณวุฒิ มาร่วมงานอีกครั้ง โดยใช้นามแฝง "พิณ พานทอง" แต่งเพลงใหม่ทั้งอัลบั้ม อัลบั้มนี้เปิดตัวด้วยเพลง "บอกกับเขาว่า...ขี้เมาโทรมา" ชึ่งเป็นเพลงแนวอารมณ์อกหักผสมกับอารมณ์ความคิดถึง บทเพลงนี้ได้รับความนิยมจากแฟนเพลงเป็นอย่างมาก

หลังจากการโปรโมทอัลบั้ม สุขสันต์วันคิดฮอด จนถึงปี 2554 แดง จิตกร ก็ยังไม่มีแผนที่จะทำอัลบั้มใหม่อีกเลย จนกระทั่ง ช่วงปี 2556 - 2557 แดง จิตกร ก็กำลังจะทำอัลบั้มชุดใหม่

พ.ศ. 2557: อัลบั้ม สาวส่าลืมสรภัญญ์
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ทางต้นสังกัดได้ปล่อยผลงานเพลง "สาวส่าลืมสรภัญญ์" และ "สาว 3G" เผยแพร่ใน Youtube ของทางต้นสังกัด แสดงถึงการกลับมาทำผลงานเพลงชุดใหม่ของแดงในรอบ 4 ปี และในอีก 4 เดือนต่อมา แดงได้ออกอัลบั้มชุดที่ 19 ในชื่อ สาวส่าลืมสรภัญญ์ ในเดือน มิถุนายน และได้มีการปล่อยมิวสิควีดีโอลงในสื่อต่างๆ ในเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน

หลังจากการเสียชีวิตของเขาเมื่อปี พ.ศ 2559 ทำให้อัลบั้มชุดนี้ กลายเป็นอัลบั้มชุดสุดท้ายในชีวิตของเขา


ภาพลักษณ์ และ ชีวิตส่วนตัว
ด้วยความที่แดง จิตกร เป็นนักร้องที่ได้รับกระแสตอบรับจากประชาชนและแฟนเพลงอย่างไม่หยุดนึ่ง จึงทำให้เขากลายเป็นศิลปินที่ได้รับฉายาจากสื่อต่างๆว่า "หนุ่มเทอร์โบมาแรง"

ด้านนิสัยส่วนตัวของแดงส่วนมากมักจะใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไป และสิ่งที่ต่างจากคนทั่วไปคือการใช้ชีวิตที่แปลกและไม่เหมือนใคร ด้านความสามารถพิเศษ แดงเป็นคนเขียนเพลงที่มีมุมมองน่าสนใจและชี้ให้เห็นว่าเป็นคนคุณภาพคนหนึ่งของวงการเพลง ตัวอย่างเพลงที่แดงแต่ง เช่น "ร้องเพลงเพื่อยาย", "วันเกิดวันเจ็บ", "เสียงครวญจากไต้หวัน" เป็นต้น

ด้านชีวิตครอบครัว แดง จิตกร มีภรรยาชื่อ อุไรวรรณ เกตุภูเขียว และมีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ เกตุกนก เกตุภูเขียว, ฐิติมา เกตุภูเขียว และ ศุภกฤต เกตุภูเขียว ก่อนหน้านั้น แดงได้พบรักกับ พัชรธิดา ทะชัยวงศ์ และใช้ชีวิตแบบครอบครัวด้วยกัน แต่แล้วความสัมพันธ์กลับกลายเป็นแค่การห่างกันเท่านั้นเอง

การเสียชีวิต
เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 แดงต้องหยุดร้องเพลง เนื่องจากมีอาการคอขวาบวมเบ่ง ทำให้แฟนเพลงสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น จากนั้นข่าวความเคลื่อนไหวของแดงก็เงียบไปสักระยะ จนในที่สุดทางต้นสังกัดได้แจ้งข่าวเอาไว้ว่า แดงป่วยเป็นมะเร็งที่บริเวณลำคอมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว เขาต้องพักอยู่ที่บ้านจังหวัดบุรีรัมย์ ควบคู่กับการเดินทางเข้ากรุงเทพฯ มารักษาตัวที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และรักษาตัวกับแพทย์แผนไทย จนอาการเริ่มดีขึ้นตามลำดับ

แต่แล้ว อาการป่วยของเขาเริ่มกำเริบขึ้นอีกครั้ง จนกระทั่งวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2559 สัญญาลักษณ์ ดอนศรี ครูเพลงชื่อดังได้โพสต์ภาพและข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เป็นภาพที่เขาป่วยเป็นโรคมะเร็งโพรงจมูกระยะสุดท้าย และวอนขอให้คนยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือแดง เนื่องจากในเวลานั้นเขาลำบากมาก เอาเงินร้องเพลงมารักษาโรคมะเร็งจนหมดตัว ไม่นานเท่าไหร่ ก็มียอดเงินบริจาคในบัญชีหลั่งไหลเข้ามามากถึง 3.5 ล้านบาท  และยังได้มีการจัดคอนเสิร์ตการกุศลเพื่อช่วยเหลือเขาในวันที่ 29 เมษายน ปีเดียวกัน

แดงพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2559 แล้วได้ขออนุญาตจากแพทย์ ให้ไปพักรักษาตัวที่บ้านของเขา ในวันที่ 30 เมษายน ปีเดียวกัน แต่ในเวลาต่อมา แดงได้เสียชีวิตลงเมื่อเวลา 21.00 น. ของวันเดียวกัน

ผลงาน
สตูดิโออัลบั้ม

2537 : Vol.1 รปภ. หัวใจ   
2538 : Vol.2 อภัยพี่...นะ   
2539 : Vol.3 ฟ้าไกลดิน   
2540 : Vol.4 จดหมายถึงต้อย   
2541 : Vol.5 พี่แดงคนเดิม (ขอเวลาบูชาแม่)   
2542 : Vol.6 ลืมใจไว้อีสาน   
2543 : Vol.7 ผ่าเหล้าผ่ารัก   
2543 : Vol.8 หัวใจคึดฮอด   
2544 : Vol.9 รักสลายข้างไหเหล้า   
2544 : Vol.10 น้ำตาหน้าด้าน   
2545 : Vol.11 บอกอ้ายได้บ่   
2546 : Vol.12 ขอเป็นอะไหล่รัก   
2547 : Vol.13 คึดฮอดบ้านเฮาเนาะ   
2548 : Vol.14 พี่แดงคนเดิม   
2550 : สักวาหน้าหนาว/หัวใจ...สะแหมฮัก   
2551 : ห่วงเจ้า...สาวโรงงาน   
2552 : งามข้ามปี   
2553 : สุขสันต์วันคิดฮอด   
2557 : สาวส่าลืมสรภัญญ์   

อัลบั้มพิเศษ
2540 : คืนลับฟ้า   
2549 : ชุดพิเศษ : รวมฮิตเพลงหมอลำ   

อัลบั้มรวมเพลง
2546 แดง...ตลับทอง
2548 แดง จิตกร: รวมฮิต 16 เพลงดังตลับเพชร
2551 Topline MP3: แดง จิตกร
2553 แดง จิตกร: รวมเพลงดัง 16 เพลงฮิต
2555 Topline MP3: แดง จิตกร (เวอร์ชันที่ 2)
2555 แดง จิตกร: 16 เพลงดังพันล้าน
2559 เปิดตำนาน: แดง จิตกร(CD และ MP3)
2559 ด้วยรักและผูกพัน(MP3)

ผลงานเพลงร่วมกับศิลปินคนอื่น
2551 อัลบั้ม อกหักป้ายแดง ศิลปิน เอม อภัสรา (เพลง คือเก่าแม้เฮาไกล และ เครียดให้เพราะใจฮัก)
ผลงานภาพยนตร์
2545 มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. (รับเชิญ)
2548 ยอดชายนายคำเม้า
รางวัล
2547   รางวัลมาลัยทอง พ.ศ. 2546   สาขาเพลงลูกทุ่งยอดนิยม   ในเพลงมนต์รัก ตจว.   
2547  รางวัลมาลัยทอง พ.ศ.2546 สาขานักร้องชายยอดนิยม


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #92 เมื่อ: 07 เมษายน 2566, 11:33:47 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @สุเทพ วงศ์กำแหง















....”เพียงคำเดียว””เท่านี้.............ก็ตรม”
    “ครวญ” คร่ำ “รอ” เชยชม........คลั่งไคล้
    “ฉันยังอยู่” “(ธารา)ระทม”.......”เสน่หา”    รอนา  
       “คนที่ผมรัก”ใด้...................”รักอย่ารู้คลาย”....

....ชาย”ขอใจให้พี่”...................”นางใจ”
    ”ใจพี่” “จงรัก”ใคร.................ร่วมรู้
  ”คืนกระจ่าง(ฟ้า)” สวยใส.........ดาวเด่น   งามนา
    ”(เพื่อ)เธอที่รัก“ยอดชู้.......... ”คืนนี้พี่คอย(เจ้า)”......

....”คอยเธอ””ฝัน(หวาน)อยู่ได้"......”พิไร   รัก”นา
       “เสน่ หาอาลัย”....................”ร้อยป่า”
       “ชีวิตเมื่อคิดไป”...................”เบื่อกรุง”    “เธอ”รา
     นางเป่น”(ภาพ)ดวงใจ”ข้า.......”เย้ยฟ้าท้าดิน”....

  ....นวยจิตจินเร่ง”ร้อย.................กรอง”กลอน   สี่นา
      เพลงพ่อมากเกินทอน.............เปี่ยมได้
 “สุเทพ (วงศ์กำแหง)”เป่นคนคอน..หลาน”ย่า   โม”นา
      เสียงนุ่มนวลชวนให้................แซ่ซ้องตำนาน.....


เรืออากาศตรี สุเทพ วงศ์กำแหง (12 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 – 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563) เป็นนักร้องชายเพลงไทยสากลชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา สุเทพ วงศ์กำแหง ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล-ขับร้อง) ประจำปี พ.ศ. 2533

ประวัติ
เรืออากาศตรี สุเทพ วงศ์กำแหง เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 ที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ศึกษาตั้งแต่เบื้องต้นจนจบชั้นมัธยมปีที่ 6 ที่จังหวัดบ้านเกิด ความมีแววของการเป็นนักร้องเริ่มมีขึ้นตั้งแต่สมัยที่เป็นนักเรียน โดยมักจะได้รับมอบหมายให้เป็นต้นเสียงร้องเพลงชาติที่โรงเรียนเสมอ

    ครั้นจบชั้นมัธยมปีที่ 6 ได้ย้ายมาอาศัยอยู่กับญาติที่กรุงเทพมหานคร ด้วยนิสัยรักการวาดเขียนและงานศิลปะเป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเพาะช่าง ซึ่งระหว่างที่ศึกษาอยู่นั้นนอกจากจะแสดงฝีมืออย่างโดดเด่นในทางศิลปะแล้วยังเป็นนักร้องเสียงดีประจำห้องเรียน เวลาว่างมักจะฝึกซ้อมร้องเพลงเสมอตามแบบอย่างของนักร้องที่ชื่นชอบ เช่น วินัย จุลละบุษปะ, สถาพร มุกดาประกร, ปรีชา บุณยเกียรติ ฯลฯ

    สุเทพได้มีโอกาสรู้จักและคุ้นเคยกับ ไสล ไกรเลิศ นักประพันธ์เพลง เนื่องจากบ้านอยู่ใกล้กัน ไศลเห็นแววความสามารถของสุเทพจึงชักชวนให้มาช่วยงาน เช่น เขียนโน้ตเพลง เขียนตัวหนังสือ ตลอดจนติดตามไปช่วยงานในธุรกิจบันเทิงต่าง ๆ เสมอ ทำให้สุเทพเริ่มคุ้นเคยกับบุคคลในวงการเพลงหลายคน ทั้งยังได้รับโอกาสให้ร้องเพลงสลับฉากละคร ร้องเพลงตามงานบันเทิงต่าง ๆ รวมถึงการทดลองเสียงแทนนักร้องตัวจริงก่อนที่จะทำการอัดเสียงเสมอ จากการที่ร้องเพลงได้อย่างดีเด่น ทำให้สุเทพได้ร้องเพลงบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ ไสล ไกรเลิศ ได้พา สุเทพ วงศ์กำแหง ไปฝากกับ เปรื่อง ชื่นประโยชน์ จนได้รับคัดเลือกให้ร้องเพลงบันทึกแผ่นเสียงของตนเอง และได้ใช้ชื่อในการบันทึกแผ่นเสียงครั้งแรกว่า "ศุภชัย ชื่นประโยชน์" มีผลงานในการบันทึกแผ่นเสียงในยุคแรกเช่นเพลง "รำพรรณรำพึง", "เฉิดโฉม", "นิ่มนวล" ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากพลอากาศเอกทวี จุลละทรัพย์ ผู้ชื่นชอบการร้องเพลงของสุเทพ โดยช่วยส่งเสริมในทางต่าง ๆ ครั้นสุเทพเข้ารับการเกณฑ์ทหาร พลอากาศเอกทวีจึงได้ชักชวนให้เข้ารับราชการในกองทัพอากาศ โดยได้ประจำอยู่ที่วงดุริยางค์ทหารอากาศ ซึ่งมี นาวาอากาศโท ปรีชา เมตไตรย์ เป็นผู้ควบคุมวง ระหว่างนั้นสุเทพได้บันทึกแผ่นเสียงมากขึ้น และสถานีวิทยุต่าง ๆ ก็ได้นำเพลงที่เขาร้องบันทึกแผ่นเสียงไปเปิดจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายอย่างรวดเร็ว

   ภายหลังออกจากกองทัพอากาศ สุเทพได้ร้องเพลงเป็นอาชีพหลัก เขาได้เข้าร่วมกับคณะชื่นชุมนุมศิลปิน มีโอกาสร้องเพลงทั้งในรายการวิทยุและโทรทัศน์อยู่เนือง ๆ ทำให้ชื่อเสียงของเขาเริ่มเพิ่มขึ้น งานต่าง ๆ จึงหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย ในช่วงนั้นวงการภาพยนตร์ไทยกำลังเฟื่องฟู เขาจึงมีงานร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ไทยเป็นจำนวนมาก ได้ร่วมแสดงภาพยนตร์ มีโอกาสร้องเพลงคู่กับสวลี ผกาพันธุ์ นักร้องยอดนิยมในเวลานั้นอยู่เสมอ หากใครซื้อแผ่นเสียงของสวลีไปก็มักจะมีเสียงสุเทพติดไปด้วย ชื่อเสียงของสุเทพจึงโด่งดังขึ้นเป็นอย่างมาก เขาจึงถือว่าความสำเร็จในเบื้องต้นส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์จากการได้ร้องเพลงคู่กับสวลี ผกาพันธุ์

    จุดเด่นของสุเทพคือการมีน้ำเสียงที่ดี มีลีลาในการร้องเพลงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นุ่มนวลชวนฟัง อารมณ์ที่แสดงออกมาทางน้ำเสียงและสีหน้านั้นก็สามารถสะกดใจผู้ฟังให้คล้อยตามและเข้าถึงอารมณ์ของเพลงนั้น ประกอบกับการที่เอาใจใส่อย่างจริงจังในการทำงาน ทำให้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว จนได้รับฉายาจาก รงค์ วงษ์สวรรค์ ศิลปินแห่งชาติ ว่า "นักร้องเสียงขยี้แพรบนฟองเบียร์" มีผลงานดีเด่นต่อเนื่องมานานกว่า 40 ปี

    ในช่วงปี พ.ศ. 2498 - 2500 สุเทพได้ร่วมเดินทางไปฮ่องกง และ สาธารณรัฐประชาชนจีนกับศิลปินแขนงต่าง ๆ กลุ่มใหญ่ จากนั้นเดินทางต่อไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อศึกษาด้านการวาดภาพที่เขารักในอดีต ระหว่างนั้นก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากแฟนเพลงคนไทย เขาศึกษาการวาดภาพตามและร้องเพลงที่ญี่ปุ่นประมาณ 3 ปี จึงเดินทางกลับประเทศไทย

งานร้องเพลงของ สุเทพ วงศ์กำแหง สามารถแบ่งออก 3 ช่วง ตามช่วงเวลาดังนี้

ช่วงแรก
    คือช่วงเริ่มต้นก่อนที่จะเดินทางไปอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ส่วนมากเป็นงานร้องเพลงประกอบละครและภาพยนตร์ งานอัดแผ่นเสียง และงานร้องเพลงตามไนต์คลับเพลงดังที่สร้างชื่อเสียงให้เขามากเป็นพิเศษในช่วงนั้นก็คือเพลงรักคุณเข้าแล้ว ซึ่งประพันธ์ทำนองโดย สมาน กาญจนผลิน และประพันธ์เนื้อร้องโดย สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ เพลงนี้ถือเป็นเพลงอมตะที่ยังเป็นที่นิยมต่อเนื่องตลอดมา นอกจากนั้นยังมีเพลง "คุณจะงอนมากไปแล้ว", "ผมต้องวิวาห์เสียที", "เพียงคำเดียว", "นางอาย", "สวรรค์มืด", "เท่านี้ก็ตรม" "รักอย่ารู้คลาย" และ "ลาก่อนสำหรับวันนี้" เป็นต้น

ช่วงที่สอง ปี พ.ศ. 2503
    ภายหลังจากที่เดินทางกลับประเทศไทย แฟนเพลงให้การต้อนรับการอย่างอบอุ่น เขาจึงมีงานร้องเพลงมากมาย เพลงดัง ๆ ที่เขาขับร้องในช่วงนั้น ได้แก่ เพลง "บ้านเรา", "เกิดมาอาภัพ", "อาลัยโตเกียว", "อนิจจา", "จะคอยขวัญใจ", "ลาทีความระทม", "แม่กลอง", "สายลมเหนือ", "เธออยู่ไหน" และ "ครวญ" เป็นต้น และอีกหลายสิบเพลงที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จมากที่สุด และได้ตั้ง "คณะสุเทพโชว์" โดยมีสมาชิก "ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา", "ธานินทร์ อินทรเทพ", "มนูญ เทพประทาน", "นริศ ทรัพย์ประภา" และ "อดุลย์ กรีน"
"ธานินทร์ อินทรเทพ" ชายหนุ่มที่คลั่งไคล้เสียงเพลงมาแต่เด็ก เป็นลูกศิษย์ พยงค์ มุกดา ศิลปินแห่งชาติ ครูพยงค์เห็นหน่วยก้านจึงพามาให้อยู่ในทีมของสุเทพ วงศ์กำแหง จากนั้นสุเทพได้เปลี่ยนนามสกุลจากเดิม "อินทรแจ้ง" เป็น "อินทรเทพ" เขาจึงเป็นชาวเทพคนแรกของค่าย

"มนูญ เทพประทาน" ครูสอนหนังสือจากต่างจังหวัด ชอบร้องเพลงลูกกรุง มาหาสุเทพเพื่อฝากตัวเป็นลูกศิษย์ สุเทพจึงส่งไปร้องในไนต์คลับ เห็นซุ่มเสียงดีจึงรับเป็นทีมงานให้ใช้นามสกุลในการร้องว่า "เทพประทาน"

ช่วงที่สาม ปี พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา
   นับว่าเป็นช่วงที่เขาก้าวไปถึงจุดสูงสุดทั้งด้านชื่อเสียงและผลงานทั้งหมด รวมถึงสุเทพได้สร้างลูกศิษย์และตั้งคณะว่า "สุเทพจูเนียร์" โดยมีสมาชิก "ชรัมภ์ เทพชัย", "อุมาพร บัวพึ่ง", "พรหมเทพ เทพรัตน์" เป็นต้น

"สุเทพ วงศ์กำแหง" มางานรำลึก "ศาสตราจารย์พิเศษ จิตร บัวบุศย์" (ศิลปินแห่งชาติ) ที่โรงเรียนเพาะช่าง ก่อนเสียชีวิตเพียงเวลา 3 เดือน
คำประกาศเกียรติคุณ
สุเทพ วงศ์กำแหง เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 ที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นศิลปินนักร้องเพลงไทยสากลที่มีผลงานดีเด่นทั้งในและนอกประเทศเป็นเวลาอันต่อเนื่องกันมากว่า 40 ปี มีผลงานขับร้องที่ประจักษ์ชัดเจนในความสามารถอันสูงส่ง ได้พัฒนาวิธีการขับร้องเพลงไทยสากลอย่างไพเราะ และทวีความงดงามในศิลปะแขนงนี้ยิ่งขึ้นเป็นลำดับ เป็นผู้ตั้งใจทำงานอย่างต่อเนื่องจนปรากฏผลงานเพลงมากมาย เช่น ขับร้องเพลงประกอบในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ เพลงไทยสากลทั่วไป เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพลงอันเกี่ยวด้วยพระศาสนา และจริยธรรม ตลอดจนใช้ความสามารถในเชิงศิลปะสร้างสรรค์อำนวยคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติเสมอมา ทั้งได้ถ่ายทอดความรู้ความสามารถแก่ศิษย์เป็นจำนวนมาก จากความสามารถดังกล่าวยังส่งผลให้เขาได้รับพระราชทานรางวัลแผ่นเสียงทองคำไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง รางวัลเสาอากาศทองคำในฐานะนักร้องยอดเยี่ยม 2 ครั้ง และรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย สุเทพยังบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติเป็นอเนกประการ คุณงามความดีที่ได้กระทำอย่างต่อเนื่องมานี้เป็นที่ชื่นชมชัดเจนในหมู่ประชาชนคนไทยโดยทั่วไปจนวาระสุดท้ายของชีวิต

สุเทพ วงศ์กำแหง จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล – ขับร้อง) ประจำปี พ.ศ. 2533

การศึกษา
โรงเรียนวัดสมอราย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนประจำอำเภอ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

การทำงาน
ร้านตัดเสื้อ ตำแหน่งเขียนตัวหนังสือ
กองทัพอากาศ ยศจ่าอากาศตรี

รางวัลและเกียรติคุณ
รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน
รางวัลเสาอากาศทองคำ
โล่เพชร
โล่เกียรติยศ สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย
ปริญญาบัตรศึกษาศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ศิลปกรรม
โล่เกียรติยศ วัดไทยในลอสแอนเจลิส
ปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิตกิติมาศักดิ์ (ศิลปกรรม) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
โล่เกียรติยศพระราชทาน สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2525
รางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล-ขับร้อง) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2533

งานการเมือง
สุเทพเป็นศิลปินที่สนใจการเมือง มีส่วนสนับสนุนนักศึกษาให้เรียกร้องประชาธิปไตยสมัยเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 เป็นสมาชิกพรรคแนวร่วมสังคมนิยม ต่อมาได้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคพลังใหม่ และได้รับเลือกตั้งหลายสมัย มีโอกาสทำงานรับใช้สังคมมากขึ้น นับเป็นศิลปินที่ทำประโยชน์เพื่อประเทศอย่างสม่ำเสมอตลอดมา

ในปี พ.ศ. 2525 เคยเข้าร่วมก่อตั้งและเป็นเลขาธิการพรรคพลังใหม่ ซึ่งนำโดยนายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ หัวหน้าพรรค ร้อยตรีสมหวัง ศรีชัย รองหัวหน้าพรรค และแกนนำคนสำคัญอาทิเช่น ชัชวาลย์ ชมภูแดง บรรลือ ชำนาญกิจ ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ในปี พ.ศ. 2530 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคกิจประชาคม

สุเทพเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังธรรม ในปี พ.ศ. 2531

สุเทพได้ร่วมลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
   ฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน
เคยขึ้นเวทีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 ในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2551 และร้องเพลง “คน” และ “อำนาจเงิน” โดยไม่มีดนตรีประกอบ

เพลงที่ร้องประกอบภาพยนตร์และละครโทรทัศน์
สกาวเดือน จากภาพยนตร์เรื่อง สกาวเดือน
แผ่นดินของเรา จากภาพยนตร์เรื่อง โพระดก
มนต์รักบ้านนา จากภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักบ้านนา พ.ศ. 2505
ดอกอ้อ จากภาพยนตร์เรื่อง ดอกอ้อ พ.ศ. 2511
แววมยุรา จากภาพยนตร์เรื่อง แววมยุรา พ.ศ. 2501
ยอดพธูเมืองแปร จากละครโทรทัศน์เรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ พ.ศ. 2509 - 2510
ปองใจรัก จุฬาตรีคูณ จากละครโทรทัศน์เรื่อง จุฬาตรีคูณ'
ปูจ๋า สกุลกา ร้อยป่า น้ำค้าง จากภาพยนตร์เรื่อง ปูจ๋า สกุลกา ร้อยป่า น้ำค้าง
ดอกแก้ว จากภาพยนตร์เรื่อง ดอกแก้ว พ.ศ. 2505
พะเนียงรัก จากภาพยนตร์เรื่อง พะเนียงรัก พ.ศ. 2506
สวรรค์มืด เทขยะ พิศภาพดวงใจ มนต์รักดวงใจ จากภาพยนตร์เรื่อง สวรรค์มืด
ละอองดาว จากภาพยนตร์เรื่อง ละอองดาว พ.ศ. 2507
รักแท้ จากภาพยนตร์เรื่อง ในม่านเมฆ พ.ศ. 2509
หนึ่งนุช’ จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช' พ.ศ. 2514

เพลงประเภททั่วไป ซึ่งมีมากกว่า 3,000 เพลง เช่น
ในโลกแห่งความฝัน (แผ่นเสียงทองคำพระราชทาน)
ใจพี่ (แผ่นเสียงทองคำพระราชทาน)
ครวญ (แผ่นเสียงทองคำพระราชทาน)
ตัวไกลใจยัง (แผ่นเสียงทองคำพระราชทาน พ.ศ. 2522)
ดาวลอย
เพียงคำเดียว
ดอกแก้ว
คำคน ลาก่อนสำหรับวันนี้
ไม่อยากให้โลกนี้มีความรัก
ชั่วนิจนิรันดร
โลกนี้คือละคร
คนจะรักกัน
บทเรียนก่อนวิวาห์
คืนหนึ่ง
วิญญาณในภาพถ่าย
หวานรัก
ชื่นรัก
เสน่หา

เพลงประเภทปลุกใจและศาสนา
เทิดพระเกียรติพระปิยมหาราช
สดุดีมหาราชา
พลังไทย
พระรัตนตรัย
พุทธธรรม
เดือนเพ็ญตรัสรู้
ใต้ร่มพระบารมี

คอนเสิร์ต
คอนเสิร์ต เกิดมาเพื่อเพลง 77 ปี สุเทพ วงศ์กำแหง (2554)
คอนเสิร์ต รักเธอเสมอ (2554)
คอนเสิร์ต เพชรในเพลง (2554)
คอนเสิร์ต เพลงคู่ ครูเพลง (2555)
คอนเสิร์ต ชมวัง...ฟังเพลง (2555)
คอนเสิร์ต เพชรในเพลง ครั้งที่ 2 (2555)
คอนเสิร์ต หนังไทยในเสียงเพลง (2555)
คอนเสิร์ต 89 ปี ชาลี อินทรวิจิตร (2555)
คอนเสิร์ต บ้านเมืองสวยด้วยเสียงเพลง (2555)
คอนเสิร์ต ตามรอยแพร บนฟองเบียร์ สู่ปีที่ 80 สุเทพ วงศ์กำแหง (2556)
คอนเสิร์ต เพลงทำนอง...สองครู (2556)
คอนเสิร์ต เมื่อเพลงพาไป (2557)
คอนเสิร์ต กล่อมกรุง (2557)
คอนเสิร์ต รัตนโกสินทร์ (2557)
คอนเสิร์ต รักปักใจ ลินจง (2557)
คอนเสิร์ต 100 ปี กาญจนะผลิน (2557)
คอนเสิร์ต จุฬาฯ พาเพลิน ลีลาไทยในบทเพลง (2557)
คอนเสิร์ต รวมใจชาวอีสาน (2558)
คอนเสิร์ต บี พงษ์พันธ์ วันแมนโชว์ (2558)
คอนเสิร์ต ที่สุดที่ดี เพื่อพี่รี่ สวลี ผกาพันธุ์ (2558)
คอนเสิร์ต Master of Voices 3 ตำนานเพลงรักแห่งสยาม (2558)
คอนเสิร์ต กล่อมกรุง 2 (2558)
คอนเสิร์ต 40 ปี อุมาพร (2559)
คอนเสิร์ต สองวัยใจเดียวกัน (2559)
คอนเสิร์ต 93 ปี ชาลี อินทรวิจิตร เพลงหนังคู่แผ่นดิน (2559)
คอนเสิร์ต ''สองวัยใจเดียวกัน'' ครั้งที่ 2 (2561)
คอนเสิร์ต พลังแห่งรัก สุเทพ วงศ์กำแหง (2562)

ผลงานการแสดงละคร
เงิน เงิน เงิน (2540)

ผลงานการแสดงภาพยนตร์
ขบวนเสรีจีน (2502)
เงิน เงิน เงิน (2508)
สาวขบเผาะ (2515)
วิมานดารา (2517)
เดือนเสี้ยว (2528)
ด๊อกเตอร์ครก (2535)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2533 – Order of the White Elephant - 2nd Class (Thailand) ribbon.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
พ.ศ. 2531 – Order of the Crown of Thailand - 2nd Class (Thailand) ribbon.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
พ.ศ. 2538 – Order of the Direkgunabhorn 4th class (Thailand) ribbon.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)

บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #93 เมื่อ: 08 เมษายน 2566, 02:52:53 PM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พงษ์สิทธิ์ คำภีร์













....”เรียนและงาน”หนุ่มน้อย”..........”บินตาม  ฝัน”นา
    “ถึงเพื่อน””ยอดชาย” ความ.......”แค่นั้น”
    “คิดถึง””แม่”อยาก “ถาม..........ยาย”อยู่   ดีแน
   ”ไถ่เธอคืนมา”ปั้น...................”อยู่ตรงนี้”เออ....

....เจอ”สมชาย”ได้ว่า.................”ปัญญา  ชน”นา  
   “กูเป็นนักศึกษา”....................”เบื่อ””สู้”
   “ตำรวจ””ขอโทษ”ภรรยา..........มัวล่า   “มือปืน”
   “วิญญาณ””กว่าจะรู้”...............ไอ้”ผีโลงเย็น”....

 ....ถึงเห็น”(ไม่)บอกไม่รู้”............”สุดใจ”
     “หวัง”“เกิดอยู่เมืองไทย”.........เยี่ยมแท้
     “รักเดียว””เสมอ”ไป.............ว่า”ใจ   บงการ”
      “ตลอดเวลา”แม้.................แต่งแล้วไหลหลง....

....”พงษ์สิทธิ์ คำภีร์” เล่นร้อง.......โดนจิต   ใจนา
    “เพลงรักเพื่อชีวิต.................เจ้าพ่อ”
    โทนเสียงนุ่มเพราะติด............สั่นลูก   คอแน
    ดังเด่นเสริมคนท้อ...............ได้เริ่มปลุกใจ....



พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ (ปู) ศิลปินเพลงเพื่อชีวิตชาวไทย ที่ได้รับความนิยมในช่วงปี พ.ศ. 2534 และเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2535 จากผลงานอัลบั้ม มาตามสัญญา

ประวัติ
ปฐมวัย

     พงษ์สิทธิ์ คำภีร์เกิดวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 ที่อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย โดยมีพ่อเป็นผู้ช่วยแพทย์ในโรงพยาบาล ที่อยู่ใกล้บ้าน ชื่อ สุดใจ คัมภีร์ ส่วนคุณแม่ชื่อ สมพร มีพี่น้องด้วยกัน 3 คน
      พงษ์สิทธิ์เริ่มสนใจดนตรีและกีฬาฟุตบอลมาตั้งแต่วัยเด็ก และภายหลังจากที่เรียนจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคารแล้ว พงษ์สิทธิ์ก็มุ่งหน้าสู่จังหวัดขอนแก่น เพื่อสอบเรียนต่อที่วิทยาลัยเทคนิคไทย-เยอรมันขอนแก่น (ปัจจุบันเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น) แต่กลับต้องผิดหวัง เพราะวันประกาศผลสอบกลับไม่มีชื่อของเขา พงษ์สิทธิ์จึงตัดสินใจสมัครเรียนในโรงเรียนเอกชนชื่อโรงเรียนช่างกลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ปัจจุบันเป็น วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เพื่อไม่ให้เสียเวลาและเป็นการเตรียมพร้อมในการสอบคราวหน้า หลังจากเวลาผ่านไปหนึ่งปี จึงได้เข้าสมัครสอบที่วิทยาลัยเทคนิคไทย-เยอรมันขอนแก่นอีกครั้ง และครั้งนี้ พงษ์สิทธิ์ก็ไม่ผิดหวัง ช่วงมาเรียนที่นี้ พงษ์สิทธิ์ได้เข้ามาเป็นนักฟุตบอลของวิทยาลัย รวมทั้งฝึกการเล่นกีตาร์ไปพร้อมกัน ถึงขนาดแต่งเพลงไว้หลายบทเพลงด้วยกัน จนกระทั่งได้มีโอกาสร่วมเล่นดนตรีกับวงดนตรีรุ่นพี่ในวิทยาลัย ชื่อวง รีไทร์ ในตำแหน่งมือกีตาร์ และนั้นก็เป็นก้าวแรกในการเริ่มต้นของการเป็นนักดนตรีของพงษ์สิทธิ์ (ช่วงนี้ วงรีไทร์ ไดมีโอกาสเล่นเป็นวงเปิดให้กับศิลปินเพื่อชีวิต อย่าง ฅาราวาน และ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ ทำให้พงษ์สิทธิ์ ได้มีโอกาสทำความรู้จัก และฅาราวานก็เป็นวงแม่แบบให้กับพงษ์สิทธิ์ตลอดมา)

ภายหลังจากจบการศึกษาในระดับ (ปวช.) แผนกช่างกลโรงงาน พงษ์สิทธิ์ก็เดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานคร โดยมาพักอยู่กับ ซู - ระพินทร์ พุฒิชาติ และ ปราโมทย์ ม่วงไหมทอง (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ซึ่งต่อมาเป็นสมาชิกวงซูซู ด้วยความตั้งใจที่จะเป็นนักดนตรีอย่างเต็มตัว โดยมีนักดนตรีที่เคารพนับถือและชื่นชอบอยู่ 2 ท่าน คือ หงา - สุรชัย จันทิมาธร และเล็ก - ปรีชา ชนะภัย ที่คอยให้คำปรึกษา ให้ความช่วยเหลือ จนในระยะแรกก็ได้มาร่วมงานกับวงฅาราวานโดยเป็นนักดนตรีแบ็คอัพในตำแหน่งมือกีตาร์ และมีโอกาสได้ทัวร์ คอนเสิร์ตสันติภาพในประเทศกัมพูชา รวมทั้งคอนเสิร์ตที่ประทับใจอีกแห่ง คือ ปูวิชยาคาน คอนเสิร์ตนครวัด

จนกระทั่งในที่สุดก็ได้ออกอัลบั้มชุดแรกในปี พ.ศ. 2530 ชื่อชุด ถึงเพื่อน กับบริษัทบัฟฟาโล เฮด ที่มีสมาชิกวงคาราบาวเป็นผู้ดูแล และได้ สุเทพ ปานอำพัน (เอ็ดดี้ ซูซู) มาช่วยอีกแรงหนึ่ง ด้วยงานชุดนี้ไม่ถือว่าประสบความสำเร็จเท่าไหร่นัก แต่ก็มีเพลงฮิตอย่าง ถึงเพื่อน, เรียนและงาน ที่ถูกเปิดให้ได้ยินกันบ่อย ๆ ในยุคนั้น

ตำนานเพลงเพื่อชีวิตรุ่นที่ 3
พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในปี พ.ศ. 2533 จากเพลง ตลอดเวลา ในอัลบั้ม เสือตัวที่ 11 ซึ่งออกกับค่าย รถไฟดนตรี พร้อมทั้งได้ทำเพลงประกอบละคร ตะวันชิงพลบ ซึ่งได้มีโอกาสที่จะนำเพลงดังกล่าวไปบรรจุรวมอยู่ในอัลบั้ม บันทึกการเดินทาง ด้วย แต่ติดอยู่ตรงที่ปัญหาทางด้านลิขสิทธิ์เพลง จึงจำเป็นต้องถอดออกภายหลัง แต่พงษ์สิทธิ์ได้นำเพลง โรงเรียนของหนู มาใส่ไว้แทน และเป็นอัลบั้มที่แฟนเพลงรู้จักมากขึ้นหลังจากออกวางจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็น คิดถึง, โรงเรียนของหนู, เธอ...ผู้เสียสละ, ไทรโศก, ผีโรงเย็น, แม่ เป็นต้น

    พงษ์สิทธิ์มีชื่อเล่นว่า ปู แต่บางครั้งแฟนเพลงจะนิยมเขาว่า คำภีร์ ตามชื่อนามสกุลที่เจ้าตัวเรียกตัวเองในแต่ละอัลบั้ม โดยในปี พ.ศ. 2535 พงษ์สิทธิ์ก็ออกอัลบั้มชุด มาตามสัญญา มีเพลงที่เป็นที่รู้จักกันคือ สุดใจ, ไถ่เธอคืนมา, เสมอ และ มาตามสัญญา ที่ได้เล็ก - ปรีชา ชนะภัย ศิลปินรุ่นพี่ที่พงษ์สิทธิ์ชื่นชอบมาร่วมร้องอีกด้วย โดยช่วงปีนั้น พงษ์สิทธิ์ได้รับความนิยมสูงสุด จนได้รับฉายาว่า ตำนานเพลงเพื่อชีวิตรุ่นที่ 3 (ต่อจาก ฅาราวาน และ คาราบาว) หรือ เจ้าพ่อเพลงรักเพื่อชีวิต

    พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ เป็นนักร้องที่มีโทนเสียงไพเราะ มีลูกคอก้องกังวาล เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดังนั้นเพลงที่เป็นที่นิยมและรู้จักของแฟนเพลงมาจนถึงปัจจุบัน มักจะเป็นเพลงช้า เนื้อหาซึ้ง ๆ บรรยายถึงความรักหรือความเหงาเป็นต้น ตามรายชื่อดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้น และในส่วนของเพลงเร็ว ที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ หนุ่มน้อย, เจ้านาย, ยอดชาย, ทองดีทองเค, นักแสวงหา, ม.ให้อะไร, อีกคนหนึ่ง, แกเพื่อนฉัน, แรงยังมี เป็นต้น

    ปัจจุบัน ด้วยสภาพกระแสดนตรีในประเทศไทยเปลี่ยนไป จึงทำให้ชื่อเสียงและผลงานของพงษ์สิทธิ์ คำภีร์ เริ่มสร่างซาความนิยมและกล่าวถึงลง แต่พงษ์สิทธิ์ก็ยังได้ผลิตงานออกมาเป็นระยะ ๆ และผลงานเพลงในสมัยที่ยังโด่งดังสุดขีดก็ยังคงเป็นที่นิยมของกลุ่มแฟนเพลงเพื่อชีวิตอยู่เหมือนเดิม

สมาชิก
พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ ร้องนำ,กีตาร์,ฮาร์โมนิก้า,ประสานเสียง
ศิวะพงษ์ ศรีปรีชาพัฒนะ กีตาร์
ยุทธดนัย มั่งนิมิต เบส,ประสานเสียง
อุดร ทีนะกุล กลอง,ประสานเสียง
สุวรรณ มโนษร คีย์บอร์ด,ไวโอลิน,ประสานเสียง
อดีตสมาชิก
เมธี จันทรา กีตาร์,ประสานเสียง
อุทัยวุฒิ เหมือนทอง คีย์บอร์ด,ประสานเสียง
Jack Barry กีตาร์,ประสานเสียง

ผลงานเพลง
อัลบั้มภาคปกติ

ถึงเพื่อน (2530 - Vol.1 เปลี่ยนปกพร้อมบันทึกเสียงใหม่และเพิ่มเพลงพิเศษ 2 เพลง นิทรา, อยู่ในใจ "Instrumental")
เสือตัวที่ 11 (2533)
บันทึกการเดินทาง (2534)
มาตามสัญญา (2535)
อยู่ตรงนี้ (2536)
เราจะกลับมา (2537)
อยากขึ้นสวรรค์ (2538 - เปลี่ยนปกใหม่ พร้อมเพลง "รอ" เวอร์ชันใหม่)
เส้นทางสายเก่า (2539)
คำนึงถึงบ้าน (2540)
สุดใจฝัน (2541)
สมชายดี (2542)
ชีวิตยังมีหวัง (2543)
ใต้ดวงตะวัน (2544)
สามัญชน (2546)
ประชาชนเต็มขั้น (2548)
บันทึกคนบนถนน (2549)
วันใหม่ (2550)
25 ปี (มีหวัง) (2555)
แกกับฉัน (2561)
35 ปี คำภีร์ (2565)

คอนเสิร์ต
           แสดงคอนเสิร์ตเป็นจำนวนมาก

รางวัล
สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย รางวัลศิลปินเพลงสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2534
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ เพลงนำละครดีเด่น เรื่อง "ตะวันชิงพลบ" ปี พ.ศ. 2534
ชมรมสภาวะแวดล้อมสยาม รางวัลเพลงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม "สัตว์รักสัตว์" ปี พ.ศ. 2535
คณะกรรมการ สยช. รางวัลผู้ผลิตงานสื่อมวลชนดีเด่นเพื่อเยาวชน "โรงเรียนของหนู" ปี พ.ศ. 2535
รางวัลศิลปินผู้ช่วยเหลือกิจการ โรงเรียนวชิรวุธวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2535
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ มิวสิกวิดีโอดีเด่น "โรงเรียนของหนู" ปี พ.ศ. 2535
สีสันอะวอร์ดส์ เพลงยอดเยี่ยม "6 ต.ค. 2519" ปี พ.ศ. 2539
พระพิฆเนศทองคำ ปี 2540
สีสันอะวอร์ดส์ เพลงในการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม "ออนซอน" ปี พ.ศ. 2542
สีสันอะวอร์ดส์ เพลงในการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม "ด.ช.รามี่" ปี พ.ศ. 2544
คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 10 รางวัล "อัลบั้มยอดเยี่ยม" (อัลบั้ม 25 ปี มีหวัง) ปี พ.ศ. 2555
สีสันอะวอร์ดส์ ศิลปินชายยอดเยี่ยม (อัลบั้ม 25 ปี มีหวัง) ปี พ.ศ. 2555
คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 15 รางวัล "ศิลปินชายเดี่ยวยอดเยี่ยม" จากอัลบั้ม "แกกับฉัน" ประจำปี พ.ศ. 2561
สีสันอะวอร์ดส์ ศิลปินเดี่ยวยอดเยี่ยม จากอัลบั้ม "แกกับฉัน" ครั้งที่ 30 ประจำปี 2561
และ รางวัลต่างๆอีกมากมาย ตั้งแต่รางวัล ระดับประเทศ, องค์กร, สถาบันต่างๆที่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #94 เมื่อ: 09 เมษายน 2566, 11:14:58 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @เท่ห์ อุทน พรหมมินทร์












....”ทบทวน””รับไม่ได้”..............”วิชา  มาร” แฮ
    “เหมือนไม่รักกัน”หา..............เรื่องสร้าง
    “ดวงใจ”ที่เจ็บชา..................”เชือดนิ่ม นิ่ม”นา
    พาเริ่ม”รักและร้าง”................”ไม่ไว้วางใจ”....

....”เจาะใจ””ทน(ดู)ไม่ได้”......."....”หลงทาง”
    “รักที่(ซึ้ง)ใจ”เลือนลาง........."...”คัดค้าน”
    “เลือกรักไม่(ได้)”ดีวาง.............”ต่างคน   ต่างไป”
    ใช่”รักนอกเวลา”ม้าน...............”สิ้นสายสัมพันธ์”....

....”ในฝัน””ใจน้ำแข็ง”..................เย็นชา
    “ที่สุดของหัวใจ”กา”.................รักแท้
     “ขออภัยมือใหม่”หา................”แต่คน  หวังดี”
     “ฉันคงไม่ตายแม้...................ว่าต้องขาดเธอ”....

.....เสนอเพลง”โกหกหน้า.............ตาย”กิน   ใจแล
     เกิดอยู่เชียงรายดิน.................ถิ่นย้าย
     “อุเทน””เท่ห์””พรหมมินทร์”......เชียงใหม่   สืบมา
    เสียงนุ่มนวลสุดท้าย................ได้โล่ตำนาน....


อุเทน พรหมมินทร์ ชื่อเล่นว่า เท่ห์ เป็นนักร้องแนวป็อปและเพลงไทยสากลร่วมสมัย เจ้าของเพลงดัง โกหกหน้าตาย, วิชามาร, ไม่ไว้วางใจ

ประวัติ
อุเทน พรหมมินทร์ เกิดที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยมีศักดิ์เป็นเครือญาติกับ โอฬาร พรหมใจ นักกีตาร์ชื่อดัง แต่ต่อมาครอบครัวได้ย้ายไปปักหลักที่จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้เติบโตที่นั่น จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย และ ปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
      เริ่มเล่นดนตรีตั้งแต่อายุ 6 ขวบโดยจับเครื่องดนตรีทรัมเป็ตเป็นชิ้นแรก และเริ่มฝึกฝนเครื่องดนตรีอย่างจริงจัง ต่อมาได้ร้องเพลงตามห้องอาหาร โดยมี สุชาติ ชวางกูร เป็นต้นแบบ  จนกระทั่งได้โชว์ตัวร้องเพลงออกรายการโทรทัศน์ท้องถิ่น
     ก่อนจะเข้าร่วมประกวดร้องเพลงในงาน National Expo เชียงใหม่ โดยได้ตำแหน่งแชมป์นักร้องถึงสองปีซ้อน จากบทเพลงเดียวกันคือ "หากหัวใจฉันมีปีกบิน"
     ก่อนจะมีผลงานเพลงบันทึกเสียงในกรุงเทพฯ กับอัลบั้ม "แด่คนหวังดี" และอีกหลายชุด จนได้ชื่อว่าเป็น "นักร้องป่าล้อมเมืองวัยหนุ่ม"  เพราะผลงานเพลงในชุดแรกที่สร้างชื่อเสียงนั้นมักใช้ทำนองเพลงดังของจีนมาแปลงเนื้อร้อง อีกทั้งการเริ่มโปรโมทเพลงตามสถานีวิทยุต่างๆ ในภาคเหนือก่อนจะลุกลามไปทั่วประเทศ ทำให้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว

ด้านชีวิตส่วนตัว เคยมีข่าวคราวว่าคบหาเป็นแฟนกับ แคทลียา อิงลิช อยู่ระยะหนึ่ง ปัจจุบัน สมรสกับ นางสาวปรินดา เกียรติเสริมสกุล มีบุตรแล้ว 2 คน คือ ด.ญ.พริมา พรหมมินทร์ (พริม) และบุตรชายคนที่ 2 โดยตั้งชื่อเล่นไว้ว่า น้องไพรม์ คลอดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เวลา 14:04 น. น้ำหนัก 3,246 กรัม ณ โรงพยาบาลพระราม 9

ผลงาน
ผลงานเพลง

อัลบั้ม แด่คนหวังดี (2534)
อัลบั้ม ถ้าหัวใจฉันมีปีกบิน (บันทึกเสียงไว้ก่อนอัลบั้มแด่คนหวังดีประมาณ 4 ปี) (2534)
อัลบั้ม ทบทวน (2535)
อัลบั้ม ขออภัย…มือใหม่ (2535)
อัลบั้ม รักของแม่
อัลบั้ม สุดยอด 16 เพลงหวาน (รวมฮิต) (2536)
อัลบั้ม รักฉันสักครั้งจะไม่ลืมพระคุณ (2536)
อัลบั้ม รวมฮิตแบบเท่ห์ เท่ห์ 16 เพลงไพเราะ (2537)
อัลบั้ม บูชาครู ชุดที่ 1-2 (2537)
อัลบั้ม สวัสดีบางกอก ตอน ฟื้นไออดีตแห่งความทรงจำ (2538)
อัลบั้ม ขอเท่ห์…สักคน (2538)
อัลบั้ม โกลเด้น เรคคอร์ด (รวมศิลปิน) (2539)
อัลบั้ม marching melody 1996 (รวมศิลปิน) (2539)
อัลบั้ม กี่ครั้งก็ยังรักเธอ (2540)
อัลบั้ม ทุกนาทีที่มีรัก (รวมฮิต 14 เพลงรัก) (2541)
อัลบั้ม เทิดเกียรติคุณครู (เพลง พระคุณครู) (2541)
อัลบั้ม รู้ไว้ว่ารัก (2541)
อัลบั้ม เท่ห์ แบบลูกทุ่ง (2541)
อัลบั้ม กำลังใจ 1-2 (รวมศิลปิน) (2541)
อัลบั้ม 2191 วันที่ฉันรักเธอ (2542)
อัลบั้ม กล่อมกรุง (2542)
     ชุดที่ 1 คิดถึง
     ชุดที่ 2 เตรียมการณ์รัก
    ชุดที่ 3 ฝากหัวใจ
    ชุดที่ 4 สิ้นกลิ่นดิน
    ชุดที่ 5 รักเอย
อัลบั้ม เพลงรักล้านนา ชุดที่ 1-2 (2543)
อัลบั้ม รักนอกเวลา (2544)
อัลบั้ม เพลงประกอบละคร สะใภ้ไร้ศักดินา (2544)
เรารู้กันอยู่สองคน ร้องคู่กับ พรชิตา ณ สงขลา
ดอกฟ้ายอดรัก
รักไร้ศักดินา
ใต้ร่มมลุลี ร้องคู่กับ พรชิตา ณ สงขลา
เชื่อเหอะ
อัลบั้ม ครูในดวงใจ (รวมศิลปิน) (2544)
อัลบั้ม เพลงติดดาว 3 (รวมศิลปิน) (2544)
อัลบั้ม มือปิดฟ้า (2545)
อัลบั้ม เพลินเพลง "วัฒนธรรม" (รวมศิลปิน) (2545)
อัลบั้ม ของขวัญจากกาลเวลา ชุดที่ 1-3 (2546)
อัลบั้ม ดอกไม้ยังงดงาม (2546)
อัลบั้ม กรุณา (รวมศิลปิน) (2546)
อัลบั้ม เพลงฮิตละครดัง 3 (รวมศิลปิน) (2546)
อัลบั้ม เสน่ห์เพลงรัก (2547)
อัลบั้ม หัวใจลูกทุ่ง ชุดที่ 1-3 (2547)
อัลบั้ม ฟ้าหลังฝน (2547)
อัลบั้ม ซับน้ำตาอันดามัน (อัลบั้มพิเศษ ช่วยผู้ประสบภัยสึนามิ) (2548)
เพลง อย่าลืมบานเย็น เวอร์ชันเฉลิมฉลอง 100 ปี (บทเพลงพิเศษเนื่องในโอกาสการเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีแห่งการพระราชทานนาม โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย) (2548)
อัลบั้ม รวมเพลงละครพันล้าน (เพลงประกอบละคร เรื่อง สัญญาเมื่อสายัณห์ 2 เพลง) (2549)
อัลบั้มเพลงประกอบละคร บุญ.ลุ้นฟ้าหาชีวิต (เพลง แสงดาวบาดตา, เพลง เลือกรักไม่ได้) (2549)
อัลบั้ม รวมฮิตหัวกะทิ (รวมศิลปิน) (2549)
อัลบั้ม ศ.ค.ศ. 2550
อัลบั้ม 25 ปี มนต์เพลงคาราบาว (ร่วมงานกับคาราบาว) (2550)
อัลบั้ม มนต์รักสัญจร (รวมศิลปิน) (2551)
อัลบั้ม รักเธอหมดใจ (2553)
เพลง ดอกปาริชาติสวรรค์ (สวีทนุช Feat. เท่ห์ อุเทน พรหมมินทร์) (อัลบั้ม สวีทนุช...ที่สุดหวาน)
เพลง เพื่อน..ที่ดีที่สุด (ซ้ง ธิติ พฤกษ์ชะอุ่ม Feat. เท่ห์ อุเทน พรหมมินทร์)
อัลบั้ม เพื่อสร้างสรรค์สังคม (รวมศิลปิน) (2555)
อัลบั้ม ชีวิตภาคค่ำ (รวมศิลปิน) (2556)
อัลบั้ม อีกนิดนึง (2556)
อัลบั้ม เสน่ห์ล้านนา (รวมศิลปิน) (2556)
อัลบั้ม ขอเวลาเท่ห์ (2557)
อัลบั้ม เท่ห์กำลังดี 25 ปี อุเทน พรหมมินทร์ (2559)
เพลง กลับมาตรงนี้ (เพลงประกอบละคร ริมฝั่งน้ำ) (2561)
เพลง จันทร์กระจ่างที่กลางทุ่ง (เพลงประกอบละคร จันทร์กระจ่างที่กลางทุ่ง) (2562)
เพลง แค่เปิดใจ (เพลงประกอบละคร พรายสังคีต) (2563)
เพลง เกลียดความคิดถึง (ต้นฉบับ โกไข่) 25 ปี แกรมมี่ โกลด์ 25 ปี แห่งความผูกพัน ฉันและเธอ (2563)
เพลง ชะตาที่ไร้เมตตา ร้องคู่กับ ยุ้ย ปัทมวรรณ นิยม (เพลงประกอบละคร แม่เบี้ย) (2564)

คอนเสิร์ต
60 ปี ธรรมศาสตร์ (2536)
เชิดชูครูเพลง ครั้งที่ 2 ชาลี อินทรวิจิตร (8 กรกฎาคม 2538)
พลังแผ่นดิน (20 พฤศจิกายน 2542)
ถูกใจคนไทย ร่วมใจใช้สินค้าถูกกฎหมาย (17 สิงหาคม 2545)
ยืนยง โอภากุล และเพื่อน คอนเสิร์ต กระชับมิตร (30 ตุลาคม 2548)
ทุ่งฝันตะวันรอน (24 กันยายน 2549)
สุนทราภรณ์ 96-97 บทเพลงแห่งธรรมชาติ (7 มกราคม 2550)
มนต์เพลงคาราบาว (7 กรกฎาคม 2550)
แด่คนช่างฝัน 30 ปี จรัล มโนเพ็ชร (13 กันยายน 2551)
ถนนสายเพลง เกษม-สมาน (15 มีนาคม 2552)
100 ปี ครูเอื้อ สุนทรสนาน (23 มกราคม 2553)
ผ้าป่ามหากุศล ปิดทองหลวงปู่ทวด ฟุตบอลดาราฟรีคอนเสิร์ต (9 กรกฎาคม 2554)
สุนทราภรณ์ กรุงเทพเมืองสวรรค์ (11 กันยายน 2554)
เพื่อนช่วยเพื่อน” เพื่อ ดอน สอนระเบียบ (23 มิถุนายน 2555)
89 ปี ชาลี อินทรวิจิตร (25 - 26 สิงหาคม 2555)
35 ปี จรัล มโนเพ็ชร (รับเชิญ) (19 ตุลาคม 2555)
หนังไทยในเสียงเพลง (10 มกราคม 2556)
เพลงพาไป เมืองไทยยิ่งงาม (27 กรกฎาคม 2556)
60 ปี ชีวิตละคร นพพล โกมารชุน (2 พฤศจิกายน 2556)
เทศกาลเชียงรายรำลึก (14-15 กุมภาพันธ์ 2557)
Yesterday Once More Retro Music Festival (6 ธันวาคม 2557)
Window of Memories (11 กุมภาพันธ์ 2558)
เพลินทีวี เพลินกรุง ครั้งที่ 2 88 ปีแห่งความภักดีจากลูกแด่พ่อ (20 ธันวาคม 2558)
Yesterday Once More Retro Music Festival : Volume 2 (26 ธันวาคม 2558)
25 ปี ยังเท่ห์ อุเทน พรหมมินทร์ (คอนเสิร์ตเดี่ยวครั้งแรกในชีวิต) (9 มกราคม 2559)
พลังแห่งรัก...ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา (3 กรกฎาคม 2559)
GREEN CONCERT #19 THE LOST LOVE SONGS TO BE CONTINUED (6 - 7 สิงหาคม 2559)
The Producer คอนเสิร์ตหนึ่งจักรวาลและล้านดวงดาว (17 กันยายน 2559)
เพลงไทยไพเราะที่สุดในโลก ครั้งที่ 5 (30 ตุลาคม 2559)
36 ปี สุชาติ ชวางกูร (Guest) (1 กรกฎาคม 2560)
ทองหล่อเล่นสด (2 กรกฎาคม 2560)
Sing For Child ปี 2 (17 กันยายน 2560)
Remember Me เสียงเรียกจากเพลงรัก (3 มีนาคม 2561)
MQDC presents Master of Voices ตำนานเพลงรัก 3 รุ่น (5 ธันวาคม 2561)
รำลึก พ่อดม ชวนชื่น (27 ธันวาคม 2561)
รักเพลง รักแผ่นดิน 12 (20 สิงหาคม 2562)
ดนตรีในสวน (13 กุมภาพันธ์ 2563)
25 ปี แกรมมี่ โกลด์ เส้นทางมิตรภาพโรดทัวร์ (10 ตุลาคม - 28 พฤศจิกายน 2563)
เพื่อไม่ทิ้งกัน แสดงช่วยเหลือเพื่อนพี่น้องชาวใต้ (22 ธันวาคม 2563)
99 ปี ชาลี อินทรวิจิตร (14 มีนาคม 2564)

ร้องประสาน
เพลง ขวานไทยใจหนึ่งเดียว

เพลงพิเศษ
เพลง จากก้อนดิน สู่ก้อนบุญ ร่วมกับ ยืนยง โอภากุล, สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว, ไชยา มิตรชัย, เศรษฐา ศิระฉายา, ดาวใจ ไพจิตร และศิลปินนักร้องดาราอีกคับคั่ง

ละครโทรทัศน์
2539   คนอยู่วัด   ช่อง 3   รับบทเป็นนึก
2540   เพื่อน   ช่อง 5   
2541   ซุปเปอร์ลูกทุ่ง   ช่อง 9   สวรรค์บ้านทุ่ง   รับบทเป็นปลัดธนา
2544   สงครามดอกรัก   ช่อง 7   
2561   ริมฝั่งน้ำ   ช่อง 3   รับบทเป็นเอกยุทธ (รับเชิญ)
2563   พรายสังคีต   ช่อง 7    รับบทเป็นดร.พิบูล (รับเชิญ)
2564   แม่เบี้ย   รับบทเป็นลุงทิม (วัยหนุ่ม)
2565   ศีรษะมาร   ช่อง 8    รับบทเป็นปิลันธ์ วิเชียรภัทร (รับเชิญ)
พยัคฆ์ร้ายนายกุหลาบ   ช่อง 7   รับบทเป็นพันตำรวจเอก ชัชวาล พรหมมินทร์
2566   แม่ปูเปรี้ยว   

ละครชุด
พ.ศ. 2560 LOVE COMPLEX คอนโดวุ่น จุ้นรัก (/ช่อง 9) รับบทเป็น อุเทน
พ.ศ. 2544 ระเบิดเถิดเทิง (/ช่อง 5)

ดีเจวิทยุ
เป็นดีเจอยู่ที่คลื่นลูกทุ่งมหานคร FM 95.0 ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี เวลา 22.00-24.00 น. และวันอาทิตย์ เวลา 13.00-15.00 น.

รายการประกวดร้องเพลง
The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ซีซันที่ 3 : หน้ากากนินจา

โฆษณา
เป๊ปซี่

รางวัลที่ได้รับ
ปี 2534 รางวัลนักร้องดาวรุ่งยอดเยี่ยมประจำปี โดยสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย
ปี 2550 รางวัลชนะเลิศ โครงการ "เพชรในเพลง" สาขาการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย เพลง "กาษานาคา" จากกรมศิลปากร เนื่องในโอกาสวันภาษาไทยแห่งชาติ
ปี 2554 รางวัลชนะเลิศ โครงการ "เพชรในเพลง" สาขาการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย เพลง "ลิขิตรักจากเบื้องบน" จากกรมศิลปากร เนื่องในโอกาสวันภาษาไทยแห่งชาติ
ปี 2559 โล่เกียรติยศ 'หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงทองคำ' (ผู้ผลิตผลงานดีเด่นยอดเยี่ยมแห่งปี) ประจำปี 2559


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #95 เมื่อ: 17 เมษายน 2566, 06:54:39 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พุ่มพวง ดวงจันทร์
9705/94 = 103    ค่าเฉลี่ยผู้อ่านต่อโพสถ์ 103


     โคลงสี่ที่ผมหัดเขียนนี้ อาจจะไม่ได้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ เนื่องจากจุดมุ่งหมายในการบันทึกผลงานของท่านศิลปินซึ่งเป็นชื่อเฉพาะ ถ้าตัดข้อความไปน่าจะมีผลต่อการค้นหาชื่อผลงานของศิลปินในอนาคต เพราะลิงค์ของยูทูปนั้นอาจไม่สามารถใช้งานได้ในอนาคต

     แต่ก็ขอยืนยันว่าผมจะพยายามแต่งให้ตรงตามฉันทลักษณ์มากที่สุด เพราะได้อ่านแล้วพบว่า โคลงสี่ที่ผมเขียนมานั้น ส่วนใหญ่จะเป็นโคลงสี่ที่ไม่สมบูรณ์แบบ(คลาสสิค) คื่ออ่านก็สละสลวย ขับกลอนก็ไพเราะ แต่โคลงสี่ที่ผมเขียน อ่านก็พอสละสลวย แต่ขับเป็นโคลงส่วนมากไม่ไพเราะ ซึ่ีงก็จะพยายามพัฒนาตัวเองต่อไป

     ส่วนที่มีผู้ติดตามอ่านได้ระดับนี้ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะชื่อเสียงของศิลปินที่ผมได้ตั้งชื่อเป็นหัวข้อแล้วนำลิงค์ไปแปะไว้ที่เฟสบุค ทำให้เป็นที่สะดุดตาต่อคนที่ชื่นชอบศิลปินท่านนั้น

     สุดท้ายขอขอบคุณทุกท่านในบ้านคนภูธรที่ได้ให้คะแนนน้ำใจ ให้มีกำลังใจในการผึกหัดการเขียนโคลงสี่สุภาพ หรือผลงานอื่นๆ ต่อไป



"มนุษย์หลายพันล้านคนหิวโหยอาหารประทังชีวิต แต่มนุษย์เกือบทุกคนบนโลกโหยหาการยอมรับจากเพื่อนร่วมโลก"

พงศธร

บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
ผู้บริหารเว็บ
คะแนนน้ำใจ 65535
เหรียญรางวัล:
PJ ดีเด่นนักอ่านยอดเยี่ยมผู้ดูแลเว็บ
กระทู้: 18,126
ออฟไลน์ ออฟไลน์
"สาวหวาน กับ ความฝันไม่รู้จบ "
   
« ตอบ #96 เมื่อ: 17 เมษายน 2566, 08:37:41 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พุ่มพวง ดวงจันทร์
 
นี่ก็นับว่าเก่งสุดยอดแล้ว สำหรับมือใหม่
ตอนนี้ก็ไม่ใช่มือใหม่แล้วนะคะ
เก่งมากค่ะ ขอชมเชย
เขียนยังไม่ถึง 4 เดือน คนอ่าน เหยียบหมื่น
บันทึกการเข้า


♪♪♪ รวมบทกลอนน้องจ๋า คลิกค่ะ ...

ขอบคุณทุกภาพจาก Internet และเพลงจากYouTube
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #97 เมื่อ: 21 เมษายน 2566, 05:47:16 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @ขวัญจิต ศรีประจันต์

















....ศิลปินแห่งเชื้อ..........................ชาติไทย
   ดีเด่นเพราะจับใจ.........................ร้องเล่น
    ลำตัดฉ่อย(อี)แซวใคร..................เห็นเด่น  ดีนา
    ลูกทุ่งก็มิเว้น............................แม่ร้องเสียงดี....

....”ขวัญจิตร ศรี(ประจันต์)เก่งก้อง........สุพรรณ
    แรกเริ่มฝึกฝนพลัน......................พ่อห้าม
    สาวแรกรุ่นคนมัน........................สวยเด่น
    พาพ่อหวงวางก้าม...................... เรื่องชู้สาวนาง....

....นวลปรางรักเล่นร้อง......................มากนัก
    ฝึกท่องกลอนงานหลัก...................ซุ่มซ้อม
   ดูฟังแม่เพลงพัก...........................ลักพ่อ    เพลงนา
    ชอบอ่านหนังสือน้อม.....................ใช้แต่งกลองดี....

....ผลงานมีเล่นร้อง..........................มากมี
    ลูกทุ่งเพลงดังดี...........................ส่งไว้
   “(แม่)ครัวตัวอย่าง”รสดี...................เสน่ห์ปลาย   จวักนา
    “กับ(ข้าว)เพชฌฆาต”ใช้................ไล่ให้”ผัวหาย”....

....เลยกลายเป็นแม่”หม้าย..................ขันหมาก”
    แสน“เบื่อสมบัติ”ยาก.....................แบ่งได้
    “ไวพจน์”เงื่อนไขมาก....................”แบ่งสม   บัติ”นา
    ฉ่อยอีแซวลำตัดไซ้ร์.......................แม่ร้องมากมี.....  


ขวัญจิต ศรีประจันต์ มีชื่อจริงว่า เกลียว เสร็จกิจ (3 สิงหาคม พ.ศ. 2490 - ) เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน-อีแซว) ปี 2539 เป็นศิลปินแห่งชาติที่ได้รับตำแหน่งอายุน้อยที่สุดอันดับที่ 2 ขณะอายุ 49 ปี รองจากฉวีวรรณ ดำเนิน ศิลปินแห่งชาติประจำปี 2536 จากการเป็นแม่เพลงพื้นบ้านภาคกลางที่มีชื่อเสียง เต็มไปด้วยความสามารถในการเล่นเพลงแบบหาตัวจับได้ยาก และเมื่อหันเข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่ง ก็ได้รับความนิยมอย่างสูง มีผลงานเพลงดังมากมาย ในจำนวนนั้นก็เป็นเพลงที่เกิดจากการแต่งของตัวเองด้วยหลายเพลง โดยในการนำเสนอเพลงลูกทุ่ง ขวัญจิต ศรีประจันต์ ก็ได้นำท่วงทำนองเพลงพื้นบ้านภาคกลางเข้ามาผสมผสานอย่างลงตัว

ขวัญจิต ศรีประจันต์ เป็นชื่อที่ใช้ในวงการเพลง โดยคำว่า "ขวัญจิต" หมายถึง ขวัญจิตขวัญใจของแฟนเพลง ส่วนคำว่า "ศรีประจันต์" มาจากอำเภอที่ ขวัญจิต เกิดคือ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ประวัติ
ขวัญจิต ศรีประจันต์ มีชื่อจริงว่า นางเกลียว เสร็จกิจ เกิดเมื่อ 3 สิงหาคม 2490         ที่ ต.วังน้ำซับ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เป็นธิดาของนายอัง และนางปลด เสร็จกิจ มีพี่น้อง 3 คน โดยขวัญจิต ศรีประจันต์เป็นลูกคนโต

เข้าสู่วงการ

   ขวัญจิต ศรีประจันต์ สนใจเพลงพื้นบ้านมาตั้งแต่อายุ 15 ปี และแม้เชื้อสายทางพ่อจะมีญาติเป็นพ่อเพลงที่มีชื่อเสียงของสุพรรณบุรี แต่พ่อก็ไม่สนับสนุนให้เป็นแม่เพลงพื้นบ้านด้วยเกรงว่าความเป็นสาวรุ่นจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องชู้สาวตามมา แต่กลับสนับสนุนลูกสาวอีกคนหนึ่งที่อายุยังน้อยให้ไปฝึกหัดเพลงพื้นบ้านกับพ่อเพลงไสว วงษ์งามแทน ความสนใจเพลงพื้นบ้าน ทำให้ขวัญจิตติดตามดูการร้องเพลงอีแซวของแม่เพลงบัวผัน จันทร์ศรี (ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2533) เป็นประจำและต่อมาได้มีโอกาสไปดูแลน้องสาวที่อยู่กับครูไสว จึงได้เรียนรู้การเล่นเพลงอีแซวแบบครูพักลักจำจนท่องเนื้อเพลงได้หลากหลายทั้งลีลาเพลงแนวผู้ชายของครูไสวและเพลงแนวผู้หญิงของครูบัวผัน

   ขวัญจิต เป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือ และวรรณคดีเก่าๆของไทยอ่านแล้วก็นำเนื้อหานั้นมาแต่งเป็นเพลงอีแซว ร้องเล่นจนเกิดความแตกฉานซึ่งต่อมาได้ขอครูไสว แสดงบ้าง แม้ในระยะแรกๆครูไสวจะยังไม่อนุญาต แต่ในเวลาต่อมาเมื่อได้เห็นความอดทน ความตั้งใจจริง จึงอนุญาตให้แสดงความสามารถ และด้วยพลังเสียงที่กังวานมีไหวพริบ ปฏิภาณ เฉลียวฉลาดในการว่าเพลง ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของนักฟังเพลงอีแซวยิ่งนัก

    ขวัญจิต ได้ตระเวนเล่นเพลงอีแซวอยู่กับวงพื้นบ้านอีกหลายวงเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์จากพ่อเพลง แม่เพลงอีกหลายคนและเริ่มแสดงเพลงอีแซวในต่างจังหวัด และในกรุงเทพมหานคร ในงานสังคีตศาลา หรืองานสงกรานต์ที่ท้องสนามหลวงเป็นประจำ ทำให้มีความแตกฉานในเรื่องเพลงอีแซวมากยิ่งขึ้น สามารถเขียนเพลงเอง เพื่อใช้ในการแสดงและโต้ตอบเพลงสดๆ กับพ่อเพลงได้อย่างคมคายเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม หลังจากเล่นเพลงอีแซวจนมีชื่อเสียงแล้วขวัญจิต ได้สมัครเป็นนักร้องลูกทุ่งโดยเริ่มอยู่กับวงดนตรีลูกทุ่งคณจำรัศ สุวคนธ์(น้อย) และวงไวพจน์ เพชรสุพรรณ โดยได้บันทึกแผ่นเสียงเพลงแรกชื่อเพลง เบื่อสมบัติ งานเพลงของครู จิ๋ว พิจิตร เมื่อ ปี 2510 ทำให้เริ่มมีชื่อเสียงจากเพลงลูกทุ่งจากเพลง “เบื่อสมบัติ” , “ลาน้องไปเวียดนาม”, “ลาโคราช”, “ขวัญใจโชเฟอร์” , “เกลียดคนหน้าทน” , “ขวัญใจคนจน” “แม่ครัวตัวอย่าง “ และ “แหลมตะลุมพุก

    จากนั้นได้แต่งเพลงเองได้แก่ “น้ำตาดอกคำใต้” , “สาวสุพรรณ “ ซึ่งเป็นเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้เป็นอย่างมาก ต่อมาจึงได้ตั้งวงดนตรีของตนเอง ชื่อวงขวัญจิต ศรีประจันต์ เป็นวงดนตรีที่นำระบบแสง สี เสียง ที่น่าตื่นตาตื่นใจมาใช้ประกอบการแสดงนำเพลงอีแซวมาผสมผสานกับการแสดงเผยแพร่สู่ผู้ฟังทั่วประเทศจนเป็นที่รู้จักกันอย่างเป็นอย่างดี

พ.ศ. 2516 ขวัญจิต ยุติวงดนตรีลูกทุ่งแล้วกลับไปฟื้นฟูเพลงอีแซวที่ จ.สุพรรณบุรี อุทิศชีวิตในการอนุรักษ์ฟื้นฟู เผยแพร่และถ่ายทอดเพลงอีแซวให้กับลูกศิษย์และผู้สนใจมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน ได้ใช้ความรู้ความสามารถช่วยเหลือสถาบันการศึกษาและหน่วยงานราชการในการเป็นวิทยากรสาธิต รับแขกบ้านแขกเมืองด้วยการแสดงพื้นบ้านติดต่อกันมาอย่างยาวนาน

ผลงานเพลงดัง
กับข้าวเพชฌฆาต
แม่ครัวตัวอย่าง
วุ้ยว้าย
ก็นั่นนะซิ
พ่อเพาเว่อร์
เศรษฐีเมืองสุพรรณ
ผัวบ้าๆ
น้ำตาดอกคำใต้
สาวสุพรรณ
สุดแค้นแสนรัก
อ้อมอกเจ้าพระยา
แหลมตะลุมพุก
ทำบุญวันเกิด
ลาน้องไปเวียดนาม
ลาโคราช
ขวัญใจโชเฟอร์
เกลียดคนหน้าทน
ขวัญใจคนจน
หม้ายขันหมาก (ต้นฉบับ)
ผัวหาย
ฯลฯ เป็นต้น

ผลงานภาพยนตร์ และ ละครโทรทัศน์
อยากดัง ปี (2513)
ไทยใหญ่ ปี (2513)
ลำพู ปี (2513)
ลูกทุ่งเข้ากรุง ปี (2513)
ไอ้ทุย ปี (2514)
น้องนางบ้านนา ปี (2514)
จำปาทอง ปี (2514)
สุดที่รัก ปี (2514)
กลัวเมีย ปี (2514)
คนใจเพชร ปี (2514)
บุหงาหน้าฝน ปี (2515)
หาดทรายแก้ว ปี (2515)
เพลงรักลูกทุ่ง ปี (2515)
วิวาห์ลูกทุ่ง ปี (2515)
ลูกทุ่งฮอลิเดย์ ปี (2529)
มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. ปี (2545)
บ้านฉัน..ตลกไว้ก่อน (พ่อสอนไว้) ปี (2553)
เหลือแหล่ ปี (2554)
คืนวันเสาร์ถึงเช้าวันจันทร์ ปี (2555)
ละคร ราชินีลูกทุ่ง (ละคร ช่อง 8) ปี (2555)
รวมพลคนลูกทุ่งเงินล้าน ปี (2556)
ตัวพ่อเรียกพ่อ ปี (2557)

ผลงานละครโทรทัศน์
ละคร แม่นากพระโขนง (ละครช่อง 3) (2543)
ละคร เพลงรักเพลงลำ (ละครช่อง 7) (2558)
ซีรีส์ 30 กำลังแจ๋ว The Series (ซีรีส์ช่องวัน) (2560)

ผลงานคอนเสิร์ต
คอนเสิร์ต ด้วยพลังและกำลังใจ เพื่อโลกใบเดียวกัน FESPIC Games Bangkok '99 (2542)
คอนเสิร์ต มนต์เพลงคาราบาว ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ในบทเพลง ยายสำอาง (2550)
คอนเสิร์ต กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ ๒ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2534

ผลงานรับเชิญ
บทเพลง Live And Learn - โชว์พิเศษร่วมกับ แตงโม วัลย์ลิกา , นัท กฤษดา , กิต กิตตินันท์ , สงกรานต์ รังสรรค์ ในรายการ The Voice Thailand Season 2 (2013)
บทเพลง คนจนผู้ยิ่งใหญ่ ขับร้องร่วมกับ บี พีระพัฒน์ และศิลปินอิสระ จัดทำโดย จัง-หวะ-จะ-เดิน (2013)

เกียรติยศ
พ.ศ. 2532 ได้รับการประกาศเกียรติคุณให้เป็น ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาศิลปะ (เพลงพื้นบ้าน) จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2540 – Order of the Direkgunabhorn 4th class (Thailand) ribbon.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #98 เมื่อ: 22 เมษายน 2566, 06:09:07 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ










....”กวีศรีชาวไร่”นั้น...............ฉายา
    นครราชสีมา....................ถิ่นท้อง
    แดนดินแม่คลอดมา............หลาน”ย่า   โม”นา
   เติบใหญ่เป็นนักร้อง.............เพื่อฟ้องสังคม....

....”ลมรำเพย”แล่นเลื้อย..........”คิดถึง”
    “เขาใหญ่”ติดตราตรึง...........เด่นฟ้า
    “มือเรียวเกี่ยวรวง”ดึง...........”ความมั่น  ใจ”นา
    เป่น”ลิงทะโมน”กล้า.............เล่าร้องโหนหาว....

....”ดาวน์สาว””หนุ่มก่อสร้าง”......ขอวอน
    “จ.รอคอย”คืนคอน..............ได้แต่ง
    “คนจนรุ่นใหม่”สอน.............ขอผ่อน   สาวนา
    “ตายหยั่งเขียด”หากแล้ง.......”ต้นขับขี่”ตาย

....”ฝนจาง(นาง)หาย”หนุ่มร้อง....”คิดถึง   บ้าน”นา
   “คนกับหมา”ลากดึง...............ไกลใกล้
   “ตังเก”คลื่นลมตรึง................ที่”โค   ราชา”
   ”สามช่ารุ่นใหญ่”ใอ้................ชื่อข้า”พงษ์เทพ” (กระโดนชำนาญ)....


พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ นักร้อง, นักดนตรี,และกวีในแนวเพื่อชีวิต เจ้าของฉายา กวีศรีชาวไร่ เป็นสมาชิกคนหนึ่งของวงดนตรีเพื่อชีวิตคาราวาน ยุคเริ่มต้น รวมทั้งได้หนีเข้าป่าไปพร้อมกับคาราวาน และนักศึกษาในยุค 6 ตุลา พ.ศ. 2519

ประวัติ
    พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ (ชื่อเล่น หมู) เกิดเมื่อ 18 กันยายน พ.ศ. 2496 ที่ บ้านหัวเลิง (ศีรษะละเลิง) ต.บ้านใหม่ อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา เริ่มต้นเป็นศิลปินเพลงเมื่อกลับออกมาจากป่าแล้ว พงษ์เทพได้เข้าร่วมกับวงคาราบาวโดยเดินทางร่วมแสดงคอนเสิร์ตไปด้วยกัน แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกวง จนกระทั่งคาราบาวโด่งดังจากอัลบั้ม เมดอินไทยแลนด์ แล้ว แอ๊ด คาราบาว (ยืนยง โอภากุล) จึงช่วยเล่นดนตรีให้กับการออกอัลบั้มชุดแรกของพงษ์เทพ คือ ชุด "ห้วยแถลง" กับเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้ม โดยมีจังหวะเร็กเก้สนุก ๆ กับเนื้อหาที่เสียดสีชีวิตมนุษย์ จากนั้นพงษ์เทพก็ได้เป็นศิลปินเดี่ยวและมีชื่อเสียงในเวลาต่อมา เพลงที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดีของพงษ์เทพ ได้แก่ คนกับหมา, ตังเก, น้ำตาหอยทาก, ต้นขับขี่, โคราชา, ตรงเส้นขอบฟ้า,คิดถึงบ้าน เจ้าสาวผีเสื้อ เป็นต้น โดยเนื้อเพลงส่วนมาก พงษ์เทพจะเป็นผู้แต่งเอง โดยใช้ถ้อยคำสำนวนที่เหมือนบทกวี สมกับฉายาของตัวเอง โดยฉายา "กวีศรีชาวไร่" "นายผี" อัสนี พลจันทร์ ปัญญาชนนักปฏิวัติเป็นผู้ให้

พงษ์เทพ มีชื่อเล่นว่า "หมู แต่มักเรียกกันติดปากว่า "น้าหมู" มีบุคลิกเป็นคนสนุกสนานเฮฮา พูดเก่ง เมื่อแสดงคอนเสิร์ตจะสร้างความสนุกให้กับผู้ชมด้วยการพูด และลีลาของตัวเอง จนกลายเป็นเหมือนการทอล์กโชว์ ปัจจุบันมีบ้านพักและไร่ชื่อ "ดอกเหงื่อ" อยู่บริเวณเชิงเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา บ้านเกิด โดยใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายสันโดษ นอกจากจะมีงานแสดงดนตรี ยังทำมูลนิธิชื่อว่า "มูลนิธิเขาใหญ่" ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 มีความประสงค์และความตั้งใจที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรบ้านเกิด โดยในทุกวันอาทิตย์ อาสาสมัครจะขึ้นไปเก็บขยะบนเขาใหญ่

ผลงานเพลง
สตูดิโออัลบั้ม

ห้วยแถลง   วางจำหน่าย: พ.ศ. 2526
เดี่ยว   วางจำหน่าย: พ.ศ. 2528
ไอแอมอีสาน (เดี่ยว 2)   วางจำหน่าย: พ.ศ. 2529
มันดี   วางจำหน่าย: พ.ศ. 2529
รวมเพลงจากชุด 1, 2, 3, 4[a 2]   วางจำหน่าย: พ.ศ. 2530
ตรงเส้นขอบฟ้า   วางจำหน่าย: พ.ศ. 2530
ยิ้มเหงา ๆ   วางจำหน่าย: พ.ศ. 2531
คนจนรุ่นใหม่     วางจำหน่าย: พ.ศ. 2533
จ.ป.ล. (จีนปนลาว)    วางจำหน่าย: พ.ศ. 2534
คนที่เรารัก   วางจำหน่าย: พ.ศ. 2535
ซูเปอร์มาร์เก็ต  วางจำหน่าย: พ.ศ. 2537
490–32–63 วางจำหน่าย: มิถุนายน พ.ศ. 2538 (ชุดน้ำตาหอยทาก)
มาให้บ้านเกิด   วางจำหน่าย: พ.ศ. 2539
ดอกเหงื่อเพื่อชีวิต   วางจำหน่าย: พ.ศ. 2541
เจ้าสาวผีเสื้อ     วางจำหน่าย: พ.ศ. 2543
ขายงัวส่งควายเรียน      วางจำหน่าย: พ.ศ. 2549
มนต์การเมือง   วางจำหน่าย: พ.ศ. 2553

จริง ๆ แล้วเป็นอัลบั้มรวมเพลง แต่นับเป็นอัลบั้มที่ 5 เพราะเอาเพลงจากอัลบั้มห้วยแถลงกับไอแอมอีสาน มาทำดนตรีใหม่
 ตั้งใจจะทำดนตรีใหม่ จากอัลบั้มห้วยแถลง แต่พงษ์เทพเขียนเนื้อใหม่ จึงนับว่าเป็น โคราช 3 เพราะเขียนก่อนอัลบั้มไอแอมอีสาน
 เดิมแต่แรกเมื่ออัลบั้มออกวางจำหน่าย ใช้ชื่อเพลงนี้ว่า ขอบฟ้า แต่เมื่อภายหลังจากที่พงษ์เทพ ย้ายไปอยู่ที่รถไฟดนตรี จึงเปลี่ยนเป็นตรงเส้นขอบฟ้า
 ขับร้อง, คำร้อง, ทำนอง, เรียบเรียงโดย ยูโซ โทโยดะ
 อัลบั้ม 490-32-63 เมื่อครั้งที่วางแผงในช่วงแรกๆ ยอดขายไม่ค่อยดี จึงได้ทำการเปลี่ยนรูปปกใหม่ และเปลี่ยนชื่ออัลบั้มใหม่ เป็น "น้ำตาหอยทาก" ซึ่งเป็นเพลงที่ดังที่สุดในอัลบั้ม

อัลปั้มพิเศษอีกไม่น้อยกว่า 30 ชุด

ผลงานภาพยนตร์
เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ (2528)

คอนเสิร์ต
 (มีเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ปี 2527 - ปัจจุบัน)

รางวัล
รางวัลสีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2531 ศิลปินชายเดี่ยวยอดเยี่ยม จากอัลบั้ม "ยิ้มเหงาๆ



บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #99 เมื่อ: 23 เมษายน 2566, 08:46:44 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @หิน เหล็ก ไฟ








....เสียงดนตรีเล่นร้อง.........ถึงใจ
   เป็นหนึ่งแนวพาไป..........เร่งเร้า
   เพลงร๊อคที่คนไทย..........ก็เล่น   เป็นนา
   เสียงเด่นแหบสูงเย้า.........ตื่นเต้นอารมณ์....

....คนชมชอบนักร้อง..........เสียงดี
    ”โป่ง” ชวนนักดนตรี.......ตั้งกลุ่ม
   “หิน เหล็ก ไฟ” ชื่อมี.......แปลกใหม่   ดีนา
    เพลงเด่นฟังก็คุ้ม..........”อย่าหยุดยั้ง””ยอม”....

....ถนอม”ศรัทธา”มั่นไว้.......”เพราะรัก”
   “คนอ่อนไหว”ก็มัก...........เคลิ้มง่าย
   “หลงกล””ง่ายเกิน(ไป)จัก..ทำ”เพื่อ    เธอ”นา
    “พลังรัก””นางแมว”ร้าย....”ดีที่สุดแล้ว.....


หิน เหล็ก ไฟ (อังกฤษ: Stone Metal Fire, ตัวย่อ: SMF) เป็นวงดนตรีแนวร็อกและเฮฟวี่เมทัลสัญชาติไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2534 สังกัด อาร์เอส โปรโมชัน และเรียลแอนด์ชัวร์

ประวัติ
   พ.ศ. 2534 ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ (โป่ง) นักร้องนำจากวง ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์ และ นำพล ขจรพิมานมาศ (โต) มือกีตาร์จากวง Index, 50 Miles, Dexter และวงกิตติ กาญจนสถิตย์ ร่วมกับเพื่อนนักดนตรีอีกสองคน คือ เกียรติชัย แซ่โอ้ว (หมูพีท) มือเบสจากวง Zex, Blue Planet และปรีชา ทองนพ (แจ็ค) มือกลอง จัดตั้งวงดนตรีแนวเฮฟวี่เมทัล เพื่อทำเดโมและออกผลงาน โดยแรกเริ่มนั้นมีความพยายามใช้ชื่อวงหลายชื่อ อาทิ บรึห์, อิมมอทอล และหนุมาน แต่สุดท้ายก็ไม่ได้มีความชัดเจนว่าจะใช้ชื่อวงว่าอะไร

    ต่อมาในปีเดียวกัน เกิดการเปลี่ยนแปลงสมาชิก คือ ณรงค์ ศิริสารสุนทร (รงค์) จากวง Burn และ ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์ ได้มาทำหน้าที่เล่นเบส, สมาน ยวนเพ็ง (หมาน) จากวง 50 Miles รับหน้าที่เล่นกลอง และ จักรรินทร์ ดวงมณีรัตนชัย (ป๊อป) จากวง Force ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มารับหน้าที่เล่นกีตาร์เพิ่มอีกหนึ่งคน โดย ทิวา สาระจูฑะ (บรรณาธิการนิตยสารสีสัน) ตั้งชื่อวงให้ว่า หิน เหล็ก ไฟ (ชื่อภาษาอังกฤษ Stone Metal Fire ตัวย่อ SMF)

    15 มีนาคม พ.ศ. 2536 หิน เหล็ก ไฟ ออกอัลบั้มชุดแรกซึ่งมีชื่อเดียวกับชื่อวง สังกัดค่าย อาร์เอส โปรโมชัน โดยได้บันทึกเสียงที่ห้องอัด เซ็นเตอร์ สเตจ ของแอ๊ด คาราบาว เพลงที่ได้รับความนิยมในอัลบั้มนี้ได้แก่ ยอม, เพื่อเธอ, นางแมว, พลังรัก, สู้, ร็อคเกอร์ โดยอัลบั้มหิน เหล็ก ไฟ เป็นอัลบั้มที่มียอดจำหน่ายมากกว่า 1 ล้านตลับ และได้รับรางวัลสีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2536) สาขาศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม และโปรดิวเซอร์ยอดเยี่ยม นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงคอนเสิร์ต ช็อต ชาร์จ ช็อค ร็อก คอนเสิร์ต (Short Charge Shock Rock Concert) ครั้งที่ 1 ที่ สนามกีฬาอินดอร์สเตเดียม หัวหมาก ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของวงการดนตรีไทย และคอนเสิร์ต ช็อต ชาร์จ ช็อค ร็อก คอนเสิร์ต ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยเป็นคอนเสิร์ตของศิลปินไทยที่มียอดผู้ชมมากที่สุดในปี พ.ศ. 2536 จนต้องจัดครั้งต่อมาในปี พ.ศ. 2537, พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2556

    หิน เหล็ก ไฟ ออกอัลบั้มอีกเป็นชุดที่ 2 และวางแผงอัลบั้มในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2538 ใช้ชื่อชุดว่า คนยุคเหล็ก มีเพลงที่ได้รับความนิยมเช่น คนยุคเหล็ก, หลงกล, มั่วนิ่ม, คิดไปเอง เป็นต้น จากนั้นได้ประกาศพักและยุบวงในปลายปี พ.ศ. 2538

    ต้นปี พ.ศ. 2539 โป่ง ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ กับ ป๊อป จักรรินทร์ ดวงมณีรัตนชัย ได้จัดตั้งวงใหม่ชื่อวง เดอะ ซัน ออกอัลบั้มอีกทั้งสิ้น 3 ชุดระหว่างปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2543 (โดยปี พ.ศ. 2543 เดอะ ซันได้ย้ายสังกัดไปอยู่กับ เบเกอรี่มิวสิค ออกอัลบั้ม ถนนพระอาทิตย์ และเปลี่ยนมือกลองเป็น ปิงปอง ดำรงสิทธิ์ ศรีนาค จากวง ไฮ-ร็อก)

     วันที่ 5 สิงหาคม 2545 สมาน ยวนเพ็ง หรือ หมาน (อดีตมือกลองของวงในช่วง พ.ศ. 2534 - 2537) เสียชิวิตด้วยโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร

     วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2546 หิน เหล็ก ไฟ ได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง และเล่นคอนเสิร์ตทรัพย์สินทางปัญญาฯ ณ สวนลุมไนท์บาซาร์

     ในปี พ.ศ. 2548 หิน เหล็ก ไฟ ได้กลับมาทำอัลบั้มอีกครั้ง โดยมีปิงปอง ดำรงสิทธิ์ ศรีนาค จากวง ไฮ-ร็อก รับหน้าที่มือกลองเช่นเดียวกับเดอะ ซันชุดที่ผ่านมา และเพิ่มสมาชิกใหม่เข้ามาอีก คือ หมู ประทีป วรภัทร์ ในตำแหน่งคีย์บอร์ด และออกอัลบั้มเป็นชุดที่ 3 วางแผงอัลบั้มวันแรกในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ใช้ชื่อชุดว่า Never Say Die มีเพลงที่ได้รับความนิยมคือ ศรัทธา

     ปี พ.ศ. 2549 ออกอัลบั้มชุดที่ 4 Acoustique นำ 11 บทเพลงดังมาทำใหม่ในสไตล์อคูสติกผสมกับแนวลูกทุ่ง รวมกับ 2 เพลงใหม่ "อภัย" และ "ดีดี" รวมทั้งหมด 13 เพลง วางแผงในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2549

     วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556 หิน เหล็ก ไฟได้แสดงสดในคอนเสิร์ต Short Charge Shock Rock Legend เหล็ก พันธุ์ เสือ ร่วมกับเสือ ธนพล อินทฤทธิ์ และร็อกอำพัน ที่อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี

    ปี พ.ศ. 2557 ได้รับรางวัล Seed Hall Of Fame ใน Seed Awards ครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2556

     วันที่ 6 พฤศจิกายน 2560 ปรีชา ทองนพ หรือ แจ็ค (อดีตมือกลองยุคก่อตั้งวง พ.ศ. 2534) เสียชีวิตด้วยโรคประจำตัว

     วันที่ 1 มีนาคม 2563 เกียรติชัย แซ่โอ้ว หรือ หมูพีท (อดีตมือเบสยุคก่อตั้งวง พ.ศ. 2534) เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งลำไส้

สมาชิกหลัก
ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ (โป่ง) ตำแหน่ง ร้องนำ (พ.ศ. 2534 - 2538), (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน)
ณรงค์ ศิริสารสุนทร (รงค์) ตำแหน่ง เบส (พ.ศ. 2534 - 2538), (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน)
นำพล ขจรพิมานมาศ (โต) ตำแหน่ง กีตาร์ (พ.ศ. 2534 - 2538), (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน) [ใช้นามสกุลแฝงในเครดิตว่า รักษาพงษ์]
จักรรินทร์ ดวงมณีรัตนชัย (ป๊อป) ตำแหน่ง กีตาร์ (พ.ศ. 2534 - 2538), (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน)
ดำรงสิทธิ์ ศรีนาค (ปิงปอง) ตำแหน่ง กลอง (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน)

สมาชิกทัวร์คอนเสิร์ต
ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ (โป่ง) ตำแหน่ง ร้องนำ (พ.ศ. 2534 - 2538), (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน)
จักรรินทร์ ดวงมณีรัตนชัย (ป๊อป) ตำแหน่ง กีตาร์ (พ.ศ. 2534 - 2538), (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน)
ดำรงสิทธิ์ ศรีนาค (ปิงปอง) ตำแหน่ง กลอง (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน)
ประทีป วรภัทร์ (หมู) ตำแหน่ง คีย์บอร์ด (พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน)
เถลิงพงษ์ มีมุทา (เปิ๊ด) ตำแหน่ง เบส (พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน)

อดีตสมาชิก
สมาน ยวนเพ็ง (หมาน) ตำแหน่ง กลอง (พ.ศ. 2534 - 2537) (เสียชีวิต 5 สิงหาคม พ.ศ. 2545)
Sel Vester Lester C.Esteban ตำแหน่ง กลอง (พ.ศ. 2537 - 2538)
เกียรติชัย แซ่โอ้ว (หมูพีท) ตำแหน่ง เบส (สมาชิกยุคก่อตั้ง พ.ศ. 2534) (เสียชีวิต 1 มีนาคม พ.ศ. 2563)
ปรีชา ทองนพ (แจ็ค) ตำแหน่ง กลอง (สมาชิกยุคก่อตั้ง พ.ศ. 2534) (เสียชีวิต 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560)

ผลงาน
ซิงเกิล

ยอม / เพื่อเธอ (2536)
มั่วนิ่ม / หวาดระแวง (2538)
หลงกล / คนยุคเหล็ก (2538)
ศรัทธา / สิบปากว่า (2548)


สตูดิโออัลบั้ม

หิน เหล็ก ไฟ (15 มีนาคม 2536)
คนยุคเหล็ก (7 มีนาคม 2538)
Never Say Die (12 พฤษภาคม 2548)
Acoustique (23 มีนาคม 2549)

อัลบั้มพิเศษ และอัลบั้มรวมเพลง
ร็อกเพื่อนกัน - ร่วมกับ หรั่ง ร็อคเคสตร้าและไฮ-ร็อก (ตุลาคม 2536)
15th Anniversary RS - หิน เหล็ก ไฟ (2539)
RS SAVE HITS - หิน เหล็ก ไฟ (2540)
RS Big Bonus - หิน เหล็ก ไฟ (2541)
RS TIME MACHINE - หิน เหล็ก ไฟ The Legend of SMF 1993-2009 (2552)
RS.Classic - หิน เหล็ก ไฟ (2556)
MP3 - หิน เหล็ก ไฟ THE ROCKFATHER (2558)

คอนเสิร์ต
มีเป็นจำนวนมาก


รางวัล
ได้รับรางวัลสีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2536) สาขาศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม และโปรดิวเซอร์ยอดเยี่ยม
ปี พ.ศ. 2557 ได้รับรางวัล Seed Hall Of Fame ใน Seed Awards ครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2556



บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #100 เมื่อ: 24 เมษายน 2566, 08:56:10 PM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @สุนทรี เวชานนท์













....สาวงามเชียงใหม่”ล้าน..............นา””เวียง    เหนือ” นอ
   แว่วหวานใสสำเนียง..................ถิ่นอู้
    “สาวเชียงใหม่”เลียบเคียง.........”ล่องแม่   ปิง”นา
    “สุนทรี เวชานนท์”ฮู้................”น้ำใจสาวเหนือ”....

....เครือ”แม่สอดสะอื้น”..............เมยไหล   เลยรา
   “ใฝ่หามาเจย”ใจ..................”กล้วยไม้”
  “นางนอน”“ปี่จุม”ไสย..............“เพลงกล่อม   โลก”นา
   ยอดเยี่ยมสมควรได้................โล่ฮ้องตำนาน.....

สุนทรี เวชานนท์ (เกิด 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498) เป็นนักร้องหญิงชาวไทย มีชื่อเสียงจากผลงานเพลงแนวโฟล์คซองคำเมือง โดยเฉพาะเพลง "สาวเชียงใหม่" และ "ล่องแม่ปิง" ซึ่งทำงานร่วมกับ จรัล มโนเพ็ชร  และน้องชายสามคนของจรัล คือ กิจจา มโนเพ็ชร คันถ์ชิด มโนเพ็ชร และเกษม มโนเพ็ชร ในนาม "พี่น้องมโนเพ็ชร"

ประวัติ
สุนทรีมีพ่อเป็นชาวจันทบุรี มีแม่เป็นคนเมืองแพร่ เกิดและเติบโตที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และเข้ามาเรียนหนังสือในเมืองเชียงใหม่ ต่อมา สุนทรี ได้รับรางวัลพระพิฆเนศทองคำพระราชทาน ปี 2540 สาขา ศิลปินเพลงพื้นบ้านภาคเหนือยอดเยี่ยม และในอัลบั้ม เพลงกล่อมโลก อัลบัมนี้ได้รับรางวัลคมชัดลึก อะวอร์ด ครั้งที่ 11 (ปี 2557) 3 รางวัล คือ รางวัลเพลงยอดเยี่ยม (เพลงปี่จุม) รางวัลอัลบั้มยอดเยี่ยม รางวัลนักร้องหญิงยอดเยี่ยม และได้รับรางวัลสีสัน อะวอร์ด ครั้งที่ 26 ในสาขานักร้องหญิงเดี่ยวยอดเยี่ยม

ด้านชีวิตส่วนตัว สุนทรี สมรสกับสามีชาวออสเตรเลีย ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นมีลานนา คัมมินส์ หรือชื่อจริง ลานนา เวชานนท์ คัมมินส์ (ชื่อเล่น : นา) เป็นนักร้องเช่นเดียวกัน

ผลงานอัลบั้มเพลง
แด่หนุ่มสาวผู้ร้าวราน ผลงานชุดแรก พ.ศ. 2533  ...แด่หนุ่มสาวผู้ร้าวราน...ผู้หญิงธรรมดา...เพื่อน...ดอกฝิ่น...ไม่เคยเสียใจ...อ้างว้าง...รักสับสน...รางวัลแด่คนช่างฝัน...เปลี่ยน...แนวร้างทางเดิม...

กุหลาบลานนา พ.ศ. 2537  ....สามปอยหลวง...กาสะลอง...เจ้าจันทร์ผมหอม....พรหมอื่อลูก...น้ำใจสาวเหนือ...นิราศเวียงพิงค์...มนต์เมืองเหนือ...กล้วยไม้...เชียงรายรำลึก...แม่สอดสะอื้น...

ตำนานสุนทรี ชุดที่ ๑ ลูกป้อจาย...ลูกป้อจาย...เจิญตางหน้าปี้จาย...กำแม่...ฮู้เธอเป่อเร๊อะ...สาวหล่ายดอย...บ้านเฮา...สิ้นสายปลายฟ้า...กึ๊ดกอย...ละอ่อนวัยน้อย...ตึงฮักเดียว...เจียงดาว...แม่ปิง

ตำนานสุนทรี ชุดที่ ๒ เอื้องแซะ พ.ศ. 2541...เอื้องแซะ...ใฝ่หามาเจย...เจ้นดินเจ้นฟ้า...ปันฝัน...ยินดีเจ้า...งามแต๊...แอ่วดอย...เฮาขอ...น้ำทิพย์...อู้แต๊...แม่อุ้ยแก้ว...คนขี้เฝ่า

ตำนานสุนทรี ชุดที่ ๓ กุหลาบเวียงพิงค์ พ.ศ. 2541...กุหลาบเวียงพิงค์...น้ำใจสาวเหนือ...มนต์เมืองเหนือ...นิราศเวียงพิงค์...แม่สอดสะอื้น...กล้วยไม้...ข้ามฟ้าแดนดอย...สามปอยหลวง...เจ้าจันทร์ผมหอม...พรหมอื่อลูก...กาสะลอง...เชียงรายรำลึก...แด่

คิดถึง...โฟล์คซองคำเมือง พ.ศ. 2544   ...บ้านบนดอย...รางวัลแด่คนช่างฝัน...อุ้ยคำ...มะเมียะ...ตากับหลาน...ลานนา...เอื้องผึ้งจันผา...ล่องแม่ปิง...มิดะ...ลุงต๋าคำ...แม่ค้าปลาจ่อม...ของของกิ๋นคนเมือง
 
ทางน้ำฟ้า พ.ศ. 2543   ....สายน้ำแห่งความรัก....ขอสูมาเต๊อะ...อดีตรักทองกวาว...ทางน้ำฟ้า...นพบุรีศรีเชียงใหม่แก้ว...บางที...ปาหนัน...ยิ้มเถอะนะ...รักซ้อน...รักสามเส้า...สิ้นสวาท...ให้

ดอกไม้เมือง (ร่วมกับ เกษม มโนเพ็ชร) พ.ศ. 2548   ...ล่องแม่วัง...ดอกไม้เมือง...ของกิ๋นคนเมือง (ภาค 2)...กึ๊ดเติงหา...สาวเชียงใหม่...ยินดีต้อนรับ...เดือนดับที่ดอยหลวง...สัปปะลี่ขี้คุยTo The Brave Dreamer ...น้อยไจยา

เพลงกล่อมโลก (World's Lullaby) ผลงานชุดสุดท้าย พ.ศ. 2556...
นางนอน (Echoes Of The Legendary Mountains)...ปรารถนา (Wish)...สองแผ่นดินเดียวกัน (Two Cities-One Love)...ขวัญข้าว ขวัญนา (Spirits Of The Rice)...ปิงเอย แม่ข้า (The Mother's River)...ปี่จุม (The Vows Of Windwood)...เพลงกล่อมโลก (World's Lullaby)...ตถา (Constant)...ฮักฮิมปิง (A Stream Of Love)

ผลงานละคร
2535 บ่วง ช่อง 3

บทเพลงของสุนทรี เวชานนท์
บทเพลงที่สุนทรีเคยขับร้อง ขณะทำงานร่วมกับ จรัล มโนเพ็ชร

   น้อยไจยา...สาวมอเตอร์ไซค์...ของกิ๋นคนเมือง...เปิ้นฮักตั๋ว...ลานนา...จากยอดดอย...ดอกฝิ่น...รักสับสน...ถึงใครคนหนึ่ง...สาวเชียงใหม่...ซอของแปง...สามล้อ...เงี้ยว...มะเมี๊ยะ...ฉันมีความรักมาให้...ยินดีต้อนรับ...สวาทเธอ...เมียวเมียว มูมู...หา...ดวงเดือน...ม่วนขนาด...ฮานี้บ่าเฮ้ย...ล่องแม่ปิง...เสเลเมา...รอยพระบาท...สดุดีแม่เจ้าหลวง
บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #101 เมื่อ: 27 เมษายน 2566, 04:57:28 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @สุนารี ราชสีมา










....ฟังเพลง “กราบเท้าย่า..........โม”รัก    เลยเนอ
    เสียงนุ่มนวลมากนัก.............ใคร่รู้
    “สุนารีฯ”ชื่อดีจัก.................เป่นแฟน  เพลงนา
   ทราบว่าเธอทนสู้.................ใฝ่ร้องหนีจน......

....ฝึกฝนมาแข่งร้อง................ประกวด
   หมายมั่นมาขออวด...............เด่นได้
   ความจนช่างเจ็บปวด.............สาบส่ง   หนีนา
   เป็นที่มาการใช้...................เร่งรู้ฝึกตน.....

....ยอดคนจึงได้ผ่าน...............การทด  สอบแน
    อัดแผ่นเสียงเพลงบท...........จ่นได้
    ไอดินกลิ่นฝนรด.................ช่างหอม  ชื่นนา
    ฟันฝ่ามากพอให้................เด่นได้สมใจ....

....”มอเตอร์ไซด์นุ่งสั้น”............งามตา
    สาว”ห่วงรัก” กายา.............ต้องแต่ง
    “ทางสายใหม่”คอยหา.........ไม่มา  ลืมฤา
    “เรารอเขาลืม”แห้ง.............เหี่ยวให้คอยนาน......

....”(ราย)งานหัวใจ”ส่งให้........”ชายใจ   เดียว”นา
    ”พูดกับภาพ”อยุ่ไกล...........กลืนกล้ำ
   “เดือนกว่าไม่มา(แฟลต)”ไป...อยู่ไหน  เธอรา
    “รักก็ช้ำเลิกก็ช้ำ”...............ไม่รู้ทำไง....

...”แฟนฉันไม่ต้องหล่อ”...........พอไป   วัดวา
   ว่า“มือถือไมค์ไฟ................ส่องหน้า”
   “จดหมายใส่(น้ำ)หอม”ใจ.......กลิ่นรัก   เธอนา
    “ถึงเวลา(จะบอก)รัก”หล้า....”(สุด)ท้ายที่กรุงเทพฯ”.....


สุนารี ราชสีมา หรือชื่อจริงว่า ทิม สอนนา (เกิด 16 มีนาคม พ.ศ. 2511) เป็นนักร้องหญิงชาวไทย เป็นชาวจังหวัดนครราชสีมา ผลงานเพลงเด่น ได้แก่ "กราบเท้าย่าโม" และ "สุดท้ายที่กรุงเทพ"

ประวัติ
สุนารี มีชื่อจริงว่า ทิม สอนนา (ชื่อเล่น: แหลม) เกิดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2511 เป็นบุตรของเทียม และยม สอนนา เป็นชาวอำเภอโนนไทย (ปัจจุบันคืออำเภอพระทองคำ) จังหวัดนครราชสีมา) จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนบ้านทำนบพัฒนา

ชีวิตส่วนตัว
สุนารีสมรสกับแฟนหนุ่ม วาวเตอร์ เดราฟ ชาวเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วงการบันเทิง
สุนารี ราชสีมาเริ่มเข้าสู่การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งตามงานต่าง ๆ เพื่อหาเงินมาจุนเจือครอบครัว และในการประกวดร้องเพลงในรายการ ชุมทางคนเด่น ของประจวบ จำปาทอง เมื่ออายุได้ 13 ปี เธอก็เริ่มใช้ชื่อว่าสุนารี ราชสีมา โดยชื่อสุนารี นั้นเป็นชื่อของเพื่อนคนหนึ่งเธอได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ แต่สุขสันต์ หรรษา (จ่าประจวบ เสริมสุข) นักจัดรายการวิทยุ นิยมน้ำเสียงของเธอจากการประกวดรายการชุมทางคนเด่น มาติดต่อให้เป็นนักร้องอัดแผ่นเสียง

ชลธี ธารทอง ผู้ผลักดันเธอ เล่าไว้ในหนังสือ ชลธี ธารทอง - เทวดาเพลง ว่า สุนารีมากด้วยพรสวรรค์ แต่อาภัพวาสนาถ้าไม่ดิ้นรนอย่างแสนสาหัส ไต่เต้ามาจากการประกวดร้องเพลงตามเวทีต่าง ๆ ในที่สุดเธอก็ชนะการประกวดที่เวทีตลาดแสงเนตร ที่รามอินทรา กม.8 โดยในยุคนั้น เวทีนี้ ถือเป็นเวทีสำคัญของการผ่านไปประกวดระดับประเทศ หลังจากชนะที่ตลาดสายเนตร ชลธี เล่าเบื้องหลังในเรื่องนี้เอาไว้ว่า ในคณะกรรมการที่มีอยู่ 15 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มยังเติร์ก มีครูชลธี เป็นแกนนำ และกลุ่มโอลเติร์ก ที่มีครูมงคล อมาตยกุล เป็นแกนนำ กลุ่มแรกมี 7 เสียง กลุ่มหลังมี 8 เสียง กลุ่มแรกตัดสินใจยกมือให้ ทิม สอนนา ที่ร้องเพลงของพุ่มพวง โดยให้เหตุผลว่า เสียงมีอนาคต ส่วนกลุ่มหลัง ตัดสินใจชูมือให้น้ำอ้อย ที่ร้องเพลงของผ่องศรี ที่กลุ่มครูชลธีบอกว่ามีเสียงเพราะ แต่แคบ

เธอใช้ชื่อการแสดงว่า ทับทิม นิยมทอง บันทึกแผ่นเสียงเพลงแรกชื่อ "ลาโคราช" และ "กลับโคราช" แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เธอย้ายไปชัวร์ออดิโอ โดยกลับมาใช้ชื่อ สุนารี ราชสีมา มีผลงานออกมาอีกหลายชุดแต่ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน จนกระทั่งชุด "น้ำตาลเปรี้ยวชุดหวาน" เสียงตอบรับในเพลง "กลับไปถามเมียดูก่อน" ซึ่งเป็นเพลงช้าดีมากบริษัทจึงเริ่มหันมาโปรโมทเพลงช้า เมื่อได้รับการส่งเสริมจากบริษัททำให้เพลงช้าที่ร้องไว้แต่ก่อนกลับมามีชื่อเสียงด้วย อย่างเช่นเพลง "กราบเท้าย่าโม"

ละครโทรทัศน์
2542   พ่อ ตอน เพลงของแผ่นดิน   -   ช่อง 5
2555   ต้มยำลำซิ่ง   รับบทแสงหล้า   ช่อง 3
บันทึกกรรม ตอน ดวงตาแม่   รับบทแม่   ช่อง 3
2556   มิสเตอร์บ้านนา   รับบทวันดี   ช่อง 3
2557   มาลีเริงระบำ   รับบทสมศรี   ช่อง 3
รักจัดเต็ม   รับบทคุณครูสุมาลี   ช่อง 3
2558   แม่จ๋าอย่าหักโหม   รับบทสมร   เวิร์คพอยท์
2561   สาวน้อยร้อยหม้อ   รับบทป้าแช่ม   เวิร์คพอยท์
2564   help me คุณผีช่วยด้วย   รับบทป้าศรี   ช่อง 3
2565   หมอลำซัมเมอร์   รับบทยายดวง   ช่อง 7
ซิ่นลายโส้   รับบทแม่จันทร์ศรี สุภาพิมาย   ช่องวัน

ภาพยนตร์
2530   นักรบพบรัก   -   
2533   สงครามเพลงแผน 2   -   
2545   มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม.   รับบทสุนารี ราชสีมา   
2549   โกยเถอะโยม   รับบทแสงดาว   
2553   แผ่นดินของเรา   -   
2556   รวมพลคนลูกทุ่งเงินล้าน   รับบทสุนารี ราชสีมา   
2560   ส่ม ภัค เสี่ยน   รับบทแม่บัว   
2561   ฮักแพง   รับบทสร้อย   รับเชิญ
ขุนบันลือ   รับบทคุณหญิงบัว   
2562   ออนซอนเด   รับบทเจ๊ณี   รับเชิญ
หลวงตามหาเฮง   รับบทคุณนายทองคำ   
2564   ส้ม ปลา น้อย   รับบทแม่บัว   รับเชิญ
2565   บักแตงโม   รับบทนางแก้ว
   
กรรมการตัดสิน
ทางช่อง เวิร์คพอยท์

พ.ศ. 2557 - 2563 ไมค์ทองคำ ครั้งที่ 1-8
พ.ศ. 2559 - 2563 ไมค์ทองคำเด็ก ครั้งที่ 1-5
พ.ศ. 2559 - 2563 ไมค์หมดหนี้
พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน ไมค์หมดหนี้ นักร้องนำโชค
พ.ศ. 2563 ไมค์ทองคำ 3ฤดู
พ.ศ. 2563 เพชรตัดเพชร ซีซั่น1
พ.ศ. 2563 เพชรตัดเพชรศึก300
พ.ศ. 2563 - 2564 เพชร300
พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน  ไมค์ทองคำ ครั้งที่ 9
พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน  เพชรตัดเพชร ซีซั่น2 ศึก3เวที
พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน โจ๊กตัดโจ๊ก

ผลงานเพลง
สตูดิโออัลบั้ม
สังกัด ก่อน ชัวร์ ออดิโอ

01. ชุด สาวปิกอัพ (ค่าย ROTA) (พฤศจิกายน 2526)
02. ชุด กลับโคราช (ค่าย BP) (กุมภาพันธ์ 2527)
03. ชุด อกหักเพราะนักร้อง (ค่าย ONPA) (กรกฎาคม 2527)
04. ชุด หัวใจบอด (ค่าย ONPA) (มกราคม 2528)
05. ชุด เด็กบ้านนอกชื่อดา (ค่าย หรรษาโปรโมชั่น) (พฤษภาคม 2528)
06. ชุด ผู้ใหญ่นัด (ค่าย อาร์.เอส.ซาวด์ แอนด์ วีดีโอ จำกัด) (ตุลาคม 2528)
07. ชุด 9 ปีทอง สุนารี ราชสีมา ชุดที่ 2 ตลับมัน
01. ชุด สุดท้ายที่กรุงเทพ (มกราคม 2529)
02. ชุด อีกนิดซิ (สิงหาคม 2529)
03. ชุด เบา ๆ ซิ (ธันวาคม 2529)
04. ชุด ของฝากจากบ้านนอก (มีนาคม 2530)
05. ชุด ทางสายใหม่ (มีนาคม 2531)
06. ชุด รายงานหัวใจ (พฤศจิกายน 2531)
07. ชุด จีบต่อ (มิถุนายน 2532)
08. ชุด ทำเป็นเขิน (มกราคม 2533)
09. ชุด น้ำตาลเปรี้ยว ชุด เปรี้ยว (ธันวาคม 2533)
10. ชุด น้ำตาลเปรี้ยว ชุด หวาน (ธันวาคม 2533)
11. ชุด ใจใหม่ (เมษายน 2534)
12. ชุด มนต์เพลงลูกทุ่ง 1 (มกราคม 2535)
13. ชุด มนต์เพลงลูกทุ่ง 2 (พฤษภาคม 2535)
14. ชุด มนต์เพลงลูกทุ่ง 3 (สิงหาคม 2535)
15. ชุด มนต์เพลงลูกทุ่ง 4 (ตุลาคม 2535)
16. ชุด ที่เก่าซอยเดิม (เมษายน 2536)
17. ชุด ฝนหนาวสาวครวญ (มกราคม 2537)
18. ชุด ละครบทช้ำ (มิถุนายน 2537)
19. ชุด ที่พึ่งทางใจ (กุมภาพันธ์ 2538)
20. ชุด มณีพลอยร้อยแสง (2536)
21. ชุด คุณแม่ยังสาว 1 (2536)
22. ชุด คุณแม่ยังสาว 2 (2536)
23. ชุด คุณแม่ยังสาว 3 (2536)
24. ชุด คุณแม่ยังสาว 4 (2536)
25. ชุด คุณแม่ยังสาว 5 (2536)
26. ชุด คุณแม่ยังสาว 6 (2536)
27. ชุด คุณแม่ยังสาว 7 (2536)
28. ชุด คุณแม่ยังสาว 8 (2536)
29. ชุด เพลงรักกลิ่นดอกเหมย (กรกฎาคม 2549)
01. ชุด ชานกรุง
02. ชุด บ้านทุ่ง
03. ชุด ห่วง...หา สุนารี 1
04. ชุด ห่วง...หา สุนารี 2

สังกัด ไรท์มิวสิก (ไทยแลนด์) จำกัด
01. ชุด อุ้มท้องร้องไห้
02. ชุด ขอช้ำคนเดียว
03. ชุด แม่ค้าส้มตำชื่อต้อย
04. ยอดรัก สลักใจ,สุนารี ราชสีมา ชุด คู่แท้ 1 เดือนคว่ำเดือนหงาย
05. ยอดรัก สลักใจ,สุนารี ราชสีมา ชุด คู่แท้ 2 สักขีแม่ปิง
01. ชุด หมื่นพันสัญญา

สังกัด เทโร มิวสิก
01. ชุด ขอโทษแม่
02. ชุด หลากอารมณ์สุนารี
03. ชุด แม่หม้ายป้ายแดง
04. ชุด ย้อนอดีตหวาน 1
06. ชรินทร์ นันทนาคร & สุนารี ชุด คู่หวานเพลงรัก 1
07. ชรินทร์ นันทนาคร & สุนารี ชุด คู่หวานเพลงรัก 2
07. 30 ปี เวที 3 สุดยอดบทเพลงละครช่องสาม

สังกัด โฟร์เอส สตูดิโอ จำกัด
01. ชุด ขออนุญาตเมียมาหรือยัง

สังกัด เอส.เจ.เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด
01. อัลบั้มเฉพาะกิจ สุนารี ราชสีมา ชุด ก้องในหัวใจ

สังกัด เมโทรแผ่นเสียง-เทป (1991) จำกัด
01. ชุด สุนารี ฮิตโดนใจ
02. ชุด ละครชีวิต
03. ชุด เพลงดังฟังดี 1
04. ชุด เพลงดังฟังดี 2
05. ชุด มือถือไมค์ ใจร้องไห้
06. ชุด สุนารี มันส์ลั่นทุ่ง
07. ชุด บันทึกชีวิต สุนารี 1
08. ชุด บันทึกชีวิต สุนารี 2
09. ชุด ที่สุดของหัวใจ 1
10. ชุด ที่สุดของหัวใจ 2
11. ชุด ที่สุดของหัวใจ 3
12. ชุด ที่สุดของหัวใจ 4
13. ชุด ที่สุดของหัวใจ 5

สังกัด โรส มีเดีย เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด
01. ชุด สุดท้ายที่กรุงเทพฯ
02. ชุด ดีที่สุด สุนารี ราชสีมา

สังกัด ท๊อปไฟว์ เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด
01. ชุด บุหรี่อารมณ์
02. ชุด ตามรอยตำนานลูกทุ่ง ๑

สังกัด กรีนไลฟ์ เน็ตเวิร์ค จำกัด
01. ชุด สุนารีคิดถึงคนด่านเกวียน

สังกัด จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
01. ดวงจันทร์...กลางดวงใจ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ชุดที่ 2
02. เพลงประกอบละคร ต้มยำลำซิ่ง
กล่อมลูก

   

บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #102 เมื่อ: 27 เมษายน 2566, 05:39:58 PM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @สุดา ชื่นบาน
















....ฉายแววมาตั้งแต่.................วัยเยาว์
   นาฏศิลป์รำไทยเขา...............เก่งได้  
    “สุดา ชื่นบาน”เยาว์..............ยอดเยี่ยม  นี่นา
    ศิลปินแห่งชาติให้................ได้โล่รางวัล....

....สุขสันต์เพลงแม่ร้อง..............หลายหลาก
    ไทยฝรั่งแสนจะยาก..............ร้องเยี่ยม
    “ทักษิณถิ่นไทย”มาก............หาดเอี่ยม  สวยนา  
    “ลาก่อนยะลา”เฟี้ยม.............ห้อย“หุ่นไล่กา”....

....ตรึงตราการที่ร้อง.................ถึงใจ
     พาส่งอารมณ์ไป................”แม่เม้า”
     “ใจ””ตัวต่อตัว”ไส..............เป่นเพลง  ละคร
     “ขุ่นลำโขง”รุมเร้า...............เล่น”เพลงสุดท้าย....


สุดา ชื่นบาน (เกิด 24 มิถุนายน พ.ศ. 2488) ชื่อเล่น เม้า เป็นนักร้องและนักแสดงหญิงชาวไทย มีผลงานยาวนานหลายสิบปีทั้งในประเทศจนถึงเวทีนานาชาติ ตลอดจนการแสดงทางจอแก้วและจอเงิน เธอมีชื่อเสียงจากการร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ อาทิเพลง "ชีวิตบัดซบ" และอีกหลายเพลงของ เสกสรร สอนอิ่มสาตร์  
สุดา ชื่นบาน ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล - ขับร้อง) ประจำปี พ.ศ. 2563

สุดา ชื่นบาน ได้บันทึกแผ่นเสียงเพลงแรกคือเพลง "ตัวต่อตัว" เพลงประกอบภาพยนตร์ไทยเรื่อง ตัวต่อตัว พ.ศ. 2509 หลังจากนั้นได้บันทึกแผ่นเสียงในเพลงพื้นเมืองแก้กับ หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ จากการชักจูงของ สง่า อารัมภีร จนเป็นอัลบั้มแรกที่ฮิตติดอันดับทุกสถานีวิทยุ ด้วยความสามารถเธอเป็นนักร้องพิเศษที่ตีโจทย์แตกในการร้องเพลงที่ได้อารมย์อย่างเช่น "เพลงสุดท้าย" ที่ได้รับความนิยมสูงสุดมาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติ
    เริ่มแววทางการแสดงตั้งแต่วัยเยาว์ ได้ฝึกนาฏศิลป์และเข้าประกวดรำไทย ในรายการ "แมวมอง" ทางสถานีวิทยุ ท.ท.ท. จัดโดย สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์ พ.ศ. 2498 ได้แสดงละครรำเป็นประจำทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม ยุคแรกเริ่ม  จบการศึกษาจากโรงเรียนสตรีสันติราษฎร์บำรุง รุ่น พ.ศ. 2505 เป็นนักร้องของวงดนตรีช้างแดง ประชันคู่กับวงดนตรีพยงค์ มุกดา บนเวทีโรงภาพยนตร์รอบปฐมทัศน์
      
               มีทายาทเป็นบุตรสาวด้วยกันสองคนคือ พัชริดา วัฒนา อดีตนักร้องวัยรุ่นวงสาว สาว สาว และ นภัสสร บุรณศิริ เป็นนักร้อง และ นักจัดรายการวิทยุ

ผลงานเด่น
โทรทัศน์

ได้รับคัดเลือกให้แสดงรำละคร เดือนละครั้งทางไทยทีวีช่อง 4 ยุคบุกเบิก
นักร้องรายการเพลงทางโทรทัศน์ ตั้งแต่ยุคทีวีขาวดำ
เพลงไตเติ้ลหนังทีวีดังชุด หุ่นไล่กา ของรัชฟิล์มทีวี ทาง ททบ.ช่อง 7 (ททบ.5) พ.ศ. 2512 ออกอากาศนานถึง 14 ปี

พิธีกร คู่กับ มีศักดิ์ นาครัตน์ รายการ มิวสิคสแควร์ ทางไทยทีวีสีช่อง 3 พ.ศ. 2520

แผ่นเสียง
เพลงลูกกรุงทำนองพื้นเมืองอีสานร้องแก้ กับ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ ในอัลบั้มลองเพลย์ชุด แคนลำโขง กับเพลงอื่นทำนองไทยเดิมและตะลุงของห้างกมลสุโกศล ทศวรรษ 2500-2510
เพลงไทยสากล ร่วมกับ ฉันทนา กิติยพันธ์ ในอัลบั้มลองเพลย์และเทปตลับ ของค่ายรถไฟดนตรี ทศวรรษ 2520-2530
ฯลฯ

ภาพยนตร์
เกาะสวาทหาดสวรรค์ พ.ศ. 2512 (ร้องแทนเสียง ศรีสละ ทองธารา คู่กับ รุจน์ รณภพ) เพลง หากเราจะรักกัน
แม่นาคพระนคร พ.ศ. 2513 (ร้องแทนเสียง เยาวเรศ นิศากร) เพลง ความรักแม่เอ๋ย
ล่า พ.ศ. 2520 (ร้องแทนเสียง อรัญญา นามวงศ์)เพลง ชายคืองูพิษ
เทพธิดาบาร์ 21 พ.ศ. 2521 (นักแสดง)
เพลงสุดท้าย พ.ศ. 2528 - (ร้องแทนเสียง สมหญิง ดาวราย) เพลง เพลงสุดท้าย
คือฉัน พ.ศ. 2533 (นักแสดง)
บันทึกจากลูก(ผู้)ชาย พ.ศ. 2537 - (นักแสดง)
อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 พ.ศ. 2539 - (นักแสดง)
โคลนนิ่ง คนก๊อบปี้คน พ.ศ. 2542 - (นักแสดง)
รักเอาอยู่ พ.ศ. 2555 - (นักแสดง)
โฮมสเตย์ พ.ศ. 2561 (นักแสดง)

ละครโทรทัศน์
ปี พ.ศ. 2535 หนึ่งในทรวง (/ช่อง 3) รับบทเป็น คุณนายสีสุก พิเศษกุล
ปี พ.ศ. 2549 สายน้ำสามชีวิต (/ช่อง 7) รับบทเป็น ยายไปล่
ปี พ.ศ. 2549 เรือนนารีสีชมพู (/ช่อง 3) รับบทเป็น ป้าต้อย
ปี พ.ศ. 2555 หมูแดง (/ช่อง 3) รับบทเป็น ละม่อม
ปี พ.ศ. 2556 หลานสาวนายพล (/ช่อง 3) รับบทเป็น น้าอิ่มใจ
ปี พ.ศ. 2557 รถไฟ เรือเมล์ ลิเก กองถ่าย (/ช่อง 3) รับบทเป็น ชบา
ปี พ.ศ. 2557 มาเฟียตาหวาน (/ช่อง 3) รับบทเป็น สะอิ้ง
ปี พ.ศ. 2558 เพลิงพ่าย (/ช่อง 8) รับบทเป็น บุญปลูก
ปี พ.ศ. 2560 บัลลังก์ดอกไม้ (/ช่อง 3) รับบทเป็น คุณหญิงย่า (รับเชิญ)
ปี พ.ศ. 2560 เพลิงรักไฟมาร (/ช่อง 8) รับบทเป็น ป้าสวาท
ปี พ.ศ. 2560 หมอเทวดา (/ช่อง 3 เอสดี) รับบทเป็น ป้านวล
ปี พ.ศ. 2561 แม่สื่อปากร้าย ผู้ชายรสจัด (/ช่อง 7) รับบทเป็น คุณยายวรรณ
ปี พ.ศ. 2561 ปาก (/ช่องจีเอ็มเอ็ม 25) รับบทเป็น พะนอ
ปี พ.ศ. 2561 เนตรนาคิน (/ช่องวัน) รับบทเป็น ป้าน้อย อินทสี
ปี พ.ศ. 2561 ริมฝั่งน้ำ (/ช่อง 3) รับบทเป็น ดวงใจ สัจจะ
ปี พ.ศ. 2562 สางนางพราย (/ช่อง 8) รับบทเป็น ฉวี
ปี พ.ศ. 2563 สะใภ้อิมพอร์ต (/ช่อง 7) รับบทเป็น คุณยายทับทิม
ปี พ.ศ. 2563 พรายสังคีต (/ช่อง 7) รับบทเป็น ป้าจำเนียร
ปี พ.ศ. 2563 ความทรงจำสีจาง (/ช่อง 3) รับบทเป็น ทองใบ
ปี พ.ศ. 2564 พฤษภา-ธันวา รักแท้แค่เกิดก่อน (/ช่อง 3) รับบทเป็น (รับเชิญ)
ปี พ.ศ. 2564 นางฟ้าอสูร (อัครพลโปรดั๊คชั่น/ช่อง 3) รับบทเป็น ยายบัว คู่กับ คมกฤช ยุตติยงค์
ปี พ.ศ. 2565 เขยบ้านไร่ สะใภ้ไฮโซ (/ช่อง 7) รับบทเป็น ย่าหนม
ละครชุด
ปี พ.ศ. 2555 - 2556 จุดนัดภพ (/ช่อง 3) รับบทเป็น อุไรพร แซ่เล้ง (เจ๊เล้ง)
ปี พ.ศ. 2559 สงครามนางงาม ภาค 2 (/ช่องวัน) รับบทเป็น สุดใจ
ปี พ.ศ. 2564 The Comments ทุกความคิดเห็น..มีฆ่า (/ช่องจีเอ็มเอ็ม 25) รับบทเป็น ครูวิมล
ปี พ.ศ. 2564 Bangkok Breaking มหานครเมือง(ห)ลวง (/Netflix) รับบทเป็น ประนอม

ซิทคอม
ปี พ.ศ. 2554 เป็นต่อ (/ช่อง 3) รับบทเป็น แม่ของพี่หมอน
ปี พ.ศ. 2563 สุภาพบุรุษสุดซอย (/ช่องวัน) รับบทเป็น แม่ของเด่นชัย

ละครเวที
Still on My Mind The Musical   เมืองไทยรัชดาลัยเธียร์เตอร์   
   
พิธีกร
ปี พ.ศ.2563   The Wall Song ร้องข้ามกำแพง   ช่องเวิร์คพอยท์

คอนเสิร์ต
งานเทศกาลเพลงเรนโบว์แห่งภูมิภาคเอเซีย คู่กับ ฉันทนา กิติยพันธ์
Mao & Dang song hits ร่วมด้วย ตั้ม สมประสงค์,ศิลปินเอเอฟ ฯลฯ ที่ ศาลาเฉลิมกรุง กันยายน พ.ศ. 2552

สามสาวกับเม้า & แดง ที่ ศาลาเฉลิมกรุง กันยายน พ.ศ. 2553
All about Mao & Dang ร่วมด้วย สุทธิพงษ์ วัฒนจัง,สุชาติ ชวางกูร ฯลฯ ที่ ศาลาเฉลิมกรุง กันยายน พ.ศ. 2554
Music Time ที่ ศาลาเฉลิมกรุง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
เพลินเพลงกับ เล็ก วงศ์สว่าง ที่ สยามนิรมิต มีนาคม พ.ศ. 2555
Music is my life...Mao & Dang ร่วมด้วย ภูสมิง หน่อสวรรค์ ,เสริมเวช ช่วงบรรยง ที่ ศาลาเฉลิมกรุง กันยายน พ.ศ. 2555
เพลงคู่ ครูเพลง (คู่กับ สุทธิพงษ์ วัฒนจัง) ในโอกาสครบรอบ 14 ปี สมาคมนักร้องแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ ที่ ศาลาเฉลิมกรุง วตุลาคม พ.ศ. 2555
หนังไทยในเสียงเพลง ที่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มกราคม พ.ศ. 2556
ฯลฯ

ปัจจุบันมีงานแสดงรับเชิญต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั่วทุกภาคของเมืองไทย

บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #103 เมื่อ: 29 เมษายน 2566, 09:26:39 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง











....“มาตามนัด”เริ่มต้น..............เปิดทาง
    มาเล่นเกมส์จบจาง..............ไป่แล้ว
    แมวมองเก่งเห็นบาง.............อย่างใน   ตัวนา
    มาเริ่มทางเพริดแพร้ว............แกร่งกล้าดารา.....

....วาสนาส่งให้......................สุขสันต์
    “เมฆินทร์พิฆาต”ผัน.............ได้เริ่ม
    ละครเด่นคนหัน..................เพ่งมา   มองนา
    “พงษ์พัฒน์ ฯ“เท่ห์ดีเกิ้ม........เข้าสู่วงการ....

....งานแสดงเด่นได้.................ชำนาญ
    บานเบ่งมาวงการ.................นักร้อง
    ชุดแรกเริ่ม“อีกนาน”.............เด่นดัง   เลยนา
    เป่น”ตัวสำรอง”ต้อง.............ไม่ร้อนลนลาน.....

....”ทรมาน”รู้ว่า.....................เธอเขา   แนบเนา
   จิต”ฟั่นเฟือน”อับเฉา.............เร่าร้อน
   “ใจนักเลง”ปล่อยเขา.............คนไม่   รักรา
   “สั่งเสีย”คำลาอ้อน...............ว่า”คำสุดท้าย”....

....หลากหลายเขาเด่นด้าน.........งาน”บัน   เทิง”นา
   หนังเล่นละครผัน.................นักร้อง
   มากลายเป่นคนดัน..............เสริมส่ง  ดารา
   เขียนบทกำกับท้อง..............เรื่องให้ผูกพันธ์....

....สุขสันต์บทส่งท้าย.............ตำนาน
    ทุกสิ่งทำทะยาน...............เด่นพ้อง
    รับหลายโล่เบิกบาน...........เหนื่อยหาย   คลายนา
    คงอยู่ผลงานต้อง..............ใช่แล้วตำนาน......


พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง (เกิด 2 กันยายน พ.ศ. 2504) ชื่อเล่น อ๊อฟ เป็นนักร้อง นักแสดง ผู้กำกับชาวไทย ทางด้านธุรกิจเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท แอค อาร์ต เจเนอเรชั่น จำกัด สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดสุทธิวรารามและปริญญาตรีที่คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ประวัติ
เข้าสู่วงการบันเทิง

พงษ์พัฒน์ มีบิดาและมารดารับราชการครู พงษ์พัฒน์ได้เข้าไปเป็นพนักงานที่บริษัทผลิตรองเท้ากีฬาแห่งหนึ่ง โดยดูแลงานในส่วนของฝ่ายผลิตภัณฑ์ทั้งงานผลิตและการตลาด แต่หลังจากนั้นก็ได้เข้ามาเป็น 1 ในคนทางบ้านที่สมัครเข้าแข่งขันในรายการเกมโชว์ที่โด่งดังในยุคนั้น คือ มาตามนัด และ พลิกล็อก และเป็นที่เข้าตาทีมงานบริษัทเจเอสแอล เมื่อทางบริษัทกำลังจะเปิดตัวละครเรื่องใหม่ที่ต้องการนักแสดงที่มีร่างกายกำยำ แข็งแรง พงษ์พัฒน์จึงถูกเรียกให้เข้ามาทดสอบการแสดง จนได้แสดงละครครั้งแรกคือเรื่อง เมฆินทร์พิฆาต ในปี พ.ศ. 2528 ถือเป็นการเข้าสู่วงการบันเทิงอย่างเต็มตัว และเริ่มมีงานละครอีกหลายเรื่องในระยะเวลาต่อมา

นักร้อง
พงษ์พัฒน์มีชื่อเสียงจากการเป็นนักร้องในแนวร็อก สังกัดคีตา เอนเตอร์เทนเมนท์ โดยได้ออกผลงานเพลงของตนเองจำนวน 7 ชุด ก่อนจะพลิกบทบาทมาอยู่เบื้องหลังในฐานะผู้กำกับละครและภาพยนตร์ ควบคู่กับงานแสดง และงานร้องเพลงตามที่ว่าจ้าง

การเมือง
ในวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2550 พงษ์พัฒน์เป็นบุคคลหนึ่งที่เข้าร่วมในการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย โดยได้ขึ้นเวทีปราศรัยของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยพร้อมกับ ศรัณยู วงษ์กระจ่าง เพื่อนนักแสดงรุ่นราวเดียวกัน

นอกจากนี้แล้วในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อ พ.ศ. 2535 พงษ์พัฒน์ก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของผู้ชุมนุมครั้งนั้นด้วย

รางวัลนาฏราช
ในงานประกาศผลและมอบรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 1 ณ หอประชุมกองทัพเรือ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 พงษ์พัฒน์ได้รับรางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม จากบทคุณพ่อผู้อาภัพในละครเรื่อง พระจันทร์สีรุ้งแล้ว ซึ่งเมื่อขึ้นรับรางวัล และกล่าวขอบคุณ รวมถึงกล่าวเทิดทูนและปกป้องในหลวง ได้สร้างความฮือฮาและซาบซึ้งให้แก่นักแสดงและแขกที่มาร่วมงานเป็นอย่างมาก รวมถึงยังได้เกิดกระแสบนอินเทอร์เน็ต ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งมีทั้งคล้อยตามและขัดแย้ง โดยต่างมีเหตุผลส่วนตัวของแต่ละคนแตกต่างกันไป

ต่อมา ในงานประกาศผลรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 5 ณ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ พงษ์พัฒน์ได้รับรางวัลผู้กำกับละครยอดเยี่ยม และละครยอดเยี่ยม จากเรื่องทองเนื้อเก้า เขาได้รับความสนใจจากผู้มาร่วมงานอีกครั้ง เมื่อกล่าวขอบคุณผู้ที่คืนความสุขแก่คนไทย พร้อมชูนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วก้อย แสดงภาษามือสื่อถึงความรัก ในการรับรางวัลแรก และกล่าวขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เลียนแบบประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการรับรางวัลที่สอง

ผลงานเพลง
อัลบั้มเพลง

พงษ์พัฒน์ (พ.ศ. 2531)
...ตัวสำรอง....อีกนาน...ความสุขเล็กเล็ก...ใจพเนจร...นายดิบดิบ...แล้วก็แล้วกันไป...อย่าทำอย่างนั้น...ใจมันร้าว...อย่าทำอย่างนั้น ภาค 2 (ทำมันไปอีก)

พงษ์พัฒน์ ภาค 2 (พ.ศ. 2532)
   ...ฟั่นเฟือน...ถึงลูกถึงคน...ทรมาน...ตัวจริง...พูดจาภาษาไทย...เวรกรรม...กำกวม...เท่าไหร่เท่ากัน...นายครก...คำพ่อ...
พงษ์พัฒน์ ภาคพิสดาร (พ.ศ. 2534)
   ...สักครั้งจะไม่ลืมพระคุณ...กะโหลกไขว้...ทะเลทราย...ระเบิดเวลา...ยอมแพ้...ตายไปแล้ว...ชดใช้....โชคดี...หลอกซ้ำหลอกซาก...ปฏิวัติใจ

พงษ์พัฒน์ ภาค 3 (พ.ศ. 2535)
...คำสุดท้าย...ฉันโง่เอง...ก็เป็นอย่างนี้...อีกไม่นาน...เต็มแรงเต็มใบ...สำออย...สายลมที่จากไป (นายคนตรง)...อย่าให้เจอ...มากมาย...ไม่มีทาง

ร็อกนี่หว่า (ปกเหล็ก) (พ.ศ. 2537)
   ...เอาให้ตาย...ไม่รู้นี่หว่า...คนเนรคุณ...ใจนักเลง...อย่าบ่อยเกินไป...ชาติเดียว...ปาก...ขอเถอะฟ้า...ทำร้ายตัวเอง...หมายความว่าไง

หน้ากากร็อก (พ.ศ. 2538)
   ...สั่งเสีย...ครายจะทำมาย...ไม่ใช่ไม่รัก...บาดเจ็บเล็กน้อย...หน้ากากร็อก...ข้ามศพ...เดี๋ยวเจอดี...หนึ่งนาที...ตัวต่อตัว...อย่าขวางทางปืน

101-7-ย่านร็อก (พ.ศ. 2541)
   ...รุนแรง...โดน (ถามคำเจ็บไหม)...เธออยู่ที่ไหน...ห้ามรังแกเด็ก...พงษ์พัฒน์...อยากเลวกว่านี้...เป็นอะไรไม่รู้....อยากให้เธอได้ยิน...หลบไป....CONVERSE

เพลงประกอบภาพยนตร์
ไม่มีพรุ่งนี้อีกแล้ว เพลง ความสุขเล็ก ๆ

เพลงประกอบละคร
หัวใจลิขิต (เพลงประกอบละครเรื่อง เลือดมังกร ตอน แรด)

คอนเสิร์ต
คอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม พงษ์พัฒน์ ร็อคกำลังสอง วันที่ 19 ตุลาคม ปี 2531 ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม พงษ์พัฒน์ ภาค 2 ปี 2532 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ
คอนเสิร์ตพงษ์พัฒน์ ภาคพิสดาร ปี 2534 ณ เอ็มบีเค ฮอลล์ มาบุญครอง
คอนเสิร์ตพงษ์พัฒน์ ภาค 3 ปี 2536 ณ เอ็มบีเค ฮอลล์ มาบุญครอง
Return of the Rock พงษ์พัฒน์ วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2548 ณ อาคารนิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ
Kita Back To The Future Concert วันเสาร์ที่ 20 มกราคม 2550 ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ สยามพารากอน
เพลงรักยุคคีตา โดย นกเฉลียง (ศิลปินรับเชิญ) วันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2553 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
We Are The One Concert วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 2554 ณ ไบเทค บางนา
The Heroes Concert วันเสาร์ที่ 15 และอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2554 ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ สยามพารากอน
หล่อมากมาก ปี 2558
Rock In Pain Concert ปี 2559
The Legend Music Festival ปี 2560
Of My Life Concert ปี 2561

ผลงานการแสดงละครโทรทัศน์
2529 เทวดาตกสวรรค์ รับบท แอ๊ด (ช่อง 9)
2529 เมฆินทร์พิฆาต คู่กับ ธัญญา โสภณ (ช่อง 3)
2530 อวสานเซลส์แมน (ช่อง 3)
2530 สัญชาตญาณดิบ (ช่อง 9)
2530 ทองเนื้อเก้า รับบท วันเฉลิม คู่กับ สาวิตรี สามิภักดิ์ (ช่อง 7)
2530 หัวใจสองภาค รับบท ดนตร์ (ช่อง 7)
2530 แก้วกลางดง รับบท ทรงเผ่า คู่กับ อรพรรณ พานทอง (ช่อง 7)
2531 สามีตีตรา รับบท มรว.พิสุทธิ์ คู่กับ จริยา แอนโฟเน่ (ช่อง 3)
2531 ปราสาทมืด รับบท หมอภะรต คู่กับ ปรียานุช ปานประดับ (ช่อง 7)
2531 บริษัทจัดคู่ (ช่อง 7)
2531 อาศรมสาง (ช่อง 3)
2533 จ้าวพ่อกรรมกร (ช่อง 7)
2533 กตัญญูประกาศิต (ช่อง 3)
2533 สายใจ (ช่อง 3)
2535 ไฟรักอสูร รับบท แก้ว คู่กับ นาถยา แดงบุหงา (ช่อง 3)
2536 โสดหารสอง (ช่อง 5)
2536 ด้วยสองมือแม่นี้ที่สร้างโลก รับบท บัว คู่กับ จันจิรา จูแจ้ง (ช่อง 3)
2536 โสดยกกำลังสาม (ช่อง 3)
2537 โสมส่องแสง รับบท ภูริต (ภู) คู่กับ ศิริลักษณ์ ผ่องโชค (ช่อง 3)
2537 ขอให้รักเรานั้นนิรันดร รับบท ตรัย คู่กับ บุญพิทักษ์ จิตต์กระจ่าง (ช่อง 3)
2538 เรือนแพ รับบท แก้ว (ช่อง 5)
2539 ฉก.เสือดำ ถล่มหินแตก รับบท ร้อยเอก อรรถพล ชาติวินิจ (ช่อง 5)
2539 แสงเพลิงที่เกริงทอ (ช่อง 5)
2539 โปลิศจับขโมย รับบท เสือโหย คู่กับ บุษกร วงศ์พัวพันธ์ (ช่อง 3)
2540 ล่าปีศาจ รับบท ฉีต้าเหมิน / เดวิด คู่กับ สรพงศ์ ชาตรี / บุษกร วงศ์พัวพันธ์ (ช่อง 3)
2540 สายรุ้ง รับบท ทรงยศ คู่กับ แอน ทองประสม (ช่อง 3)
2540 ชุมทางเขาชุมทอง คู่กับ สันติสุข พรหมศิริ / อภิรดี ภวภูตานนท์ (ช่อง 5)
2541 ตามรักคืนใจ รับบท ราม คู่กับ ธนากร โปษยานนท์ / รามาวดี สิริสุขะ / นาถยา แดงบุหงา / ดารัณ ฐิตะกวิน (ช่อง 3)
2542 เพรงเงา รับบท อุดร (ช่อง 3)
2542 ขุนเดช รับบท ขุนเดช คู่กับ สรพงศ์ ชาตรี / ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ (ช่อง 7)
2542 รัก...สุดหัวใจ รับบท เทวา (ช่อง 3)
2542 ละครชุด พ่อ ตอน เทียนขี้ผึ้ง รับบท แสน (ช่อง 5)
2542 เกิดแต่ชาติปางไหน รับบท อานนท์ (ช่อง 3)
2542 พระจันทร์ลายกระต่าย (ช่อง 5)
2543 พันท้ายนรสิงห์ รับบท พระเจ้าเสือ คู่กับ ธีรภัทร์ สัจจกุล / พิยดา อัครเศรณี / กมลชนก เขมะโยธิน (ช่อง 7)
2543 บ้านทรายทอง รับบท หม่อมเจ้าเอนกนพรัตน์ (ท่านต้อม) (ช่อง 3)
2543 เพลงผีบอก รับบท เริงฤทธิ์ สิทธิการณ์ คู่กับ ธัญญา โสภณ (ช่อง 5)
2543 ฝนตกขี้หมูไหล คนอะไร?มาพบกัน รับบท ปีเตอร์ คู่กับ บุษกร วงศ์พัวพันธ์ (ช่อง 3)
2543 คนของแผ่นดิน รับบท จอมพลวู (ช่อง 3)
2543 อุบัติรักจากฟากฟ้า (ช่อง 3)
2544 เทวดาเดินดิน รับบท พล (ช่อง 3)
2545 รักในรอยแค้น รับบท บำรุง ธานินทร์นิมิตร คู่กับ กาญจนา จินดาวัฒน์ (ช่อง 5)
2546 กาเหว่าที่บางเพลง (ช่อง 3)
2546 ดงดอกเหมย รับบท ฮัว คู่กับ จินตหรา สุขพัฒน์ / จริยา แอนโฟเน่ (ช่อง 3)
2546 วิวาห์พาวุ่น รับบท บรรณ (ช่อง 3)
2546 ฝันกลางตะวัน รับบท พี่เสริม (ช่อง 7)
2547 เก่งไม่เก่ง...ไม่เกี่ยว (ช่อง 3)
2547 แหวนทองเหลือง รับบท ร้อยเอกกฤษฎา คู่กับ สรพงศ์ ชาตรี / กมลชนก เขมะโยธิน (ช่อง 7)
2548 อยู่กับก๋ง รับบท ก๋ง (ช่อง 5)
2548 บันทึกจาก(ลูก)ผู้ชาย (ช่อง 3)
2549 นรกตัวสุดท้าย รับบท จ้าวฟ้าดำ / ดร.ประเทศ (ช่อง 3)
2550 ดั่งดวงตะวัน รับบท จ่าหิน (ช่อง 3)
2550 หุบเขากินคน รับบท วาม (ช่อง 3)
2551 สุดแต่ใจจะไขว่คว้า รับบท พล (พ่อ) คู่กับ เพ็ญพักตร์ ศิริกุล (ช่อง 3)
2552 พระจันทร์สีรุ้ง รับบท อารักษ์ (ช่อง 3)
2553 มนต์รักข้าวต้มมัด รับบท อาโจว คู่กับ จินตหรา สุขพัฒน์ (ช่อง 3)
2553 หัวใจสองภาค รับบท เตี่ยเม้ง (ช่อง 3)
2553 7 ประจัญบาน รับบท จ่าดับ จำเปาะ คู่กับ สรพงศ์ ชาตรี / เศรษฐา ศิระฉายา / กุลณัฐ กุลปรียาวัฒน์ (ช่อง 3)
2554 วนาลี รับบท เสือสอน (ช่อง 3)
2554 บันทึกกรรม (ตอน ทางเลือก) รับบท น้อย (ช่อง 3)
2555 เหนือเมฆ 2 มือปราบจอมขมังเวทย์ รับบท จ่าสมิง (ช่อง 3)
2556 คุณชายรัชชานนท์ รับบท พ่อใหญ่ / เจ้าหลวงสุริยวงศ์ (ช่อง 3)
2558 เสือ (เลือดมังกร) รับบท ซินแสง้วง (ช่อง 3)
2558 สิงห์ (เลือดมังกร) รับบท ซินแสง้วง (ช่อง 3)
2558 กระทิง (เลือดมังกร) รับบท ซินแสง้วง (ช่อง 3)
2558 แรด (เลือดมังกร) รับบท ซินแสง้วง (ช่อง 3)
2558 หงส์ (เลือดมังกร) รับบท ซินแสง้วง (ช่อง 3)
2559 นาคี รับบท พญาศรีสุทโธนาคราช (รับเชิญ) (ช่อง 3)
2561 The Mirror กระจกสะท้อนกรรม (รับเชิญ) (ช่อง 3)

ภาพยนตร์
เรารักกันนะที่ปักกิ่ง (2530)
คู่สร้างคู่สม (2530)
ปีกมาร (2530)
ดีแตก (2530)
แรงเทียน (2531)
โกย (2532)
รักคืนเรือน (2532)
ไม่มีพรุ่งนี้อีกแล้ว (2532)
หัวใจ 4 สี (2532)
พันธุ์หมาบ้า (2533)
หนุก (2533)
ต้องปล้น (2534)
มาห์ (2534)
กึ๋ยทู สยึ๋มกึ๋ย 2 (2538)
อันดากับฟ้าใส (2540)
สุริโยไท (2544)
7 ประจัญบาน (2545)
คืนไร้เงา (2546)
Belly of the beast (2546)
โหมโรง (2547)
ซาไกยูไนเต็ด (2547)
7 ประจัญบาน 2 (2548)
เสือคาบดาบ (2548)
โอปปาติก เกิดอมตะ (2550)
ก่อนบ่ายเดอะมูฟวี ตอนรักนะ...พ่อต๊ะติ๊งโหน่ง (2550)
ช็อคโกแลต (2551)
ชิงหมาเถิด (2553)
จากฟ้าสู่ดิน (2553)
ชั่วฟ้าดินสลาย (2553)
สิ่งเล็กเล็ก ที่เรียกว่า..รัก (2553)
อุโมงค์ผาเมือง (2554)
อันธพาล (2555)
จัน ดารา ปฐมบท (2555)
จัน ดารา ปัจฉิมบท (2556)
แผลเก่า (2557)
นาคี 2 (2561)

พิธีกร
(2535) ผู้ชาย 4 หน้า (ช่อง 7)
(2540) เกม ฟอร์ โกลด์ (ช่อง 5)

โฆษณา
บิ๊กซี (2549)

ผู้จัดละคร
ผลงานละครโทรทัศน์ทั้งหมดในฐานะผู้จัดละครช่อง 3 และ กำกับการแสดง บริษัท แอค-อาร์ต เจเนเรชั่น จำกัด (Act Art Generation co.,Ltd)

2546 12 ราศี (ละครโทรทัศน์)
2547 เก่งไม่เก่ง...ไม่เกี่ยว (ละครโทรทัศน์)
2548 กุหลาบสีดำ (ละครโทรทัศน์)
2549 วีรกรรมทำเพื่อเธอ (ละครโทรทัศน์)
2550 เมื่อดอกรักบาน (ละครโทรทัศน์)
2552 ดงผู้ดี (ละครโทรทัศน์)
2552 หัวใจสองภาค (ละครโทรทัศน์)
2553 4 หัวใจแห่งขุนเขา ตอน วายุภัคมนตรา (ละครโทรทัศน์)
2554 รอยไหม (ละครโทรทัศน์)
2555 รักเกิดในตลาดสด (ละครโทรทัศน์)
2556 สุภาพบุรุษจุฑาเทพ ตอน คุณชายรัชชานนท์ (ละครโทรทัศน์)
2556 ทองเนื้อเก้า (ละครโทรทัศน์)
2557 เวียงร้อยดาว (ละครโทรทัศน์)
2558 ละครซีรีส์ชุด เลือดมังกร ตอน เสือ, กระทิง, แรด, หงส์ (ละครโทรทัศน์)
2559 นาคี (ละครโทรทัศน์)
2560 รากนครา (ละครโทรทัศน์)
2561 เสน่ห์นางงิ้ว (ละครโทรทัศน์)
2562 กรงกรรม (ละครโทรทัศน์)
2564 มนต์รักหนองผักกะแยง (ละครโทรทัศน์)
2564 อีสาวอันตราย (ละครโทรทัศน์)
2565 ลายกินรี (ละครโทรทัศน์)
2566 ดวงใจเทวพรหม ตอน ลออจันทร์ (ละครโทรทัศน์)

ผลงานละครโทรทัศน์ทั้งหมดในฐานะผู้จัดละครอิสระ
2566 HANGOUT เปลือก ช่อง MONO 29

กำกับภาพยนตร์
2550 Me...Myself ขอให้รักจงเจริญ (กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก)
2551 แฮปปี้เบิร์ธเดย์ (ภาพยนตร์ไทย)
2553 จากฟ้าสู่ดิน (ภาพยนตร์สั้นเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาส ๘๓ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : หนึ่งในน้ำพระราชหฤทัย)
2553 ชิงหมาเถิด (ภาพยนตร์ไทย)
2561 นาคี 2 (ภาพยนตร์ไทย)

รางวัลที่ได้รับ
พ.ศ. 2533 ชมรมวิจารณ์บันเทิง – นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – ต้องปล้น
พ.ศ. 2533 ชมรมวิจารณ์บันเทิง – นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม - พันธุ์หมาบ้า
พ.ศ. 2537 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ดาราสนับสนุนชายดีเด่น– โสมส่องแสง
พ.ศ. 2539 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ดารานำชายดีเด่น – โปลิศจับขโมย
พ.ศ. 2546 Hamburger Award – นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – ดงดอกเหมย
พ.ศ. 2546 Star Entertainment Awards - นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – ดงดอกเหมย
พ.ศ. 2546 คมชัดลึกอวอร์ด – นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – ดงดอกเหมย
พ.ศ. 2546 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ดารานำชายดีเด่น – ดงดอกเหมย
พ.ศ. 2547 ชมรมวิจารณ์บันเทิง – นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม – โหมโรง
พ.ศ. 2548 Hamburger Award – ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ละครยอดเยี่ยม – กุหลาบสีดำ
พ.ศ. 2548 Star Entertainment Awards - ผู้กำกับยอดเยี่ยม – กุหลาบสีดำ
พ.ศ. 2548 คมชัดลึกอวอร์ด – ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ละครยอดเยี่ยม กุหลาบสีดำ
พ.ศ. 2548 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ละครยอดเยี่ยม – กุหลาบสีดำ
พ.ศ. 2550 คมชัดลึกอวอร์ด – ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ละครยอดเยี่ยม – เมื่อดอกรักบาน
พ.ศ. 2551 เฉลิมไทยอวอร์ด – ผู้กำกับภาพยนตร์แห่งปี (สำหรับภาพยนตร์ไทย) – แฮปปี้เบิร์ธเดย์
พ.ศ. 2551 Star Entertainment Awards – ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม – แฮปปี้เบิร์ธเดย์
พ.ศ. 2551 ท็อปอวอร์ด 2008 – ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม – แฮปปี้เบิร์ธเดย์
พ.ศ. 2552 ท็อปอวอร์ด 2009 – นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม – พระจันทร์สีรุ้ง
พ.ศ. 2552 คมชัดลึกอวอร์ด – ผู้กำกับละครยอดเยี่ยม – ดงผู้ดี
พ.ศ. 2552 คมชัดลึกอวอร์ด – นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม – พระจันทร์สีรุ้ง
พ.ศ. 2552 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ดาราสนับสนุนชายดีเด่น – พระจันทร์สีรุ้ง
พ.ศ. 2552 รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 3 – นักแสดงชายแห่งปี, ละครโทรทัศน์แห่งปี – พระจันทร์สีรุ้ง
พ.ศ. 2552 แฮมเบอร์เกอร์อวอร์ดส ครั้งที่ 7 – นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม -- พระจันทร์สีรุ้ง
พ.ศ. 2552 สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2009 ครั้งที่ 8 – ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม – พระจันทร์สีรุ้ง
พ.ศ. 2552 รางวัลนาฏราช – นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม – พระจันทร์สีรุ้ง
พ.ศ. 2554 รางวัลเมขลา ครั้งที่ 24 – รางวัลผู้กำกับเมขลามหานิยมแห่งปี – รอยไหม
พ.ศ. 2554 รางวัลนาฏราช – ผู้กำกับละครยอดเยี่ยม – รอยไหม
พ.ศ. 2556 คมชัดลึกอวอร์ด – ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ละครยอดเยี่ยม – ทองเนื้อเก้า
พ.ศ. 2556 รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 5 – ผู้กำกับยอดเยี่ยม, ละครยอดเยี่ยม – ทองเนื้อเก้า
พ.ศ. 2558 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ – ผู้กำกับยอดเยี่ยม – เลือดมังกร
พ.ศ. 2559 Fever Awards 2016 – ผู้กำกับฟีเวอร์ – นาคี
พ.ศ. 2559 รางวัลฮาวอวอร์ด สาขาผู้ผลิตละครและเฟ้นหานักแสดงคุณภาพสู่วงการบันเทิ
บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
คะแนนน้ำใจ 5091
เหรียญรางวัล:
ผู้ดูแลบอร์ดมีความคิดสร้างสรรค์นักอ่านยอดเยี่ยมนักโพสดีเด่นนักโพสยอดเยี่ยม
กระทู้: 284
ออฟไลน์ ออฟไลน์
อีเมล์
   
« ตอบ #104 เมื่อ: 02 พฤษภาคม 2566, 11:23:38 AM »

Permalink: Re: เชิดชูสยามศิลปิน ร่างโคลงสี่ @แพทย์หญิงพันทิวา สันรัชตานันท์













....แพทย์หญิงสวยเก่งร้อง.............เพลงเพราะ
    “พันทิวา”สวยเหมาะ................เด่นได้
    “เทพธิดาดอย”เอาะ................รักหนุ่ม   ไทยนา
    เพลงเด่นพาหมอให้................ได้โล่ “ชูใจ”.....

....”(เปรียบ)ดวงใจดั่งใบไม้”..........ปลิวปลิด
     ลอย”แม่มูล”มาติด................”ชายน้ำ”
    “คนจนไม่มีสิทธิ์”...................”อย่าห่วง  รัก” นา
    “แด่มดปลวก”เกินกล้ำ....".........เป่น”ต้องทำใจ”....

....มองไป”ดินฟ้าป่า...................เดียวกัน”
    “ชมไพรใจลอย”ฉัน................เหว่ว้า
    “(เธอ)รักฉันอย่างไร”ปัน..........แบ่งใจ   เขานา
     “(หนึ่ง)มนต์ที่ฉันขอ”กล้า........ว่าย”บึงน้ำฟ้า”....


แพทย์หญิงพันทิวา สินรัชตานันท์ เกิดวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 เป็นนักร้องชาวไทย เกิดที่ ตำบลระแหง อำเภอเมือง จังหวัดตาก เจ้าของรางวัลทีวีตุ๊กตาทองมหาชน 2 ปี ซ้อน,

นักร้องยอดนิยมแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน

รางวัลพระพิฆเนศทอง 2535,

รางวัลแพทย์ต้นแบบ (25 คน) ในวาระฉลอง 50 ปี แพทยสภา 2561,

รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น เพลงการเมือง 2547 ปปร สถาบันพระปกเกล้า,

รางวัลกรังปรีช์ และ นักร้องยอดนิยม Thailand Popular Song Festival 2527 เพลงสู่สันติภาพ

เป็นตัวแทนประเทศไทย ไป Tokyo World Popular Song Festival

และ Kuala Lumpur World Kite Popular Song Festival

และรางวัลเพลงดีเด่น สองรางวัลในเพลง เพลินไพร, ชีวิต

รางวัลชนะเลิศเพลง โดมเริงใจ รางวัลรองชนะเลิศ เพลง เลือดธรรมศาสตร์ไม่จาง งาน 50 ปี ธรรมศาสตร์

รางวัลรองชนะเลิศ เพลงออมสิน 72 ปี

รางวัลรองชนะเลิศ เพลงประจำจังหวัด สงขลา

รางวัลที่สามในงานวาดภาพ ระดับประถมต้น จัดโดยกระทรวงศึกษาธิการ สมัย มล. ปิ่น มาลากุล แสดงในบริเวณรร เตรียมอุดมศึกษา พญาไท 2503 งานแสดงศิลปะหัตถกรรมนักเรียน เมื่ออายุ 10 ปี

ประวัติ
พันทิวา มีบิดาชื่อ แต้เที๊ยะลิ้น เป็นชาวจีนแต้จิ๋ว จากซัวเถามาตั้งรกรากที่ประเทศไทย ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น เธียร สินรัชตานันท์ ส่วนมารดาชื่อ จงจิตร สุทธินันท์ สินรัชตานันท์ เป็นชาวกรุงเทพฯ เป็นคนเล็กสุด มีพี่ 4 คน

การศึกษา
ศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาล จังหวัดตาก จนจบประถมศึกษา 4
ศึกษาต่อที่โรงเรียนตากสินมหาราชานุสรณ์ จังหวัดตาก จนจบประถมศึกษาที่ 7
ศึกษาที่โรงเรียนสตรีตากผดุงปัญญา มศ.1-3
จบมัธยมศึกษาที่ 5 ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่น 30 แผนกวิทยาศาสตร์
ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รุ่นที่ 12 และวิทยาศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รุ่น 6 และได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูง วิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล (รามาธิบดี) ในปี พ.ศ. 2520
วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญจักษุวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (รามาธิบดี) รุ่น 5,
เวชศาสตร์การกีฬา และอาชีวเวชศาสตร์ รุ่น 10,
นิติศาสตรภาคบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่น 33, หลักสูตรสำหรับนักบริหารระดับสูง ด้านการเมืองการปกครอง รุ่น 9 สถาบันพระปกเกล้า (ประกาศนียบัตรชั้นสูง), หลักสูตรกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ หลักสูตรการเจรจาไกล่เกลี่ยโดยทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ

งานร้องเพลงจนก้าวสู่ศิลปินมืออาชีพ ตำนานเพลงเทพธิดาดอย
เริ่มต้นการร้องเพลงในโรงเรียนอนุบาล แสดงละครและระบำในงานโรงเรียนทุกปี ร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ในงานระดับจังหวัด ประกวดระดับมหาวิทยาลัยในตำแหน่งนักร้องนำวงดนตรี The Science ได้รับรางวัลวงดนตรีชนะเลิศของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2513 จากการชักนำไปออกรายการร้องเพลงทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์ พูนพิศ อมาตยกุล บันทึกเสียงร้องเพลงไทยเดิมชุดลาวดวงเดือน เป็นครั้งแรก

  เธอโด่งดังจากเพลง "เทพธิดาดอย" ซึ่งแต่งเพลงโดย น.พ. วราวุธ สุมาวงศ์ (หรือนามปากกา วราห์ วรเวช) ในปี 2523 และนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อเรื่องเดียวกัน โดย จิรบันเทิงฟิล์ม ของ จีรวรรณ กัมปนาทแสนยากร นำแสดงโดย ไกรสร แสงอนันต์, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ เพลงเทพธิดาดอย ถูกใช้เป็นเพลงประกวดชิงชนะเลิศหลายรายการทางทีวี เช่น Golden Song และบันทึกเสียง cover โดยนักร้องทุกช่วงเวลาโดยกลายเป็นเพลง สำหรับการแสดงของเด็กนักเรียนทั่วประเทศไทย เพลงคนจนไม่มีสิทธิ์เจ็บป่วย รับรางวัลนักร้องแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ในอัลบัม พันทิวา Chorus ร้องกับนักร้องประสานเสียงวงทหารเรือ

เธอออกแผ่นเสียงอัลบั้มเต็มชื่อชุด "วิมานทราย" ประพันธ์โดย วราห์ วรเวช และ เรียบเรียงเสียงประสานโดยพิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิต บันทึกเสียงกับทาง อีเอ็มไอ (ประเทศไทย) ในชื่อชุด "เดินชมดอย" ประพันธ์โดย วินัย รุ่งอนันต์บันทึกเสียงเพลงชุดสุนทราภรณ์ สองชุด คือ หงษ์เหิร และ หงษ์สะบัดบาป กับค่ายเพลง เมโทร พ.ศ. 2526

2526 ไพบูลย์ ดำรงค์ชัยธรรม ชวนเซ็นต์สัญญา ให้เธอเป็นนักร้องคนแรกที่แกรมมี่ ภายใต้การดำเนินงานของเรวัต พุทธินันทน์ ออกผลงานในชื่อชุด "นิยายรักจากก้อนเมฆ" เป็นผลงานการเขียนคำร้องทั้งชุดโดย บุษบา ดาวเรือง ดนตรีและทำนองประพันธ์โดย วิชัย อึ้งอัมพร และควบคุมการผลิตโดย เรวัต พุทธินันทน์ เพลง "นิยายรักจากก้อนเมฆ" ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ฟังทางวิทยุ ในปี พ.ศ. 2528 ออกผลงาน งานเขียนคำร้องโดย กรวิก และ พนัส หิรัญกสิ ดนตรีเรียบเรียงเสียงประสานโดย ปราจีน ทรงเผ่า ควบคุมการผลิตโดย เรวัต พุทธินันทน์พ.ศ. 2535 ขับร้องเพลงพระราชนิพนธรภิรมย์รัก และ Love story ในชุดวงดุริยางค์ทหารบก

เธอเป็นหนึ่งในนักร้องหญิงที่ร่วมขับร้องเพลงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

ขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ถวายหลายครั้ง ขณะทรงพระประชวรประทับในศิริราช โดยถ่ายทอดสดจากหอสมุดดนตรีภูมิพล ในหอสมุดแห่งชาติ

ร้องเพลงการกุศลในวาระเฉลิมพระเกียรติหลายครั้ง เช่น เพลงฝนหลวงพระราชทาน, เพลินภูพาน, อัครศิลปิน

ได้ร้องเพลงประจำสถาบันหลายแห่ง เช่น เพลงชุดมหิดล, จุฬา, ธรรมศาสตร์, เชียงใหม่, รามคำแหง, ราชพฤกษ์ บูรพา, ศิริราช, รามาธิบดี, ธรรมะสันติอโศก และเพลงประจำโรงเรียน ต่างๆหลายแห่ง

ได้แต่งเพลงและร้องในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยนานาชาติ ครั้งที่10 สนามกีฬารามคำแหง ถ่ายทอดสด

เพลงมาร์ชปณิธานราม ร่วมแต่งกับ ชัยรัตน์ วงศ์เกียรติ์ขจร และ ดร.ศรีจักร วัชรเกียรติ์

ร้องเพลงในภาพยนตร์ เทพธิดาดอย และ สาวบ้านนอกเข้ากรุง ในภาพยนตร์ ดาวเคียงเดือน

ร้องเพลงในละครช่อง3 เรื่องหมอบ้านนอก

แสดงละครร้อง ร่วมกับ สุเทพ วงศ์ กำแหง ศรีสุดา รัชตะวรรณ พรเทพ เทพรัตน์ เวทีธรรมศาสตร์ งานหารายได้มอบวิทยาลัยเพาะช่าง

รวมผลงานร้องเพลงบันทึกแผ่นเสียง และบันทึกการแสดงสด ไม่น้อยกว่า 300+++ เพลง

งานบันทึกเสียง ล่าสุด ชื่อเพลง สายลม ประกอบละคร บุญผ่อง ทางช่อง Thai PBS ทำนองของ Hideki Mori

เพลง อินทนนท์ 2564

งานแสดงสดร่วมกับศิลปินระดับประเทศ อาวุโสและต่างรุ่นมากมาย ออกอากาศในโทรทัศน์ทุกช่อง

ร่วมแสดงกับวง Royal Bangkok Symphony Orchestra

Thailand Symphony Orchestra

วงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร

วงดุริยางค์สากลทหารเรือ

วงดุริยางค์สากล ทหารบก

วงดุริยางค์สากล ทหารอากาศ

วงดนตรีใหญ่ สุนทราภรณ์

วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์

วงดนตรี กาญจณผลิน

และแสดงสดทุกเวทีทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด หลายปี กับวง จิตราทัศน์ ดำเนินการโดย จิตรา -นิทัศน์ ละอองศรี

งานสอน ถ่ายทอดศิลปะ
สอนการร้องเพลงเพื่อสุขภาพ การพัฒนาบุคลิกภาพด้วยการฝึกร้องเพลง ให้องค์กร เช่น

บริษัทน้ำมันบางจาก

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เดินสายร้องเพลงและบรรยาย ร่วมกับ ชินกร ไกรลาส เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนต่างจังหวัด

เดินสายร้องเพลงและบรรยาย กับ ศุ บุญเลี้ยง และโกไข่

บรรยายร่วมกับ อดีตท่านทูตไทยในเปรู กำธร สิทธิโชคต์ เรื่องการพัฒนาบุคลิกภาพในนักศึกษาแพทย์ปีสุดท้าย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สอนการฝึกร้องเพลง Karaoke ให้กับผู้สมัครเรียนในกลุ่มครั้งละ 30 คนในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ร่วมกับ ศุ บุญเลี้ยง และ โกไข่ จัดต่อเนื่องเดือนละ1-2 วัน

เปิดสอนร้องเพลงทาง Youtube เป้าหมายสอนเพลงเด็กเล็ก

งานแสดงในต่างประเทศ
เดินทางไปสหรัฐอเมริกา สองครั้ง ครั้งละ สองเดือน

จัดงานร้องเพลงการกุศลให้ชาวไทยในสหรัฐอเมริกา กับ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี

สวลี ผกาพันธ์ รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส

มีศักดิ์นาครัตน์ และอดิเรก จันทร์เรือง

พร้อมด้วย สุวัฒน์ วรดิลก นายกสมาคมนักเขียน

การประกวดเพลง Tokyo World Popular Song Festival 1984 การประกวดเพลง Kuala lampur World Kite Song Festival 1984

รวมรางวัล เกียรติคุณ
5.1 รางวัลที่สามในงานวาดภาพ ระดับประถมต้น จัดโดยกระทรวงศึกษาธิการ สมัย มล. ปิ่น มาลากุล แสดงในบริเวณรร เตรียมอุดมศึกษา พญาไท 2503 งานแสดงศิลปะหัตถกรรมนักเรียน เมื่ออายุ 10 ปี
5.2 รางวัล ทีวีตุ๊กตาทองมหาชน สองปีซ้อน 2526 และ 2527 นักร้องยอดนิยม เพลงคนจน ไม่มีสิทธิ์ และเดินชมดอย
5.3 รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ครั้งที่ 5 ปี 2526 เพลง คนจนไม่มีสิทธิ์
5.4 รางวัลเพลงดีเด่น เพลงเพลินไพร งาน Thailand Popular song Festival 2526
5.5 รางวัลเพลงยอดเยี่ยม งาน Thailand Popular Song Festival 2527 เพลง สู่สันติภาพ
5.6 รางวัลนักร้องยอดเยี่ยม Popular Vote Singer 2527 เพลงสู่สันติภาพ Thailand Popular Song Festival
5.7 รางวัลเพลงดีเด่น เพลงชีวิต Thailand Popular Song Festival 2527
5.8 รางวัลรองชนะเลิศ เพลงสดุดีออมสิน งาน 72ปี ธนาคารออมสิน 2528
5.9 รางวัลชนะเลิศ เพลง โดมเริงใจ งาน 50ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5.10 รางวัลรองชนะเลิศ เพลง เลือดธรรมศาสตร์ไม่จาง งาน 50ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5.11 รางวัลวิทยานิพนดีเด่น รุ่น9 ปปร จากสถาบันพระปกเกล้า เรื่องเพลงการเมือง 2550
5.12 รางวัล 25 แพทย์ต้นแบบ ในวาระ 50ปี แพทยสภา ปี 2561
5.13 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ 2550 อิสริยาภรณ์ มงกุฎไทย ชั้น 4 ในรัชกาลที่ 9
5.14 รับพระราชทานเข็ม สก จาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ ในการหารายได้เพื่อศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ในโรงพยาบาลรามาธิบดี
5.15 รางวัลพระพิฆเนศทอง 2553 เพลงบัวบาน
5.16 สิบแพทย์ต้นแบบมหิดล รวมประวัติในจดหมายเหตุ Online

จิตรอาสา
ร่วมกับจักษุแพทย์ เดินทางไปผ่าตัด ตรวจ รักษา โรคตา ในถิ่นธุรกันดาน อำเภอแก่งหางแมว จันทบุรี

และ สนับสนุนโดย สโมสรโรตารี่ ภาคต่างๆ หลายครั้ง

สอนการร้องเพลง ดนตรีบำบัด ให้ผู้ป่วย และประชาชนทั่วไป

ร่วมสร้างสรรค์ YouTube Live ผลิตเพลงไทย กับศิลปินหลายรุ่น ร่วมกับคนตาบอด เพื่อการสาธารณะกุศล

เก็บเพลงในเทปเก่ามาลงใน Computer and YouTube/Facebook เพื่ออนุรักษ์ไม่ให้เลือนหายไปเพราะวัสดุเสื่อมคุณภาพ

ทำหนังสือเสียง Free ลงใน YouTube


บันทึกการเข้า

♪♪♪ รวมผลงาน ของพงศภัค  http://www.khonphutorn.com/index.php/topic,16566.msg39174.html#msg39174
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต เพลงจากยูทูป
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9   ขึ้นบน
 
 
กระโดดไป: